ผู้จัดการรายวัน – ซีพีเอฟ โชว์ผลงานงวด 9 เดือนแรก กำไรสุทธิรวม 2.8 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนกว่า 151% หลังราคาสินค้าและยอดขายปรับตัวเพิ่มขึ้น หรือมียอดขายรวมเกือบ 1.2 แสนล้านบาท ด้านผู้บริหารมั่นใจกระแสไข้หวัดนกไม่กระทบเป้ายอดขายที่ 1.5 แสนล้านบาท พร้อมมุ่งปรับปรุงประสิทธิภาพและลดต้นทุนในปีหน้า ระบุทบทวนแผนลงทุนขยายงานมาตั้งแต่ต้นปีหลักจากเกิดวิกฤตการเงินโลก
นายอดิเรก ศรีประทักษ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานคณะผู้บริหาร บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ CPF เปิดเผยถึง ผลการดำเนินงานงวด 9 เดือน สิ้นสุด ณ วันที่ 30 กันยายน 2551 ว่า บริษัทมีกำไรสุทธิรวม 2,824 ล้านบาท กำไรสุทธิต่อหุ้น 0.39 บาท เทียบกับงวดเดียวกันของปีก่อนที่กำไรสุทธิ 1,127 ล้านบาท กำไรสุทธิต่อหุ้น 0.16 บาท คิดเป็นกำไรสุทธิเพิ่มขึ้น 151% จากที่มียอดขายรวม 116,185 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 17%
ขณะที่ไตรมาส 3/51 บริษัทมีกำไรสุทธิ 1,388 ล้าบาท กำไรสุทธิต่อหุ้น 0.19 บาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนที่กำไรสุทธิ 1,308 ล้านบาท กำไรสุทธิต่อหุ้น 0.18 บาท กำไรสุทธิเพิ่มขึ้น 80 ล้านบาท คิดเป็น 6%
นายอดิเรก กล่าวว่า การปรับตัวขึ้นของยอดขายของบริษัทในช่วง 9 เดือน ส่วนใหญ่มาจากการปรับตัวสูงขึ้นของระดับราคาเนื้อสัตว์ทั้งในประเทศและสินค้าเนื้อสัตว์ส่งออกทั้งกิจการในประเทศไทยและต่างประเทศที่ปรับขึ้นตามภาวะต้นทุนที่สูงขึ้น ประกอบกับปริมาณการส่งออกสินค้าเนื้อสัตว์แปรรูปของบริษัทนั้นมีปริมาณเพิ่มขึ้น
สำหรับในเรื่องผลกระทบจากไข้หวัดนกที่เกิดขึ้นที่จังหวัดสุโขทัยนั้น เป็นการเกิดขึ้นในส่วนของการเลี้ยงไก่พื้นเมือง ซึ่งจะไม่กระทบต่อยอดขายของบริษัท เพราะผู้บริโภคมีความเข้าใจและมั่นใจในมาตรฐานการผลิตเนื้อไก่ของบริษัท
ขณะที่ภาคการส่งออก บริษัทผู้นำเข้าต่างเข้าใจในสถานการณ์ที่เกิดขึ้น และสินค้าหลักในการส่งออกของซีพีเอฟเป็นผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูปที่ผ่านกระบวนการผลิตที่ได้มาตรฐานสากล ปลอดภัย ลูกค้ามีการตรวจสอบกระบวนการผลิตของบริษัทอย่างสม่ำเสมอ ประกอบกับจีนมีเหตุการณ์เกี่ยวกับมาตรฐานสินค้าอาหารที่มีสารปนเปื้อนในช่วงที่ผ่านมา ทำให้ประเทศไทยมีโอกาสและศักยภาพเพิ่มขึ้น ในเรื่องของการส่งออกสินค้าอาหารไปยังกลุ่มลูกค้าเดิมของประเทศจีน
