จับตาผลประชุมโอเปคดันหุ้นน้ำมันดีดตัวตามตลาดต่างประเทศที่คาดจะลดเพดานการผลิตอย่างน้อย 1 ล้านบาร์เรล ด้านบลจ.ยอมรับก่อนหน้านี้ทยอยปล่อยออก เหตุซัพพลายมีมากกว่าดีมานด์ ฉุดกำไรราคาขายลด แต่ระยะยาวยังน่าลงทุน
แหล่งข่าวผู้จัดการกองทุน กล่าวถึงการลงทุนในหุ้นกลุ่มพลังงานว่า ขณะนี้มีบริษัทจัดการกองทุนหลายแห่ง ได้ทยอยขายหุ้นกลุ่มนี้ออกมาแล้วเช่นกัน เนื่องจากปัจจุบันราคาน้ำมันมีการปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง และในอนาคตกำลังการผลิตใหม่ๆของโรงกลั่นน้ำมันในตะวันออกกลางจะมีเพิ่มขึ้น ซึ่งสวนทางกับปริมาณความต้องการทั่วโลกที่ลดลง อย่างไรก็ตามผู้ที่สนใจจะต้องติดตามผลการประชุมโอเปคในวันที่ 24 ต.ค.นี้ว่าจะออกมาอย่างไร เพราะหลายฝ่ายคาดว่าที่ประชุมจะลงมติปรับลดอัตราการผลิตให้สอดคล้องกับปริมาณความต้องการแท้จริง ซึ่งเรื่องดังกล่าวน่าจะเป้นปัจจัยบวกต่อราคาหุ้นพลังงานทั้งในและนอกประเทศให้ปรับตัวเพิ่มขึ้น
“หากพูดถึงหุ้นพลังงาน เราให้หุ้นโรงกลั่นอย่างบมจ.ไทยออยล์ (TOP) เป็นหุ้นที่มีศักยภาพและมาตรฐานดีที่สุดจากเทคโนโลยีและความพร้อมทางธุรกิจด้านต่างๆ อย่างไรก็ตามในช่วงนี้มีหลายปัจจัยลบที่เข้ามามีผลเกี่ยวข้องกับหุ้นกลุ่มพลังงานจนทำให้ราคาลดลงไปมาก อาทิ ปริมาณกำลังการผลิตในตะวันออกการที่จะเพิ่มขึ้น ซึ่งจะทำให้ซัพพลายมีมากเกินไป จนอาจไปถึงขั้นโอเวอร์ ซัพพลาย อีกทั้งต่างชาติไม่อยากลงทุนเพิ่มเติมในช่วงนี้ ทำให้มองว่าโดยภาพรวมหุ้นกลุ่มนี้จะทรงตัวอยู่ใมนระดับต่ำไปจนถึงปีหน้า”
แหล่งข่าวกล่าวว่า ตั้งแต่ปลายปี2550 จนถึงปี2551จะมีโรงกลั่นหลายแห่งทั่วโลก ที่โครงการขยายกำลังการผลิตจะแล้วเสร็จ โดยเรื่องนี้จะมีผลต่อราคาขายผลิตภัณฑ์ เพราะจะทำให้รายได้จากการขายลดลง ขณะเดียวกัน วิกฤตสถาบันการเงินในสหรัฐฯรอบนี้ มีผลกระทบไปถึงความต้องการบริโภคทั่วโลก และถือเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ส่งผลให้ดีมานด์การใช้น้ำมันและพลังงานในด้านอื่นๆปรับตัวลดลงด้วยเช่นกัน โดยพบว่าตลอด 9 เดือนที่ผ่านมาราคาหุ้นกลุ่มนี้ปรับตัวลดลงมาอย่างต่อเนื่อง จนมีบางตัวที่ราคาต่ำกว่ามูลค่าพื้นฐาน
“เป็นเรื่องที่เข้าใจได้ง่าย เมื่อปริมาณสินค้า(ซัพพลาย)ปรับตัวเพิ่มขึ้น แต่ดีมานด์(ความต้องการใช้)กลับปรับตัวลดลง ย่อทำให้ขายได้น้อยลง ราคาขายก็ต้องปรับลดลง ส่งผลต่อกำไรที่ลดลงตามไปด้วย ” แหล่งข่าวให้ความเห็น
