ผู้จัดการรายวัน - ผู้เชี่ยวชาญด้านตลาดทุนร่วมชำแหละตลาดทุนไทย "รพี" ชี้โครงสร้างเจอตอ หลังไม่สามารถพลักดันแผนพัฒนาตลาดทุนไทยออกมาได้ แม้ในช่วงมีรัฐบาลแข็งแรง พร้อมระบุแผนแปรรูปตลาดหลักทรัพย์ฯ เอื้อ 60 บริษัทขนาดใหญ่เท่านั้น แต่ไม่ได้หาทางออกให้อีกกว่า 400 บริษัท ด้าน "วิสิฐ" หนุน ดึงรัฐวิสาหกิจของไทย-ต่างประเทศ เข้าจดทะเบียนในตลาดไทย เพื่อเพิ่มสินค้า ส่วน"บรรยง" ชูวิกฤตการเงินสหรัฐ เป็นประสบการณ์ที่ดี กระตุ้นการพัฒนาตลาดทุน และการเชื่อมโยงกับตลาดหุ้นประเทศอื่น ก่อนหนุนเปิดเสรีไลเซ่นส์เร็วขึ้น ขณะที่ "กอบศักดิ์" เผย แผนพัฒนาตลาดทุนไทยไปได้ครึ่งทางแล้ว ติดเพียงแนวทางการเปิดเสรีธุรกิจหลักทรัพย์เท่านั่น มั่นใจฉบับสมบูรณ์จะแล้วเสร็จในต้นปีหน้า
นายรพี สุจริตกุล ประธานกรรมการ บริษัทหลักทรัพย์ (บล.)กสิกรไทย จำกัด กล่าวในงานสัมมนา "ก้าวใหม่ตลาดทุนไทย หลังวิกฤตการเงินโลก" ที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยจัดขึ้นวานนี้ (10 พ.ย.) ว่า วิกฤตการเงินที่เกิดขึ้นนั้น เชื่อว่าในอนาคตจะต้องมีการปรับตัวในทิศทางที่ดีขึ้น แต่ปัญหาของตลาดทุนไทยนั้นอยู่ที่โครงสร้างที่ยังไม่สามารถที่จะพลักดันแผนพัฒนาตลาดทุนไทยออกมาได้ แม้ในช่วงที่มีรัฐบาลที่แข็งแรง ซึ่งขณะนี้ไม่ได้กังวลว่าจะไม่มีแผนพัฒนาตลาดทุนแต่จะกังวลในเรื่องที่จะไม่สามารถที่จะผลักดันแผนออกมาได้โ ดยหากมองจากน้ำหนักตลาดหุ้นไทยในน้ำหนักในดัชนีMSCI มีเพียง 2% เท่านั้นจากเมื่อก่อนที่มีถึง10% ซึ่งแสดงได้ว่าตลาดหุ้นไทยไม่มีการพัฒนาขณะที่ตลาดเพื่อนบ้านมีการพัฒนามากกว่า
ทั้งนี้ การแปรรูปตลาดหลักทรัพย์ฯ ซึ่งจะเป็นการพัฒนาตลาดหลักทรัพย์ไปสู่ระดับสากลและส่งผลให้บริษัทจดทะเบียนขนาดใหญ่ 60 บริษัทแรก โดยคิดเป็น80%ของมูลค่าการซื้อขายรายวัน เป็นที่รู้จักของนักลงทุนต่างชาติมากขึ้น แต่บริษัทที่เหลืออีก 410 บริษัทมีมูลค่าการซื้อขายต่อวันไม่ถึง10% ซึ่งส่งผลให้มาร์เกตแคปของตลาดหุ้นไทยไม่เพิ่มขึ้น เนื่องจากมีบริษัทจำนวนมากไม่มีการซื้อขาย โดยตลาดหลักทรัพย์ฯก็จะต้องมาดูว่าจะทำอย่างไรให้มีการซื้อขาย
อย่างไรก็ตาม หากบริษัทดังกล่าวไม่มีสภาพคล่องที่เพิ่มขึ้นแล้วนั้น การที่จะทำให้บริษัทมีมูลค่าที่เพิ่มขึ้นก็จะต้องมีการไปควบรวมกับบริษัทอื่น เพื่อที่จะให้มีความแข็งแรงมากขึ้น แต่ก็จะทำได้ลำบากเพราะต้องใช้เงินทุนที่สูง และจากการที่เศรษฐกิจโลกจะไม่ดีในอีก 2-3 ปีนั้น เมื่อหุ้นพลังงานมีน้ำหนักต่อตลาดหุ้นไทยมากก็จะเป็นปัจจัยลบกับการเติบโตหุ้นดังกล่าวน้อยลง
