ถ้า “เดิมพัน” ไม่สูงพอ เห็นขุนทหารและตำรวจ 4 เหล่า 5 คนออกมา “ประกาศคณะ(จะ)หยุดการใช้อำนาจ” ทางช่อง 3 เมื่อเย็นวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา หากไม่ลาออกก็ยุบสภาฯไปแล้วละครับ
แต่ “เดิมพัน” ของนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์สูงมาก
ไม่ใช่แค่เงินหลายหมื่นล้านบาทหรือบวก ๆ แล้วเชื่อว่าเกินแสนล้านบาทของครอบครัวชินวัตรเท่านั้น แต่
ยังรวมถึงอิสรภาพและชีวิตของคนในตระกูลชินวัตรและวงศ์สวัสดิ์ด้วยทุกคน
นายสมชายฯจึงต้อง “ยื้อ” และ “ซื้อเวลา” สุดชีวิต
ผ่านนวัตกรรมหลอกลวงทางการเมืองแบรนด์กลางเก่ากลางใหม่ที่เรียกขานกันว่า...
“ส.ส.ร. 3”
นายสมชายฯ และคณะพรรคพลังประชาชน หรือพูดให้ชัด ๆ ว่าตัวแทนหรือหุ่นเชิดของพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตรได้ร่วมกันจี้จับทั้งความจงเกลียดจงชังของพี่น้องประชาชนที่อยากให้พวกเขาพ้นจากตำแหน่งไป ทั้งส.ส.และส.ว.ฝ่ายที่ต้องการแก้ปัญหาบ้านเมือง ไว้เป็น “ตัวประกัน” โดยมีข้อต่อรองแลกเปลี่ยนถึง 2 ชั้น
ชั้นที่ 1 : ถ้าอยากให้พวกเขาลาออกหรือยุบสภาฯ ต้องพร้อมใจกันยกมือให้ ส.ส.ร. 3 หรือนัยหนึ่งร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 291 ที่ก่อให้เกิดกระบวนการแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2550 ทั้งฉบับให้เสร็จสิ้นภายใน 240 วันหรือ 8 เดือน
ชั้นที่ 2 : อย่าลืมนะว่าถ้าไม่เอา ส.ส.ร. 3 เขาก็ได้บรรจุร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมฉบับ คปพร. หรือนัยหนึ่งฉบับนพ.เหวง โตจิราการไว้แล้ว สารัตถะจริง ๆ ของร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ก็คือยกรัฐธรรมนูญ 2540 มาใช้แทนรัฐธรรมนูญ 2550 ทั้งฉบับ ยกเว้นบทเฉพาะกาลที่รับรองการคงอยู่และสถานภาพของคณะองคมนตรีชุดปัจจุบัน ร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้อยู่ในวาระการประชุมของรัฐสภามาตั้งแต่วันที่ 6 ตุลาคม 2551 แล้ว จะไม่มีการพิจารณาก็ต่อเมื่อต้องมีร่าง ส.ส.ร. 3 เข้ามา แล้วเลื่อนระเบียบวาระขึ้นมาพิจารณาก่อน
สรุปว่าถ้า ส.ส.ร. 3 จะเกิดขึ้นบนความดันทุรังประเภทพวกมากลากไป ก็จะเป็นไปอย่างอัปยศอดสูตั้งแต่ต้น
เพราะประชาชนทั่วไปและสมาชิกรัฐสภาหลงเชื่อหรือไม่ก็จำยอมว่า “ดมตด” ดีกว่า “ดมขี้” – แม้ว่ามันจะเป็น “ตดหัวขี้” ก็ตาม !
ไม่ได้เกิดขึ้นเพราะเชื่อว่า ส.ส.ร. 3 จะแก้ปัญหาบ้านเมืองได้ !!
