ศูนย์เครือข่ายวิชาการเพื่อสังเกตการณ์ และวิจัยความสุขชุมชน (ศูนย์วิจัยความสุขชุมชน) มหาวิทยาลัยอัชสัมชัญ เปิดเผยผลสำรวจความสุขมวลรวมของคนไทย ประจำเดือน ต.ค - ต้นเดือนพ.ย. 51 พบว่า ความสุขมวลรวมของคนไทยลดลงต่ำสุด ตั้งแต่เคยทำวิจัยความสุขมาในรอบ 34 เดือน โดยดัชนีความสุขมวลรวมในผลวิจัยครั้งนี้อยู่ที่ 4.84 จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน ลดลงจาก 5.64 ในการสำรวจช่วงเดือนก.ย. ที่ผ่านมา
นายนพดล กรรณิกา ผ.อ.ศูนย์วิจัยความสุขชุมชน กล่าวว่า สาเหตุสำคัญที่ทำให้ความสุขของประชาชนลดต่ำลงในทุกภูมิภาค และต่ำสุดในรอบ 34 เดือน คือ ความขัดแย้งรุนแรงบานปลายทางการเมือง จนมีเหตุทำให้ประชาชนคนไทยด้วยกันบาดเจ็บล้มตาย ปัญหาหลักธรรมาภิบาลของรัฐบาล ปัญหาจริยธรรมทางการเมืองของนักการเมือง และปัญหาเศรษฐกิจ ปัญหาปากท้องของประชาชน ส่งผลทำให้เกิดความเครียดสะสมในกลุ่มประชาชนทุกเพศ ทุกวัย ทุกระดับชั้นของสังคม
ทั้งนี้ ประชาชนเกินกว่าครึ่ง หรือ 56.9% เห็นว่ารัฐบาลมีปัญหาด้านหลักธรรมาภิบาล เช่น ไม่มีความสง่างาม ไม่ชอบธรรม มีปัญหาด้านจริยธรรมทางการเมือง มีความเคลือบแคลงสงสัยในหมู่ประชาชนต่อรัฐบาล และผลประเมินความสุขมวลรวมในคนกลุ่มนี้ พบว่ามีความสุขมวลรวมเพียง 4.60 เท่านั้น
ขณะที่ประชาชน 43.1% เห็นว่ารัฐบาลไม่มีปัญหาด้านหลักธรรมาภิบาล เพราะยังคงมีความสง่างาม มีความชอบธรรมอยู่ และผลวิจัยพบว่า ประชาชนกลุ่มนี้มีความสุขสูงกว่า คือมีความสุขอยู่ที่ 5.1
ผลสำรวจยังพบว่าประชาชนส่วนใหญ่ 81.9 % ระบุว่า เมื่อมองสถานการณ์การเมืองปัจจุบันที่นักการเมืองโฏงต้องประสบวิบากกรรมแล้ว ทำให้มีความเชื่อเรื่องบาปบุญคุณโทษเพิ่มมากขึ้น และความสุขมวลรวมของคนกลุ่มนี้อยู่ที่ 4.85 ในขณะที่ประชาชน 18.1% กลับมีความเชื่อเรื่องบาปบุญคุณโทษลดน้อยลง แต่ความสุขมวลรวมของคนกลุ่มนี้มีค่าเฉลี่ยน้อยกว่าคนกลุ่มแรกคืออยู่ที่ 4.67
อย่างไรก็ตาม เมื่อถามถึงความหวังต่อความปรองดองของคนในชาติหลังจากติดตามข่าวการเตรียมงานการซ้อม และงานพระราชพิธีต่างๆ แล้ว พบว่าประชาชนส่วนใหญ่ 71.2% มีความหวังต่อความปรองดองของคนในชาติ ขณะที่ 28.8% ไม่มีความหวัง
ทั้งนี้ ผลการจัด 3 อันดับ ของสิ่งที่จะช่วยทำให้ความสุขมวลรวมของประชาชนเพิ่มสูงขึ้น อันดับแรก คือ ประชาชนคนไทยทุกคนปฏิบัติตนด้วยความรักความสามัคคี ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน รองลงมา คือ ทุกกลุ่มทุกฝ่ายหันหน้าจับมือกันต่อหน้าสาธารณชน ช่วยแก้ปัญหาบ้านเมือง และอันดับที่สาม ทุกฝ่ายทุกคนเคารพและยอมรับกระบวนการยุติธรรมตามตัวบทกฎหมาย
