เอเอฟพี – นายกรัฐมนตรีกอร์ดอน บราวน์ ของอังกฤษชี้ ไอเอ็มเอฟต้องการเงินเพิ่มเติมอีกเป็น ’แสนล้านดอลลาร์’ เพื่อใช้ช่วยเหลือประเทศที่เสี่ยงล่มสลายเพราะวิกฤติการเงินโลก พร้อมกับแสดงความหวังว่าประเทศร่ำรวยน้ำมันในอ่าวเปอร์เซีย ตลอดจนจีน จะร่วมกันลงขันช่วยแก้ปัญหานี้
กอร์ดอน บราวน์ นายกรัฐมนตรีอังกฤษ ให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าวเมื่อวันเสาร์ (1) ขณะอยู่ในซาอุดีอาระเบีย ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการเดินทางเยือนประเทศแถบอ่าวเปอร์เซียเป็นเวลา 4 วัน ว่าประเทศเหล่านี้ที่ได้ประโยชน์เป็นกอบเป็นกำจากภาวะน้ำมันแพงเมื่อเร็วๆ นี้ ตลอดจนจีน สามารถร่วมสมทบสำหรับแผนการของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ)
ผู้นำอังกฤษต้องการให้กองทุนมูลค่า 250,000 ล้านดอลลาร์ที่ไอเอ็มเอฟเตรียมอัดฉีดให้กับประเทศที่ได้รับผลกระทบ ขยับขยายครอบคลุมการป้องกัน ‘การระบาด’ ในพื้นที่อื่นๆ
ก่อนหน้านี้ แบลร์ไม่เคยระบุจำนวนเงินที่เขาเชื่อว่าไอเอ็มเอฟ ที่เตรียมเข้ากอบกู้ฮังการี ยูเครน และไอซ์แลนด์ จำเป็นต้องระดมเข้าสู่กองทุน
“ถ้าเราต้องการหยุดยั้งการลุกลามของวิกฤตการเงิน เราจำเป็นต้องมีนโยบายรับประกันทั่วโลกที่มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นเพื่อช่วยเหลือเศรษฐกิจที่กำลังถูกคุกคาม
“และนี่คือสาเหตุที่ผมเรียกร้องทรัพยากรเพิ่มเติมให้แก่ไอเอ็มเอฟอีกนับแสนล้านดอลลาร์ นอกเหนือจาก 250,000 ล้านดอลลาร์ที่มีอยู่แล้ว เพื่อปล่อยกู้แก่ประเทศที่เสี่ยงล่มสลายทางการเงิน
“ประเทศผู้ผลิตน้ำมันที่ทำรายได้กว่าล้านล้านดอลลาร์จากภาวะน้ำมันแพงในช่วงหลายปีมานี้ อยู่ในสถานะที่สามารถมีส่วนร่วมได้”
การเยือนของแบลร์มีขึ้นหลังจากที่บาร์เคลย์เปิดเผยเมื่อวันศุกร์ว่า จะระดมทุน 11,700 ล้านดอลลาร์ ส่วนใหญ่จากนักลงทุนในอาบูดาบีและกาตาร์ อันจะทำให้ในท้ายที่สุด ชีค แมนซูร์ บิน ซาเยด อัล นาห์ยัน เจ้าของสโมสรแมนเชสเตอร์ซิตี้ ได้ถือหุ้น 16.3% ในบาร์เคลย์
บราวน์ยกย่องประเทศอ่าวว่า เป็นแหล่งที่มาที่ทวีความสำคัญยิ่งขึ้นสำหรับการลงทุนภายในสหราชอาณาจักร
“ตราบที่เล่นตามกติกาและดำเนินการตามแนวทางธุรกิจ เรายินดีต้อนรับกองทุนความมั่งคั่งภาครัฐ”
ลอร์ด ปีเตอร์ แมนเดลสัน รัฐมนตรีธุรกิจที่เดินทางไปกับบราวน์ด้วย เสริมว่ามองไม่เห็นว่าจะมีปัญหาเกิดขึ้นจากกองทุนความมั่งคั่งภาครัฐในอังกฤษ
กระนั้น แผนการของบาร์เคลย์สร้างความโกรธเกรี้ยวในหมู่ผู้ถือหุ้นใหญ่บางรายที่วิจารณ์ว่า บาร์เคลย์ยอมจ่ายราคาแพงเพื่อหลีกเลี่ยงการระดมทุนจากรัฐบาลอังกฤษที่ยืนกรานให้จำกัดการจ่ายโบนัสผู้บริหาร
