ท่านผู้อ่านที่เคยผ่านเหตุการณ์วุ่นวายทางการเมืองจนลุกลามกลายเป็นการทำร้ายร่างกายถึงขั้นนองเลือด มีผู้บาดเจ็บและเสียชีวิต เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2514 และอีกหลายๆ ครั้งในโอกาสต่อมา พอจะจำภาพความรุนแรงได้เป็นอย่างดีว่า การบาดเจ็บและล้มตายส่วนใหญ่มาจากปฏิบัติการของฝ่ายรัฐที่มุ่งปราบประชาชนผู้ออกมาต่อต้านพฤติกรรมแสวงหาประโยชน์ในทางมิชอบ และความไม่เป็นธรรมในการปกครอง อันเป็นเหตุให้เกิดความทุกข์ ความเดือดร้อนขึ้นแก่ประชาชน โดยรวม ผนวกด้วยความอยากได้ อยากมี และอยากเป็นของกลุ่มการเมือง ที่ต้องการเห็นประเทศไทยมีการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอย่างสมบูรณ์เยี่ยงอารยประเทศทั้งหลาย
เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม ก็ทำนองเดียวกันกับเหตุการณ์ในอดีต ทั้งนี้จะเห็นได้จากความเป็นมาดังต่อไปนี้
1. เป็นที่รู้และยอมรับกันทั่วไปว่า การต่อต้านรัฐบาลภายใต้การนำของนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย มิได้เริ่มขึ้นจากพฤติกรรมโดยรวมของผู้นำรัฐบาลเป็นการส่วนบุคคล หรือในฐานะเป็นปัจเจกบุคคลแต่ประการใด
แท้จริงแล้วการต่อต้านรัฐบาลชุดนี้เป็นผลพวงสืบเนื่องมาจากการที่รัฐบาลภายใต้การนำของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ซึ่งมีพรรคไทยรักไทยเป็นแกนนำในช่วง พ.ศ. 2544-2549 ได้ก่อกรรมทำเข็ญไว้กับประเทศไทยโดยรวม
ด้วยการเข้ามาแสวงหาประโยชน์ในทางมิชอบในหลายๆ รูปแบบ และยังเป็นการก่อทุกข์ให้โทษแก่บุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่อยู่ในฝ่ายตรงกันข้ามถึงขั้นทำให้ประชาชนแบ่งออกเป็น 2 ฝ่าย คือ ฝ่ายนิยมระบอบทักษิณ และฝ่ายต่อต้านระบอบทักษิณ จนกลายเป็นเหตุอ้างประการหนึ่งในการโค่นล้มอำนาจรัฐบาล เมื่อวันที่ 19 ก.ย. 2549 และกลุ่มที่อยู่ในฝ่ายตรงกันข้ามกับระบอบทักษิณอย่างชัดเจน และมีการดำเนินกิจกรรมคัดค้านอย่างต่อเนื่องและยาวนาน ก็คงไม่มีกลุ่มไหนมั่นคง หนักแน่น และมีศักยภาพเท่ากับกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ภายใต้การนำของแกนนำ 5 คน โดยมีพล.ต.จำลอง ศรีเมือง และนายสนธิ ลิ้มทองกุล เป็นต้น และกลุ่มคัดค้านตามที่ว่านี้คือกลุ่มที่กดดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองในวันที่ 19 ก.ย. 2549 และมีผลทำให้อดีตนายกฯ ทักษิณ ชินวัตร ต้องระเหเร่ร่อนไปอยู่ประเทศอังกฤษในขณะนี้ และแถมยังต้องตกเป็นจำเลยในคดีทุจริตคอร์รัปชันอีกหลายคดี
กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยมิได้ยุติกิจกรรมทางการเมืองเพียงแค่ว่า ทำให้ทักษิณต้องหนีไปต่างประเทศ และศาลต้องดำเนินคดีต่ออดีตนายกฯ ทักษิณเท่านั้น แต่ยังดำเนินกิจกรรมทางการเมืองอย่างต่อเนื่องในการสลายขั้วอำนาจของกลุ่มอำนาจเก่าที่เกิดขึ้น และสืบทอดอำนาจทางการเมืองเพื่อช่วยเหลือเกื้อกูลกลุ่มอำนาจเก่าให้รอดพ้นจากการถูกดำเนินคดี แล้วเปิดโอกาสให้กลับมาครองอำนาจทางการเมืองอีกครั้ง โดยการแสดงบทรับใช้ทางการเมืองในฐานะเป็นรัฐบาลตัวแทน 2 รัฐบาลในโอกาสต่อมา