ผลการสำรวจดังกล่าว มาจากประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งใน 18 จังหวัด ของประเทศ คือ กรุงเทพมหานคร นนทบุรี สมุทรปราการ ปทุมธานี เชียงใหม่ ลำพูน นครสวรรค์ ปราจีนบุรี ระยอง พระนครศรีอยุธยา สุพรรณบุรี นครพนม สกลนคร ศรีสะเกษ นครราชสีมา อุบลราชธานี กระบี่ และสุราษฎร์ธานี จำนวนทั้งสิ้น 5,267 ตัวอย่าง ดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 2 - 15 พ.ย.51
นายนพดล กรรณิกา ผ.อ.ศูนย์วิจัยความสุขชุมชน กล่าวว่า สาเหตุสำคัญที่ทำให้ความสุขของประชาชนลดต่ำลงในทุกภูมิภาค และต่ำสุดในรอบ 34 เดือน คือ ความขัดแย้งรุนแรงบานปลายทางการเมือง จนมีเหตุทำให้ประชาชนคนไทยด้วยกันบาดเจ็บล้มตาย ปัญหาหลักธรรมาภิบาลของรัฐบาล ปัญหาจริยธรรมทางการเมืองของนักการเมือง และปัญหาเศรษฐกิจ ปัญหาปากท้องของประชาชน ส่งผลทำให้เกิดความเครียดสะสมในกลุ่มประชาชนทุกเพศ ทุกวัย ทุกระดับชั้นของสังคม
ทั้งนี้ ประชาชนเกินกว่าครึ่ง หรือ 56.9% เห็นว่ารัฐบาลมีปัญหาด้านหลักธรรมาภิบาล เช่น ไม่มีความสง่างาม ไม่ชอบธรรม มีปัญหาด้านจริยธรรมทางการเมือง มีความเคลือบแคลงสงสัยในหมู่ประชาชนต่อรัฐบาล และผลประเมินความสุขมวลรวมในคนกลุ่มนี้ พบว่ามีความสุขมวลรวมเพียง 4.60 เท่านั้น
ขณะที่ประชาชน 43.1% เห็นว่ารัฐบาลไม่มีปัญหาด้านหลักธรรมาภิบาล เพราะยังคงมีความสง่างาม มีความชอบธรรมอยู่ และผลวิจัยพบว่า ประชาชนกลุ่มนี้มีความสุขสูงกว่า คือมีความสุขอยู่ที่ 5.1
ผลสำรวจยังพบว่าประชาชนส่วนใหญ่ 81.9 % ระบุว่า เมื่อมองสถานการณ์การเมืองปัจจุบันที่นักการเมืองโฏงต้องประสบวิบากกรรมแล้ว ทำให้มีความเชื่อเรื่องบาปบุญคุณโทษเพิ่มมากขึ้น และความสุขมวลรวมของคนกลุ่มนี้อยู่ที่ 4.85 ในขณะที่ประชาชน 18.1% กลับมีความเชื่อเรื่องบาปบุญคุณโทษลดน้อยลง แต่ความสุขมวลรวมของคนกลุ่มนี้มีค่าเฉลี่ยน้อยกว่าคนกลุ่มแรกคืออยู่ที่ 4.67
อย่างไรก็ตาม เมื่อถามถึงความหวังต่อความปรองดองของคนในชาติหลังจากติดตามข่าวการเตรียมงานการซ้อม และงานพระราชพิธีต่างๆ แล้ว พบว่าประชาชนส่วนใหญ่ 71.2% มีความหวังต่อความปรองดองของคนในชาติ ขณะที่ 28.8% ไม่มีความหวัง
ทั้งนี้ ผลการจัด 3 อันดับ ของสิ่งที่จะช่วยทำให้ความสุขมวลรวมของประชาชนเพิ่มสูงขึ้น อันดับแรก คือ ประชาชนคนไทยทุกคนปฏิบัติตนด้วยความรักความสามัคคี ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน รองลงมา คือ ทุกกลุ่มทุกฝ่ายหันหน้าจับมือกันต่อหน้าสาธารณชน ช่วยแก้ปัญหาบ้านเมือง และอันดับที่สาม ทุกฝ่ายทุกคนเคารพและยอมรับกระบวนการยุติธรรมตามตัวบทกฎหมาย
ผลการสำรวจดังกล่าว มาจากประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งใน 18 จังหวัด ของประเทศ คือ กรุงเทพมหานคร นนทบุรี สมุทรปราการ ปทุมธานี เชียงใหม่ ลำพูน นครสวรรค์ ปราจีนบุรี ระยอง พระนครศรีอยุธยา สุพรรณบุรี นครพนม สกลนคร ศรีสะเกษ นครราชสีมา อุบลราชธานี กระบี่ และสุราษฎร์ธานี จำนวนทั้งสิ้น 5,267 ตัวอย่าง ดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 2 - 15 พ.ย.51