เวลาเกิดวิกฤตเศรษฐกิจโลกขนาดใหญ่ เพื่อนๆ มักจะเชิญผมไปช่วยวิเคราะห์เรื่องราวการก่อเกิดขึ้นของวิกฤตและทิศทางในอนาคตให้ฟังเสมอ อาจจะเป็นเพราะบรรดาเพื่อนๆ มีความเชื่อว่าผมเป็นนักทำนายอนาคตที่ค่อนข้างแม่นมาก ผมจึงตกที่นั่งกลายเป็น ‘หมอดูแม่นๆ’ โดยไม่รู้ตัว
อาทิตย์ที่ผ่านมา เพื่อนกลุ่มหนึ่งจัดวงพูดคุยเรื่อง ‘วิกฤตเศรษฐกิจโลก’ งานสัมมนาเริ่มจากเพื่อนคนหนึ่งกล่าวขึ้นว่า
“คุณยุคทำนายวิกฤตเศรษฐกิจโลกถูกมา 3 ครั้งแล้ว ตั้งแต่ทำนายการแตกของฟองสบู่ปี 40 ตามด้วยวิกฤตไฮเทคและฟองสบู่แตกที่ประเทศสหรัฐอเมริกาประมาณปลายปี 2000 และครั้งนี้ คุณยุคก็ทำนายถูกอีกว่า จะเกิดฟองสบู่แตกครั้งใหญ่ ใหญ่มากๆ
สำหรับวิกฤตครั้งนี้ คุณเคยบอกว่า การแตกของฟองสบู่งวดนี้จะรุนแรงกว่าครั้งเก่าๆทั้งหมด โดยเริ่มจากการแตกของฟองสบู่ที่อเมริกา ตามด้วยการทรุดใหญ่ของเศรษฐกิจจริง แล้วจะตามมาด้วยการแตกของฟองสบู่ที่จีนและเอเชีย ซึ่งจะนำสู่ปรากฏการณ์ที่เรียกว่า The Great Depression อีกครั้งหนึ่ง”
ผมตอบเพื่อนว่า การคาดการณ์ ก็คือการเดาแบบหนึ่ง ซึ่งย่อมมีทั้งถูกและผิด เวลาเราคาดการณ์อะไร ก็คือ การสร้างฉากหรือเส้นทางอนาคตขึ้น ที่นำเสนอความเป็นไปได้เท่านั้น แท้จริงแล้ว เรายังต้องติดตามลงรายละเอียดและปรับฉาก ปรับทิศทางการคาดการณ์อยู่ตลอดเวลา
การคาดการณ์ว่าจะเกิด The Great Depression นั้น ปัจจุบันมีนักวิชาการตะวันตกบางท่านเริ่มใช้คำๆ นี้ออกมากันบ้างแล้ว โดยชี้ว่าวิกฤตที่เกิดขึ้นในปัจจุบันมีรากลึก แก้ยากมาก และจะนำสู่การหดตัวของระบบเศรษฐกิจโลกทั้งระบบ
ผมเองส่วนตัวคิดว่า โอกาสนั้นมีค่อนข้างสูง แต่ก็ขึ้นกับการแก้ปัญหาวิกฤตที่กำลังทำกันอยู่ จะทำได้ตรงเป้าและถูกจังหวะหรือไม่ หากสามารถจัดการได้ดี ก็จะลดทอนความรุนแรงลงไปได้บ้าง
การที่ผมกล่าวว่า ‘โอกาสค่อนข้างสูง’ เหตุเพราะวิกฤตครั้งนี้เป็น ‘วิกฤตซ้อนวิกฤต’ ไม่เพียงแต่เป็นวิกฤตจากการระเบิดของฟองสบู่เท่านั้น ยังเป็นวิกฤตอันเนื่องมาจากการอิ่มตัวของตลาดการผลิตจริงด้วย หรือกล่าวได้ว่า ยุคที่ระบบโลกรุ่งเรืองขึ้นมาจากการปฏิวัติไฮเทค นับตั้งแต่ประมาณปี 1987 จนถึงปัจจุบัน ได้ก้าวเข้าสู่จุดอิ่มตัวแล้ว
