ผู้สื่อข่าวรายงานว่าเมื่อเวลา 10.00 น. วานนี้ (16 ต.ค.) ที่ห้องรับรอง 1 อาคารรัฐสภามีการประชุมคณะกรรมการดำเนินการยกร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ มาตรา 291 ภายหลังจากที่ที่ประชุม 4 ฝ่ายและที่ประชุมหัวหน้าพรรคการเมือง มีมติให้แก้รัฐธรรมนูญ มาตรา 291 เพื่อเปิดช่องให้มีการตั้ง สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งการประชุมครั้งนี้เป็นการประชุมนัดแรก มีนายนิคม ไวยรัชพานิช รองประธานวุฒิสภาทำหน้าที่ประธานการประชุม มีตัวแทนพรรคการเมือง 6 พรรค ประกอบด้วยนายสุขุมพงศ์ โง่นคำ รองเลขาธิการพรรคพลังประชาชน นายนิกร จำนง รองหัวหน้าพรรคชาติไทย นายไชยยศ จิรเมธากร โฆษกพรรคเพื่อแผ่นดิน นาย บรรยิน ตั้งภากรณ์ รองหัวหน้าพรรคมัชฌิมาธิปไตย นายประเสริฐ บุญชัยสุข ส.ส.นครราชสีมา พรรครวมใจไทยชาติพัฒนา นายเจริญ แก้วยอดหล้า รองเลขาธิการพรรคประชาราช
อย่างไรก็ตาม การประชุมครั้งนี้ ขาดตัวแทนจากพรรคประชาธิปัตย์ ภายหลังจากที่ทางนาย ชัย ชิดชอบ ประธานสภาผู้แทนราษฎร ได้ทำหนังสือประสานเพื่อขอให้เข้าร่วมประชุม
ชง3พิมพ์เขียวส.ส.ร.3
นายสุขุมพงษ์ โง่นคำ แถลงภายหลังการประชุมว่า ที่ประชุมมอบหมายให้ตน เป็นประธานคณะกรรมการดังกล่าว โดยมีนายนิคม ไวยรัชพานิช รองประธานวุฒิสภา คนที่ 1 เป็นรองประธาน และนายนิกร จำนง รองหัวหน้าพรรคชาติไทย เป็นเลขาธิการ
นายสุขุมพงศ์ กล่าวว่า ที่ประชุม มีมติที่จะเร่งศึกษาจัดทำร่างเพื่อให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 291 ทั้งนี้ที่ประชุมได้ข้อสรุปดังนี้ 1. ให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 291 โดยให้มี ส.ส.ร.3 จำนวนประมาณ 100 คน 2. คุณสมบัติของ ส.ส.ร.3.ให้ยึดแบบปี 2540 และ3.ที่มาของ ส.ส.ร.3 นั้นยังไม่ได้ข้อสรุป แต่ในเบื้องต้นต้องการให้มาจากหลากหลายอาชีพ และ มีความเป็นกลางให้มากที่สุด โดยอำนาจของ ส.ส.ร.3 คือการจัดทำรัฐธรรมนูญใหม่ ใช้ระยะเวลาไม่เกิน 240 วันหรือ 8 เดือน จากนั้นก็จะอนุมัติให้รัฐสภาให้ความเห็นชอบ ต่อไป ถ้ารัฐสภาเห็นชอบก็จะนำขึ้นทูลเกล้าฯทันที แต่ถ้ารัฐสภาไม่เห็นชอบก็จะมีการทำประชามติ
นายสุขุมพงศ์ กล่าวว่า สำหรับที่มาขอ ส.ส.ร.3 นั้น มีผู้เสนอเข้ามา 3 แนวทาง คือ1.นายนิกร จำนง รองหัวหน้าพรรคชาติไทย เสนอว่า ส.ส.ร.มี100คน โดย มาจากตัวแทนจากสภาพัฒนาการเมือง 40 คน คือ ในสัดส่วนของตัวแทนจังหวัด 76จังหวัดแล้วให้เลือกกันเองเหลือครึ่งหนึ่ง คือ 38 คน ส่วนนายสุจิต บุญบงการ ประธานสภาฯและนายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ เลขาธิการสภาฯ เป็นโดยตำแหน่ง ส่วนที่เหลือมาจากกลุ่มคน 5 กลุ่มๆ ละ12 คน ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายมหาชน ผู้เชี่ยวชาญด้านสาขารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ ผู้มีประสบการณ์การเมือง การบริหารราชการแผ่นดิน ตัวแทนจากสถาบันการศึกษา และกลุ่มวิชาชีพ
แนวทางที่ 2 นายนิคม ไวยรัชพานิช รองประธานวุฒิสภา เสนอให้มี ส.ส.ร. 3 จำนวน 99 คน โดยมาจากสภาพัฒนาการเมืองและผู้ทรงคุณวุฒิอาชีพต่างๆ แนวทางที่ 3 ของ พ.ต.ท.บรรยิน ตั้งภากรณ์ จากพรรคมัชฌิมาธิปไตย เสนอว่า ส.ส.ร.3 ควรมาจากกลุ่มอาชีพต่างๆ ซึ่งที่ประชุมจะสรุปหาแนวทางของที่มา ส.ส.ร.3 ในวันพรุ่งนี้ (17 ตค.) เวลา 14.00น.
นายสุขุมพงศ์ กล่าวว่า ผลการประชุมจะนำเข้าสู่ที่ประชุม 4 ฝ่ายในช่วงเช้าของวันที่ 20 ต.ค.นี้ ก่อนส่งให้นาย ชัย ชิดชอบ ประธานสภา ในวันเดียวกัน และส่งให้ประธานวิปรัฐบาล และวุฒิสภา ต่อไป ทั้งนี้เชื่อว่าจะสามารถเสนอเข้าสู่สภาได้ในวันที่ 15 พ.ย.นี้ เพื่อให้สภาพิจารณาและรับหลักการต่อไป ส่วนที่พรรคประชาธิปัตย์ไม่เข้า ร่วมด้วยนั้นก็ถือว่าท่านมีความชอบธรรมสละสิทธิ ในขณะที่ทางเราก็มีสิทธิ์ทำต่อ ยืนยันว่าตรงนี้ไม่มีใครดันทุรังเพราะเป็นการทำตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ ไม่ใช่การจัดฉากหรือสร้างฉากอะไร
นิกรอ้างที่ประชุมหนุนพิมพ์เขียวชท.
