ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร วานนี้ (22ต.ค.) นายสามารถ แก้วมีชัย รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่ 1 เป็นประธานการประชุม ได้แจ้งให้ที่ประชุมทราบว่า พล.อ. อนุพงษ์ เผ่าจินดา ผบ.ทบ. ในฐานะประธานคณะกรรมการติดตามสถานการณ์ร่วม ทำหนังสือตอบกลับข้อหารือของนาย ชัย ชิดชอบ ประธานสภาผู้แทนราษฎร เรื่องการรักษาความไม่สงบเรียบร้อย ในวันประชุมสภา ว่า สถานการณ์ความไม่สงบเรียบร้อยในพื้นที่กรุงเทพฯ ยังอยู่ในความรับผิดชอบหลักของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.) และกองทัพบกจะเป็นฝ่ายสนับสนุน ในฐานะผู้ช่วยเหลือเจ้าพนักงาน ตามแผน และขั้นตอนที่ สตช. กำหนดไว้ ดังนั้นหากเกิดเหตุการณ์ความไม่สงบเรียบร้อยต่อรัฐสภา ต้องถือว่า เป็นภาระหน้าที่ ที่สตช. จะให้การรักษาความปลอดภัย
ผบ.ทบ.ยังระบุว่า กองทัพบก ในฐานะผู้ช่วยเหลือเจ้าพนักงาน จะสนับสนุนกำลังเพิ่มเติม เมื่อได้รับการร้องขออย่างเต็มขีดความสามารถ เนื่องจากการใช้กำลังทหารเข้าปฏิบัติภารกิจการรักษาความสงบเรียบร้อยในพื้นที่กรุงเทพฯ ยังไม่มีกฎหมายรองรับการปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหาร อย่างไรก็ดี รัฐสภา สามารถพิจารณาความเหมาะสมในประเด็นห้วงเวลา และสถานที่ในการประชุม ให้มีความสอดคล้องกับสถานการณ์ หากกรณีมีสิ่งบอกเหตุที่จะมีการเผชิญหน้ากันระหว่างมวลชนฝ่ายต่างๆ เพื่อลดความตึงเครียด จนกว่าสถานการณ์จะคลี่คลายในทางที่ดีขึ้น เพื่อใช้ประกอบการพิจารณากำหนดการประชุมสภาได้เช่นเดียวกัน
นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย ส.ส.ตรัง พรรคประชาธิปัตย์ ประธานวิปฝ่ายค้าน อภิปรายว่า หากมีการชุมนุมหน้ารัฐสภาขึ้นอีก รัฐสภา มีแผนรองรับเหตุการณ์หรือไม่ เพราะวันที่ 7 ต.ค. รัฐบาลอ้างความจำเป็นว่า ต้องแถลงนโยบายของรัฐบาลให้ได้ทันตามกรอบเวลาที่รัฐธรรมนูญกำหนดไว้ ภายใน 15 วัน หลังได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี ซึ่งจะครบกำหนดในวันที่ 9 ต.ค. และในวันนั้น ประธานรัฐสภา เตรียมแผนการเลื่อนประชุม หรือเปลี่ยนสถานที่ประชุมได้หรือไม่ เพราะรัฐธรรมนูญไม่ได้เขียนไว้อย่างชัดเจนว่า จำเป็นต้องแถลงนโยบายที่รัฐสภาหรือไม่ แต่ประธานรัฐสภายืนยันว่า ต้องแถลงที่รัฐสภา ในที่สุดก็มีเหตุการณ์สลายการชุมนุมเกิดขึ้น
