ตามคำจำกัดความในพจนานุกรม คนที่มีคำนำหน้านามว่า ด็อกเตอร์ คือ ผู้ที่สำเร็จการศึกษาระดับดุษฎีบัณฑิต (Doctor of Philosophy) ซึ่งสังคมยอมรับว่าเป็นผู้มีความเชี่ยวชาญ และความสามารถที่จะถ่ายทอดความรู้ในสาขาที่ถนัดได้ดี อีกทั้งสามารถวิจัยและค้นคว้าหาความรู้ใหม่ๆ ได้ด้วยตนเอง และหากมองย้อนกลับไปในอดีต คำว่า doctor ในภาษาละตินยังหมายถึง คนที่ต้องทำหน้าที่สอนด้วย
สำหรับขั้นตอนการได้มาซึ่งปริญญาเอก (Ph.D.) นั้น สังคมปัจจุบันได้กำหนดว่าบุคคลผู้นั้นต้องสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีก่อน แล้วใช้เวลาค้นคว้าวิจัยต่ออีกประมาณ 4-6 ปี แต่ในกรณีคนที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท ก็ควรใช้เวลาศึกษาและวิจัยเพิ่มอีก 3-5 ปี เพื่อจะได้เขียนวิทยานิพนธ์เกี่ยวกับความรู้ใหม่ที่ยังไม่มีใครพบ หรือรู้มาก่อน และเพื่อให้การอ้างนี้สมเหตุและผล มีน้ำหนักและเป็นที่ยอมรับ บุคคลผู้นั้นต้องผ่านการสอบปากเปล่า โดยคณะกรรมการควบคุมและสอบวิทยานิพนธ์ ซึ่งตามปกติจะประกอบด้วยอาจารย์ที่ปรึกษา และอาจารย์ท่านอื่นๆ อีก 2-4 ท่านโดยคณะกรรมการชุดนี้จะตรวจสอบความรู้ของบุคคลนั้น ในประเด็นที่เขาได้ค้นคว้าและวิจัยมา รวมถึงวิชาความรู้ที่เกี่ยวข้องด้วย ซึ่งถ้าเป็นสมัยก่อน บุคคลนั้นต้องผ่านการสอบวิชาปรัชญาด้วย และนั่นคือที่มาของคำว่า Doctor of Philosophy
เพราะสังคมยุโรปในสมัยก่อนถือว่า มหาวิทยาลัยคือแหล่งผลิตสติปัญญาให้สังคม จึงได้กำหนดให้อาจารย์มหาวิทยาลัยเผยแพร่ความรู้สู่สังคมเป็นการตอบแทนที่ให้เงินเดือน ด้วยเหตุนี้มหาวิทยาลัยจึงจัดการสอบปากเปล่าอย่างเปิดเผย โดยให้สาธารณชนมีสิทธิเข้าร่วมฟังด้วย เป็นการแสดงให้เห็นความโปร่งใสในการทำงานของมหาวิทยาลัย และเป็นการให้เกียรติแก่สังคมโดยประชาคมมหาวิทยาลัยด้วย ดังนั้นในห้องสอบปากเปล่า จึงอาจมีบุคคลภายนอกหรือประชาชนเข้าร่วมฟังการสอบด้วยก็ได้ และเกณฑ์หยาบๆ ที่อาจใช้ตัดสินว่านิสิตผ่านการสอบปากเปล่าหรือไม่นั้น ก็คือนิสิตได้พิสูจน์ให้กรรมการสอบปากเปล่าเห็นว่า ตนมีความสามารถพอๆ หรือดีกว่าอาจารย์ที่สอบตน
ถ้าบุคคลผู้นั้นสอบไม่ผ่าน เขาก็จะต้องแก้ไข ปรับปรุงหรือรื้อวิทยานิพนธ์เพื่อทำใหม่ ซึ่งต้องใช้เวลาอีกนานพอสมควร ในอดีตเมื่อ 250 ปีก่อน การสอบปากเปล่าเป็นเรื่องที่ทารุณมาก จนบุคคลผู้เข้าสอบต้องสาบานตนว่า ถ้าสอบไม่ผ่านหรือสอบได้ไม่ดี เพราะถูกถามด้วยคำถามยากๆ ที่ตนตอบไม่ได้ ก็จะไม่แก้แค้นกรรมการสอบไม่ว่าจะโดยวิธีใด การสอบปากเปล่าที่มหาวิทยาลัย TÜbingen ในเยอรมนีนี้ซึ่งมีกรรมการสอบ 3 ท่านนั่งที่โต๊ะ บุคคลที่เข้าสอบต้องยืนสอบ กรรมการท่านหนึ่งมีหน้าที่จดบันทึกคำตอบของผู้ที่เข้าสอบตลอดการสอบ
