คำนำ
“...เวลานี้สังคมไทยมีอาการป่วยอย่างร้ายที่สุด คือ ป่วยทางปัญญา ขอให้พิจารณาดูเถิด เวลานี้ปัญหาสุขภาวะที่น่ากลัวที่สุดคือ ความป่วยทางปัญญา...”
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตโต) มีนาคม 2551
ท่ามกลางกระแสการคิดค้นเรื่อง “การเมืองใหม่” ซึ่งขณะนี้สังคมบางส่วนเริ่มเห็นภาพรางๆ บ้างแล้วว่ามันเป็นอย่างไร แต่ยังไม่มีความชัดเจนมากนักว่า สังคมไทยจะก้าวไปสู่สภาพนั้นได้อย่างไร และสมมติว่าเราสามารถเข้าไปสู่สภาพนั้นได้จริงๆ แล้ว เราจะรักษาและพัฒนาการเมืองใหม่ให้ดียิ่งๆ ขึ้นไปอีกได้อย่างไร
ในที่นี้ ผมจะขออนุญาตนำเสนอหลักการพื้นฐานมาใช้ตอบคำถามดังกล่าว ผมเรียกหลักการนี้ว่า “กฎ 3 ข้อของการขับเคลื่อนการเมืองใหม่” โดยล้อกับหลักการพื้นฐานว่าด้วยการเคลื่อนที่ของวัตถุที่นักวิทยาศาสตร์รู้จักกันว่า “กฎการเคลื่อนที่ 3 ข้อของนิวตัน (Newton’s Three Laws of Motion)” สำหรับคนทั่วไปคงจะรู้จักนักวิทยาศาสตร์ที่ชื่อนิวตันมาบ้าง จากเรื่องเล่าที่ว่าเขาเป็นผู้ค้นพบกฎแรงโน้มถ่วงของโลกตอนที่ลูกแอปเปิลหล่นใส่หัวนั้นแหละครับ
กฎการเคลื่อนที่ของนิวตันกับกฎของสังคม
กฎการเคลื่อนที่ของนิวตันมี 3 ข้อครับ แต่เพื่อให้สอดคล้องกับบทความนี้ผมขอยกเอากฎข้อที่สองมานำเข้าสู่บทเรียนก่อน
กฎข้อที่สองเป็นกฎที่มีชื่อเสียงโด่งดังมาก กฎข้อนี้นอกจากจะใช้อธิบายความสัมพันธ์ของปัจจัยต่างๆ (เช่น มวลของวัตถุ ความเร่ง และแรงภายนอกที่มากระทำ) ที่ทำให้เกิดการเคลื่อนที่แล้ว ยังสามารถบอกได้อย่างแม่นยำว่า วัตถุนั้นจะเคลื่อนไปตามเส้นทางใด ด้วยความเร็วเท่าใดอีกด้วย
ตัวอย่างที่โด่งดังของกฎข้อนี้ก็คือ ใช้อธิบายการหล่นจากที่สูงของวัตถุ (falling body-ขออนุญาตใช้ภาษาอังกฤษนิดหนึ่งเพราะจะได้อรรถรสมากกว่า) โดยอาศัยกฎข้อนี้เราสามารถบอกได้ล่วงหน้าว่า เมื่อเวลาผ่านไปเท่านั้นเท่านี้แล้ว วัตถุนั้นจะอยู่ที่ตำแหน่งใด มีความเร็วเท่าใด
อย่างไรก็ตาม ไอน์สไตน์ นักวิทยาศาสตร์ที่โด่งดังแต่เกิดภายหลังนิวตันถึง 3-4 ร้อยปีได้แซวนิวตันว่า “กฎการเคลื่อนที่ของนิวตันนั้นสามารถใช้อธิบายวัตถุที่กำลังหล่นได้ แต่ไม่สามารถใช้อธิบายคนที่กำลังตกหลุมรัก (falling in love - เทียบกับ falling body) ได้เลย”
แม้ว่าเรื่องนี้เป็นการ “แซว” กันเล่น แต่ความจริงก็เป็นเช่นนั้นจริงๆ จิตใจของมนุษย์ตลอดจนพฤติกรรมของสังคมนั้นมีความซับซ้อนกว่ากฎเกณฑ์ทางฟิสิกส์หรือกฎของนิวตันมากนัก อย่างไรก็ตาม ผมคิดว่า “กฎการเคลื่อนที่ของนิวตัน” กับ “กฎการขับเคลื่อนการเมืองใหม่” ยังมีบางสิ่งบางอย่างที่คล้ายกัน และมีบางสิ่งบางอย่างที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง ผมจะกล่าวเปรียบเทียบกันดังต่อไปนี้ครับ
กฎข้อที่หนึ่ง
กฎการเคลื่อนที่ของนิวตันข้อ 1 เป็นกฎที่เน้นถึงสภาวะเดิมของการเคลื่อนที่มีใจความว่า “ถ้าไม่มีแรงภายนอกกระทำต่อวัตถุ วัตถุจะอยู่ในสภาวะเดิมของการเคลื่อนที่” กล่าวคือ ถ้าวัตถุอยู่นิ่งก็ยังคงนิ่งอยู่เช่นนั้น และถ้าวัตถุเคลื่อนที่ก็จะเคลื่อนที่ด้วยความเร็วคงที่ กฎการเคลื่อนที่ข้อ 1 ของนิวตันนี้ ถึงแม้จะมีแรงภายนอกกระทำต่อวัตถุ แต่ถ้าแรงลัพธ์นี้เป็นศูนย์ก็ยังสอดคล้องกับกฎข้อนี้
กฎของนิวตันข้อนี้บางครั้งก็ถูกเรียกว่า กฎของความเฉื่อย (law of inertia-คำว่า inertia แปลว่าเฉื่อยหรือขี้เกียจ) ซึ่งมีความหมายว่า “วัตถุที่เคลื่อนที่อยู่แล้วจะมีความขี้เกียจที่จะหยุด และถ้าวัตถุที่หยุดอยู่กับที่แล้ว ก็ขี้เกียจจะเคลื่อนที่หรือขยับ”
เราสามารถเข้าใจกฎข้อนี้ได้โดยการเปรียบเทียบกับตัวเราเอง เมื่อได้นั่งแล้วก็ขี้เกียจจะลุกหรือขยับตัว ยิ่งเป็นคนอ้วนๆ แล้วยิ่งเห็นชัดเจน ถ้าเปรียบเทียบกับการเคลื่อนที่ของรถบรรทุก ถ้ารถบรรทุกกำลังแล่นอยู่เมื่อคนขับต้องการจะหยุดรถก็หยุดลำบาก เพราะรถบรรทุกมี “ความเฉื่อยหรือความขี้เกียจมาก” ตรงกันข้ามกับรถมอเตอร์ไซค์ที่ไม่ว่าจะเริ่มเคลื่อนที่หรือจะหยุดสามารถทำได้ง่ายกว่า เพราะ “ความขี้เกียจมีน้อย”