ผมคาดว่า ต้นปีหน้า (2009) ถึงประมาณกลางปี ระบบเศรษฐกิจจริงทั่วโลกจะเริ่มหดตัวครั้งใหญ่ อาจจะนำสู่การทรุดใหญ่ของตลาดหุ้นทั่วโลกอีกครั้งหนึ่ง การทรุดใหญ่ครั้งนี้ จะส่งผลสะเทือนอย่างรุนแรงต่อเศรษฐกิจเอเชียโดยตรง โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือ จีน อินเดีย เกาหลี ญี่ปุ่น รวมทั้งประเทศในย่านเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ปรากฏการณ์นี้น่าจะคล้ายกับผลกระทบของคลื่นสึนามิ แผ่จากโลกตะวันตกสู่โลกตะวันออก และจะสวิงกลับจากตะวันออก ตีกลับสู่ตะวันตกอีกครั้งหนึ่ง
ประมาณช่วงกลางถึงปลายปี 2009 หลังจากการหดตัวของเศรษฐกิจจริง ตลาดหุ้นทั่วโลกจะทรุดใหญ่อีกครั้งหนึ่ง จะเกิดความผันผวนของค่าเงินครั้งใหญ่ ในเวลาเดียวกัน ประชาชนทั่วโลกจะเผชิญทั้งปัญหาการตกงาน ปัญหาเงินฝืดและเงินเฟ้อพร้อมกัน รวมทั้งการพลิกผันของราคาสินค้าและอื่นๆ จะตามมา
ในหลายประเทศ วิกฤตเศรษฐกิจดังกล่าวจะนำสู่การเกิดวิกฤตการเมืองขนาดใหญ่ (อาทิ การเดินขบวน การนัดหยุดงาน) จนกลายเป็นเหตุปัจจัยซ้อนทับและหนุนเนื่องกัน จนนำสู่สภาวะที่น่าจะเรียกว่า The Great Depression ทั้งระบบ
ถึงอย่างไรก็ตาม แต่ละจุดของโลกจะเผชิญความหนักหน่วงของวิกฤตดังกล่าวนี้แตกต่างกันไป
ถ้าเรามองผ่านประวัติศาสตร์ช่วงที่ผ่านมา จุดที่จะหนักหน่วงสุดน่าจะอยู่ที่ประเทศสหรัฐอเมริกาเพราะเป็นประเทศที่มีการปั่นฟองสบู่รุนแรงที่สุด และถือว่าเป็นจุดเริ่มระเบิดของวิกฤตครั้งนี้
เริ่มจากต้นเดือนสิงหาคม 2008 America Home Mortgage ประกาศล้มละลาย หลังจากนั้นไม่นาน ธนาคารกลางสหรัฐอเมริกา (เฟด) ได้ประกาศลดดอกเบี้ย เมื่อ แฟนนี เม และเฟรดดี แมคทรุดหนัก เฟดได้ตัดสินใจเข้าอุ้มสถาบันการเงินดังกล่าว หลังจากนั้นไม่นานได้อัดฉีดเงิน 122,000 ล้านดอลลาร์ เพื่อเพิ่มสภาพคล่องให้กับ AIG บริษัทประกันยักษ์ใหญ่ระดับโลกของสหรัฐอเมริกา ตามด้วยการของบจากรัฐสภาสหรัฐฯ เพิ่มอีก 700,000 ล้านดอลลาร์ เพื่อใช้อุ้มตลาดหุ้นและซื้อหนี้เน่าที่ซ่อนอยู่ในสถาบันการเงินต่างๆ หลังจากนั้นไม่นาน เฟดก็ประกาศแผน ที่จะลงเงินเพิ่มอีก 250,000 ล้านดอลลาร์ เพื่อเสริมสภาพคล่องให้แก่ธนาคารต่างๆ