ด้านนางทิพยสุดา ถาวรามร ผู้ช่วยเลขาธิการ สำนักงานก.ล.ต. กล่าวว่า นโยบายของก.ล.ต.ที่มีต่อแผนพัฒนาตลาดทุนคือ การปฏิรูปกฎเกณฑ์ ไม่ใช่การลดกฎเกณฑ์ (Deregulation) เพราะจากวิกฤตการเงินที่เกิดขึ้นทั่วโลกได้สะท้อนให้เห็นแล้วว่า กฎเกณฑ์ในการควบคุมตลาดทุนนั้นมีความจำเป็นที่จะต้องเข้มขึ้น
ทั้งนี้ สำนักงานก.ล.ต. จะเน้นการปฏิรูปกฎเกณฑ์ด้านการเปิดเสรีเป็นสำคัญ โดยแบ่งออกเป็น 2 ด้าน คือ การเปิดเสรีเพื่อสนับสนุนการทำธุรกิจ และการเปิดเสรีเพื่อผลักดันให้เกิดการแข่งขัน เพื่อที่จะลดภาระต้นทุน หรือลดภาระที่ไม่จำเป็นออกไป อย่างไรก็ตาม ยอมรับว่าอุปสรรคสำคัญต่อการปฏิรูปกฎเกณฑ์รองรับการเปิดเสรีคือ สำนักงานก.ล.ต. มีความกังวลต่อผลประโยชน์ของผู้ลงทุนมากเกินไป ซึ่งทำให้กฎเกณฑ์ที่ผ่านมาหยุมหยิม และอยู่ในลักษณะ Preventive
อย่างไรก็ตาม เห็นควรว่าต้องแก้ไขโดยการให้ความรู้แก้ผู้ลงทุนรวม ถึงสร้างความตื่นตัวให้ใช้สิทธิของผู้ลงทุน ส่วนด้านอำนาจทางกฎหมาย สำนักงานก.ล.ต. ได้มีการเสนอกฎหมายเพื่อเพิ่มอำนาจให้ผู้ลงทุนมาโดยตลอด
ส่วนกรณีที่มีการถกกันว่า การที่เกิดวิกฤตทางการเงินโลก สาเหตุส่วนหนึ่งมาจากนวัตกรรมนั้น ส่วนตัวประเมินนวัตกรรมเป็นส่วนสำคัญในการพัฒนาตลาดทุน
สำหรับการสนับสนุนการเปิดเสรีเพื่อผลักดันให้เกิดการแข่งขันนั้น ก็เกิดขึ้นในสองส่วนคือ การแข่งขันกันเองภายในประเทศและการแข่งขันข้ามพรหมแดน ซึ่งการที่ภาครัฐได้ทำสนธิสัญญาเศรษฐกิจอาเซียน ในปี 2558 ซึ่งเป้าหมายคือการรวมเศรษฐกิจอาเซียนนั้น เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในระดับโลกของภูมิภาค ส่วนการแข่งขันภายในประเทศ คือ การออกใบอนุญาตประกอบหลักทรัพย์และการคิดค่าธรรมเนียมการบริการ
อย่างไรก็ตาม การเปิดเสรีใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ (ใบไลเซ่น) นั้น ไม่ได้การเอื้อให้ต่างประเทศมาทำธุรกิจสะดวกขึ้น เพราะหากต่างชาติต้องการที่จะเข้ามาทำธุรกิจหลักทรัพย์ได้ แม้จะไม่เปิดเสรีไลเซ่น เพราะสามารถที่จะเข้ามาซื้อบริษัทหลักทรัพย์ในประเทศไทย ก็ไม่ได้ทำให้สภาพการแข่งขันธุรกิจเปลี่ยนไป แต่หากไม่เปิดเสรีนั้นจะเป็นการคุ้มครองผู้ที่ไม่อยากทำธุรกิจให้สามารถขายใบไลเซ่นส์ได้ในราคาที่สูง และในส่วนของการแข่งขันค่าธรรมเนียมที่จะเปิดเต็มรูปแบบในปี 2555 ไม่ใช่หน้าที่ของหน่วยงานภาครัฐที่จะต้องมากำหนดค่าธรรมเนียม แต่ถ้าจะมีการกำหนดค่าธรรมเนียมก็อาจจะออกมากำกับค่าธรรมเนียมขั้นสูงมากกว่าการกำหนดราคาขั้นต่ำ