อย่างไรก็ตาม หากเป็นการลงทุนในระยะยาว แหล่งข่าวกล่าวว่า หุ้นกลุ่มพลังงานยังเป็นตัวเลือกหลัก สำหรับการคัดเลือกนำมาเก็บไว้ในพอร์ตลงทุนของกองทุนหุ้นโดยไป เนื่องจากพลังงานเป็นที่จำเป็น ซึ่งทุกประเทศทั่วโลกต้องใช้
ส่วนหุ้นกู้ปตท. และบมจ.ปูนซีเมนต์ไทยที่กำลังเปิดขายนั้น แหล่งข่าวกล่าวว่า ทั้ง 2 บริษัทนี้ถือเป็นหลักทรัพย์ชั้นนำของตลาดหุ้นไทย เพราะทั้ง 2 แห่งมีการบริหารจัดการที่ และเป็นที่สนใจในสายตาต่างชาติ โดยหุ้นกู้นี้ได้รับการจัดอันดับเรตติ้งอยู่ในระดับสูง การผิดนัดชำระหนี้ หรือการไม่จ่ายมีน้อยมาก ส่วนระยะเวลาลงทุน 4 ปีก็ถือว่าอย่างในระดับที่เหมาะสม
“หุ้นกู้บริษัทจดทะเบียนนั้น ล้วนให้ผลตอบแทนที่สูงกว่าการลงทุนผ่านพันธบัตรรัฐบาลแน่ แต่นักลงทุนต้องศุกษาพื้นฐานของบริษัท สภาพคล่องทางธุรกิจ ผลการดำเนินงานที่ผ่าน รวมทั้งการจ่ายปันผลก่อนตัดสินใจเลือกซื้อด้วย ส่วนที่ใครไม่ต้องการความเสี่ยง ต้องแนะนำว่าการลงทุนผ่านพันธบัตรรัฐบาลเป็นผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่ปลอดภัยมากที่สุด”
รายงานข่าวแจ้งว่า จากการสอบถามผู้จัดการกองทุนหลายราย พบว่า หุ้นในกลุ่มพลังานได้ถูกลดน้ำหนักการลงทุนลงไปจำนวนมาก แม้โดยรวมการถือครองหุ้นกลุ่มพลังานงานของกองทุนรวมสารทุนยังอยู่ในระดับสูง โดยบางบริษัทแม้ปรับลดสัดส่วนการถือครองหุ้นกลุ่มดังกล่าวแล้ว แต่ยังมีอยู่ในพอร์ตถึงประมาณร้อยละ50 ส่วนหุ้นที่ได้รับความสนใจเพิ่มขึ้น ได้แก่ กลุ่มสื่อสารเทคโนโลยี และกลุ่มพาณิชย์
ก่อนหน้านี้ นาย ณัฐพัชร์ ลัคนาธรรมพิชิต ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ด้านวิจัยและบริหารความเสี่ยง บริษัท บลจ. บีที จำกัด กล่าวว่า จากกรณีที่ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ปรับตัวลดลงอย่างหนักจากความกังวลในเรื่องวิกฤตสถาบันการเงินในสหรัฐฯนั้น หากนักลงทุนต้องการที่จะลงทุนในตลาดตราสารทุน เนื่องมาจากราคาหุ้นทุกตัวมีราคาต่ำกว่าปัจจัยพื้นฐานมาก จำเป็นที่จะต้องอาศัยหลักการซื้อตามปัจจัยพื้นฐาน โดยเมื่อซื้อแล้วจะต้องถืออย่างน้อย 1-2 ปี จึงจะสามารถสร้างผลตอบแทนให้กับนักลงทุนได้
"ตอนนี้บริษัทมีหุ้นที่มีพื้นฐานดีอยู่ในพอร์ตการลงทุน หรือเรียกว่าหุ้นกลุ่มชั้นนำของตลาด อาทิ เช่น กลุ่มธนาคาร กลุ่มสื่อสาร ไว้ในพอร์ตการลงทุน โดยก่อนหน้านี้บริษัทได้ทำการลดสัดส่วนการลงทุนในหุ้นกลุ่มพลังงาน หลังจากที่บริษัทเล็งเห็นถึงการลดลงของหุ้นกลุ่มนี้ทำให้บริษัทได้เทขายหุ้นในกลุ่มนี้ไปก่อนที่ราคาจะปรับตัวลดลง จึงทำให้บริษัทไม่ได้รับผลกระทบที่ราคาหุ้นในกลุ่มนี้ปรับตัวลดลงมา"
