รอยเตอร์ – พวกนักวิเคราะห์หุ้นในวอลล์สตรีท กำลังตกงานกันเป็นทิวแถวอันเนื่องมาจากวิกฤตภาคการเงิน และมีเค้าว่าครั้งนี้ตำแหน่งงานเหล่านี้จะไม่กลับคืนมาอีกแล้วแม้กระทั่งหลังจากเศรษฐกิจกลับคืนสู่สภาพปกติในอนาคต
ประมาณกันว่าตอนนี้ตำแหน่งงานในภาคการเงินของทั่วโลกนั้น ได้หดหายไปแล้วกว่า 150,000 ตำแหน่ง และคาดว่าในธุรกิจด้านวาณิชธนกิจและการซื้อขายหลักทรัพย์ยังจะต้องลดพนักงานเพิ่มขึ้นอีกในอนาคต ธนาคารและบริษัทโบรกเกอร์ไม่เพียงแต่ต้องดิ้นรนให้ฟื้นตัวจากภาวะการตัดยอดขาดทุนมหาศาลรวมทั้งสินทรัพย์เน่าเสียอื่น ๆ แต่ยังต้องประคองตัวให้พ้นจากภาวะธุรกิจซบเซา สัญญาธุรกิจล้ม รวมทั้งธุรกรรมการเงินต่าง ๆที่ไม่คืบหน้าไป
ตอนนี้ตำแหน่งนักวิเคราะห์ซึ่งทำงานอยู่ในแผนกวิจัยต่าง ๆก็กำลังถูกตัดลดลงอย่างต่อเนื่อง หลังจากที่หดหายไปเยอะแล้วจากการที่รัฐบาลสหรัฐฯเข้ามาสอบสวนกรณีการล้มครืนของหุ้นกลุ่มเทคโนโลยี“ดอตคอม” เมื่อราวปี 2000 – 2001
จิม เบียงโก ประธานของเบียงโก รีเสิร์ช ในชิคาโกชี้ว่า วิกฤตการเงินคราวนี้กำลังทำให้เกิดการควบรวมกิจการในลักษณะถูกบังคับแบบเหี้ยมเกรียม จึงทำให้ตำแหหน่งงานของนักวิเคราะห์ถูกยกเลิกไปและไม่น่าจะกลับมาอีก
การที่ตำแหน่งงานนักวิเคราะห์หดหายไปอย่างมากมายเช่นนี้ ย่อมหมายความว่า บริษัทใหญ่ๆ บางแห่งอาจจะไม่ได้มีนักวิเคราะห์หลักทรัพย์คอยเฝ้าติดตามมากมายเท่ากับพวกธนาคารขนาดใหญ่ๆ ยิ่งพวกบริษัทขนาดกลางและขนาดย่อมด้วยแล้วก็จะไม่ได้รับการติดตามเอาเลย
สภาพเช่นนี้อาจจะสร้างความเสียหายอย่างแท้จริงให้แก่ภาคบรรษัทสหรัฐฯได้ โดยเฉพาะในด้านความกระฉับกระเฉงของผู้ประกอบการ เพราะเมื่อไม่มีนักวิเคราะห์คอยเฝ้าคอยนำเสนอเรื่องราวให้เป็นที่สนใจเสียแล้ว พวกกิจการขนาดย่อมๆ ลงมาก็ย่อมประสบความลำบากมากขึ้นในการดึงดูดเงินลงทุน
ในอดีตที่ผ่านมา นักวิเคราะห์ยังสามารถที่จะเป็นตัวทำเงินให้แก่ธนาคารและบริษัทโบรกเกอร์ได้ ด้วยการเข้าไปช่วยเหลือแผนกวาณิชธนกิจของบริษัทให้สามารถปิดการขายให้แก่นักลงทุนได้สำเร็จ
ทว่าการปฏิรูปที่เกิดขึ้นในภาคธนาคาร หลังจากเกิดวิกฤตดอทคอมซึ่งพวกนักวิเคราะห์ถูกประณามมากว่าทำตัวเป็นคนเชียร์หุ้นแทนที่จะรักษาจรรยาบรรณในวิชาชีพของตน จึงทำให้พวกเขาไม่สามารถที่จะทำงานเคียงคู่กับพวกแบงเกอร์ในฐานะนักวิเคราะห์วิจัยได้อีกแล้ว และพวกเขาก็ต้องพึ่งพาอาศัยผลงานของแผนกวาณิชธนกิจโดยรวม เพื่อให้ตัวเองได้โบนัสงามๆ
จากการนี้ทำให้ในปัจจุบันพวกเขาถูกมองว่าเป็นค่าใช้จ่าย และสามารถที่จะตัดทอนลงได้ในยามวิกฤต