นายวิสิฐ ตันติสุนทร เลขาธิการคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) กล่าวว่า ตลาดทุนไทยควรมีการขยายตัวเพิ่มอีกเพื่อสร้างความน่าสนใจต่อนักลงทุนต่างประเทศ โดยการขยายสินค้าเพื่อเพิ่มทางเลือกการลงทุนสำหรับนักลงทุนทั้งในและต่างประเทศ รวมทั้งการขยายสินค้าเพื่อเป็น Regional Market อาทิการดึงรัฐวิสาหกิจเข้ามาจดทะเบียนเพิ่ม ทั้งรัฐวิสาหกิจของไทยและต่างประเทศ
ปัจจุบันสัดส่วนนักลงทุนในตลาดหุ้นไทยแบ่งเป็นนักลงทุนสถาบันในประเทศ 17% นักลงทุนต่างประเทศ 30% และอีก 53% เป็นนักลงทุนรายย่อย ทั้งนี้ ต้องยอมรับว่าตลาดหุ้นไทยปัจจุบันใหญ่เกินกว่าจะแทนที่นักลงทุนต่างประเทศที่หายไปด้วยนักลงทุนรายย่อยในประเทศ เพราะฉะนั้น จึงควรเร่งสร้างความมั่นใจในพื้นฐานประเทศไทยในสายตานักลงทุนต่างประเทศ
สำหรับการลงทุนในตลาดหุ้นปี 2551 นายวิสิฐยอมรับว่า หุ้นมีความผันผวนมากเพราะนักลงทุนมีความหวาดกลัวเรื่องภาวะเศรษฐกิจถดถอย สิ่งที่เกิดขึ้นในปัจจุบันก็คือ นักลงทุนในประเทศ ต่างประเทศรวมถึงนักลงทุนสถาบันในประเทศ ต่างมุ่งความสนใจในการลงทุนไปยังสินทรัพย์ที่มีคุณภาพ (Price to Quality) และสินทรัพย์ความเสี่ยงต่ำ (Price to Safety) สำหรับแนวโน้มการลงทุนในปี 2552 นั้น เชื่อว่าความผัวผวนคงลดลงเนื่องจากภาวะเศรษฐกิจถดถอยได้เกิดขึ้นจริงแล้ว ธุรกิจที่จะได้เปรียบในปี 2552 คือผู้ที่มีเงินสดสูงและหนี้ต่ำ
นายบรรยง พงษ์พานิช ประธานกรรมการ บล. ภัทร กล่าวว่า จากวิกฤตการเงินในสหรัฐซึ่งส่งผลกระทบต่อตลาดหุ้นทั่วโลก ทำให้ประเทศไทยไม่สามารถหลีกเลี่ยงการพัฒนาตลาดทุน และการเชื่อมโยงกับตลาดหุ้นประเทศอื่นได้ เนื่องจากหากไม่มีการดำเนินการดังกล่าวจะทำให้ตลาดหุ้นไทยมีขนาดเล็กลง จนส่งผลให้เกิดความขัดแย้งจากการแย่งชิงส่วนแบ่งทางการตลาดกันเองระหว่างผู้ประกอบธุรกิจตลาดทุน
“ถ้าเราไม่เปิดโอกาสให้ตลาดได้แย่งชิงทรัพยากรโลก และใช้เพียงทรัพยากรของเราเองก็คงเป็นเรื่องยาก ที่จะมีอัตราการเติบโตของเศรษฐกิจได้เท่ากับประเทศที่พัฒนาแล้ว และเมื่อเค้กของเราไม่ใหญ่พอ ก็จะเกิดการแย่งชิงเค้กกันเอง นำไปสู่ความแตกแยกในที่สุด”
