“ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรพชิตไม่ควรถือปฏิบัติทางสุดโต่ง 2 ทาง คือ กามสุขัลลิกานุโยค (การทำตนให้หมกมุ่นอยู่ในกาม) และอัตตกิลมถานุโยค (การทรมานตนเองให้ลำบาก) แต่ควรเดินทางสายกลาง คือ มัชฌิมาปฏิปทา” นี่คือพุทธพจน์ที่ตรัสสอนปัญจวัคคีย์เป็นครั้งแรก หลังจากที่พระองค์ได้ตรัสรู้ หรือที่เรียกว่า ปฐมเทศนา ภายใต้ชื่อว่า ธัมมจักกัปปวัตตน
โดยนัยแห่งคำว่าทางสายกลางหรือมัชฌิมาปฏิปทา หมายถึง ข้อวัตรปฏิบัติที่ไม่ตึงเกินไป และไม่หย่อนเกินไป แต่มีความพอเหมาะพอดีที่จะทำให้บรรลุมรรคผลสูงสุด คือ พระนิพพานได้นั่นเอง
ดังนั้น ความหมายที่ถูกต้องของคำว่า สายกลาง ก็คือ วิถีธรรมที่อยู่ระหว่างทางสุดโต่งทั้งตึงและหย่อน ทั้งเป็นทางที่ยึดความถูกต้อง พอเหมาะพอดีนั่นเอง มิได้หมายถึงการให้วางตัวเป็นกลางโดยมิได้เข้าข้างใดข้างหนึ่ง ดังที่ความเป็นกลางทางการเมืองที่คนบางคนหมายถึง และนำมาอ้างเพื่อแก้ปัญหาความขัดแย้งระหว่างคน 2 กลุ่มที่ขัดแย้งกันดังที่เป็นอยู่ในขณะนี้
ทางสายกลางตามนัยแห่งคำสอนของพระพุทธเจ้าต่างจากความเป็นกลางอย่างไร และทางสายกลางที่ว่านี้จะนำมาเป็นแนวทางในการแก้ปัญหาความขัดแย้งที่เกิดขึ้น และเป็นอยู่ในสังคมเวลานี้ได้หรือไม่?
เพื่อให้ท่านผู้อ่านมองเห็นประเด็นแห่งปัญหาดังกล่าวข้างต้นชัดเจน และนำไปเป็นแนวคิดในการมองปัญหาข้อขัดแย้งได้อย่างตรงไปตรงมา ทั้งในส่วนของความหมายตามตัวอักษร และตามความหมายโดยเนื้อหาแห่งเจตนารมณ์อันเป็นที่มาของคำสอนที่ว่านี้ ผู้เขียนใคร่ขอให้ท่านผู้อ่านลองย้อนไปดูต้นตอหรือที่มาของคำสอนเกี่ยวกับทางสายกลาง ก็จะพบว่าในยุคพุทธกาลได้มีลัทธิหรือความเชื่อเกี่ยวกับแนวทางปฏิบัติของผู้คนอยู่ 2 แนวทาง คือ
1. ลัทธิจารวาก ที่เชื่อว่าความสุขที่ได้จากการมีเพศสัมพันธ์เป็นนิพพาน คือ เป็นที่ดับทุกข์ เป็นความสุขสูงสุดที่มนุษย์หาได้
2. ลัทธิเซน ที่เชื่อว่าการทรมานตัวเองให้ได้รับความลำบาก เช่น ยืนขาเดียวกินลม หรือถอนผมด้วยแปรงที่ทำด้วยก้านต้นตาล เป็นต้น ทำให้เกิดตบะและความอดทนเผาผลาญกิเลส เช่น กามราคะ หรือความยินดีในกามได้
แต่ครั้นเมื่อพระพุทธเจ้าซึ่งเคยเป็นเจ้าชาย และเสวยสุขทางกามมาแล้วก่อนออกบวช และครั้นบวชแล้วได้บำเพ็ญทุกรกิริยาด้วยการอดอาหาร เป็นต้น ก็ได้บรรลุธรรมใดๆ จึงเท่ากับว่าพระพุทธองค์ได้ผ่านแนวทางแห่งความเชื่อ 2 ประการนี้มาแล้ว จึงได้ค้นพบทางสายกลาง คือ เส้นทางที่อยู่ระหว่างทางสุดโต่ง 2 ประการนี้ คือ มัชฌิมาปฏิปทา อันได้แก่ มรรคซึ่งประกอบด้วยองค์ 8 เริ่มด้วยสัมมาทิฐิ และสัมมาสมาธิเป็นประการสุดท้าย