ถ้าเปรียบเทียบการเคลื่อนที่ของวัตถุกับ “การตื่นรู้ในปัญหาสาธารณะของคน” จะพบในทำนองเดียวกับกฎของความเฉื่อย กล่าวคือ คนที่ไม่เคยเข้าใจหรือไม่เคยรับรู้ปัญหาของสังคมก็ขี้เกียจที่จะรับรู้ ถ้าติดละครก็ติดต่อไป แต่ครั้นเมื่อเขาได้กลายเป็นผู้ที่ตื่นรู้ เข้าใจแล้ว เขาก็จะเป็นผู้เอาการเอางาน ขยันขันแข็งเพื่อกิจการของส่วนรวมชนิดที่ “ขี้เกียจ” จะหยุด จนถึงขั้นยอมเสียสละทุกอย่าง
กฎการขับเคลื่อนการเมืองใหม่ข้อที่หนึ่ง กล่าวว่า “สังคมใหม่ต้องเป็นสังคมแห่งการแสวงหาความรู้และปัญญา พลเมืองทุกคนต้องเคารพสิทธิและภูมิปัญญาของผู้อื่นและต้องรู้จักปกป้องสิทธิของตนเองและสิทธิของสาธารณะเสมอกัน การเคลื่อนไหวทางการเมืองเป็นหน้าที่ของพลเมืองและต้องกระทำอย่างต่อเนื่อง ด้วยสติ ปัญญา ไม่ขึ้นลงตามอารมณ์และกระแสสังคม”
ในกระบวนการขับเคลื่อนทางความคิดเพื่อสังคมใหม่ ผู้ปฏิบัติงานจะต้องมีความเข้าใจในพฤติกรรมความเฉื่อยของมนุษย์ในกฎข้อนี้เป็นอย่างดีจึงจะสามารถทำงานสำเร็จได้
กฎข้อที่สอง
ผมเข้าใจว่ากฎข้อนี้ของนิวตันเป็นเพียงแค่รายละเอียดของกฎข้อที่หนึ่งเท่านั้น ความสำคัญเชิงหลักการยังคงอยู่ที่กฎข้อที่หนึ่ง (ผมเข้าใจเอง อาจจะไม่ถูกต้องก็ได้) กฎข้อที่สองเป็นเพียงการบอกรายละเอียดว่า วัตถุจะเคลื่อนที่ไปในทิศทางใด เร็ว ช้าแค่ไหน
กฎการเคลื่อนที่ของนิวตันข้อ 2 นี้มีใจความว่า “ถ้ามีแรงลัพธ์หรือแรงสุทธิ กระทำกับวัตถุหนึ่ง จะทำให้วัตถุนั้นมีความเร่ง ในทิศทางเดียวกันกับทิศทางของแรงนั้น โดยมีขนาดเป็นสัดส่วนกับขนาดของแรงลัพธ์ และผกผันกับมวลของวัตถุนั้น”
คนทั่วไปจดจำกฎข้อนี้อย่างง่ายๆว่า “ผลรวมของแรงกระทำภายนอกเท่ากับมวลคูณกับความเร่ง”
กฎการขับเคลื่อนการเมืองใหม่ข้อที่สอง ผมขอกล่าวสรุปเองว่า “สังคมมนุษย์(รวมทั้งธรรมชาติด้วย) มีความซับซ้อน (complex) ผลรวมของส่วนย่อยๆ ในสังคม ไม่จำเป็นต้องเหมือนหรือเท่ากับสังคมโดยรวม ปรากฏการณ์ของส่วนย่อยมักจะเป็นแบบไม่เชิงเส้น (nonlinear) ในบางครั้งสิ่งเล็กๆ ก็อาจจะสามารถก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ยิ่งใหญ่ได้ ขณะเดียวกันสังคมโลกที่คนทั่วไปคิดว่ากว้างใหญ่ไพศาลนั้น ในบางกรณีก็กลับกลายเป็นโลกที่แคบนิดเดียว”
กฎข้อนี้จะว่าเป็นกฎก็ใช่ จะว่าเป็นโลกทัศน์ก็ได้ แต่ทั้งหมดเป็นความจริงที่คนธรรมดาทั่วไปอาจคิดไปไม่ถึง แต่นักคณิตศาสตร์สามารถพิสูจน์และทดลองได้ คนที่มีความเชื่อตามโลกทัศน์ที่ว่า “สิ่งเล็กๆ ก็อาจจะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ยิ่งใหญ่ได้” จะมีกำลังใจ ไม่ท้อแท้ห่อเหี่ยว และมุ่งมั่นในการทำงาน เพราะเชื่อว่าสักวันหนึ่ง สิ่งที่คนกลุ่มเล็กๆ ทำจะกลายเป็นจุดพลิกผัน (tipping point) ให้เกิดการเปลี่ยนที่ยิ่งใหญ่ในระดับประเทศได้ แต่คนที่ไม่เชื่ออย่างนั้น เช่น คนที่คิดว่า “กำลังฝนทั่งให้เป็นเข็ม” ก็จะรู้สึกท้อถอยหมดกำลังใจ จนถึงขั้นขี้เกียจจะลุกขึ้นมาเยียวยาสังคมตามกฎข้อที่หนึ่งได้ได้กล่าวไว้
ด้วยขีดจำกัดของเนื้อหา ผมขออธิบายข้อความดังกล่าวเพียงสั้นๆ ด้วยตัวอย่างดังต่อไปนี้
ตัวอย่างแรก ถ้าเรานำกระดาษหนังสือพิมพ์ที่มีขนาดใหญ่มากแผ่นหนึ่ง ครั้งแรกนำกระดาษมาพับครึ่ง ความหนาของกระดาษก็จะกลายเป็นสองเท่าของกระดาษเดิม ครั้งที่สองก็พับอย่างเดิม ความหนาของกระดาษก็จะเป็นสี่เท่า ผมเคยถามนักศึกษาหลายครั้งนับพันคนว่า ถ้าทำเช่นนี้ต่อไปเรื่อยๆ ถึง 40 ครั้ง กระดาษที่พับได้จะหนาหรือสูงเท่าใด บางคนก็ตอบว่าความหนาเท่าสมุดโทรศัพท์ บ้างก็ว่าสูงเท่าตู้เย็น แต่ความเป็นจริงแล้ว ความสูงของกระดาษนี้จะถึงดวงจันทร์ เรียกว่าเราสามารถปีนกองกระดาษนี้ไปเดินเล่นบนดวงจันทร์ได้เลย และถ้าพับต่อไปอีก 10 ครั้งก็จะสูงถึงดวงอาทิตย์ แต่คงจะปีนไปไม่ได้เพราะร้อนมาก!