นายนิกร จำนง รองหัวหน้าพรรคชาติไทย กล่าวว่า ที่ประชุมส่วนใหญ่เห็นพ้อง ในรูปแบบที่ตนเสนอ ซึ่งเป็นรูปแบบที่คล้ายกับส.ส.ร.ปี 40 สมัยที่นาย บรรหาร ศิลปอาชา เป็นนายกรัฐมนตรี จะให้ส.ส.ร.3 มีจำนวน 100 คน มาจากสภาพัฒนาการเมืองที่เลือกกันเองเหลือ 38 คน ร่วมกับนาย สุจิต บุญบงการ ประธานฯ และนาย บวรศักดิ์ อุวรรณโณ เลขาธิการสภาพัฒนาการเมือง เป็น 40 คน ส่วนอีก 60 คน จะมาจาก 5 กลุ่ม ๆ ละ 12 คน คือนักกฎหมายมหาชน ผู้เชี่ยวชาญด้านรัฐศาสตร์ ผู้มีประสบการณ์ด้านการบริหารราชการแผ่นดิน ตัวแทนจากสถาบันการศึกษา และตัวแทนวิชาชีพต่าง ๆ ซึ่งในส่วนนี้ทางฝ่ายพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยอาจได้รับการคัดเลือกเข้ามาเป็นตัวแทนก็ได้
นายนิกร กล่าวว่า คณะกรรมการฯเคารพความเห็นของพรรคประชาธิปัตย์ ที่ไม่เข้าร่วมประชุมในครั้งนี้ แต่ก็ต้องเคารพจุดมุ่งหมายของคณะกรรมการฯ ด้วยว่า ต้องการหาทางออกให้ประเทศ หากพรรคประชาธิปัตย์ไม่ยอมรับแนวทางนี้ ก็ควรเสนอแนวทางออกอื่นมาด้วย ทั้งนี้พรรคประชาธิปัตย์ในฐานะสมาชิกรัฐสภาก็สามารถเข้าร่วมเสนอแก้ไขมาตรา 291 ได้ด้วยการร่วมลงชื่อเสนอแก้ไขเมื่อคณะกรรมการฯพิจารณาเสร็จแล้ว แต่การให้ยุบสภาหรือให้นายกฯลาออกนั้นคงเป็นไปไม่ได้ แต่เมื่อมีการตั้งส.ส.ร.3เสร็จแล้วก็จะนำสู่การยุบสภาเอง
ปชป.แจงเหตุปฏิเสธร่วมถกแก้ม.291
นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย กรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะประธานคณะกรรมการประสานงาน (วิป) พรรคฝ่ายค้าน กล่าวถึงสาเหตุที่พรรคประชาธิปัตย์ไม่ได้ส่งตัวแทนเข้าร่วมประชุมครั้งนี้ว่า เมื่อวันที่ 9 ตุลาคมที่ผ่านมาประธานสภาฯ ได้ทำหนังสือเชิญพรรคประชาธิปัตย์เข้าร่วมการประชุมหัวหน้าพรรคการเมือง ทุกพรรค ร่วทั้งประธานสภาและประธานวุฒิสภาในวันที่ 20 ต.ค.นี้ ซึ่งพรรคได้ทำหนังสือปฏิเสธการเข้าร่วม และเมื่อวันที่ 14 ตุลาคม ก็ได้มีหนังสือเชิญอีกครั้งเพื่อนัดการประชุมหัวหน้าพรรคการเมืองการเมืองอีกครั้งเพื่อร่วมประชุมยกร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 291
โดยนายชัยอ้างว่าได้ตั้งคณะทำงานขึ้นมาแล้วเมื่อวันที่ 13 ต.ค.ที่ผ่านมา จึงต้องมีการเรียกประชุม ซึ่งพรรคก็ได้ปฏิเสธไปอีกครั้ง โดยให้เหตุผลว่า หลังเหตุการณ์วันที่ 7 ตุลาคมที่ผ่านมา จะเห็นได้ว่าข้อตกลงที่นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ นายกรัฐมนตรี ได้ให้ไว้ในที่ประชุม 4 ฝ่าย หรือในที่ประชุมหัวหน้าพรรคการเมือง เรื่องการแก้ปัญหาความขัดแย้งด้วยการสร้างความสมานฉันท์ไม่ได้เกิดขึ้นจริง ดังนั้น ที่มีการเสนอทางออกโดยการแก้มาตรา 291 จึงไม่ใช่เป้าหมายในการปฏิรูปการเมือง และไม่สามารถแก้วิกฤตบ้านเมืองในขณะนี้ได้ เป็นเพียงการเล่นเกมเยื้อเวลา ของนายกฯและประธานสภาฯเท่านั้น
ดังนั้น พรรคประชาธิปัตย์จะไม่อยากตกเป็นเครื่องมือตบตาประชาชน เพื่อให้เห็นว่ารัฐบาลนี้มีความชอบธรรมอีกต่อไป เพราะวันนี้เจตนารมณ์ของการแก้ปัญหาบ้านเมืองได้เปลี่ยนไปแล้ว นายกรัฐมนตรีต้องรับผิดชอบด้วยการลาออก หรือไม่ก็ยุบสภา อย่างไรก็ตาม ยืนยันว่าหากมีการประชุมในลักษณะเช่นนี้ พรรคประชาธิปัตย์ก็จะไม่เข้าร่วม แต่ถ้าเป็นการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ฝ่ายค้านพร้อมทำหน้าที่ของฝ่ายนิติบัญญัติ
อภิสิทธิ์ชี้นายกฯพูดอย่างทำอย่าง