เริ่มด้วยรัฐบาลภายใต้การนำของนายสมัคร สุนทรเวช ที่ใครต่อใครมองว่าเป็นรัฐบาลหุ่นเชิดตั้งแต่ยังไม่มีการจัด ครม.เพราะได้ดำเนินการแทบทุกอย่างตามใบสั่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการสรรหาผู้มาดำรงตำแหน่งใน ครม.และในที่สุดรัฐบาลชุดที่ว่านี้ก็จบลงด้วยคำพิพากษาของศาลที่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า นายสมัคร สุนทรเวช กระทำผิดในกรณีเป็นพิธีกรรายการชิมไปบ่นไป และรายการยกโขยง 6 โมงเช้า ในท่ามกลางกระแสขับไล่ของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยในข้อหาพยายามจะแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 237 และ 309 เพื่อหนีการยุบพรรค และช่วยให้อดีตนายกฯ ทักษิณ รอดพ้นไปจากคดี
ต่อมารัฐบาลภายใต้การนำของนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ซึ่งเป็นทั้งน้องเขยและเป็นทั้งรัฐบาลตัวแทนที่พยายามทำทุกอย่างไม่แตกต่างไปจากรัฐบาลของนายสมัคร แต่วิธีการอาจแนบเนียนกว่าและรัดกุมกว่า เนื่องจากเป็นบุคคลที่สุขุมลุ่มลึกกว่า
แต่ถึงกระนั้นกลุ่มผู้คัดค้านก็จับได้ไล่ทัน และต่อต้านอย่างเหนียวแน่นในทันทีที่ชื่อนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ปรากฏขึ้นในฐานะเป็นผู้นำรัฐบาล และนี่เองคือจุดแตกหักที่เกิดขึ้นในวันที่ 7 ตุลาคม 2551 อันเป็นวันที่รัฐบาลจะแถลงนโยบายก่อนเข้าทำหน้าที่บริหารประเทศ แต่ได้รับการขัดขวางจากกลุ่มผู้ต่อต้าน ด้วยเห็นว่ารัฐบาลชุดนี้ไม่มีความชอบธรรมในการที่จะเป็นผู้บริหารประเทศ
เมื่อต่างฝ่ายต่างก็มีจุดมุ่งหมาย และจะเดินไปให้ถึงจุดหมายให้ได้ และเมื่อถูกขัดขวางผลก็คือการปะทะกันระหว่างผู้ต่อต้านกับเจ้าหน้าที่ตำรวจอันเป็นกลไกรัฐ และจากผลการปะทะกันนี้ทำให้มีผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตเกิดขึ้นตามมา
2. เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 7 ต.ค. 2551 ถ้านำไปเปรียบเทียบกับเหตุที่เกิดขึ้นในอดีต จะพบว่ามีทั้งความเหมือน และความต่างกัน
ที่ว่ามีความเหมือน คือ รัฐบาลเมื่อถูกสังคมต่อต้านแทนที่จะทบทวนพฤติกรรมของตนเองแล้วมีการปรับปรุงแก้ไข พร้อมทั้งออกมารับปากประชาชนว่าจะทำในสิ่งที่ประชาชนขอ เช่น เลิกการกระทำที่ไม่ดีไม่งาม และลงมือทำสิ่งดีงาม กลับดื้อแพ่งและใช้กลไกรัฐ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คนของรัฐและอาวุธของรัฐที่ได้มาด้วยเงินภาษีมาทำร้ายประชาชน
ที่ว่าแตกต่างกันก็คือ ในอดีต โดยเฉพาะอย่างยิ่งใน พ.ศ. 2514 และ 2519 ผู้ที่มาต่อต้านรัฐบาลเพื่อขับไล่รัฐบาลในข้อหาว่าเป็นเผด็จการ ได้ถูกมองว่าเป็นพวกนิยมลัทธิคอมมิวนิสต์ต้องการล้มล้างระบอบการปกครอง และล้มล้างสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ จึงต้องทำการปราบปรามอย่างรุนแรง