ที่คำตอบผิดพลาดไปมหาศาลนี้ ก็เพราะว่ามนุษย์เรามีกรอบความคิดเป็นเชิงเส้น (linear) ที่คิดว่าสิ่งนั้นค่อยๆ เพิ่มทีละนิดๆ แต่ความเป็นจริงปัญหานี้เป็นระบบที่ไม่เชิงเส้นที่เพิ่มขึ้นอย่างคาดไม่ถึง
ตัวอย่างที่สอง เป็นเรื่องของการแพร่ของโรคระบาดหรือการแพร่ของข้อมูลข่าวสารในสังคม เรื่องนี้เป็นเรื่องจริงพิสูจน์ได้รับ นักระบาดวิทยา ตลอดจนนักการตลาดก็ใช้วิธีคิดแบบนี้
สมมติว่า เริ่มต้น มีคนได้รับซีดีเกี่ยวกับอะไรก็ได้จำนวน 1 ล้านชุด ถ้าแต่ละคนผู้ที่ได้ชมซีดีชุดนี้แล้ว สามารถเล่าเรื่องราวที่อยู่ในซีดีนี้ต่อไปให้กับผู้ที่ยังไม่รู้จำนวน 1 คนภายในเวลาหนึ่งเดือน และเป็นเช่นนี้เรื่อยไป นักคณิตศาสตร์สามารถคำนวณได้ว่าภายในเวลา 5 เดือน ประเทศไทยซึ่งมีประชากรทั้งหมด 65 ล้านคน จะได้รับรู้ข่าวสารชุดนี้จำนวน 45 ล้านคน กรุณาดูกราฟซ้ายมือประกอบ
แต่ถ้าแต่ละคนที่ได้รับทราบแล้วแล้ว “ขี้เกียจ” โดยลดความสามารถในการแพร่ลงมาเหลือเพียงครึ่งเดียว คือ แต่ละเดือนสามารถเล่าต่อให้กับที่ยังไม่เคยทราบเพียง 0.5 คน เราพบว่าในเวลา 5 เดือน (เท่าเดิม) จำนวนผู้ที่ได้รับข่าวนี้ทั้งหมดจะมีเพียง 10 ล้านคนเท่านั้น
คนทั่วไปอาจคิดว่า ถ้าลดความขยันในการเผยแพร่ลงมาครึ่งหนึ่งของของเดิมแล้ว ผลงานจะลดลงมาครึ่งหนึ่งด้วย แต่นักคณิตศาสตร์พบว่า จำนวนผู้ได้ลดลงจาก 45 ล้านคนมาเหลือเพียง 10 ล้านคน หรือลดลงถึง 4.5 เท่าตัว ไม่ใช่สองเท่าตัว
นี่เป็นเพราะอิทธิพลของสิ่งที่เราเรียกว่า ระบบไม่เชิงเส้น ที่ไม่ค่อยจะมีในความคิดของคนทั่วไป แต่มีอยู่จริงในธรรมชาติทั่วไปครับ
เรื่องผลรวมของส่วนย่อยไม่จำเป็นต้องเท่ากับผลของระบบใหญ่ทั้งหมด เรื่องนี้อธิบายยากในเวลาอันจำกัด พลังความคิดของแต่ละคนมีอยู่อาจจะไม่สูงมาก แต่เมื่อนำมาสู่กระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้อย่างสร้างสรรค์อาจจะมีพลังมากกว่าผลบวกของพลังที่แต่ละคนมีก็ได้ บางคนเรียกปรากฏการณ์เช่นนี้ว่า synergy
ในการแข่งขันเทนนิส กติกาที่ใช้ไม่ใช่กติกาแบบเชิงเส้น ผู้ชนะอาจจะได้ผลรวมของเกมน้อยกว่าผู้ที่แพ้ก็ได้ (เช่น 0-6, 6-4, 6-3, ผู้ชนะได้เพียง 12 เกมแต่ผู้แพ้ได้ 13 เกม) ในการเล่นแต่ละลูกหรือแต่ละเกมจะมีผลหรือความสำคัญต่อการแข่งขันไม่เท่ากัน เช่น เมื่อจำนวนเกมของผู้เล่นที่ตกเป็นรองมาอยู่ที่ 1 ต่อ 3 เกมกับอีกกรณีที่เป็น 3 ต่อ 5 เกม แม้ผลต่างของจำนวนเกมจะเท่ากัน แต่สถานการณ์อันตรายของผู้ตกเป็นรองในกรณีหลังมีสูงกว่ามาก
นี่แสดงว่า การกระทำเดียวกันส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงไม่เท่ากัน ผลรวมของส่วนย่อย ไม่จำเป็นต้องเหมือนกับผลรวมของส่วนใหญ่ และแต่ละลูกที่เล่นมีความสำคัญไม่เท่ากัน ต่างกับกติกาการแข่งขันฟุตบอลที่ผมคิดว่าเป็นเชิงเส้น แต้มสุดท้ายของกีฬาฟุตบอลไม่ใช่แต้มตัดสินการแพ้-ชนะเสมอไป แต่ในกีฬาเทนนิสใช่
นิทานอีสปเรื่องน้ำผึ้งหยดเดียว เริ่มต้นจากคุณป้าผู้หนึ่งทำน้ำผึ้งหกไว้บนโต๊ะกาแฟ บังเอิญมดมากินน้ำผึ้ง บังเอิญจิ้งจกมากินมด แมวมากินจิ้งจก หมามากัดแมว เจ้าของหมากับเจ้าของแมวรวมทั้งญาติๆ ของเจ้าของก็ยกพวกตีกันเป็นจลาจลใหญ่ไปทั้งหมู่บ้าน
คดีทุจริตการซื้อที่ดินรัชดาฯ ที่นำไปสู่การตัดสินจำคุกอดีตนายกรัฐมนตรีครั้งแรกของประเทศไทยก็มาจากการทำงานของข้าราชกลุ่มเล็กๆ ที่ชื่อ “กลุ่มเป่านกหวีด” ที่ประสานกับฝ่ายต่างๆ อย่างลงตัวและได้จังหวะ