3 วันหลังจาก America Home Mortgage ล้มละลาย วิกฤตนี้ได้แพร่เข้าสู่ยุโรปอย่างรวดเร็ว และเกินคาด ธนาคาร BNP Paribas ของประเทศฝรั่งเศสประกาศหยุดดำเนินการกองทุนมูลค่ากว่า 2 พันล้านยูโร โดยกล่าวอ้างว่ามีสาเหตุมาจากการพังตัวของ Suprime Mortgage ที่ประเทศอเมริกา
นี่...น่าจะเป็นสาเหตุหนึ่งที่เรียกวิกฤตครั้งนี้ว่า “วิกฤตซับไพรม์”
หลังจากนั้นไม่นาน วิกฤตได้ระบาดสู่บรรดาแบงก์ต่างๆ ในยุโรปเกือบทุกแบงก์อย่างรวดเร็ว จนทำให้ธนาคารกลางของยุโรปต้องออกมาใช้เงินถึง 95 พันล้านยูโร เพื่อช่วยประคับประคองระบบการเงินของยุโรป และตามด้วยเงินอีก 61 พันล้านยูโรเพื่ออุ้มแบงก์ แม้ทำแล้วแต่สถานการณ์ก็ยังไม่ดีขึ้น จำต้องใช้เงินอีก 47.7 พันล้านยูโร เข้าอุ้มตลาดเงิน
จุดที่หนักหน่วงมากๆ น่าจะเป็นประเทศไอร์แลนด์ (Ireland) และอังกฤษ เพราะทั้งสองประเทศมีการปั่นอสังหาริมทรัพย์ขนาดใหญ่ด้วยเช่นกัน
กรณีของไอร์แลนด์ รัฐต้องใช้เงินกว่า 400,000 ล้านยูโร เพื่ออุ้มธนาคารเกือบทั้งหมดประมาณ 6 แห่ง
ที่ประเทศอังกฤษ รัฐบาลตัดสินใจเข้ายึดกิจการธนาคาร Bradford & Bingley เป็นของรัฐ นอกจากนี้ บรรดาแบงก์ขนาดใหญ่ต่างๆ อาจจะไม่น้อยกว่า 8 แห่งถูกผลกระทบรุนแรง ส่งผลให้รัฐบาลอังกฤษต้องประกาศแผนมูลค่ากว่า 691,000 ล้านดอลลาร์ อุ้มกิจการดังกล่าว
กรณีของเยอรมนี รัฐบาลก็ต้องใช้เงินถึง 568,000 ล้านยูโร เข้าค้ำประกันเงินฝาก และเข้าช่วยเหลือการเงินแก่ Hypo Real Estate ซึ่งถือว่าเป็นบรรษัทอสังหาริมทรัพย์ที่ใหญ่เป็นอันดับ 2 ของประเทศ
ขณะเดียวกัน ที่ประเทศนอร์เวย์ รัฐบาลประกาศใช้เงินอัดฉีดถึง 57,400 ล้านดอลลาร์ และโปรตุเกสจำต้องทำงบวงเงิน 27,500 ล้านดอลลาร์ เพื่อประกันสภาพคล่องของธนาคารต่างๆ
ในขณะที่ประเทศต่างๆ ในย่านเอเชียโดนผลกระทบโดยตรงแต่น้อยกว่ายุโรป กลับได้รับผลกระทบจากการทรุดใหญ่ของตลาดหุ้นอย่างแรง ประเทศใหญ่ๆ ทั้งจีน อินเดีย ญี่ปุ่น เกาหลี ตลาดหุ้นทรุดตัวหนักมาก ค่าเงินบางประเทศได้พลิกผันลง อย่างเช่น กรณีของเกาหลี ค่าเงินวอนตกอย่างแรง มากถึงประมาณ 30 เปอร์เซ็นต์ และประเทศญี่ปุ่นก็ต้องอัดเงินเพิ่มสภาพคล่องสู่ตลาดเงินไปแล้ว 29.5 ล้านล้านเยน