แต่ถ้าบุคคลผู้นั้นสอบผ่าน เขาก็จะได้ปริญญา Ph.D. และมีคำนำหน้าชื่อว่า Doctor ทันที และนี่ก็คือประเพณีที่มหาวิทยาลัยไทยส่วนใหญ่ได้ดำเนินการมานานหลายปี
ณ วันนี้ ความต้องการของสังคมไทย ในการเรียนระดับดุษฎีบัณฑิตกำลังเพิ่มขึ้นตลอดเวลา เพราะประเทศกำลังเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ และสังคมมีค่านิยมในการนับถือผู้มีความรู้สูง สังคมจึงต้องการให้มหาวิทยาลัยตอบสนองความต้องการในประเด็นนี้ โดยการผลิตนิสิตที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอกมากขึ้น และสถิติของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ก็ได้แสดงให้เห็นว่า ขณะนี้มหาวิทยาลัยไทยมีหลักสูตรปริญญาเอกที่เปิดดำเนินการประมาณ 320 หลักสูตร ซึ่งมี 2 รูปแบบ คือ แบบที่เน้นการวิจัยและไม่มีการเรียนรายวิชา กับแบบที่ไม่เน้นการวิจัยนักแต่นิสิตต้องเรียนรายวิชาด้วย ทำให้ในปีหนึ่งๆ มีนิสิตที่สำเร็จการศึกษาระดับ Ph.D. ประมาณ 1,450 คน สถิติยังระบุอีกว่า ปริมาณการผลิตบุคลากรระดับ Ph.D. มีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ทุกปี
การศึกษาโครงการปริญญาเอกต่างๆ ในประเทศเราได้ทำให้คณะอนุกรรมการเกี่ยวกับการส่งเสริมและพัฒนางานวิจัยของ สกอ. สังเกตเห็นว่า โครงการปริญญาเอกหลายโครงการในบางมหาวิทยาลัย มีการดำเนินการที่เป็นวิทยธุรกิจ เช่น คิดค่าหน่วยกิตสูงมาก (ระดับแสนบาทต่อหนึ่งภาคการศึกษา) จนทำให้ผู้เรียนที่ไม่พร้อมด้านการเงิน ต้องกู้หนี้ยืมสินมาสำรองจ่าย ด้วยความคาดหวังว่าอีกไม่นาน ถ้าจ่ายครบก็จบแน่ หรือในทำนองเดียวกัน บางมหาวิทยาลัยก็ยึดหลักการว่า เงินมาปริญญาไป จึงไม่ได้กำกับและควบคุมมาตรฐานของการสำเร็จการเรียนระดับปริญญาเอกอย่างที่ควร กิจกรรมและการกระทำเช่นนี้ เป็นการทำลายเกียรติภูมิและอุดมการณ์ของการศึกษาไทยระดับร้ายแรง
ด้วยเหตุนี้ คณะอนุกรรมการเกี่ยวกับการส่งเสริมและพัฒนางานวิจัยของ สกอ. จึงใคร่ชี้ให้สังคมเห็นความสำคัญและความจำเป็นของการสร้างคุณภาพและมาตรฐานของนิสิตปริญญาเอกที่สำเร็จการศึกษาในประเทศ
