รอยเตอร์/เอเอฟพี - ธนาคารกลางรายบิ๊กของโลก ทั้งธนาคารกลางสหรัฐฯ(เฟด), ธนาคารกลางยุโรป(อีซีบี), แบงก์ชาติของอังกฤษ, สวีเดน, สวิตเซอร์แลนด์, และแคนาดา ประกาศร่วมมือกันลดอัตราดอกเบี้ยลงมาพร้อมๆ กัน 0.5% เมื่อวานนี้(8) โดยการประสานงานกันครั้งใหญ่ครั้งนี้มุ่งหมายที่จะฟื้นฟูความมั่นใจ และหยุดยั้งความปั่นป่วนผันผวนอันไม่เคยปรากฏมาก่อนของตลาดทั่วพิภพ
"ตลอดเวลาที่เกิดวิกฤตทางการเงินในปัจจุบัน บรรดาธนาคารกลางได้มีการติดต่อพัวพันกันในลักษณะของการปรึกษาหารือกันอย่างใกล้ชิดและต่อเนื่อง อีกทั้งร่วมมือกันในการปฏิบัติการร่วมกันหลายๆ ประการซึ่งไม่เคยกระทำกันมาก่อน อาทิ การจัดหาสภาพคล่องเพื่อลดความตึงตัวในตลาดการเงิน" ธนาคารกลางเหล่านี้ระบุในแถลงการณ์ร่วม
เมื่อแยกกันเป็นแต่ละราย เฟดแถลงว่าได้หั่นลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย เฟดฟันด์เรต ลงมา 0.5% เหลือ 1.5% พร้อมกับลดอัตราดอกเบี้ยมาตรฐาน ดิสเคาน์เรต ลงครึ่งเปอร์เซ็นต์เช่นกัน มาอยู่ที่ 1.75%
อีซีบีก็ปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายของตนลงมา 0.5% เหลือ 3.75% เช่นเดียวกับธนาคารแห่งประเทศอังกฤษ หั่นอัตราดอกเบี้ยพื้นฐานครึ่งเปอร์เซ็นต์ เหลือ 4.5%
ทางด้านแบงก์ชาติของจีน ก็ได้หั่นลดอัตราดอกเบี้ยสำคัญของตนลงมา 0.27% และลดข้อบังคับเรื่องการสำรองที่แบงก์ต่างๆ ต้องปฏิบัติให้ต่ำลงมาครึ่งเปอร์เซ็นต์
สำหรับธนาคารแห่งประเทศญี่ปุ่น(บีโอเจ) ซึ่งอัตราดอกเบี้ยอยู่ต่ำเตี้ยติดดินแค่ 0.5% จึงไม่ได้เข้าร่วมการลดดอกเบี้ยคราวนี้ แต่เฟดก็ระบุว่า บีโอเจได้แสดงความสนับสนุนอย่างแข็งขันต่อการร่วมมือประสานงานในการปฏิบัติการเชิงนโยบายคราวนี้
ก่อนหน้านี้หลายชั่วโมง ทบวงการเงินของฮ่องกง ซึ่งทำหน้าที่เป็นเสมือนแบงก์ชาติของดินแดนแห่งนี้ ได้ประกาศลดอัตราดอกเบี้ยไปก่อนแล้ว 1% เต็มๆ เป็นการเดินตามธนาคารกลางของออสเตรเลีย ที่หั่นอัตราดอกเบี้ย 1% เช่นกันตั้งแต่วันอังคาร(7)
ธนาคารกลางสหรัฐฯนั้นได้ระบุเหตุผลของตนเองในการลดดอกเบี้ยคราวนี้ว่า "ข้อมูลทางเศรษฐกิจที่กำลังไหลเข้ามาบ่งชี้ว่า ฝีก้าวของกิจกรรมทางเศรษฐกิจกำลังชะลอตัวลงอย่างสังเกตเห็นได้ชัดในระยะไม่กี่เดือนหลังมานี้"
"ยิ่งกว่านั้น ความรุนแรงยิ่งขึ้นเรื่อยๆ ของความปั่นป่วนผันผวนในตลาดการเงิน ก็น่าจะก่อให้เกิดความเครียดเค้นเพิ่มขึ้นอีกในด้านการใช้จ่าย ส่วนหนึ่งเนื่องมาจากความสามารถของครัวเรือนและธุรกิจที่จะได้รับสินเชื่อ กำลังถูกลดทอนลงเรื่อยๆ"