สำหรับผม ส.ส.ร. 3 มีวิวัฒนาการ 3 ระยะ
ระยะที่ 1 ก่อนวันที่ 3 ตุลาคม 2551
ระยะที่ 2 หลังวันที่ 3 ตุลาคม 2551 ถึงวันที่ 7 ตุลาคม 2551
ระยะที่ 3 หลังวันที่ 7 ตุลาคม 2551
ส.ส.ร. 3 ที่มีสภาพเป็น “ตดหัวขี้” ก็คือ ส.ส.ร. 3 ในระยะที่ 3 หลังการทำร้ายเข่นฆ่าประชาชนเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2551 ที่รัฐบาลและประธานรัฐสภาต้องแสดงความรับผิดชอบทันที
ข้อเสนอ ส.ส.ร. 3 ในระยะที่ 1 แม้จะไม่ชอบด้วยเหตุผล เพราะรัฐบาลไม่ได้มี “เป้าหมาย” ที่ชัดเจนว่าจะแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งใหญ่ไปทำไม เพื่ออะไร ที่ควรจะต้องมีอยู่ก่อนที่จะคิดเรื่อง “วิธีการ” หากแต่เสนอขึ้นมาเพียงเพื่อบรรเทาการต่อต้านของพี่น้องประชาชนลงเท่านั้น แต่ก็ยังพอทนรับฟังได้ในระดับหนึ่ง เพราะเป็นการหลอกลวงที่ “เนียน” พอควร จึงมีเสียงขานรับหนาหู แม้แต่พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยที่รู้เท่าทันเล่ห์เหลี่ยมก็ยังประกาศคัดค้านได้ไม่เต็มปากนัก เพราะขณะนั้นรัฐบาลมาในมาดนิ่ม อ้างว่าต้องการเจรจา
แต่พอมาในระยะที่ 2 ความชอบธรรมที่พอมีอยู่บ้างเริ่มลดลงเกือบเป็น 0 เพราะรัฐบาลจับกุมนายไชยวัฒน์ สินสุวงศ์ และนายชัย ชิดชอบในฐานะประธานรัฐสภาบรรจุร่างรัฐธรรมนูญฉบับนพ.เหวง โตจิราการเข้าสู่ระเบียบวาระการประชุมรัฐสภา เพื่อพิจารณาหลังวาระรัฐบาลแถลงนโยบาย ทั้ง 2 เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นในช่วงวันที่ 3 ตุลาคม 2551
ทำไมรัฐบาลนายสมชายฯและพลพรรคหุ่นเชิดต้องการ ส.ส.ร. 3 ในวันนี้หลังจากที่ก่อนหน้านี้ในช่วงเดือนเมษายน – พฤษภาคม 2551 เคยปฏิเสธอย่างไม่มีเยื่อใย
พวกเขาไม่สนใจเรื่องการปฏิรูปการเมืองครั้งใหญ่ครั้งใหม่ หรือ “การเมืองใหม่” หรอก
แต่เพียงเพื่อจะแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2550 ตามเป้าประสงค์เดิมที่ถูกพันธมิตรฯยกทัพออกมาขวาง !
มาตรา 237 วรรคสอง ต้องไม่มี
มาตราว่าด้วยผลประโยชน์ขัดกันหลายมาตรา ต้องแก้ไข
อำนาจของศาลยุติธรรมและศาลต่าง ๆ รวมทั้งองค์กรอิสระ ต้องแก้ไข ดดยเฉพาะตัดอำนาจการนำเสนอร่างกฎหมายเกี่ยวกับองค์กรของตัวเองโดยไม่ต้องผ่านรัฐบาลออก
ข้อกำหนดว่าด้วยจริยธรรมของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ต้องปรับลดระดับความเข้มข้นและมาตรการบังคับลง
รัฐบาลบอกว่าจะไม่แทรกแซงการทำงาน แต่การจะออกแบบให้ ส.ส.ร. 3 มีที่มาส่วนหนึ่งจากการเลือกตั้งโดยตรงจังหวัดละ 1 คน 76 จังหวัดก็พอบอกได้แล้วว่ากว่าครึ่งของจำนวนนี้จะอยู่ในสกุลความคิดเดียวกับรัฐบาล ส่วนที่เหลือที่เป็นสายนักวิชาการ ก็จะต้องมีชื่อสุดยอดนักกฎหมายมหาชนอย่างอาจารย์วรเจตน์ ภาคีรัตน์ ดีไม่ดีอาจดดอดส่งอาจารย์วรพล พรหมมิกบุตรเข้ามาด้วย
ที่มาแบบนี้ ทำอย่างไรก็ไม่มีทางปฏิรูปการเมืองได้
คงไม่ต้องสาธยายต่อกระมังว่า ส.ส.ร. 3 ระยะที่ 3 มีสภาพเป็น “ตดหัวขี้” อย่างไร
ฟันธงสั้น ๆ ง่าย ๆ ว่าหลังการเสียชีวิตและบาดเจ็บของพี่น้องประชาชน รัฐบาลนายสมชายฯไม่มีสิทธิทำอะไรอีกแล้ว
แม้แต่ “ยุบสภาฯ” ก็ไม่น่าจะมีสิทธิ !