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร และหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า จุดยืนของพรรคชัดเจนว่าการเสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 291 เพื่อตั้ง ส.ส.ร.3 เพื่อหวังแก้ปัญหาความไม่สงบในบ้านเมือง แต่เหตุการณ์ต่อมา ทำให้เลยจุดนั้นไปแล้ว วันนี้พรรครัฐบาลมีการประชุมกันก็สามารถดำเนินการได้ ซึ่งตนอยากเรียนย้ำและบอกผ่านไปถึงนายกรัฐมนตรี ซึ่งจริงๆ แล้วไม่อยากที่จะต้องให้กวนใจนายกรัฐมนตรีในเรื่องนี้ แต่อยากให้จำคำพูดที่ตกลงกันไว้ว่าเป็นอย่างไร แล้วต้องถามใจตัวเองว่ายังเป็นอย่างนั้นอยู่หรือไม่ มันไม่ได้เป็นไปตามเจตนารมณ์ ตรงนั้นแล้ว เพราะฉะนั้นการประชุมวันนี้เป็นส่วนของสภาเขาก็ทำไป เพราะนายชัย ชิดชอบ ประธานสภาฯ เป็นคนนัด แต่รัฐบาลควรไปดูแลเรื่องกัมพูชาให้เรียบร้อย
ผู้สื่อข่าวถามว่าหลังจากวันนี้หากมีการเชิญฝ่ายค้านเข้าร่วมทำกิจกรรมจะร่วมด้วยหรือไม่ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ก็ต้องคุยกันก่อน แต่ที่ผ่านมาเขาไม่ได้แสดง ความสนใจที่จะให้ฝ่ายค้านไปร่วมจริงอยู่แล้ว เพราะเขาก็ให้ข่าวว่าจะทำฝ่ายเดียว ส่วนที่มีการหารือในวันนี้ทางวุฒิสภายังเข้าร่วมด้วยนั้น ก็ใช่ แต่ข้อตกลงเดิม ต้องทำร่วมกันทุกฝ่าย และถ้าเห็นไม่ตรงกัน ซึ่งเคยพูดกันชัดไว้แล้วว่าถ้าเห็นไม่ตรงกันก็ไม่ควรเดินต่อ เพราะการจะแก้ปัญหาของประเทศได้ต้องทุกฝ่ายร่วมกัน แต่ถ้าเขาประกาศเองว่าไม่มีฝ่ายนั้นฝ่ายนี้ก็ได้ ก็ไม่เป็นไปตามเจตนารมณ์
ทั้งนี้ ในการประชุมร่วม 4 ฝ่าย ในวันที่ 20 ต.ค.ที่จะถึงนี้ยังไม่ได้มีการเชิญ ฝ่ายค้านมา จึงไม่รู้ว่าจะเข้าร่วมหารือหรือไม่ อย่างไรก็ตาม การเชิญไปหารือในวันนี้ ตนได้ทำหนังสือชี้แจงไปแล้วถึงเหตุการณ์วันที่ 7 ต.ค.ที่ผ่านมาว่าเราไม่สามารถที่จะเข้าร่วมได้
ชัยขู่ไม่แก้ม.291ต้องใช้ร่างเหวง
ด้านนายชัย ชิดชอบ ประธานสภาผู้แทนราษฎร เปิดเผยว่า ในการประชุมรัฐสภา ยังมีวาระการประชุมค้างอยู่หลายเรื่อง เช่นการพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ เพิ่มเติมของ คปพร.ซึ่งมี นพ.เหวง โตจิราการ เป็นแกนนำในการเสนอต่อสภา ก็อยู่ในวาระแล้ว ถ้าไม่มีการเสนอญัตติแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมฯญ มาตรา 291 เพื่อเปิดทางให้มี ส.ส.ร.เข้ามาก็ต้องพิจารณาวาระดังกล่าวต่อไป เพราะได้มีการเสนอเข้ามาตามกระบวนการอย่างถูกต้องแล้ว
อย่างไรก็ตามรัฐสภาสามารถเลื่อนวาระอื่นๆ ขึ้นมาได้ ยืนยันว่าประธานรัฐสภา ทำตามกฎหมาย ใครอยากจะฟ้องร้องก็เชิญ และการประชุมสภาในสัปดาห์หน้าก็จะประชุมตามปกติ ในวันที่ 22 ต.ค.ส่วนที่งดประชุมเพราะต้องการดูบรรยากาศ ว่าเหตุการณ์เป็นอย่างไร เมื่อเหตุการณ์ปกติก็ประชุมได้
ผู้สื่อข่าวถามว่าหากพรรคประชาธิปัตย์ไม่ร่วมประชุมจะทำอย่างไร นายชัย ย้อนถามว่า เป็นผู้แทนราษฎรหรือไม่ ส่วนที่ทางกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยจะมาปิดล้อมสภาเพื่อไม่ให้ส.ส.ประชุมนั้น ก็เป็นสิทธิเสรีภาพของประชาชนที่จะชุมนุมได้ ส่วนที่ ส.ส.ฝ่ายรัฐบาลจะขนคนมาชุมนุมที่รัฐสภานั้นตนไม่ทราบ เพราะถ้าเอามาก็มีค่าใช้จ่ายมาก ผู้แทนราษฎรค่าตอบแทนน้อยคงไม่ทำ และยืนยันว่า จะไม่ย้ายที่ประชุม ตนเชื่อว่าทุกคนเห็นแก่ชาติ มีสภาก็ต้องประชุมตามหน้าที่ จะประชุมที่อื่นไม่ได้ เพราะข้อบังคับกำหนดไว้ มั่นใจว่าพระสยามเทวาธิราช พระบารมีของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระราชินี คงคุ้มครอง ส่วนตนคงไม่ปีนหนีแล้ว จะยอมตายที่นี่ แต่วันนั้นโดนหลอก