นายบุญยอด สุขถิ่นไทย ส.ส.กทม. พรรคประชาธิปัตย์ อภิปรายโดยนำ วีซีดี "ตำรวจฆ่าประชาชน" ที่บันทึกเหตุการณ์สลายชุมชุม เมื่อวันที่ 7 ต.ค. มาแสดงในที่ประชุม พร้อมระบุว่า หากมีการชุมนุมเกิดขึ้นที่รัฐสภาอีก อย่าใช้ตำรวจชุดฆ่าประชาชนเหมือนที่ผ่านมา ต้องใช้ตำรวจที่มีความรู้ มีความคิด สามารถควบคุมประชาชนได้อย่างแท้จริง
ขณะที่ส.ส.พรรคพลังประชาชน อาทิ นายจตุพร พรหมพันธุ์ ส.ส.สัดส่วน อภิปรายว่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นมี วีซีดีอยู่ 2 ชุด สำหรับตนมีชุด"พันธมิตรฯ ฆ่าประชาชน" ซึ่งตนไม่อยากให้ด่วนสรุปเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ควรรอผลการสอบสวนโดยคณะกรรมการที่นายกรัฐมนตรีตั้งขึ้น ซึ่งไม่ว่ากรณีคาร์บอมบ์ หน้าพรรคชาติไทย หรือ น้องโบว์ (น.ส. อังคณา ระดับปัญญาวุฒิ ) ที่เสียชีวิตในเหตุการณ์นั้น ไม่เกี่ยวข้องกับรัฐสภา ทั้งนี้ ตนสนับสนุนการตัดสินใจเปิดประชุมของประธานรัฐสภา ส่วนการบอยคอตของส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ จะเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์คาร์บอมบ์ ที่มีคนของกลุ่มพันธมิตรฯ เสียชีวิตในที่เกิดเหตุ และจะมีการเตรียมการทำอะไรในสภาหรือไม่ คงต้องติดตามการตรวจสอบต่อไป
" คนเป็นสมาชิกรัฐสภา ต้องร่วมกันแก้ปัญหาไม่ใช่ไปพาพวกมาปิดล้อม ผมเชื่อว่า ถ้าผลสอบสวนออกมาระบุว่ารัฐบาลผิด ไม่มีใครหน้าด้านอยู่ต่อไป " นายจตุพร กล่าว
น.พ.อสิ มะหะมัดยังกี ส.ส.สตูล พรรคประชาธิปัตย์ อภิปรายว่า ตนเป็นผู้หนึ่งที่ถูกสะเก็ดระเบิด เนื่องจากได้เข้าไปสังเกตการณ์ชุมนุมด้วย แต่ยืนยันว่า ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องในการปิดล้อมรัฐสภา และตนไม่ได้หนีไปรักษาตัวที่บ้าน แต่การรักษาตนอาศัยหลักวิทยาศาสตร์ ไม่ใช่หลักไสยศาสตร์ อย่างไรก็ตาม ทราบว่ามีการปลุกระดมประชาชนทางโทรทัศน์ เอ็นบีที โดยคนเรียกว่า "สามเกลอหัวขาด" แต่ตนขอเรียกว่า "สามเกลอหัวเสีย" เพราะหัวมันเสียไปแล้ว ทำให้นายจตุพร ลุกขึ้นประท้วงให้ถอนคำพูดดังกล่าว ในที่สุด นพ.อสิ ยอมถอนคำพูด แต่ยังยืนยันว่า ตนถอนคำพูดได้ แต่ใจยังคิดอยู่
ต่อมา นายสามารถ ชี้แจงว่า ขณะนี้ประธานรัฐสภามีภารกิจอยู่ที่ต่างประเทศ ตนจะนำข้อคิดเห็นของสมาชิกนำเสนอ และคงต้องประชุมผู้เกี่ยวข้องต่อไป