อันคำว่าคุณภาพและมาตรฐานนี้ โดยทั่วไปเป็นคำที่ปัจเจกบุคคลเห็นไม่ตรงกัน แต่สำหรับวงการวิชาการแล้ว ดัชนีวัดคุณภาพของปริญญาเอก คือ งานวิจัยที่ปราชญ์ หรือผู้รู้ดีในเรื่องนั้นยอมรับว่าอยู่ในระดับที่ดีมาก ซึ่งคนที่ทำหน้าที่ประเมินนี้ มักเป็นผู้ทรงคุณวุฒิที่มาจากนอกสถาบัน หรือเป็นบุคคลที่กองบรรณาธิการวารสารวิจัย ได้แต่งตั้งให้ประเมินและตรวจสอบงานวิจัยนั้นว่าถูกต้อง สำคัญ ผิดพลาด หรือบกพร่องอย่างไร เพราะผู้ทรงคุณวุฒิ ตามปกติจะไม่รู้ชื่อคนที่เสนองานวิจัย เขาจึงสามารถประเมินผลงานได้อย่างไม่ต้องเกรงใจ และตรงไปตรงมาดีกว่าคนที่เป็นกรรมการสอบปากเปล่าวิทยานิพนธ์เสียอีก ทั้งนี้เพราะกรรมการสอบปากเปล่าบางคนอาจไม่คุ้นเคยกับงานวิจัยที่นิสิตนำมาเสนอก็ได้
ดังนั้นถ้าวารสารวิจัยเป็นวารสารชั้นนำของโลก การประเมินความถูกต้อง และความสำคัญของงานวิจัยก็จะเป็นไปอย่างจริงจังมาก และนั่นก็หมายความว่า งานวิจัยที่ผ่านการประเมินและได้มีการลงพิมพ์ สามารถนำมาใช้เป็นดัชนีบอกคุณภาพและมาตรฐานของปริญญาเอกของบุคคลผู้นั้นได้
เมื่อเหตุและผลเป็นเช่นนี้ เราจึงเห็นได้ว่า ในการที่จะบรรลุถึงซึ่งมาตรฐานของปริญญาเอกที่มีคุณภาพ ปัจจัยที่สำคัญคืออาจารย์ที่คุมวิทยานิพนธ์ต้องมีความสามารถสูงในการวิจัยและมีเวลาที่จะทุ่มเท ฝึกฝนนิสิตที่อยู่ภายใต้การดูแล นิสิตเองก็ต้องเป็นคนที่มีคุณภาพและมีความมุ่งมั่น ส่วนมหาวิทยาลัยก็ต้องมีระบบวัดผล ดูแล ติดตามความก้าวหน้าในการเรียนของนิสิต รวมถึงดูแลการควบคุมวิทยานิพนธ์ของอาจารย์อย่างมีประสิทธิภาพด้วย เพื่อให้งานวิจัยของนิสิตสามารถลงพิมพ์ในวารสารที่เป็นที่ยอมรับ (สำหรับรายชื่อวารสารที่เป็นที่ยอมรับนี้มีในประกาศของ สกอ.)
ส่วนในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับอาจารย์ผู้ควบคุมวิทยานิพนธ์ เพราะเหตุว่าภาควิชาบางภาคอาจมีอาจารย์ที่สนใจ หรือรู้เรื่องเดียวกันจำนวนไม่มาก และถึงจะมีอาจารย์หลายคนที่รู้เรื่องนั้น แต่ถ้าเป็นกรณีที่เคยรู้ เพราะอาจารย์ได้ว่างเว้นการทำวิจัยอย่างจริงจังและต่อเนื่องมานานแล้ว ภาควิชาก็ควรเชิญอาจารย์จากมหาวิทยาลัยอื่น ที่มีความรู้ลึกซึ้งและเป็นนักวิจัยที่สามารถแข็งขันไม่น้อยกว่าอาจารย์ที่ปรึกษา มาร่วมเป็นกรรมการคุมวิทยานิพนธ์ด้วย และต้องดำเนินการในประเด็นนี้ เพื่อให้นิสิตปริญญาเอกที่สถาบันผลิต มีคุณภาพและได้มาตรฐาน
การผลิต Ph.D. เป็นโครงการที่ต้องใช้งบประมาณมาก เพราะมหาวิทยาลัยต้องจ้างอาจารย์ระดับศาสตราจารย์ และรองศาสตราจารย์หลายคน อีกทั้งต้องมีอุปกรณ์วิจัย โดยเฉพาะสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ที่มีการวิจัยด้วยอุปกรณ์ Hardware ซึ่งต้องใช้เงินมหาศาลซื้อ เพื่อจะผลิตนักวิจัยมาแก้ปัญหาของสังคม และสร้างสรรค์ปัญญาให้แก่โลก
