ผู้จัดการรายวัน - แฉประชุม 3 ฝ่ายแหกตา รองประธานวุฒิฯ “นิคม ไวยรัชพานิช” เข้าร่วมโดยพลการ “ประสพสุข” ยันไม่ได้มอบหมายจึงถือเป็นเรื่องส่วนตัว ไม่ใช่มติของ ส.ว.ส่วนใหญ่ ยอมรับหวั่นเกิดนองเลือด แฉ “นิคม” สัมพันธ์ใกล้ชิดกลุ่มบ้านริมน้ำ ตั้ง ส.ส.ร.3 จึงเป็นแค่มติ 1 ฝ่าย “สมชาย” ตะแบงดันแก้ ม.291 สัปดาห์หน้า ตั้ง ส.ส.ร.120 คน ยกร่าง รธน.ให้เสร็จใน 8 เดือน เชื่อที่สุด ส.ส.ร.มีแต่พวกรัฐบาล ยกร่าง รธน.อิงฉบับของ นปก. "อภิสิทธิ์" ชี้แค่เบี่ยงเบนประเด็น นักวิชาการติงแก้วิกฤตไ ม่ได้
กรณีการประชุม 3 ฝ่าย วานนี้ (20 ต.ค.) ที่อ้างว่า มีตัวแทนจากฝ่ายรัฐบาล สภาผู้แทนราษฎร และวุฒิสภา เข้าร่วมประชุมและมีมติที่จะร่วมกันแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 291 เพื่อให้มีการจัดตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญ ชุดที่ 3 (ส.ส.ร.3) ขึ้นมายกร่างรัฐธรรมนูญใหม่นั้น รายงานข่าวจากสมาชิกวุฒิสภา เปิดเผยว่า ความจริงแล้วเป็นการประชุมเพียง 1 ฝ่ายเท่านั้น คือ ฝ่ายรัฐบาล ซึ่งมาจากพรรคพลังประชาชนและพรรคร่วมรัฐบาลอีก 5 พรรค ส่วนสภาผู้แทนราษฎร ก็คือพรรคพลังประชาชน และพรรคร่วมรัฐบาลอีก 5 พรรคเช่นเดียวกัน เนื่องจากพรรคฝ่ายค้าน คือ พรรคประชาธิปัตย์ ประกาศบอยคอตไม่เข้าร่วมการประชุม
ในส่วนของวุฒิสภา นายประสพสุข บุญเดช ประธานวุฒิสภานั้นไมได้เข้าร่วมประชุม เพราะหลังจากเดินทางกลับจากต่างประเทศได้ใคร่ครวญของเสนอของกลุ่ม 40 ส.ว.แล้ว จึงได้ลาการประชุม และไม่ได้มอบหมายให้รองประธานวุฒิสภาคนใดเข้าร่วม ส่วนกรณีที นายนิคม ไวยรัชพานิช รองประธานวุฒิสภาคนที่ 1 เข้าร่วมประชุมนั้น เป็นเรื่องที่ทางฝ่ายรัฐบาลมาตามนายนิคมไปร่วมประชุมเองโดยพลการ
นอกจากนี้ นายนิคม เอง ก็เป็น ส.ว.ฉะเชิงเทรา และมีศักดิ์เป็นน้าของ นายสุชาติ ตันเจริญ อดีตกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทย หัวหน้ากลุ่มบ้านริมน้ำ และได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ว.โดยอาศัยฐานเสียงของนายสุชาติ การเข้าร่วมประชุมของ นายนิคม จึงเป็นการเข้าร่วมโดยมิได้รับมอบหมายจากประธานวุฒิสภา และไม่ได้รับความเห็นชอบจาก ส.ว.ส่วนใหญ่ ตามที่ นายชัย ชิดชอบ ประธานสภาผู้แทนราษฎรกล่าวอ้าง เนื่องจากไม่ได้มีการเรียกประชุมและลงมติในเรื่องดังกล่าว
“การไปของนายนิคมไม่ได้รับมอบหมายจากประธานวุฒิสภา และนายนิคม ก็เป็นพวกเดียวกับรัฐบาล เนื่องจากได้รับเลือกตั้งเพราะฐานเสียงนายสุชาติ ที่บอกว่าการตั้ง ส.ส.ร. 3 เป็นมติ 3 ฝ่ายจึงเป็นความไม่จริง เป็นแค่มติ 1 ฝ่าย ที่เสนอเอง เออเอง และสรุปเอง” แหล่งข่าวระบุ
นายประสพสุข กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า หลังจากที่ตนได้แจ้งให้นายกรัฐมนตรีทราบเพื่อขอลาไม่เข้าร่วมประชุม 4 ฝ่าย ก็ไม่ได้มีคำสั่ง หรือ ออกหนังสือให้นายนิคม หรือ สมาชิกวุฒิสภาคนหนึ่งคนใดเข้าร่วมประชุมในฐานะตัวแทนวุฒิสภา และวุฒิสภาไม่ได้มีมติเสียงข้างมากให้สมาชิกเข้าร่วมประชุม 4 ฝ่ายด้วย ดังนั้น การเข้าร่วมประชุมของ นายนิคม ถือเป็นความคิดเห็นส่วนตัว ไม่เกี่ยวกับมติของวุฒิสภา ซึ่งตนได้แสดงจุดยืนตั้งแต่ต้นแล้ว ว่า ไม่ว่าจะเป็นใครก็ตาม หรือแม้แต่ตนเมื่อเข้าร่วมประชุมก็ถือเป็นสิทธิ์และความเห็นส่วนตัวของแต่ละคนไม่ใช่เป็นมติของวุฒิสภาแต่อย่างใด
เมื่อถามว่า ประธานวุฒิสภาได้แสดงจุดยืนชัดเจนแล้ว แต่รัฐบาลยังเดินหน้าตั้ง ส.ส.ร.3 จะนำไปสู่ความรุนแรงหรือไม่ ประธานวุฒิสภา กล่าวว่า เรื่องนี้ตนก็เป็นกังวลเช่นเดียวกัน จึงได้แสดงจุดยืนออกไป เพราะขณะนี้เกิดความเห็นที่แตกต่างในเรื่องของการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ดังนั้นเมื่อเห็นว่าจะเกิดความขัดแย้งขึ้น จึงอยากให้ทุกฝ่ายที่มีส่วนเกี่ยวข้องได้ดำเนินการอย่างระมัดระวัง และรอบคอบด้วย
นายสมชาย แสวงการ ส.ว.สรรหา แกนนำกลุ่ม 40 ส..ว.กล่าวว่า การที่นายประสพสุขไม่เข้าร่วมประชุม 4 ฝ่าย ต้องขอบคุณ ประธานวุฒิสภา ที่ให้ความสำคัญกับสมาชิกทุกฝ่ายอย่างเท่าเทียมกัน และวางตัว เป็นผู้ใหญ่ของบ้านเมือง โดยหลังจากที่ นายประสพสุข ได้แจ้งให้ นายกรัฐมนตรีทราบก็กรณีไม่เข้าร่วมประชุม 4 ฝ่าย ตนได้เข้า พบกับประธาน เพื่อชี้แจงและขอโทษประธานวุฒิสภาว่า 40 ส.ว. ไม่ได้ต้องการ กดดันประธานวุฒิสภาแต่อย่างใด พร้อมทั้งชี้แจงเหตุผลของการไม่เห็นด้วยกับการตั้ง ส.ส.ร.3 ว่าไม่ได้มาจากส่วนร่วมของประชาชนอย่างแท้จริง เพราะหลังจากเกิด เหตุการณ์ความรุนแรง 7 ต.ค.ที่ผ่านมา การตั้ง ส.ส.ร.ไม่ได้เป็นทางออกที่เหมาะสมของวิกฤติการเมืองไทย ซึ่งนายประสพสุข ก็เข้าใจเหตุผลของ 40 ส.ว.