ต้อง “ลาออกทันที” สถานเดียว !!
แต่เอาเถอะ ถ้าเลือกหนทางยุบสภาฯ ก็พอจะกล้อมแกล้มยอมรับกันได้ เพราะนี่คือหนึ่งในวิถีทางออกของการเมืองในระบบปัจจุบันที่แม้เราไม่เห็นว่าจะแก้ปัญหาได้อย่างไร แต่ก็ไม่มีทางเลี่ยง หากไม่เกิดปัญญารวมหมู่ขึ้นมาพร้อมกันระหว่างมวลชนอันไพศาลทั่วประเทศและชนชั้นนำในสังคม
บนความเลวร้ายของสถานการณ์วันนี้ ผมยังหวังว่าหากรัฐบาลลาออก หรือยุบสภาฯ สถานการณ์จะไม่หมุนกลับไปเหมือนเดิม
และถ้าหากจะมีการเปลี่ยนขั้วการเมือง ขั้วใหม่ก็จะต้องไม่จัดตั้งรัฐบาลไปแบบเดิม ๆ
เรื่องนี้เมื่อถึงเวลาค่อย ๆ คุยกัน
แต่วันนี้ ต้องทำความเข้าใจกันก่อนว่า...
อย่ายอมทนดม “ตดหัวขี้” เพราะเห็นผิดเป็นชอบว่าดีกว่าต้องดม “ขี้” เลย !
แต่ “เดิมพัน” ของนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์สูงมาก
ไม่ใช่แค่เงินหลายหมื่นล้านบาทหรือบวก ๆ แล้วเชื่อว่าเกินแสนล้านบาทของครอบครัวชินวัตรเท่านั้น แต่
ยังรวมถึงอิสรภาพและชีวิตของคนในตระกูลชินวัตรและวงศ์สวัสดิ์ด้วยทุกคน
นายสมชายฯจึงต้อง “ยื้อ” และ “ซื้อเวลา” สุดชีวิต
ผ่านนวัตกรรมหลอกลวงทางการเมืองแบรนด์กลางเก่ากลางใหม่ที่เรียกขานกันว่า...
