นายประสพสุข บุญเดช ประธานวุฒิสภา กล่าวว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 291 เพื่อเปิดทางตั้งสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ หรือ ส.ส.ร.3 ตนไม่มีท่าทีใดๆ ใครต้องการแก้ไขก็สามารถดำเนินการได้ แต่ตนเชื่อว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญไม่สามารถแก้ไขปัญหาในช่วงนี้ได้ แต่ควรต้องใช้วิธีการอื่น ซึ่งวิธีการอื่นก็ยังจะไม่เสนอแนะเพราะมีการดำเนินการแก้ไขรัฐธรรมนูญไปแล้ว ส่วนการประชุม 4 ฝ่าย คือ รัฐบาล ฝ่ายค้าน ประธานสภาฯ และ ประธานวุฒิสภา เพื่อหาทางออกนั้น คงไม่เกิดขึ้นอีก
การแก้ไขรัฐธรรมนูญที่รัฐบาลเชื่อว่าจะแก้ไขปัญหาได้นั้น ถือว่าเป็นเรื่องมองคนละมุม
ด้านนายนิคม ไวยรัชพานิช รองประธานวุฒิสภา กล่าวถึงการประชุมวุฒิสภา ในวันนี้ (24 ต.ค.)ว่า ตนจะแจ้งต่อที่ประชุมถึงผลการประชุมร่วม 4 ฝ่าย ว่า ดำเนินการอะไรไปบ้าง โดยเฉพาะการที่ตนเข้าไปเป็นคณะกรรมการยกร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ และจะชี้แจงกรณีที่กลุ่ม 40 ส.ว.ระบุว่า ไม่ได้เข้าไปประชุมในนามวุฒิสภา ซึ่งแท้ที่จริงแล้วตนได้รับมอบหมายจากประธานวุฒิสภา ทั้งนี้จะมีการเปิดให้ส.ว. ได้อภิปรายแสดงความคิดเห็น และสอบถามอย่างเต็มที่ หากที่ประชุมมีมติไม่เห็นด้วย ก็ถือว่า จบ เพราะเคารพมติที่ประชุม แต่ยังเชื่อมั่นว่า ส.ว.ส่วนใหญ่สนับสนุนแนวทางการตั้ง ส.ส.ร.3
นายประสาร มฤคพิทักษ์ ส.ว.สรรหา แกนนำกลุ่ม 40 ส.ว. กล่าวว่า แม้ขณะนี้ มีส.ว.กลุ่มหนึ่งกำลังรวบรวมรายชื่อเพื่อสนับสนุนให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 291 เปิดทางให้มีการ ตั้งสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) แต่กลุ่ม 40 ส.ว. ก็พยายามรวบรวมจำนวน ส.ว.ที่ไม่เห็นด้วยกับการตั้ง ส.ส.ร.3 เช่นกัน เพื่อให้ได้จำนวน 80 คน ขณะนี้ได้มากกว่า 40 คนแล้ว ส่วนกลุ่ม ส.ว.ที่หนุนตั้ง ส.ส.ร.3 ถือว่าเป็นสิทธิที่ทำได้ แต่คิดว่ากลุ่มที่อยากให้ให้มี ส.ส.ร.3 ก็เพื่อพวกพ้องตัวเองทั้งนั้น ซึ่งรัฐธรรมนูญ 50 ไม่ได้มีความผิด อะไรที่จะต้องแก้ แต่คนที่จะแก้ก็เพราะเป็นปัญหากับตัวเอง จะสังเกตได้จากเดิมทีตั้งกรอบการแก้มาตรา 291 ไว้ 240 วัน แต่ก็ลดให้เหลือเพียง 140 วัน ยิ่งทำให้เห็นถึงความพยายามลุกลี้ลุกลนเพื่อที่จะแก้ให้ได้ จะเห็นว่ารัฐธรรมนูญ 2550 ยังใช้เวลา ในการพิจารณาถึง 1 ปี แต่นี่จะใช้เวลาแค่ 4 เดือน จะเป็นไปได้อย่างไร
แค่นี้ก็รู้แล้วว่าเป็นการยื้อเวลาของรัฐบาล ซึ่งขณะนี้นายกรัฐมนตรีควรจะลาออกได้แล้ว แต่ก็ยังเอาเรื่อง ส.ส.ร.3 มาถ่วงเวลาให้กับตัวเองและรัฐบาล ซึ่งสาเหตุ ที่จะตั้ง ส.ส.ร.3 เพราะมีวาระซ่อนเร้นที่จะสอดใส้ ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ ฉบับของ คปพร.ซึ่งเป็นร่างรัฐธรรมนูญของ น.พ.เหวง โตจิราการ แนวร่วมกลุ่ม นปช. เกรงว่า ยิ่งมี ส.ส.ร.3 จะยิ่งสร้างความร้าวฉานให้กับสังคมมากยิ่งขึ้น