ส่วนที่ตลาดหุ้นรัสเซีย และยุโรปตะวันออก ตลาดหุ้นก็ทรุดหนักอย่างยิ่ง จนบางประเทศ เช่น รัสเซียต้องปิดตลาดทำการ (ตลาดหุ้นทรุดกว่า 58 เปอร์เซ็นต์ และค่าเงินรูเบิลตกลงเกือบ 10 เปอร์เซ็นต์)
ผมหยุดจะกล่าวต่อ และปลอบใจเพื่อนๆ ว่า
“ประเทศไทย ถือว่าได้รับผลกระทบน้อย และน้อยมากๆ เนื่องจากตลาดหุ้นของเราอยู่ในช่วงที่ขยายตัวค่อนข้างน้อย และการปั่นฟองสบู่ตลาดอสังหาริมทรัพย์มีไม่มากนัก”
เพื่อนคนหนึ่งสวนขึ้นว่า
“นี่น่าจะเป็นข้อดีที่ประเทศไทยได้จากการต้องเผชิญวิกฤตการเมือง หรือการเคลื่อนไหวล้มระบอบทักษิโณมิกส์”
ผมจึงกล่าวต่อว่า
การที่บรรดารัฐประเทศต่างๆ ต้องทุ่มเงินมหาศาลขนาดนี้ ถือได้ว่า เป็นครั้งแรกของประวัติศาสตร์การเงินโลก
แต่ถึงจะมีการทุ่มเงินไปมากแล้ว วันนี้...สภาวะวิกฤตก็ยังคงดำรงอยู่ เพราะเศรษฐกิจพื้นฐานโดยทั่วไปทั้งในสหรัฐอเมริกาและยุโรปยังซบเซาอย่างมาก ส่งผลทำให้การบริโภคโดยทั่วไปหดตัวอย่างหนัก
ผมเองเป็นห่วงว่า ถ้าประเทศต่างๆ ทุ่มเงินไปอุ้มธนาคาร ตลาดหุ้น และพยายามรักษาค่าเงิน มากเท่าไร เงินที่จะเหลืออยู่เพื่อใช้กระตุ้นเศรษฐกิจจริงจะลดทอนลงอย่างสัมพันธ์กัน (ยังมีต่อ)
อาทิตย์ที่ผ่านมา เพื่อนกลุ่มหนึ่งจัดวงพูดคุยเรื่อง ‘วิกฤตเศรษฐกิจโลก’ งานสัมมนาเริ่มจากเพื่อนคนหนึ่งกล่าวขึ้นว่า
“คุณยุคทำนายวิกฤตเศรษฐกิจโลกถูกมา 3 ครั้งแล้ว ตั้งแต่ทำนายการแตกของฟองสบู่ปี 40 ตามด้วยวิกฤตไฮเทคและฟองสบู่แตกที่ประเทศสหรัฐอเมริกาประมาณปลายปี 2000 และครั้งนี้ คุณยุคก็ทำนายถูกอีกว่า จะเกิดฟองสบู่แตกครั้งใหญ่ ใหญ่มากๆ
สำหรับวิกฤตครั้งนี้ คุณเคยบอกว่า การแตกของฟองสบู่งวดนี้จะรุนแรงกว่าครั้งเก่าๆทั้งหมด โดยเริ่มจากการแตกของฟองสบู่ที่อเมริกา ตามด้วยการทรุดใหญ่ของเศรษฐกิจจริง แล้วจะตามมาด้วยการแตกของฟองสบู่ที่จีนและเอเชีย ซึ่งจะนำสู่ปรากฏการณ์ที่เรียกว่า The Great Depression อีกครั้งหนึ่ง”
ผมตอบเพื่อนว่า การคาดการณ์ ก็คือการเดาแบบหนึ่ง ซึ่งย่อมมีทั้งถูกและผิด เวลาเราคาดการณ์อะไร ก็คือ การสร้างฉากหรือเส้นทางอนาคตขึ้น ที่นำเสนอความเป็นไปได้เท่านั้น แท้จริงแล้ว เรายังต้องติดตามลงรายละเอียดและปรับฉาก ปรับทิศทางการคาดการณ์อยู่ตลอดเวลา