“ส.ส.ร. 3”
นายสมชายฯ และคณะพรรคพลังประชาชน หรือพูดให้ชัด ๆ ว่าตัวแทนหรือหุ่นเชิดของพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตรได้ร่วมกันจี้จับทั้งความจงเกลียดจงชังของพี่น้องประชาชนที่อยากให้พวกเขาพ้นจากตำแหน่งไป ทั้งส.ส.และส.ว.ฝ่ายที่ต้องการแก้ปัญหาบ้านเมือง ไว้เป็น “ตัวประกัน” โดยมีข้อต่อรองแลกเปลี่ยนถึง 2 ชั้น
ชั้นที่ 1 : ถ้าอยากให้พวกเขาลาออกหรือยุบสภาฯ ต้องพร้อมใจกันยกมือให้ ส.ส.ร. 3 หรือนัยหนึ่งร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 291 ที่ก่อให้เกิดกระบวนการแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2550 ทั้งฉบับให้เสร็จสิ้นภายใน 240 วันหรือ 8 เดือน
ชั้นที่ 2 : อย่าลืมนะว่าถ้าไม่เอา ส.ส.ร. 3 เขาก็ได้บรรจุร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมฉบับ คปพร. หรือนัยหนึ่งฉบับนพ.เหวง โตจิราการไว้แล้ว สารัตถะจริง ๆ ของร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ก็คือยกรัฐธรรมนูญ 2540 มาใช้แทนรัฐธรรมนูญ 2550 ทั้งฉบับ ยกเว้นบทเฉพาะกาลที่รับรองการคงอยู่และสถานภาพของคณะองคมนตรีชุดปัจจุบัน ร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้อยู่ในวาระการประชุมของรัฐสภามาตั้งแต่วันที่ 6 ตุลาคม 2551 แล้ว จะไม่มีการพิจารณาก็ต่อเมื่อต้องมีร่าง ส.ส.ร. 3 เข้ามา แล้วเลื่อนระเบียบวาระขึ้นมาพิจารณาก่อน
สรุปว่าถ้า ส.ส.ร. 3 จะเกิดขึ้นบนความดันทุรังประเภทพวกมากลากไป ก็จะเป็นไปอย่างอัปยศอดสูตั้งแต่ต้น
เพราะประชาชนทั่วไปและสมาชิกรัฐสภาหลงเชื่อหรือไม่ก็จำยอมว่า “ดมตด” ดีกว่า “ดมขี้” – แม้ว่ามันจะเป็น “ตดหัวขี้” ก็ตาม !
ไม่ได้เกิดขึ้นเพราะเชื่อว่า ส.ส.ร. 3 จะแก้ปัญหาบ้านเมืองได้ !!
สำหรับผม ส.ส.ร. 3 มีวิวัฒนาการ 3 ระยะ
ระยะที่ 1 ก่อนวันที่ 3 ตุลาคม 2551
ระยะที่ 2 หลังวันที่ 3 ตุลาคม 2551 ถึงวันที่ 7 ตุลาคม 2551
ระยะที่ 3 หลังวันที่ 7 ตุลาคม 2551
ส.ส.ร. 3 ที่มีสภาพเป็น “ตดหัวขี้” ก็คือ ส.ส.ร. 3 ในระยะที่ 3 หลังการทำร้ายเข่นฆ่าประชาชนเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2551 ที่รัฐบาลและประธานรัฐสภาต้องแสดงความรับผิดชอบทันที
ข้อเสนอ ส.ส.ร. 3 ในระยะที่ 1 แม้จะไม่ชอบด้วยเหตุผล เพราะรัฐบาลไม่ได้มี “เป้าหมาย” ที่ชัดเจนว่าจะแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งใหญ่ไปทำไม เพื่ออะไร ที่ควรจะต้องมีอยู่ก่อนที่จะคิดเรื่อง “วิธีการ” หากแต่เสนอขึ้นมาเพียงเพื่อบรรเทาการต่อต้านของพี่น้องประชาชนลงเท่านั้น แต่ก็ยังพอทนรับฟังได้ในระดับหนึ่ง เพราะเป็นการหลอกลวงที่ “เนียน” พอควร จึงมีเสียงขานรับหนาหู แม้แต่พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยที่รู้เท่าทันเล่ห์เหลี่ยมก็ยังประกาศคัดค้านได้ไม่เต็มปากนัก เพราะขณะนั้นรัฐบาลมาในมาดนิ่ม อ้างว่าต้องการเจรจา
แต่พอมาในระยะที่ 2 ความชอบธรรมที่พอมีอยู่บ้างเริ่มลดลงเกือบเป็น 0 เพราะรัฐบาลจับกุมนายไชยวัฒน์ สินสุวงศ์ และนายชัย ชิดชอบในฐานะประธานรัฐสภาบรรจุร่างรัฐธรรมนูญฉบับนพ.เหวง โตจิราการเข้าสู่ระเบียบวาระการประชุมรัฐสภา เพื่อพิจารณาหลังวาระรัฐบาลแถลงนโยบาย ทั้ง 2 เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นในช่วงวันที่ 3 ตุลาคม 2551
ทำไมรัฐบาลนายสมชายฯและพลพรรคหุ่นเชิดต้องการ ส.ส.ร. 3 ในวันนี้หลังจากที่ก่อนหน้านี้ในช่วงเดือนเมษายน – พฤษภาคม 2551 เคยปฏิเสธอย่างไม่มีเยื่อใย
พวกเขาไม่สนใจเรื่องการปฏิรูปการเมืองครั้งใหญ่ครั้งใหม่ หรือ “การเมืองใหม่” หรอก
แต่เพียงเพื่อจะแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2550 ตามเป้าประสงค์เดิมที่ถูกพันธมิตรฯยกทัพออกมาขวาง !