จากนั้น ที่ประชุมได้พิจารณาวาระรับทราบรายงานผลการปฏิบัติงานประจำปี 2549 ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ อย่างไรก็ดี ส.ส.ทั้งสองฝ่าย ยังหยิบยกเหตุการณ์วันที่ 7 ต.ค. มาอภิปราย และตอบโต้กันอย่างเคร่งเครียด โดยส.ส.พรรคพลังประชาชน ได้ตำหนิการทำหน้าที่ของคณะกรรมการสิทธิฯว่า วางตัวไม่เห็นกลาง โดยนายบุญจง วงค์ไตรรัตน์ ส.ส.นครราชสีมา พรรคพลังประชาชน กล่าวว่า สงสัยความเที่ยงธรรมในการทำหน้าที่ของกก.สิทธิฯ เพราะ เหตุการณ์ 7 ต.ค. ผู้ชุมนุมวางแผนไม่ต้องการให้รัฐบาลแถลงนโยบาย ทั้งที่เป็นหน้าที่ของรัฐบาลและสภา การชุมนุมวันนั้น พร้อมก่อจลาจล ส.ส.ข้าราชการ สื่อ ถูกกักขังหน่วงเหนี่ยวอิสรภาพ หลายชั่วโมง แต่นายเสน่ห์ จามริก ประธานกก.สิทธิฯ ออกมาแถลงสรุปว่า เหตุการณ์สูญเสียวันดังกล่าว เกิดจากการที่รัฐบาลต้องการแถลงนโยบายให้ได้ ไม่ได้ทำตามกระบวนการยุติธรรม และเป็นฝ่ายผิด ตนขอถามว่า ทำไมจึงสรุปด้านเดียว และดูแต่ปลายเหตุ แต่ต้องดูต้นเหตุ คือการปิดล้อมไม่ให้สมาชิกมาทำหน้าที่ ด้านนายสาทิตย์ ขอให้กำลังใจกก.สิทธิฯในการกระตุกสำนึกของคนที่ใช้อำนาจรัฐ ทั้งนี้รายงานเมื่อปี 49 พบว่า เกิดการละเมิดสิทธิในกระบวนการยุติธรรมมากสุด และผู้ถูกกล่าวหามากสุดคือ ตำรวจ ก็สะท้อนถึงเหตุการณ์ 7 ต.ค. ด้วย
ส่วนที่มีส.ส.หนุนการเปิดทางให้สมาชิกเข้าสภาในวันดังกล่าว ขอถามว่า มีสมาชิกบาดเจ็บ ขาขาดกี่คน ส.ส.ออกมาพูดได้อย่างไรว่า คนที่มาชุมนุมจะเข้ามาฆ่า เลยต้องฆ่าก่อนหรือ เช้าวันดังกล่าว มีคนขาขาดที่ประตูทางเข้า เมื่อถึงขั้นนี้จะให้ผู้แทนข้ามเข้ามาประชุมหรือ สภาสามารถเลื่อนประชุมได้อีก 2 วัน แต่มีการอ้างความจำเป็น ถึงกับต้องสังเวยชีวิต และรัฐบาลก็ไม่ออกมารับผิดชอบ วันนี้นายกฯ ก็ไม่มาฟัง คนฝ่ายรัฐบาล ก็ประกาศว่าจะทำสงครามประชาชน เจตนายั่วยุให้เกิดการปะทะ ตนจึงสงสัยในท่าทีรัฐบาล เพราะที่มีการระดมคน เป็นกลุ่มของรัฐบาล วันนี้ตนห่วงมากว่า จะเกิดการนองเลือดครั้งใหญ่
พ.อ.อภิวันท์ วิริยะชัย รองประธานสภาคนที่ 2 ทำหน้าที่ประธานการประชุม ชี้แจงว่า ที่นายกฯ และรัฐมนตรีไม่มา เพราะตอนแรก กก.สิทธิฯ ประสานมาว่าไม่พร้อมมาชี้แจง ตนเลยจำต้องนำกฎหมายมาพิจารณาก่อน แต่ตอนบ่าย กก.สิทธิฯ แจ้งว่า พร้อม จึงถือเป็นความบกพร่องของตน ในการประสานกับ ครม.