ทั้งนี้ ส่วนตัวที่จะให้มีการเปิดเสรีใบไลเซ่น เพราะไม่ได้มีผลทำให้สภาพการแข่งขันธุรกิจ และเปิดเสรีค่าธรรมเนียมการซื้อขายหลักทรัพย์นั้น ก็จะทำให้มีมูลค่าการซื้อขายที่เพิ่มขึ้นจำนวนมากดูจากประเทศที่มีการเปิดเสรี ดังนั้นส่วนตัวมองว่าควรที่จะมีการเปิดเสรีให้เร็วขึ้น
ดร.กอบศักดิ์ ภูตระกูล ผู้บริหาร สถาบันวิจัยเพื่อตลาดทุน ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า จากวิกฤติการเงินที่เกิดขึ้นทั่วโลก ตลาดหลักทรัพย์ได้ใช้เป็นโอกาสในการปรับเป้าหมายของแผนพัฒนาตลาดทุนไทยเป็นตลาดทุนที่เข็มแข็งสำหรับการระดมทุนภายในประเทศ (Strong Domestic Capital Market) ทั้งนี้ ก่อนการจัดแผนพัฒนาตลาดทุนไทย ทางตลาดหลักทรัพย์ได้ตั้งคำถามว่า วัตถุประสงค์ของการแปรรูปตลาดหลักทรัพย์ ควรดำเนินการไปทางใด ซึ่งมีอยู่ 2 ทางเลือก ระหว่าง การเป็นศูนย์กลางทางการเงินของภูมิภาคนี้ ( Financial Center ) และการเป็นตลาดทุนที่เข็มแข็งสำหรับการระดมทุนภายในประเทศ (Strong Domestic Capital Market)
เขากล่าวเพิ่มว่า ขณะนี้ได้มีแผนพัฒนาตลาดทุนไทยครึ่งทาง (Interim) แล้ว ซึ่งเป็นแผนพัฒนาฯฉบับร่างที่จัดทำไว้ตั้งแต่รมต.คลังคนก่อน โดยเป็นการทำงานร่วมกันกับ ธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชีย (ADB)ซึ่งเป็นที่ปรึกษา และขณะนี้อยู่ระหว่างการรอให้นายกรัฐมนตรีเซ็นแต่งตั้งคณะกรรมการแผนพัฒนาตลาดทุนไทย ซึ่งเป็นคณะกรรมการชุดเดิม เมื่อแต่งตั้งแล้วจะนำแผนฉบับครึ่งทางมาเสนอกับผู้ที่เกี่ยวของเพื่อขอความคิดเห็น
อย่างไรก็ตาม ในแผนพัฒนายังมีบางประเด็นที่มีข้อคิดเห็นแตกต่างกัน อาทิ การเปิดเสรีธุรกิจหลักทรัพย์ ซึ่งสำนักงานก.ล.ต. ต้องการให้เปิดเสรีตามแผน แต่ผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์กลับเสนอให้เลื่อนระยะเวลาการเปิดเสรีออกไป ทั้งนี้ ประเด็นที่ยังมีข้อขัดแย้ง จะให้ ADB เข้ามาช่วยศึกษาเสนอทางออก อย่างไรก็ตาม คาดว่าแผนพัฒนาตลาดทุนฉบับสมบูรณ์จะแล้วเสร็จในต้นปีหน้า