การออกมาประสานงานกันครั้งใหญ่คราวนี้ แม้จะเป็นข่าวใหญ่ชวนตื่นเต้น แต่บรรดานักวิเคราะห์ก็ดูยังคงตั้งคำถามกันว่า มันจะเพียงพอที่จะทำให้กระแสคลื่นเปลี่ยนทิศทางได้หรือไม่
"ข้อเท็จจริงที่ว่าเราได้เห็นพวกเขา(ธนาคารกลางต่างๆ) ออกมาเคลื่อนไหวกันทั่วทั้งกระดาน บ่งชี้ให้เห็นว่านี่คือการพยายามที่จะปิดเกม" ปีเตอร์ ดิกซัน นักเศรษฐศาสตร์แห่ง คอมเมอร์ซแบงก์ สาขาลอนดอน ให้ความเห็น "แต่เรื่องนี้จะช่วยตลาดหรือไม่ สำหรับระยะสั้นแล้วยังคงน่าสงสัยอยู่"
ทางด้าน ชาร์ลส์ ดีเบล หัวหน้านักยุทธศาสตร์ด้านอัตราดอกเบี้ย แห่งโนมูระ ในกรุงลอนดอน บอกว่า "ในที่สุดแล้วพวกธนาคารกลางของโลกก็รู้สึกตัวตื่นขึ้นมาสู่แรงโน้มถ่วงของสถานการณ์ในปัจจุบัน" เขากล่าวต่อไปว่า "นี่ถือเป็นจังหวะก้าวอันสำคัญในการทำให้โลกเกิดความมั่นใจขึ้นมาว่า พวกเขามีความเอาจริงเอาจังในเรื่องการพยายามสร้างเสถียรภาพ"
แต่เขาก็เตือนว่า "นี่ไม่ใช่ยาครอบจักรวาลที่จะสามารถแก้ไขความป่วยไข้ของโลกได้ทุกอย่าง แม้ว่ามันจะช่วย และแน่นอนว่าควรที่จะช่วยทำให้ตลาดต่างๆ มีที่ทางสำหรับหยุดพักหายใจกันบ้าง"
ความเคลื่อนไหวของบรรดาธนาคารกลางคราวนี้ ดูจะมีผลทำให้ตลาดหลักทรัพย์กระเตื้องขึ้นอยู่บ้าง โดยที่ตลาดแถบยุโรปซึ่งกำลังอยู่ระหว่างซื้อขายกันขณะที่รายงานข่าวนี้ออกมานั้น ที่ลอนดอน ดัชนีหุ้นสำคัญขึ้นไปอยู่ที่ 0.36% หลังจากก่อนหน้านี้ติดลบมากกว่า 4.0%
ตลาดแถบเอเชียซึ่งปิดตลาดไปก่อนแล้วนั้น อยู่ในอาการสาหัสอย่างยิ่ง โตเกียว -9.38% ถือเป็นการทรุดตัวแรงที่สุดนับแต่คราว "แบล็กมันเดย์"ในปี 1987 ขณะที่ ฮ่องกงก็ -8.2% สู่ระดับต่ำที่สุดในรอบกว่า 2 ปี และสิงคโปร์ -6.6% โดยเฉพาะที่ตลาดจาการ์ตานั้น ต้องมีการระงับการซื้อขายชั่วคราว โดยอ้างเหตุผลว่า เกิด "ความไม่ปกติ" ภายหลังที่ดัชนีราคาหุ้นดำดิ่ง 10.4%
ก่อนหน้านั้นขึ้นไปอีก ที่ตลาดวอลล์สตรีทเมื่อวันอังคาร ดัชนีหุ้นอุตสาหกรรมดาวโจนส์ก็ติดลบ 508.39 จุด หรือ 5.11%
นอกเหนือจากการร่วมกันหั่นดอกเบี้ยคราวนี้ ทางด้านอังกฤษกับสหรัฐฯยังได้ตัดสินใจใช้มาตรการที่ไม่เคยกระทำกันมาก่อน เพื่อพยายามประคับประคองตลาดสินเชื่อซึ่งอยู่ในภาวะตึงตัวอย่างยิ่ง
เมื่อวานนี้ ทางการอังกฤษประกาศแผนการที่จะอัดฉีดเงินอย่างน้อย 50,000 ล้านปอนด์ (87,200 ล้านดอลลาร์) ไปซื้อหุ้นบุริมสิทธิ์ของพวกธนาคารบริการลูกค้ารายย่อยซึ่งกำลงประสบปัญหาหนัก มาตรการในลักษณะโอนกิจการแบงก์เหล่านี้เข้ามาเป็นของรัฐบางส่วนเช่นนี้ ออกมาในขณะที่แบงก์เพื่อรายย่อยเหล่านี้ต่างสูญเสียมูลค่าไปเกือบครึ่งหนึ่งในตลาดหลักทรัพย์ โดยที่นักลงทุนต่างหวาดผวาว่ากิจการพวกนี้กำลังจะล้มละลาย