นายประสารกล่าวว่า ในวันนี้(24 ต.ค.)จะมีการประชุมวุฒิสภา กลุ่ม 40 ส.ว.จะหยิบประเด็นปัญหาเรื่อง ส.ส.ร.3 มาหารือในที่ประชุม ตนคิดว่าน่าจะพูดให้ถล่มกันไปเลย และจะชี้แจงในที่ประชุมให้เห็นว่าตอนนี้ไม่ใช่เวลาที่จะมาแก้รัฐธรรมนูญ อยากให้หาทางออกให้ประเทศก่อน
นายสิริวัฒน์ ไกรสินธุ์ ส.ว.นครศรีธรรมราช กล่าวว่า จากที่ดูร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 291 เพื่อให้มี ส.ส.ร.3 มาร่างรัฐธรรมนูญ พบว่าไม่ให้ ส.ส.และ ส.ว.เข้ามาเกี่ยวข้อง และไม่ให้สิทธิสมาชิกรัฐสภาแปรญัตติ ตนคิด่าดี แต่ที่ยังไม่เห็นด้วยคือตอนเห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ยังลักลั่นอยู่ ตนเห็นว่าควรให้ทำประชามติไปเลยจะชอบธรรมกว่าให้รัฐสภาเห็นชอบก่อน แต่หากไม่เห็นชอบก็ให้ทำประชามติ
ส่วนระยะเวลาในการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญ ที่ล่าสุดบอกว่า 180 วันต้องพิจารณาให้ดี เพราะมีเสียงเรียกร้องให้รัฐบาลยุบสภามาก เรื่องนี้มี 2 ประเด็นในการพิจารณาคือ เวลาของรัฐบาล และเวลาในการปฏิรูปการเมือง โดยเฉพาะเรื่องเวลาของรัฐบาล คนจำนวนมากตั้งคำถามต่อรัฐบาลในการใช้ความรุนแรง สลายการชุมนุมเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม ตรงนี้ก็ต้องดูสถานการณ์ความรับผิดชอบของรัฐบาล
ตอนนี้ผมเห็นด้วยกับส.ส.ร.3 เพราะดูแล้วไม่ได้มีเหตุผลเหมือนตอนที่ส.ส.จะแก้รัฐธรรมนูญกันในตอนแรก แต่เป็นการขานรับการปฏิรูปการเมือง แต่ต้องดูเงื่อนไขในช่วงเวลาด้วยว่า มีความจริงใจหรือไม่ เพราะหากตั้ง ส.ส.ร.3 แล้วมีผลประโยชน์แก่ฝ่ายตัวเองเป็นหลัก มันจะไม่นำไปสู่ความสันติ แถมจะยิ่งนองเลือด ตรงนี้ก็ต้องมาพิจารณาใหม่ ส่วนการล่าชื่อสนับสนุนญัตติแก้ มาตรา 291 นั้น ผมยังไม่ได้ร่วมลงชื่อ ทราบว่าตอนนี้มีประมาณ 30 คนแล้ว อย่างไรก็ตามผมเห็นว่าถ้าตั้ง ส.ส.ร.แล้วรัฐบาลยุบสภาน่าจะเป็นทางออกที่คู่ขัดแย้งพอใจ
การแก้ไขรัฐธรรมนูญที่รัฐบาลเชื่อว่าจะแก้ไขปัญหาได้นั้น ถือว่าเป็นเรื่องมองคนละมุม
ด้านนายนิคม ไวยรัชพานิช รองประธานวุฒิสภา กล่าวถึงการประชุมวุฒิสภา ในวันนี้ (24 ต.ค.)ว่า ตนจะแจ้งต่อที่ประชุมถึงผลการประชุมร่วม 4 ฝ่าย ว่า ดำเนินการอะไรไปบ้าง โดยเฉพาะการที่ตนเข้าไปเป็นคณะกรรมการยกร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ และจะชี้แจงกรณีที่กลุ่ม 40 ส.ว.ระบุว่า ไม่ได้เข้าไปประชุมในนามวุฒิสภา ซึ่งแท้ที่จริงแล้วตนได้รับมอบหมายจากประธานวุฒิสภา ทั้งนี้จะมีการเปิดให้ส.ว. ได้อภิปรายแสดงความคิดเห็น และสอบถามอย่างเต็มที่ หากที่ประชุมมีมติไม่เห็นด้วย ก็ถือว่า จบ เพราะเคารพมติที่ประชุม แต่ยังเชื่อมั่นว่า ส.ว.ส่วนใหญ่สนับสนุนแนวทางการตั้ง ส.ส.ร.3