ทั้งนี้ จากวิกฤตการเงินที่เกิดขึ้นทั่วโลก เกิดจากการกำกับดูแล ยกตัวอย่างประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นประเทศเดียวที่ปฏิเสธ ไม่ให้กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) เข้ามาประเมินการกำกับดูแลของตลาดเงิน ตลาดทุน และตลาดพันธบัตร ตามโครงการ FSAP ดังนั้น ในส่วนของการจัดทำแผนพัฒนาตลาดทุนไทย จึงได้หยิบยกประเด็นดังกล่าวขึ้นมาหารือเพิ่มเติม เนื่องจากก่อนหน้าเคยมีมุมมองว่าจะปล่อยให้ตลาดทุนดูแลกันเองตามกลไก แต่ขณะนี้จะหารือจุดเหมาะสมของการปล่อยให้ตลาดทุนดูแลกันเอง ไม่ให้มากเกินไป
นายรพี สุจริตกุล ประธานกรรมการ บริษัทหลักทรัพย์ (บล.)กสิกรไทย จำกัด กล่าวในงานสัมมนา "ก้าวใหม่ตลาดทุนไทย หลังวิกฤตการเงินโลก" ที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยจัดขึ้นวานนี้ (10 พ.ย.) ว่า วิกฤตการเงินที่เกิดขึ้นนั้น เชื่อว่าในอนาคตจะต้องมีการปรับตัวในทิศทางที่ดีขึ้น แต่ปัญหาของตลาดทุนไทยนั้นอยู่ที่โครงสร้างที่ยังไม่สามารถที่จะพลักดันแผนพัฒนาตลาดทุนไทยออกมาได้ แม้ในช่วงที่มีรัฐบาลที่แข็งแรง ซึ่งขณะนี้ไม่ได้กังวลว่าจะไม่มีแผนพัฒนาตลาดทุนแต่จะกังวลในเรื่องที่จะไม่สามารถที่จะผลักดันแผนออกมาได้โ ดยหากมองจากน้ำหนักตลาดหุ้นไทยในน้ำหนักในดัชนีMSCI มีเพียง 2% เท่านั้นจากเมื่อก่อนที่มีถึง10% ซึ่งแสดงได้ว่าตลาดหุ้นไทยไม่มีการพัฒนาขณะที่ตลาดเพื่อนบ้านมีการพัฒนามากกว่า
ทั้งนี้ การแปรรูปตลาดหลักทรัพย์ฯ ซึ่งจะเป็นการพัฒนาตลาดหลักทรัพย์ไปสู่ระดับสากลและส่งผลให้บริษัทจดทะเบียนขนาดใหญ่ 60 บริษัทแรก โดยคิดเป็น80%ของมูลค่าการซื้อขายรายวัน เป็นที่รู้จักของนักลงทุนต่างชาติมากขึ้น แต่บริษัทที่เหลืออีก 410 บริษัทมีมูลค่าการซื้อขายต่อวันไม่ถึง10% ซึ่งส่งผลให้มาร์เกตแคปของตลาดหุ้นไทยไม่เพิ่มขึ้น เนื่องจากมีบริษัทจำนวนมากไม่มีการซื้อขาย โดยตลาดหลักทรัพย์ฯก็จะต้องมาดูว่าจะทำอย่างไรให้มีการซื้อขาย
อย่างไรก็ตาม หากบริษัทดังกล่าวไม่มีสภาพคล่องที่เพิ่มขึ้นแล้วนั้น การที่จะทำให้บริษัทมีมูลค่าที่เพิ่มขึ้นก็จะต้องมีการไปควบรวมกับบริษัทอื่น เพื่อที่จะให้มีความแข็งแรงมากขึ้น แต่ก็จะทำได้ลำบากเพราะต้องใช้เงินทุนที่สูง และจากการที่เศรษฐกิจโลกจะไม่ดีในอีก 2-3 ปีนั้น เมื่อหุ้นพลังงานมีน้ำหนักต่อตลาดหุ้นไทยมากก็จะเป็นปัจจัยลบกับการเติบโตหุ้นดังกล่าวน้อยลง
ด้านนางทิพยสุดา ถาวรามร ผู้ช่วยเลขาธิการ สำนักงานก.ล.ต. กล่าวว่า นโยบายของก.ล.ต.ที่มีต่อแผนพัฒนาตลาดทุนคือ การปฏิรูปกฎเกณฑ์ ไม่ใช่การลดกฎเกณฑ์ (Deregulation) เพราะจากวิกฤตการเงินที่เกิดขึ้นทั่วโลกได้สะท้อนให้เห็นแล้วว่า กฎเกณฑ์ในการควบคุมตลาดทุนนั้นมีความจำเป็นที่จะต้องเข้มขึ้น