จากองค์มรรคทั้ง 8 ประการ จะเห็นได้ว่าขึ้นต้นด้วยคำว่า สัมมา ซึ่งแปลว่า ชอบหรือถูกต้องทุกองค์อันหมายถึงว่า ทางสายกลางที่แท้แล้วก็คือทางสายที่ถูกต้องเหมาะสม มิใช่ความเป็นกลางระหว่างความผิดกับความถูก โดยการอยู่เฉยๆ ไม่ข้องแวะกับฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเหมือนที่บางคนเข้าใจ และต้องการให้นำมาใช้ในการแก้ปัญหาความขัดแย้งของผู้คนในสังคมไทยอยู่ในขณะนี้
ส่วนประเด็นที่ว่าความเป็นกลางทางการเมือง ถ้าดูจากตัวอย่างของประเทศเป็นกลางในภาวะที่เกิดสงครามโลกแล้ว น่าจะหมายถึงประเทศที่ไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด โดยการวางตัวเฉยๆ ไม่คัดค้านและสนับสนุนฝ่ายใดนั่นเอง แต่ก็มิได้หมายความว่าประเทศที่ทำเช่นนี้ได้กระทำสิ่งที่ถูกต้องที่มนุษย์ควรจะทำเพื่อความอยู่รอดและความเป็นธรรมที่ผู้คนผู้รักความถูกต้อง และเป็นธรรมจะพึงเป็นเพราะการทำเช่นนี้อาจขาดเมตตาธรรมถ้าเห็นฝ่ายที่ถูกต้องกำลังถูกฝ่ายที่ผิดรังแกโดยการไม่เข้าไปช่วยเหลือฝ่ายที่ถูกต้อง
ด้วยเหตุดังกล่าวข้างต้น ทางสายกลางและความเป็นกลางทางการเมืองอาจไม่ใช่เครื่องมือหรือมาตรการที่ถูกต้องเหมาะสมที่จะนำมาแก้ปัญหาความขัดแย้งของคนไทยในวันนี้ ถ้าไม่มีการนำเหตุแห่งความขัดแย้งมาวิเคราะห์ และเลือกข้างให้ถูกต้องก่อนแล้วแก้ไขปัญหาให้ตรงจุด โดยให้ฝ่ายที่ผิดยุติการกระทำ และให้ฝ่ายที่ถูกต้องให้อภัยในความผิดที่ผู้กระทำผิดได้กระทำลงไปเพื่อเวรจบลงด้วยการไม่จองเวร
แต่ตราบใดที่ไม่มีการเลือกข้างให้ถูกต้อง และฝ่ายที่ผิดไม่รู้ว่ากระทำผิดแล้วขอโทษต่อผู้ถูกกระทำ เชื่อว่าการแก้ไขปัญหาข้อขัดแย้งจะเกิดขึ้นไม่ได้จะด้วยวิธีใดๆ หรือแม้กระทั่งการเรียกร้องให้ทุกฝ่ายสมานฉันท์กัน เพราะจะต้องไม่ลืมว่าคำว่า สมานฉันท์ โดยนัยแห่งความหมายแล้วก็คือการที่คน 2 คนหรือคน 2 ฝ่ายเห็นพ้องต้องกันในสิ่งเดียวกัน และเป็นการเห็นพ้องที่ยึดความถูกต้อง และผลประโยชน์ของผู้คนโดยรวมเป็นที่ตั้งด้วยจึงจะแก้ปัญหาได้
แต่วันนี้และเวลานี้ ผู้คนในสังคมไทยขัดแย้งกันโดยแบ่งออกเป็น 3 ฝ่าย คือ
1. ฝ่ายที่นิยมชมชอบระบอบทักษิณ และออกมาต่อสู้เพื่อให้อดีตนายกฯ ทักษิณ หลุดรอดจากความผิดต่างๆ ที่กำลังถูกดำเนินการตามกระบวนการตุลาการ และเปิดโอกาสให้กลับมามีอำนาจทางการเมืองอีกครั้ง และคนในกลุ่มนี้นำโดยนักการเมืองสังกัดพรรคพลังประชาชน และกลุ่มพลังประชาชนที่ออกมาแสดงพลังอยู่เป็นระยะๆ
