เอเอฟพี - กองทุนการเงินระหว่างประเทศ หรือ ไอเอ็มเอฟ แถลงเมื่อวันอาทิตย์(26)ว่า ฮังการีและยูเครนกำลังจะได้รับความช่วยเหลือทางการเงินจากกองทุน หลังต้องประสบปัญหาการเงินรุนแรงสืบเนื่องจากวิกฤตที่เกิดขึ้นทั่วโลก โดยยูเครนจะได้รับเงินกู้ 16,500 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ส่วนฮังการีก็ได้ความช่วยเหลือ "จำนวนมาก" เช่นกัน
โดมินิก สเตราส์-คาห์น กรรมการผู้จัดการไอเอ็มเอฟ เป็นผู้แถลงเปิดเผยข้อตกลงคราวนี้ โดยที่เมื่อวันศุกร์(24)ที่ผ่านมา ไอเอ็มเอฟก็ได้ให้ไอซ์แลนด์กู้ไปเป็นเงิน 2,100 ล้านดอลลาร์แล้ว นอกจากนี้ ยังมีอีกหลายประเทศที่กำลังยื่นขอความช่วยเหลือเช่นเดียวกัน อาทิ เบลารุส และปากีสถาน
ไอเอ็มเอฟกล่าวว่าสามารถที่จะให้เงินกู้เพื่อช่วยเหลือประเทศต่าง ๆได้สูงถึง 200,000 ล้านดอลลาร์ ถึงแม้ก่อนหน้านี้บรรดานักวิเคราะห์ต่าง ๆพากันเห็นว่าอาจไม่ประเทศไหนต้องการความช่วยเหลือในรูปแบบนี้จากกองทุนอีกต่อไปแล้ว
"ทีมงานของไอเอ็มเอฟและทางการยูเครน สามารถบรรลุข้อตกลงกันได้ในวันนี้... เกี่ยวกับแผนเงินกู้เพื่อหนุนสภาวะทางเศรษฐกิจมูลค่า 11,000 ล้านเอสดีอาร์ (16,500 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ)" สเตราส์-คาห์นระบุในคำแถลงของเขา "ไอเอ็มเอฟกำลังเข้าช่วยเหลือยูเครนอย่างเต็มความสามารถ และแผนความช่วยเหลือนี้มุ่งไปที่พลิกฟื้นความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจและเสถียรภาพในตลาดการเงิน"
สำหรับฮังการีซึ่งปัจจุบันเป็นสมาชิกชาติหนึ่งของสหภาพยุโรป(อียู) สเตราส์-คาห์น กล่าวว่าจะมีการประกาศ"มาตรการช่วยเหลือทางการเงินมูลค่าจำนวนมาก" ในอีกสองสามวันข้างหน้า ซึ่งเป็นความร่วมมือของหลายฝ่ายไม่ว่าจะเป็นไอเอ็มเอฟ, รัฐบาลประเทศอื่นในยุโรปและพันธมิตรอื่น ๆ
เขาบอกอีกว่าฮังการีจะได้รับความช่วยเหลือก็ต่อเมี่อ "ให้ความยินยอมอย่างไม่มีเงื่อนไขต่อนโยบายของไอเอ็มเอฟ" โดยที่รัฐบาลฮังการีจะต้องนำเอาไปปฏิบัติ ทั้งนี้เงื่อนไขเหล่านี้น่าจะมีอาทิ การใช้จ่ายอย่างประหยัดในภาครัฐ
"เงื่อนไขที่ฮังการีกำลังพิจารณาอยู่นี้เป็นทางเดียวที่จะทำให้ได้เม็ดเงินจากไอเอ็มเอฟ" เขากล่าวและเสริมว่าเป็นเงื่อนไขที่ร่างขึ้นโดยคณะกรรมการบริหารของไอเอ็มเอฟ
ทั้งฮังการีและยูเครนต่างก็ถูกสึนามิทางการเงินถล่มเสียจนสะบักสะบอม ก่อนหน้านี้ยูเครนประกาศห้ามการถอนเงินออกจากบัญชีออมทรัพย์ก่อนจะครบสัญญาเพื่อมิให้เงินไหลออกจากธนาคารรวดเร็วมากเกินไป ส่วนธนาคารกลางก็ต้องเข้ามาอุ้มธนาคารหลายแห่ง และตลาดหุ้นก็ร่วงลงมากกว่า 70% ของมูลค่าเดิมในปีนี้
