เอเอฟพี - ในขณะที่กระแสการเลือกตั้งผู้นำสหรัฐฯ คนใหม่กำลังเข้มข้นและใกล้ถึงวันชี้ชะตา 4 พฤศจิกายนเข้าไปทุกขณะ พวกผู้เชี่ยวชาญได้ออกโรงเตือนว่า ระบบการเลือกตั้งอาจเกิดปัญหาขัดข้องได้หากมีผู้ออกมาใช้สิทธิเป็นจำนวนสูงมากตามที่มีการคาดการณ์กัน
ทั้งนี้ หากมองย้อนกลับไปในประวัติศาสตร์การเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ที่ผ่านมา กรณีดังกล่าวก็เคยเกิดขึ้นมาแล้วเมื่อไม่นานมานี้เองคือ การเลือกตั้งในปี 2000 ซึ่งผู้สมัครสองพรรคใหญ่มีคะแนนห่างกันเพียงไม่กี่ร้อยคะแนนในมลรัฐฟลอริดา จนต้องนำเรื่องขึ้นสู่การพิจารณาตัดสินในชั้นศาล และในที่สุดศาลสูงสุดก็ตัดสินให้จอร์จ ดับเบิลยู บุชเป็นผู้กำชัยชนะ
หลังจากนั้นสี่ปีก็เกิดความโกลาหลทำนองเดียวกันอีกในสนามเลือกตั้งที่มลรัฐโอไฮโอ ซึ่งมีการแข่งขันกันอย่างเข้มข้น และมีหน่วยเลือกตั้งอย่างน้อยหนึ่งหน่วยที่มีผู้ไปใช้สิทธิกันมากจนไม่สามารถปิดหีบเลือกตั้งได้กระทั่งถึงเวลา 16.00 น.
"การเลือกตั้งของเรานั้นสำคัญเกินกว่าจะเสี่ยงให้เกิดปัญหาจนสั่นคลอนความเชื่อมั่นของสาธารชนอเมริกันต่อระบบที่เป็นประชาธิปไตยของเราอีกต่อไป" บรรดาหน่วยงานที่เฝ้าสังเกตการณ์การเลือกตั้งครั้งนี้ กล่าวเตือนในรายงานร่วมที่แถลงเมื่อวันศุกร์ (17)
ทั้งนี้ในรายงานหัวข้อ "อเมริกาพร้อมสำหรับการเลือกตั้งแล้วหรือ" ระบุว่ามีมลรัฐอย่างน้อย 10 มลรัฐตอบว่ายังไม่พร้อม ทั้งๆ ที่ในจำนวนนี้มีบางมลรัฐเป็นสนามเลือกตั้งหลักที่อาจชี้ขาดผลการเลือกตั้งได้ โดย โคโลราโด เดลาแวร์ เคนทักกี หลุยส์เซียนา นิวเจอร์ซีย์ เซาท์แคโรไลนา เทนเนสซี เทกซัส ยูทาห์ และเวอร์จิเนีย เป็นมลรัฐที่ตอบคำถามสามในสี่หมวดว่าด้วยเรื่องการเตรียมตัวรับมือกับปัญหาในวันเลือกตั้ง ว่ายังไม่เพียงพอหรือจำเป็นต้องปรับปรุง
นอกจากนั้น ปัญหายังอาจเกิดขึ้นหากระบบลงคะแนนด้วยคอมพิวเตอร์เกิดเสียขึ้นมา หรือหากมีเครื่องไม่เพียงพอกับผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้งจนต้องเข้าคิวรอเป็นเวลานาน หรือหากเจ้าหน้าที่หน่วยเลือกตั้งต้องทำงานอย่างหนักโดยที่มีบัตรเลือกตั้งฉุกเฉินสำรองไม่เพียงพอ