ตอนนี้ภาวะเศรษฐกิจที่ย่ำแย่ลงอย่างรวดเร็วทั้งในสหรัฐฯและส่วนอื่น ๆของโลก ธนาคารยังต้องดิ้นรนเพื่อความอยู่รอด จึงยิ่งทำให้แผนกวิเคราะห์กลายมาเป็นเป้าของการลดพนักงานเพื่อประหยัดค่าใช้จ่ายอีกครั้งหนึ่ง
“ตำแหน่งงานนักวิเคราะห์ที่หายไปเหล่านี้ไม่น่าจะกลับมาได้ในปี 2009 หรือแม้แต่ในปี 2010” ลอเรนซ์ แมคโดนัลด์ อดีตรองประธานบริหารของเลห์แมน บราเธอร์สที่ล้มละลายไปแล้วกล่าว แมคโดนัลด์นั้นออกจากเลห์แมนในเดือนมีนาคม หลายเดือนก่อนที่บริษัทจะล้มละลาย
แม้แต่ โกลด์แมนแซคส์ กรุ๊ปซึ่งเป็นวาณิชธนกิจที่ใหญ่ที่สุดและสามารถหลีกเลี่ยงภาวะขาดทุนมหาศาลจากสินเชื่อที่อยู่อาศัยและสินเชื่อที่ให้แก่บริษัทต่าง ๆมาได้หวุดหวิด ก็ยังต้องประกาศลดตำแหน่งงานลงเกือบ 3300 ตำแหน่ง ซึ่งก็มีงานวิเคราะห์หลักทรัพย์รวมอยู่ด้วย อย่างเช่นตำแหน่งของวิลเลียม ทาโนนา ที่เป็นนักวิเคราะห์ธุรกิจการเงินของโกลแมนด์ ที่ดูแลข้อมูลคู่แข่งอย่าง เจพีมอร์แกน เชส และมอร์แกน สแตนลีย์อยู่
เมื่อเดือนกันยายน ธนาคารกลางสหรัฐฯอนุมัติให้โกลด์แมนแซคส์ และมอร์แกน สแตนลีย์แปลงสภาพมาเป็นบริษัทโฮลดิ้งของกิจการธนาคาร จึงทำให้วาณิชธนกิจเหล่านี้ ต้องเข้ามาอยู่ภายใต้กฏเหล็กการกำกับตรวจสอบธนาคารของเฟด เหมือนธนาคารพาณิชย์อื่น ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง มีการจำกัดเพดานการระดมเงินกู้เพื่อการลงทุนลงไปอย่างมาก
พูดอีกนัยหนึ่งก็คือ ตอนนี้ธนาคารทั้งสองแห่งนี้ไม่สามารถที่จะทำธุรกิจที่มีความเสี่ยงสูงเหมือนก่อนหน้านี้ได้ต่อไปแล้ว และหากไม่มีธุรกิจความเสี่ยงสูงก็ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องจ้างนักวิเคราะห์จำนวนมากอีกต่อไปเหมือนกัน
ทอม โซวานิก ประธานเจ้าหน้าที่การลงทุน แห่ง เคลียร์บรูก ไฟแนนเชียล ในเมืองพรินซตัน มลรัฐนิวเจอร์ซีย์ ชี้ว่า ในช่วงหลังๆ มานี้ พวกนักวิเคราะห์กลายเป็นพวกที่มุ่งมองผลระยะสั้นมากๆ โดยมุ่งศึกษาเรื่องคุ้มค่าไหมที่จะปล่อยกู้ให้แก่พวกกองทุนเข้าเร็วออกเร็วอย่างเช่นพวกเฮดจ์ฟันด์ทั้งหลาย ขณะที่แทบไม่ได้ถูกใช้งานโดยธุรกิจทางด้านลูกค้ารายย่อยหรือพวกกองทุนระยะยาวอย่างกองทุนเงินบำนาญเลย
มาบัดนี้เมื่อธุรกิจแบบความเสี่ยงสูงกำลังลดน้อยลงในวอลล์สตรีท พวกแบงก์ในวอลล์สตรีทก็จำเป็นจะต้องใช้แผนกวิจัยภายในบริษัทลดน้อยลงเช่นกัน แม้ว่าโซวานิกจะชี้ด้วยว่า นักวิเคราะห์ภายในของแบงก์และโบรกเกอร์ต่างๆ ยังสามารถมีบทบาทในด้านการแนะนำการซื้อหลักทรัพย์
