วานนี้ (15 ต.ค.) ตัวแทนจากสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย สมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย สำนักงานสภาพัฒนาการเมือง และสถาบันพระปกเกล้า ร่วมกันหารือเพื่อยุติความรุนแรง และหาทางออกให้ประเทศ ที่สมาคมนักข่าวฯ
ภายหลังการประชุม น.ส.นาตยา เชษฐโชติรส นายกสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย แถลงว่า ที่ประชุมตกลงร่วมกันว่า จะร่วมกันจัดตั้ง “เครือข่ายสานเสวนาเพื่อสันติ” ขึ้นเพื่อระดมองค์กรทุกองค์กรในสังคม ไม่ว่าจะอยู่ในภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม มาร่วมกันรณรงค์ให้สังคมไทยไม่ใช้ความรุนแรงในการแก้ปัญหา และร่วมกันสานเสวนาหาทางออกโดยสันติวิธี
นอกจากนี้ ที่ประชุมร่วมมีมติให้จัดกิจกรรมดังต่อไปนี้ เพื่อให้องค์กรทุกองค์กรที่เห็นด้วยกับแนวทางดังกล่าวเข้าร่วมในการรณรงค์อย่างต่อเนื่อง คือ
1. วันศุกร์ที่ 17 ต.ค.นี้ เวลา 13.30 น. สมาคมทั้งสอง จะจัดประชุมบรรณาธิการข่าวหนังสือพิมพ์, วิทยุและโทรทัศน์ เพื่อกำหนดกิจกรรม ที่สื่อมวลชนทุกแขนงจะร่วมกันช่วยยุติความขัดแย้ง ที่สมาคมนักข่าวฯ
2. วันเสาร์ที่ 18 ต.ค. เวลา 13.30 น. ที่สมาคมนักข่าวฯ จัดกิจกรรมราชดำเนินเสวนาเรื่อง “บทบาทสื่อกับการยุติความรุนแรง” โดยนายสมหมาย ปาริจฉัตต์ (อดีตนายกสมาคมนักข่าวแห่งประเทศไทย), นายสุนทร ทาซ้าย (บรรณาธิการหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ), นายกิตติ สิงหาปัด (ผู้ผลิตรายการข่าวสามมิติ สถานีโทรทัศน์ช่อง 3 )
3. วันอาทิตย์ที่ 26 ต.ค. เวลา 09.30 น. จะมีการจัดประชุมใหญ่ “เครือข่ายสานเสวนาเพื่อสันติ” โดยเชิญองค์กรทุกองค์กรมาร่วมกันกำหนดกิจกรรมรณรงค์ต่อเนื่อง เพื่อยุติความรุนแรงและสานเสวนาโดยมีการปาฐกถานำโดย นายอานันท์ ปันยารชุน ที่พิพิธภัณฑ์สถาบันพระปกเกล้า
4. จะมีการกำหนดวัน เวลา เพื่อเปิดเวที “สานเสวนาหาทางออกให้บ้านเมือง” โดยสมาคมนักข่าวฯ ทั้งสองสมาคมจะเชิญรัฐบาล, ฝ่ายค้าน, พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย และนปช. มาร่วมกันเสนอทางออก โดยจะจัดให้มีคนกลางที่เป็นที่ยอมรับมาดำเนินการ โดยกำหนดกติกาในการสานเสวนาได้ล่วงหน้า สำหรับเวลาจะได้กำหนดโดยฉันทานุมัติโดยที่ประชุม “เครือข่ายสานเสวนาเพื่อสันติ” ต่อไป
5. สภาพัฒนาการเมืองโดยผู้แทนจังหวัด 76 จังหวัด จะได้จัดกิจกรรมร่วมแนวทางดังกล่าวในทุกจังหวัดทั่วประเทศ ซึ่งจะแจ้งให้ทราบเป็นระยะต่อไป
6. จัดทำ เสื้อ หมวก สติ๊กเกอร์ โดยมีข้อความร่วมกัน หยุดความรุนแรง แสวงสันติ
นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ เลขาธิการสถาบันพระปกเกล้า กล่าวว่า ทุกวันนี้คนในสังคมไทยมีความรู้สึกว่า ตนเองตกอยู่ในวังวนของความขัดแย้ง แล้วก็จะนำไปสู่ความรุนแรง ถึงขั้นที่บางฝ่ายประกาศออกมาแล้วว่า จะมีสงครามมหาประชาชน คำถามก็คือว่า แล้วพลเมืองอย่างเราที่ไม่อยากเห็นความรุนแรงเกิดขึ้น ในบ้านเมืองจะยังอยู่เฉยหรือ ทุกคนจะนั่งดูดายหรือ ยอมให้ความขัดแย้งที่มีอยู่กลายเป็นเรื่องปกติ กลายเป็นความรุนแรงที่คนไทยต้องมาฆ่ากันเองหรือ
นายบวรศักดิ์ กล่าวว่า ด้วยเหตุนี้ สื่อสองสมาคม สภาพัฒนาการเมือง สถาบันพระปกเกล้า เห็นตรงกันว่า จะอยู่เฉยๆไม่ได้ เราต้องการหาหนทางให้ยุติความรุนแรงนี้ ป้องกันไม่ให้มีสงครามมหาประชาชนอย่างที่เขาประกาศ ก็ขอเรียกร้องสังคมไทยทั้งหมดว่า ถ้ายังอยู่เฉยๆ ปล่อยให้ความรุนแรงเกิดขึ้นอย่างแท้จริง ก็จะมีการฆ่ากันเองระหว่างคนไทยกับคนไทย
"ถ้าใครยังกลัวว่าจะเปลืองตัว ขออยู่เฉยๆ ไม่ต้องทำอะไร แต่ว่าสมาคมสองสมาคม สถาบันพัฒนาการเมือง และสถาบันพระปกเกล้า เห็นว่าเราอยู่เฉยไม่ได้ เราต้องประกาศเจตนาร่วมกันในวันนี้ ทำกิจกรรมต่อเนื่อง เพื่อยุติความรุนแรง"
นายบวรศักดิ์ กล่าวว่า ไม่ว่าใครฝ่ายใดจะขัดแย้งกันอย่างไรก็ตาม รวมทั้งการชุมนุมตามสิทธิในรัฐธรรมนูญ แต่ไม่มีสิทธิที่จะนำสังคมไปสู่ความรุนแรง ไม่ว่าความรุนแรงนั้นจะเกิดขึ้นจากประชาชนทำประชาชน หรือจากรัฐทำประชาชน
"สำหรับทางออกนั้น เราไม่มีสูตรสำเร็จ เราไม่มีข้อเสนอใดๆทั้งสิ้น ไม่ว่าจะยุบสภา นายกรัฐมนตรีลาออก พันธมิตรฯออกจากทำเนียบฯ หยุดชุมนุมนปก. เราไม่มีข้อเสนอใดๆ ทั้งสิ้น แต่ทุกฝ่ายที่อยู่ในความขัดแย้งนั่นแหละ มีหาทางออกร่วมกันเองให้กับบ้านเมือง นี่เป็นคำอุทธรณ์ของพลเมืองทั้งชาติ เพราะถ้าพลเมืองงอมืองอเท้า ปล่อยให้การเมืองนำไปสู่ห่วงเหวของความรุนแรงแบบนี้ ผลสุดท้ายคนที่จะได้รับผลร้ายที่สุดก็คือพลเมืองนั่นเอง ผมขอเรียกร้องให้ใครก็ตามที่เห็นด้วยกับแนวทางดังกล่าวก็ให้มาช่วยกันแสดงพลัง"นายบวรศักดิ์ กล่าว
นายบวรศักดิ์ เห็นว่าแนวโน้มความขัดแย้งที่เกิดขึ้น ไม่มีใครจะสามารถมีบทบาทนำในการแก้ปัญหาเรื่องนี้ได้ นอกจากประชากรไทย 60 ล้านคน ปล่อยให้ รัฐบาลเชิญแต่ละฝ่ายมา ก็อาจไม่มีใครมา แต่ถ้าสังคมทุกคนออกมาบอกพร้อมกันว่า พอทีความรุนแรง แต่ละฝ่ายอาจจะมา
"ผมไม่เชื่อในอำนาจการเมือง หรืออำนาจใดๆ จะทำให้ความขัดแย้งนี้ยุติลงได้ นอกจากอำนาจทางสังคมของคนทั้งสังคม เพราะฉะนั้นใครจะงอมืองอเท้าต่อไปก็เชิญครับ แต่ผมไม่งอมืองอเท้าแล้ว"
นายบวรศักดิ์ กล่าวด้วยว่า สถานการณ์ในขณะนี้เราต้องการใช้คนกลาง การพูดคุยต้องเกิดขึ้นในประเทศนี้ เพราะอย่างน้อยที่สุด ขบวนการพูดคุยได้เริ่มขึ้นแล้ว ความรุนแรงก็น่าจะยุติ และใครก็ตามนำไปสู่ความรุนแรงอีก คนนั้นต้องรับผิดชอบจะปฏิเสธความรับผิดชอบทั้งทางจริยธรรม ศีลธรรม และกฎหมายไม่ได้