ส่วนในวันอังคาร ธนาคารกลางสหรัฐฯก็ประกาศรับซื้อตราสารเพื่อการพาณิชย์ อันเป็นตราสารหนี้ระยะสั้นที่พวกบริษัทต่างๆ ออกมาระดมทุนไว้ใช้ในการดำเนินธุรกิจในช่วงสั้น
"ตลอดเวลาที่เกิดวิกฤตทางการเงินในปัจจุบัน บรรดาธนาคารกลางได้มีการติดต่อพัวพันกันในลักษณะของการปรึกษาหารือกันอย่างใกล้ชิดและต่อเนื่อง อีกทั้งร่วมมือกันในการปฏิบัติการร่วมกันหลายๆ ประการซึ่งไม่เคยกระทำกันมาก่อน อาทิ การจัดหาสภาพคล่องเพื่อลดความตึงตัวในตลาดการเงิน" ธนาคารกลางเหล่านี้ระบุในแถลงการณ์ร่วม
เมื่อแยกกันเป็นแต่ละราย เฟดแถลงว่าได้หั่นลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย เฟดฟันด์เรต ลงมา 0.5% เหลือ 1.5% พร้อมกับลดอัตราดอกเบี้ยมาตรฐาน ดิสเคาน์เรต ลงครึ่งเปอร์เซ็นต์เช่นกัน มาอยู่ที่ 1.75%
อีซีบีก็ปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายของตนลงมา 0.5% เหลือ 3.75% เช่นเดียวกับธนาคารแห่งประเทศอังกฤษ หั่นอัตราดอกเบี้ยพื้นฐานครึ่งเปอร์เซ็นต์ เหลือ 4.5%
ทางด้านแบงก์ชาติของจีน ก็ได้หั่นลดอัตราดอกเบี้ยสำคัญของตนลงมา 0.27% และลดข้อบังคับเรื่องการสำรองที่แบงก์ต่างๆ ต้องปฏิบัติให้ต่ำลงมาครึ่งเปอร์เซ็นต์
สำหรับธนาคารแห่งประเทศญี่ปุ่น(บีโอเจ) ซึ่งอัตราดอกเบี้ยอยู่ต่ำเตี้ยติดดินแค่ 0.5% จึงไม่ได้เข้าร่วมการลดดอกเบี้ยคราวนี้ แต่เฟดก็ระบุว่า บีโอเจได้แสดงความสนับสนุนอย่างแข็งขันต่อการร่วมมือประสานงานในการปฏิบัติการเชิงนโยบายคราวนี้
ก่อนหน้านี้หลายชั่วโมง ทบวงการเงินของฮ่องกง ซึ่งทำหน้าที่เป็นเสมือนแบงก์ชาติของดินแดนแห่งนี้ ได้ประกาศลดอัตราดอกเบี้ยไปก่อนแล้ว 1% เต็มๆ เป็นการเดินตามธนาคารกลางของออสเตรเลีย ที่หั่นอัตราดอกเบี้ย 1% เช่นกันตั้งแต่วันอังคาร(7)
ธนาคารกลางสหรัฐฯนั้นได้ระบุเหตุผลของตนเองในการลดดอกเบี้ยคราวนี้ว่า "ข้อมูลทางเศรษฐกิจที่กำลังไหลเข้ามาบ่งชี้ว่า ฝีก้าวของกิจกรรมทางเศรษฐกิจกำลังชะลอตัวลงอย่างสังเกตเห็นได้ชัดในระยะไม่กี่เดือนหลังมานี้"
"ยิ่งกว่านั้น ความรุนแรงยิ่งขึ้นเรื่อยๆ ของความปั่นป่วนผันผวนในตลาดการเงิน ก็น่าจะก่อให้เกิดความเครียดเค้นเพิ่มขึ้นอีกในด้านการใช้จ่าย ส่วนหนึ่งเนื่องมาจากความสามารถของครัวเรือนและธุรกิจที่จะได้รับสินเชื่อ กำลังถูกลดทอนลงเรื่อยๆ"
การออกมาประสานงานกันครั้งใหญ่คราวนี้ แม้จะเป็นข่าวใหญ่ชวนตื่นเต้น แต่บรรดานักวิเคราะห์ก็ดูยังคงตั้งคำถามกันว่า มันจะเพียงพอที่จะทำให้กระแสคลื่นเปลี่ยนทิศทางได้หรือไม่