แต่ถ้าการผลิต Ph.D. นั้น สร้างบุคคลที่ไม่สามารถสร้างสรรค์ความรู้ใหม่ๆ ได้ หรือแก้ปัญหาของประเทศไม่ได้ Ph.D. คนนั้นก็จะไม่มีคุณภาพ และเขาเหล่านั้นก็จะสร้างวงจรอุบาทว์ที่จะทำให้ประเทศเรามีปัญหาด้านการศึกษาไม่รู้จบ
สำหรับขั้นตอนการได้มาซึ่งปริญญาเอก (Ph.D.) นั้น สังคมปัจจุบันได้กำหนดว่าบุคคลผู้นั้นต้องสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีก่อน แล้วใช้เวลาค้นคว้าวิจัยต่ออีกประมาณ 4-6 ปี แต่ในกรณีคนที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท ก็ควรใช้เวลาศึกษาและวิจัยเพิ่มอีก 3-5 ปี เพื่อจะได้เขียนวิทยานิพนธ์เกี่ยวกับความรู้ใหม่ที่ยังไม่มีใครพบ หรือรู้มาก่อน และเพื่อให้การอ้างนี้สมเหตุและผล มีน้ำหนักและเป็นที่ยอมรับ บุคคลผู้นั้นต้องผ่านการสอบปากเปล่า โดยคณะกรรมการควบคุมและสอบวิทยานิพนธ์ ซึ่งตามปกติจะประกอบด้วยอาจารย์ที่ปรึกษา และอาจารย์ท่านอื่นๆ อีก 2-4 ท่านโดยคณะกรรมการชุดนี้จะตรวจสอบความรู้ของบุคคลนั้น ในประเด็นที่เขาได้ค้นคว้าและวิจัยมา รวมถึงวิชาความรู้ที่เกี่ยวข้องด้วย ซึ่งถ้าเป็นสมัยก่อน บุคคลนั้นต้องผ่านการสอบวิชาปรัชญาด้วย และนั่นคือที่มาของคำว่า Doctor of Philosophy
เพราะสังคมยุโรปในสมัยก่อนถือว่า มหาวิทยาลัยคือแหล่งผลิตสติปัญญาให้สังคม จึงได้กำหนดให้อาจารย์มหาวิทยาลัยเผยแพร่ความรู้สู่สังคมเป็นการตอบแทนที่ให้เงินเดือน ด้วยเหตุนี้มหาวิทยาลัยจึงจัดการสอบปากเปล่าอย่างเปิดเผย โดยให้สาธารณชนมีสิทธิเข้าร่วมฟังด้วย เป็นการแสดงให้เห็นความโปร่งใสในการทำงานของมหาวิทยาลัย และเป็นการให้เกียรติแก่สังคมโดยประชาคมมหาวิทยาลัยด้วย ดังนั้นในห้องสอบปากเปล่า จึงอาจมีบุคคลภายนอกหรือประชาชนเข้าร่วมฟังการสอบด้วยก็ได้ และเกณฑ์หยาบๆ ที่อาจใช้ตัดสินว่านิสิตผ่านการสอบปากเปล่าหรือไม่นั้น ก็คือนิสิตได้พิสูจน์ให้กรรมการสอบปากเปล่าเห็นว่า ตนมีความสามารถพอๆ หรือดีกว่าอาจารย์ที่สอบตน
ถ้าบุคคลผู้นั้นสอบไม่ผ่าน เขาก็จะต้องแก้ไข ปรับปรุงหรือรื้อวิทยานิพนธ์เพื่อทำใหม่ ซึ่งต้องใช้เวลาอีกนานพอสมควร ในอดีตเมื่อ 250 ปีก่อน การสอบปากเปล่าเป็นเรื่องที่ทารุณมาก จนบุคคลผู้เข้าสอบต้องสาบานตนว่า ถ้าสอบไม่ผ่านหรือสอบได้ไม่ดี เพราะถูกถามด้วยคำถามยากๆ ที่ตนตอบไม่ได้ ก็จะไม่แก้แค้นกรรมการสอบไม่ว่าจะโดยวิธีใด การสอบปากเปล่าที่มหาวิทยาลัย TÜbingen ในเยอรมนีนี้ซึ่งมีกรรมการสอบ 3 ท่านนั่งที่โต๊ะ บุคคลที่เข้าสอบต้องยืนสอบ กรรมการท่านหนึ่งมีหน้าที่จดบันทึกคำตอบของผู้ที่เข้าสอบตลอดการสอบ