ทั้งนี้ สำนักงานก.ล.ต. จะเน้นการปฏิรูปกฎเกณฑ์ด้านการเปิดเสรีเป็นสำคัญ โดยแบ่งออกเป็น 2 ด้าน คือ การเปิดเสรีเพื่อสนับสนุนการทำธุรกิจ และการเปิดเสรีเพื่อผลักดันให้เกิดการแข่งขัน เพื่อที่จะลดภาระต้นทุน หรือลดภาระที่ไม่จำเป็นออกไป อย่างไรก็ตาม ยอมรับว่าอุปสรรคสำคัญต่อการปฏิรูปกฎเกณฑ์รองรับการเปิดเสรีคือ สำนักงานก.ล.ต. มีความกังวลต่อผลประโยชน์ของผู้ลงทุนมากเกินไป ซึ่งทำให้กฎเกณฑ์ที่ผ่านมาหยุมหยิม และอยู่ในลักษณะ Preventive
อย่างไรก็ตาม เห็นควรว่าต้องแก้ไขโดยการให้ความรู้แก้ผู้ลงทุนรวม ถึงสร้างความตื่นตัวให้ใช้สิทธิของผู้ลงทุน ส่วนด้านอำนาจทางกฎหมาย สำนักงานก.ล.ต. ได้มีการเสนอกฎหมายเพื่อเพิ่มอำนาจให้ผู้ลงทุนมาโดยตลอด
ส่วนกรณีที่มีการถกกันว่า การที่เกิดวิกฤตทางการเงินโลก สาเหตุส่วนหนึ่งมาจากนวัตกรรมนั้น ส่วนตัวประเมินนวัตกรรมเป็นส่วนสำคัญในการพัฒนาตลาดทุน
สำหรับการสนับสนุนการเปิดเสรีเพื่อผลักดันให้เกิดการแข่งขันนั้น ก็เกิดขึ้นในสองส่วนคือ การแข่งขันกันเองภายในประเทศและการแข่งขันข้ามพรหมแดน ซึ่งการที่ภาครัฐได้ทำสนธิสัญญาเศรษฐกิจอาเซียน ในปี 2558 ซึ่งเป้าหมายคือการรวมเศรษฐกิจอาเซียนนั้น เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในระดับโลกของภูมิภาค ส่วนการแข่งขันภายในประเทศ คือ การออกใบอนุญาตประกอบหลักทรัพย์และการคิดค่าธรรมเนียมการบริการ
อย่างไรก็ตาม การเปิดเสรีใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ (ใบไลเซ่น) นั้น ไม่ได้การเอื้อให้ต่างประเทศมาทำธุรกิจสะดวกขึ้น เพราะหากต่างชาติต้องการที่จะเข้ามาทำธุรกิจหลักทรัพย์ได้ แม้จะไม่เปิดเสรีไลเซ่น เพราะสามารถที่จะเข้ามาซื้อบริษัทหลักทรัพย์ในประเทศไทย ก็ไม่ได้ทำให้สภาพการแข่งขันธุรกิจเปลี่ยนไป แต่หากไม่เปิดเสรีนั้นจะเป็นการคุ้มครองผู้ที่ไม่อยากทำธุรกิจให้สามารถขายใบไลเซ่นส์ได้ในราคาที่สูง และในส่วนของการแข่งขันค่าธรรมเนียมที่จะเปิดเต็มรูปแบบในปี 2555 ไม่ใช่หน้าที่ของหน่วยงานภาครัฐที่จะต้องมากำหนดค่าธรรมเนียม แต่ถ้าจะมีการกำหนดค่าธรรมเนียมก็อาจจะออกมากำกับค่าธรรมเนียมขั้นสูงมากกว่าการกำหนดราคาขั้นต่ำ