ส.ว.ระบุเป็นการประชุม 2 ฝ่ายเท่านั้น
นายสมชาย กล่าวว่า การตั้ง ส.ส.ร.3 จะเรียกว่าเป็นมติของที่ประชุม 4 ฝ่ายไม่ได้ เพราะไม่ได้มีประธานวุฒิสภา และผู้นำฝ่ายค้าน จึงเป็นเพียงการประชุม 2 ฝ่ายคือ ฝ่ายประธานสภาฯ กับฝ่ายรัฐบาล กับหัวหน้าพรรคการเมือง ที่เป็นฝ่ายรัฐบาลเช่นเดียวกัน ดังนั้นจะหวังให้สังคมยอมรับได้คงเป็นเรื่องอยากเพราะขบวนการ ในการยกร่างไม่ชอบธรรมตั้งแต่ต้น แต่เป็นความพยายามรวบรัดให้เกิด ส.ส.ร.3
ส่วนที่ นายสุขุมพงศ์ โง่นคำ อ้างว่าที่มติที่ประชุม 4 ฝ่ายชอบด้วยกฎหมาย เพราะมีตัวแทนจากวุฒิสภาเข้าร่วม นายสมชาย กล่าวว่า การที่นาย นิคม ไวยรัชพานิช รองประธานวุฒิสภา เข้าร่วมประชุมด้วยไม่ถือว่าเป็นมติของวุฒิสภาเสียงส่วนใหญ่ ดังนั้นแนวคิดทั้งหมดจึงเป็นเพียงความเห็นส่วนตัวของวุฒิสภาคนหนึ่งที่เข้าร่วมประชุม ไม่สามารถที่จะเอามาอ้างความชอบธรรมได้ โดยหลังจากนี้ 40 ส.ว.จะได้เดินหน้า ทำความเข้าใจกับสมาชิกทั้งหมดว่าเป็นเพราะเหตุใดจึงไม่เห็นด้วยกับการแก้ไขมาตรา 291
แฉประชุมตั้ง ส.ส.ร.แค่สร้างภาพ
“ความจริงตามมาตรา 291 วรรคแรก กำหนดให้คณะรัฐมนตรี และส.ส. จำนวนไม่น้อยกว่า 1 ใน 5 ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าทีมีอยู่ของส.ส.หรือจากทั้ง ส.ส.และ ส.ว.ไม่น้อยกว่า 1ใน 5 ของจำนวนสมาชิกทั้งสองสภา สามรถเข้าชื่อเสนอ แก้ไขกฎหมายได้อยู่แล้ว แต่ ครม.และ ส.ส.ซีกรัฐบาลกลับไม่ทำ เพราะเห็นว่าจะถูกต่อต้านจากสังคมเนื่องจากก่อนหน้านี้ได้พยายามจะแก้หลายครั้งแต่ไม่สำเร็จ ดังนั้นต้องปลอมตัวเข้ามาเป็น ส.ส.ร.3 เพื่อสร้างภาพให้สังคมเข้าใจได้ว่าไม่ได้เกิดจาก ครม.และสส.ซีกพรรคร่วมรัฐบาล”
นายสมชาย กล่าวว่า การเดินหน้าตั้ง ส.ส.ร.3 ของการประชุมร่วม 2 ฝ่ายครั้งนี้มีธงตั้งแต่แรกอยู่แล้ว การอ้างว่าที่มาของ ส.ส.ร.มาจากตัวแทนภาคประชาชนทั้ง 67 จังหวัด รวมถึงสายนักวิชการด้านรัฐศาสตร์ นิติศาสตร์ และนักกฎหมายมหาชนอีก 24 และตัวแทนจากสาขาอาชีพอีก 20 คน สุดท้ายแล้วเชื่อว่ารัฐบาลจะส่งคนของตัวเองเข้าไปทั้งหมด เพราะมีการประเมินกันตั้งแต่ต้นแล้วว่าโครงสร้างของ ส.ส.ร. ตามรูปแบบดังกล่าวนี้รัฐบาลสามารถคอนโทลได้ แม้ว่าในเบื้องต้นจะเปิดทางแก้ไข เฉพาะมาตรา 291 เพื่อตั้ง ส.ส.ร.3 แต่สุดท้ายเชื่อว่าในชั้น ส.ส.ร.3 จะมีการรุกคืบ แก้มาตราอื่นๆ อีกที่เป็นปัญหากับพรรคร่วมรัฐบาลไม่ว่าจะเป็นมาตรา 190 มาตรา 237 และมาตรา 309 ทั้งหมดนี้คือเป้าหมายสำคัญของพรรคร่วมรัฐบาล
จะเห็นได้ว่า กระบวนการตั้ง ส.ส.ร.3 ไม่ได้มีความจริงใจมาตั้งแต่ต้น เพราะก่อนหน้าทีประธานสภาได้บรรจุร่างแก้ไขของ คปพร.ซึ่งมี นพ.เหวง โตจิราการ เครือข่าย นปก. เข้าสู่ระเบียบวาระไปเรียบร้อยแล้ว และวาระยังค้างพิจารณาอยู่ และสุดท้ายมีการเสนอ ส.ส.ร.3 เข้ามาอีก แนวทางการแก้ไขรัฐธรรมนูญจึงไม่ได้แตกต่างจากร่างของ นปก.
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในการประชุมฯ วานนี้ มีนายชัย ชิดชอบ ประธานสภาผู้แทนราษฎร นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ นายกรัฐมนตรี พร้อมตัวแทนพรรคการเมือง ประกอบด้วย นายเสนาะ เทียนทอง หัวหน้าพรรคประชาราช นางอนงค์วรรณ เทพสุทิน หัวหน้าพรรคมัชฌิมาธิปไตย นายไชยยศ จิรเมธากร ตัวแทนพรรคเพื่อแผ่นดิน นายนิกร จำนง ตัวแทนพรรคชาติไทย พล.อ.เชษฐา ฐานะจาโร หัวหน้าพรรครวมใจไทยชาติพัฒนา โดยไม่มี นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ และผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร เข้าร่วม
ผลประชุมแก้ รธน.ตั้ง ส.ส.ร. 120 คน
นายสุขุมพงศ์ โง่นคำ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกฯ ในฐานะประธานคณะกรรมการยกร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 291 แถลงภายหลังการประชุมว่า ที่ประชุมมีมติเป็นเอกฉันท์เห็นชอบแนวทางการแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 291 เพื่อนำไปสู่ การตั้งส.ส.ร.3 โดยเห็นชอบตามแนวทางของนายนิคม ไวยรัชพานิชย์ รองประธานวุฒิสภา เสนอ ให้มี ส.ส.ร.จำนวน 120 คน มาจากตัวแทนจังหวัด 76 คน จาก 76 จังหวัด และจากผู้ทรงคุณวุฒิ ด้านนิติศาสตร์ รัฐศาสตร์ และกฎหมายมหาชน อย่างละ 8 รวม 24 คน และตัวแทนกลุ่ม สาขาอาชีพ อีก 20 คน โดยทั้งหมดจะมาจากการเลือกตั้งโดยอ้อม ซึ่งจะมีการเปิดรับสมัครและให้ผู้สมัครคัดเลือกกันเองตามสัดส่วนที่กำหนด ส่วนกรอบเวลาในการทำงานของ ส.ส.ร.นั้นจะไม่เกิน 240 วัน หรือ 8 เดือน หลังจากยกร่างรัฐธรรมนูญเสร็จก็เสนอให้รัฐสภาพิจารณาว่าเห็นชอบหรือไม่ หากเห็นชอบก็นำขึ้นทูลเกล้าฯ เพื่อลงพระปรมาภิไธย แต่หากไม่เห็นชอบก็ให้นำร่างรัฐธรรมนูญไปทำประชามติ ซึ่งการประชุม 4 ฝ่ายถ ือว่าเสร็จสิ้นแล้วจะไม่มีการประชุมอีก