แต่ถ้าบุคคลผู้นั้นสอบผ่าน เขาก็จะได้ปริญญา Ph.D. และมีคำนำหน้าชื่อว่า Doctor ทันที และนี่ก็คือประเพณีที่มหาวิทยาลัยไทยส่วนใหญ่ได้ดำเนินการมานานหลายปี
ณ วันนี้ ความต้องการของสังคมไทย ในการเรียนระดับดุษฎีบัณฑิตกำลังเพิ่มขึ้นตลอดเวลา เพราะประเทศกำลังเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ และสังคมมีค่านิยมในการนับถือผู้มีความรู้สูง สังคมจึงต้องการให้มหาวิทยาลัยตอบสนองความต้องการในประเด็นนี้ โดยการผลิตนิสิตที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอกมากขึ้น และสถิติของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ก็ได้แสดงให้เห็นว่า ขณะนี้มหาวิทยาลัยไทยมีหลักสูตรปริญญาเอกที่เปิดดำเนินการประมาณ 320 หลักสูตร ซึ่งมี 2 รูปแบบ คือ แบบที่เน้นการวิจัยและไม่มีการเรียนรายวิชา กับแบบที่ไม่เน้นการวิจัยนักแต่นิสิตต้องเรียนรายวิชาด้วย ทำให้ในปีหนึ่งๆ มีนิสิตที่สำเร็จการศึกษาระดับ Ph.D. ประมาณ 1,450 คน สถิติยังระบุอีกว่า ปริมาณการผลิตบุคลากรระดับ Ph.D. มีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ทุกปี
การศึกษาโครงการปริญญาเอกต่างๆ ในประเทศเราได้ทำให้คณะอนุกรรมการเกี่ยวกับการส่งเสริมและพัฒนางานวิจัยของ สกอ. สังเกตเห็นว่า โครงการปริญญาเอกหลายโครงการในบางมหาวิทยาลัย มีการดำเนินการที่เป็นวิทยธุรกิจ เช่น คิดค่าหน่วยกิตสูงมาก (ระดับแสนบาทต่อหนึ่งภาคการศึกษา) จนทำให้ผู้เรียนที่ไม่พร้อมด้านการเงิน ต้องกู้หนี้ยืมสินมาสำรองจ่าย ด้วยความคาดหวังว่าอีกไม่นาน ถ้าจ่ายครบก็จบแน่ หรือในทำนองเดียวกัน บางมหาวิทยาลัยก็ยึดหลักการว่า เงินมาปริญญาไป จึงไม่ได้กำกับและควบคุมมาตรฐานของการสำเร็จการเรียนระดับปริญญาเอกอย่างที่ควร กิจกรรมและการกระทำเช่นนี้ เป็นการทำลายเกียรติภูมิและอุดมการณ์ของการศึกษาไทยระดับร้ายแรง
ด้วยเหตุนี้ คณะอนุกรรมการเกี่ยวกับการส่งเสริมและพัฒนางานวิจัยของ สกอ. จึงใคร่ชี้ให้สังคมเห็นความสำคัญและความจำเป็นของการสร้างคุณภาพและมาตรฐานของนิสิตปริญญาเอกที่สำเร็จการศึกษาในประเทศ
อันคำว่าคุณภาพและมาตรฐานนี้ โดยทั่วไปเป็นคำที่ปัจเจกบุคคลเห็นไม่ตรงกัน แต่สำหรับวงการวิชาการแล้ว ดัชนีวัดคุณภาพของปริญญาเอก คือ งานวิจัยที่ปราชญ์ หรือผู้รู้ดีในเรื่องนั้นยอมรับว่าอยู่ในระดับที่ดีมาก ซึ่งคนที่ทำหน้าที่ประเมินนี้ มักเป็นผู้ทรงคุณวุฒิที่มาจากนอกสถาบัน หรือเป็นบุคคลที่กองบรรณาธิการวารสารวิจัย ได้แต่งตั้งให้ประเมินและตรวจสอบงานวิจัยนั้นว่าถูกต้อง สำคัญ ผิดพลาด หรือบกพร่องอย่างไร เพราะผู้ทรงคุณวุฒิ ตามปกติจะไม่รู้ชื่อคนที่เสนองานวิจัย เขาจึงสามารถประเมินผลงานได้อย่างไม่ต้องเกรงใจ และตรงไปตรงมาดีกว่าคนที่เป็นกรรมการสอบปากเปล่าวิทยานิพนธ์เสียอีก ทั้งนี้เพราะกรรมการสอบปากเปล่าบางคนอาจไม่คุ้นเคยกับงานวิจัยที่นิสิตนำมาเสนอก็ได้