ในประเด็นที่ว่า บางกรณีก็กลายเป็นโลกที่แคบนิดเดียว เรื่องนี้ได้มีการคิดค้นทางทฤษฎีและทดลองโดยนักคณิตศาสตร์กลุ่มหนึ่งตั้งแต่ปี 2472 เรื่อยมาจนถึงปี 2544 ศาสตราจารย์ Duncan Watts แห่งมหาวิทยาลัยโคลัมเบียจนได้ข้อสรุปว่า “โดยเฉลี่ยแล้วมนุษย์ทั้งโลกนี้ห่างกันเพียง 6 ช่วงของการติดต่อสื่อสารเท่านั้น (Six Degrees of Separation)”
หมายความว่า ถ้าเราจะติดต่อหรือจะฝากของสักชิ้นไปถึงใครสักคนบนโลกใบนี้ ขอให้เพียงเรารู้จักชื่อและรู้จักอาชีพที่เขาทำ รู้ที่อยู่เพียงเคร่าๆ แม้ไม่รู้จักที่อยู่ที่ชัดเจน เราก็สามารถติดต่อถึงเขาได้โดยการส่งต่อๆ ไปไม่เกิน 6 ครั้ง ของชิ้นนั้นก็จะถึงมือคนที่เราต้องการได้
มีเรื่องเล่าว่า เคยมีอาจารย์ชาวเยอรมันคนหนึ่ง ต้องการจะติดต่ออาจารย์คณิตศาสตร์ระดับมหาวิทยาลัยคนหนึ่งในเมืองไทย ปรากฏว่าเขาติดต่อทางโปรแกรมกูเกิ้ลเพียง 2 ครั้งเท่านั้น นี่เป็นการยืนยันว่าโลกใบนี้แคบนิดเดียว
เมื่อเราพบว่าโลกนี้แคบอย่างนี้แล้ว ทำให้เราเกิดกำลังใจในการทำงานหรือเพื่อการสร้างสรรค์สิ่งดีๆ ไหม? และเมื่อเราต้องการจะให้ใครได้รู้อะไรก็ไม่ใช่เรื่องยากเย็นเหมือนเมื่อก่อนอีกต่อไป
การเมืองใหม่จะเกิดขึ้นได้ต้องอาศัยการรวมกลุ่มของพลเมืองคนเล็กคนน้อยที่กระจัดกระจายตัวอยู่ทั่วประเทศ บางกลุ่มอาจสนในเรื่องการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ บางกลุ่มอาจคุ้มครองผู้บริโภค บางกลุ่มอาจจะต้านการคอร์รัปชัน แต่กลุ่มเหล่านี้จะต้องประสานกันเมื่อถึงคราวจำเป็น
เพื่อให้การทำงานของแต่ละข่ายงานมีประสิทธิภาพสูงขึ้น แต่ละข่ายจะต้องมีองค์ประกอบ 3 ส่วนคือ ผู้ประสานงาน (ที่มีมนุษย์สัมพันธ์เข้ากับทุกคนได้) นักวิชาการ (ที่ทำงานเชิงลึก เรื่องยากๆ) และโฆษกที่สามารถแปลงเรื่องยากให้เป็นเรื่องง่ายๆ ที่สังคมสามารถเข้าใจได้ เครือข่ายเหล่านี้จะต้องมีการสื่อสารต่อสาธารณะวงกว้าง โดยใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยที่เรียกว่า การเชื่อมต่อแบบไอเพอร์ (hyperconnected)
ดังนั้น การทำงานเพื่อนำไปสู่การเมืองใหม่จึงเป็นการทำงานซับซ้อนและต้องอาศัยศิลป์มากมายแต่อยู่บนพื้นฐานของความเชื่อหรือโลกทัศน์ตามกฎข้อที่สองที่กล่าวมาแล้ว
กฎข้อที่สาม
กฎการเคลื่อนที่ข้อ 3 ของนิวตันมีใจความว่า “ทุกแรงกิริยา (action) ย่อมมีแรงปฏิกิริยา (reaction) ขนาดเท่ากันโต้ตอบในทิศตรงข้ามกันเสมอ” ผมแอบนำรูปที่ค้นได้จากวิกิพีเดียมาลงให้ดูแรงทั้งสองที่ผลักกันด้วยครับ คงไม่ต้องอธิบายอะไรมากสำหรับกฎของนิวตันข้อนี้
แต่กฎการขับเคลื่อนการเมืองใหม่ข้อที่สาม ผมคิดว่าเราจะต้องคิดใหม่ คนที่ตื่นรู้แล้วจะต้องเป็นฝ่ายลุกขึ้นมาและออกแรงให้มากกว่าแรงที่เคยทำให้สังคมเสื่อมทรุด ไม่เพียงแต่จะต้องออกแรงให้มากกว่า แต่จะต้องเป็นผู้ริเริ่มคิดค้นมิติใหม่ๆ มาสร้างสรรค์สังคมใหม่ การเมืองใหม่ พลเมืองต้องเป็นฝ่ายกระทำ ไม่ใช่เป็นผู้ถูกกระทำ
สรุป
เพื่อให้เกิดกำลังใจในการขับเคลื่อนสู่สังคมใหม่ ผมขอนำคำบรรยายของพระพรหมคุณาภรณ์มาเสนอปิดท้าย ท่านได้กล่าวว่า “ถ้าสังคมล้ม คนต้องลุกขึ้นมาแก้ไข . . .ตอนแรกเมื่อคนป่วยเป็นรายๆ สังคมต้องช่วยแก้ไข แต่ถ้าสังคมป่วยเอง คนต้องตั้งหลักให้ได้ แล้วมาแก้ไข หมายความว่า เราต้องมาชวนกัน ทุกท่านทุกคนมาช่วยกันบำบัดเยียวยารักษาสังคม”
“พอยกตัวขึ้นมาเป็นผู้กระทำเท่านั้นแหละ ความรู้สึกเบื่อหน่ายละห้อยละเหี่ยก็จะหายไปทันที ถ้าไม่หมดก็แทบจะหมดไปเลย ความเจ็บป่วยทางอารมณ์ก็หายไป สุขภาวะทางจิตใจก็กลับคืนมาและดีขึ้นๆ พร้อมกับความงอกงามของสุขภาวะทางปัญญา”
นอกจากบทความนี้ได้นำเสนอกฎ 3 ข้อในการขับเคลื่อนสู่การเมืองใหม่แล้ว ยังมีพลังใจจากพระคุณเจ้ามาฝากอีกด้วย ขอบคุณครับ.