นายสุขุมพงศ์ กล่าวว่า หลังจากนี้ตนในฐานะประธานฯ จะได้ไปยกร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 291พร้อมทั้งรายละเอียด เพื่อเสนอต่อวุฒิสภา โดยจะให้มีสมาชิกรัฐสภาร่วมลงนามเสนอให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ซึ่งตามรัฐธรรมนูญ กำหนดไว้ 1 ใน 5 ของจำนวนสมาชิกรัฐสภา โดยคาดว่าจะมีการเสนอให้ประธานรัฐสภาได้ในสัปดาห์หน้า โดยประธานรัฐสภาจะเรียกประชุมรัฐสภาเพื่อพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 291 ภายในสัปดาห์หน้า ซึ่งขั้นตอนการเสนอเข้าสู่ที่ประชุมร่วมรัฐสภา จะต้องมีการตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญขั้นมาศึกษา โดยตามข้อบังคับต้องทำให้เสร็จภายใน 45-60 วัน แต่ถ้าเร่งจริง ๆ ก็อาจเสร็จภายใน 30 วัน
ปัดหวังยื้อเวลาให้รัฐบาล
อย่างไรก็ตาม เงื่อนไขการตั้ง ส.ส.ร.ครั้งนี้ไม่ได้เป็นการยื้อเวลาหรือต่ออายุ ของนายกฯ ออกไปอีก 2 เดือน และมั่นใจว่าการทำงานของ ส.ส.ร.จะไม่มีการแทรกแซง ทางการเมือง โดยประธานสภาจะออกประกาศกำชับอีกครั้งหนึ่ง เพื่อป้องกันการครอบงำ ให้ ส.ส.ร.มีอิสระในการทำงานอย่างแท้จริง
ผู้สื่อข่าวถามว่า การตั้ง ส.ส.ร.3 จะเป็นการสะสมปัญหาความขัดแย้งหรือไม่ นายสุขุมพงศ์ กล่าวว่า ที่ประชุมได้หารือกันแล้วเห็นว่าไม่ใช่การสะสมปัญหา แต่เป็นการแก้ปัญหามากกว่า และไม่กลัวคำขู่ของเครือข่ายพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ที่จะชุมนุมทุกที่ที่มีการประชุม ส.ส.ร. เพราะเป็นสิทธิ เราไม่สามารถขัดขวางได้ แต่มั่นใจว่าการแก้รัฐธรรมนูญเป็นทางออกของวิกฤตที่ดีที่สุด และไม่ควรมองว่าพรรครัฐบาลจะได้ประโยชน์แต่คิดว่าการตั้งส.ส.ร.3 ประเทศจะได้ประโยชน์มากที่สุด
ส่วนการตั้ง ส.ส.ร.หากนำสู่ความขัดแย้งขั้นรุนแรงใครจะรับผิดชอบ นายสุขุมพงศ์ กล่าวว่า ตามรัฐธรรมนูญและตามกฎหมายทุกคนต้องรับผิดชอบร่วมกัน ต่อข้อถามว่าเกรงว่าส.ส.ร.3 จะไปไม่รอดเพราะเป็นการผลักดันเพียงสองฝ่ายคือรัฐบาลกับสภาผู้แทนราษฎรเท่านั้น นายสุขุมพงศ์ กล่าวว่า มติที่เข้าร่วมประชุมครั้งนี้เป็นเสียงส่วนใหญ่ แม้ว่าประธานวุฒิสภาจะไม่เข้าร่วมประชุม แต่ได้ส่งให้รองประธานวุฒิสภาเข้าประชุมแทน ซึ่งถือว่าเป็นมติส่วนใหญ่ของวุฒิสภาที่ให้เข้าร่วมประชุม ไม่จำเป็นต้องขอมติจากที่ประชุมวุฒิสภาอีก
นายกฯ อ้างวุฒิฯ ส่งรอง ปธ.ประชุม
ด้าน นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ให้สัมภาษณ์ภายหลังการประชุม 3 ฝ่ายว่า ทางฝ่ายวุฒิสภาให้รองประธานวุฒิสภาเข้าร่วมประชุมแทน ซึ่งการแก้ไขรัฐธรรมนูญจะดำเนินการต่อไป และให้ประธานสภาเป็นผู้แถลง ไม่มีอะไรหนักใจ ที่ประชุมเห็นตรงกันให้ดำเนินการต่อไป
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ก่อนหน้านี้ หลังนายประสพสุข ร่วม ทำพิธีเสดราะเคราะห์ และบวงทรวงขอขมาทวยเทพทั้งมวล หลังเกิดเหตุการณ์การสลายการชุมนุม เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม จนมีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บเป็นจำนวนมาก ร่วมกับ นายชัย ชิดชอบ ประธานรัฐสภา และนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ นายกรัฐมนตรี ปรากฎว่าน.ส. ทัศนา บุญทอง รองประธานวุฒิสภา คนที่ 2 ได้เดินเข้ามาหานายประสพสุข พร้อมกับกล่าวว่า มีส.ว. จำนวน หนึ่งมาขอพบเพื่อหารือ กรณีที่จะเข้าร่วมประชุม 4 ฝ่าย โดยมีสีหน้าเคร่งเครียด
จากนั้น นายประสพสุขได้ขอหารือกับนายสมชายเป็นการส่วนตัวที่ห้องรับรองประธานสภา โดยใช้เวลาหารือประมาณ 5 นาที ภายหลังการหารือนายประสพสุข เปิดเผย ว่า ตนได้แจ้งขอลาการประชุม เนื่องจากติดภารกิจสำคัญ ยืนยันว่า ไม่ได้มีการกดดันจาก 40 ส.ว. แต่อย่างใด และเชื่อว่ารัฐบาลจะหาทางออกให้กับสังคมได้
ผู้สื่อข่าวถามว่า การที่ไม่เข้าร่วมประชุม 4 ฝ่ายครั้งนี้จะส่งผลต่อการตั้ง ส.ส.ร.3 หรือไม่ นายประสพสุขปฏิเสธที่จะตอบคำถามโดยระบุว่าตนไม่เข้าร่วมประชุมทุกฝ่าย ก็สามารถที่จะทำหน้าที่ได้ จากนั้นนายประสพสุขได้เข้าหารือกับแกนนำ 40 ส.ว. ที่ห้องรับรองประธานวุฒิสภา อาคารรัฐสภา 2
ระบุตั้ง ส.ส.ร.แค่เบี่ยงเบนประเด็น
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ผู้นำฝ่ายค้านในรัฐสภา และหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่าตนได้ทำหนังสือถึงประธานสภาฯแล้วว่าพรรคจะไม่ส่งใครเข้าร่วมประชุมเพราะ สถานการณ์บ้านเมืองขณะนี้เลยจุดที่จะพูดถึงการตั้ง ส.ส.ร.ไปแล้ว และไม่ควรจะนำเรื่องนี้มาเป็นข้ออ้างหรือเบี่ยงเบนประเด็นจากสภาพปัญหาของบ้านเมืองที่แท้จริง ในขณะนี้ ซึ่งหลังจากเหตุการณ์เมื่อวันที่ 7 ต.ค.เป็นต้นมา ส.ส.ร.ก็ได้ถูกหยิบยกเป็นข้ออ้างของการที่รัฐบาลจะไม่แสดงความรับผิดชอบใดๆ และปล่อยให้สภาพปัญหาของบ้านเมือง เรื่องเศรษฐกิจ และปัญหาต่างๆ ไม่ได้รับการแก้ไข