บางกลุ่มที่วิตกกับปัญหาที่ว่านี้อย่างมาก อาทิ "วีเมนส์ ลีก ออฟ โหวตเตอร์ส" และ "ร็อก เดอะ โหวต" ได้ออกมาเรียกร้องให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งไปใช้สิทธิกันแต่เช้า หรือใช้สิทธิเลือกตั้งล่วงหน้าเพื่อหลีกเลี่ยงการเข้าคิวรอ อีกทั้งกลุ่มเหล่านี้ยังจัดเตรียมทีมนักกฎหมายและอาสาสมัครหลายล้านคนเพื่อคอยให้คำแนะนำและช่วยเหลือในวันเลือกตั้งด้วย
แมรี วิลสัน ประธานกลุ่มวีเมนส์ ลีก ออฟ โหวตเตอร์ส ยังระบุด้วยว่าจากการพบปะกับเจ้าหน้าที่ในรัฐที่เป็นสนามเลือกตั้งสำคัญและในมลรัฐที่ยังไม่ได้เทคะแนนให้ผู้สมัครพรรคใดพรรคหนึ่ง พบว่าบางรัฐอาจมีผู้ออกมาใช้สิทธิเลือกตั้งถึงราว 80-85 เปอร์เซ็นต์ ทั้งนี้ก็เนื่องจากกระแสการแข่งขันระหว่างบารัค โอบามาซึ่งอาจขึ้นเป็นประธานาธิบดีผิวสีคนแรก กับจอห์น แมคเคนซึ่งเข้าชิงพร้อมกับซาราห์ แพลิน ว่าที่รองประธานาธิบดีหญิงคนแรก ทำให้บรรดาผู้มีสิทธิเลือกตั้งต้องการเป็นส่วนหนึ่งของประวัติศาสตร์การเลือกตั้งครั้งนี้
อย่างไรก็ตาม ยังมีปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในหลายๆ มลรัฐ เช่น ฟลอริดาซึ่งเคยเป็นฐานที่มั่นของพรรครีพับลิกัน แต่ครั้งนี้กลับเป็นสนามแข่งขันอย่างดุเดือด และมีการโยกย้ายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งในบัญชีรายชื่อจนอาจเป็นปัญหาขึ้นมาอีก ขณะที่รัฐอินดิแอนา ก็มีความสับสนเกี่ยวกับกฎระเบียบที่จะต้องแสดงบัตรประชาชนซึ่งอาจทำให้มีผู้ไม่มาใช้สิทธิเลือกตั้ง หรือแม้แต่มลรัฐที่เป็นพวกอนุรักษนิยมอย่างเวอร์จิเนีย ก็จะเป็นสนามแข่งขันที่เข้มข้นเนื่องจากมีผู้มาลงทะเบียนใช้สิทธิเป็นจำนวนสูงมาก
ทั้งนี้ หากมองย้อนกลับไปในประวัติศาสตร์การเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ที่ผ่านมา กรณีดังกล่าวก็เคยเกิดขึ้นมาแล้วเมื่อไม่นานมานี้เองคือ การเลือกตั้งในปี 2000 ซึ่งผู้สมัครสองพรรคใหญ่มีคะแนนห่างกันเพียงไม่กี่ร้อยคะแนนในมลรัฐฟลอริดา จนต้องนำเรื่องขึ้นสู่การพิจารณาตัดสินในชั้นศาล และในที่สุดศาลสูงสุดก็ตัดสินให้จอร์จ ดับเบิลยู บุชเป็นผู้กำชัยชนะ
หลังจากนั้นสี่ปีก็เกิดความโกลาหลทำนองเดียวกันอีกในสนามเลือกตั้งที่มลรัฐโอไฮโอ ซึ่งมีการแข่งขันกันอย่างเข้มข้น และมีหน่วยเลือกตั้งอย่างน้อยหนึ่งหน่วยที่มีผู้ไปใช้สิทธิกันมากจนไม่สามารถปิดหีบเลือกตั้งได้กระทั่งถึงเวลา 16.00 น.
