เอเอฟพี - บารัค โอบามา ว่าที่ประธานาธิบดีสหรัฐฯ เปิดใจให้สัมภาษณ์แก่สื่อรายสำคัญครั้งแรกหลังชนะเลือกตั้ง โดยประกาศจะฟื้นฟูภาวะเศรษฐกิจเป็นอันดับแรก และจะยกเครื่องนโยบายต่างประเทศชุดใหญ่สวนทางรัฐบาลจอร์จ ดับเบิลยู บุช โดยจะถอนทหารออกจากอิรักใน 16 เดือน รุกหนักกลุ่มอัลกออิดะห์ในอัฟกานิสถาน และปิดค่ายกักกันนักโทษในอ่าวกวนตานาโม
ระหว่างการให้สัมภาษณ์รายการ "60 มินิทส์" ของเครือข่ายโทรทัศน์ซีบีเอส ซึ่งบันทึกวิดีโอเอาไว้ตั้งแต่วันศุกร์(14) แต่นำมาออกอากาศในคืนวันอาทิตย์ (16) โอบามากล่าวว่าการฟื้นฟูภาวะเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ที่กำลังเพียบหนักจะเป็นภารกิจอันดับแรกเมื่อเขาเข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐฯ แม้ว่าการแก้ปัญหาดังกล่าวจะทำให้เกิดการขาดดุลงบประมาณสูงขึ้นกว่าเดิมก็ตาม
เขาบอกด้วยว่าในคณะรัฐมนตรีของเขาจะมีคนของพรรครีพับลิกันด้วยอย่างน้อยหนึ่งคน และยอมรับว่าได้พบกับฮิลลารี คลินตัน เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว แต่ปฏิเสธที่จะให้ความเห็นเรื่องที่มีผู้คาดเดาว่าเป็นการทาบทามให้อดีตสตรีหมายเลขหนึ่งของสหรัฐฯ เข้ารับตำแหน่งรัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศ
นอกจากนั้น ว่าที่ประธานาธิบดีผิวสีคนแรกของสหรัฐฯ ยังได้เร่งมือทำงานในช่วงระยะส่งมอบอำนาจก่อนที่จะเข้าพิธีสาบานตนรับตำแหน่งอย่างเป็นทางการในวันที่ 20 มกราคม ปีหน้า โดยในวันอาทิตย์เขาได้ลาออกจากตำแหน่งวุฒิสมาชิก และแต่งตั้งผู้ช่วยเพิ่มอีก 3 คนเพื่อช่วยงานของเขาในทำเนียบขาวโดยจะเริ่มงานทันทีที่รับมอบงานจากบุช
โอบามาบอกกับ"60 มินิทส์"ว่า ทันทีที่เข้ารับตำแหน่ง "ผมจะเรียกคณะเสนาธิการทหารผสมทั้งหมด รวมทั้งทีมด้านความมั่นคงแห่งชาติของผม มาร่วมกันวางแผนการที่จะถอนกำลังทหารของเราออกจากอิรัก และหันไปทุ่มเทแก้ปัญหาในอัฟกานิสถานที่กำลังแย่ลง"
ทั้งนี้ ในระหว่างการหาเสียงเลือกตั้ง โอบามาเคยให้คำมั่นว่าจะถอนกำลังทหารหนึ่งหรือสองกองพลน้อยออกจากอิรักทุกๆ เดือนจนกระทั่งเมื่อครบ 16 เดือนแล้วก็จะมีทหารเหลืออยู่เพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น โดยกำลังทหารที่ถอนออกมาจะถูกส่งไปประจำการที่อัฟกานิสถานแทน
"เป็นเรื่องสำคัญอันดับแรกที่เราจะต้องกำจัดกลุ่มอัลกออิดะห์ให้หมดไป" โอบามาบอกและว่าการสังหารหรือจับกุมตัวอุซามะห์ บินลาดิน ผู้นำกลุ่มอัลกออิดะห์ ถือเป็นเรื่อง "สำคัญยิ่งยวด" ต่อความมั่นคงของสหรัฐฯ
ยิ่งกว่านั้น โอบามายังระบุถึงเรื่องการปิดค่ายกักกันนักโทษของสหรัฐฯ ในอ่าวกวนตานาโม ในคิวบา ซึ่งเป็นสถานที่กักขังผู้ต้องสงสัยว่าเป็นผู้ก่อการร้าย
"ผมได้พูดย้ำหลายครั้งแล้วว่าผมมีความตั้งใจที่จะปิดค่ายกักกันกวนตานาโม และจะทำตามที่พูดไว้ และผมก็ได้พูดเช่นกันว่าอเมริกาไม่ใช้วิธีการทรมาน ผมจะทำให้ทุกคนมั่นใจว่าเราไม่ทรมานใคร และนี่จะเป็นส่วนหนึ่งของความพยายามในการฟื้นฟูมาตรฐานทางศีลธรรมของอเมริกาในสายตาชาวโลกอีกครั้งหนึ่ง"