ส่วนที่ประธานวุฒิสภาไม่เข้าร่วมประชุม 4 ฝ่ายด้วย รัฐบาลควรนำเรื่องนี้ ไปไตร่ตรองดูหรือไม่ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่าการประชุมดังกล่าวเป็นเพียงแค่เสียง ข้างมากของสภา รัฐบาลควรทบทวนได้แล้วว่าที่ดึงดันกันและพยายามเอาเรื่องนี้ มาเบี่ยงเบนหรือกลบเกลื่อนคงไม่ใช่เรื่องที่จะทำง่ายๆเพาะสังคมเขารู้ทัน ส่วนการประชุมสภาวันที่ 22 ต.ค.นี้ พรรคจะมีการประชุม ส.ส.เพื่อพิจารณาก่อนว่าจะทำอย่างไร
ส่วนที่ที่มีการระดมมวลชนมาสนับสนุนในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า เป็นปัญหาซึ่งเรื้อรัง และวันนี้น่าจะต้องมาคุยทางออกของบ้านเมือง ที่เป็นปัญหาเฉพาะหน้าเสียก่อนว่าปัญหาวิกฤติทางการเมืองที่เกิดขึ้นส่งผล กระทบต่อทุกสิ่งทุกอย่างและทำให้ประชาชน มีความยากลำบากในเรื่องปัญหาปากท้อง และมีความตรึงเครียด รวมทั้งการเสื่อมศรัทธาในตัวการเมือง
“ผมก็ไม่เข้าใจ นอกจากนายกฯจะไม่แสดงความรับผิดชอบต่อสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นแล้ว ยังไม่รับผิดชอบต่ออนาคตของประเทศชาติบ้านเมืองด้วย เพราะว่านำทั้งประชาธิปไตย และชีวิตของคนไทยเข้าไปเสี่ยงอยู่ตอดเวลาโดยไม่สามารถ ตอบได้ว่าเพื่ออะไร”
จวกดื้อด้านอยู่เพื่อประโยชน์ตัวเอง
ผู้สื่อข่าวถามว่า สังคมทุกฝ่ายในเวลานี้ออกมากดดันนายกฯหมดแล้ว แม้แต่ทหาร คิดว่ายังมีอะไรที่ทำให้นายกฯเมินเฉยต่อท่าทีเหล่านี้ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ตัวนายกฯเองก็ต้องคิดว่าที่อยู่ไปทุกวันนี้เพื่ออะไร ตนไม่เห็นว่าการอยู่ของท่านในขณะนี้ ได้แก้ปัญหาอะไรให้ใคร ไม่ว่าจะเป็นเกษตรกรที่เดือดร้อนจากผลผลิตทางการเกษตร ที่ตกต่ำ ความตรึงเครียดของสถานการณ์ชายแดนไทยกัมพูชา หรือปัญหาอะไรก็แล้วแต่ ตนมองไม่เห็นเลยว่าขณะนี้ที่นายกฯดำรงอยู่เพื่ออะไร
“ที่อ้างว่าสู้ต่อเพราะ 6 พรรคร่วมรัฐบาลเห็นด้วยและจะต้องทำภารกิจให้เสร็จ 3อย่างนั้น ผมคิดว่าถ้าพรรคร่วมยึดประโยชน์ของตัวเองก็เป็นอีกเรื่อง ก็บอกมาตรงๆ ดีกว่าไม่ต้องอ้างเรื่องนี้”
นักวิชาการประสานเสียงต้าน
นายปริญญา เทวานฤมิตรกุล รองอธิการบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา มหาวิทยาลับธรรมศาสตร์ กล่าวว่า ส.ส.ร.3 ที่รัฐบาลกำลังดำเนินการอยู่นั้น จะแก้ไขวิกฤติทางการเมืองไม่ได้ เพราะรัฐธรรมนูญจำเป็นต้องมีการแก้ไขทั้งฉบับ และหากใช้เสียงข้างมาก อีกฝ่ายจะไม่ยอมรับรัฐธรรมนูญ ซึ่งหมายความว่าจะไม่เป็นสัญญาประชาคม แต่จะอยู่ในลักษณะทีใครทีมันมากกว่า
นายปริญญา กล่าวว่า ขอเสนอให้คณะกรรมการยกร่างแก้ไข รัฐธรรมนูญ มาตรา 291 เพื่อให้มี ส.ส.ร.ที่ปฏิบัติหน้าที่อยู่ยุติบทบาท เพราะหากปฏิบัติหน้าที่ต่อไป จะทำให้เกิดปัญหามากขึ้น และขอเสนอทางออกให้รัฐสภาเป็นผู้คัดสรรคณะกรรมการ ที่มีความอิสระจริงๆ แล้วเสนอให้ทุกฝ่ายยอมรับ จากนั้นรัฐบาลก็ยุบสภา แต่คณะกรรมการดังกล่าวยังคงปฏิบัติหน้าที่ต่อไป เพื่อให้ประเทศไทยมีรัฐธรรมนูญฉบับสุดท้ายเสียที
นายสุริชัย หวันแก้ว ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า รัฐบาลไม่ควรดึงดันตั้ง ส.ส.ร.3 เพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญ ในขณะที่สถานการณ์ บ้านเมืองมีความผิดปกติ แต่รัฐบาลควรความไว้วางใจ โดยการฟังความเห็น จากทุกกลุ่ม
แต่เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกลับชี้ให้เห็นว่า รัฐบาลไม่ได้คำนึงถึงความแตกแยก ในปัจจุบัน ทั้งที่มีผู้คนส่วนหนึ่งมองว่ารัฐบาลบกพร่องทางจริยธรรมขั้นรุนแรง และรัฐบาลไม่มีความชอบธรรมในการบริหารประเทศ ดังนั้น หากยังเดินหน้าต่อ เชื่อว่าจะแก้ปัญหาไม่ได้ รัฐบาลไม่ควรหักหาน และควรยุติการดำเนินการในลักษณะของพวกมากลากไป หรือการฉวยโอกาส ซึ่งจะไม่เกิดประโยชน์แก่ส่วนรวม
ด้าน นายลิขิต ธีระเวคิน นักวิชาการอิสระ กล่าวว่า การเดินหน้าตั้ง ส.ส.ร.ของรัฐบาลไม่ใช่ทางออกในการแก้วิกฤตอ ตามที่รัฐบาลชี้แจงผ่านนายสุขุมพงศ์ โง่นคำ เป็นการซื้อเวลาของรัฐบาล และไม่เชื่อว่าจะนำไปสู่การแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญอย่างที่รัฐบาลกล่าวอ้าง เพราะวิกฤตทางการเมืองในขณะนี้กำลังใกล้ถึงจุดเปลี่ยน ซึ่งจะทำให้การตั้ง ส.ส.ร.เพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญไม่สามารถเดินหน้าต่อไปได้ จึงเรียกร้องประธานวุฒิสภาพิจารณาใคร่ครวญให้ดี เพราะทางออกที่เสนอขึ้นมาไม่ใช่หนทางแก้ปัญหา
รศ.ดร.อดิศร เนาวนนท์ รองคณะบดีคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา กล่าวว่าส่วนตัวคิดว่าการตั้ง ส.ส.ร.3 ไม่สามารถแก้ไขปัญหาต่างๆ ให้ยุติได้ เนื่องจากกลุ่มพันธมิตรฯ ตั้งธงเอาไว้ชัดเจนว่า ไม่ยอมรับอย่างเด็ดขาด มองแล้วการจัดตั้ง ส.ส.ร.3 เป็นเพียงการยื้อเวลาของรัฐบาล และทำให้รัฐบาลสามารถ มีส่วนกดดันให้ ส.ส.ร.3 แก้ไขรัฐธรรมนูญบางข้อ เพื่อเอื้อประโยชน์แก่รัฐบาล