ผู้สื่อข่าวถามว่าก่อนหน้านี้ได้ทำหนังสือประสานไปยังผบ.ตร.และผบ.ทบ. เพื่อขอความมั่นใจในการดูแลรักษาความปลอดภัยให้กับสมาชิกรัฐสภาหากเปิดการ ประชุมสภาฯ นายชัย กล่าวว่า ไม่เป็นไร มันเสร็จไป แล้ว เมื่อทางกองทัพบกหาหนังสือไม่เจอก็ไม่เป็นไร มันจบไปแล้ว ซึ่งกำลังส่วนใหญ่ก็คือสื่อมวลชนที่อยู่ที่นี่ ส่วนการประสานขอกำลังตำรวจมาอารักขาเพิ่มหรือไม่ นายชัย กล่าวว่า ยังไม่ได้ทำ
รสนาตะเพิดรัฐบาลทรราช
นางสาวรสนา โตสิตระกูล ส.ว.กรุงเทพ แกนนำกลุ่ม 40 ส.ว. กล่าวถึงกรณีที่ประชุมร่วม 4 ฝ่ายเห็นด้วยกับการตั้งส.ส.ร.3 เพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญว่า รัฐบาลหมดความ ชอบธรรมไปแล้ว และการตั้ง ส.ส.ร.3 เป็นการแก้ปัญหาทางการเมือง ไม่ใช่ปัญหาของประชาชนรัฐบาลต้องเคลียร์เหตุการณ์วันที่ 7 ต.ค. ให้กระจ่างก่อน ซึ่งทุกอย่างรัฐบาลเป็นตัวจุดชนวนให้เกิดปัญหาทั้งหมด เปรียบเหมือนปาราชิกไปแล้ว แม้ห่มผ้าเหลืองก็ไม่ใช่พระ เพราะก่อให้เกิดอนันตริยะกรรมทางการเมือง ถือเป็นโทษที่ หนักมาก คือ การฆ่าพ่อและแม่ รัฐบาลมาจากการเลือกตั้งก็เหมือนกับการคลอดมาจาก พ่อแม่ แต่รัฐบาลกลับฆ่าประชาชน ถือได้ว่าไม่เป็นรัฐบาล การตั้งส.ส.ร.มีเบื้องหลัง ตั้งอย่างลุกลี้ลุกลน เพื่อแก้ปัญหาของตนเอง กลุ่มส.ว.จะติดตามสถานการณ์วันต่อวันเพื่อเคลื่อนไหวต่อไป รัฐบาลชุดนี้เป็นรัฐบาลทรราชที่นับวันจะถูกเฉดหัวออกไป
สมชายไม่สนปชป.เมินร่วมถก
นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม กล่าวถึงตั้งสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.3) ว่า ในการประชุมก่อนหน้านี้ ทุกพรรคเห็นชอบตรงกันและเวลาจะส่งทุกพรรคจะลงชื่อร่วมกัน แต่เวลาที่ผ่านมาหลังจากนั้นตนไม่ทราบ
ผู้สื่อข่าวถามว่าพรรคประชาธิปัตย์ไม่ให้ความมือแล้วจะกระทบกับแนวทางที่วางไว้หรือเปล่า นายสมชาย กล่าวว่า ต้องดูต่อไป รัฐบาลก็จะเดินหน้าต่อไป เพราะเห็นว่าแนวทางนี้เป็นทางออกที่ทุกฝ่ายแม้แต่ประธานวุฒิ ประธานสภาฯหัวหน้าพรรคการเมืองทุกพรรคเห็นชอบแล้วในการหารือร่วมครั้งที่ผ่านมา เมื่อเป็นอย่างนี้แล้วก็ถือว่าตัวแทนประชาชนทั้งหมดเห็นชอบ เพราะผู้แทนในสภาฯ ถือเป็นตัวแทนประชาชน คนที่มาก็เป็นคนที่เลือกมากจากประชาชนทั้งหมด เป็นการมีส่วนร่วมทั้งประเทศไม่เว้นใครแม้แต่คนใดคนหนึ่ง อำนาจอธิปไตย เป็นของปวงชนทุกคน อันนั้นน่าจะเป็นทางบออกที่ดี ถ้าเอากลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง อีกกลุ่มก็ไม่ยอม ต้องทำให้ได้ทุกกลุ่มและคิดว่านั่นคือทางออก พอร่างเสร็จไม่มีปัญหาคืนอำนาจให้กับประชาชนได้ ตัดสินใจกันใหม่ ไม่มีปัญหาเลย ตนไม่ได้ติดยึดอะไรเลย
นายกฯบอกร่างรธน.เสร็จถึงไป
ผู้สื่อข่าวถามว่าคิดว่าสิ่งที่พูดมาจะสามารถทำได้ประสบความสำเร็จหรือไม่ นายสมชาย กล่าวว่า ไม่ทราบ แต่ก็พยายามทำ อยู่ที่ความร่วมมือของทุกฝ่ายว่าจะเห็นทางออกร่วมกันหรือไม่ เมื่อถามว่าพรรคประชาธิปัตย์เล่นเกมการเมือง มากไปหรือไม่ นายสมชาย กล่าวว่า ตนไม่วิจารณ์คนอื่น แต่ตนบอกแล้ว ขึ้นมาเป็นนายกรัฐมนตรีนี้ไม่เป็นการเมือง อยากจะช่วยประชาชนมากกว่า
ผู้สื่อข่าวถามว่าแสดงว่าเมื่อตั้ง ส.ส.ร.เสร็จนายกฯจะถอยทางการเมือง ใช่หรือไม่ นายสมชาย กล่าวว่า ต้องให้เขาร่างรัฐธรรมนูญก่อนสิ จะสามเดือนสี่เดือน ก็ว่าไป เมื่อได้รัฐธรรมนูญใหม่มาแล้วมันก็ควรจะคืนอำนาจให้ประชาชนตัดสินว่าตามรัฐธรรมนูญนี้จะเอาอย่างไรต่อไป
ตำแหน่งหน้าที่ต่างๆเป็นหัวโขน ไม่ได้สวมตลอดชีวิต วันหนึ่งก็ต้องจากไป แต่การจากไปแล้วมีทางออก ประชาชนสงบสุข ผมว่านั้นคือทางที่ดีที่สุด ไม่ใช่ว่าจากไปแล้วยังตะลุมบอนเหมือนเดิม มันไม่ใช่อยากติดยึด แต่งานที่ต้องทำอาจจะได้รับการกระทบกระเทือน”นายสมชาย กล่าว