สำหรับปี 52 นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจไทยจะเติบโต 4% และกลุ่มธุรกิจต่างๆ จะมีอัตราการเติบโตของกำไรน้อยกว่าปี 51 คาดการณ์ว่าเติบโตสูงสุดเฉลี่ยกลุ่มธุรกิจธนาคาร 9.8% กลุ่มอาหาร 6.9% กลุ่มอสังหาริมทรัพย์ 5.7% และกลุ่มพลังงาน 0.9% ส่วนกลุ่มที่ติดลบเฉลี่ยสูงสุดคือ กลุ่มปิโตรเคมี 7.7% กลุ่มวัสดุก่อสร้าง 1.5%
ด้านนายโทนี ดอลฟิน นักวิเคราะห์จากบริษัท Henderson Global Investors ในกรุงลอนดอนกล่าวว่าเมื่อวันที่ 18 ต.ค. หุ้นกลุ่มพลังงานทะยานขึ้นหลังจากราคาน้ำมันดิบตลาดนิวยอร์กปรับตัวขึ้นเป็นวันแรกในรอบ 4 วันทำการ โดยสัญญาน้ำมันดิบ NYMEX เดือนพ.ย.พุ่งขึ้น 2 ดอลลาร์ ปิดที่ 71.85 ดอลลาร์/บาร์เรล หลังจากรัฐมนตรีกลุ่มโอเปคประกาศเลื่อนการประชุมฉุกเฉินให้เร็วขึ้นเป็นวันที่ 24 ต.ค.จากเดิมที่กำหนดไว้ในวันที่ 18 พ.ย. ซึ่งทำให้เกิดกระแสคาดการณ์ว่าโอเปคจะใช้การประชุมฉุกเฉินครั้งนี้เป็นโอกาสในการลดเพดานการผลิตลงประมาณ 1 ล้านบาร์เรล หรือมากกว่า
ทั้งนี้ หุ้นบีพีทะยานขึ้น 8.6% หุ้นรอยัล ดัทช์ เชลล์ ดีดขึ้น 8.4% ส่วนหุ้นกลุ่มเวชภัณฑ์ทะยานขึ้น โดยหุ้นแกลคโซสมิธไคลน์ดีดขึ้น 8.6% หุ้นไชร์พุ่งขึ้น 7.4% และหุ้นแอสตราซิเนกาทะยานขึ้น 5.2% ขณะที่หุ้นกลุ่มเหมืองปิดบวก โดยหุ้นแองโกล อเมริกัน ดีดขึ้น 12.3% หุ้นบีเอชพี บิลลิตัน พุ่งขึ้น 10.4% และหุ้นริโอ ทินโต ปิดบวก 9.8%
แหล่งข่าวผู้จัดการกองทุน กล่าวถึงการลงทุนในหุ้นกลุ่มพลังงานว่า ขณะนี้มีบริษัทจัดการกองทุนหลายแห่ง ได้ทยอยขายหุ้นกลุ่มนี้ออกมาแล้วเช่นกัน เนื่องจากปัจจุบันราคาน้ำมันมีการปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง และในอนาคตกำลังการผลิตใหม่ๆของโรงกลั่นน้ำมันในตะวันออกกลางจะมีเพิ่มขึ้น ซึ่งสวนทางกับปริมาณความต้องการทั่วโลกที่ลดลง อย่างไรก็ตามผู้ที่สนใจจะต้องติดตามผลการประชุมโอเปคในวันที่ 24 ต.ค.นี้ว่าจะออกมาอย่างไร เพราะหลายฝ่ายคาดว่าที่ประชุมจะลงมติปรับลดอัตราการผลิตให้สอดคล้องกับปริมาณความต้องการแท้จริง ซึ่งเรื่องดังกล่าวน่าจะเป้นปัจจัยบวกต่อราคาหุ้นพลังงานทั้งในและนอกประเทศให้ปรับตัวเพิ่มขึ้น
“หากพูดถึงหุ้นพลังงาน เราให้หุ้นโรงกลั่นอย่างบมจ.ไทยออยล์ (TOP) เป็นหุ้นที่มีศักยภาพและมาตรฐานดีที่สุดจากเทคโนโลยีและความพร้อมทางธุรกิจด้านต่างๆ อย่างไรก็ตามในช่วงนี้มีหลายปัจจัยลบที่เข้ามามีผลเกี่ยวข้องกับหุ้นกลุ่มพลังงานจนทำให้ราคาลดลงไปมาก อาทิ ปริมาณกำลังการผลิตในตะวันออกการที่จะเพิ่มขึ้น ซึ่งจะทำให้ซัพพลายมีมากเกินไป จนอาจไปถึงขั้นโอเวอร์ ซัพพลาย อีกทั้งต่างชาติไม่อยากลงทุนเพิ่มเติมในช่วงนี้ ทำให้มองว่าโดยภาพรวมหุ้นกลุ่มนี้จะทรงตัวอยู่ใมนระดับต่ำไปจนถึงปีหน้า”