การคาดการณ์ว่าจะเกิด The Great Depression นั้น ปัจจุบันมีนักวิชาการตะวันตกบางท่านเริ่มใช้คำๆ นี้ออกมากันบ้างแล้ว โดยชี้ว่าวิกฤตที่เกิดขึ้นในปัจจุบันมีรากลึก แก้ยากมาก และจะนำสู่การหดตัวของระบบเศรษฐกิจโลกทั้งระบบ
ผมเองส่วนตัวคิดว่า โอกาสนั้นมีค่อนข้างสูง แต่ก็ขึ้นกับการแก้ปัญหาวิกฤตที่กำลังทำกันอยู่ จะทำได้ตรงเป้าและถูกจังหวะหรือไม่ หากสามารถจัดการได้ดี ก็จะลดทอนความรุนแรงลงไปได้บ้าง
การที่ผมกล่าวว่า ‘โอกาสค่อนข้างสูง’ เหตุเพราะวิกฤตครั้งนี้เป็น ‘วิกฤตซ้อนวิกฤต’ ไม่เพียงแต่เป็นวิกฤตจากการระเบิดของฟองสบู่เท่านั้น ยังเป็นวิกฤตอันเนื่องมาจากการอิ่มตัวของตลาดการผลิตจริงด้วย หรือกล่าวได้ว่า ยุคที่ระบบโลกรุ่งเรืองขึ้นมาจากการปฏิวัติไฮเทค นับตั้งแต่ประมาณปี 1987 จนถึงปัจจุบัน ได้ก้าวเข้าสู่จุดอิ่มตัวแล้ว
ผมคาดว่า ต้นปีหน้า (2009) ถึงประมาณกลางปี ระบบเศรษฐกิจจริงทั่วโลกจะเริ่มหดตัวครั้งใหญ่ อาจจะนำสู่การทรุดใหญ่ของตลาดหุ้นทั่วโลกอีกครั้งหนึ่ง การทรุดใหญ่ครั้งนี้ จะส่งผลสะเทือนอย่างรุนแรงต่อเศรษฐกิจเอเชียโดยตรง โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือ จีน อินเดีย เกาหลี ญี่ปุ่น รวมทั้งประเทศในย่านเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ปรากฏการณ์นี้น่าจะคล้ายกับผลกระทบของคลื่นสึนามิ แผ่จากโลกตะวันตกสู่โลกตะวันออก และจะสวิงกลับจากตะวันออก ตีกลับสู่ตะวันตกอีกครั้งหนึ่ง
ประมาณช่วงกลางถึงปลายปี 2009 หลังจากการหดตัวของเศรษฐกิจจริง ตลาดหุ้นทั่วโลกจะทรุดใหญ่อีกครั้งหนึ่ง จะเกิดความผันผวนของค่าเงินครั้งใหญ่ ในเวลาเดียวกัน ประชาชนทั่วโลกจะเผชิญทั้งปัญหาการตกงาน ปัญหาเงินฝืดและเงินเฟ้อพร้อมกัน รวมทั้งการพลิกผันของราคาสินค้าและอื่นๆ จะตามมา
ในหลายประเทศ วิกฤตเศรษฐกิจดังกล่าวจะนำสู่การเกิดวิกฤตการเมืองขนาดใหญ่ (อาทิ การเดินขบวน การนัดหยุดงาน) จนกลายเป็นเหตุปัจจัยซ้อนทับและหนุนเนื่องกัน จนนำสู่สภาวะที่น่าจะเรียกว่า The Great Depression ทั้งระบบ
