20 กว่าปีที่โบว์ใช้ชีวิตอยู่บนโลกนี้ เธอเป็นแค่พี่ของน้อง 2 คน และเป็นเพียงลูกสาวคนโตของพ่อ แม่ เป็นเพียงหลานๆ ลูกพี่ลูกน้อง และเพื่อนของคนกลุ่มๆ นึง
หลังจากวันที่ 7 ตุลาคม 2551 เธอไม่ได้เป็นเพียงคนบางคน ของคนบางกลุ่มอีกต่อไป แต่เธอจะเป็นคนสำคัญของคนหลายๆ กลุ่ม “From now on, she will be SOMEONE for all”
เธอจะเป็นทั้งเพื่อน, ทั้งพี่, ทั้งน้อง, ทั้งลูก, ทั้งหลาน ของคนหลายพัน หลายแสน หรือแม้แต่หลายล้าน
ความข้างต้นเป็นคำไว้อาลัยต่อพี่สาวของ “น้องแบด” น้องสาวของ “น้องโบว์” อังคณา ระดับปัญญาวุฒิ วีรชนผู้สูญเสียชีวิตไปในเหตุการณ์เข่นฆ่าประชาชน เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2551 โดยในเหตุการณ์วันนั้นนอกจาก “น้องโบว์” แล้ว ก็ยังมี “สารวัตรจ๊าบ” พ.ต.ท.เมธี ชาติมนตรี ที่เสียชีวิตไปอีกท่านหนึ่ง นอกจากนี้แล้ว ก็ยังมีวีรชนผู้ได้รับบาดเจ็บระดับสาหัสอาการโคม่า ถึงขั้นสูญเสียดวงตา ขาขาด แขนขาด ทุพพลภาพ อีกหลายสิบคน ซึ่งยังพักรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาลและที่บ้าน
หลายวันมานี้ ประชาชนบางคน สื่อมวลชนบางจำพวก ตั้งคำถามผ่านทางหน้าหนังสือพิมพ์อยู่เนืองๆ ว่า เหตุใด ผู้หญิงธรรมดาสามัญอย่างน้องโบว์ นายตำรวจนอกราชการอย่างสารวัตรจ๊าบจึงถูกยกว่าเป็น “วีรชน” ได้?
พวกเขาคงยิ่งรู้สึกสงสัยเข้าไปใหญ่ว่า หญิงสาววัย 27 ปี จากครอบครัวไทยเชื้อสายจีน เรียนจบจากคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ไม่เคยรับราชการมาก่อน บิดา-มารดาก็ไม่ได้เป็นข้าราชการเพียงแต่ประกอบอาชีพค้าขายโดยสุจริต ส่วนตัวเองเมื่อเรียนจบมาก็กลับมาช่วยที่บ้านประกอบกิจการ เหตุใดพิธีศพของหญิงสาวผู้นี้จึงได้รับพระมหากรุณาธิคุณพระราชทานเพลิงศพจากสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ?
เหตุใด ครอบครัวระดับปัญญาวุฒิจึงมีบุญหนัก ถึงขนาดที่ 13 ตุลาคม 2551 ในวันพระราชทานเพลิงศพน้องโบว์ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ พร้อมด้วย สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ทรงเสด็จทอดผ้าไตรและเป็นประธานในพิธีด้วยพระองค์เอง รวมถึงมีผู้ยิ่งใหญ่ของบ้านเมืองเข้าร่วมพิธีมากมาย ไม่ว่าจะเป็นองคมนตรี ผู้บัญชาการเหล่าทัพทุกเหล่าทัพ ส.ส. ส.ว. รวมถึงประชาชนเรือนหมื่น?