ดังนั้นถ้าวารสารวิจัยเป็นวารสารชั้นนำของโลก การประเมินความถูกต้อง และความสำคัญของงานวิจัยก็จะเป็นไปอย่างจริงจังมาก และนั่นก็หมายความว่า งานวิจัยที่ผ่านการประเมินและได้มีการลงพิมพ์ สามารถนำมาใช้เป็นดัชนีบอกคุณภาพและมาตรฐานของปริญญาเอกของบุคคลผู้นั้นได้
เมื่อเหตุและผลเป็นเช่นนี้ เราจึงเห็นได้ว่า ในการที่จะบรรลุถึงซึ่งมาตรฐานของปริญญาเอกที่มีคุณภาพ ปัจจัยที่สำคัญคืออาจารย์ที่คุมวิทยานิพนธ์ต้องมีความสามารถสูงในการวิจัยและมีเวลาที่จะทุ่มเท ฝึกฝนนิสิตที่อยู่ภายใต้การดูแล นิสิตเองก็ต้องเป็นคนที่มีคุณภาพและมีความมุ่งมั่น ส่วนมหาวิทยาลัยก็ต้องมีระบบวัดผล ดูแล ติดตามความก้าวหน้าในการเรียนของนิสิต รวมถึงดูแลการควบคุมวิทยานิพนธ์ของอาจารย์อย่างมีประสิทธิภาพด้วย เพื่อให้งานวิจัยของนิสิตสามารถลงพิมพ์ในวารสารที่เป็นที่ยอมรับ (สำหรับรายชื่อวารสารที่เป็นที่ยอมรับนี้มีในประกาศของ สกอ.)
ส่วนในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับอาจารย์ผู้ควบคุมวิทยานิพนธ์ เพราะเหตุว่าภาควิชาบางภาคอาจมีอาจารย์ที่สนใจ หรือรู้เรื่องเดียวกันจำนวนไม่มาก และถึงจะมีอาจารย์หลายคนที่รู้เรื่องนั้น แต่ถ้าเป็นกรณีที่เคยรู้ เพราะอาจารย์ได้ว่างเว้นการทำวิจัยอย่างจริงจังและต่อเนื่องมานานแล้ว ภาควิชาก็ควรเชิญอาจารย์จากมหาวิทยาลัยอื่น ที่มีความรู้ลึกซึ้งและเป็นนักวิจัยที่สามารถแข็งขันไม่น้อยกว่าอาจารย์ที่ปรึกษา มาร่วมเป็นกรรมการคุมวิทยานิพนธ์ด้วย และต้องดำเนินการในประเด็นนี้ เพื่อให้นิสิตปริญญาเอกที่สถาบันผลิต มีคุณภาพและได้มาตรฐาน
การผลิต Ph.D. เป็นโครงการที่ต้องใช้งบประมาณมาก เพราะมหาวิทยาลัยต้องจ้างอาจารย์ระดับศาสตราจารย์ และรองศาสตราจารย์หลายคน อีกทั้งต้องมีอุปกรณ์วิจัย โดยเฉพาะสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ที่มีการวิจัยด้วยอุปกรณ์ Hardware ซึ่งต้องใช้เงินมหาศาลซื้อ เพื่อจะผลิตนักวิจัยมาแก้ปัญหาของสังคม และสร้างสรรค์ปัญญาให้แก่โลก
แต่ถ้าการผลิต Ph.D. นั้น สร้างบุคคลที่ไม่สามารถสร้างสรรค์ความรู้ใหม่ๆ ได้ หรือแก้ปัญหาของประเทศไม่ได้ Ph.D. คนนั้นก็จะไม่มีคุณภาพ และเขาเหล่านั้นก็จะสร้างวงจรอุบาทว์ที่จะทำให้ประเทศเรามีปัญหาด้านการศึกษาไม่รู้จบ