"การเลือกตั้งของเรานั้นสำคัญเกินกว่าจะเสี่ยงให้เกิดปัญหาจนสั่นคลอนความเชื่อมั่นของสาธารชนอเมริกันต่อระบบที่เป็นประชาธิปไตยของเราอีกต่อไป" บรรดาหน่วยงานที่เฝ้าสังเกตการณ์การเลือกตั้งครั้งนี้ กล่าวเตือนในรายงานร่วมที่แถลงเมื่อวันศุกร์ (17)
ทั้งนี้ในรายงานหัวข้อ "อเมริกาพร้อมสำหรับการเลือกตั้งแล้วหรือ" ระบุว่ามีมลรัฐอย่างน้อย 10 มลรัฐตอบว่ายังไม่พร้อม ทั้งๆ ที่ในจำนวนนี้มีบางมลรัฐเป็นสนามเลือกตั้งหลักที่อาจชี้ขาดผลการเลือกตั้งได้ โดย โคโลราโด เดลาแวร์ เคนทักกี หลุยส์เซียนา นิวเจอร์ซีย์ เซาท์แคโรไลนา เทนเนสซี เทกซัส ยูทาห์ และเวอร์จิเนีย เป็นมลรัฐที่ตอบคำถามสามในสี่หมวดว่าด้วยเรื่องการเตรียมตัวรับมือกับปัญหาในวันเลือกตั้ง ว่ายังไม่เพียงพอหรือจำเป็นต้องปรับปรุง
นอกจากนั้น ปัญหายังอาจเกิดขึ้นหากระบบลงคะแนนด้วยคอมพิวเตอร์เกิดเสียขึ้นมา หรือหากมีเครื่องไม่เพียงพอกับผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้งจนต้องเข้าคิวรอเป็นเวลานาน หรือหากเจ้าหน้าที่หน่วยเลือกตั้งต้องทำงานอย่างหนักโดยที่มีบัตรเลือกตั้งฉุกเฉินสำรองไม่เพียงพอ
บางกลุ่มที่วิตกกับปัญหาที่ว่านี้อย่างมาก อาทิ "วีเมนส์ ลีก ออฟ โหวตเตอร์ส" และ "ร็อก เดอะ โหวต" ได้ออกมาเรียกร้องให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งไปใช้สิทธิกันแต่เช้า หรือใช้สิทธิเลือกตั้งล่วงหน้าเพื่อหลีกเลี่ยงการเข้าคิวรอ อีกทั้งกลุ่มเหล่านี้ยังจัดเตรียมทีมนักกฎหมายและอาสาสมัครหลายล้านคนเพื่อคอยให้คำแนะนำและช่วยเหลือในวันเลือกตั้งด้วย
แมรี วิลสัน ประธานกลุ่มวีเมนส์ ลีก ออฟ โหวตเตอร์ส ยังระบุด้วยว่าจากการพบปะกับเจ้าหน้าที่ในรัฐที่เป็นสนามเลือกตั้งสำคัญและในมลรัฐที่ยังไม่ได้เทคะแนนให้ผู้สมัครพรรคใดพรรคหนึ่ง พบว่าบางรัฐอาจมีผู้ออกมาใช้สิทธิเลือกตั้งถึงราว 80-85 เปอร์เซ็นต์ ทั้งนี้ก็เนื่องจากกระแสการแข่งขันระหว่างบารัค โอบามาซึ่งอาจขึ้นเป็นประธานาธิบดีผิวสีคนแรก กับจอห์น แมคเคนซึ่งเข้าชิงพร้อมกับซาราห์ แพลิน ว่าที่รองประธานาธิบดีหญิงคนแรก ทำให้บรรดาผู้มีสิทธิเลือกตั้งต้องการเป็นส่วนหนึ่งของประวัติศาสตร์การเลือกตั้งครั้งนี้
อย่างไรก็ตาม ยังมีปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในหลายๆ มลรัฐ เช่น ฟลอริดาซึ่งเคยเป็นฐานที่มั่นของพรรครีพับลิกัน แต่ครั้งนี้กลับเป็นสนามแข่งขันอย่างดุเดือด และมีการโยกย้ายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งในบัญชีรายชื่อจนอาจเป็นปัญหาขึ้นมาอีก ขณะที่รัฐอินดิแอนา ก็มีความสับสนเกี่ยวกับกฎระเบียบที่จะต้องแสดงบัตรประชาชนซึ่งอาจทำให้มีผู้ไม่มาใช้สิทธิเลือกตั้ง หรือแม้แต่มลรัฐที่เป็นพวกอนุรักษนิยมอย่างเวอร์จิเนีย ก็จะเป็นสนามแข่งขันที่เข้มข้นเนื่องจากมีผู้มาลงทะเบียนใช้สิทธิเป็นจำนวนสูงมาก