นายวิสิฐ ตันติสุนทร เลขาธิการคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) กล่าวว่า ตลาดทุนไทยควรมีการขยายตัวเพิ่มอีกเพื่อสร้างความน่าสนใจต่อนักลงทุนต่างประเทศ โดยการขยายสินค้าเพื่อเพิ่มทางเลือกการลงทุนสำหรับนักลงทุนทั้งในและต่างประเทศ รวมทั้งการขยายสินค้าเพื่อเป็น Regional Market อาทิการดึงรัฐวิสาหกิจเข้ามาจดทะเบียนเพิ่ม ทั้งรัฐวิสาหกิจของไทยและต่างประเทศ
ปัจจุบันสัดส่วนนักลงทุนในตลาดหุ้นไทยแบ่งเป็นนักลงทุนสถาบันในประเทศ 17% นักลงทุนต่างประเทศ 30% และอีก 53% เป็นนักลงทุนรายย่อย ทั้งนี้ ต้องยอมรับว่าตลาดหุ้นไทยปัจจุบันใหญ่เกินกว่าจะแทนที่นักลงทุนต่างประเทศที่หายไปด้วยนักลงทุนรายย่อยในประเทศ เพราะฉะนั้น จึงควรเร่งสร้างความมั่นใจในพื้นฐานประเทศไทยในสายตานักลงทุนต่างประเทศ
สำหรับการลงทุนในตลาดหุ้นปี 2551 นายวิสิฐยอมรับว่า หุ้นมีความผันผวนมากเพราะนักลงทุนมีความหวาดกลัวเรื่องภาวะเศรษฐกิจถดถอย สิ่งที่เกิดขึ้นในปัจจุบันก็คือ นักลงทุนในประเทศ ต่างประเทศรวมถึงนักลงทุนสถาบันในประเทศ ต่างมุ่งความสนใจในการลงทุนไปยังสินทรัพย์ที่มีคุณภาพ (Price to Quality) และสินทรัพย์ความเสี่ยงต่ำ (Price to Safety) สำหรับแนวโน้มการลงทุนในปี 2552 นั้น เชื่อว่าความผัวผวนคงลดลงเนื่องจากภาวะเศรษฐกิจถดถอยได้เกิดขึ้นจริงแล้ว ธุรกิจที่จะได้เปรียบในปี 2552 คือผู้ที่มีเงินสดสูงและหนี้ต่ำ
นายบรรยง พงษ์พานิช ประธานกรรมการ บล. ภัทร กล่าวว่า จากวิกฤตการเงินในสหรัฐซึ่งส่งผลกระทบต่อตลาดหุ้นทั่วโลก ทำให้ประเทศไทยไม่สามารถหลีกเลี่ยงการพัฒนาตลาดทุน และการเชื่อมโยงกับตลาดหุ้นประเทศอื่นได้ เนื่องจากหากไม่มีการดำเนินการดังกล่าวจะทำให้ตลาดหุ้นไทยมีขนาดเล็กลง จนส่งผลให้เกิดความขัดแย้งจากการแย่งชิงส่วนแบ่งทางการตลาดกันเองระหว่างผู้ประกอบธุรกิจตลาดทุน
“ถ้าเราไม่เปิดโอกาสให้ตลาดได้แย่งชิงทรัพยากรโลก และใช้เพียงทรัพยากรของเราเองก็คงเป็นเรื่องยาก ที่จะมีอัตราการเติบโตของเศรษฐกิจได้เท่ากับประเทศที่พัฒนาแล้ว และเมื่อเค้กของเราไม่ใหญ่พอ ก็จะเกิดการแย่งชิงเค้กกันเอง นำไปสู่ความแตกแยกในที่สุด”
ทั้งนี้ ส่วนตัวที่จะให้มีการเปิดเสรีใบไลเซ่น เพราะไม่ได้มีผลทำให้สภาพการแข่งขันธุรกิจ และเปิดเสรีค่าธรรมเนียมการซื้อขายหลักทรัพย์นั้น ก็จะทำให้มีมูลค่าการซื้อขายที่เพิ่มขึ้นจำนวนมากดูจากประเทศที่มีการเปิดเสรี ดังนั้นส่วนตัวมองว่าควรที่จะมีการเปิดเสรีให้เร็วขึ้น