"ข้อเท็จจริงที่ว่าเราได้เห็นพวกเขา(ธนาคารกลางต่างๆ) ออกมาเคลื่อนไหวกันทั่วทั้งกระดาน บ่งชี้ให้เห็นว่านี่คือการพยายามที่จะปิดเกม" ปีเตอร์ ดิกซัน นักเศรษฐศาสตร์แห่ง คอมเมอร์ซแบงก์ สาขาลอนดอน ให้ความเห็น "แต่เรื่องนี้จะช่วยตลาดหรือไม่ สำหรับระยะสั้นแล้วยังคงน่าสงสัยอยู่"
ทางด้าน ชาร์ลส์ ดีเบล หัวหน้านักยุทธศาสตร์ด้านอัตราดอกเบี้ย แห่งโนมูระ ในกรุงลอนดอน บอกว่า "ในที่สุดแล้วพวกธนาคารกลางของโลกก็รู้สึกตัวตื่นขึ้นมาสู่แรงโน้มถ่วงของสถานการณ์ในปัจจุบัน" เขากล่าวต่อไปว่า "นี่ถือเป็นจังหวะก้าวอันสำคัญในการทำให้โลกเกิดความมั่นใจขึ้นมาว่า พวกเขามีความเอาจริงเอาจังในเรื่องการพยายามสร้างเสถียรภาพ"
แต่เขาก็เตือนว่า "นี่ไม่ใช่ยาครอบจักรวาลที่จะสามารถแก้ไขความป่วยไข้ของโลกได้ทุกอย่าง แม้ว่ามันจะช่วย และแน่นอนว่าควรที่จะช่วยทำให้ตลาดต่างๆ มีที่ทางสำหรับหยุดพักหายใจกันบ้าง"
ความเคลื่อนไหวของบรรดาธนาคารกลางคราวนี้ ดูจะมีผลทำให้ตลาดหลักทรัพย์กระเตื้องขึ้นอยู่บ้าง โดยที่ตลาดแถบยุโรปซึ่งกำลังอยู่ระหว่างซื้อขายกันขณะที่รายงานข่าวนี้ออกมานั้น ที่ลอนดอน ดัชนีหุ้นสำคัญขึ้นไปอยู่ที่ 0.36% หลังจากก่อนหน้านี้ติดลบมากกว่า 4.0%
ตลาดแถบเอเชียซึ่งปิดตลาดไปก่อนแล้วนั้น อยู่ในอาการสาหัสอย่างยิ่ง โตเกียว -9.38% ถือเป็นการทรุดตัวแรงที่สุดนับแต่คราว "แบล็กมันเดย์"ในปี 1987 ขณะที่ ฮ่องกงก็ -8.2% สู่ระดับต่ำที่สุดในรอบกว่า 2 ปี และสิงคโปร์ -6.6% โดยเฉพาะที่ตลาดจาการ์ตานั้น ต้องมีการระงับการซื้อขายชั่วคราว โดยอ้างเหตุผลว่า เกิด "ความไม่ปกติ" ภายหลังที่ดัชนีราคาหุ้นดำดิ่ง 10.4%
ก่อนหน้านั้นขึ้นไปอีก ที่ตลาดวอลล์สตรีทเมื่อวันอังคาร ดัชนีหุ้นอุตสาหกรรมดาวโจนส์ก็ติดลบ 508.39 จุด หรือ 5.11%
นอกเหนือจากการร่วมกันหั่นดอกเบี้ยคราวนี้ ทางด้านอังกฤษกับสหรัฐฯยังได้ตัดสินใจใช้มาตรการที่ไม่เคยกระทำกันมาก่อน เพื่อพยายามประคับประคองตลาดสินเชื่อซึ่งอยู่ในภาวะตึงตัวอย่างยิ่ง
เมื่อวานนี้ ทางการอังกฤษประกาศแผนการที่จะอัดฉีดเงินอย่างน้อย 50,000 ล้านปอนด์ (87,200 ล้านดอลลาร์) ไปซื้อหุ้นบุริมสิทธิ์ของพวกธนาคารบริการลูกค้ารายย่อยซึ่งกำลงประสบปัญหาหนัก มาตรการในลักษณะโอนกิจการแบงก์เหล่านี้เข้ามาเป็นของรัฐบางส่วนเช่นนี้ ออกมาในขณะที่แบงก์เพื่อรายย่อยเหล่านี้ต่างสูญเสียมูลค่าไปเกือบครึ่งหนึ่งในตลาดหลักทรัพย์ โดยที่นักลงทุนต่างหวาดผวาว่ากิจการพวกนี้กำลังจะล้มละลาย
ส่วนในวันอังคาร ธนาคารกลางสหรัฐฯก็ประกาศรับซื้อตราสารเพื่อการพาณิชย์ อันเป็นตราสารหนี้ระยะสั้นที่พวกบริษัทต่างๆ ออกมาระดมทุนไว้ใช้ในการดำเนินธุรกิจในช่วงสั้น