กระนั้น โอบามาก็ไม่ได้ขยายความให้ชัดแจ้งว่าจะนำนักโทษที่ถูกกักขังในค่ายกวนตานาโมไปไว้ที่ใด รวมทั้งจะมีการย้ายไปอยู่ในความดูแลของฝ่ายพลเรือนแทนฝ่ายทหารหรือไม่ หรือจะมีการส่งฟ้องศาล หรือปล่อยตัวไป
ทั้งนี้ การสั่งการถอนทหารออกจากอิรักและการสั่งปิดค่ายกักกันกวนตานาโมนั้นสามารถทำได้โดยการใช้อำนาจพิเศษของประธานาธิบดี ซึ่งโอบามายังอาจจะสั่งแก้ "คำสั่งของฝ่ายบริหาร" อีกหลายเรื่องที่ลงนามโดยบุชด้วย
โอบามาบอกด้วยว่า ในส่วนของคองเกรสนั้น สิ่งที่เขาจะดำเนินการเป็นอย่างแรกก็คือการผ่านกฎหมายกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มอีกชุดหนึ่ง โดยเขาเห็นว่าจะเกิด "หายนะ" ขึ้นหากรัฐบาลมัวนิ่งเฉยและปล่อยให้กิจการอย่างเจเนอรัล มอเตอร์ส (จีเอ็ม) และอุตสาหกรรมรถยนต์ที่กำลังประสบวิกฤตต้องล้มละลายไปโดยไม่ยื่นมือเข้าช่วยเหลือ
ว่าที่ประธานาธิบดีอเมริกันดูเหมือนว่า ไม่สู้จะกังวลกับเรื่องที่ฐานะทางการเงินการคลังของสหรัฐฯ อาจต้องติดตัวแดง โดยเขาเห็นว่านักเศรษฐศาสตร์ตั้งแต่พวกนิยมซ้ายไปจนถึงฝ่ายขวาต่างก็เห็นพ้องกันว่า "เราต้องทำอะไรก็ตามที่จะทำให้เศรษฐกิจขับเคลื่อนได้อีกครั้ง"
"และเราก็ไม่ควรวิตกกับการขาดดุลงบประมาณในปีหน้าหรือปีถัดไปด้วย เพราะนั่นเป็นเรื่องระยะสั้น แต่สิ่งที่สำคัญกว่าก็คือเราควรหนีให้พ้นจากภาวะเศรษฐกิจถดถอยให้ได้" โอบามาให้ความเห็น
นอกจากนั้น โอบามาบอกว่าเขามีความเห็นสอดคล้องกับที่ประชุมระดับผู้นำของกลุ่มจี20 เมื่อวันเสาร์ (15) ที่ว่า ควรต้องออกกฎระเบียบใหม่ๆ เพื่อกำกับตรวจสอบตลาดการเงิน โดยถือว่าเรื่องนี้มีความสำคัญต่อการฟื้นฟูความเชื่อมั่นของผู้บริโภค
ระหว่างการให้สัมภาษณ์รายการ "60 มินิทส์" ของเครือข่ายโทรทัศน์ซีบีเอส ซึ่งบันทึกวิดีโอเอาไว้ตั้งแต่วันศุกร์(14) แต่นำมาออกอากาศในคืนวันอาทิตย์ (16) โอบามากล่าวว่าการฟื้นฟูภาวะเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ที่กำลังเพียบหนักจะเป็นภารกิจอันดับแรกเมื่อเขาเข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐฯ แม้ว่าการแก้ปัญหาดังกล่าวจะทำให้เกิดการขาดดุลงบประมาณสูงขึ้นกว่าเดิมก็ตาม
เขาบอกด้วยว่าในคณะรัฐมนตรีของเขาจะมีคนของพรรครีพับลิกันด้วยอย่างน้อยหนึ่งคน และยอมรับว่าได้พบกับฮิลลารี คลินตัน เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว แต่ปฏิเสธที่จะให้ความเห็นเรื่องที่มีผู้คาดเดาว่าเป็นการทาบทามให้อดีตสตรีหมายเลขหนึ่งของสหรัฐฯ เข้ารับตำแหน่งรัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศ
นอกจากนั้น ว่าที่ประธานาธิบดีผิวสีคนแรกของสหรัฐฯ ยังได้เร่งมือทำงานในช่วงระยะส่งมอบอำนาจก่อนที่จะเข้าพิธีสาบานตนรับตำแหน่งอย่างเป็นทางการในวันที่ 20 มกราคม ปีหน้า โดยในวันอาทิตย์เขาได้ลาออกจากตำแหน่งวุฒิสมาชิก และแต่งตั้งผู้ช่วยเพิ่มอีก 3 คนเพื่อช่วยงานของเขาในทำเนียบขาวโดยจะเริ่มงานทันทีที่รับมอบงานจากบุช