คงต้องออกตัวไว้ก่อนว่า ผมไม่มีคำตอบสำหรับคำถามที่ “คาใจ” พวกท่านหรอกครับ แต่ผมอยากจะเล่าถึงสิ่งที่ผมประสบและได้พบเห็นกับตัวเกี่ยวกับสังคมของกลุ่มคนที่เรียกตัวเองว่าเป็นพันธมิตรฯ ในรอบเกือบ 3 ปีที่ผ่านมา
ตั้งแต่ก่อนวันที่ 25 พฤษภาคม 2551 ผมสัมผัสและพบเห็นการให้ในหมู่พันธมิตรฯ มาโดยตลอด ตั้งแต่เงินบริจาคเล็กๆ น้อยๆ ไม่กี่สิบบาท ไปจนถึงเงินบริจาคเพื่อประมูลภาพเขียนของ อ.อังคาร กัลยาณพงศ์จำนวน 4 ล้านกว่าบาท ตั้งแต่ข้าวของเล็กๆ อย่างไข่ต้ม-ข้าวกล่อง จนถึงของใหญ่ๆ อย่าง บ้าน-รถยนต์-โทรทัศน์-วิทยุ-เครื่องซักผ้า-พัดลม ตั้งแต่สิ่งเล็กๆ อย่างกำลังกาย-กำลังใจที่ให้กันอยู่ทุกวัน จนถึงสิ่งที่สำคัญที่สุดของคนคนหนึ่งคือ …… ชีวิต
อีกประสบการณ์หนึ่งที่ผมประทับใจ
ในวันที่ 20 มิถุนายน 2551 ที่แกนนำพันธมิตรฯ เรียกว่าเป็น “สงครามเก้าทัพ” เนื่องจากเป็นวันดีเดย์ที่พันธมิตรฯ บุกล้อมทำเนียบรัฐบาล
วันนั้น ผมในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของผู้ชุมนุมและมีส่วนเข้าไปช่วยเหลือหน่วยเสบียง ในช่วงบ่ายถึงหัวค่ำวันนั้น หลังจากแผงกั้นของตำรวจแตกหมดทุกทิศและกลุ่มพันธมิตรฯ สามารถบุกเข้ามาล้อมทำเนียบได้สำเร็จ ผม ภรรยา และพี่ๆ อีก 2-3 คนรีบเข้าไปตั้งซุ้มระดมแจกน้ำดื่มให้กับผู้ชุมนุมที่มีอาการเหนื่อยล้ามาตั้งแต่ก่อนเที่ยง อยู่บริเวณสะพานชมัยมรุเชฐ ฝั่งสำนักงาน ป.ป.ช.
ในขณะนั้น แม้เราจะมีน้ำดื่มอยู่มากพอสมควร แต่เรากลับไม่มีอะไรให้กลุ่มผู้ชุมนุมนับหมื่นได้รองท้องหรือเติมพลังเลยสักนิด ขณะที่ผู้คนเริ่มแสดงอาการอิดโรยอย่างเห็นได้ชัด ทันใดนั้นก็มีรถกระบะคันหนึ่งวิ่งตรงเข้ามาจากทางวัดเบญจมบพิตร บนนั้นบรรทุกลังแอปเปิลอยู่เต็มหลังกระบะ
“แอปเปิลสองหมื่นลูกครับ เอาลงได้เลย จะได้กินกัน” คนขับรถกระบะบอกอย่างนั้น
ผม ภรรยาและเพื่อนๆ พี่ๆ พันธมิตรฯ ใช้เวลากันอยู่เกือบ 20 นาทีกว่าจะขนลังแอปเปิลเย็นเฉียบทั้งหมดลงจากรถกระบะเสร็จ จากนั้นเราก็เริ่มแจกจ่ายแอปเปิลพันธมิตรฯ จำนวน 20,000 ลูกในทันที ก่อนที่บรรดาข้าวกล่องและอาหารจะเริ่มทยอยมาส่งในเวลาต่อมา
วันถัดมาผมหวนนึกถึงเหตุการณ์นั้นได้ และไล่ถามตัวเองและคนรอบข้างว่ารถกระบะมาจากไหน? แอปเปิลสองหมื่นลูกเป็นของใคร?... ไม่มีใครมีคำตอบ