ช่วงไม่กี่วันมานี้ ประเทศอ่าวได้รับผลกระทบรุนแรงจากราคาน้ำมันที่ลงต่ำกว่า 60 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล จากที่เคยทำนิวไฮที่เฉียด 150 ดอลลาร์ในเดือนกรกฎาคม สืบเนื่องจากความกังวลว่าดีมานด์จะลดลงตามภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวทั่วโลก
นอกจากนี้ ยังคาดว่าบราวน์จะผลักดันเรื่องเสถียรภาพราคาน้ำมัน หลังปะทะคารมกับองค์การประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปก) เมื่อเดือนที่แล้วเรื่องการประชุมฉุกเฉินเพื่อลดกำลังผลิตซึ่งมีจุดมุ่งหมายในการฟื้นราคาน้ำมัน
บราวน์ออกเดินทางมาพร้อมกับแมนเดลสัน อดีตกรรมาธิการการค้าสหภาพยุโรป รวมถึงเอ็ด มิลิแบนด์ รัฐมนตรีพลังงาน และคณะผู้แทนทางธุรกิจ 27 คน ที่จะโฆษณาเชิญชวนนักลงทุนในอ่าวเปอร์เซียไปลงทุนในอังกฤษ โดยมิลิแบนด์มีแผนสนับสนุนให้อ่าวเปอร์เซียลงทุนในเทคโนโลยีพลังงานเพื่อสิ่งแวดล้อม
การทัวร์ครั้งนี้ยังมีขึ้นก่อนการประชุมสุดยอดในวอชิงตันวันที่ 15 ที่จะถึง ซึ่งกษัตริย์อับดุลเลาะห์ของซาอุดีอาระเบีย จะเข้าร่วมด้วย เช่นเดียวกับผู้นำชาติมั่งคั่งและมหาอำนาจตลาดเกิดใหม่ รวมถึงไอเอ็มเอฟ เพื่อหารือเรื่องการปรับโครงสร้างระบบการเงินโลก
บราวน์ทิ้งท้ายว่า เขาได้หารือแผนการระดมทุนเพิ่มให้ไอเอ็มเอฟกับโดมินิก สเตราส์-คาห์น กรรมการผู้จัดการใหญ่ไอเอ็มเอฟ และประธานาธิบดีนิโกลาส์ ซาร์โกซีของฝรั่งเศส ตลอดจนถึงนายกรัฐมนตรีอังเกลา แมร์เคิลของเยอรมนี
กอร์ดอน บราวน์ นายกรัฐมนตรีอังกฤษ ให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าวเมื่อวันเสาร์ (1) ขณะอยู่ในซาอุดีอาระเบีย ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการเดินทางเยือนประเทศแถบอ่าวเปอร์เซียเป็นเวลา 4 วัน ว่าประเทศเหล่านี้ที่ได้ประโยชน์เป็นกอบเป็นกำจากภาวะน้ำมันแพงเมื่อเร็วๆ นี้ ตลอดจนจีน สามารถร่วมสมทบสำหรับแผนการของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ)
ผู้นำอังกฤษต้องการให้กองทุนมูลค่า 250,000 ล้านดอลลาร์ที่ไอเอ็มเอฟเตรียมอัดฉีดให้กับประเทศที่ได้รับผลกระทบ ขยับขยายครอบคลุมการป้องกัน ‘การระบาด’ ในพื้นที่อื่นๆ
ก่อนหน้านี้ แบลร์ไม่เคยระบุจำนวนเงินที่เขาเชื่อว่าไอเอ็มเอฟ ที่เตรียมเข้ากอบกู้ฮังการี ยูเครน และไอซ์แลนด์ จำเป็นต้องระดมเข้าสู่กองทุน
“ถ้าเราต้องการหยุดยั้งการลุกลามของวิกฤตการเงิน เราจำเป็นต้องมีนโยบายรับประกันทั่วโลกที่มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นเพื่อช่วยเหลือเศรษฐกิจที่กำลังถูกคุกคาม
“และนี่คือสาเหตุที่ผมเรียกร้องทรัพยากรเพิ่มเติมให้แก่ไอเอ็มเอฟอีกนับแสนล้านดอลลาร์ นอกเหนือจาก 250,000 ล้านดอลลาร์ที่มีอยู่แล้ว เพื่อปล่อยกู้แก่ประเทศที่เสี่ยงล่มสลายทางการเงิน
