กระทรวงพาณิชย์ มีหน้าที่และภารกิจในการสนับสนุนให้การค้าขายมีความคล่องตัว เกิดความเป็นธรรมในการประกอบธุรกิจ และผู้บริโภคได้รับประโยชน์สูงสุดในการซื้อสินค้าและบริการ แต่ด้วยรูปแบบการค้าที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในปัจจุบัน ทำให้รูปแบบการค้ามีการเปลี่ยนแปลงไปด้วย โดยเฉพาะการเข้ามาของค้าปลีกสมัยใหม่ ที่ส่งผลกระทบต่อค้าปลีกดั้งเดิมของคนไทย
การแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น กระทรวงพาณิชย์ ได้ดำเนินการอย่างเต็มที่ ทั้งการเร่งรัดให้มีกฎหมายออกมาควบคุมดูแล แต่ยอมรับว่าการออกกฎหมายจำเป็นต้องใช้ระยะเวลา และอาจจะไม่ทันเหตุ ทันการณ์ นายศิริพล ยอดเมืองเจริญ ปลัดกระทรวงพาณิชย์ จึงได้มีแนวคิดใหม่ในการสนับสนุนผู้ประกอบการไทยให้อยู่รอดและแข่งขันได้ในยุคเศรษฐกิจการค้าเสรี โดยได้ริเริ่มจัดทำโครงการ “ย่านการค้า” ในแต่ละจังหวัดขึ้นมา ซึ่งแนวคิด วิธีการดำเนินการ และเป้าหมาย เป็นอย่างไร สามารถติดตามได้ใน “สัมภาษณ์พิเศษ”ฉบับนี้
ขอทราบที่มาที่ไปและแนวคิดในการจัดทำย่านการค้าในภูมิภาคต่างๆ
กระทรวงพาณิชย์ เป็นหน่วยงานที่ดูแลการค้า ทั้งภายในและต่างประเทศ และได้พยายามที่จะสนับสนุนให้การค้ามีความคล่องตัว ซึ่งแนวคิดในการจัดทำ “ย่านการค้า” ในจังหวัดต่างๆ ของประเทศจึงเกิดขึ้น เพราะเล็งเห็นว่าการค้าไม่จำเป็นต้องกระจุกตัวอยู่แค่ส่วนกลางในกรุงเทพฯ แต่ในต่างจังหวัด ในภูมิภาคต่างๆ ของประเทศก็ควรจะมีการพัฒนาการค้า พัฒนาศูนย์กลางการค้าด้วย จึงเป็นที่มาของการจัดทำย่านการค้า โดยมีแนวคิดที่ว่า Mostly by Thai หรือพูดให้ชัดๆ ก็คือ การเปิดโอกาสให้คนไทย ซื้อขายสินค้าและบริการที่ผลิตโดยคนไทย
การจัดทำย่านการค้า ยังสอดรับกับแนวคิดการเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ในปี 2015 ที่อาเซียนจะกลายเป็นตลาดเดียวโดยสมบูรณ์แบบ และไทยเองก็ได้ตั้งเป้าหมายไว้ว่าจะเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจการค้าในภูมิภาคนี้ ดังนั้น ไทยก็ต้องมีการปรับตัว และพัฒนาตัวเอง การจะให้ศูนย์กลางการค้าจะกระจุกตัวอยู่ที่กรุงเทพฯ คงไม่ถูกต้อง แต่ต้องมีการค้าในภูมิภาคเป็นส่วนประกอบด้วย
“สิ่งที่ผมคิดไว้ ย่านการค้าจะเป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจที่สำคัญอีกตัวหนึ่งของประเทศ ย่านการค้าจะเป็นตัวผลักดันเศรษฐกิจในภูมิภาคสู่ภูมิภาคหรือ Local to Local และผลักดันเศรษฐกิจภูมิภาคสู่ตลาดโลก หรือ Local to Global ซึ่งกระทรวงพาณิชย์มีแผนรองรับที่จะดำเนินการไว้หมดแล้ว”
วิธีการในการคัดเลือกย่านการค้าจังหวัดได้ดำเนินการอย่างไร