คนให้ไม่ได้บอกชื่อและอาจจะไม่ต้องการให้ใครรับรู้ด้วยว่า แอปเปิลทั้งหมดนั้นตีค่าเป็นเงินจำนวนเท่าไหร่ เขาคงหวังเพียงว่า พันธมิตรฯ เพื่อนร่วมอุดมการณ์ของเขานับหมื่นคนจะได้รองท้องด้วยแอปเปิลเย็นๆ อร่อยๆ หลังจากที่เหนื่อยล้ามาทั้งวัน
หลังเหตุการณ์นั้น ผมสรุปกับตัวเองว่า สังคมพันธมิตรฯ นั้นเป็นสังคมแห่งการให้โดยแท้ …
ประสบการณ์ “ให้” เกิดขึ้นอยู่ทุกลมหายใจ เกิดขึ้นอยู่ทุกวินาทีของกลุ่มพันธมิตรฯ ทุกคนสามารถรู้สึกและสัมผัสได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อได้มาร่วมชุมนุมอยู่บริเวณสะพานมัฆวานรังสรรค์ หรือทำเนียบรัฐบาล ด้วยตนเอง
หลักฐานชิ้นสำคัญอีกชิ้นหนึ่งของ “สังคมแห่งการให้” ที่พันธมิตรฯ แสดงให้บุคคลภายนอกและให้โลกเห็น ก็มาจาก น้องโบว์ และครอบครัวระดับปัญญาวุฒินี่เอง
หลังจากครอบครัวระดับปัญญาวุฒิสูญเสียบุตรสาวคนโตไปแล้ว คุณพ่อจินดา คุณแม่และน้องๆ ที่ได้รับบาดเจ็บจากเหตุการณ์วันที่ 7 ต.ค. กลับไม่เคยร้องแรกแหกกระเชอ หรือปริปากบ่นแม้สักนิดว่า “พันธมิตรฯ พาน้องโบว์ไปตาย” ดังที่สื่อมวลชนบางคนกำลังยัดเยียดข้อหาให้กับพวกเรา
ในทางตรงกันข้าม คุณพ่อ คุณแม่ น้องๆ ของน้องโบว์ กลับยืนยันหนักแน่นว่า แนวทางการออกมาเรียกร้อง-ต่อต้านนักการเมืองทรราช เพื่อรักษาสถาบันชาติ รักษาสถาบันศาสนา และรักษาสถาบันพระมหากษัตริย์ ของลูกสาวและกลุ่มพันธมิตรฯ นั้นเป็นสิ่งที่ถูกต้องแล้ว พร้อมยืนยันด้วยว่าครอบครัวของตนยังจะเข้าร่วมชุมนุมต่อเมื่ออาการบาดเจ็บของสมาชิกในครอบครัวทุเลาแล้ว
สำหรับคุณพ่อจินดา เงินบริจาคงานศพลูกสาวคุณพ่อก็ไม่เอาแม้สักบาท พร้อมบอกด้วยว่าทั้งหมดจะยกให้สถานีโทรทัศน์เอเอสทีวีและพันธมิตรฯ เพื่อต่อสู้กับนักการเมืองชั่วต่อไป
สำหรับวันเกียรติยศที่ครอบครัวระดับปัญญาวุฒิได้รับเมื่อ 13 ต.ค. ในวันดังกล่าวคุณพ่อก็ยังมีน้ำจิตน้ำใจกล่าวเตือนเพื่อนๆ พันธมิตรฯ ด้วยว่า อย่าลืมว่าในวันถัดไปคือ 14 ต.ค. ยังมีพิธีของ พ.ต.ท.เมธี และขอให้ทุกคนให้ความสำคัญเท่าเทียมกับพิธีศพของลูกสาว
ด้วยความจงรักภักดีต่อสถาบัน ความเสียสละ ความกล้าหาญ และการให้ที่ไม่มีที่สิ้นสุดของพันธมิตรฯ ทั้งมวล นี่แหละครับที่ทำให้ น้องโบว์ และ สารวัตรจ๊าบ จึงถูกยกย่องให้เป็น “วีรชน” และทำให้ทั้ง 2 คนกลายเป็น เพื่อน พี่ น้อง ลูกและหลานของชาวไทยหลายล้านคนไปชั่วนิจนิรันดร์
