รอยเตอร์ – เศรษฐกิจสหรัฐฯขณะนี้กำลังแสดงอาการโรคเหมือนในช่วงทศวรรษ 1970 ไปจนถึง 1980 อันเป็นช่วงที่เกิดภาวะชะลอตัวรุนแรง และอาจจะต้องใช้เวลาหนึ่งปีหรือมากกว่านั้นที่จะค่อย ๆกลับไปสู่สภาพที่เศรษฐกิจขยายตัวในอัตราใกล้ปกติ
ตามตัวเลขล่าสุดที่ทยอยประกาศกันออกมา เวลานี้คำสั่งซื้อสินค้าในโรงงานต่าง ๆ ได้ลดลงมาก บริษัทพากันลดตำแหน่งงานลง ในขณะเดียวกันผู้บริโภคก็พากันรัดเข็มขัด จนนักเศรษฐศาสตร์หลายรายพากันคิดว่า เศรษฐกิจสหรัฐฯจะหดตัวถึงสามไตรมาสติดกัน ซึ่งไม่มีใครเคยเห็นสถานการณ์เช่นนี้มาถึง 33 ปีแล้ว
“ตอนนี้เรากำลังเผชิญกับสถานการณ์ที่เลวร้ายลงไปเรื่อย ๆ ไม่ว่าจะเป็นในตลาดแรงงาน, รายได้บุคคล, ตลาดหุ้นที่ดิ่งลงรายวัน, ราคาบ้านที่อ่อนตัวลงเรื่อย ๆ รวมทั้งวิกฤตสินเชื่อครั้งรุนแรงที่ทำให้ชาวอเมริกันต้องหยุดจับจ่ายใช้สอย” เบอร์นาร์ด โบมมอห์ล นักเศรษฐศาสตร์จากอีโคโนมิค เอาท์ลุ้ค กรุ๊ปจาก เมืองพรินซตัน มลรัฐนิวเจอร์ซีย์ กล่าว
“ทุกคนดูเหมือนกำลังเตรียมตัวรับกับภาวะเศรษฐกิจถดถอยอันยากลำบากที่กำลังมาถึง”
รอยเตอร์ได้สำรวจความคิดเห็นของนักเศรษฐศาสตร์จำนวนหนึ่ง และพบว่าส่วนใหญ่คิดว่าเศรษฐกิจหดตัวเริ่มต้นตั้งแต่ปลายไตรมาสสาม อีกทั้งจะยังคงไม่มีอัตราการเติบโตไปจนไตรมาสสองของปีหน้า และกระทั่งถึงตอนนั้น ก็จะเป็นอัตราการเติบโตที่เล็กน้อยมาก ๆ
ผลการสำรวจความคิดเห็นของรอยเตอร์ที่เผยแพร่ออกมาในวันพฤหัสบดี(16) ยังคงอยู่ในสภาพที่แย่มากๆ ถึงแม้จะจัดทำขึ้นหลังจากที่รัฐบาลในกลุ่ม 7 ประเทศอุตสาหกรรมชั้นนำของโลก(จี7) ได้รีบเร่งเข้าโอนกิจการส่วนหนึ่งของภาคธนาคารมาของรัฐ และธนาคารกลางของประเทศต่าง ๆได้ประกาศมาตรการที่ไม่เคยทำกันมาก่อน นั่นคือ ลดอัตราดอกเบี้ยอย่างพร้อมเพรียงกันเพื่อกระตุ้นการเติบโต
ในส่วนของทางการสหรัฐฯเอง ก็มองภาพในแง่มืดมัวเช่นเดียวกัน
แกรี สเติร์น ประธานของธนาคารกลางสหรัฐสาขามินนิอาโปลิสกล่าวเมื่อวันพฤหัสบดีว่า สถานการณ์ปัจจุบันอาจจะแย่กว่าในปี 1990-1991 ที่เศรษฐกิจหดตัวลงสองไตรมาสติดต่อกัน และหลังจากนั้นก็มีอัตราการเติบโตเพียงเล็กน้อยอยู่สองปี
“เมื่อวัดจากขอบเขตและความรุนแรงของการช็อกทางการเงินเมื่อไม่นานมานี้ การชะงักงันของกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่เกิดจากความปั่นป่วนในตลาดสินเชื่อน่าจะร้ายแรงมากกว่าประสบการณ์ในช่วงทศวรรษ 1990” สเติร์นกล่าว
ในช่วงของเศรษฐกิจถดถอยเมื่อ 18 ปีก่อน ผลผลิตมวลรวมประชาชาติ(จีดีพี)ของสหรัฐฯ หดตัวลง 3% ในช่วงไตรมาสสี่ของปี 1990 และคงอยู่ในแดนลบไปจนถึงถึงไตรมาสแรกของปี 1992