ทว่าเท่าที่ผ่านมา แผนกวิจัยของบริษัทในวอลล์สตรีทกลับมีชื่อเสียงที่ย่ำแย่ในการให้คำแนะนำชนิดนี้ เพราะมีบ่อยครั้งเกินไปที่พวกเขาจะแนะนำให้ “ซื้อ” หรือ “ถือไว้ก่อน” ในหุ้นของบริษัทที่กำลังใกล้จะเจ๊งเต็มทีแล้ว
ประมาณกันว่าตอนนี้ตำแหน่งงานในภาคการเงินของทั่วโลกนั้น ได้หดหายไปแล้วกว่า 150,000 ตำแหน่ง และคาดว่าในธุรกิจด้านวาณิชธนกิจและการซื้อขายหลักทรัพย์ยังจะต้องลดพนักงานเพิ่มขึ้นอีกในอนาคต ธนาคารและบริษัทโบรกเกอร์ไม่เพียงแต่ต้องดิ้นรนให้ฟื้นตัวจากภาวะการตัดยอดขาดทุนมหาศาลรวมทั้งสินทรัพย์เน่าเสียอื่น ๆ แต่ยังต้องประคองตัวให้พ้นจากภาวะธุรกิจซบเซา สัญญาธุรกิจล้ม รวมทั้งธุรกรรมการเงินต่าง ๆที่ไม่คืบหน้าไป
ตอนนี้ตำแหน่งนักวิเคราะห์ซึ่งทำงานอยู่ในแผนกวิจัยต่าง ๆก็กำลังถูกตัดลดลงอย่างต่อเนื่อง หลังจากที่หดหายไปเยอะแล้วจากการที่รัฐบาลสหรัฐฯเข้ามาสอบสวนกรณีการล้มครืนของหุ้นกลุ่มเทคโนโลยี“ดอตคอม” เมื่อราวปี 2000 – 2001
จิม เบียงโก ประธานของเบียงโก รีเสิร์ช ในชิคาโกชี้ว่า วิกฤตการเงินคราวนี้กำลังทำให้เกิดการควบรวมกิจการในลักษณะถูกบังคับแบบเหี้ยมเกรียม จึงทำให้ตำแหหน่งงานของนักวิเคราะห์ถูกยกเลิกไปและไม่น่าจะกลับมาอีก
การที่ตำแหน่งงานนักวิเคราะห์หดหายไปอย่างมากมายเช่นนี้ ย่อมหมายความว่า บริษัทใหญ่ๆ บางแห่งอาจจะไม่ได้มีนักวิเคราะห์หลักทรัพย์คอยเฝ้าติดตามมากมายเท่ากับพวกธนาคารขนาดใหญ่ๆ ยิ่งพวกบริษัทขนาดกลางและขนาดย่อมด้วยแล้วก็จะไม่ได้รับการติดตามเอาเลย
สภาพเช่นนี้อาจจะสร้างความเสียหายอย่างแท้จริงให้แก่ภาคบรรษัทสหรัฐฯได้ โดยเฉพาะในด้านความกระฉับกระเฉงของผู้ประกอบการ เพราะเมื่อไม่มีนักวิเคราะห์คอยเฝ้าคอยนำเสนอเรื่องราวให้เป็นที่สนใจเสียแล้ว พวกกิจการขนาดย่อมๆ ลงมาก็ย่อมประสบความลำบากมากขึ้นในการดึงดูดเงินลงทุน
ในอดีตที่ผ่านมา นักวิเคราะห์ยังสามารถที่จะเป็นตัวทำเงินให้แก่ธนาคารและบริษัทโบรกเกอร์ได้ ด้วยการเข้าไปช่วยเหลือแผนกวาณิชธนกิจของบริษัทให้สามารถปิดการขายให้แก่นักลงทุนได้สำเร็จ
ทว่าการปฏิรูปที่เกิดขึ้นในภาคธนาคาร หลังจากเกิดวิกฤตดอทคอมซึ่งพวกนักวิเคราะห์ถูกประณามมากว่าทำตัวเป็นคนเชียร์หุ้นแทนที่จะรักษาจรรยาบรรณในวิชาชีพของตน จึงทำให้พวกเขาไม่สามารถที่จะทำงานเคียงคู่กับพวกแบงเกอร์ในฐานะนักวิเคราะห์วิจัยได้อีกแล้ว และพวกเขาก็ต้องพึ่งพาอาศัยผลงานของแผนกวาณิชธนกิจโดยรวม เพื่อให้ตัวเองได้โบนัสงามๆ
จากการนี้ทำให้ในปัจจุบันพวกเขาถูกมองว่าเป็นค่าใช้จ่าย และสามารถที่จะตัดทอนลงได้ในยามวิกฤต
ตอนนี้ภาวะเศรษฐกิจที่ย่ำแย่ลงอย่างรวดเร็วทั้งในสหรัฐฯและส่วนอื่น ๆของโลก ธนาคารยังต้องดิ้นรนเพื่อความอยู่รอด จึงยิ่งทำให้แผนกวิเคราะห์กลายมาเป็นเป้าของการลดพนักงานเพื่อประหยัดค่าใช้จ่ายอีกครั้งหนึ่ง