“หากรัฐบาลดื้อดึงจะจัดตั้ง ส.ส.ร.3 ไม่ฟังเสียงกลุ่มพันธมิตรฯ คาดว่าบ้านเมืองต้องเข้าสู่กลียุค หนทางแก้ไขปัญหาและยุติความรุนแรงมีเพียงการยุบสภา ถึงการต่อต้านจากกลุ่มพันธมิตรฯอีกครั้งก็จำเป็นที่จะต้องทำ เพื่อให้กระบวนการทุกอย่างเริ่มต้นใหม่ ทำให้ปัญหาความขัดแยงขณะนี้หยุดลง และหากยุบสภามีการเลือกตั้งใหม่แและส.ส.หรือรัฐบาลยังเป็นชุดเดิมแล้วกลุ่มพันธมิตรฯยังออกมาเคลื่อนไหวต่อต้าน กลุ่มพันธมิตรฯจะหมดความชอบธรรม ในการเคลื่อนไหวและจะไม่ได้รับการยอมรับจากประชาชนเอง”
กรณีการประชุม 3 ฝ่าย วานนี้ (20 ต.ค.) ที่อ้างว่า มีตัวแทนจากฝ่ายรัฐบาล สภาผู้แทนราษฎร และวุฒิสภา เข้าร่วมประชุมและมีมติที่จะร่วมกันแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 291 เพื่อให้มีการจัดตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญ ชุดที่ 3 (ส.ส.ร.3) ขึ้นมายกร่างรัฐธรรมนูญใหม่นั้น รายงานข่าวจากสมาชิกวุฒิสภา เปิดเผยว่า ความจริงแล้วเป็นการประชุมเพียง 1 ฝ่ายเท่านั้น คือ ฝ่ายรัฐบาล ซึ่งมาจากพรรคพลังประชาชนและพรรคร่วมรัฐบาลอีก 5 พรรค ส่วนสภาผู้แทนราษฎร ก็คือพรรคพลังประชาชน และพรรคร่วมรัฐบาลอีก 5 พรรคเช่นเดียวกัน เนื่องจากพรรคฝ่ายค้าน คือ พรรคประชาธิปัตย์ ประกาศบอยคอตไม่เข้าร่วมการประชุม
ในส่วนของวุฒิสภา นายประสพสุข บุญเดช ประธานวุฒิสภานั้นไมได้เข้าร่วมประชุม เพราะหลังจากเดินทางกลับจากต่างประเทศได้ใคร่ครวญของเสนอของกลุ่ม 40 ส.ว.แล้ว จึงได้ลาการประชุม และไม่ได้มอบหมายให้รองประธานวุฒิสภาคนใดเข้าร่วม ส่วนกรณีที นายนิคม ไวยรัชพานิช รองประธานวุฒิสภาคนที่ 1 เข้าร่วมประชุมนั้น เป็นเรื่องที่ทางฝ่ายรัฐบาลมาตามนายนิคมไปร่วมประชุมเองโดยพลการ
นอกจากนี้ นายนิคม เอง ก็เป็น ส.ว.ฉะเชิงเทรา และมีศักดิ์เป็นน้าของ นายสุชาติ ตันเจริญ อดีตกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทย หัวหน้ากลุ่มบ้านริมน้ำ และได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ว.โดยอาศัยฐานเสียงของนายสุชาติ การเข้าร่วมประชุมของ นายนิคม จึงเป็นการเข้าร่วมโดยมิได้รับมอบหมายจากประธานวุฒิสภา และไม่ได้รับความเห็นชอบจาก ส.ว.ส่วนใหญ่ ตามที่ นายชัย ชิดชอบ ประธานสภาผู้แทนราษฎรกล่าวอ้าง เนื่องจากไม่ได้มีการเรียกประชุมและลงมติในเรื่องดังกล่าว
“การไปของนายนิคมไม่ได้รับมอบหมายจากประธานวุฒิสภา และนายนิคม ก็เป็นพวกเดียวกับรัฐบาล เนื่องจากได้รับเลือกตั้งเพราะฐานเสียงนายสุชาติ ที่บอกว่าการตั้ง ส.ส.ร. 3 เป็นมติ 3 ฝ่ายจึงเป็นความไม่จริง เป็นแค่มติ 1 ฝ่าย ที่เสนอเอง เออเอง และสรุปเอง” แหล่งข่าวระบุ
นายประสพสุข กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า หลังจากที่ตนได้แจ้งให้นายกรัฐมนตรีทราบเพื่อขอลาไม่เข้าร่วมประชุม 4 ฝ่าย ก็ไม่ได้มีคำสั่ง หรือ ออกหนังสือให้นายนิคม หรือ สมาชิกวุฒิสภาคนหนึ่งคนใดเข้าร่วมประชุมในฐานะตัวแทนวุฒิสภา และวุฒิสภาไม่ได้มีมติเสียงข้างมากให้สมาชิกเข้าร่วมประชุม 4 ฝ่ายด้วย ดังนั้น การเข้าร่วมประชุมของ นายนิคม ถือเป็นความคิดเห็นส่วนตัว ไม่เกี่ยวกับมติของวุฒิสภา ซึ่งตนได้แสดงจุดยืนตั้งแต่ต้นแล้ว ว่า ไม่ว่าจะเป็นใครก็ตาม หรือแม้แต่ตนเมื่อเข้าร่วมประชุมก็ถือเป็นสิทธิ์และความเห็นส่วนตัวของแต่ละคนไม่ใช่เป็นมติของวุฒิสภาแต่อย่างใด
เมื่อถามว่า ประธานวุฒิสภาได้แสดงจุดยืนชัดเจนแล้ว แต่รัฐบาลยังเดินหน้าตั้ง ส.ส.ร.3 จะนำไปสู่ความรุนแรงหรือไม่ ประธานวุฒิสภา กล่าวว่า เรื่องนี้ตนก็เป็นกังวลเช่นเดียวกัน จึงได้แสดงจุดยืนออกไป เพราะขณะนี้เกิดความเห็นที่แตกต่างในเรื่องของการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ดังนั้นเมื่อเห็นว่าจะเกิดความขัดแย้งขึ้น จึงอยากให้ทุกฝ่ายที่มีส่วนเกี่ยวข้องได้ดำเนินการอย่างระมัดระวัง และรอบคอบด้วย
นายสมชาย แสวงการ ส.ว.สรรหา แกนนำกลุ่ม 40 ส..ว.กล่าวว่า การที่นายประสพสุขไม่เข้าร่วมประชุม 4 ฝ่าย ต้องขอบคุณ ประธานวุฒิสภา ที่ให้ความสำคัญกับสมาชิกทุกฝ่ายอย่างเท่าเทียมกัน และวางตัว เป็นผู้ใหญ่ของบ้านเมือง โดยหลังจากที่ นายประสพสุข ได้แจ้งให้ นายกรัฐมนตรีทราบก็กรณีไม่เข้าร่วมประชุม 4 ฝ่าย ตนได้เข้า พบกับประธาน เพื่อชี้แจงและขอโทษประธานวุฒิสภาว่า 40 ส.ว. ไม่ได้ต้องการ กดดันประธานวุฒิสภาแต่อย่างใด พร้อมทั้งชี้แจงเหตุผลของการไม่เห็นด้วยกับการตั้ง ส.ส.ร.3 ว่าไม่ได้มาจากส่วนร่วมของประชาชนอย่างแท้จริง เพราะหลังจากเกิด เหตุการณ์ความรุนแรง 7 ต.ค.ที่ผ่านมา การตั้ง ส.ส.ร.ไม่ได้เป็นทางออกที่เหมาะสมของวิกฤติการเมืองไทย ซึ่งนายประสพสุข ก็เข้าใจเหตุผลของ 40 ส.ว.