สำหรับครั้งนี้ พวกนักเศรษฐศาสตร์ที่ตอบแบบสอบถามของรอยเตอร์คิดว่า เศรษฐกิจที่กำลังย่ำแย่ในขณะนี้อาจจะไม่ดิ่งลงรุนแรงเท่า อย่างมากที่สุดก็ติดลบ 1.3% ในไตรมาสสี่ของปีนี้ แต่ว่าอาจจะต้องรอจนถึงปี 2010 ที่อัตราการเติบโตจะกลับคืนมาเหมือนช่วงปกติอีกครั้ง
แม้ว่าความเห็นโดยเฉลี่ยนั้นชี้ว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯน่าจะอยู่ในภาวะถดถอยอยู่ราวสามไตรมาสติดกัน แต่นักเศรษฐศาสตร์ที่มองโลกในแง่ร้ายที่สุดนั้นคาดว่าช่วงเวลาที่ไม่มีอัตราเติบโตน่าจะยาวนานถึง 18 เดือนเลยทีเดียว ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่เคยเกิดขึ้นกับเศรษฐกิจสหรัฐฯมาตั้งแต่ปี 1947
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ตลาดแรงงานดูจะส่งสัญญาณของความย่ำแย่ออกมาหนักหน่วงที่สุด อัตราการว่างงานปัจจุบันนั้นอยู่ที่ 6.1% สูงกว่าตัวเลขในเดือนกรกฎาคมปี 1990 ซึ่งเป็นเดือนเริ่มต้นของภาวะเศรษฐกิจถดถอยในช่วงนั้น นักเศรษฐศาสตร์เวลานี้เชื่อว่าอัตราว่างงานจะเพิ่มขึ้นเป็น 8% และอาจจะสูงกว่านี้ในปีหน้า อันจะเป็นสถานการณ์ที่ย่ำแย่ที่สุดนับตั้งแต่ปี 1983 เป็นต้นมา เมื่อเศรษฐกิจต้องพบกับภาวะถดถอยถึงสองหนติดต่อกัน
ตัวเลขที่ออกมาเมื่อวันพฤหัสบดีแสดงให้เห็นว่า ภาคโรงงานอุตสาหกรรมในเขตมิดแอตแลนติกมีอัตราการผลิตที่ต่ำที่สุดในรอบ 18 ปีเมื่อเดือนตุลาคมที่ผ่านมา ส่วนคำสั่งซื้อสินค้าใหม่นั้นอ่อนตัวลงมากที่สุดนับตั้งแต่ปี 1980 เป็นต้นมา และเมื่อเดือนที่แล้วผลผลิตภาคอุตสาหกรรมของสหรัฐฯในรอบหนึ่งเดือนก็ร่วงลงรุนแรงที่สุดในรอบ 34 ปี
ตามตัวเลขล่าสุดที่ทยอยประกาศกันออกมา เวลานี้คำสั่งซื้อสินค้าในโรงงานต่าง ๆ ได้ลดลงมาก บริษัทพากันลดตำแหน่งงานลง ในขณะเดียวกันผู้บริโภคก็พากันรัดเข็มขัด จนนักเศรษฐศาสตร์หลายรายพากันคิดว่า เศรษฐกิจสหรัฐฯจะหดตัวถึงสามไตรมาสติดกัน ซึ่งไม่มีใครเคยเห็นสถานการณ์เช่นนี้มาถึง 33 ปีแล้ว
“ตอนนี้เรากำลังเผชิญกับสถานการณ์ที่เลวร้ายลงไปเรื่อย ๆ ไม่ว่าจะเป็นในตลาดแรงงาน, รายได้บุคคล, ตลาดหุ้นที่ดิ่งลงรายวัน, ราคาบ้านที่อ่อนตัวลงเรื่อย ๆ รวมทั้งวิกฤตสินเชื่อครั้งรุนแรงที่ทำให้ชาวอเมริกันต้องหยุดจับจ่ายใช้สอย” เบอร์นาร์ด โบมมอห์ล นักเศรษฐศาสตร์จากอีโคโนมิค เอาท์ลุ้ค กรุ๊ปจาก เมืองพรินซตัน มลรัฐนิวเจอร์ซีย์ กล่าว
“ทุกคนดูเหมือนกำลังเตรียมตัวรับกับภาวะเศรษฐกิจถดถอยอันยากลำบากที่กำลังมาถึง”
รอยเตอร์ได้สำรวจความคิดเห็นของนักเศรษฐศาสตร์จำนวนหนึ่ง และพบว่าส่วนใหญ่คิดว่าเศรษฐกิจหดตัวเริ่มต้นตั้งแต่ปลายไตรมาสสาม อีกทั้งจะยังคงไม่มีอัตราการเติบโตไปจนไตรมาสสองของปีหน้า และกระทั่งถึงตอนนั้น ก็จะเป็นอัตราการเติบโตที่เล็กน้อยมาก ๆ
