เดลิเมล์ - เตรียมพบกับรถรุ่นใหม่ที่จะทำให้พ่อแม่เบาใจขึ้นเมื่ออนุญาตให้ลูกยืมรถขับ เพราะรถที่ว่ามีระบบจำกัดความเร็ว รวมถึงระดับเสียงสเตอริโอ อีกทั้งสัญญาณเตือนเมื่อผู้ขับไม่คาดเข็มขัดนิรภัย
หัวใจสำคัญของรถสุดยอดปลอดภัยจากค่ายฟอร์ด มอเตอร์คือ กุญแจสตาร์ทฝังชิป ที่จะควบคุมการทำงานของทุกระบบที่กล่าวมาข้างต้น
ฟอร์ดเตรียมใช้ ‘มายคีย์’ กุญแจฝังชิปกับรถหลายรุ่นที่เปิดตัวในสหรัฐฯ ในปี 2010 และขยับขยายสู่รุ่นอื่นๆ ในอนาคต
ค่ายรถอันดับ 2 ของแดนอินทรีเผยว่า ผลการสำรวจตลาดพบว่าผู้ปกครอง 75% ชอบแนวคิดนี้ ขณะที่วัยรุ่น 67% คัดค้าน
จิม บักซ์โคว์สกี้ ผู้อำนวยการฝ่ายวิศวกรรมระบบไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ของฟอร์ด บอกว่าสิ่งที่บริษัทต้องการสื่อถึงพ่อแม่ผู้ปกครองก็คือ การจัดหาเงื่อนไขบางอย่างสำหรับผู้ขับขี่มือใหม่ที่จะทำให้พ่อแม่รู้สึกสบายใจขึ้นที่จะให้ลูกยืมรถ
รถที่ใช้มายคีย์จะจำกัดความเร็วสูงสุดในการขับขี่ไว้ที่ 80 ไมล์ (128 กิโลเมตร) ต่อชั่วโมง ซึ่งอาจสูงกว่าระดับความเร็วที่ได้รับอนุญาตในบางรัฐของสหรัฐฯ ทั้งนี้ เผื่อไว้ในกรณีฉุกเฉิน
มายคีย์จะเป็นอุปกรณ์มาตรฐานในรถฟอร์ดบางรุ่นตั้งแต่ฤดูร้อนปีหน้า โดยสามารถตั้งโปรแกรมจำกัดทั้งระดับความเร็ว ระดับเสียงเครื่องเสียง และส่งสัญญาณเตือนเมื่อผู้ขับไม่คาดเข็มขัดนิรภัย
อย่างไรก็ตาม เสียงสัญญาณเตือนเข็มขัดนิรภัยจะดังเพียงห้านาทีเท่านั้น เพื่อหลีกเลี่ยงการสร้างความรำคาญให้แก่ผู้ขับขี่ที่เป็นผู้ใหญ่แต่ไม่ต้องการคาดเซฟตี้เบลท์
ปัจจุบัน ฟอร์ดเริ่มติดชิปกับรถบางรุ่นแล้วเพื่อกันขโมย โดยรถจะสตาร์ทไม่ติดจนกว่าจะตรวจพบชิป
ดานิชา วิลเลียมส์ นักเรียนวัย 16 ปีจากโรงเรียนมัธยมเซาท์ฟิลด์-แลตทรัปในดีทรอยต์ บอกว่าเธอไม่เห็นด้วยกับแนวคิดมายคีย์
“ฉันไม่ต้องการให้พ่อแม่มาคอยบงการว่าฉันควรขับรถอย่างไร เพราะตราบใดที่พ่อแม่จับมือเราอยู่ เราจะไม่มีวันได้เรียนรู้สิ่งใหม่ๆ”
บริตทานี ฮอว์โทรน วัย 17 ปี จากโรงเรียนเดียวกัน เห็นด้วยว่าอาจมีสถานการณ์ฉุกเฉินบางอย่างเกิดขึ้นที่เธอจำเป็นต้องขับรถเร็วกว่า 80 ไมล์ต่อชั่วโมง
กระนั้น การวิจัยของฟอร์ดบ่งบอกว่าพ่อแม่มีแนวโน้มต้องการให้ลูกใช้ระบบมายคีย์ และหากเทคโนโลยีนี้ทำให้พ่อแม่ยอมให้ลูกใช้รถได้บ่อยขึ้น จำนวนวัยรุ่นที่คัดค้านแนวคิดนี้อาจลดลงเกือบครึ่ง
แอนน์ แมกคาร์ต รองประธานอาวุโสฝ่ายวิจัยของสถาบันประกันภัยเพื่อความปลอดภัยบนท้องถนน ซึ่งเป็นกลุ่มวิจัยที่ได้รับทุนสนับสนุนจากอุตสาหกรรมประกันภัยรถยนต์ ที่เรียกร้องให้เพิ่มเกณฑ์อายุที่อนุญาตให้ขับรถได้เป็น 17 หรือ 18 ปี บอกว่า
“งานวิจัยของเราแสดงให้เห็นว่า ความเร็วเป็นปัจจัยหลักของการเกิดอุบัติเหตุในหมู่วัยรุ่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งวัยรุ่นที่เพิ่งขับรถใหม่ๆ ดังนั้น เราจึงคิดว่าระบบที่จะช่วยแก้ไขพฤติกรรมรักความเร็วจะช่วยยกระดับความปลอดภัยบนท้องถนนได้เป็นอย่างดี”