นายประสาร มฤคพิทักษ์ ส.ว.สรรหา แกนนำกลุ่ม 40 ส.ว. กล่าวว่า แม้ขณะนี้ มีส.ว.กลุ่มหนึ่งกำลังรวบรวมรายชื่อเพื่อสนับสนุนให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 291 เปิดทางให้มีการ ตั้งสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) แต่กลุ่ม 40 ส.ว. ก็พยายามรวบรวมจำนวน ส.ว.ที่ไม่เห็นด้วยกับการตั้ง ส.ส.ร.3 เช่นกัน เพื่อให้ได้จำนวน 80 คน ขณะนี้ได้มากกว่า 40 คนแล้ว ส่วนกลุ่ม ส.ว.ที่หนุนตั้ง ส.ส.ร.3 ถือว่าเป็นสิทธิที่ทำได้ แต่คิดว่ากลุ่มที่อยากให้ให้มี ส.ส.ร.3 ก็เพื่อพวกพ้องตัวเองทั้งนั้น ซึ่งรัฐธรรมนูญ 50 ไม่ได้มีความผิด อะไรที่จะต้องแก้ แต่คนที่จะแก้ก็เพราะเป็นปัญหากับตัวเอง จะสังเกตได้จากเดิมทีตั้งกรอบการแก้มาตรา 291 ไว้ 240 วัน แต่ก็ลดให้เหลือเพียง 140 วัน ยิ่งทำให้เห็นถึงความพยายามลุกลี้ลุกลนเพื่อที่จะแก้ให้ได้ จะเห็นว่ารัฐธรรมนูญ 2550 ยังใช้เวลา ในการพิจารณาถึง 1 ปี แต่นี่จะใช้เวลาแค่ 4 เดือน จะเป็นไปได้อย่างไร
แค่นี้ก็รู้แล้วว่าเป็นการยื้อเวลาของรัฐบาล ซึ่งขณะนี้นายกรัฐมนตรีควรจะลาออกได้แล้ว แต่ก็ยังเอาเรื่อง ส.ส.ร.3 มาถ่วงเวลาให้กับตัวเองและรัฐบาล ซึ่งสาเหตุ ที่จะตั้ง ส.ส.ร.3 เพราะมีวาระซ่อนเร้นที่จะสอดใส้ ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ ฉบับของ คปพร.ซึ่งเป็นร่างรัฐธรรมนูญของ น.พ.เหวง โตจิราการ แนวร่วมกลุ่ม นปช. เกรงว่า ยิ่งมี ส.ส.ร.3 จะยิ่งสร้างความร้าวฉานให้กับสังคมมากยิ่งขึ้น
นายประสารกล่าวว่า ในวันนี้(24 ต.ค.)จะมีการประชุมวุฒิสภา กลุ่ม 40 ส.ว.จะหยิบประเด็นปัญหาเรื่อง ส.ส.ร.3 มาหารือในที่ประชุม ตนคิดว่าน่าจะพูดให้ถล่มกันไปเลย และจะชี้แจงในที่ประชุมให้เห็นว่าตอนนี้ไม่ใช่เวลาที่จะมาแก้รัฐธรรมนูญ อยากให้หาทางออกให้ประเทศก่อน
นายสิริวัฒน์ ไกรสินธุ์ ส.ว.นครศรีธรรมราช กล่าวว่า จากที่ดูร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 291 เพื่อให้มี ส.ส.ร.3 มาร่างรัฐธรรมนูญ พบว่าไม่ให้ ส.ส.และ ส.ว.เข้ามาเกี่ยวข้อง และไม่ให้สิทธิสมาชิกรัฐสภาแปรญัตติ ตนคิด่าดี แต่ที่ยังไม่เห็นด้วยคือตอนเห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ยังลักลั่นอยู่ ตนเห็นว่าควรให้ทำประชามติไปเลยจะชอบธรรมกว่าให้รัฐสภาเห็นชอบก่อน แต่หากไม่เห็นชอบก็ให้ทำประชามติ
ส่วนระยะเวลาในการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญ ที่ล่าสุดบอกว่า 180 วันต้องพิจารณาให้ดี เพราะมีเสียงเรียกร้องให้รัฐบาลยุบสภามาก เรื่องนี้มี 2 ประเด็นในการพิจารณาคือ เวลาของรัฐบาล และเวลาในการปฏิรูปการเมือง โดยเฉพาะเรื่องเวลาของรัฐบาล คนจำนวนมากตั้งคำถามต่อรัฐบาลในการใช้ความรุนแรง สลายการชุมนุมเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม ตรงนี้ก็ต้องดูสถานการณ์ความรับผิดชอบของรัฐบาล
ตอนนี้ผมเห็นด้วยกับส.ส.ร.3 เพราะดูแล้วไม่ได้มีเหตุผลเหมือนตอนที่ส.ส.จะแก้รัฐธรรมนูญกันในตอนแรก แต่เป็นการขานรับการปฏิรูปการเมือง แต่ต้องดูเงื่อนไขในช่วงเวลาด้วยว่า มีความจริงใจหรือไม่ เพราะหากตั้ง ส.ส.ร.3 แล้วมีผลประโยชน์แก่ฝ่ายตัวเองเป็นหลัก มันจะไม่นำไปสู่ความสันติ แถมจะยิ่งนองเลือด ตรงนี้ก็ต้องมาพิจารณาใหม่ ส่วนการล่าชื่อสนับสนุนญัตติแก้ มาตรา 291 นั้น ผมยังไม่ได้ร่วมลงชื่อ ทราบว่าตอนนี้มีประมาณ 30 คนแล้ว อย่างไรก็ตามผมเห็นว่าถ้าตั้ง ส.ส.ร.แล้วรัฐบาลยุบสภาน่าจะเป็นทางออกที่คู่ขัดแย้งพอใจ