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากนั้น ส.ส.ฝ่ายค้านและรัฐบาล สลับกันขึ้นอภิปราย โดย ส.ส.ฝ่ายรัฐบาลโดยเฉพาะพรรคพลังประชาชน อภิปรายโจมตีการทำหน้าที่ของกก.สิทธิฯ โดยพุ่งเป้าไปที่ นายเสน่ห์ ที่เคยออกมาหนุนรัฐประหาร 49 และรีบออกมาแถลงว่า เหตุการณ์ 7 ต.ค. รัฐบาลผิด จึงห่วงในวุฒิภาวะในการทำหน้าที่ ส่วนส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ ตั้งข้อสังเกตถึงการละเมิดสิทธิ ในกระบวนการยุติธรรม
จากนั้นนางสุนี ไชยรส กก.สิทธิฯ ชี้แจงว่าก่อนเกิดเหตุการณ์ 7 ต.ค. มีการละเมิดสิทธิมนุษยชนหลายกรณี สำหรับเหตุการณ์ 7 ต.ค. คณะกรรมการสิทธิฯ อยู่ระหว่างการทำรายงานตรวจสอบข้อเท็จจริงทั้งหมด โดยได้มีโอกาสไปเยี่ยมประชาชนผู้บาดเจ็บในเหตุการณ์ ส่วนตำรวจที่ปฏิบัติหน้าที่ ได้ไปเยี่ยมเช่นกัน แต่ไม่สามารถเข้าไปพบได้ เนื่องจากยังอยู่ระหว่างการพักรักษาตัวในห้องไอซียู แต่เสียใจที่มีการใช้แก๊สน้ำตาเข้าสลายการชุมนุม ซึ่งทำให้เกิดบรรยากาศที่น่ากลัว ทำให้ประชาชนแขนขาด ขาขาด ซึ่งกก.สิทธิฯ มีมติให้ตรวจสอบว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น มีข้อเท็จจริงอย่างไร
นอกจากนี้ ยังได้รับการร้องเรียนจาก นายตี๋ (ชิงชัย เจริญอุดมกิจ ศิลปินนักวาดรูป) ที่ถูกกล่าวหาว่ากำระเบิดในมือ และน้องโบว์ (น.ส. อังคณา ระดับปัญญาวุฒิ ) มีระเบิดติดตัวอยู่ ซึ่งเป็นที่น่าสลดใจในความสูญเสียที่เกิดขึ้น และเสื่อมเสียเกียรติของครอบครัวทั้งสอง คนที่ถูกกล่าวหา ซึ่งต้องตรวจสอบข้อเท็จจริงต่อไป คณะกรรมการสิทธิฯ ไม่ได้ต้องการประณามฝ่ายใดทั้งสิ้น แต่มีหน้าที่พิจารณาสิ่งที่เกิดขึ้นโดยยึดหลักความเป็นธรรม
นางสุนี กล่าวว่า จาการตรวจสอบที่เกิดขึ้น ฝ่ายตำรวจได้ออกมายอมรับว่า มีการใช้แก๊สน้ำตาสลายการชุมนุมมากเกินไป ดังนั้น กก.สิทธิฯ ต้องการออกมาป้องปรามไม่ให้เกิดความรุนแรงอีก แต่รายงานนี้ยังไม่สมบูรณ์ หากตรวจสอบข้อเท็จจริงเรียบร้อยเมื่อไร จะส่งให้สภารับทราบต่อไป ทั้งนี้ กก.สิทธิฯ เน้นการตรวจสอบการใช้อำนาจ ของรัฐเป็นประเด็นหลัก และต้องการให้ผลการตรวจสอบครั้งนี้เป็นบรรทัดฐานในการควบคุมการชุมนุมด้วยความสงบ และไม่ใช้ความรุนแรงต่อไป
ผบ.ทบ.ยังระบุว่า กองทัพบก ในฐานะผู้ช่วยเหลือเจ้าพนักงาน จะสนับสนุนกำลังเพิ่มเติม เมื่อได้รับการร้องขออย่างเต็มขีดความสามารถ เนื่องจากการใช้กำลังทหารเข้าปฏิบัติภารกิจการรักษาความสงบเรียบร้อยในพื้นที่กรุงเทพฯ ยังไม่มีกฎหมายรองรับการปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหาร อย่างไรก็ดี รัฐสภา สามารถพิจารณาความเหมาะสมในประเด็นห้วงเวลา และสถานที่ในการประชุม ให้มีความสอดคล้องกับสถานการณ์ หากกรณีมีสิ่งบอกเหตุที่จะมีการเผชิญหน้ากันระหว่างมวลชนฝ่ายต่างๆ เพื่อลดความตึงเครียด จนกว่าสถานการณ์จะคลี่คลายในทางที่ดีขึ้น เพื่อใช้ประกอบการพิจารณากำหนดการประชุมสภาได้เช่นเดียวกัน
นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย ส.ส.ตรัง พรรคประชาธิปัตย์ ประธานวิปฝ่ายค้าน อภิปรายว่า หากมีการชุมนุมหน้ารัฐสภาขึ้นอีก รัฐสภา มีแผนรองรับเหตุการณ์หรือไม่ เพราะวันที่ 7 ต.ค. รัฐบาลอ้างความจำเป็นว่า ต้องแถลงนโยบายของรัฐบาลให้ได้ทันตามกรอบเวลาที่รัฐธรรมนูญกำหนดไว้ ภายใน 15 วัน หลังได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี ซึ่งจะครบกำหนดในวันที่ 9 ต.ค. และในวันนั้น ประธานรัฐสภา เตรียมแผนการเลื่อนประชุม หรือเปลี่ยนสถานที่ประชุมได้หรือไม่ เพราะรัฐธรรมนูญไม่ได้เขียนไว้อย่างชัดเจนว่า จำเป็นต้องแถลงนโยบายที่รัฐสภาหรือไม่ แต่ประธานรัฐสภายืนยันว่า ต้องแถลงที่รัฐสภา ในที่สุดก็มีเหตุการณ์สลายการชุมนุมเกิดขึ้น
นายบุญยอด สุขถิ่นไทย ส.ส.กทม. พรรคประชาธิปัตย์ อภิปรายโดยนำ วีซีดี "ตำรวจฆ่าประชาชน" ที่บันทึกเหตุการณ์สลายชุมชุม เมื่อวันที่ 7 ต.ค. มาแสดงในที่ประชุม พร้อมระบุว่า หากมีการชุมนุมเกิดขึ้นที่รัฐสภาอีก อย่าใช้ตำรวจชุดฆ่าประชาชนเหมือนที่ผ่านมา ต้องใช้ตำรวจที่มีความรู้ มีความคิด สามารถควบคุมประชาชนได้อย่างแท้จริง
ขณะที่ส.ส.พรรคพลังประชาชน อาทิ นายจตุพร พรหมพันธุ์ ส.ส.สัดส่วน อภิปรายว่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นมี วีซีดีอยู่ 2 ชุด สำหรับตนมีชุด"พันธมิตรฯ ฆ่าประชาชน" ซึ่งตนไม่อยากให้ด่วนสรุปเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ควรรอผลการสอบสวนโดยคณะกรรมการที่นายกรัฐมนตรีตั้งขึ้น ซึ่งไม่ว่ากรณีคาร์บอมบ์ หน้าพรรคชาติไทย หรือ น้องโบว์ (น.ส. อังคณา ระดับปัญญาวุฒิ ) ที่เสียชีวิตในเหตุการณ์นั้น ไม่เกี่ยวข้องกับรัฐสภา ทั้งนี้ ตนสนับสนุนการตัดสินใจเปิดประชุมของประธานรัฐสภา ส่วนการบอยคอตของส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ จะเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์คาร์บอมบ์ ที่มีคนของกลุ่มพันธมิตรฯ เสียชีวิตในที่เกิดเหตุ และจะมีการเตรียมการทำอะไรในสภาหรือไม่ คงต้องติดตามการตรวจสอบต่อไป
" คนเป็นสมาชิกรัฐสภา ต้องร่วมกันแก้ปัญหาไม่ใช่ไปพาพวกมาปิดล้อม ผมเชื่อว่า ถ้าผลสอบสวนออกมาระบุว่ารัฐบาลผิด ไม่มีใครหน้าด้านอยู่ต่อไป " นายจตุพร กล่าว
น.พ.อสิ มะหะมัดยังกี ส.ส.สตูล พรรคประชาธิปัตย์ อภิปรายว่า ตนเป็นผู้หนึ่งที่ถูกสะเก็ดระเบิด เนื่องจากได้เข้าไปสังเกตการณ์ชุมนุมด้วย แต่ยืนยันว่า ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องในการปิดล้อมรัฐสภา และตนไม่ได้หนีไปรักษาตัวที่บ้าน แต่การรักษาตนอาศัยหลักวิทยาศาสตร์ ไม่ใช่หลักไสยศาสตร์ อย่างไรก็ตาม ทราบว่ามีการปลุกระดมประชาชนทางโทรทัศน์ เอ็นบีที โดยคนเรียกว่า "สามเกลอหัวขาด" แต่ตนขอเรียกว่า "สามเกลอหัวเสีย" เพราะหัวมันเสียไปแล้ว ทำให้นายจตุพร ลุกขึ้นประท้วงให้ถอนคำพูดดังกล่าว ในที่สุด นพ.อสิ ยอมถอนคำพูด แต่ยังยืนยันว่า ตนถอนคำพูดได้ แต่ใจยังคิดอยู่