“ตำแหน่งงานนักวิเคราะห์ที่หายไปเหล่านี้ไม่น่าจะกลับมาได้ในปี 2009 หรือแม้แต่ในปี 2010” ลอเรนซ์ แมคโดนัลด์ อดีตรองประธานบริหารของเลห์แมน บราเธอร์สที่ล้มละลายไปแล้วกล่าว แมคโดนัลด์นั้นออกจากเลห์แมนในเดือนมีนาคม หลายเดือนก่อนที่บริษัทจะล้มละลาย
แม้แต่ โกลด์แมนแซคส์ กรุ๊ปซึ่งเป็นวาณิชธนกิจที่ใหญ่ที่สุดและสามารถหลีกเลี่ยงภาวะขาดทุนมหาศาลจากสินเชื่อที่อยู่อาศัยและสินเชื่อที่ให้แก่บริษัทต่าง ๆมาได้หวุดหวิด ก็ยังต้องประกาศลดตำแหน่งงานลงเกือบ 3300 ตำแหน่ง ซึ่งก็มีงานวิเคราะห์หลักทรัพย์รวมอยู่ด้วย อย่างเช่นตำแหน่งของวิลเลียม ทาโนนา ที่เป็นนักวิเคราะห์ธุรกิจการเงินของโกลแมนด์ ที่ดูแลข้อมูลคู่แข่งอย่าง เจพีมอร์แกน เชส และมอร์แกน สแตนลีย์อยู่
เมื่อเดือนกันยายน ธนาคารกลางสหรัฐฯอนุมัติให้โกลด์แมนแซคส์ และมอร์แกน สแตนลีย์แปลงสภาพมาเป็นบริษัทโฮลดิ้งของกิจการธนาคาร จึงทำให้วาณิชธนกิจเหล่านี้ ต้องเข้ามาอยู่ภายใต้กฏเหล็กการกำกับตรวจสอบธนาคารของเฟด เหมือนธนาคารพาณิชย์อื่น ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง มีการจำกัดเพดานการระดมเงินกู้เพื่อการลงทุนลงไปอย่างมาก
พูดอีกนัยหนึ่งก็คือ ตอนนี้ธนาคารทั้งสองแห่งนี้ไม่สามารถที่จะทำธุรกิจที่มีความเสี่ยงสูงเหมือนก่อนหน้านี้ได้ต่อไปแล้ว และหากไม่มีธุรกิจความเสี่ยงสูงก็ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องจ้างนักวิเคราะห์จำนวนมากอีกต่อไปเหมือนกัน
ทอม โซวานิก ประธานเจ้าหน้าที่การลงทุน แห่ง เคลียร์บรูก ไฟแนนเชียล ในเมืองพรินซตัน มลรัฐนิวเจอร์ซีย์ ชี้ว่า ในช่วงหลังๆ มานี้ พวกนักวิเคราะห์กลายเป็นพวกที่มุ่งมองผลระยะสั้นมากๆ โดยมุ่งศึกษาเรื่องคุ้มค่าไหมที่จะปล่อยกู้ให้แก่พวกกองทุนเข้าเร็วออกเร็วอย่างเช่นพวกเฮดจ์ฟันด์ทั้งหลาย ขณะที่แทบไม่ได้ถูกใช้งานโดยธุรกิจทางด้านลูกค้ารายย่อยหรือพวกกองทุนระยะยาวอย่างกองทุนเงินบำนาญเลย
มาบัดนี้เมื่อธุรกิจแบบความเสี่ยงสูงกำลังลดน้อยลงในวอลล์สตรีท พวกแบงก์ในวอลล์สตรีทก็จำเป็นจะต้องใช้แผนกวิจัยภายในบริษัทลดน้อยลงเช่นกัน แม้ว่าโซวานิกจะชี้ด้วยว่า นักวิเคราะห์ภายในของแบงก์และโบรกเกอร์ต่างๆ ยังสามารถมีบทบาทในด้านการแนะนำการซื้อหลักทรัพย์
ทว่าเท่าที่ผ่านมา แผนกวิจัยของบริษัทในวอลล์สตรีทกลับมีชื่อเสียงที่ย่ำแย่ในการให้คำแนะนำชนิดนี้ เพราะมีบ่อยครั้งเกินไปที่พวกเขาจะแนะนำให้ “ซื้อ” หรือ “ถือไว้ก่อน” ในหุ้นของบริษัทที่กำลังใกล้จะเจ๊งเต็มทีแล้ว