ผู้สื่อข่าวถามว่าจะต้องใช้ระยะเวลานานแค่ไหนในการร่างรัฐธรรมนูญ นายสมชาย กล่าวว่า มันอยู่ที่ความร่วมมือของทุกฝ่าย ตนอยากให้เสร็จเร็วๆพรุ่งนี้ด้วยซ้ำไป เมื่อถามว่า มั่นใจหรือไม่จากไปแล้วจะมีการตะลุมบอนต่ออีกหรือไม่ นายสมชาย กล่าวว่า ตนยังไม่จากไปไหนเลย ต้องให้จบกระบวนการ อย่างที่ตนพูดในทีวีไปว่าตอนนี้เห็นช่องทางออกตรงไหน ลาออกก็ดี อะไรๆก็ดี แล้วแต่ อันนี้ต่างจิตต่างใจ ตนไม่ได้บอกว่าตนพูดแล้วจะต้องถูก
อย่างไรก็ตาม การประชุมครั้งนี้ ขาดตัวแทนจากพรรคประชาธิปัตย์ ภายหลังจากที่ทางนาย ชัย ชิดชอบ ประธานสภาผู้แทนราษฎร ได้ทำหนังสือประสานเพื่อขอให้เข้าร่วมประชุม
ชง3พิมพ์เขียวส.ส.ร.3
นายสุขุมพงษ์ โง่นคำ แถลงภายหลังการประชุมว่า ที่ประชุมมอบหมายให้ตน เป็นประธานคณะกรรมการดังกล่าว โดยมีนายนิคม ไวยรัชพานิช รองประธานวุฒิสภา คนที่ 1 เป็นรองประธาน และนายนิกร จำนง รองหัวหน้าพรรคชาติไทย เป็นเลขาธิการ
นายสุขุมพงศ์ กล่าวว่า ที่ประชุม มีมติที่จะเร่งศึกษาจัดทำร่างเพื่อให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 291 ทั้งนี้ที่ประชุมได้ข้อสรุปดังนี้ 1. ให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 291 โดยให้มี ส.ส.ร.3 จำนวนประมาณ 100 คน 2. คุณสมบัติของ ส.ส.ร.3.ให้ยึดแบบปี 2540 และ3.ที่มาของ ส.ส.ร.3 นั้นยังไม่ได้ข้อสรุป แต่ในเบื้องต้นต้องการให้มาจากหลากหลายอาชีพ และ มีความเป็นกลางให้มากที่สุด โดยอำนาจของ ส.ส.ร.3 คือการจัดทำรัฐธรรมนูญใหม่ ใช้ระยะเวลาไม่เกิน 240 วันหรือ 8 เดือน จากนั้นก็จะอนุมัติให้รัฐสภาให้ความเห็นชอบ ต่อไป ถ้ารัฐสภาเห็นชอบก็จะนำขึ้นทูลเกล้าฯทันที แต่ถ้ารัฐสภาไม่เห็นชอบก็จะมีการทำประชามติ
นายสุขุมพงศ์ กล่าวว่า สำหรับที่มาขอ ส.ส.ร.3 นั้น มีผู้เสนอเข้ามา 3 แนวทาง คือ1.นายนิกร จำนง รองหัวหน้าพรรคชาติไทย เสนอว่า ส.ส.ร.มี100คน โดย มาจากตัวแทนจากสภาพัฒนาการเมือง 40 คน คือ ในสัดส่วนของตัวแทนจังหวัด 76จังหวัดแล้วให้เลือกกันเองเหลือครึ่งหนึ่ง คือ 38 คน ส่วนนายสุจิต บุญบงการ ประธานสภาฯและนายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ เลขาธิการสภาฯ เป็นโดยตำแหน่ง ส่วนที่เหลือมาจากกลุ่มคน 5 กลุ่มๆ ละ12 คน ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายมหาชน ผู้เชี่ยวชาญด้านสาขารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ ผู้มีประสบการณ์การเมือง การบริหารราชการแผ่นดิน ตัวแทนจากสถาบันการศึกษา และกลุ่มวิชาชีพ
แนวทางที่ 2 นายนิคม ไวยรัชพานิช รองประธานวุฒิสภา เสนอให้มี ส.ส.ร. 3 จำนวน 99 คน โดยมาจากสภาพัฒนาการเมืองและผู้ทรงคุณวุฒิอาชีพต่างๆ แนวทางที่ 3 ของ พ.ต.ท.บรรยิน ตั้งภากรณ์ จากพรรคมัชฌิมาธิปไตย เสนอว่า ส.ส.ร.3 ควรมาจากกลุ่มอาชีพต่างๆ ซึ่งที่ประชุมจะสรุปหาแนวทางของที่มา ส.ส.ร.3 ในวันพรุ่งนี้ (17 ตค.) เวลา 14.00น.
นายสุขุมพงศ์ กล่าวว่า ผลการประชุมจะนำเข้าสู่ที่ประชุม 4 ฝ่ายในช่วงเช้าของวันที่ 20 ต.ค.นี้ ก่อนส่งให้นาย ชัย ชิดชอบ ประธานสภา ในวันเดียวกัน และส่งให้ประธานวิปรัฐบาล และวุฒิสภา ต่อไป ทั้งนี้เชื่อว่าจะสามารถเสนอเข้าสู่สภาได้ในวันที่ 15 พ.ย.นี้ เพื่อให้สภาพิจารณาและรับหลักการต่อไป ส่วนที่พรรคประชาธิปัตย์ไม่เข้า ร่วมด้วยนั้นก็ถือว่าท่านมีความชอบธรรมสละสิทธิ ในขณะที่ทางเราก็มีสิทธิ์ทำต่อ ยืนยันว่าตรงนี้ไม่มีใครดันทุรังเพราะเป็นการทำตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ ไม่ใช่การจัดฉากหรือสร้างฉากอะไร
นิกรอ้างที่ประชุมหนุนพิมพ์เขียวชท.