ต่อมา นายสามารถ ชี้แจงว่า ขณะนี้ประธานรัฐสภามีภารกิจอยู่ที่ต่างประเทศ ตนจะนำข้อคิดเห็นของสมาชิกนำเสนอ และคงต้องประชุมผู้เกี่ยวข้องต่อไป
จากนั้น ที่ประชุมได้พิจารณาวาระรับทราบรายงานผลการปฏิบัติงานประจำปี 2549 ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ อย่างไรก็ดี ส.ส.ทั้งสองฝ่าย ยังหยิบยกเหตุการณ์วันที่ 7 ต.ค. มาอภิปราย และตอบโต้กันอย่างเคร่งเครียด โดยส.ส.พรรคพลังประชาชน ได้ตำหนิการทำหน้าที่ของคณะกรรมการสิทธิฯว่า วางตัวไม่เห็นกลาง โดยนายบุญจง วงค์ไตรรัตน์ ส.ส.นครราชสีมา พรรคพลังประชาชน กล่าวว่า สงสัยความเที่ยงธรรมในการทำหน้าที่ของกก.สิทธิฯ เพราะ เหตุการณ์ 7 ต.ค. ผู้ชุมนุมวางแผนไม่ต้องการให้รัฐบาลแถลงนโยบาย ทั้งที่เป็นหน้าที่ของรัฐบาลและสภา การชุมนุมวันนั้น พร้อมก่อจลาจล ส.ส.ข้าราชการ สื่อ ถูกกักขังหน่วงเหนี่ยวอิสรภาพ หลายชั่วโมง แต่นายเสน่ห์ จามริก ประธานกก.สิทธิฯ ออกมาแถลงสรุปว่า เหตุการณ์สูญเสียวันดังกล่าว เกิดจากการที่รัฐบาลต้องการแถลงนโยบายให้ได้ ไม่ได้ทำตามกระบวนการยุติธรรม และเป็นฝ่ายผิด ตนขอถามว่า ทำไมจึงสรุปด้านเดียว และดูแต่ปลายเหตุ แต่ต้องดูต้นเหตุ คือการปิดล้อมไม่ให้สมาชิกมาทำหน้าที่ ด้านนายสาทิตย์ ขอให้กำลังใจกก.สิทธิฯในการกระตุกสำนึกของคนที่ใช้อำนาจรัฐ ทั้งนี้รายงานเมื่อปี 49 พบว่า เกิดการละเมิดสิทธิในกระบวนการยุติธรรมมากสุด และผู้ถูกกล่าวหามากสุดคือ ตำรวจ ก็สะท้อนถึงเหตุการณ์ 7 ต.ค. ด้วย
ส่วนที่มีส.ส.หนุนการเปิดทางให้สมาชิกเข้าสภาในวันดังกล่าว ขอถามว่า มีสมาชิกบาดเจ็บ ขาขาดกี่คน ส.ส.ออกมาพูดได้อย่างไรว่า คนที่มาชุมนุมจะเข้ามาฆ่า เลยต้องฆ่าก่อนหรือ เช้าวันดังกล่าว มีคนขาขาดที่ประตูทางเข้า เมื่อถึงขั้นนี้จะให้ผู้แทนข้ามเข้ามาประชุมหรือ สภาสามารถเลื่อนประชุมได้อีก 2 วัน แต่มีการอ้างความจำเป็น ถึงกับต้องสังเวยชีวิต และรัฐบาลก็ไม่ออกมารับผิดชอบ วันนี้นายกฯ ก็ไม่มาฟัง คนฝ่ายรัฐบาล ก็ประกาศว่าจะทำสงครามประชาชน เจตนายั่วยุให้เกิดการปะทะ ตนจึงสงสัยในท่าทีรัฐบาล เพราะที่มีการระดมคน เป็นกลุ่มของรัฐบาล วันนี้ตนห่วงมากว่า จะเกิดการนองเลือดครั้งใหญ่
พ.อ.อภิวันท์ วิริยะชัย รองประธานสภาคนที่ 2 ทำหน้าที่ประธานการประชุม ชี้แจงว่า ที่นายกฯ และรัฐมนตรีไม่มา เพราะตอนแรก กก.สิทธิฯ ประสานมาว่าไม่พร้อมมาชี้แจง ตนเลยจำต้องนำกฎหมายมาพิจารณาก่อน แต่ตอนบ่าย กก.สิทธิฯ แจ้งว่า พร้อม จึงถือเป็นความบกพร่องของตน ในการประสานกับ ครม.