มาตรา 237 วรรคสอง ต้องไม่มี
มาตราว่าด้วยผลประโยชน์ขัดกันหลายมาตรา ต้องแก้ไข
อำนาจของศาลยุติธรรมและศาลต่าง ๆ รวมทั้งองค์กรอิสระ ต้องแก้ไข ดดยเฉพาะตัดอำนาจการนำเสนอร่างกฎหมายเกี่ยวกับองค์กรของตัวเองโดยไม่ต้องผ่านรัฐบาลออก
ข้อกำหนดว่าด้วยจริยธรรมของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ต้องปรับลดระดับความเข้มข้นและมาตรการบังคับลง
รัฐบาลบอกว่าจะไม่แทรกแซงการทำงาน แต่การจะออกแบบให้ ส.ส.ร. 3 มีที่มาส่วนหนึ่งจากการเลือกตั้งโดยตรงจังหวัดละ 1 คน 76 จังหวัดก็พอบอกได้แล้วว่ากว่าครึ่งของจำนวนนี้จะอยู่ในสกุลความคิดเดียวกับรัฐบาล ส่วนที่เหลือที่เป็นสายนักวิชาการ ก็จะต้องมีชื่อสุดยอดนักกฎหมายมหาชนอย่างอาจารย์วรเจตน์ ภาคีรัตน์ ดีไม่ดีอาจดดอดส่งอาจารย์วรพล พรหมมิกบุตรเข้ามาด้วย
ที่มาแบบนี้ ทำอย่างไรก็ไม่มีทางปฏิรูปการเมืองได้
คงไม่ต้องสาธยายต่อกระมังว่า ส.ส.ร. 3 ระยะที่ 3 มีสภาพเป็น “ตดหัวขี้” อย่างไร
ฟันธงสั้น ๆ ง่าย ๆ ว่าหลังการเสียชีวิตและบาดเจ็บของพี่น้องประชาชน รัฐบาลนายสมชายฯไม่มีสิทธิทำอะไรอีกแล้ว
แม้แต่ “ยุบสภาฯ” ก็ไม่น่าจะมีสิทธิ !
ต้อง “ลาออกทันที” สถานเดียว !!
แต่เอาเถอะ ถ้าเลือกหนทางยุบสภาฯ ก็พอจะกล้อมแกล้มยอมรับกันได้ เพราะนี่คือหนึ่งในวิถีทางออกของการเมืองในระบบปัจจุบันที่แม้เราไม่เห็นว่าจะแก้ปัญหาได้อย่างไร แต่ก็ไม่มีทางเลี่ยง หากไม่เกิดปัญญารวมหมู่ขึ้นมาพร้อมกันระหว่างมวลชนอันไพศาลทั่วประเทศและชนชั้นนำในสังคม
บนความเลวร้ายของสถานการณ์วันนี้ ผมยังหวังว่าหากรัฐบาลลาออก หรือยุบสภาฯ สถานการณ์จะไม่หมุนกลับไปเหมือนเดิม
และถ้าหากจะมีการเปลี่ยนขั้วการเมือง ขั้วใหม่ก็จะต้องไม่จัดตั้งรัฐบาลไปแบบเดิม ๆ
เรื่องนี้เมื่อถึงเวลาค่อย ๆ คุยกัน
แต่วันนี้ ต้องทำความเข้าใจกันก่อนว่า...
อย่ายอมทนดม “ตดหัวขี้” เพราะเห็นผิดเป็นชอบว่าดีกว่าต้องดม “ขี้” เลย !