ผลการสำรวจความคิดเห็นของรอยเตอร์ที่เผยแพร่ออกมาในวันพฤหัสบดี(16) ยังคงอยู่ในสภาพที่แย่มากๆ ถึงแม้จะจัดทำขึ้นหลังจากที่รัฐบาลในกลุ่ม 7 ประเทศอุตสาหกรรมชั้นนำของโลก(จี7) ได้รีบเร่งเข้าโอนกิจการส่วนหนึ่งของภาคธนาคารมาของรัฐ และธนาคารกลางของประเทศต่าง ๆได้ประกาศมาตรการที่ไม่เคยทำกันมาก่อน นั่นคือ ลดอัตราดอกเบี้ยอย่างพร้อมเพรียงกันเพื่อกระตุ้นการเติบโต
ในส่วนของทางการสหรัฐฯเอง ก็มองภาพในแง่มืดมัวเช่นเดียวกัน
แกรี สเติร์น ประธานของธนาคารกลางสหรัฐสาขามินนิอาโปลิสกล่าวเมื่อวันพฤหัสบดีว่า สถานการณ์ปัจจุบันอาจจะแย่กว่าในปี 1990-1991 ที่เศรษฐกิจหดตัวลงสองไตรมาสติดต่อกัน และหลังจากนั้นก็มีอัตราการเติบโตเพียงเล็กน้อยอยู่สองปี
“เมื่อวัดจากขอบเขตและความรุนแรงของการช็อกทางการเงินเมื่อไม่นานมานี้ การชะงักงันของกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่เกิดจากความปั่นป่วนในตลาดสินเชื่อน่าจะร้ายแรงมากกว่าประสบการณ์ในช่วงทศวรรษ 1990” สเติร์นกล่าว
ในช่วงของเศรษฐกิจถดถอยเมื่อ 18 ปีก่อน ผลผลิตมวลรวมประชาชาติ(จีดีพี)ของสหรัฐฯ หดตัวลง 3% ในช่วงไตรมาสสี่ของปี 1990 และคงอยู่ในแดนลบไปจนถึงถึงไตรมาสแรกของปี 1992
สำหรับครั้งนี้ พวกนักเศรษฐศาสตร์ที่ตอบแบบสอบถามของรอยเตอร์คิดว่า เศรษฐกิจที่กำลังย่ำแย่ในขณะนี้อาจจะไม่ดิ่งลงรุนแรงเท่า อย่างมากที่สุดก็ติดลบ 1.3% ในไตรมาสสี่ของปีนี้ แต่ว่าอาจจะต้องรอจนถึงปี 2010 ที่อัตราการเติบโตจะกลับคืนมาเหมือนช่วงปกติอีกครั้ง
แม้ว่าความเห็นโดยเฉลี่ยนั้นชี้ว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯน่าจะอยู่ในภาวะถดถอยอยู่ราวสามไตรมาสติดกัน แต่นักเศรษฐศาสตร์ที่มองโลกในแง่ร้ายที่สุดนั้นคาดว่าช่วงเวลาที่ไม่มีอัตราเติบโตน่าจะยาวนานถึง 18 เดือนเลยทีเดียว ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่เคยเกิดขึ้นกับเศรษฐกิจสหรัฐฯมาตั้งแต่ปี 1947
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ตลาดแรงงานดูจะส่งสัญญาณของความย่ำแย่ออกมาหนักหน่วงที่สุด อัตราการว่างงานปัจจุบันนั้นอยู่ที่ 6.1% สูงกว่าตัวเลขในเดือนกรกฎาคมปี 1990 ซึ่งเป็นเดือนเริ่มต้นของภาวะเศรษฐกิจถดถอยในช่วงนั้น นักเศรษฐศาสตร์เวลานี้เชื่อว่าอัตราว่างงานจะเพิ่มขึ้นเป็น 8% และอาจจะสูงกว่านี้ในปีหน้า อันจะเป็นสถานการณ์ที่ย่ำแย่ที่สุดนับตั้งแต่ปี 1983 เป็นต้นมา เมื่อเศรษฐกิจต้องพบกับภาวะถดถอยถึงสองหนติดต่อกัน
ตัวเลขที่ออกมาเมื่อวันพฤหัสบดีแสดงให้เห็นว่า ภาคโรงงานอุตสาหกรรมในเขตมิดแอตแลนติกมีอัตราการผลิตที่ต่ำที่สุดในรอบ 18 ปีเมื่อเดือนตุลาคมที่ผ่านมา ส่วนคำสั่งซื้อสินค้าใหม่นั้นอ่อนตัวลงมากที่สุดนับตั้งแต่ปี 1980 เป็นต้นมา และเมื่อเดือนที่แล้วผลผลิตภาคอุตสาหกรรมของสหรัฐฯในรอบหนึ่งเดือนก็ร่วงลงรุนแรงที่สุดในรอบ 34 ปี