2. กลุ่มที่ต่อต้านระบอบทักษิณ ซึ่งนำโดยกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ด้วยเหตุอ้างในการต่อต้านคือ ทักษิณ เป็นต้นตอแห่งการเกิดความขัดแย้งขึ้นในประเทศ ด้วยการกระทำและสนับสนุนให้เกิดการกระทำทุจริตผิดกฎหมาย ทั้งในส่วนของการแสวงหาประโยชน์ให้แก่ตัวเองและพวกพ้อง และการกระทำที่หมิ่นเบื้องสูง จึงต้องการให้มีการนำผู้กระทำผิดมาลงโทษ และในขณะเดียวกันปิดโอกาสมิให้กลับมาสู่อำนาจทางการเมืองอีกครั้ง
3. กลุ่มที่อยู่เฉยไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใดในลักษณะเป็นทองไม่รู้ร้อน ว่าใครจะเป็นอะไร ถึงคนกลุ่มนี้อาจมีน้อยกว่าถ้านำ 2 กลุ่มมารวมกัน แต่ถ้าแยกออกเป็นคนละกลุ่มเชื่อว่ากลุ่มนี้จะมากกว่ากลุ่มใดๆ ใน 2 กลุ่มแรก
เมื่อผู้คนในสังคมไทยแบ่งแยกออกเป็น 3 กลุ่มเช่นนี้ จะเห็นได้ชัดเจนว่าถ้าปล่อยให้เป็นเช่นนี้ต่อไปประเทศไทยจะต้องมีปัญหาเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และรุนแรงขึ้นเป็นลำดับ ทั้งนี้ด้วยเหตุปัจจัยทางตรรกะดังต่อไปนี้
1. ทั้งกลุ่มที่คัดค้านทักษิณ และกลุ่มที่สนับสนุนทักษิณ จะต้องต่อสู้เพื่อเอาชนะกัน และกระ ทำรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ
2. กลุ่มที่ 3 จะตกเป็นเหตุแห่งการแย่งชิงมวลชนเกิดขึ้น และคนกลุ่มที่ 3 นี้เองจะเป็นตัวชี้ขาดว่าคนในกลุ่ม 1 หรือ 2 มีโอกาสชนะ แต่ระหว่างที่มีการแย่งชิงนี้เองจะทำให้ผู้คนในกลุ่มนี้เบื่อหน่ายการเมืองมากขึ้นเรื่อยๆ และไม่เป็นผลดีต่อประเทศโดยรวม
ด้วยเหตุนี้ ผู้เขียนจึงเห็นว่าถึงเวลาแล้วที่ผู้คนในสังคมจะต้องเลือกข้างความถูกต้อง และบีบคั้นฝ่ายที่ไม่ถูกต้องให้ยอมจำนน และยุติบทบาทของการต่อสู้ลงโดยเร็ว จะด้วยการใช้กระบวนการทางตุลาการหรือกระบวนการอื่นใดก็ได้ที่เห็นว่าประเทศได้มากกว่าเสีย แต่ไม่ใช่ให้ฝ่ายถูกสมานฉันท์กับฝ่ายผิดก็แล้วกัน
โดยนัยแห่งคำว่าทางสายกลางหรือมัชฌิมาปฏิปทา หมายถึง ข้อวัตรปฏิบัติที่ไม่ตึงเกินไป และไม่หย่อนเกินไป แต่มีความพอเหมาะพอดีที่จะทำให้บรรลุมรรคผลสูงสุด คือ พระนิพพานได้นั่นเอง
ดังนั้น ความหมายที่ถูกต้องของคำว่า สายกลาง ก็คือ วิถีธรรมที่อยู่ระหว่างทางสุดโต่งทั้งตึงและหย่อน ทั้งเป็นทางที่ยึดความถูกต้อง พอเหมาะพอดีนั่นเอง มิได้หมายถึงการให้วางตัวเป็นกลางโดยมิได้เข้าข้างใดข้างหนึ่ง ดังที่ความเป็นกลางทางการเมืองที่คนบางคนหมายถึง และนำมาอ้างเพื่อแก้ปัญหาความขัดแย้งระหว่างคน 2 กลุ่มที่ขัดแย้งกันดังที่เป็นอยู่ในขณะนี้
ทางสายกลางตามนัยแห่งคำสอนของพระพุทธเจ้าต่างจากความเป็นกลางอย่างไร และทางสายกลางที่ว่านี้จะนำมาเป็นแนวทางในการแก้ปัญหาความขัดแย้งที่เกิดขึ้น และเป็นอยู่ในสังคมเวลานี้ได้หรือไม่?