หัวใจสำคัญของรถสุดยอดปลอดภัยจากค่ายฟอร์ด มอเตอร์คือ กุญแจสตาร์ทฝังชิป ที่จะควบคุมการทำงานของทุกระบบที่กล่าวมาข้างต้น
ฟอร์ดเตรียมใช้ ‘มายคีย์’ กุญแจฝังชิปกับรถหลายรุ่นที่เปิดตัวในสหรัฐฯ ในปี 2010 และขยับขยายสู่รุ่นอื่นๆ ในอนาคต
ค่ายรถอันดับ 2 ของแดนอินทรีเผยว่า ผลการสำรวจตลาดพบว่าผู้ปกครอง 75% ชอบแนวคิดนี้ ขณะที่วัยรุ่น 67% คัดค้าน
จิม บักซ์โคว์สกี้ ผู้อำนวยการฝ่ายวิศวกรรมระบบไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ของฟอร์ด บอกว่าสิ่งที่บริษัทต้องการสื่อถึงพ่อแม่ผู้ปกครองก็คือ การจัดหาเงื่อนไขบางอย่างสำหรับผู้ขับขี่มือใหม่ที่จะทำให้พ่อแม่รู้สึกสบายใจขึ้นที่จะให้ลูกยืมรถ
รถที่ใช้มายคีย์จะจำกัดความเร็วสูงสุดในการขับขี่ไว้ที่ 80 ไมล์ (128 กิโลเมตร) ต่อชั่วโมง ซึ่งอาจสูงกว่าระดับความเร็วที่ได้รับอนุญาตในบางรัฐของสหรัฐฯ ทั้งนี้ เผื่อไว้ในกรณีฉุกเฉิน
มายคีย์จะเป็นอุปกรณ์มาตรฐานในรถฟอร์ดบางรุ่นตั้งแต่ฤดูร้อนปีหน้า โดยสามารถตั้งโปรแกรมจำกัดทั้งระดับความเร็ว ระดับเสียงเครื่องเสียง และส่งสัญญาณเตือนเมื่อผู้ขับไม่คาดเข็มขัดนิรภัย
อย่างไรก็ตาม เสียงสัญญาณเตือนเข็มขัดนิรภัยจะดังเพียงห้านาทีเท่านั้น เพื่อหลีกเลี่ยงการสร้างความรำคาญให้แก่ผู้ขับขี่ที่เป็นผู้ใหญ่แต่ไม่ต้องการคาดเซฟตี้เบลท์
ปัจจุบัน ฟอร์ดเริ่มติดชิปกับรถบางรุ่นแล้วเพื่อกันขโมย โดยรถจะสตาร์ทไม่ติดจนกว่าจะตรวจพบชิป
ดานิชา วิลเลียมส์ นักเรียนวัย 16 ปีจากโรงเรียนมัธยมเซาท์ฟิลด์-แลตทรัปในดีทรอยต์ บอกว่าเธอไม่เห็นด้วยกับแนวคิดมายคีย์
“ฉันไม่ต้องการให้พ่อแม่มาคอยบงการว่าฉันควรขับรถอย่างไร เพราะตราบใดที่พ่อแม่จับมือเราอยู่ เราจะไม่มีวันได้เรียนรู้สิ่งใหม่ๆ”
บริตทานี ฮอว์โทรน วัย 17 ปี จากโรงเรียนเดียวกัน เห็นด้วยว่าอาจมีสถานการณ์ฉุกเฉินบางอย่างเกิดขึ้นที่เธอจำเป็นต้องขับรถเร็วกว่า 80 ไมล์ต่อชั่วโมง
กระนั้น การวิจัยของฟอร์ดบ่งบอกว่าพ่อแม่มีแนวโน้มต้องการให้ลูกใช้ระบบมายคีย์ และหากเทคโนโลยีนี้ทำให้พ่อแม่ยอมให้ลูกใช้รถได้บ่อยขึ้น จำนวนวัยรุ่นที่คัดค้านแนวคิดนี้อาจลดลงเกือบครึ่ง
แอนน์ แมกคาร์ต รองประธานอาวุโสฝ่ายวิจัยของสถาบันประกันภัยเพื่อความปลอดภัยบนท้องถนน ซึ่งเป็นกลุ่มวิจัยที่ได้รับทุนสนับสนุนจากอุตสาหกรรมประกันภัยรถยนต์ ที่เรียกร้องให้เพิ่มเกณฑ์อายุที่อนุญาตให้ขับรถได้เป็น 17 หรือ 18 ปี บอกว่า
“งานวิจัยของเราแสดงให้เห็นว่า ความเร็วเป็นปัจจัยหลักของการเกิดอุบัติเหตุในหมู่วัยรุ่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งวัยรุ่นที่เพิ่งขับรถใหม่ๆ ดังนั้น เราจึงคิดว่าระบบที่จะช่วยแก้ไขพฤติกรรมรักความเร็วจะช่วยยกระดับความปลอดภัยบนท้องถนนได้เป็นอย่างดี”