แหล่งข่าวกล่าวว่า ตั้งแต่ปลายปี2550 จนถึงปี2551จะมีโรงกลั่นหลายแห่งทั่วโลก ที่โครงการขยายกำลังการผลิตจะแล้วเสร็จ โดยเรื่องนี้จะมีผลต่อราคาขายผลิตภัณฑ์ เพราะจะทำให้รายได้จากการขายลดลง ขณะเดียวกัน วิกฤตสถาบันการเงินในสหรัฐฯรอบนี้ มีผลกระทบไปถึงความต้องการบริโภคทั่วโลก และถือเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ส่งผลให้ดีมานด์การใช้น้ำมันและพลังงานในด้านอื่นๆปรับตัวลดลงด้วยเช่นกัน โดยพบว่าตลอด 9 เดือนที่ผ่านมาราคาหุ้นกลุ่มนี้ปรับตัวลดลงมาอย่างต่อเนื่อง จนมีบางตัวที่ราคาต่ำกว่ามูลค่าพื้นฐาน
“เป็นเรื่องที่เข้าใจได้ง่าย เมื่อปริมาณสินค้า(ซัพพลาย)ปรับตัวเพิ่มขึ้น แต่ดีมานด์(ความต้องการใช้)กลับปรับตัวลดลง ย่อทำให้ขายได้น้อยลง ราคาขายก็ต้องปรับลดลง ส่งผลต่อกำไรที่ลดลงตามไปด้วย ” แหล่งข่าวให้ความเห็น
อย่างไรก็ตาม หากเป็นการลงทุนในระยะยาว แหล่งข่าวกล่าวว่า หุ้นกลุ่มพลังงานยังเป็นตัวเลือกหลัก สำหรับการคัดเลือกนำมาเก็บไว้ในพอร์ตลงทุนของกองทุนหุ้นโดยไป เนื่องจากพลังงานเป็นที่จำเป็น ซึ่งทุกประเทศทั่วโลกต้องใช้
ส่วนหุ้นกู้ปตท. และบมจ.ปูนซีเมนต์ไทยที่กำลังเปิดขายนั้น แหล่งข่าวกล่าวว่า ทั้ง 2 บริษัทนี้ถือเป็นหลักทรัพย์ชั้นนำของตลาดหุ้นไทย เพราะทั้ง 2 แห่งมีการบริหารจัดการที่ และเป็นที่สนใจในสายตาต่างชาติ โดยหุ้นกู้นี้ได้รับการจัดอันดับเรตติ้งอยู่ในระดับสูง การผิดนัดชำระหนี้ หรือการไม่จ่ายมีน้อยมาก ส่วนระยะเวลาลงทุน 4 ปีก็ถือว่าอย่างในระดับที่เหมาะสม
“หุ้นกู้บริษัทจดทะเบียนนั้น ล้วนให้ผลตอบแทนที่สูงกว่าการลงทุนผ่านพันธบัตรรัฐบาลแน่ แต่นักลงทุนต้องศุกษาพื้นฐานของบริษัท สภาพคล่องทางธุรกิจ ผลการดำเนินงานที่ผ่าน รวมทั้งการจ่ายปันผลก่อนตัดสินใจเลือกซื้อด้วย ส่วนที่ใครไม่ต้องการความเสี่ยง ต้องแนะนำว่าการลงทุนผ่านพันธบัตรรัฐบาลเป็นผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่ปลอดภัยมากที่สุด”
รายงานข่าวแจ้งว่า จากการสอบถามผู้จัดการกองทุนหลายราย พบว่า หุ้นในกลุ่มพลังานได้ถูกลดน้ำหนักการลงทุนลงไปจำนวนมาก แม้โดยรวมการถือครองหุ้นกลุ่มพลังานงานของกองทุนรวมสารทุนยังอยู่ในระดับสูง โดยบางบริษัทแม้ปรับลดสัดส่วนการถือครองหุ้นกลุ่มดังกล่าวแล้ว แต่ยังมีอยู่ในพอร์ตถึงประมาณร้อยละ50 ส่วนหุ้นที่ได้รับความสนใจเพิ่มขึ้น ได้แก่ กลุ่มสื่อสารเทคโนโลยี และกลุ่มพาณิชย์