เพื่อให้ท่านผู้อ่านมองเห็นประเด็นแห่งปัญหาดังกล่าวข้างต้นชัดเจน และนำไปเป็นแนวคิดในการมองปัญหาข้อขัดแย้งได้อย่างตรงไปตรงมา ทั้งในส่วนของความหมายตามตัวอักษร และตามความหมายโดยเนื้อหาแห่งเจตนารมณ์อันเป็นที่มาของคำสอนที่ว่านี้ ผู้เขียนใคร่ขอให้ท่านผู้อ่านลองย้อนไปดูต้นตอหรือที่มาของคำสอนเกี่ยวกับทางสายกลาง ก็จะพบว่าในยุคพุทธกาลได้มีลัทธิหรือความเชื่อเกี่ยวกับแนวทางปฏิบัติของผู้คนอยู่ 2 แนวทาง คือ
1. ลัทธิจารวาก ที่เชื่อว่าความสุขที่ได้จากการมีเพศสัมพันธ์เป็นนิพพาน คือ เป็นที่ดับทุกข์ เป็นความสุขสูงสุดที่มนุษย์หาได้
2. ลัทธิเซน ที่เชื่อว่าการทรมานตัวเองให้ได้รับความลำบาก เช่น ยืนขาเดียวกินลม หรือถอนผมด้วยแปรงที่ทำด้วยก้านต้นตาล เป็นต้น ทำให้เกิดตบะและความอดทนเผาผลาญกิเลส เช่น กามราคะ หรือความยินดีในกามได้
แต่ครั้นเมื่อพระพุทธเจ้าซึ่งเคยเป็นเจ้าชาย และเสวยสุขทางกามมาแล้วก่อนออกบวช และครั้นบวชแล้วได้บำเพ็ญทุกรกิริยาด้วยการอดอาหาร เป็นต้น ก็ได้บรรลุธรรมใดๆ จึงเท่ากับว่าพระพุทธองค์ได้ผ่านแนวทางแห่งความเชื่อ 2 ประการนี้มาแล้ว จึงได้ค้นพบทางสายกลาง คือ เส้นทางที่อยู่ระหว่างทางสุดโต่ง 2 ประการนี้ คือ มัชฌิมาปฏิปทา อันได้แก่ มรรคซึ่งประกอบด้วยองค์ 8 เริ่มด้วยสัมมาทิฐิ และสัมมาสมาธิเป็นประการสุดท้าย
จากองค์มรรคทั้ง 8 ประการ จะเห็นได้ว่าขึ้นต้นด้วยคำว่า สัมมา ซึ่งแปลว่า ชอบหรือถูกต้องทุกองค์อันหมายถึงว่า ทางสายกลางที่แท้แล้วก็คือทางสายที่ถูกต้องเหมาะสม มิใช่ความเป็นกลางระหว่างความผิดกับความถูก โดยการอยู่เฉยๆ ไม่ข้องแวะกับฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเหมือนที่บางคนเข้าใจ และต้องการให้นำมาใช้ในการแก้ปัญหาความขัดแย้งของผู้คนในสังคมไทยอยู่ในขณะนี้
ส่วนประเด็นที่ว่าความเป็นกลางทางการเมือง ถ้าดูจากตัวอย่างของประเทศเป็นกลางในภาวะที่เกิดสงครามโลกแล้ว น่าจะหมายถึงประเทศที่ไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด โดยการวางตัวเฉยๆ ไม่คัดค้านและสนับสนุนฝ่ายใดนั่นเอง แต่ก็มิได้หมายความว่าประเทศที่ทำเช่นนี้ได้กระทำสิ่งที่ถูกต้องที่มนุษย์ควรจะทำเพื่อความอยู่รอดและความเป็นธรรมที่ผู้คนผู้รักความถูกต้อง และเป็นธรรมจะพึงเป็นเพราะการทำเช่นนี้อาจขาดเมตตาธรรมถ้าเห็นฝ่ายที่ถูกต้องกำลังถูกฝ่ายที่ผิดรังแกโดยการไม่เข้าไปช่วยเหลือฝ่ายที่ถูกต้อง
ด้วยเหตุดังกล่าวข้างต้น ทางสายกลางและความเป็นกลางทางการเมืองอาจไม่ใช่เครื่องมือหรือมาตรการที่ถูกต้องเหมาะสมที่จะนำมาแก้ปัญหาความขัดแย้งของคนไทยในวันนี้ ถ้าไม่มีการนำเหตุแห่งความขัดแย้งมาวิเคราะห์ และเลือกข้างให้ถูกต้องก่อนแล้วแก้ไขปัญหาให้ตรงจุด โดยให้ฝ่ายที่ผิดยุติการกระทำ และให้ฝ่ายที่ถูกต้องให้อภัยในความผิดที่ผู้กระทำผิดได้กระทำลงไปเพื่อเวรจบลงด้วยการไม่จองเวร