นายนิกร จำนง รองหัวหน้าพรรคชาติไทย กล่าวว่า ที่ประชุมส่วนใหญ่เห็นพ้อง ในรูปแบบที่ตนเสนอ ซึ่งเป็นรูปแบบที่คล้ายกับส.ส.ร.ปี 40 สมัยที่นาย บรรหาร ศิลปอาชา เป็นนายกรัฐมนตรี จะให้ส.ส.ร.3 มีจำนวน 100 คน มาจากสภาพัฒนาการเมืองที่เลือกกันเองเหลือ 38 คน ร่วมกับนาย สุจิต บุญบงการ ประธานฯ และนาย บวรศักดิ์ อุวรรณโณ เลขาธิการสภาพัฒนาการเมือง เป็น 40 คน ส่วนอีก 60 คน จะมาจาก 5 กลุ่ม ๆ ละ 12 คน คือนักกฎหมายมหาชน ผู้เชี่ยวชาญด้านรัฐศาสตร์ ผู้มีประสบการณ์ด้านการบริหารราชการแผ่นดิน ตัวแทนจากสถาบันการศึกษา และตัวแทนวิชาชีพต่าง ๆ ซึ่งในส่วนนี้ทางฝ่ายพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยอาจได้รับการคัดเลือกเข้ามาเป็นตัวแทนก็ได้
นายนิกร กล่าวว่า คณะกรรมการฯเคารพความเห็นของพรรคประชาธิปัตย์ ที่ไม่เข้าร่วมประชุมในครั้งนี้ แต่ก็ต้องเคารพจุดมุ่งหมายของคณะกรรมการฯ ด้วยว่า ต้องการหาทางออกให้ประเทศ หากพรรคประชาธิปัตย์ไม่ยอมรับแนวทางนี้ ก็ควรเสนอแนวทางออกอื่นมาด้วย ทั้งนี้พรรคประชาธิปัตย์ในฐานะสมาชิกรัฐสภาก็สามารถเข้าร่วมเสนอแก้ไขมาตรา 291 ได้ด้วยการร่วมลงชื่อเสนอแก้ไขเมื่อคณะกรรมการฯพิจารณาเสร็จแล้ว แต่การให้ยุบสภาหรือให้นายกฯลาออกนั้นคงเป็นไปไม่ได้ แต่เมื่อมีการตั้งส.ส.ร.3เสร็จแล้วก็จะนำสู่การยุบสภาเอง
ปชป.แจงเหตุปฏิเสธร่วมถกแก้ม.291
นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย กรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะประธานคณะกรรมการประสานงาน (วิป) พรรคฝ่ายค้าน กล่าวถึงสาเหตุที่พรรคประชาธิปัตย์ไม่ได้ส่งตัวแทนเข้าร่วมประชุมครั้งนี้ว่า เมื่อวันที่ 9 ตุลาคมที่ผ่านมาประธานสภาฯ ได้ทำหนังสือเชิญพรรคประชาธิปัตย์เข้าร่วมการประชุมหัวหน้าพรรคการเมือง ทุกพรรค ร่วทั้งประธานสภาและประธานวุฒิสภาในวันที่ 20 ต.ค.นี้ ซึ่งพรรคได้ทำหนังสือปฏิเสธการเข้าร่วม และเมื่อวันที่ 14 ตุลาคม ก็ได้มีหนังสือเชิญอีกครั้งเพื่อนัดการประชุมหัวหน้าพรรคการเมืองการเมืองอีกครั้งเพื่อร่วมประชุมยกร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 291
โดยนายชัยอ้างว่าได้ตั้งคณะทำงานขึ้นมาแล้วเมื่อวันที่ 13 ต.ค.ที่ผ่านมา จึงต้องมีการเรียกประชุม ซึ่งพรรคก็ได้ปฏิเสธไปอีกครั้ง โดยให้เหตุผลว่า หลังเหตุการณ์วันที่ 7 ตุลาคมที่ผ่านมา จะเห็นได้ว่าข้อตกลงที่นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ นายกรัฐมนตรี ได้ให้ไว้ในที่ประชุม 4 ฝ่าย หรือในที่ประชุมหัวหน้าพรรคการเมือง เรื่องการแก้ปัญหาความขัดแย้งด้วยการสร้างความสมานฉันท์ไม่ได้เกิดขึ้นจริง ดังนั้น ที่มีการเสนอทางออกโดยการแก้มาตรา 291 จึงไม่ใช่เป้าหมายในการปฏิรูปการเมือง และไม่สามารถแก้วิกฤตบ้านเมืองในขณะนี้ได้ เป็นเพียงการเล่นเกมเยื้อเวลา ของนายกฯและประธานสภาฯเท่านั้น
ดังนั้น พรรคประชาธิปัตย์จะไม่อยากตกเป็นเครื่องมือตบตาประชาชน เพื่อให้เห็นว่ารัฐบาลนี้มีความชอบธรรมอีกต่อไป เพราะวันนี้เจตนารมณ์ของการแก้ปัญหาบ้านเมืองได้เปลี่ยนไปแล้ว นายกรัฐมนตรีต้องรับผิดชอบด้วยการลาออก หรือไม่ก็ยุบสภา อย่างไรก็ตาม ยืนยันว่าหากมีการประชุมในลักษณะเช่นนี้ พรรคประชาธิปัตย์ก็จะไม่เข้าร่วม แต่ถ้าเป็นการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ฝ่ายค้านพร้อมทำหน้าที่ของฝ่ายนิติบัญญัติ
อภิสิทธิ์ชี้นายกฯพูดอย่างทำอย่าง