“ประเทศผู้ผลิตน้ำมันที่ทำรายได้กว่าล้านล้านดอลลาร์จากภาวะน้ำมันแพงในช่วงหลายปีมานี้ อยู่ในสถานะที่สามารถมีส่วนร่วมได้”
การเยือนของแบลร์มีขึ้นหลังจากที่บาร์เคลย์เปิดเผยเมื่อวันศุกร์ว่า จะระดมทุน 11,700 ล้านดอลลาร์ ส่วนใหญ่จากนักลงทุนในอาบูดาบีและกาตาร์ อันจะทำให้ในท้ายที่สุด ชีค แมนซูร์ บิน ซาเยด อัล นาห์ยัน เจ้าของสโมสรแมนเชสเตอร์ซิตี้ ได้ถือหุ้น 16.3% ในบาร์เคลย์
บราวน์ยกย่องประเทศอ่าวว่า เป็นแหล่งที่มาที่ทวีความสำคัญยิ่งขึ้นสำหรับการลงทุนภายในสหราชอาณาจักร
“ตราบที่เล่นตามกติกาและดำเนินการตามแนวทางธุรกิจ เรายินดีต้อนรับกองทุนความมั่งคั่งภาครัฐ”
ลอร์ด ปีเตอร์ แมนเดลสัน รัฐมนตรีธุรกิจที่เดินทางไปกับบราวน์ด้วย เสริมว่ามองไม่เห็นว่าจะมีปัญหาเกิดขึ้นจากกองทุนความมั่งคั่งภาครัฐในอังกฤษ
กระนั้น แผนการของบาร์เคลย์สร้างความโกรธเกรี้ยวในหมู่ผู้ถือหุ้นใหญ่บางรายที่วิจารณ์ว่า บาร์เคลย์ยอมจ่ายราคาแพงเพื่อหลีกเลี่ยงการระดมทุนจากรัฐบาลอังกฤษที่ยืนกรานให้จำกัดการจ่ายโบนัสผู้บริหาร
ช่วงไม่กี่วันมานี้ ประเทศอ่าวได้รับผลกระทบรุนแรงจากราคาน้ำมันที่ลงต่ำกว่า 60 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล จากที่เคยทำนิวไฮที่เฉียด 150 ดอลลาร์ในเดือนกรกฎาคม สืบเนื่องจากความกังวลว่าดีมานด์จะลดลงตามภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวทั่วโลก
นอกจากนี้ ยังคาดว่าบราวน์จะผลักดันเรื่องเสถียรภาพราคาน้ำมัน หลังปะทะคารมกับองค์การประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปก) เมื่อเดือนที่แล้วเรื่องการประชุมฉุกเฉินเพื่อลดกำลังผลิตซึ่งมีจุดมุ่งหมายในการฟื้นราคาน้ำมัน
บราวน์ออกเดินทางมาพร้อมกับแมนเดลสัน อดีตกรรมาธิการการค้าสหภาพยุโรป รวมถึงเอ็ด มิลิแบนด์ รัฐมนตรีพลังงาน และคณะผู้แทนทางธุรกิจ 27 คน ที่จะโฆษณาเชิญชวนนักลงทุนในอ่าวเปอร์เซียไปลงทุนในอังกฤษ โดยมิลิแบนด์มีแผนสนับสนุนให้อ่าวเปอร์เซียลงทุนในเทคโนโลยีพลังงานเพื่อสิ่งแวดล้อม
การทัวร์ครั้งนี้ยังมีขึ้นก่อนการประชุมสุดยอดในวอชิงตันวันที่ 15 ที่จะถึง ซึ่งกษัตริย์อับดุลเลาะห์ของซาอุดีอาระเบีย จะเข้าร่วมด้วย เช่นเดียวกับผู้นำชาติมั่งคั่งและมหาอำนาจตลาดเกิดใหม่ รวมถึงไอเอ็มเอฟ เพื่อหารือเรื่องการปรับโครงสร้างระบบการเงินโลก
บราวน์ทิ้งท้ายว่า เขาได้หารือแผนการระดมทุนเพิ่มให้ไอเอ็มเอฟกับโดมินิก สเตราส์-คาห์น กรรมการผู้จัดการใหญ่ไอเอ็มเอฟ และประธานาธิบดีนิโกลาส์ ซาร์โกซีของฝรั่งเศส ตลอดจนถึงนายกรัฐมนตรีอังเกลา แมร์เคิลของเยอรมนี