“...เวลานี้สังคมไทยมีอาการป่วยอย่างร้ายที่สุด คือ ป่วยทางปัญญา ขอให้พิจารณาดูเถิด เวลานี้ปัญหาสุขภาวะที่น่ากลัวที่สุดคือ ความป่วยทางปัญญา...”
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตโต) มีนาคม 2551
ท่ามกลางกระแสการคิดค้นเรื่อง “การเมืองใหม่” ซึ่งขณะนี้สังคมบางส่วนเริ่มเห็นภาพรางๆ บ้างแล้วว่ามันเป็นอย่างไร แต่ยังไม่มีความชัดเจนมากนักว่า สังคมไทยจะก้าวไปสู่สภาพนั้นได้อย่างไร และสมมติว่าเราสามารถเข้าไปสู่สภาพนั้นได้จริงๆ แล้ว เราจะรักษาและพัฒนาการเมืองใหม่ให้ดียิ่งๆ ขึ้นไปอีกได้อย่างไร
ในที่นี้ ผมจะขออนุญาตนำเสนอหลักการพื้นฐานมาใช้ตอบคำถามดังกล่าว ผมเรียกหลักการนี้ว่า “กฎ 3 ข้อของการขับเคลื่อนการเมืองใหม่” โดยล้อกับหลักการพื้นฐานว่าด้วยการเคลื่อนที่ของวัตถุที่นักวิทยาศาสตร์รู้จักกันว่า “กฎการเคลื่อนที่ 3 ข้อของนิวตัน (Newton’s Three Laws of Motion)” สำหรับคนทั่วไปคงจะรู้จักนักวิทยาศาสตร์ที่ชื่อนิวตันมาบ้าง จากเรื่องเล่าที่ว่าเขาเป็นผู้ค้นพบกฎแรงโน้มถ่วงของโลกตอนที่ลูกแอปเปิลหล่นใส่หัวนั้นแหละครับ
กฎการเคลื่อนที่ของนิวตันกับกฎของสังคม
กฎการเคลื่อนที่ของนิวตันมี 3 ข้อครับ แต่เพื่อให้สอดคล้องกับบทความนี้ผมขอยกเอากฎข้อที่สองมานำเข้าสู่บทเรียนก่อน
กฎข้อที่สองเป็นกฎที่มีชื่อเสียงโด่งดังมาก กฎข้อนี้นอกจากจะใช้อธิบายความสัมพันธ์ของปัจจัยต่างๆ (เช่น มวลของวัตถุ ความเร่ง และแรงภายนอกที่มากระทำ) ที่ทำให้เกิดการเคลื่อนที่แล้ว ยังสามารถบอกได้อย่างแม่นยำว่า วัตถุนั้นจะเคลื่อนไปตามเส้นทางใด ด้วยความเร็วเท่าใดอีกด้วย
ตัวอย่างที่โด่งดังของกฎข้อนี้ก็คือ ใช้อธิบายการหล่นจากที่สูงของวัตถุ (falling body-ขออนุญาตใช้ภาษาอังกฤษนิดหนึ่งเพราะจะได้อรรถรสมากกว่า) โดยอาศัยกฎข้อนี้เราสามารถบอกได้ล่วงหน้าว่า เมื่อเวลาผ่านไปเท่านั้นเท่านี้แล้ว วัตถุนั้นจะอยู่ที่ตำแหน่งใด มีความเร็วเท่าใด
อย่างไรก็ตาม ไอน์สไตน์ นักวิทยาศาสตร์ที่โด่งดังแต่เกิดภายหลังนิวตันถึง 3-4 ร้อยปีได้แซวนิวตันว่า “กฎการเคลื่อนที่ของนิวตันนั้นสามารถใช้อธิบายวัตถุที่กำลังหล่นได้ แต่ไม่สามารถใช้อธิบายคนที่กำลังตกหลุมรัก (falling in love - เทียบกับ falling body) ได้เลย”
แม้ว่าเรื่องนี้เป็นการ “แซว” กันเล่น แต่ความจริงก็เป็นเช่นนั้นจริงๆ จิตใจของมนุษย์ตลอดจนพฤติกรรมของสังคมนั้นมีความซับซ้อนกว่ากฎเกณฑ์ทางฟิสิกส์หรือกฎของนิวตันมากนัก อย่างไรก็ตาม ผมคิดว่า “กฎการเคลื่อนที่ของนิวตัน” กับ “กฎการขับเคลื่อนการเมืองใหม่” ยังมีบางสิ่งบางอย่างที่คล้ายกัน และมีบางสิ่งบางอย่างที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง ผมจะกล่าวเปรียบเทียบกันดังต่อไปนี้ครับ
กฎข้อที่หนึ่ง
กฎการเคลื่อนที่ของนิวตันข้อ 1 เป็นกฎที่เน้นถึงสภาวะเดิมของการเคลื่อนที่มีใจความว่า “ถ้าไม่มีแรงภายนอกกระทำต่อวัตถุ วัตถุจะอยู่ในสภาวะเดิมของการเคลื่อนที่” กล่าวคือ ถ้าวัตถุอยู่นิ่งก็ยังคงนิ่งอยู่เช่นนั้น และถ้าวัตถุเคลื่อนที่ก็จะเคลื่อนที่ด้วยความเร็วคงที่ กฎการเคลื่อนที่ข้อ 1 ของนิวตันนี้ ถึงแม้จะมีแรงภายนอกกระทำต่อวัตถุ แต่ถ้าแรงลัพธ์นี้เป็นศูนย์ก็ยังสอดคล้องกับกฎข้อนี้
กฎของนิวตันข้อนี้บางครั้งก็ถูกเรียกว่า กฎของความเฉื่อย (law of inertia-คำว่า inertia แปลว่าเฉื่อยหรือขี้เกียจ) ซึ่งมีความหมายว่า “วัตถุที่เคลื่อนที่อยู่แล้วจะมีความขี้เกียจที่จะหยุด และถ้าวัตถุที่หยุดอยู่กับที่แล้ว ก็ขี้เกียจจะเคลื่อนที่หรือขยับ”
เราสามารถเข้าใจกฎข้อนี้ได้โดยการเปรียบเทียบกับตัวเราเอง เมื่อได้นั่งแล้วก็ขี้เกียจจะลุกหรือขยับตัว ยิ่งเป็นคนอ้วนๆ แล้วยิ่งเห็นชัดเจน ถ้าเปรียบเทียบกับการเคลื่อนที่ของรถบรรทุก ถ้ารถบรรทุกกำลังแล่นอยู่เมื่อคนขับต้องการจะหยุดรถก็หยุดลำบาก เพราะรถบรรทุกมี “ความเฉื่อยหรือความขี้เกียจมาก” ตรงกันข้ามกับรถมอเตอร์ไซค์ที่ไม่ว่าจะเริ่มเคลื่อนที่หรือจะหยุดสามารถทำได้ง่ายกว่า เพราะ “ความขี้เกียจมีน้อย”