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร และหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า จุดยืนของพรรคชัดเจนว่าการเสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 291 เพื่อตั้ง ส.ส.ร.3 เพื่อหวังแก้ปัญหาความไม่สงบในบ้านเมือง แต่เหตุการณ์ต่อมา ทำให้เลยจุดนั้นไปแล้ว วันนี้พรรครัฐบาลมีการประชุมกันก็สามารถดำเนินการได้ ซึ่งตนอยากเรียนย้ำและบอกผ่านไปถึงนายกรัฐมนตรี ซึ่งจริงๆ แล้วไม่อยากที่จะต้องให้กวนใจนายกรัฐมนตรีในเรื่องนี้ แต่อยากให้จำคำพูดที่ตกลงกันไว้ว่าเป็นอย่างไร แล้วต้องถามใจตัวเองว่ายังเป็นอย่างนั้นอยู่หรือไม่ มันไม่ได้เป็นไปตามเจตนารมณ์ ตรงนั้นแล้ว เพราะฉะนั้นการประชุมวันนี้เป็นส่วนของสภาเขาก็ทำไป เพราะนายชัย ชิดชอบ ประธานสภาฯ เป็นคนนัด แต่รัฐบาลควรไปดูแลเรื่องกัมพูชาให้เรียบร้อย
ผู้สื่อข่าวถามว่าหลังจากวันนี้หากมีการเชิญฝ่ายค้านเข้าร่วมทำกิจกรรมจะร่วมด้วยหรือไม่ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ก็ต้องคุยกันก่อน แต่ที่ผ่านมาเขาไม่ได้แสดง ความสนใจที่จะให้ฝ่ายค้านไปร่วมจริงอยู่แล้ว เพราะเขาก็ให้ข่าวว่าจะทำฝ่ายเดียว ส่วนที่มีการหารือในวันนี้ทางวุฒิสภายังเข้าร่วมด้วยนั้น ก็ใช่ แต่ข้อตกลงเดิม ต้องทำร่วมกันทุกฝ่าย และถ้าเห็นไม่ตรงกัน ซึ่งเคยพูดกันชัดไว้แล้วว่าถ้าเห็นไม่ตรงกันก็ไม่ควรเดินต่อ เพราะการจะแก้ปัญหาของประเทศได้ต้องทุกฝ่ายร่วมกัน แต่ถ้าเขาประกาศเองว่าไม่มีฝ่ายนั้นฝ่ายนี้ก็ได้ ก็ไม่เป็นไปตามเจตนารมณ์
ทั้งนี้ ในการประชุมร่วม 4 ฝ่าย ในวันที่ 20 ต.ค.ที่จะถึงนี้ยังไม่ได้มีการเชิญ ฝ่ายค้านมา จึงไม่รู้ว่าจะเข้าร่วมหารือหรือไม่ อย่างไรก็ตาม การเชิญไปหารือในวันนี้ ตนได้ทำหนังสือชี้แจงไปแล้วถึงเหตุการณ์วันที่ 7 ต.ค.ที่ผ่านมาว่าเราไม่สามารถที่จะเข้าร่วมได้
ชัยขู่ไม่แก้ม.291ต้องใช้ร่างเหวง
ด้านนายชัย ชิดชอบ ประธานสภาผู้แทนราษฎร เปิดเผยว่า ในการประชุมรัฐสภา ยังมีวาระการประชุมค้างอยู่หลายเรื่อง เช่นการพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ เพิ่มเติมของ คปพร.ซึ่งมี นพ.เหวง โตจิราการ เป็นแกนนำในการเสนอต่อสภา ก็อยู่ในวาระแล้ว ถ้าไม่มีการเสนอญัตติแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมฯญ มาตรา 291 เพื่อเปิดทางให้มี ส.ส.ร.เข้ามาก็ต้องพิจารณาวาระดังกล่าวต่อไป เพราะได้มีการเสนอเข้ามาตามกระบวนการอย่างถูกต้องแล้ว
อย่างไรก็ตามรัฐสภาสามารถเลื่อนวาระอื่นๆ ขึ้นมาได้ ยืนยันว่าประธานรัฐสภา ทำตามกฎหมาย ใครอยากจะฟ้องร้องก็เชิญ และการประชุมสภาในสัปดาห์หน้าก็จะประชุมตามปกติ ในวันที่ 22 ต.ค.ส่วนที่งดประชุมเพราะต้องการดูบรรยากาศ ว่าเหตุการณ์เป็นอย่างไร เมื่อเหตุการณ์ปกติก็ประชุมได้
ผู้สื่อข่าวถามว่าหากพรรคประชาธิปัตย์ไม่ร่วมประชุมจะทำอย่างไร นายชัย ย้อนถามว่า เป็นผู้แทนราษฎรหรือไม่ ส่วนที่ทางกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยจะมาปิดล้อมสภาเพื่อไม่ให้ส.ส.ประชุมนั้น ก็เป็นสิทธิเสรีภาพของประชาชนที่จะชุมนุมได้ ส่วนที่ ส.ส.ฝ่ายรัฐบาลจะขนคนมาชุมนุมที่รัฐสภานั้นตนไม่ทราบ เพราะถ้าเอามาก็มีค่าใช้จ่ายมาก ผู้แทนราษฎรค่าตอบแทนน้อยคงไม่ทำ และยืนยันว่า จะไม่ย้ายที่ประชุม ตนเชื่อว่าทุกคนเห็นแก่ชาติ มีสภาก็ต้องประชุมตามหน้าที่ จะประชุมที่อื่นไม่ได้ เพราะข้อบังคับกำหนดไว้ มั่นใจว่าพระสยามเทวาธิราช พระบารมีของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระราชินี คงคุ้มครอง ส่วนตนคงไม่ปีนหนีแล้ว จะยอมตายที่นี่ แต่วันนั้นโดนหลอก
ผู้สื่อข่าวถามว่าก่อนหน้านี้ได้ทำหนังสือประสานไปยังผบ.ตร.และผบ.ทบ. เพื่อขอความมั่นใจในการดูแลรักษาความปลอดภัยให้กับสมาชิกรัฐสภาหากเปิดการ ประชุมสภาฯ นายชัย กล่าวว่า ไม่เป็นไร มันเสร็จไป แล้ว เมื่อทางกองทัพบกหาหนังสือไม่เจอก็ไม่เป็นไร มันจบไปแล้ว ซึ่งกำลังส่วนใหญ่ก็คือสื่อมวลชนที่อยู่ที่นี่ ส่วนการประสานขอกำลังตำรวจมาอารักขาเพิ่มหรือไม่ นายชัย กล่าวว่า ยังไม่ได้ทำ
รสนาตะเพิดรัฐบาลทรราช