ผมได้มอบหมายให้ผู้ตรวจราชการกระทรวงพาณิชย์ ไปร่วมกับพาณิชย์จังหวัดต่างๆ และให้มีการหารือร่วมกับผู้ว่าราชการจังหวัด ผู้ประกอบการในจังหวัด ผู้ผลิตสินค้า พ่อค้า แม่ค้า และให้เสนอมาว่าจังหวัดใดพร้อมที่จะพัฒนาย่านการค้าให้เกิดขึ้น ซึ่งมีหลายๆ จังหวัดเสนอตัวเข้ามามากมาย แต่ในเบื้องต้นได้คัดเลือกจังหวัดนำร่องขึ้นมาก่อน 4 จังหวัด คือ จันทบุรี ฉะเชิงเทรา ตาก และกระบี่
“จังหวัดที่เราคัดเลือกขึ้นมานี้ เป็นจังหวัดที่มีความพร้อม มีบริเวณและสถานที่ที่ทำการค้าขายกันอยู่แล้ว และมีสินค้าเด่นๆ เป็นตัวชูโรง สามารถทำเป็นย่านการค้าได้ทันที ซึ่งขณะนี้กระทรวงพาณิชย์กำลังจะดำเนินการในเชิงลึกโดยร่วมกับผู้ที่เกี่ยวข้องผลักดันให้ย่านการค้าเกิดขึ้นโดยเร็ว”
จุดเด่นของ 4 จังหวัดที่คัดเลือกขึ้นมาเป็นย่านการค้ามีอะไรบ้าง
อย่างจังหวัดฉะเชิงเทรา มีจุดเด่นคือเป็นย่านการค้าเก่าแก่ มีสินค้าหลากหลายทั้งอุปโภคบริโภค และมีจุดเด่นคือเป็นถนนที่มีผู้ให้บริการทางการแพทย์ทั้งแผนโบราณและปัจจุบันอยู่มากมาย ที่จันทบุรี จะทำเป็นย่านการค้าอัญมณีและเครื่องประดับ เพราะเป็นแหล่งผลิตสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับที่สำคัญของประเทศ สามารถส่งออกไปขายได้ทั่วโลก ถือเป็นจุดเด่นของจังหวัดนี้ ขณะที่จังหวัดตาก ได้เลือกที่อำเภอแม่สอด เป็นย่านการค้าอัญมณีและเครื่องประดับเช่นเดียวกันกับจังหวัดจันทบุรี ส่วนจังหวัดกระบี่ มีจุดเด่นเป็นศูนย์รวมการค้าขายสินค้าพื้นเมือง และสินค้าที่เป็นของที่ระลึก
กระทรวงพาณิชย์คาดหวังอะไรจากโครงการนี้
ถ้าเราเข้าไปช่วยส่งเสริมและสนับสนุนให้จังหวัดต่างๆ เกิดเป็นย่านการค้าขึ้นมาได้ จะเป็นการตอบคำถามว่ากระทรวงพาณิชย์ไม่ละทิ้งผู้ประกอบการขนาดกลางและเล็ก และยังเป็นการสนับสนุนให้แต่ละจังหวัดมีความเข้มแข็งในด้านการค้า การขาย เป็นการช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจในจังหวัด ช่วยให้คนมีการ มีงานทำ คนไทยได้ซื้อขายสินค้าและบริการที่ผลิตโดยคนไทย มันจะเกิดผลต่อเนื่อง ทั้งเศรษฐกิจในจังหวัดขยายตัว และเศรษฐกิจของประเทศขยายตัว ถือเป็นการสร้างแรงซื้อ แรงบริโภคให้เกิดขึ้นในประเทศได้อีกทางหนึ่ง
มีแผนสนับสนุนให้ย่านการค้าเป็นที่รู้จักวิธีอื่นๆ หรือไม่
แน่นอน กระทรวงพาณิชย์ต้องดำเนินการโปรโมตให้ย่านการค้าเป็นที่รู้จักอยู่แล้ว ก็อยากที่บอกการมีย่านการค้า เป็นการให้คนผลิต คนค้า คนขาย มาเจอกับคนซื้อ มันจะมีการหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจ เราไม่ใช่โปรโมตแค่ในจังหวัดให้คนมาซื้อหาสินค้า แต่จะช่วยโปรโมตให้เป็นแหล่งท่องเที่ยว ใครไปใครมา ก็ต้องไปเที่ยว ไปชม ไปซื้อหาสินค้าในย่านการค้านี้