หลังจากวันที่ 7 ตุลาคม 2551 เธอไม่ได้เป็นเพียงคนบางคน ของคนบางกลุ่มอีกต่อไป แต่เธอจะเป็นคนสำคัญของคนหลายๆ กลุ่ม “From now on, she will be SOMEONE for all”
เธอจะเป็นทั้งเพื่อน, ทั้งพี่, ทั้งน้อง, ทั้งลูก, ทั้งหลาน ของคนหลายพัน หลายแสน หรือแม้แต่หลายล้าน
ความข้างต้นเป็นคำไว้อาลัยต่อพี่สาวของ “น้องแบด” น้องสาวของ “น้องโบว์” อังคณา ระดับปัญญาวุฒิ วีรชนผู้สูญเสียชีวิตไปในเหตุการณ์เข่นฆ่าประชาชน เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2551 โดยในเหตุการณ์วันนั้นนอกจาก “น้องโบว์” แล้ว ก็ยังมี “สารวัตรจ๊าบ” พ.ต.ท.เมธี ชาติมนตรี ที่เสียชีวิตไปอีกท่านหนึ่ง นอกจากนี้แล้ว ก็ยังมีวีรชนผู้ได้รับบาดเจ็บระดับสาหัสอาการโคม่า ถึงขั้นสูญเสียดวงตา ขาขาด แขนขาด ทุพพลภาพ อีกหลายสิบคน ซึ่งยังพักรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาลและที่บ้าน
หลายวันมานี้ ประชาชนบางคน สื่อมวลชนบางจำพวก ตั้งคำถามผ่านทางหน้าหนังสือพิมพ์อยู่เนืองๆ ว่า เหตุใด ผู้หญิงธรรมดาสามัญอย่างน้องโบว์ นายตำรวจนอกราชการอย่างสารวัตรจ๊าบจึงถูกยกว่าเป็น “วีรชน” ได้?
พวกเขาคงยิ่งรู้สึกสงสัยเข้าไปใหญ่ว่า หญิงสาววัย 27 ปี จากครอบครัวไทยเชื้อสายจีน เรียนจบจากคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ไม่เคยรับราชการมาก่อน บิดา-มารดาก็ไม่ได้เป็นข้าราชการเพียงแต่ประกอบอาชีพค้าขายโดยสุจริต ส่วนตัวเองเมื่อเรียนจบมาก็กลับมาช่วยที่บ้านประกอบกิจการ เหตุใดพิธีศพของหญิงสาวผู้นี้จึงได้รับพระมหากรุณาธิคุณพระราชทานเพลิงศพจากสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ?
เหตุใด ครอบครัวระดับปัญญาวุฒิจึงมีบุญหนัก ถึงขนาดที่ 13 ตุลาคม 2551 ในวันพระราชทานเพลิงศพน้องโบว์ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ พร้อมด้วย สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ทรงเสด็จทอดผ้าไตรและเป็นประธานในพิธีด้วยพระองค์เอง รวมถึงมีผู้ยิ่งใหญ่ของบ้านเมืองเข้าร่วมพิธีมากมาย ไม่ว่าจะเป็นองคมนตรี ผู้บัญชาการเหล่าทัพทุกเหล่าทัพ ส.ส. ส.ว. รวมถึงประชาชนเรือนหมื่น?