ส.ว.ระบุเป็นการประชุม 2 ฝ่ายเท่านั้น
นายสมชาย กล่าวว่า การตั้ง ส.ส.ร.3 จะเรียกว่าเป็นมติของที่ประชุม 4 ฝ่ายไม่ได้ เพราะไม่ได้มีประธานวุฒิสภา และผู้นำฝ่ายค้าน จึงเป็นเพียงการประชุม 2 ฝ่ายคือ ฝ่ายประธานสภาฯ กับฝ่ายรัฐบาล กับหัวหน้าพรรคการเมือง ที่เป็นฝ่ายรัฐบาลเช่นเดียวกัน ดังนั้นจะหวังให้สังคมยอมรับได้คงเป็นเรื่องอยากเพราะขบวนการ ในการยกร่างไม่ชอบธรรมตั้งแต่ต้น แต่เป็นความพยายามรวบรัดให้เกิด ส.ส.ร.3
ส่วนที่ นายสุขุมพงศ์ โง่นคำ อ้างว่าที่มติที่ประชุม 4 ฝ่ายชอบด้วยกฎหมาย เพราะมีตัวแทนจากวุฒิสภาเข้าร่วม นายสมชาย กล่าวว่า การที่นาย นิคม ไวยรัชพานิช รองประธานวุฒิสภา เข้าร่วมประชุมด้วยไม่ถือว่าเป็นมติของวุฒิสภาเสียงส่วนใหญ่ ดังนั้นแนวคิดทั้งหมดจึงเป็นเพียงความเห็นส่วนตัวของวุฒิสภาคนหนึ่งที่เข้าร่วมประชุม ไม่สามารถที่จะเอามาอ้างความชอบธรรมได้ โดยหลังจากนี้ 40 ส.ว.จะได้เดินหน้า ทำความเข้าใจกับสมาชิกทั้งหมดว่าเป็นเพราะเหตุใดจึงไม่เห็นด้วยกับการแก้ไขมาตรา 291
แฉประชุมตั้ง ส.ส.ร.แค่สร้างภาพ
“ความจริงตามมาตรา 291 วรรคแรก กำหนดให้คณะรัฐมนตรี และส.ส. จำนวนไม่น้อยกว่า 1 ใน 5 ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าทีมีอยู่ของส.ส.หรือจากทั้ง ส.ส.และ ส.ว.ไม่น้อยกว่า 1ใน 5 ของจำนวนสมาชิกทั้งสองสภา สามรถเข้าชื่อเสนอ แก้ไขกฎหมายได้อยู่แล้ว แต่ ครม.และ ส.ส.ซีกรัฐบาลกลับไม่ทำ เพราะเห็นว่าจะถูกต่อต้านจากสังคมเนื่องจากก่อนหน้านี้ได้พยายามจะแก้หลายครั้งแต่ไม่สำเร็จ ดังนั้นต้องปลอมตัวเข้ามาเป็น ส.ส.ร.3 เพื่อสร้างภาพให้สังคมเข้าใจได้ว่าไม่ได้เกิดจาก ครม.และสส.ซีกพรรคร่วมรัฐบาล”
นายสมชาย กล่าวว่า การเดินหน้าตั้ง ส.ส.ร.3 ของการประชุมร่วม 2 ฝ่ายครั้งนี้มีธงตั้งแต่แรกอยู่แล้ว การอ้างว่าที่มาของ ส.ส.ร.มาจากตัวแทนภาคประชาชนทั้ง 67 จังหวัด รวมถึงสายนักวิชการด้านรัฐศาสตร์ นิติศาสตร์ และนักกฎหมายมหาชนอีก 24 และตัวแทนจากสาขาอาชีพอีก 20 คน สุดท้ายแล้วเชื่อว่ารัฐบาลจะส่งคนของตัวเองเข้าไปทั้งหมด เพราะมีการประเมินกันตั้งแต่ต้นแล้วว่าโครงสร้างของ ส.ส.ร. ตามรูปแบบดังกล่าวนี้รัฐบาลสามารถคอนโทลได้ แม้ว่าในเบื้องต้นจะเปิดทางแก้ไข เฉพาะมาตรา 291 เพื่อตั้ง ส.ส.ร.3 แต่สุดท้ายเชื่อว่าในชั้น ส.ส.ร.3 จะมีการรุกคืบ แก้มาตราอื่นๆ อีกที่เป็นปัญหากับพรรคร่วมรัฐบาลไม่ว่าจะเป็นมาตรา 190 มาตรา 237 และมาตรา 309 ทั้งหมดนี้คือเป้าหมายสำคัญของพรรคร่วมรัฐบาล
จะเห็นได้ว่า กระบวนการตั้ง ส.ส.ร.3 ไม่ได้มีความจริงใจมาตั้งแต่ต้น เพราะก่อนหน้าทีประธานสภาได้บรรจุร่างแก้ไขของ คปพร.ซึ่งมี นพ.เหวง โตจิราการ เครือข่าย นปก. เข้าสู่ระเบียบวาระไปเรียบร้อยแล้ว และวาระยังค้างพิจารณาอยู่ และสุดท้ายมีการเสนอ ส.ส.ร.3 เข้ามาอีก แนวทางการแก้ไขรัฐธรรมนูญจึงไม่ได้แตกต่างจากร่างของ นปก.
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในการประชุมฯ วานนี้ มีนายชัย ชิดชอบ ประธานสภาผู้แทนราษฎร นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ นายกรัฐมนตรี พร้อมตัวแทนพรรคการเมือง ประกอบด้วย นายเสนาะ เทียนทอง หัวหน้าพรรคประชาราช นางอนงค์วรรณ เทพสุทิน หัวหน้าพรรคมัชฌิมาธิปไตย นายไชยยศ จิรเมธากร ตัวแทนพรรคเพื่อแผ่นดิน นายนิกร จำนง ตัวแทนพรรคชาติไทย พล.อ.เชษฐา ฐานะจาโร หัวหน้าพรรครวมใจไทยชาติพัฒนา โดยไม่มี นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ และผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร เข้าร่วม
ผลประชุมแก้ รธน.ตั้ง ส.ส.ร. 120 คน
นายสุขุมพงศ์ โง่นคำ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกฯ ในฐานะประธานคณะกรรมการยกร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 291 แถลงภายหลังการประชุมว่า ที่ประชุมมีมติเป็นเอกฉันท์เห็นชอบแนวทางการแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 291 เพื่อนำไปสู่ การตั้งส.ส.ร.3 โดยเห็นชอบตามแนวทางของนายนิคม ไวยรัชพานิชย์ รองประธานวุฒิสภา เสนอ ให้มี ส.ส.ร.จำนวน 120 คน มาจากตัวแทนจังหวัด 76 คน จาก 76 จังหวัด และจากผู้ทรงคุณวุฒิ ด้านนิติศาสตร์ รัฐศาสตร์ และกฎหมายมหาชน อย่างละ 8 รวม 24 คน และตัวแทนกลุ่ม สาขาอาชีพ อีก 20 คน โดยทั้งหมดจะมาจากการเลือกตั้งโดยอ้อม ซึ่งจะมีการเปิดรับสมัครและให้ผู้สมัครคัดเลือกกันเองตามสัดส่วนที่กำหนด ส่วนกรอบเวลาในการทำงานของ ส.ส.ร.นั้นจะไม่เกิน 240 วัน หรือ 8 เดือน หลังจากยกร่างรัฐธรรมนูญเสร็จก็เสนอให้รัฐสภาพิจารณาว่าเห็นชอบหรือไม่ หากเห็นชอบก็นำขึ้นทูลเกล้าฯ เพื่อลงพระปรมาภิไธย แต่หากไม่เห็นชอบก็ให้นำร่างรัฐธรรมนูญไปทำประชามติ ซึ่งการประชุม 4 ฝ่ายถ ือว่าเสร็จสิ้นแล้วจะไม่มีการประชุมอีก