ดร.กอบศักดิ์ ภูตระกูล ผู้บริหาร สถาบันวิจัยเพื่อตลาดทุน ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า จากวิกฤติการเงินที่เกิดขึ้นทั่วโลก ตลาดหลักทรัพย์ได้ใช้เป็นโอกาสในการปรับเป้าหมายของแผนพัฒนาตลาดทุนไทยเป็นตลาดทุนที่เข็มแข็งสำหรับการระดมทุนภายในประเทศ (Strong Domestic Capital Market) ทั้งนี้ ก่อนการจัดแผนพัฒนาตลาดทุนไทย ทางตลาดหลักทรัพย์ได้ตั้งคำถามว่า วัตถุประสงค์ของการแปรรูปตลาดหลักทรัพย์ ควรดำเนินการไปทางใด ซึ่งมีอยู่ 2 ทางเลือก ระหว่าง การเป็นศูนย์กลางทางการเงินของภูมิภาคนี้ ( Financial Center ) และการเป็นตลาดทุนที่เข็มแข็งสำหรับการระดมทุนภายในประเทศ (Strong Domestic Capital Market)
เขากล่าวเพิ่มว่า ขณะนี้ได้มีแผนพัฒนาตลาดทุนไทยครึ่งทาง (Interim) แล้ว ซึ่งเป็นแผนพัฒนาฯฉบับร่างที่จัดทำไว้ตั้งแต่รมต.คลังคนก่อน โดยเป็นการทำงานร่วมกันกับ ธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชีย (ADB)ซึ่งเป็นที่ปรึกษา และขณะนี้อยู่ระหว่างการรอให้นายกรัฐมนตรีเซ็นแต่งตั้งคณะกรรมการแผนพัฒนาตลาดทุนไทย ซึ่งเป็นคณะกรรมการชุดเดิม เมื่อแต่งตั้งแล้วจะนำแผนฉบับครึ่งทางมาเสนอกับผู้ที่เกี่ยวของเพื่อขอความคิดเห็น
อย่างไรก็ตาม ในแผนพัฒนายังมีบางประเด็นที่มีข้อคิดเห็นแตกต่างกัน อาทิ การเปิดเสรีธุรกิจหลักทรัพย์ ซึ่งสำนักงานก.ล.ต. ต้องการให้เปิดเสรีตามแผน แต่ผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์กลับเสนอให้เลื่อนระยะเวลาการเปิดเสรีออกไป ทั้งนี้ ประเด็นที่ยังมีข้อขัดแย้ง จะให้ ADB เข้ามาช่วยศึกษาเสนอทางออก อย่างไรก็ตาม คาดว่าแผนพัฒนาตลาดทุนฉบับสมบูรณ์จะแล้วเสร็จในต้นปีหน้า
ทั้งนี้ จากวิกฤตการเงินที่เกิดขึ้นทั่วโลก เกิดจากการกำกับดูแล ยกตัวอย่างประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นประเทศเดียวที่ปฏิเสธ ไม่ให้กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) เข้ามาประเมินการกำกับดูแลของตลาดเงิน ตลาดทุน และตลาดพันธบัตร ตามโครงการ FSAP ดังนั้น ในส่วนของการจัดทำแผนพัฒนาตลาดทุนไทย จึงได้หยิบยกประเด็นดังกล่าวขึ้นมาหารือเพิ่มเติม เนื่องจากก่อนหน้าเคยมีมุมมองว่าจะปล่อยให้ตลาดทุนดูแลกันเองตามกลไก แต่ขณะนี้จะหารือจุดเหมาะสมของการปล่อยให้ตลาดทุนดูแลกันเอง ไม่ให้มากเกินไป