นางสาวรสนา โตสิตระกูล ส.ว.กรุงเทพ แกนนำกลุ่ม 40 ส.ว. กล่าวถึงกรณีที่ประชุมร่วม 4 ฝ่ายเห็นด้วยกับการตั้งส.ส.ร.3 เพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญว่า รัฐบาลหมดความ ชอบธรรมไปแล้ว และการตั้ง ส.ส.ร.3 เป็นการแก้ปัญหาทางการเมือง ไม่ใช่ปัญหาของประชาชนรัฐบาลต้องเคลียร์เหตุการณ์วันที่ 7 ต.ค. ให้กระจ่างก่อน ซึ่งทุกอย่างรัฐบาลเป็นตัวจุดชนวนให้เกิดปัญหาทั้งหมด เปรียบเหมือนปาราชิกไปแล้ว แม้ห่มผ้าเหลืองก็ไม่ใช่พระ เพราะก่อให้เกิดอนันตริยะกรรมทางการเมือง ถือเป็นโทษที่ หนักมาก คือ การฆ่าพ่อและแม่ รัฐบาลมาจากการเลือกตั้งก็เหมือนกับการคลอดมาจาก พ่อแม่ แต่รัฐบาลกลับฆ่าประชาชน ถือได้ว่าไม่เป็นรัฐบาล การตั้งส.ส.ร.มีเบื้องหลัง ตั้งอย่างลุกลี้ลุกลน เพื่อแก้ปัญหาของตนเอง กลุ่มส.ว.จะติดตามสถานการณ์วันต่อวันเพื่อเคลื่อนไหวต่อไป รัฐบาลชุดนี้เป็นรัฐบาลทรราชที่นับวันจะถูกเฉดหัวออกไป
สมชายไม่สนปชป.เมินร่วมถก
นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม กล่าวถึงตั้งสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.3) ว่า ในการประชุมก่อนหน้านี้ ทุกพรรคเห็นชอบตรงกันและเวลาจะส่งทุกพรรคจะลงชื่อร่วมกัน แต่เวลาที่ผ่านมาหลังจากนั้นตนไม่ทราบ
ผู้สื่อข่าวถามว่าพรรคประชาธิปัตย์ไม่ให้ความมือแล้วจะกระทบกับแนวทางที่วางไว้หรือเปล่า นายสมชาย กล่าวว่า ต้องดูต่อไป รัฐบาลก็จะเดินหน้าต่อไป เพราะเห็นว่าแนวทางนี้เป็นทางออกที่ทุกฝ่ายแม้แต่ประธานวุฒิ ประธานสภาฯหัวหน้าพรรคการเมืองทุกพรรคเห็นชอบแล้วในการหารือร่วมครั้งที่ผ่านมา เมื่อเป็นอย่างนี้แล้วก็ถือว่าตัวแทนประชาชนทั้งหมดเห็นชอบ เพราะผู้แทนในสภาฯ ถือเป็นตัวแทนประชาชน คนที่มาก็เป็นคนที่เลือกมากจากประชาชนทั้งหมด เป็นการมีส่วนร่วมทั้งประเทศไม่เว้นใครแม้แต่คนใดคนหนึ่ง อำนาจอธิปไตย เป็นของปวงชนทุกคน อันนั้นน่าจะเป็นทางบออกที่ดี ถ้าเอากลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง อีกกลุ่มก็ไม่ยอม ต้องทำให้ได้ทุกกลุ่มและคิดว่านั่นคือทางออก พอร่างเสร็จไม่มีปัญหาคืนอำนาจให้กับประชาชนได้ ตัดสินใจกันใหม่ ไม่มีปัญหาเลย ตนไม่ได้ติดยึดอะไรเลย
นายกฯบอกร่างรธน.เสร็จถึงไป
ผู้สื่อข่าวถามว่าคิดว่าสิ่งที่พูดมาจะสามารถทำได้ประสบความสำเร็จหรือไม่ นายสมชาย กล่าวว่า ไม่ทราบ แต่ก็พยายามทำ อยู่ที่ความร่วมมือของทุกฝ่ายว่าจะเห็นทางออกร่วมกันหรือไม่ เมื่อถามว่าพรรคประชาธิปัตย์เล่นเกมการเมือง มากไปหรือไม่ นายสมชาย กล่าวว่า ตนไม่วิจารณ์คนอื่น แต่ตนบอกแล้ว ขึ้นมาเป็นนายกรัฐมนตรีนี้ไม่เป็นการเมือง อยากจะช่วยประชาชนมากกว่า
ผู้สื่อข่าวถามว่าแสดงว่าเมื่อตั้ง ส.ส.ร.เสร็จนายกฯจะถอยทางการเมือง ใช่หรือไม่ นายสมชาย กล่าวว่า ต้องให้เขาร่างรัฐธรรมนูญก่อนสิ จะสามเดือนสี่เดือน ก็ว่าไป เมื่อได้รัฐธรรมนูญใหม่มาแล้วมันก็ควรจะคืนอำนาจให้ประชาชนตัดสินว่าตามรัฐธรรมนูญนี้จะเอาอย่างไรต่อไป
ตำแหน่งหน้าที่ต่างๆเป็นหัวโขน ไม่ได้สวมตลอดชีวิต วันหนึ่งก็ต้องจากไป แต่การจากไปแล้วมีทางออก ประชาชนสงบสุข ผมว่านั้นคือทางที่ดีที่สุด ไม่ใช่ว่าจากไปแล้วยังตะลุมบอนเหมือนเดิม มันไม่ใช่อยากติดยึด แต่งานที่ต้องทำอาจจะได้รับการกระทบกระเทือน”นายสมชาย กล่าว
ผู้สื่อข่าวถามว่าจะต้องใช้ระยะเวลานานแค่ไหนในการร่างรัฐธรรมนูญ นายสมชาย กล่าวว่า มันอยู่ที่ความร่วมมือของทุกฝ่าย ตนอยากให้เสร็จเร็วๆพรุ่งนี้ด้วยซ้ำไป เมื่อถามว่า มั่นใจหรือไม่จากไปแล้วจะมีการตะลุมบอนต่ออีกหรือไม่ นายสมชาย กล่าวว่า ตนยังไม่จากไปไหนเลย ต้องให้จบกระบวนการ อย่างที่ตนพูดในทีวีไปว่าตอนนี้เห็นช่องทางออกตรงไหน ลาออกก็ดี อะไรๆก็ดี แล้วแต่ อันนี้ต่างจิตต่างใจ ตนไม่ได้บอกว่าตนพูดแล้วจะต้องถูก