โอบามาบอกกับ"60 มินิทส์"ว่า ทันทีที่เข้ารับตำแหน่ง "ผมจะเรียกคณะเสนาธิการทหารผสมทั้งหมด รวมทั้งทีมด้านความมั่นคงแห่งชาติของผม มาร่วมกันวางแผนการที่จะถอนกำลังทหารของเราออกจากอิรัก และหันไปทุ่มเทแก้ปัญหาในอัฟกานิสถานที่กำลังแย่ลง"
ทั้งนี้ ในระหว่างการหาเสียงเลือกตั้ง โอบามาเคยให้คำมั่นว่าจะถอนกำลังทหารหนึ่งหรือสองกองพลน้อยออกจากอิรักทุกๆ เดือนจนกระทั่งเมื่อครบ 16 เดือนแล้วก็จะมีทหารเหลืออยู่เพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น โดยกำลังทหารที่ถอนออกมาจะถูกส่งไปประจำการที่อัฟกานิสถานแทน
"เป็นเรื่องสำคัญอันดับแรกที่เราจะต้องกำจัดกลุ่มอัลกออิดะห์ให้หมดไป" โอบามาบอกและว่าการสังหารหรือจับกุมตัวอุซามะห์ บินลาดิน ผู้นำกลุ่มอัลกออิดะห์ ถือเป็นเรื่อง "สำคัญยิ่งยวด" ต่อความมั่นคงของสหรัฐฯ
ยิ่งกว่านั้น โอบามายังระบุถึงเรื่องการปิดค่ายกักกันนักโทษของสหรัฐฯ ในอ่าวกวนตานาโม ในคิวบา ซึ่งเป็นสถานที่กักขังผู้ต้องสงสัยว่าเป็นผู้ก่อการร้าย
"ผมได้พูดย้ำหลายครั้งแล้วว่าผมมีความตั้งใจที่จะปิดค่ายกักกันกวนตานาโม และจะทำตามที่พูดไว้ และผมก็ได้พูดเช่นกันว่าอเมริกาไม่ใช้วิธีการทรมาน ผมจะทำให้ทุกคนมั่นใจว่าเราไม่ทรมานใคร และนี่จะเป็นส่วนหนึ่งของความพยายามในการฟื้นฟูมาตรฐานทางศีลธรรมของอเมริกาในสายตาชาวโลกอีกครั้งหนึ่ง"
กระนั้น โอบามาก็ไม่ได้ขยายความให้ชัดแจ้งว่าจะนำนักโทษที่ถูกกักขังในค่ายกวนตานาโมไปไว้ที่ใด รวมทั้งจะมีการย้ายไปอยู่ในความดูแลของฝ่ายพลเรือนแทนฝ่ายทหารหรือไม่ หรือจะมีการส่งฟ้องศาล หรือปล่อยตัวไป
ทั้งนี้ การสั่งการถอนทหารออกจากอิรักและการสั่งปิดค่ายกักกันกวนตานาโมนั้นสามารถทำได้โดยการใช้อำนาจพิเศษของประธานาธิบดี ซึ่งโอบามายังอาจจะสั่งแก้ "คำสั่งของฝ่ายบริหาร" อีกหลายเรื่องที่ลงนามโดยบุชด้วย
โอบามาบอกด้วยว่า ในส่วนของคองเกรสนั้น สิ่งที่เขาจะดำเนินการเป็นอย่างแรกก็คือการผ่านกฎหมายกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มอีกชุดหนึ่ง โดยเขาเห็นว่าจะเกิด "หายนะ" ขึ้นหากรัฐบาลมัวนิ่งเฉยและปล่อยให้กิจการอย่างเจเนอรัล มอเตอร์ส (จีเอ็ม) และอุตสาหกรรมรถยนต์ที่กำลังประสบวิกฤตต้องล้มละลายไปโดยไม่ยื่นมือเข้าช่วยเหลือ
ว่าที่ประธานาธิบดีอเมริกันดูเหมือนว่า ไม่สู้จะกังวลกับเรื่องที่ฐานะทางการเงินการคลังของสหรัฐฯ อาจต้องติดตัวแดง โดยเขาเห็นว่านักเศรษฐศาสตร์ตั้งแต่พวกนิยมซ้ายไปจนถึงฝ่ายขวาต่างก็เห็นพ้องกันว่า "เราต้องทำอะไรก็ตามที่จะทำให้เศรษฐกิจขับเคลื่อนได้อีกครั้ง"
"และเราก็ไม่ควรวิตกกับการขาดดุลงบประมาณในปีหน้าหรือปีถัดไปด้วย เพราะนั่นเป็นเรื่องระยะสั้น แต่สิ่งที่สำคัญกว่าก็คือเราควรหนีให้พ้นจากภาวะเศรษฐกิจถดถอยให้ได้" โอบามาให้ความเห็น
นอกจากนั้น โอบามาบอกว่าเขามีความเห็นสอดคล้องกับที่ประชุมระดับผู้นำของกลุ่มจี20 เมื่อวันเสาร์ (15) ที่ว่า ควรต้องออกกฎระเบียบใหม่ๆ เพื่อกำกับตรวจสอบตลาดการเงิน โดยถือว่าเรื่องนี้มีความสำคัญต่อการฟื้นฟูความเชื่อมั่นของผู้บริโภค