ส่วนโครงการดำเนินกิจการในต่างประเทศนั้น ล่าสุดบริษัทได้เริ่มดำเนินการผลิตโครงการในประเทศรัสเซีย ซึ่งจะเริ่มส่งรายได้จากการผลิตเข้ามาในต้นปีหน้า ซึ่งธุรกิจหลักในประเทศรัสเซียเป็นอาหารสัตว์บกและสุกรพันธุ์ ที่จำหน่ายให้กับเกษตรกรชาวรัสเซียที่เดิมใช้อาหารสัตว์ผสมเอง หรืออาหารสัตว์ที่อาจจะมีคุณภาพไม่สูง
นายอดิเรก กล่าวว่า ในปี 2551 บริษัทมั่นใจว่ายอดขายจะเป็นไปตามเป้าหมายที่ 150,000 ล้านบาท และในปี 2552 ภาวะวิกฤตทางการเงินของประเทศต่างๆ ทั่วโลก อาจส่งผลกระทบต่อการจับจ่ายใช้สอยของผู้บริโภค ดังนั้น จึงทบทวนการลงทุนขยายงานมาตั้งแต่ต้นปี 2551 และจะยังคงนโยบายไม่เพิ่มการลงทุนใน non-core assets พร้อมกับดำเนินนโยบายอย่างระมัดระวังในเรื่องของค่าใช้จ่ายต่างๆ ควบคู่ไปกับการปรับปรุงประสิทธิภาพและลดต้นทุน
อย่างไรก็ตาม บริษัทจะได้รับปัจจัยบวกจากภาวะราคาน้ำมันที่ลดลงยังทำให้ต้นทุนการผลิตลดลง ประกอบกับค่าเงินบาทที่น่าจะอ่อนค่าลงจากช่วง 9 เดือนแรกของปี ซึ่งจะทำให้ซีพีเอฟมีสถานะการเงินที่แข็งแกร่งขึ้น และมีอัตราการทำกำไรที่ดีขึ้น
“ซีพีเอฟ มีนโยบายจ่ายเงินปันผลปีละ 2 ครั้ง โดยครั้งแรกจากผลการดำเนินงานรอบ 6 เดือนแรก ในอัตราหุ้นละ 0.08 บาท ส่วนครึ่งปีหลังบริษัทคาดว่าผลการดำเนินงานจะดีกว่าครึ่งปีแรก บวกกับโครงการซื้อหุ้นคืน ซึ่งล่าสุดซื้อคือได้แล้วประมาณ 3% ของทุนจดทะเบียนที่เรียกชำระแล้ว ทำให้มั่นใจว่าเงินปันผลครึ่งปีหลังจะอยู่ในอัตราที่สูงกว่าครึ่งปีแรก”
นายอดิเรก ศรีประทักษ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานคณะผู้บริหาร บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ CPF เปิดเผยถึง ผลการดำเนินงานงวด 9 เดือน สิ้นสุด ณ วันที่ 30 กันยายน 2551 ว่า บริษัทมีกำไรสุทธิรวม 2,824 ล้านบาท กำไรสุทธิต่อหุ้น 0.39 บาท เทียบกับงวดเดียวกันของปีก่อนที่กำไรสุทธิ 1,127 ล้านบาท กำไรสุทธิต่อหุ้น 0.16 บาท คิดเป็นกำไรสุทธิเพิ่มขึ้น 151% จากที่มียอดขายรวม 116,185 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 17%
ขณะที่ไตรมาส 3/51 บริษัทมีกำไรสุทธิ 1,388 ล้าบาท กำไรสุทธิต่อหุ้น 0.19 บาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนที่กำไรสุทธิ 1,308 ล้านบาท กำไรสุทธิต่อหุ้น 0.18 บาท กำไรสุทธิเพิ่มขึ้น 80 ล้านบาท คิดเป็น 6%