ที่สำคัญ จะโปรโมตให้ดังไกลไปถึงต่างประเทศ ซึ่งจะมอบหมายให้ทูตพาณิชย์ของไทยที่ประจำอยู่ในที่ต่างๆ ทั่วโลก ได้บรรจุแผนโปรโมตย่านการค้านี้ลงไปด้วย โดยจะให้มีการจัดคณะผู้ซื้อจากต่างประเทศเดินทางมาเยี่ยมชมและเลือกซื้อสินค้าในย่านการค้า ซึ่งเป็นการสะท้อนแนวคิดที่ผมเคยพูดไว้ว่า Local to Global ได้เป็นอย่างดี
การแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น กระทรวงพาณิชย์ ได้ดำเนินการอย่างเต็มที่ ทั้งการเร่งรัดให้มีกฎหมายออกมาควบคุมดูแล แต่ยอมรับว่าการออกกฎหมายจำเป็นต้องใช้ระยะเวลา และอาจจะไม่ทันเหตุ ทันการณ์ นายศิริพล ยอดเมืองเจริญ ปลัดกระทรวงพาณิชย์ จึงได้มีแนวคิดใหม่ในการสนับสนุนผู้ประกอบการไทยให้อยู่รอดและแข่งขันได้ในยุคเศรษฐกิจการค้าเสรี โดยได้ริเริ่มจัดทำโครงการ “ย่านการค้า” ในแต่ละจังหวัดขึ้นมา ซึ่งแนวคิด วิธีการดำเนินการ และเป้าหมาย เป็นอย่างไร สามารถติดตามได้ใน “สัมภาษณ์พิเศษ”ฉบับนี้
ขอทราบที่มาที่ไปและแนวคิดในการจัดทำย่านการค้าในภูมิภาคต่างๆ
กระทรวงพาณิชย์ เป็นหน่วยงานที่ดูแลการค้า ทั้งภายในและต่างประเทศ และได้พยายามที่จะสนับสนุนให้การค้ามีความคล่องตัว ซึ่งแนวคิดในการจัดทำ “ย่านการค้า” ในจังหวัดต่างๆ ของประเทศจึงเกิดขึ้น เพราะเล็งเห็นว่าการค้าไม่จำเป็นต้องกระจุกตัวอยู่แค่ส่วนกลางในกรุงเทพฯ แต่ในต่างจังหวัด ในภูมิภาคต่างๆ ของประเทศก็ควรจะมีการพัฒนาการค้า พัฒนาศูนย์กลางการค้าด้วย จึงเป็นที่มาของการจัดทำย่านการค้า โดยมีแนวคิดที่ว่า Mostly by Thai หรือพูดให้ชัดๆ ก็คือ การเปิดโอกาสให้คนไทย ซื้อขายสินค้าและบริการที่ผลิตโดยคนไทย
การจัดทำย่านการค้า ยังสอดรับกับแนวคิดการเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ในปี 2015 ที่อาเซียนจะกลายเป็นตลาดเดียวโดยสมบูรณ์แบบ และไทยเองก็ได้ตั้งเป้าหมายไว้ว่าจะเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจการค้าในภูมิภาคนี้ ดังนั้น ไทยก็ต้องมีการปรับตัว และพัฒนาตัวเอง การจะให้ศูนย์กลางการค้าจะกระจุกตัวอยู่ที่กรุงเทพฯ คงไม่ถูกต้อง แต่ต้องมีการค้าในภูมิภาคเป็นส่วนประกอบด้วย
“สิ่งที่ผมคิดไว้ ย่านการค้าจะเป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจที่สำคัญอีกตัวหนึ่งของประเทศ ย่านการค้าจะเป็นตัวผลักดันเศรษฐกิจในภูมิภาคสู่ภูมิภาคหรือ Local to Local และผลักดันเศรษฐกิจภูมิภาคสู่ตลาดโลก หรือ Local to Global ซึ่งกระทรวงพาณิชย์มีแผนรองรับที่จะดำเนินการไว้หมดแล้ว”
วิธีการในการคัดเลือกย่านการค้าจังหวัดได้ดำเนินการอย่างไร
ผมได้มอบหมายให้ผู้ตรวจราชการกระทรวงพาณิชย์ ไปร่วมกับพาณิชย์จังหวัดต่างๆ และให้มีการหารือร่วมกับผู้ว่าราชการจังหวัด ผู้ประกอบการในจังหวัด ผู้ผลิตสินค้า พ่อค้า แม่ค้า และให้เสนอมาว่าจังหวัดใดพร้อมที่จะพัฒนาย่านการค้าให้เกิดขึ้น ซึ่งมีหลายๆ จังหวัดเสนอตัวเข้ามามากมาย แต่ในเบื้องต้นได้คัดเลือกจังหวัดนำร่องขึ้นมาก่อน 4 จังหวัด คือ จันทบุรี ฉะเชิงเทรา ตาก และกระบี่