แต่การต่อต้านรัฐบาลของกลุ่มพันธมิตรฯ ตั้งแต่ พ.ศ. 2548 ปลายปีมาจนถึงปัจจุบันได้ถูกรัฐบาลมองว่าเป็นผู้ก่อความไม่สงบ และล้มรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง ในขณะที่กลุ่มผู้ต่อต้านได้ประกาศจุดยืนชัดเจนว่าจะขับไล่รัฐบาลที่ทุจริต คอร์รัปชัน และไม่ให้ความชอบธรรมแก่ประชาชนเท่าที่รัฐบาลซึ่งมาจากการเลือกตั้งในระบอบประชาธิปไตยควรจะมีและควรจะเป็น และที่สำคัญอย่างยิ่งที่กลุ่มต่อต้านลุกขึ้นสู้และยอมไม่ได้ ก็คือ รัฐบาลที่อยู่ภายใต้การนำของอดีตนายกฯ ทักษิณ และรัฐบาลตัวแทนทั้งชุดต่อมา มิได้แสดงความจงรักภักดีอย่างจริงใจต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ โดยอ้างการปล่อยให้มีผู้ออกมาแสดงความคิดเห็นโจมตีสถาบันสูงสุดของชาติทางสื่อต่างๆ อย่างเปิดเผย และถึงแม้จะมีการแจ้งความให้ดำเนินคดีต่อผู้ที่ตกเป็นจำเลย ทางรัฐบาลก็ดำเนินการอย่างเฉื่อยชาเสียไม่ได้ ไม่มีความคืบหน้าเท่าที่ควรจะเป็นเมื่อเทียบกับคดีที่รัฐบาลเป็นโจทก์
3. ประเด็นที่สำคัญและมีทั้งความเหมือนความต่าง ในทุกครั้งที่เกิดเหตุการณ์ที่คนของรัฐตกเป็นจำเลยทางสังคมในข้อหาทำร้ายประชาชน ทางฝ่ายรัฐจะบิดเบือนข้อมูล โดยอาศัยสื่อของรัฐและในครั้งนี้ก็เช่นกัน จะเห็นได้จากการที่มีผู้ได้รับบาดเจ็บมือขาด ขาขาด และถึงแก่ความตาย ทางเจ้าหน้าที่ตำรวจพยายามจะบอกว่าเป็นการกระทำของผู้บาดเจ็บเอง หรือไม่ก็พูดในทำนองว่า อาวุธของคนกลุ่มเดียวกันทำร้ายกันเอง รวมไปถึงการยัดเยียดอาวุธให้ผู้ต่อต้านที่มีเพียงมือตบว่ามีอาวุธ เป็นต้น
ทั้งหมดนี้คือธาตุแท้ของทรชนคนของรัฐที่มีมาตลอด และจะมีต่อไป โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ตำรวจ ซึ่งเชื่อว่ามีอยู่มากกว่าคนของรัฐประเภทอื่น
เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม ก็ทำนองเดียวกันกับเหตุการณ์ในอดีต ทั้งนี้จะเห็นได้จากความเป็นมาดังต่อไปนี้
1. เป็นที่รู้และยอมรับกันทั่วไปว่า การต่อต้านรัฐบาลภายใต้การนำของนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย มิได้เริ่มขึ้นจากพฤติกรรมโดยรวมของผู้นำรัฐบาลเป็นการส่วนบุคคล หรือในฐานะเป็นปัจเจกบุคคลแต่ประการใด
แท้จริงแล้วการต่อต้านรัฐบาลชุดนี้เป็นผลพวงสืบเนื่องมาจากการที่รัฐบาลภายใต้การนำของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ซึ่งมีพรรคไทยรักไทยเป็นแกนนำในช่วง พ.ศ. 2544-2549 ได้ก่อกรรมทำเข็ญไว้กับประเทศไทยโดยรวม