ถ้าเปรียบเทียบการเคลื่อนที่ของวัตถุกับ “การตื่นรู้ในปัญหาสาธารณะของคน” จะพบในทำนองเดียวกับกฎของความเฉื่อย กล่าวคือ คนที่ไม่เคยเข้าใจหรือไม่เคยรับรู้ปัญหาของสังคมก็ขี้เกียจที่จะรับรู้ ถ้าติดละครก็ติดต่อไป แต่ครั้นเมื่อเขาได้กลายเป็นผู้ที่ตื่นรู้ เข้าใจแล้ว เขาก็จะเป็นผู้เอาการเอางาน ขยันขันแข็งเพื่อกิจการของส่วนรวมชนิดที่ “ขี้เกียจ” จะหยุด จนถึงขั้นยอมเสียสละทุกอย่าง
กฎการขับเคลื่อนการเมืองใหม่ข้อที่หนึ่ง กล่าวว่า “สังคมใหม่ต้องเป็นสังคมแห่งการแสวงหาความรู้และปัญญา พลเมืองทุกคนต้องเคารพสิทธิและภูมิปัญญาของผู้อื่นและต้องรู้จักปกป้องสิทธิของตนเองและสิทธิของสาธารณะเสมอกัน การเคลื่อนไหวทางการเมืองเป็นหน้าที่ของพลเมืองและต้องกระทำอย่างต่อเนื่อง ด้วยสติ ปัญญา ไม่ขึ้นลงตามอารมณ์และกระแสสังคม”
ในกระบวนการขับเคลื่อนทางความคิดเพื่อสังคมใหม่ ผู้ปฏิบัติงานจะต้องมีความเข้าใจในพฤติกรรมความเฉื่อยของมนุษย์ในกฎข้อนี้เป็นอย่างดีจึงจะสามารถทำงานสำเร็จได้
กฎข้อที่สอง
ผมเข้าใจว่ากฎข้อนี้ของนิวตันเป็นเพียงแค่รายละเอียดของกฎข้อที่หนึ่งเท่านั้น ความสำคัญเชิงหลักการยังคงอยู่ที่กฎข้อที่หนึ่ง (ผมเข้าใจเอง อาจจะไม่ถูกต้องก็ได้) กฎข้อที่สองเป็นเพียงการบอกรายละเอียดว่า วัตถุจะเคลื่อนที่ไปในทิศทางใด เร็ว ช้าแค่ไหน
กฎการเคลื่อนที่ของนิวตันข้อ 2 นี้มีใจความว่า “ถ้ามีแรงลัพธ์หรือแรงสุทธิ กระทำกับวัตถุหนึ่ง จะทำให้วัตถุนั้นมีความเร่ง ในทิศทางเดียวกันกับทิศทางของแรงนั้น โดยมีขนาดเป็นสัดส่วนกับขนาดของแรงลัพธ์ และผกผันกับมวลของวัตถุนั้น”
คนทั่วไปจดจำกฎข้อนี้อย่างง่ายๆว่า “ผลรวมของแรงกระทำภายนอกเท่ากับมวลคูณกับความเร่ง”
กฎการขับเคลื่อนการเมืองใหม่ข้อที่สอง ผมขอกล่าวสรุปเองว่า “สังคมมนุษย์(รวมทั้งธรรมชาติด้วย) มีความซับซ้อน (complex) ผลรวมของส่วนย่อยๆ ในสังคม ไม่จำเป็นต้องเหมือนหรือเท่ากับสังคมโดยรวม ปรากฏการณ์ของส่วนย่อยมักจะเป็นแบบไม่เชิงเส้น (nonlinear) ในบางครั้งสิ่งเล็กๆ ก็อาจจะสามารถก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ยิ่งใหญ่ได้ ขณะเดียวกันสังคมโลกที่คนทั่วไปคิดว่ากว้างใหญ่ไพศาลนั้น ในบางกรณีก็กลับกลายเป็นโลกที่แคบนิดเดียว”
กฎข้อนี้จะว่าเป็นกฎก็ใช่ จะว่าเป็นโลกทัศน์ก็ได้ แต่ทั้งหมดเป็นความจริงที่คนธรรมดาทั่วไปอาจคิดไปไม่ถึง แต่นักคณิตศาสตร์สามารถพิสูจน์และทดลองได้ คนที่มีความเชื่อตามโลกทัศน์ที่ว่า “สิ่งเล็กๆ ก็อาจจะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ยิ่งใหญ่ได้” จะมีกำลังใจ ไม่ท้อแท้ห่อเหี่ยว และมุ่งมั่นในการทำงาน เพราะเชื่อว่าสักวันหนึ่ง สิ่งที่คนกลุ่มเล็กๆ ทำจะกลายเป็นจุดพลิกผัน (tipping point) ให้เกิดการเปลี่ยนที่ยิ่งใหญ่ในระดับประเทศได้ แต่คนที่ไม่เชื่ออย่างนั้น เช่น คนที่คิดว่า “กำลังฝนทั่งให้เป็นเข็ม” ก็จะรู้สึกท้อถอยหมดกำลังใจ จนถึงขั้นขี้เกียจจะลุกขึ้นมาเยียวยาสังคมตามกฎข้อที่หนึ่งได้ได้กล่าวไว้
ด้วยขีดจำกัดของเนื้อหา ผมขออธิบายข้อความดังกล่าวเพียงสั้นๆ ด้วยตัวอย่างดังต่อไปนี้
ตัวอย่างแรก ถ้าเรานำกระดาษหนังสือพิมพ์ที่มีขนาดใหญ่มากแผ่นหนึ่ง ครั้งแรกนำกระดาษมาพับครึ่ง ความหนาของกระดาษก็จะกลายเป็นสองเท่าของกระดาษเดิม ครั้งที่สองก็พับอย่างเดิม ความหนาของกระดาษก็จะเป็นสี่เท่า ผมเคยถามนักศึกษาหลายครั้งนับพันคนว่า ถ้าทำเช่นนี้ต่อไปเรื่อยๆ ถึง 40 ครั้ง กระดาษที่พับได้จะหนาหรือสูงเท่าใด บางคนก็ตอบว่าความหนาเท่าสมุดโทรศัพท์ บ้างก็ว่าสูงเท่าตู้เย็น แต่ความเป็นจริงแล้ว ความสูงของกระดาษนี้จะถึงดวงจันทร์ เรียกว่าเราสามารถปีนกองกระดาษนี้ไปเดินเล่นบนดวงจันทร์ได้เลย และถ้าพับต่อไปอีก 10 ครั้งก็จะสูงถึงดวงอาทิตย์ แต่คงจะปีนไปไม่ได้เพราะร้อนมาก!