ถึงอย่างไรก็ตาม แต่ละจุดของโลกจะเผชิญความหนักหน่วงของวิกฤตดังกล่าวนี้แตกต่างกันไป
ถ้าเรามองผ่านประวัติศาสตร์ช่วงที่ผ่านมา จุดที่จะหนักหน่วงสุดน่าจะอยู่ที่ประเทศสหรัฐอเมริกาเพราะเป็นประเทศที่มีการปั่นฟองสบู่รุนแรงที่สุด และถือว่าเป็นจุดเริ่มระเบิดของวิกฤตครั้งนี้
เริ่มจากต้นเดือนสิงหาคม 2008 America Home Mortgage ประกาศล้มละลาย หลังจากนั้นไม่นาน ธนาคารกลางสหรัฐอเมริกา (เฟด) ได้ประกาศลดดอกเบี้ย เมื่อ แฟนนี เม และเฟรดดี แมคทรุดหนัก เฟดได้ตัดสินใจเข้าอุ้มสถาบันการเงินดังกล่าว หลังจากนั้นไม่นานได้อัดฉีดเงิน 122,000 ล้านดอลลาร์ เพื่อเพิ่มสภาพคล่องให้กับ AIG บริษัทประกันยักษ์ใหญ่ระดับโลกของสหรัฐอเมริกา ตามด้วยการของบจากรัฐสภาสหรัฐฯ เพิ่มอีก 700,000 ล้านดอลลาร์ เพื่อใช้อุ้มตลาดหุ้นและซื้อหนี้เน่าที่ซ่อนอยู่ในสถาบันการเงินต่างๆ หลังจากนั้นไม่นาน เฟดก็ประกาศแผน ที่จะลงเงินเพิ่มอีก 250,000 ล้านดอลลาร์ เพื่อเสริมสภาพคล่องให้แก่ธนาคารต่างๆ
3 วันหลังจาก America Home Mortgage ล้มละลาย วิกฤตนี้ได้แพร่เข้าสู่ยุโรปอย่างรวดเร็ว และเกินคาด ธนาคาร BNP Paribas ของประเทศฝรั่งเศสประกาศหยุดดำเนินการกองทุนมูลค่ากว่า 2 พันล้านยูโร โดยกล่าวอ้างว่ามีสาเหตุมาจากการพังตัวของ Suprime Mortgage ที่ประเทศอเมริกา
นี่...น่าจะเป็นสาเหตุหนึ่งที่เรียกวิกฤตครั้งนี้ว่า “วิกฤตซับไพรม์”
หลังจากนั้นไม่นาน วิกฤตได้ระบาดสู่บรรดาแบงก์ต่างๆ ในยุโรปเกือบทุกแบงก์อย่างรวดเร็ว จนทำให้ธนาคารกลางของยุโรปต้องออกมาใช้เงินถึง 95 พันล้านยูโร เพื่อช่วยประคับประคองระบบการเงินของยุโรป และตามด้วยเงินอีก 61 พันล้านยูโรเพื่ออุ้มแบงก์ แม้ทำแล้วแต่สถานการณ์ก็ยังไม่ดีขึ้น จำต้องใช้เงินอีก 47.7 พันล้านยูโร เข้าอุ้มตลาดเงิน
จุดที่หนักหน่วงมากๆ น่าจะเป็นประเทศไอร์แลนด์ (Ireland) และอังกฤษ เพราะทั้งสองประเทศมีการปั่นอสังหาริมทรัพย์ขนาดใหญ่ด้วยเช่นกัน
กรณีของไอร์แลนด์ รัฐต้องใช้เงินกว่า 400,000 ล้านยูโร เพื่ออุ้มธนาคารเกือบทั้งหมดประมาณ 6 แห่ง
ที่ประเทศอังกฤษ รัฐบาลตัดสินใจเข้ายึดกิจการธนาคาร Bradford & Bingley เป็นของรัฐ นอกจากนี้ บรรดาแบงก์ขนาดใหญ่ต่างๆ อาจจะไม่น้อยกว่า 8 แห่งถูกผลกระทบรุนแรง ส่งผลให้รัฐบาลอังกฤษต้องประกาศแผนมูลค่ากว่า 691,000 ล้านดอลลาร์ อุ้มกิจการดังกล่าว