ด้วยการเข้ามาแสวงหาประโยชน์ในทางมิชอบในหลายๆ รูปแบบ และยังเป็นการก่อทุกข์ให้โทษแก่บุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่อยู่ในฝ่ายตรงกันข้ามถึงขั้นทำให้ประชาชนแบ่งออกเป็น 2 ฝ่าย คือ ฝ่ายนิยมระบอบทักษิณ และฝ่ายต่อต้านระบอบทักษิณ จนกลายเป็นเหตุอ้างประการหนึ่งในการโค่นล้มอำนาจรัฐบาล เมื่อวันที่ 19 ก.ย. 2549 และกลุ่มที่อยู่ในฝ่ายตรงกันข้ามกับระบอบทักษิณอย่างชัดเจน และมีการดำเนินกิจกรรมคัดค้านอย่างต่อเนื่องและยาวนาน ก็คงไม่มีกลุ่มไหนมั่นคง หนักแน่น และมีศักยภาพเท่ากับกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ภายใต้การนำของแกนนำ 5 คน โดยมีพล.ต.จำลอง ศรีเมือง และนายสนธิ ลิ้มทองกุล เป็นต้น และกลุ่มคัดค้านตามที่ว่านี้คือกลุ่มที่กดดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองในวันที่ 19 ก.ย. 2549 และมีผลทำให้อดีตนายกฯ ทักษิณ ชินวัตร ต้องระเหเร่ร่อนไปอยู่ประเทศอังกฤษในขณะนี้ และแถมยังต้องตกเป็นจำเลยในคดีทุจริตคอร์รัปชันอีกหลายคดี
กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยมิได้ยุติกิจกรรมทางการเมืองเพียงแค่ว่า ทำให้ทักษิณต้องหนีไปต่างประเทศ และศาลต้องดำเนินคดีต่ออดีตนายกฯ ทักษิณเท่านั้น แต่ยังดำเนินกิจกรรมทางการเมืองอย่างต่อเนื่องในการสลายขั้วอำนาจของกลุ่มอำนาจเก่าที่เกิดขึ้น และสืบทอดอำนาจทางการเมืองเพื่อช่วยเหลือเกื้อกูลกลุ่มอำนาจเก่าให้รอดพ้นจากการถูกดำเนินคดี แล้วเปิดโอกาสให้กลับมาครองอำนาจทางการเมืองอีกครั้ง โดยการแสดงบทรับใช้ทางการเมืองในฐานะเป็นรัฐบาลตัวแทน 2 รัฐบาลในโอกาสต่อมา
เริ่มด้วยรัฐบาลภายใต้การนำของนายสมัคร สุนทรเวช ที่ใครต่อใครมองว่าเป็นรัฐบาลหุ่นเชิดตั้งแต่ยังไม่มีการจัด ครม.เพราะได้ดำเนินการแทบทุกอย่างตามใบสั่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการสรรหาผู้มาดำรงตำแหน่งใน ครม.และในที่สุดรัฐบาลชุดที่ว่านี้ก็จบลงด้วยคำพิพากษาของศาลที่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า นายสมัคร สุนทรเวช กระทำผิดในกรณีเป็นพิธีกรรายการชิมไปบ่นไป และรายการยกโขยง 6 โมงเช้า ในท่ามกลางกระแสขับไล่ของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยในข้อหาพยายามจะแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 237 และ 309 เพื่อหนีการยุบพรรค และช่วยให้อดีตนายกฯ ทักษิณ รอดพ้นไปจากคดี
ต่อมารัฐบาลภายใต้การนำของนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ซึ่งเป็นทั้งน้องเขยและเป็นทั้งรัฐบาลตัวแทนที่พยายามทำทุกอย่างไม่แตกต่างไปจากรัฐบาลของนายสมัคร แต่วิธีการอาจแนบเนียนกว่าและรัดกุมกว่า เนื่องจากเป็นบุคคลที่สุขุมลุ่มลึกกว่า
แต่ถึงกระนั้นกลุ่มผู้คัดค้านก็จับได้ไล่ทัน และต่อต้านอย่างเหนียวแน่นในทันทีที่ชื่อนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ปรากฏขึ้นในฐานะเป็นผู้นำรัฐบาล และนี่เองคือจุดแตกหักที่เกิดขึ้นในวันที่ 7 ตุลาคม 2551 อันเป็นวันที่รัฐบาลจะแถลงนโยบายก่อนเข้าทำหน้าที่บริหารประเทศ แต่ได้รับการขัดขวางจากกลุ่มผู้ต่อต้าน ด้วยเห็นว่ารัฐบาลชุดนี้ไม่มีความชอบธรรมในการที่จะเป็นผู้บริหารประเทศ