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากนั้น ส.ส.ฝ่ายค้านและรัฐบาล สลับกันขึ้นอภิปราย โดย ส.ส.ฝ่ายรัฐบาลโดยเฉพาะพรรคพลังประชาชน อภิปรายโจมตีการทำหน้าที่ของกก.สิทธิฯ โดยพุ่งเป้าไปที่ นายเสน่ห์ ที่เคยออกมาหนุนรัฐประหาร 49 และรีบออกมาแถลงว่า เหตุการณ์ 7 ต.ค. รัฐบาลผิด จึงห่วงในวุฒิภาวะในการทำหน้าที่ ส่วนส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ ตั้งข้อสังเกตถึงการละเมิดสิทธิ ในกระบวนการยุติธรรม
จากนั้นนางสุนี ไชยรส กก.สิทธิฯ ชี้แจงว่าก่อนเกิดเหตุการณ์ 7 ต.ค. มีการละเมิดสิทธิมนุษยชนหลายกรณี สำหรับเหตุการณ์ 7 ต.ค. คณะกรรมการสิทธิฯ อยู่ระหว่างการทำรายงานตรวจสอบข้อเท็จจริงทั้งหมด โดยได้มีโอกาสไปเยี่ยมประชาชนผู้บาดเจ็บในเหตุการณ์ ส่วนตำรวจที่ปฏิบัติหน้าที่ ได้ไปเยี่ยมเช่นกัน แต่ไม่สามารถเข้าไปพบได้ เนื่องจากยังอยู่ระหว่างการพักรักษาตัวในห้องไอซียู แต่เสียใจที่มีการใช้แก๊สน้ำตาเข้าสลายการชุมนุม ซึ่งทำให้เกิดบรรยากาศที่น่ากลัว ทำให้ประชาชนแขนขาด ขาขาด ซึ่งกก.สิทธิฯ มีมติให้ตรวจสอบว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น มีข้อเท็จจริงอย่างไร
นอกจากนี้ ยังได้รับการร้องเรียนจาก นายตี๋ (ชิงชัย เจริญอุดมกิจ ศิลปินนักวาดรูป) ที่ถูกกล่าวหาว่ากำระเบิดในมือ และน้องโบว์ (น.ส. อังคณา ระดับปัญญาวุฒิ ) มีระเบิดติดตัวอยู่ ซึ่งเป็นที่น่าสลดใจในความสูญเสียที่เกิดขึ้น และเสื่อมเสียเกียรติของครอบครัวทั้งสอง คนที่ถูกกล่าวหา ซึ่งต้องตรวจสอบข้อเท็จจริงต่อไป คณะกรรมการสิทธิฯ ไม่ได้ต้องการประณามฝ่ายใดทั้งสิ้น แต่มีหน้าที่พิจารณาสิ่งที่เกิดขึ้นโดยยึดหลักความเป็นธรรม
นางสุนี กล่าวว่า จาการตรวจสอบที่เกิดขึ้น ฝ่ายตำรวจได้ออกมายอมรับว่า มีการใช้แก๊สน้ำตาสลายการชุมนุมมากเกินไป ดังนั้น กก.สิทธิฯ ต้องการออกมาป้องปรามไม่ให้เกิดความรุนแรงอีก แต่รายงานนี้ยังไม่สมบูรณ์ หากตรวจสอบข้อเท็จจริงเรียบร้อยเมื่อไร จะส่งให้สภารับทราบต่อไป ทั้งนี้ กก.สิทธิฯ เน้นการตรวจสอบการใช้อำนาจ ของรัฐเป็นประเด็นหลัก และต้องการให้ผลการตรวจสอบครั้งนี้เป็นบรรทัดฐานในการควบคุมการชุมนุมด้วยความสงบ และไม่ใช้ความรุนแรงต่อไป