ที่คำตอบผิดพลาดไปมหาศาลนี้ ก็เพราะว่ามนุษย์เรามีกรอบความคิดเป็นเชิงเส้น (linear) ที่คิดว่าสิ่งนั้นค่อยๆ เพิ่มทีละนิดๆ แต่ความเป็นจริงปัญหานี้เป็นระบบที่ไม่เชิงเส้นที่เพิ่มขึ้นอย่างคาดไม่ถึง
ตัวอย่างที่สอง เป็นเรื่องของการแพร่ของโรคระบาดหรือการแพร่ของข้อมูลข่าวสารในสังคม เรื่องนี้เป็นเรื่องจริงพิสูจน์ได้รับ นักระบาดวิทยา ตลอดจนนักการตลาดก็ใช้วิธีคิดแบบนี้
สมมติว่า เริ่มต้น มีคนได้รับซีดีเกี่ยวกับอะไรก็ได้จำนวน 1 ล้านชุด ถ้าแต่ละคนผู้ที่ได้ชมซีดีชุดนี้แล้ว สามารถเล่าเรื่องราวที่อยู่ในซีดีนี้ต่อไปให้กับผู้ที่ยังไม่รู้จำนวน 1 คนภายในเวลาหนึ่งเดือน และเป็นเช่นนี้เรื่อยไป นักคณิตศาสตร์สามารถคำนวณได้ว่าภายในเวลา 5 เดือน ประเทศไทยซึ่งมีประชากรทั้งหมด 65 ล้านคน จะได้รับรู้ข่าวสารชุดนี้จำนวน 45 ล้านคน กรุณาดูกราฟซ้ายมือประกอบ
แต่ถ้าแต่ละคนที่ได้รับทราบแล้วแล้ว “ขี้เกียจ” โดยลดความสามารถในการแพร่ลงมาเหลือเพียงครึ่งเดียว คือ แต่ละเดือนสามารถเล่าต่อให้กับที่ยังไม่เคยทราบเพียง 0.5 คน เราพบว่าในเวลา 5 เดือน (เท่าเดิม) จำนวนผู้ที่ได้รับข่าวนี้ทั้งหมดจะมีเพียง 10 ล้านคนเท่านั้น
คนทั่วไปอาจคิดว่า ถ้าลดความขยันในการเผยแพร่ลงมาครึ่งหนึ่งของของเดิมแล้ว ผลงานจะลดลงมาครึ่งหนึ่งด้วย แต่นักคณิตศาสตร์พบว่า จำนวนผู้ได้ลดลงจาก 45 ล้านคนมาเหลือเพียง 10 ล้านคน หรือลดลงถึง 4.5 เท่าตัว ไม่ใช่สองเท่าตัว
นี่เป็นเพราะอิทธิพลของสิ่งที่เราเรียกว่า ระบบไม่เชิงเส้น ที่ไม่ค่อยจะมีในความคิดของคนทั่วไป แต่มีอยู่จริงในธรรมชาติทั่วไปครับ
เรื่องผลรวมของส่วนย่อยไม่จำเป็นต้องเท่ากับผลของระบบใหญ่ทั้งหมด เรื่องนี้อธิบายยากในเวลาอันจำกัด พลังความคิดของแต่ละคนมีอยู่อาจจะไม่สูงมาก แต่เมื่อนำมาสู่กระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้อย่างสร้างสรรค์อาจจะมีพลังมากกว่าผลบวกของพลังที่แต่ละคนมีก็ได้ บางคนเรียกปรากฏการณ์เช่นนี้ว่า synergy
ในการแข่งขันเทนนิส กติกาที่ใช้ไม่ใช่กติกาแบบเชิงเส้น ผู้ชนะอาจจะได้ผลรวมของเกมน้อยกว่าผู้ที่แพ้ก็ได้ (เช่น 0-6, 6-4, 6-3, ผู้ชนะได้เพียง 12 เกมแต่ผู้แพ้ได้ 13 เกม) ในการเล่นแต่ละลูกหรือแต่ละเกมจะมีผลหรือความสำคัญต่อการแข่งขันไม่เท่ากัน เช่น เมื่อจำนวนเกมของผู้เล่นที่ตกเป็นรองมาอยู่ที่ 1 ต่อ 3 เกมกับอีกกรณีที่เป็น 3 ต่อ 5 เกม แม้ผลต่างของจำนวนเกมจะเท่ากัน แต่สถานการณ์อันตรายของผู้ตกเป็นรองในกรณีหลังมีสูงกว่ามาก
นี่แสดงว่า การกระทำเดียวกันส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงไม่เท่ากัน ผลรวมของส่วนย่อย ไม่จำเป็นต้องเหมือนกับผลรวมของส่วนใหญ่ และแต่ละลูกที่เล่นมีความสำคัญไม่เท่ากัน ต่างกับกติกาการแข่งขันฟุตบอลที่ผมคิดว่าเป็นเชิงเส้น แต้มสุดท้ายของกีฬาฟุตบอลไม่ใช่แต้มตัดสินการแพ้-ชนะเสมอไป แต่ในกีฬาเทนนิสใช่
นิทานอีสปเรื่องน้ำผึ้งหยดเดียว เริ่มต้นจากคุณป้าผู้หนึ่งทำน้ำผึ้งหกไว้บนโต๊ะกาแฟ บังเอิญมดมากินน้ำผึ้ง บังเอิญจิ้งจกมากินมด แมวมากินจิ้งจก หมามากัดแมว เจ้าของหมากับเจ้าของแมวรวมทั้งญาติๆ ของเจ้าของก็ยกพวกตีกันเป็นจลาจลใหญ่ไปทั้งหมู่บ้าน
คดีทุจริตการซื้อที่ดินรัชดาฯ ที่นำไปสู่การตัดสินจำคุกอดีตนายกรัฐมนตรีครั้งแรกของประเทศไทยก็มาจากการทำงานของข้าราชกลุ่มเล็กๆ ที่ชื่อ “กลุ่มเป่านกหวีด” ที่ประสานกับฝ่ายต่างๆ อย่างลงตัวและได้จังหวะ