นายสุขุมพงศ์ กล่าวว่า หลังจากนี้ตนในฐานะประธานฯ จะได้ไปยกร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 291พร้อมทั้งรายละเอียด เพื่อเสนอต่อวุฒิสภา โดยจะให้มีสมาชิกรัฐสภาร่วมลงนามเสนอให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ซึ่งตามรัฐธรรมนูญ กำหนดไว้ 1 ใน 5 ของจำนวนสมาชิกรัฐสภา โดยคาดว่าจะมีการเสนอให้ประธานรัฐสภาได้ในสัปดาห์หน้า โดยประธานรัฐสภาจะเรียกประชุมรัฐสภาเพื่อพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 291 ภายในสัปดาห์หน้า ซึ่งขั้นตอนการเสนอเข้าสู่ที่ประชุมร่วมรัฐสภา จะต้องมีการตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญขั้นมาศึกษา โดยตามข้อบังคับต้องทำให้เสร็จภายใน 45-60 วัน แต่ถ้าเร่งจริง ๆ ก็อาจเสร็จภายใน 30 วัน
ปัดหวังยื้อเวลาให้รัฐบาล
อย่างไรก็ตาม เงื่อนไขการตั้ง ส.ส.ร.ครั้งนี้ไม่ได้เป็นการยื้อเวลาหรือต่ออายุ ของนายกฯ ออกไปอีก 2 เดือน และมั่นใจว่าการทำงานของ ส.ส.ร.จะไม่มีการแทรกแซง ทางการเมือง โดยประธานสภาจะออกประกาศกำชับอีกครั้งหนึ่ง เพื่อป้องกันการครอบงำ ให้ ส.ส.ร.มีอิสระในการทำงานอย่างแท้จริง
ผู้สื่อข่าวถามว่า การตั้ง ส.ส.ร.3 จะเป็นการสะสมปัญหาความขัดแย้งหรือไม่ นายสุขุมพงศ์ กล่าวว่า ที่ประชุมได้หารือกันแล้วเห็นว่าไม่ใช่การสะสมปัญหา แต่เป็นการแก้ปัญหามากกว่า และไม่กลัวคำขู่ของเครือข่ายพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ที่จะชุมนุมทุกที่ที่มีการประชุม ส.ส.ร. เพราะเป็นสิทธิ เราไม่สามารถขัดขวางได้ แต่มั่นใจว่าการแก้รัฐธรรมนูญเป็นทางออกของวิกฤตที่ดีที่สุด และไม่ควรมองว่าพรรครัฐบาลจะได้ประโยชน์แต่คิดว่าการตั้งส.ส.ร.3 ประเทศจะได้ประโยชน์มากที่สุด
ส่วนการตั้ง ส.ส.ร.หากนำสู่ความขัดแย้งขั้นรุนแรงใครจะรับผิดชอบ นายสุขุมพงศ์ กล่าวว่า ตามรัฐธรรมนูญและตามกฎหมายทุกคนต้องรับผิดชอบร่วมกัน ต่อข้อถามว่าเกรงว่าส.ส.ร.3 จะไปไม่รอดเพราะเป็นการผลักดันเพียงสองฝ่ายคือรัฐบาลกับสภาผู้แทนราษฎรเท่านั้น นายสุขุมพงศ์ กล่าวว่า มติที่เข้าร่วมประชุมครั้งนี้เป็นเสียงส่วนใหญ่ แม้ว่าประธานวุฒิสภาจะไม่เข้าร่วมประชุม แต่ได้ส่งให้รองประธานวุฒิสภาเข้าประชุมแทน ซึ่งถือว่าเป็นมติส่วนใหญ่ของวุฒิสภาที่ให้เข้าร่วมประชุม ไม่จำเป็นต้องขอมติจากที่ประชุมวุฒิสภาอีก
นายกฯ อ้างวุฒิฯ ส่งรอง ปธ.ประชุม
ด้าน นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ให้สัมภาษณ์ภายหลังการประชุม 3 ฝ่ายว่า ทางฝ่ายวุฒิสภาให้รองประธานวุฒิสภาเข้าร่วมประชุมแทน ซึ่งการแก้ไขรัฐธรรมนูญจะดำเนินการต่อไป และให้ประธานสภาเป็นผู้แถลง ไม่มีอะไรหนักใจ ที่ประชุมเห็นตรงกันให้ดำเนินการต่อไป
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ก่อนหน้านี้ หลังนายประสพสุข ร่วม ทำพิธีเสดราะเคราะห์ และบวงทรวงขอขมาทวยเทพทั้งมวล หลังเกิดเหตุการณ์การสลายการชุมนุม เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม จนมีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บเป็นจำนวนมาก ร่วมกับ นายชัย ชิดชอบ ประธานรัฐสภา และนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ นายกรัฐมนตรี ปรากฎว่าน.ส. ทัศนา บุญทอง รองประธานวุฒิสภา คนที่ 2 ได้เดินเข้ามาหานายประสพสุข พร้อมกับกล่าวว่า มีส.ว. จำนวน หนึ่งมาขอพบเพื่อหารือ กรณีที่จะเข้าร่วมประชุม 4 ฝ่าย โดยมีสีหน้าเคร่งเครียด
จากนั้น นายประสพสุขได้ขอหารือกับนายสมชายเป็นการส่วนตัวที่ห้องรับรองประธานสภา โดยใช้เวลาหารือประมาณ 5 นาที ภายหลังการหารือนายประสพสุข เปิดเผย ว่า ตนได้แจ้งขอลาการประชุม เนื่องจากติดภารกิจสำคัญ ยืนยันว่า ไม่ได้มีการกดดันจาก 40 ส.ว. แต่อย่างใด และเชื่อว่ารัฐบาลจะหาทางออกให้กับสังคมได้
ผู้สื่อข่าวถามว่า การที่ไม่เข้าร่วมประชุม 4 ฝ่ายครั้งนี้จะส่งผลต่อการตั้ง ส.ส.ร.3 หรือไม่ นายประสพสุขปฏิเสธที่จะตอบคำถามโดยระบุว่าตนไม่เข้าร่วมประชุมทุกฝ่าย ก็สามารถที่จะทำหน้าที่ได้ จากนั้นนายประสพสุขได้เข้าหารือกับแกนนำ 40 ส.ว. ที่ห้องรับรองประธานวุฒิสภา อาคารรัฐสภา 2
ระบุตั้ง ส.ส.ร.แค่เบี่ยงเบนประเด็น
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ผู้นำฝ่ายค้านในรัฐสภา และหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่าตนได้ทำหนังสือถึงประธานสภาฯแล้วว่าพรรคจะไม่ส่งใครเข้าร่วมประชุมเพราะ สถานการณ์บ้านเมืองขณะนี้เลยจุดที่จะพูดถึงการตั้ง ส.ส.ร.ไปแล้ว และไม่ควรจะนำเรื่องนี้มาเป็นข้ออ้างหรือเบี่ยงเบนประเด็นจากสภาพปัญหาของบ้านเมืองที่แท้จริง ในขณะนี้ ซึ่งหลังจากเหตุการณ์เมื่อวันที่ 7 ต.ค.เป็นต้นมา ส.ส.ร.ก็ได้ถูกหยิบยกเป็นข้ออ้างของการที่รัฐบาลจะไม่แสดงความรับผิดชอบใดๆ และปล่อยให้สภาพปัญหาของบ้านเมือง เรื่องเศรษฐกิจ และปัญหาต่างๆ ไม่ได้รับการแก้ไข
ส่วนที่ประธานวุฒิสภาไม่เข้าร่วมประชุม 4 ฝ่ายด้วย รัฐบาลควรนำเรื่องนี้ ไปไตร่ตรองดูหรือไม่ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่าการประชุมดังกล่าวเป็นเพียงแค่เสียง ข้างมากของสภา รัฐบาลควรทบทวนได้แล้วว่าที่ดึงดันกันและพยายามเอาเรื่องนี้ มาเบี่ยงเบนหรือกลบเกลื่อนคงไม่ใช่เรื่องที่จะทำง่ายๆเพาะสังคมเขารู้ทัน ส่วนการประชุมสภาวันที่ 22 ต.ค.นี้ พรรคจะมีการประชุม ส.ส.เพื่อพิจารณาก่อนว่าจะทำอย่างไร