กรณีของเยอรมนี รัฐบาลก็ต้องใช้เงินถึง 568,000 ล้านยูโร เข้าค้ำประกันเงินฝาก และเข้าช่วยเหลือการเงินแก่ Hypo Real Estate ซึ่งถือว่าเป็นบรรษัทอสังหาริมทรัพย์ที่ใหญ่เป็นอันดับ 2 ของประเทศ
ขณะเดียวกัน ที่ประเทศนอร์เวย์ รัฐบาลประกาศใช้เงินอัดฉีดถึง 57,400 ล้านดอลลาร์ และโปรตุเกสจำต้องทำงบวงเงิน 27,500 ล้านดอลลาร์ เพื่อประกันสภาพคล่องของธนาคารต่างๆ
ในขณะที่ประเทศต่างๆ ในย่านเอเชียโดนผลกระทบโดยตรงแต่น้อยกว่ายุโรป กลับได้รับผลกระทบจากการทรุดใหญ่ของตลาดหุ้นอย่างแรง ประเทศใหญ่ๆ ทั้งจีน อินเดีย ญี่ปุ่น เกาหลี ตลาดหุ้นทรุดตัวหนักมาก ค่าเงินบางประเทศได้พลิกผันลง อย่างเช่น กรณีของเกาหลี ค่าเงินวอนตกอย่างแรง มากถึงประมาณ 30 เปอร์เซ็นต์ และประเทศญี่ปุ่นก็ต้องอัดเงินเพิ่มสภาพคล่องสู่ตลาดเงินไปแล้ว 29.5 ล้านล้านเยน
ส่วนที่ตลาดหุ้นรัสเซีย และยุโรปตะวันออก ตลาดหุ้นก็ทรุดหนักอย่างยิ่ง จนบางประเทศ เช่น รัสเซียต้องปิดตลาดทำการ (ตลาดหุ้นทรุดกว่า 58 เปอร์เซ็นต์ และค่าเงินรูเบิลตกลงเกือบ 10 เปอร์เซ็นต์)
ผมหยุดจะกล่าวต่อ และปลอบใจเพื่อนๆ ว่า
“ประเทศไทย ถือว่าได้รับผลกระทบน้อย และน้อยมากๆ เนื่องจากตลาดหุ้นของเราอยู่ในช่วงที่ขยายตัวค่อนข้างน้อย และการปั่นฟองสบู่ตลาดอสังหาริมทรัพย์มีไม่มากนัก”
เพื่อนคนหนึ่งสวนขึ้นว่า
“นี่น่าจะเป็นข้อดีที่ประเทศไทยได้จากการต้องเผชิญวิกฤตการเมือง หรือการเคลื่อนไหวล้มระบอบทักษิโณมิกส์”
ผมจึงกล่าวต่อว่า
การที่บรรดารัฐประเทศต่างๆ ต้องทุ่มเงินมหาศาลขนาดนี้ ถือได้ว่า เป็นครั้งแรกของประวัติศาสตร์การเงินโลก
แต่ถึงจะมีการทุ่มเงินไปมากแล้ว วันนี้...สภาวะวิกฤตก็ยังคงดำรงอยู่ เพราะเศรษฐกิจพื้นฐานโดยทั่วไปทั้งในสหรัฐอเมริกาและยุโรปยังซบเซาอย่างมาก ส่งผลทำให้การบริโภคโดยทั่วไปหดตัวอย่างหนัก
ผมเองเป็นห่วงว่า ถ้าประเทศต่างๆ ทุ่มเงินไปอุ้มธนาคาร ตลาดหุ้น และพยายามรักษาค่าเงิน มากเท่าไร เงินที่จะเหลืออยู่เพื่อใช้กระตุ้นเศรษฐกิจจริงจะลดทอนลงอย่างสัมพันธ์กัน (ยังมีต่อ)