ภายหลังการประชุม น.ส.นาตยา เชษฐโชติรส นายกสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย แถลงว่า ที่ประชุมตกลงร่วมกันว่า จะร่วมกันจัดตั้ง “เครือข่ายสานเสวนาเพื่อสันติ” ขึ้นเพื่อระดมองค์กรทุกองค์กรในสังคม ไม่ว่าจะอยู่ในภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม มาร่วมกันรณรงค์ให้สังคมไทยไม่ใช้ความรุนแรงในการแก้ปัญหา และร่วมกันสานเสวนาหาทางออกโดยสันติวิธี
นอกจากนี้ ที่ประชุมร่วมมีมติให้จัดกิจกรรมดังต่อไปนี้ เพื่อให้องค์กรทุกองค์กรที่เห็นด้วยกับแนวทางดังกล่าวเข้าร่วมในการรณรงค์อย่างต่อเนื่อง คือ
1. วันศุกร์ที่ 17 ต.ค.นี้ เวลา 13.30 น. สมาคมทั้งสอง จะจัดประชุมบรรณาธิการข่าวหนังสือพิมพ์, วิทยุและโทรทัศน์ เพื่อกำหนดกิจกรรม ที่สื่อมวลชนทุกแขนงจะร่วมกันช่วยยุติความขัดแย้ง ที่สมาคมนักข่าวฯ
2. วันเสาร์ที่ 18 ต.ค. เวลา 13.30 น. ที่สมาคมนักข่าวฯ จัดกิจกรรมราชดำเนินเสวนาเรื่อง “บทบาทสื่อกับการยุติความรุนแรง” โดยนายสมหมาย ปาริจฉัตต์ (อดีตนายกสมาคมนักข่าวแห่งประเทศไทย), นายสุนทร ทาซ้าย (บรรณาธิการหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ), นายกิตติ สิงหาปัด (ผู้ผลิตรายการข่าวสามมิติ สถานีโทรทัศน์ช่อง 3 )
3. วันอาทิตย์ที่ 26 ต.ค. เวลา 09.30 น. จะมีการจัดประชุมใหญ่ “เครือข่ายสานเสวนาเพื่อสันติ” โดยเชิญองค์กรทุกองค์กรมาร่วมกันกำหนดกิจกรรมรณรงค์ต่อเนื่อง เพื่อยุติความรุนแรงและสานเสวนาโดยมีการปาฐกถานำโดย นายอานันท์ ปันยารชุน ที่พิพิธภัณฑ์สถาบันพระปกเกล้า
4. จะมีการกำหนดวัน เวลา เพื่อเปิดเวที “สานเสวนาหาทางออกให้บ้านเมือง” โดยสมาคมนักข่าวฯ ทั้งสองสมาคมจะเชิญรัฐบาล, ฝ่ายค้าน, พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย และนปช. มาร่วมกันเสนอทางออก โดยจะจัดให้มีคนกลางที่เป็นที่ยอมรับมาดำเนินการ โดยกำหนดกติกาในการสานเสวนาได้ล่วงหน้า สำหรับเวลาจะได้กำหนดโดยฉันทานุมัติโดยที่ประชุม “เครือข่ายสานเสวนาเพื่อสันติ” ต่อไป
5. สภาพัฒนาการเมืองโดยผู้แทนจังหวัด 76 จังหวัด จะได้จัดกิจกรรมร่วมแนวทางดังกล่าวในทุกจังหวัดทั่วประเทศ ซึ่งจะแจ้งให้ทราบเป็นระยะต่อไป
6. จัดทำ เสื้อ หมวก สติ๊กเกอร์ โดยมีข้อความร่วมกัน หยุดความรุนแรง แสวงสันติ
นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ เลขาธิการสถาบันพระปกเกล้า กล่าวว่า ทุกวันนี้คนในสังคมไทยมีความรู้สึกว่า ตนเองตกอยู่ในวังวนของความขัดแย้ง แล้วก็จะนำไปสู่ความรุนแรง ถึงขั้นที่บางฝ่ายประกาศออกมาแล้วว่า จะมีสงครามมหาประชาชน คำถามก็คือว่า แล้วพลเมืองอย่างเราที่ไม่อยากเห็นความรุนแรงเกิดขึ้น ในบ้านเมืองจะยังอยู่เฉยหรือ ทุกคนจะนั่งดูดายหรือ ยอมให้ความขัดแย้งที่มีอยู่กลายเป็นเรื่องปกติ กลายเป็นความรุนแรงที่คนไทยต้องมาฆ่ากันเองหรือ
นายบวรศักดิ์ กล่าวว่า ด้วยเหตุนี้ สื่อสองสมาคม สภาพัฒนาการเมือง สถาบันพระปกเกล้า เห็นตรงกันว่า จะอยู่เฉยๆไม่ได้ เราต้องการหาหนทางให้ยุติความรุนแรงนี้ ป้องกันไม่ให้มีสงครามมหาประชาชนอย่างที่เขาประกาศ ก็ขอเรียกร้องสังคมไทยทั้งหมดว่า ถ้ายังอยู่เฉยๆ ปล่อยให้ความรุนแรงเกิดขึ้นอย่างแท้จริง ก็จะมีการฆ่ากันเองระหว่างคนไทยกับคนไทย
"ถ้าใครยังกลัวว่าจะเปลืองตัว ขออยู่เฉยๆ ไม่ต้องทำอะไร แต่ว่าสมาคมสองสมาคม สถาบันพัฒนาการเมือง และสถาบันพระปกเกล้า เห็นว่าเราอยู่เฉยไม่ได้ เราต้องประกาศเจตนาร่วมกันในวันนี้ ทำกิจกรรมต่อเนื่อง เพื่อยุติความรุนแรง"
นายบวรศักดิ์ กล่าวว่า ไม่ว่าใครฝ่ายใดจะขัดแย้งกันอย่างไรก็ตาม รวมทั้งการชุมนุมตามสิทธิในรัฐธรรมนูญ แต่ไม่มีสิทธิที่จะนำสังคมไปสู่ความรุนแรง ไม่ว่าความรุนแรงนั้นจะเกิดขึ้นจากประชาชนทำประชาชน หรือจากรัฐทำประชาชน
"สำหรับทางออกนั้น เราไม่มีสูตรสำเร็จ เราไม่มีข้อเสนอใดๆทั้งสิ้น ไม่ว่าจะยุบสภา นายกรัฐมนตรีลาออก พันธมิตรฯออกจากทำเนียบฯ หยุดชุมนุมนปก. เราไม่มีข้อเสนอใดๆ ทั้งสิ้น แต่ทุกฝ่ายที่อยู่ในความขัดแย้งนั่นแหละ มีหาทางออกร่วมกันเองให้กับบ้านเมือง นี่เป็นคำอุทธรณ์ของพลเมืองทั้งชาติ เพราะถ้าพลเมืองงอมืองอเท้า ปล่อยให้การเมืองนำไปสู่ห่วงเหวของความรุนแรงแบบนี้ ผลสุดท้ายคนที่จะได้รับผลร้ายที่สุดก็คือพลเมืองนั่นเอง ผมขอเรียกร้องให้ใครก็ตามที่เห็นด้วยกับแนวทางดังกล่าวก็ให้มาช่วยกันแสดงพลัง"นายบวรศักดิ์ กล่าว
นายบวรศักดิ์ เห็นว่าแนวโน้มความขัดแย้งที่เกิดขึ้น ไม่มีใครจะสามารถมีบทบาทนำในการแก้ปัญหาเรื่องนี้ได้ นอกจากประชากรไทย 60 ล้านคน ปล่อยให้ รัฐบาลเชิญแต่ละฝ่ายมา ก็อาจไม่มีใครมา แต่ถ้าสังคมทุกคนออกมาบอกพร้อมกันว่า พอทีความรุนแรง แต่ละฝ่ายอาจจะมา
"ผมไม่เชื่อในอำนาจการเมือง หรืออำนาจใดๆ จะทำให้ความขัดแย้งนี้ยุติลงได้ นอกจากอำนาจทางสังคมของคนทั้งสังคม เพราะฉะนั้นใครจะงอมืองอเท้าต่อไปก็เชิญครับ แต่ผมไม่งอมืองอเท้าแล้ว"
นายบวรศักดิ์ กล่าวด้วยว่า สถานการณ์ในขณะนี้เราต้องการใช้คนกลาง การพูดคุยต้องเกิดขึ้นในประเทศนี้ เพราะอย่างน้อยที่สุด ขบวนการพูดคุยได้เริ่มขึ้นแล้ว ความรุนแรงก็น่าจะยุติ และใครก็ตามนำไปสู่ความรุนแรงอีก คนนั้นต้องรับผิดชอบจะปฏิเสธความรับผิดชอบทั้งทางจริยธรรม ศีลธรรม และกฎหมายไม่ได้