อดีตสาธารณรัฐหนึ่งของสหภาพโซเวียตรายนี้ ได้รับเงินตราต่างประเทศจากการส่งออกเหล็กกล้า อันเป็นอุตสาหกรรมหลักของประเทศ ทว่ารายได้ด้านนี้กำลังลดน้อยลงกว่าแต่ก่อนอย่างมาก แถมยังนำเอาเงินตราต่างประเทศสำรองจำนวนมหาศาลไปซื้อเงิน "ฮริฟเนีย"ของตน เพื่อพยุงค่าเอาไว้ในช่วงหลายสัปดาห์ที่ผ่านมา
ปัจจัยเหล่านี้ทำให้รัฐบาลประสบปัญหาในการจ่ายคืนหนี้ที่เป็นเงินตราต่างประเทศ ซึ่งเป็นแหล่งเงินทุนหลักที่กระตุ้นเศรษฐกิจของยูเครนให้โตพรวดพราดในช่วงหลายปีหลังมานี้ แต่ก็ทำให้ขาดดุลบัญชีเดินสะพัดอย่างรุนแรง
นอกจากนั้น นักวิเคราะห์เห็นว่าความขัดแย้งระหว่างประธานาธิบดีวิกตอร์ ยุชเชนโก และนายกรัฐมนตรียูเลีย ทิโมเชนโก ในเรื่องที่ประธานาธิบดีตัดสินใจประกาศให้มีการเลือกตั้งครั้งใหม่ ก็ยิ่งทำให้เศรษฐกิจของประเทศดิ่งเหวลงลึกยิ่งกว่าเดิม
ทางด้านกระทรวงการคลังยูเครน ได้ออกมาแสดงความยินดีต่อการตัดสินใจให้กู้เงินของไอเอ็มเอฟ "เพราะเป็นการเปิดประตูไปสู่ความร่วมมือระหว่างยูเครนและองค์กรการเงินระหว่างประเทศอื่น ๆ รวมทั้งเร่งความเร็วในการร่วมมือกันอีกด้วย" รวมทั้งยังจะกระตุ้นความเชื่อมั่นของนักลงทุนภาคเอกชน ที่ต่อภาคการธนาคารของประเทศ
สำหรับปัญหาของฮังการีนั้น พวกนักวิเคราะห์บอกว่ามาจากการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดและขาดดุลงบประมาณอย่างหนัก เงินก็ค่ามากเกินความเป็นจริง ขณะที่มีทุนสำรองเงินตราต่างประเทศอยู่ในระดับต่ำ และมีหนี้ต่างประเทศระยะสั้นในปริมาณสูง
โดมินิก สเตราส์-คาห์น กรรมการผู้จัดการไอเอ็มเอฟ เป็นผู้แถลงเปิดเผยข้อตกลงคราวนี้ โดยที่เมื่อวันศุกร์(24)ที่ผ่านมา ไอเอ็มเอฟก็ได้ให้ไอซ์แลนด์กู้ไปเป็นเงิน 2,100 ล้านดอลลาร์แล้ว นอกจากนี้ ยังมีอีกหลายประเทศที่กำลังยื่นขอความช่วยเหลือเช่นเดียวกัน อาทิ เบลารุส และปากีสถาน
ไอเอ็มเอฟกล่าวว่าสามารถที่จะให้เงินกู้เพื่อช่วยเหลือประเทศต่าง ๆได้สูงถึง 200,000 ล้านดอลลาร์ ถึงแม้ก่อนหน้านี้บรรดานักวิเคราะห์ต่าง ๆพากันเห็นว่าอาจไม่ประเทศไหนต้องการความช่วยเหลือในรูปแบบนี้จากกองทุนอีกต่อไปแล้ว
"ทีมงานของไอเอ็มเอฟและทางการยูเครน สามารถบรรลุข้อตกลงกันได้ในวันนี้... เกี่ยวกับแผนเงินกู้เพื่อหนุนสภาวะทางเศรษฐกิจมูลค่า 11,000 ล้านเอสดีอาร์ (16,500 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ)" สเตราส์-คาห์นระบุในคำแถลงของเขา "ไอเอ็มเอฟกำลังเข้าช่วยเหลือยูเครนอย่างเต็มความสามารถ และแผนความช่วยเหลือนี้มุ่งไปที่พลิกฟื้นความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจและเสถียรภาพในตลาดการเงิน"