นายอดิเรก กล่าวว่า การปรับตัวขึ้นของยอดขายของบริษัทในช่วง 9 เดือน ส่วนใหญ่มาจากการปรับตัวสูงขึ้นของระดับราคาเนื้อสัตว์ทั้งในประเทศและสินค้าเนื้อสัตว์ส่งออกทั้งกิจการในประเทศไทยและต่างประเทศที่ปรับขึ้นตามภาวะต้นทุนที่สูงขึ้น ประกอบกับปริมาณการส่งออกสินค้าเนื้อสัตว์แปรรูปของบริษัทนั้นมีปริมาณเพิ่มขึ้น
สำหรับในเรื่องผลกระทบจากไข้หวัดนกที่เกิดขึ้นที่จังหวัดสุโขทัยนั้น เป็นการเกิดขึ้นในส่วนของการเลี้ยงไก่พื้นเมือง ซึ่งจะไม่กระทบต่อยอดขายของบริษัท เพราะผู้บริโภคมีความเข้าใจและมั่นใจในมาตรฐานการผลิตเนื้อไก่ของบริษัท
ขณะที่ภาคการส่งออก บริษัทผู้นำเข้าต่างเข้าใจในสถานการณ์ที่เกิดขึ้น และสินค้าหลักในการส่งออกของซีพีเอฟเป็นผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูปที่ผ่านกระบวนการผลิตที่ได้มาตรฐานสากล ปลอดภัย ลูกค้ามีการตรวจสอบกระบวนการผลิตของบริษัทอย่างสม่ำเสมอ ประกอบกับจีนมีเหตุการณ์เกี่ยวกับมาตรฐานสินค้าอาหารที่มีสารปนเปื้อนในช่วงที่ผ่านมา ทำให้ประเทศไทยมีโอกาสและศักยภาพเพิ่มขึ้น ในเรื่องของการส่งออกสินค้าอาหารไปยังกลุ่มลูกค้าเดิมของประเทศจีน
ส่วนโครงการดำเนินกิจการในต่างประเทศนั้น ล่าสุดบริษัทได้เริ่มดำเนินการผลิตโครงการในประเทศรัสเซีย ซึ่งจะเริ่มส่งรายได้จากการผลิตเข้ามาในต้นปีหน้า ซึ่งธุรกิจหลักในประเทศรัสเซียเป็นอาหารสัตว์บกและสุกรพันธุ์ ที่จำหน่ายให้กับเกษตรกรชาวรัสเซียที่เดิมใช้อาหารสัตว์ผสมเอง หรืออาหารสัตว์ที่อาจจะมีคุณภาพไม่สูง
นายอดิเรก กล่าวว่า ในปี 2551 บริษัทมั่นใจว่ายอดขายจะเป็นไปตามเป้าหมายที่ 150,000 ล้านบาท และในปี 2552 ภาวะวิกฤตทางการเงินของประเทศต่างๆ ทั่วโลก อาจส่งผลกระทบต่อการจับจ่ายใช้สอยของผู้บริโภค ดังนั้น จึงทบทวนการลงทุนขยายงานมาตั้งแต่ต้นปี 2551 และจะยังคงนโยบายไม่เพิ่มการลงทุนใน non-core assets พร้อมกับดำเนินนโยบายอย่างระมัดระวังในเรื่องของค่าใช้จ่ายต่างๆ ควบคู่ไปกับการปรับปรุงประสิทธิภาพและลดต้นทุน
อย่างไรก็ตาม บริษัทจะได้รับปัจจัยบวกจากภาวะราคาน้ำมันที่ลดลงยังทำให้ต้นทุนการผลิตลดลง ประกอบกับค่าเงินบาทที่น่าจะอ่อนค่าลงจากช่วง 9 เดือนแรกของปี ซึ่งจะทำให้ซีพีเอฟมีสถานะการเงินที่แข็งแกร่งขึ้น และมีอัตราการทำกำไรที่ดีขึ้น
“ซีพีเอฟ มีนโยบายจ่ายเงินปันผลปีละ 2 ครั้ง โดยครั้งแรกจากผลการดำเนินงานรอบ 6 เดือนแรก ในอัตราหุ้นละ 0.08 บาท ส่วนครึ่งปีหลังบริษัทคาดว่าผลการดำเนินงานจะดีกว่าครึ่งปีแรก บวกกับโครงการซื้อหุ้นคืน ซึ่งล่าสุดซื้อคือได้แล้วประมาณ 3% ของทุนจดทะเบียนที่เรียกชำระแล้ว ทำให้มั่นใจว่าเงินปันผลครึ่งปีหลังจะอยู่ในอัตราที่สูงกว่าครึ่งปีแรก”