ก่อนหน้านี้ นาย ณัฐพัชร์ ลัคนาธรรมพิชิต ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ด้านวิจัยและบริหารความเสี่ยง บริษัท บลจ. บีที จำกัด กล่าวว่า จากกรณีที่ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ปรับตัวลดลงอย่างหนักจากความกังวลในเรื่องวิกฤตสถาบันการเงินในสหรัฐฯนั้น หากนักลงทุนต้องการที่จะลงทุนในตลาดตราสารทุน เนื่องมาจากราคาหุ้นทุกตัวมีราคาต่ำกว่าปัจจัยพื้นฐานมาก จำเป็นที่จะต้องอาศัยหลักการซื้อตามปัจจัยพื้นฐาน โดยเมื่อซื้อแล้วจะต้องถืออย่างน้อย 1-2 ปี จึงจะสามารถสร้างผลตอบแทนให้กับนักลงทุนได้
"ตอนนี้บริษัทมีหุ้นที่มีพื้นฐานดีอยู่ในพอร์ตการลงทุน หรือเรียกว่าหุ้นกลุ่มชั้นนำของตลาด อาทิ เช่น กลุ่มธนาคาร กลุ่มสื่อสาร ไว้ในพอร์ตการลงทุน โดยก่อนหน้านี้บริษัทได้ทำการลดสัดส่วนการลงทุนในหุ้นกลุ่มพลังงาน หลังจากที่บริษัทเล็งเห็นถึงการลดลงของหุ้นกลุ่มนี้ทำให้บริษัทได้เทขายหุ้นในกลุ่มนี้ไปก่อนที่ราคาจะปรับตัวลดลง จึงทำให้บริษัทไม่ได้รับผลกระทบที่ราคาหุ้นในกลุ่มนี้ปรับตัวลดลงมา"
สำหรับปี 52 นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจไทยจะเติบโต 4% และกลุ่มธุรกิจต่างๆ จะมีอัตราการเติบโตของกำไรน้อยกว่าปี 51 คาดการณ์ว่าเติบโตสูงสุดเฉลี่ยกลุ่มธุรกิจธนาคาร 9.8% กลุ่มอาหาร 6.9% กลุ่มอสังหาริมทรัพย์ 5.7% และกลุ่มพลังงาน 0.9% ส่วนกลุ่มที่ติดลบเฉลี่ยสูงสุดคือ กลุ่มปิโตรเคมี 7.7% กลุ่มวัสดุก่อสร้าง 1.5%
ด้านนายโทนี ดอลฟิน นักวิเคราะห์จากบริษัท Henderson Global Investors ในกรุงลอนดอนกล่าวว่าเมื่อวันที่ 18 ต.ค. หุ้นกลุ่มพลังงานทะยานขึ้นหลังจากราคาน้ำมันดิบตลาดนิวยอร์กปรับตัวขึ้นเป็นวันแรกในรอบ 4 วันทำการ โดยสัญญาน้ำมันดิบ NYMEX เดือนพ.ย.พุ่งขึ้น 2 ดอลลาร์ ปิดที่ 71.85 ดอลลาร์/บาร์เรล หลังจากรัฐมนตรีกลุ่มโอเปคประกาศเลื่อนการประชุมฉุกเฉินให้เร็วขึ้นเป็นวันที่ 24 ต.ค.จากเดิมที่กำหนดไว้ในวันที่ 18 พ.ย. ซึ่งทำให้เกิดกระแสคาดการณ์ว่าโอเปคจะใช้การประชุมฉุกเฉินครั้งนี้เป็นโอกาสในการลดเพดานการผลิตลงประมาณ 1 ล้านบาร์เรล หรือมากกว่า
ทั้งนี้ หุ้นบีพีทะยานขึ้น 8.6% หุ้นรอยัล ดัทช์ เชลล์ ดีดขึ้น 8.4% ส่วนหุ้นกลุ่มเวชภัณฑ์ทะยานขึ้น โดยหุ้นแกลคโซสมิธไคลน์ดีดขึ้น 8.6% หุ้นไชร์พุ่งขึ้น 7.4% และหุ้นแอสตราซิเนกาทะยานขึ้น 5.2% ขณะที่หุ้นกลุ่มเหมืองปิดบวก โดยหุ้นแองโกล อเมริกัน ดีดขึ้น 12.3% หุ้นบีเอชพี บิลลิตัน พุ่งขึ้น 10.4% และหุ้นริโอ ทินโต ปิดบวก 9.8%