สำหรับฮังการีซึ่งปัจจุบันเป็นสมาชิกชาติหนึ่งของสหภาพยุโรป(อียู) สเตราส์-คาห์น กล่าวว่าจะมีการประกาศ"มาตรการช่วยเหลือทางการเงินมูลค่าจำนวนมาก" ในอีกสองสามวันข้างหน้า ซึ่งเป็นความร่วมมือของหลายฝ่ายไม่ว่าจะเป็นไอเอ็มเอฟ, รัฐบาลประเทศอื่นในยุโรปและพันธมิตรอื่น ๆ
เขาบอกอีกว่าฮังการีจะได้รับความช่วยเหลือก็ต่อเมี่อ "ให้ความยินยอมอย่างไม่มีเงื่อนไขต่อนโยบายของไอเอ็มเอฟ" โดยที่รัฐบาลฮังการีจะต้องนำเอาไปปฏิบัติ ทั้งนี้เงื่อนไขเหล่านี้น่าจะมีอาทิ การใช้จ่ายอย่างประหยัดในภาครัฐ
"เงื่อนไขที่ฮังการีกำลังพิจารณาอยู่นี้เป็นทางเดียวที่จะทำให้ได้เม็ดเงินจากไอเอ็มเอฟ" เขากล่าวและเสริมว่าเป็นเงื่อนไขที่ร่างขึ้นโดยคณะกรรมการบริหารของไอเอ็มเอฟ
ทั้งฮังการีและยูเครนต่างก็ถูกสึนามิทางการเงินถล่มเสียจนสะบักสะบอม ก่อนหน้านี้ยูเครนประกาศห้ามการถอนเงินออกจากบัญชีออมทรัพย์ก่อนจะครบสัญญาเพื่อมิให้เงินไหลออกจากธนาคารรวดเร็วมากเกินไป ส่วนธนาคารกลางก็ต้องเข้ามาอุ้มธนาคารหลายแห่ง และตลาดหุ้นก็ร่วงลงมากกว่า 70% ของมูลค่าเดิมในปีนี้
อดีตสาธารณรัฐหนึ่งของสหภาพโซเวียตรายนี้ ได้รับเงินตราต่างประเทศจากการส่งออกเหล็กกล้า อันเป็นอุตสาหกรรมหลักของประเทศ ทว่ารายได้ด้านนี้กำลังลดน้อยลงกว่าแต่ก่อนอย่างมาก แถมยังนำเอาเงินตราต่างประเทศสำรองจำนวนมหาศาลไปซื้อเงิน "ฮริฟเนีย"ของตน เพื่อพยุงค่าเอาไว้ในช่วงหลายสัปดาห์ที่ผ่านมา
ปัจจัยเหล่านี้ทำให้รัฐบาลประสบปัญหาในการจ่ายคืนหนี้ที่เป็นเงินตราต่างประเทศ ซึ่งเป็นแหล่งเงินทุนหลักที่กระตุ้นเศรษฐกิจของยูเครนให้โตพรวดพราดในช่วงหลายปีหลังมานี้ แต่ก็ทำให้ขาดดุลบัญชีเดินสะพัดอย่างรุนแรง
นอกจากนั้น นักวิเคราะห์เห็นว่าความขัดแย้งระหว่างประธานาธิบดีวิกตอร์ ยุชเชนโก และนายกรัฐมนตรียูเลีย ทิโมเชนโก ในเรื่องที่ประธานาธิบดีตัดสินใจประกาศให้มีการเลือกตั้งครั้งใหม่ ก็ยิ่งทำให้เศรษฐกิจของประเทศดิ่งเหวลงลึกยิ่งกว่าเดิม
ทางด้านกระทรวงการคลังยูเครน ได้ออกมาแสดงความยินดีต่อการตัดสินใจให้กู้เงินของไอเอ็มเอฟ "เพราะเป็นการเปิดประตูไปสู่ความร่วมมือระหว่างยูเครนและองค์กรการเงินระหว่างประเทศอื่น ๆ รวมทั้งเร่งความเร็วในการร่วมมือกันอีกด้วย" รวมทั้งยังจะกระตุ้นความเชื่อมั่นของนักลงทุนภาคเอกชน ที่ต่อภาคการธนาคารของประเทศ
สำหรับปัญหาของฮังการีนั้น พวกนักวิเคราะห์บอกว่ามาจากการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดและขาดดุลงบประมาณอย่างหนัก เงินก็ค่ามากเกินความเป็นจริง ขณะที่มีทุนสำรองเงินตราต่างประเทศอยู่ในระดับต่ำ และมีหนี้ต่างประเทศระยะสั้นในปริมาณสูง