ส่วนที่ที่มีการระดมมวลชนมาสนับสนุนในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า เป็นปัญหาซึ่งเรื้อรัง และวันนี้น่าจะต้องมาคุยทางออกของบ้านเมือง ที่เป็นปัญหาเฉพาะหน้าเสียก่อนว่าปัญหาวิกฤติทางการเมืองที่เกิดขึ้นส่งผล กระทบต่อทุกสิ่งทุกอย่างและทำให้ประชาชน มีความยากลำบากในเรื่องปัญหาปากท้อง และมีความตรึงเครียด รวมทั้งการเสื่อมศรัทธาในตัวการเมือง
“ผมก็ไม่เข้าใจ นอกจากนายกฯจะไม่แสดงความรับผิดชอบต่อสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นแล้ว ยังไม่รับผิดชอบต่ออนาคตของประเทศชาติบ้านเมืองด้วย เพราะว่านำทั้งประชาธิปไตย และชีวิตของคนไทยเข้าไปเสี่ยงอยู่ตอดเวลาโดยไม่สามารถ ตอบได้ว่าเพื่ออะไร”
จวกดื้อด้านอยู่เพื่อประโยชน์ตัวเอง
ผู้สื่อข่าวถามว่า สังคมทุกฝ่ายในเวลานี้ออกมากดดันนายกฯหมดแล้ว แม้แต่ทหาร คิดว่ายังมีอะไรที่ทำให้นายกฯเมินเฉยต่อท่าทีเหล่านี้ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ตัวนายกฯเองก็ต้องคิดว่าที่อยู่ไปทุกวันนี้เพื่ออะไร ตนไม่เห็นว่าการอยู่ของท่านในขณะนี้ ได้แก้ปัญหาอะไรให้ใคร ไม่ว่าจะเป็นเกษตรกรที่เดือดร้อนจากผลผลิตทางการเกษตร ที่ตกต่ำ ความตรึงเครียดของสถานการณ์ชายแดนไทยกัมพูชา หรือปัญหาอะไรก็แล้วแต่ ตนมองไม่เห็นเลยว่าขณะนี้ที่นายกฯดำรงอยู่เพื่ออะไร
“ที่อ้างว่าสู้ต่อเพราะ 6 พรรคร่วมรัฐบาลเห็นด้วยและจะต้องทำภารกิจให้เสร็จ 3อย่างนั้น ผมคิดว่าถ้าพรรคร่วมยึดประโยชน์ของตัวเองก็เป็นอีกเรื่อง ก็บอกมาตรงๆ ดีกว่าไม่ต้องอ้างเรื่องนี้”
นักวิชาการประสานเสียงต้าน
นายปริญญา เทวานฤมิตรกุล รองอธิการบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา มหาวิทยาลับธรรมศาสตร์ กล่าวว่า ส.ส.ร.3 ที่รัฐบาลกำลังดำเนินการอยู่นั้น จะแก้ไขวิกฤติทางการเมืองไม่ได้ เพราะรัฐธรรมนูญจำเป็นต้องมีการแก้ไขทั้งฉบับ และหากใช้เสียงข้างมาก อีกฝ่ายจะไม่ยอมรับรัฐธรรมนูญ ซึ่งหมายความว่าจะไม่เป็นสัญญาประชาคม แต่จะอยู่ในลักษณะทีใครทีมันมากกว่า
นายปริญญา กล่าวว่า ขอเสนอให้คณะกรรมการยกร่างแก้ไข รัฐธรรมนูญ มาตรา 291 เพื่อให้มี ส.ส.ร.ที่ปฏิบัติหน้าที่อยู่ยุติบทบาท เพราะหากปฏิบัติหน้าที่ต่อไป จะทำให้เกิดปัญหามากขึ้น และขอเสนอทางออกให้รัฐสภาเป็นผู้คัดสรรคณะกรรมการ ที่มีความอิสระจริงๆ แล้วเสนอให้ทุกฝ่ายยอมรับ จากนั้นรัฐบาลก็ยุบสภา แต่คณะกรรมการดังกล่าวยังคงปฏิบัติหน้าที่ต่อไป เพื่อให้ประเทศไทยมีรัฐธรรมนูญฉบับสุดท้ายเสียที
นายสุริชัย หวันแก้ว ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า รัฐบาลไม่ควรดึงดันตั้ง ส.ส.ร.3 เพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญ ในขณะที่สถานการณ์ บ้านเมืองมีความผิดปกติ แต่รัฐบาลควรความไว้วางใจ โดยการฟังความเห็น จากทุกกลุ่ม
แต่เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกลับชี้ให้เห็นว่า รัฐบาลไม่ได้คำนึงถึงความแตกแยก ในปัจจุบัน ทั้งที่มีผู้คนส่วนหนึ่งมองว่ารัฐบาลบกพร่องทางจริยธรรมขั้นรุนแรง และรัฐบาลไม่มีความชอบธรรมในการบริหารประเทศ ดังนั้น หากยังเดินหน้าต่อ เชื่อว่าจะแก้ปัญหาไม่ได้ รัฐบาลไม่ควรหักหาน และควรยุติการดำเนินการในลักษณะของพวกมากลากไป หรือการฉวยโอกาส ซึ่งจะไม่เกิดประโยชน์แก่ส่วนรวม
ด้าน นายลิขิต ธีระเวคิน นักวิชาการอิสระ กล่าวว่า การเดินหน้าตั้ง ส.ส.ร.ของรัฐบาลไม่ใช่ทางออกในการแก้วิกฤตอ ตามที่รัฐบาลชี้แจงผ่านนายสุขุมพงศ์ โง่นคำ เป็นการซื้อเวลาของรัฐบาล และไม่เชื่อว่าจะนำไปสู่การแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญอย่างที่รัฐบาลกล่าวอ้าง เพราะวิกฤตทางการเมืองในขณะนี้กำลังใกล้ถึงจุดเปลี่ยน ซึ่งจะทำให้การตั้ง ส.ส.ร.เพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญไม่สามารถเดินหน้าต่อไปได้ จึงเรียกร้องประธานวุฒิสภาพิจารณาใคร่ครวญให้ดี เพราะทางออกที่เสนอขึ้นมาไม่ใช่หนทางแก้ปัญหา
รศ.ดร.อดิศร เนาวนนท์ รองคณะบดีคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา กล่าวว่าส่วนตัวคิดว่าการตั้ง ส.ส.ร.3 ไม่สามารถแก้ไขปัญหาต่างๆ ให้ยุติได้ เนื่องจากกลุ่มพันธมิตรฯ ตั้งธงเอาไว้ชัดเจนว่า ไม่ยอมรับอย่างเด็ดขาด มองแล้วการจัดตั้ง ส.ส.ร.3 เป็นเพียงการยื้อเวลาของรัฐบาล และทำให้รัฐบาลสามารถ มีส่วนกดดันให้ ส.ส.ร.3 แก้ไขรัฐธรรมนูญบางข้อ เพื่อเอื้อประโยชน์แก่รัฐบาล
“หากรัฐบาลดื้อดึงจะจัดตั้ง ส.ส.ร.3 ไม่ฟังเสียงกลุ่มพันธมิตรฯ คาดว่าบ้านเมืองต้องเข้าสู่กลียุค หนทางแก้ไขปัญหาและยุติความรุนแรงมีเพียงการยุบสภา ถึงการต่อต้านจากกลุ่มพันธมิตรฯอีกครั้งก็จำเป็นที่จะต้องทำ เพื่อให้กระบวนการทุกอย่างเริ่มต้นใหม่ ทำให้ปัญหาความขัดแยงขณะนี้หยุดลง และหากยุบสภามีการเลือกตั้งใหม่แและส.ส.หรือรัฐบาลยังเป็นชุดเดิมแล้วกลุ่มพันธมิตรฯยังออกมาเคลื่อนไหวต่อต้าน กลุ่มพันธมิตรฯจะหมดความชอบธรรม ในการเคลื่อนไหวและจะไม่ได้รับการยอมรับจากประชาชนเอง”