ในประเด็นที่ว่า บางกรณีก็กลายเป็นโลกที่แคบนิดเดียว เรื่องนี้ได้มีการคิดค้นทางทฤษฎีและทดลองโดยนักคณิตศาสตร์กลุ่มหนึ่งตั้งแต่ปี 2472 เรื่อยมาจนถึงปี 2544 ศาสตราจารย์ Duncan Watts แห่งมหาวิทยาลัยโคลัมเบียจนได้ข้อสรุปว่า “โดยเฉลี่ยแล้วมนุษย์ทั้งโลกนี้ห่างกันเพียง 6 ช่วงของการติดต่อสื่อสารเท่านั้น (Six Degrees of Separation)”
หมายความว่า ถ้าเราจะติดต่อหรือจะฝากของสักชิ้นไปถึงใครสักคนบนโลกใบนี้ ขอให้เพียงเรารู้จักชื่อและรู้จักอาชีพที่เขาทำ รู้ที่อยู่เพียงเคร่าๆ แม้ไม่รู้จักที่อยู่ที่ชัดเจน เราก็สามารถติดต่อถึงเขาได้โดยการส่งต่อๆ ไปไม่เกิน 6 ครั้ง ของชิ้นนั้นก็จะถึงมือคนที่เราต้องการได้
มีเรื่องเล่าว่า เคยมีอาจารย์ชาวเยอรมันคนหนึ่ง ต้องการจะติดต่ออาจารย์คณิตศาสตร์ระดับมหาวิทยาลัยคนหนึ่งในเมืองไทย ปรากฏว่าเขาติดต่อทางโปรแกรมกูเกิ้ลเพียง 2 ครั้งเท่านั้น นี่เป็นการยืนยันว่าโลกใบนี้แคบนิดเดียว
เมื่อเราพบว่าโลกนี้แคบอย่างนี้แล้ว ทำให้เราเกิดกำลังใจในการทำงานหรือเพื่อการสร้างสรรค์สิ่งดีๆ ไหม? และเมื่อเราต้องการจะให้ใครได้รู้อะไรก็ไม่ใช่เรื่องยากเย็นเหมือนเมื่อก่อนอีกต่อไป
การเมืองใหม่จะเกิดขึ้นได้ต้องอาศัยการรวมกลุ่มของพลเมืองคนเล็กคนน้อยที่กระจัดกระจายตัวอยู่ทั่วประเทศ บางกลุ่มอาจสนในเรื่องการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ บางกลุ่มอาจคุ้มครองผู้บริโภค บางกลุ่มอาจจะต้านการคอร์รัปชัน แต่กลุ่มเหล่านี้จะต้องประสานกันเมื่อถึงคราวจำเป็น
เพื่อให้การทำงานของแต่ละข่ายงานมีประสิทธิภาพสูงขึ้น แต่ละข่ายจะต้องมีองค์ประกอบ 3 ส่วนคือ ผู้ประสานงาน (ที่มีมนุษย์สัมพันธ์เข้ากับทุกคนได้) นักวิชาการ (ที่ทำงานเชิงลึก เรื่องยากๆ) และโฆษกที่สามารถแปลงเรื่องยากให้เป็นเรื่องง่ายๆ ที่สังคมสามารถเข้าใจได้ เครือข่ายเหล่านี้จะต้องมีการสื่อสารต่อสาธารณะวงกว้าง โดยใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยที่เรียกว่า การเชื่อมต่อแบบไอเพอร์ (hyperconnected)
ดังนั้น การทำงานเพื่อนำไปสู่การเมืองใหม่จึงเป็นการทำงานซับซ้อนและต้องอาศัยศิลป์มากมายแต่อยู่บนพื้นฐานของความเชื่อหรือโลกทัศน์ตามกฎข้อที่สองที่กล่าวมาแล้ว
กฎข้อที่สาม
กฎการเคลื่อนที่ข้อ 3 ของนิวตันมีใจความว่า “ทุกแรงกิริยา (action) ย่อมมีแรงปฏิกิริยา (reaction) ขนาดเท่ากันโต้ตอบในทิศตรงข้ามกันเสมอ” ผมแอบนำรูปที่ค้นได้จากวิกิพีเดียมาลงให้ดูแรงทั้งสองที่ผลักกันด้วยครับ คงไม่ต้องอธิบายอะไรมากสำหรับกฎของนิวตันข้อนี้
แต่กฎการขับเคลื่อนการเมืองใหม่ข้อที่สาม ผมคิดว่าเราจะต้องคิดใหม่ คนที่ตื่นรู้แล้วจะต้องเป็นฝ่ายลุกขึ้นมาและออกแรงให้มากกว่าแรงที่เคยทำให้สังคมเสื่อมทรุด ไม่เพียงแต่จะต้องออกแรงให้มากกว่า แต่จะต้องเป็นผู้ริเริ่มคิดค้นมิติใหม่ๆ มาสร้างสรรค์สังคมใหม่ การเมืองใหม่ พลเมืองต้องเป็นฝ่ายกระทำ ไม่ใช่เป็นผู้ถูกกระทำ
สรุป
เพื่อให้เกิดกำลังใจในการขับเคลื่อนสู่สังคมใหม่ ผมขอนำคำบรรยายของพระพรหมคุณาภรณ์มาเสนอปิดท้าย ท่านได้กล่าวว่า “ถ้าสังคมล้ม คนต้องลุกขึ้นมาแก้ไข . . .ตอนแรกเมื่อคนป่วยเป็นรายๆ สังคมต้องช่วยแก้ไข แต่ถ้าสังคมป่วยเอง คนต้องตั้งหลักให้ได้ แล้วมาแก้ไข หมายความว่า เราต้องมาชวนกัน ทุกท่านทุกคนมาช่วยกันบำบัดเยียวยารักษาสังคม”
“พอยกตัวขึ้นมาเป็นผู้กระทำเท่านั้นแหละ ความรู้สึกเบื่อหน่ายละห้อยละเหี่ยก็จะหายไปทันที ถ้าไม่หมดก็แทบจะหมดไปเลย ความเจ็บป่วยทางอารมณ์ก็หายไป สุขภาวะทางจิตใจก็กลับคืนมาและดีขึ้นๆ พร้อมกับความงอกงามของสุขภาวะทางปัญญา”
นอกจากบทความนี้ได้นำเสนอกฎ 3 ข้อในการขับเคลื่อนสู่การเมืองใหม่แล้ว ยังมีพลังใจจากพระคุณเจ้ามาฝากอีกด้วย ขอบคุณครับ.