คงต้องออกตัวไว้ก่อนว่า ผมไม่มีคำตอบสำหรับคำถามที่ “คาใจ” พวกท่านหรอกครับ แต่ผมอยากจะเล่าถึงสิ่งที่ผมประสบและได้พบเห็นกับตัวเกี่ยวกับสังคมของกลุ่มคนที่เรียกตัวเองว่าเป็นพันธมิตรฯ ในรอบเกือบ 3 ปีที่ผ่านมา
ตั้งแต่ก่อนวันที่ 25 พฤษภาคม 2551 ผมสัมผัสและพบเห็นการให้ในหมู่พันธมิตรฯ มาโดยตลอด ตั้งแต่เงินบริจาคเล็กๆ น้อยๆ ไม่กี่สิบบาท ไปจนถึงเงินบริจาคเพื่อประมูลภาพเขียนของ อ.อังคาร กัลยาณพงศ์จำนวน 4 ล้านกว่าบาท ตั้งแต่ข้าวของเล็กๆ อย่างไข่ต้ม-ข้าวกล่อง จนถึงของใหญ่ๆ อย่าง บ้าน-รถยนต์-โทรทัศน์-วิทยุ-เครื่องซักผ้า-พัดลม ตั้งแต่สิ่งเล็กๆ อย่างกำลังกาย-กำลังใจที่ให้กันอยู่ทุกวัน จนถึงสิ่งที่สำคัญที่สุดของคนคนหนึ่งคือ …… ชีวิต
อีกประสบการณ์หนึ่งที่ผมประทับใจ
ในวันที่ 20 มิถุนายน 2551 ที่แกนนำพันธมิตรฯ เรียกว่าเป็น “สงครามเก้าทัพ” เนื่องจากเป็นวันดีเดย์ที่พันธมิตรฯ บุกล้อมทำเนียบรัฐบาล
วันนั้น ผมในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของผู้ชุมนุมและมีส่วนเข้าไปช่วยเหลือหน่วยเสบียง ในช่วงบ่ายถึงหัวค่ำวันนั้น หลังจากแผงกั้นของตำรวจแตกหมดทุกทิศและกลุ่มพันธมิตรฯ สามารถบุกเข้ามาล้อมทำเนียบได้สำเร็จ ผม ภรรยา และพี่ๆ อีก 2-3 คนรีบเข้าไปตั้งซุ้มระดมแจกน้ำดื่มให้กับผู้ชุมนุมที่มีอาการเหนื่อยล้ามาตั้งแต่ก่อนเที่ยง อยู่บริเวณสะพานชมัยมรุเชฐ ฝั่งสำนักงาน ป.ป.ช.
ในขณะนั้น แม้เราจะมีน้ำดื่มอยู่มากพอสมควร แต่เรากลับไม่มีอะไรให้กลุ่มผู้ชุมนุมนับหมื่นได้รองท้องหรือเติมพลังเลยสักนิด ขณะที่ผู้คนเริ่มแสดงอาการอิดโรยอย่างเห็นได้ชัด ทันใดนั้นก็มีรถกระบะคันหนึ่งวิ่งตรงเข้ามาจากทางวัดเบญจมบพิตร บนนั้นบรรทุกลังแอปเปิลอยู่เต็มหลังกระบะ
“แอปเปิลสองหมื่นลูกครับ เอาลงได้เลย จะได้กินกัน” คนขับรถกระบะบอกอย่างนั้น
ผม ภรรยาและเพื่อนๆ พี่ๆ พันธมิตรฯ ใช้เวลากันอยู่เกือบ 20 นาทีกว่าจะขนลังแอปเปิลเย็นเฉียบทั้งหมดลงจากรถกระบะเสร็จ จากนั้นเราก็เริ่มแจกจ่ายแอปเปิลพันธมิตรฯ จำนวน 20,000 ลูกในทันที ก่อนที่บรรดาข้าวกล่องและอาหารจะเริ่มทยอยมาส่งในเวลาต่อมา
วันถัดมาผมหวนนึกถึงเหตุการณ์นั้นได้ และไล่ถามตัวเองและคนรอบข้างว่ารถกระบะมาจากไหน? แอปเปิลสองหมื่นลูกเป็นของใคร?... ไม่มีใครมีคำตอบ