“จังหวัดที่เราคัดเลือกขึ้นมานี้ เป็นจังหวัดที่มีความพร้อม มีบริเวณและสถานที่ที่ทำการค้าขายกันอยู่แล้ว และมีสินค้าเด่นๆ เป็นตัวชูโรง สามารถทำเป็นย่านการค้าได้ทันที ซึ่งขณะนี้กระทรวงพาณิชย์กำลังจะดำเนินการในเชิงลึกโดยร่วมกับผู้ที่เกี่ยวข้องผลักดันให้ย่านการค้าเกิดขึ้นโดยเร็ว”
จุดเด่นของ 4 จังหวัดที่คัดเลือกขึ้นมาเป็นย่านการค้ามีอะไรบ้าง
อย่างจังหวัดฉะเชิงเทรา มีจุดเด่นคือเป็นย่านการค้าเก่าแก่ มีสินค้าหลากหลายทั้งอุปโภคบริโภค และมีจุดเด่นคือเป็นถนนที่มีผู้ให้บริการทางการแพทย์ทั้งแผนโบราณและปัจจุบันอยู่มากมาย ที่จันทบุรี จะทำเป็นย่านการค้าอัญมณีและเครื่องประดับ เพราะเป็นแหล่งผลิตสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับที่สำคัญของประเทศ สามารถส่งออกไปขายได้ทั่วโลก ถือเป็นจุดเด่นของจังหวัดนี้ ขณะที่จังหวัดตาก ได้เลือกที่อำเภอแม่สอด เป็นย่านการค้าอัญมณีและเครื่องประดับเช่นเดียวกันกับจังหวัดจันทบุรี ส่วนจังหวัดกระบี่ มีจุดเด่นเป็นศูนย์รวมการค้าขายสินค้าพื้นเมือง และสินค้าที่เป็นของที่ระลึก
กระทรวงพาณิชย์คาดหวังอะไรจากโครงการนี้
ถ้าเราเข้าไปช่วยส่งเสริมและสนับสนุนให้จังหวัดต่างๆ เกิดเป็นย่านการค้าขึ้นมาได้ จะเป็นการตอบคำถามว่ากระทรวงพาณิชย์ไม่ละทิ้งผู้ประกอบการขนาดกลางและเล็ก และยังเป็นการสนับสนุนให้แต่ละจังหวัดมีความเข้มแข็งในด้านการค้า การขาย เป็นการช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจในจังหวัด ช่วยให้คนมีการ มีงานทำ คนไทยได้ซื้อขายสินค้าและบริการที่ผลิตโดยคนไทย มันจะเกิดผลต่อเนื่อง ทั้งเศรษฐกิจในจังหวัดขยายตัว และเศรษฐกิจของประเทศขยายตัว ถือเป็นการสร้างแรงซื้อ แรงบริโภคให้เกิดขึ้นในประเทศได้อีกทางหนึ่ง
มีแผนสนับสนุนให้ย่านการค้าเป็นที่รู้จักวิธีอื่นๆ หรือไม่
แน่นอน กระทรวงพาณิชย์ต้องดำเนินการโปรโมตให้ย่านการค้าเป็นที่รู้จักอยู่แล้ว ก็อยากที่บอกการมีย่านการค้า เป็นการให้คนผลิต คนค้า คนขาย มาเจอกับคนซื้อ มันจะมีการหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจ เราไม่ใช่โปรโมตแค่ในจังหวัดให้คนมาซื้อหาสินค้า แต่จะช่วยโปรโมตให้เป็นแหล่งท่องเที่ยว ใครไปใครมา ก็ต้องไปเที่ยว ไปชม ไปซื้อหาสินค้าในย่านการค้านี้
ที่สำคัญ จะโปรโมตให้ดังไกลไปถึงต่างประเทศ ซึ่งจะมอบหมายให้ทูตพาณิชย์ของไทยที่ประจำอยู่ในที่ต่างๆ ทั่วโลก ได้บรรจุแผนโปรโมตย่านการค้านี้ลงไปด้วย โดยจะให้มีการจัดคณะผู้ซื้อจากต่างประเทศเดินทางมาเยี่ยมชมและเลือกซื้อสินค้าในย่านการค้า ซึ่งเป็นการสะท้อนแนวคิดที่ผมเคยพูดไว้ว่า Local to Global ได้เป็นอย่างดี