แต่ตราบใดที่ไม่มีการเลือกข้างให้ถูกต้อง และฝ่ายที่ผิดไม่รู้ว่ากระทำผิดแล้วขอโทษต่อผู้ถูกกระทำ เชื่อว่าการแก้ไขปัญหาข้อขัดแย้งจะเกิดขึ้นไม่ได้จะด้วยวิธีใดๆ หรือแม้กระทั่งการเรียกร้องให้ทุกฝ่ายสมานฉันท์กัน เพราะจะต้องไม่ลืมว่าคำว่า สมานฉันท์ โดยนัยแห่งความหมายแล้วก็คือการที่คน 2 คนหรือคน 2 ฝ่ายเห็นพ้องต้องกันในสิ่งเดียวกัน และเป็นการเห็นพ้องที่ยึดความถูกต้อง และผลประโยชน์ของผู้คนโดยรวมเป็นที่ตั้งด้วยจึงจะแก้ปัญหาได้
แต่วันนี้และเวลานี้ ผู้คนในสังคมไทยขัดแย้งกันโดยแบ่งออกเป็น 3 ฝ่าย คือ
1. ฝ่ายที่นิยมชมชอบระบอบทักษิณ และออกมาต่อสู้เพื่อให้อดีตนายกฯ ทักษิณ หลุดรอดจากความผิดต่างๆ ที่กำลังถูกดำเนินการตามกระบวนการตุลาการ และเปิดโอกาสให้กลับมามีอำนาจทางการเมืองอีกครั้ง และคนในกลุ่มนี้นำโดยนักการเมืองสังกัดพรรคพลังประชาชน และกลุ่มพลังประชาชนที่ออกมาแสดงพลังอยู่เป็นระยะๆ
2. กลุ่มที่ต่อต้านระบอบทักษิณ ซึ่งนำโดยกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ด้วยเหตุอ้างในการต่อต้านคือ ทักษิณ เป็นต้นตอแห่งการเกิดความขัดแย้งขึ้นในประเทศ ด้วยการกระทำและสนับสนุนให้เกิดการกระทำทุจริตผิดกฎหมาย ทั้งในส่วนของการแสวงหาประโยชน์ให้แก่ตัวเองและพวกพ้อง และการกระทำที่หมิ่นเบื้องสูง จึงต้องการให้มีการนำผู้กระทำผิดมาลงโทษ และในขณะเดียวกันปิดโอกาสมิให้กลับมาสู่อำนาจทางการเมืองอีกครั้ง
3. กลุ่มที่อยู่เฉยไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใดในลักษณะเป็นทองไม่รู้ร้อน ว่าใครจะเป็นอะไร ถึงคนกลุ่มนี้อาจมีน้อยกว่าถ้านำ 2 กลุ่มมารวมกัน แต่ถ้าแยกออกเป็นคนละกลุ่มเชื่อว่ากลุ่มนี้จะมากกว่ากลุ่มใดๆ ใน 2 กลุ่มแรก
เมื่อผู้คนในสังคมไทยแบ่งแยกออกเป็น 3 กลุ่มเช่นนี้ จะเห็นได้ชัดเจนว่าถ้าปล่อยให้เป็นเช่นนี้ต่อไปประเทศไทยจะต้องมีปัญหาเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และรุนแรงขึ้นเป็นลำดับ ทั้งนี้ด้วยเหตุปัจจัยทางตรรกะดังต่อไปนี้
1. ทั้งกลุ่มที่คัดค้านทักษิณ และกลุ่มที่สนับสนุนทักษิณ จะต้องต่อสู้เพื่อเอาชนะกัน และกระ ทำรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ
2. กลุ่มที่ 3 จะตกเป็นเหตุแห่งการแย่งชิงมวลชนเกิดขึ้น และคนกลุ่มที่ 3 นี้เองจะเป็นตัวชี้ขาดว่าคนในกลุ่ม 1 หรือ 2 มีโอกาสชนะ แต่ระหว่างที่มีการแย่งชิงนี้เองจะทำให้ผู้คนในกลุ่มนี้เบื่อหน่ายการเมืองมากขึ้นเรื่อยๆ และไม่เป็นผลดีต่อประเทศโดยรวม
ด้วยเหตุนี้ ผู้เขียนจึงเห็นว่าถึงเวลาแล้วที่ผู้คนในสังคมจะต้องเลือกข้างความถูกต้อง และบีบคั้นฝ่ายที่ไม่ถูกต้องให้ยอมจำนน และยุติบทบาทของการต่อสู้ลงโดยเร็ว จะด้วยการใช้กระบวนการทางตุลาการหรือกระบวนการอื่นใดก็ได้ที่เห็นว่าประเทศได้มากกว่าเสีย แต่ไม่ใช่ให้ฝ่ายถูกสมานฉันท์กับฝ่ายผิดก็แล้วกัน