เมื่อต่างฝ่ายต่างก็มีจุดมุ่งหมาย และจะเดินไปให้ถึงจุดหมายให้ได้ และเมื่อถูกขัดขวางผลก็คือการปะทะกันระหว่างผู้ต่อต้านกับเจ้าหน้าที่ตำรวจอันเป็นกลไกรัฐ และจากผลการปะทะกันนี้ทำให้มีผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตเกิดขึ้นตามมา
2. เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 7 ต.ค. 2551 ถ้านำไปเปรียบเทียบกับเหตุที่เกิดขึ้นในอดีต จะพบว่ามีทั้งความเหมือน และความต่างกัน
ที่ว่ามีความเหมือน คือ รัฐบาลเมื่อถูกสังคมต่อต้านแทนที่จะทบทวนพฤติกรรมของตนเองแล้วมีการปรับปรุงแก้ไข พร้อมทั้งออกมารับปากประชาชนว่าจะทำในสิ่งที่ประชาชนขอ เช่น เลิกการกระทำที่ไม่ดีไม่งาม และลงมือทำสิ่งดีงาม กลับดื้อแพ่งและใช้กลไกรัฐ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คนของรัฐและอาวุธของรัฐที่ได้มาด้วยเงินภาษีมาทำร้ายประชาชน
ที่ว่าแตกต่างกันก็คือ ในอดีต โดยเฉพาะอย่างยิ่งใน พ.ศ. 2514 และ 2519 ผู้ที่มาต่อต้านรัฐบาลเพื่อขับไล่รัฐบาลในข้อหาว่าเป็นเผด็จการ ได้ถูกมองว่าเป็นพวกนิยมลัทธิคอมมิวนิสต์ต้องการล้มล้างระบอบการปกครอง และล้มล้างสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ จึงต้องทำการปราบปรามอย่างรุนแรง
แต่การต่อต้านรัฐบาลของกลุ่มพันธมิตรฯ ตั้งแต่ พ.ศ. 2548 ปลายปีมาจนถึงปัจจุบันได้ถูกรัฐบาลมองว่าเป็นผู้ก่อความไม่สงบ และล้มรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง ในขณะที่กลุ่มผู้ต่อต้านได้ประกาศจุดยืนชัดเจนว่าจะขับไล่รัฐบาลที่ทุจริต คอร์รัปชัน และไม่ให้ความชอบธรรมแก่ประชาชนเท่าที่รัฐบาลซึ่งมาจากการเลือกตั้งในระบอบประชาธิปไตยควรจะมีและควรจะเป็น และที่สำคัญอย่างยิ่งที่กลุ่มต่อต้านลุกขึ้นสู้และยอมไม่ได้ ก็คือ รัฐบาลที่อยู่ภายใต้การนำของอดีตนายกฯ ทักษิณ และรัฐบาลตัวแทนทั้งชุดต่อมา มิได้แสดงความจงรักภักดีอย่างจริงใจต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ โดยอ้างการปล่อยให้มีผู้ออกมาแสดงความคิดเห็นโจมตีสถาบันสูงสุดของชาติทางสื่อต่างๆ อย่างเปิดเผย และถึงแม้จะมีการแจ้งความให้ดำเนินคดีต่อผู้ที่ตกเป็นจำเลย ทางรัฐบาลก็ดำเนินการอย่างเฉื่อยชาเสียไม่ได้ ไม่มีความคืบหน้าเท่าที่ควรจะเป็นเมื่อเทียบกับคดีที่รัฐบาลเป็นโจทก์
3. ประเด็นที่สำคัญและมีทั้งความเหมือนความต่าง ในทุกครั้งที่เกิดเหตุการณ์ที่คนของรัฐตกเป็นจำเลยทางสังคมในข้อหาทำร้ายประชาชน ทางฝ่ายรัฐจะบิดเบือนข้อมูล โดยอาศัยสื่อของรัฐและในครั้งนี้ก็เช่นกัน จะเห็นได้จากการที่มีผู้ได้รับบาดเจ็บมือขาด ขาขาด และถึงแก่ความตาย ทางเจ้าหน้าที่ตำรวจพยายามจะบอกว่าเป็นการกระทำของผู้บาดเจ็บเอง หรือไม่ก็พูดในทำนองว่า อาวุธของคนกลุ่มเดียวกันทำร้ายกันเอง รวมไปถึงการยัดเยียดอาวุธให้ผู้ต่อต้านที่มีเพียงมือตบว่ามีอาวุธ เป็นต้น
ทั้งหมดนี้คือธาตุแท้ของทรชนคนของรัฐที่มีมาตลอด และจะมีต่อไป โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ตำรวจ ซึ่งเชื่อว่ามีอยู่มากกว่าคนของรัฐประเภทอื่น