คนให้ไม่ได้บอกชื่อและอาจจะไม่ต้องการให้ใครรับรู้ด้วยว่า แอปเปิลทั้งหมดนั้นตีค่าเป็นเงินจำนวนเท่าไหร่ เขาคงหวังเพียงว่า พันธมิตรฯ เพื่อนร่วมอุดมการณ์ของเขานับหมื่นคนจะได้รองท้องด้วยแอปเปิลเย็นๆ อร่อยๆ หลังจากที่เหนื่อยล้ามาทั้งวัน
หลังเหตุการณ์นั้น ผมสรุปกับตัวเองว่า สังคมพันธมิตรฯ นั้นเป็นสังคมแห่งการให้โดยแท้ …
ประสบการณ์ “ให้” เกิดขึ้นอยู่ทุกลมหายใจ เกิดขึ้นอยู่ทุกวินาทีของกลุ่มพันธมิตรฯ ทุกคนสามารถรู้สึกและสัมผัสได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อได้มาร่วมชุมนุมอยู่บริเวณสะพานมัฆวานรังสรรค์ หรือทำเนียบรัฐบาล ด้วยตนเอง
หลักฐานชิ้นสำคัญอีกชิ้นหนึ่งของ “สังคมแห่งการให้” ที่พันธมิตรฯ แสดงให้บุคคลภายนอกและให้โลกเห็น ก็มาจาก น้องโบว์ และครอบครัวระดับปัญญาวุฒินี่เอง
หลังจากครอบครัวระดับปัญญาวุฒิสูญเสียบุตรสาวคนโตไปแล้ว คุณพ่อจินดา คุณแม่และน้องๆ ที่ได้รับบาดเจ็บจากเหตุการณ์วันที่ 7 ต.ค. กลับไม่เคยร้องแรกแหกกระเชอ หรือปริปากบ่นแม้สักนิดว่า “พันธมิตรฯ พาน้องโบว์ไปตาย” ดังที่สื่อมวลชนบางคนกำลังยัดเยียดข้อหาให้กับพวกเรา
ในทางตรงกันข้าม คุณพ่อ คุณแม่ น้องๆ ของน้องโบว์ กลับยืนยันหนักแน่นว่า แนวทางการออกมาเรียกร้อง-ต่อต้านนักการเมืองทรราช เพื่อรักษาสถาบันชาติ รักษาสถาบันศาสนา และรักษาสถาบันพระมหากษัตริย์ ของลูกสาวและกลุ่มพันธมิตรฯ นั้นเป็นสิ่งที่ถูกต้องแล้ว พร้อมยืนยันด้วยว่าครอบครัวของตนยังจะเข้าร่วมชุมนุมต่อเมื่ออาการบาดเจ็บของสมาชิกในครอบครัวทุเลาแล้ว
สำหรับคุณพ่อจินดา เงินบริจาคงานศพลูกสาวคุณพ่อก็ไม่เอาแม้สักบาท พร้อมบอกด้วยว่าทั้งหมดจะยกให้สถานีโทรทัศน์เอเอสทีวีและพันธมิตรฯ เพื่อต่อสู้กับนักการเมืองชั่วต่อไป
สำหรับวันเกียรติยศที่ครอบครัวระดับปัญญาวุฒิได้รับเมื่อ 13 ต.ค. ในวันดังกล่าวคุณพ่อก็ยังมีน้ำจิตน้ำใจกล่าวเตือนเพื่อนๆ พันธมิตรฯ ด้วยว่า อย่าลืมว่าในวันถัดไปคือ 14 ต.ค. ยังมีพิธีของ พ.ต.ท.เมธี และขอให้ทุกคนให้ความสำคัญเท่าเทียมกับพิธีศพของลูกสาว
ด้วยความจงรักภักดีต่อสถาบัน ความเสียสละ ความกล้าหาญ และการให้ที่ไม่มีที่สิ้นสุดของพันธมิตรฯ ทั้งมวล นี่แหละครับที่ทำให้ น้องโบว์ และ สารวัตรจ๊าบ จึงถูกยกย่องให้เป็น “วีรชน” และทำให้ทั้ง 2 คนกลายเป็น เพื่อน พี่ น้อง ลูกและหลานของชาวไทยหลายล้านคนไปชั่วนิจนิรันดร์