บีบีซีนิวส์ - นักวิจัยระบุสมองคนเราจะสร้างภาพหลอนหรือจินตนาการถึงผีสางเทวดาในเวลาที่เครียดจัดๆ หรืออยู่ในสถานการณ์ที่รู้สึกว่าควบคุมไม่ได้ ผลศึกษายังพบว่าความรู้สึกเหล่านี้ส่งผลต่อการตัดสินใจในการลงทุนเช่นเดียวกัน
ในการศึกษา นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยเทกซัส และมหาวิทยาลัยนอร์ธเวสเทิร์น สหรัฐฯ ขอให้อาสาสมัครดูภาพที่บรรยากาศปกคลุมด้วยหิมะ ปรากฏว่าคนที่รู้สึกว่าไม่สามารถควบคุมสถานการณ์ได้มีแนวโน้มบอกว่าเห็นบางสิ่งในภาพ ทั้งที่ไม่มีอยู่จริง
อย่างไรก็ตาม นักวิจัยเชื่อว่าภาพหลอนในรูปแบบอื่นๆ เช่น ทฤษฎีสมรู้ร่วมคิดไปจนถึงความเชื่อทางไสยศาสตร์ เกิดจากปัญหาพื้นฐานของจิตใต้สำนึก ซึ่งอาจนำมาใช้เพื่ออธิบายวิกฤตการณ์การเงินครั้งร้ายแรงที่สุดครั้งหนึ่งของโลกในขณะนี้
ในการทดลองอีกชุด อาสาสมัครจะได้อ่านพาดหัวข่าวสองแบบๆ แรกคือ ‘ทะเลบ้ารออยู่เบื้องหน้านักลงทุน’ และแบบที่สอง ‘คลื่นลมสงบรอคอยนักลงทุนอยู่’
จากนั้น อาสาสมัครจะได้อ่านเรื่องราวเกี่ยวกับบริษัทสองแห่งๆ แรกได้รับความคิดเห็นแง่บวก 16 ความคิดเห็น และความคิดเห็นแง่ลบ 8 ความคิดเห็น แห่งที่สองได้รับความคิดเห็นแง่บวก 8 ความคิดเห็น และความคิดเห็นแง่ลบ 4 ความคิดเห็น
แม้บริษัททั้งสองแห่งมีสัดส่วนความคิดเห็นบวก-ลบเท่ากัน แต่เมื่อถูกขอให้เลือกลงทุน อาสาสมัครที่ได้อ่านพาดหัวข่าว ‘ทะเลบ้ารออยู่เบื้องหน้านักลงทุน’ มีแนวโน้มต่ำที่จะลงทุนในบริษัทที่สอง
เมื่อถูกขอให้นึกถึงความคิดเห็นบวก-ลบในสถานการณ์ความผันผวนของตลาด นักลงทุนมีแนวโน้มสูงที่จะประเมินจำนวนความคิดเห็นแง่ลบเกี่ยวกับบริษัทที่สองมากเกินจริง
นักวิจัยอธิบายว่า สาเหตุเป็นเพราะอาสาสมัครที่รู้สึกว่าความสามารถในการควบคุมสถานการณ์ของตนถูกบั่นทอน จะสร้าง ‘ความสัมพันธ์ที่ไม่มีอยู่จริง’ ที่เชื่อมโยงความรู้สึกแง่ลบกับบริษัทที่ได้รับความคิดเห็นน้อยที่สุด และนำมาเป็นเหตุผลในการตัดสินใจลงทุน
ศาสตราจารย์อดัม กัลลิงสกี หนึ่งในผู้จัดทำรายงาน กล่าวว่าดีลเลอร์มืออาชีพในตลาดเกือบจะไม่มีภูมิคุ้มกันจากผลกระทบนี้ ซึ่งอาจส่งผลต่อการตัดสินใจลงทุน และทฤษฎีสมรู้ร่วมคิดที่เกิดขึ้นระหว่างที่มีการเจรจาแผนอุ้มสถาบันการเงินมูลค่า 700,000 ล้านดอลลาร์ในวอชิงตัน ก็อาจเกิดจากชุดความคิดนี้
“ผมจินตนาการว่า ณ ช่วงเวลานั้นน่าจะมีดีลเลอร์มากมายสวม ‘เสื้อนำโชค’ หรือถือเคล็ดเรื่องการเลือกก้าวเท้าข้างใดข้างหนึ่งออกจากบ้าน เพราะหวังว่าพฤติกรรมเหล่านี้จะนำมาซึ่งโชคลาภ”
นักวิจัยรายงานต่อไปว่า เมื่อมีการนำเทคนิคการบำบัดทางจิตมาใช้เพื่อสร้างความรู้สึกปลอดภัยมั่นคง ผลกระทบดังกล่าวกลับหายไป
ศาสตราจารย์แกรี คูเปอร์ นักวิจัยที่เชี่ยวชาญเกี่ยวกับความเครียดในที่ทำงานจากมหาวิทยาลัยแลงคาสเตอร์ อังกฤษ ขานรับว่ามีแนวโน้มว่าการตัดสินใจโดยอิงกับเหตุผลไม่สามารถเกิดขึ้นได้ในสถานการณ์ตึงเครียด
“ดีลเลอร์เหล่านี้ควรมีเหตุผลในการตัดสินใจ แต่ส่วนใหญ่กลับไม่เป็นอย่างนั้น เพราะเมื่อรู้สึกว่าไม่สามารถควบคุมสถานการณ์ได้ พวกเขาจะมองและตีความข้อมูลที่เข้ามาผิดพลาด”
ในการศึกษา นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยเทกซัส และมหาวิทยาลัยนอร์ธเวสเทิร์น สหรัฐฯ ขอให้อาสาสมัครดูภาพที่บรรยากาศปกคลุมด้วยหิมะ ปรากฏว่าคนที่รู้สึกว่าไม่สามารถควบคุมสถานการณ์ได้มีแนวโน้มบอกว่าเห็นบางสิ่งในภาพ ทั้งที่ไม่มีอยู่จริง
อย่างไรก็ตาม นักวิจัยเชื่อว่าภาพหลอนในรูปแบบอื่นๆ เช่น ทฤษฎีสมรู้ร่วมคิดไปจนถึงความเชื่อทางไสยศาสตร์ เกิดจากปัญหาพื้นฐานของจิตใต้สำนึก ซึ่งอาจนำมาใช้เพื่ออธิบายวิกฤตการณ์การเงินครั้งร้ายแรงที่สุดครั้งหนึ่งของโลกในขณะนี้
ในการทดลองอีกชุด อาสาสมัครจะได้อ่านพาดหัวข่าวสองแบบๆ แรกคือ ‘ทะเลบ้ารออยู่เบื้องหน้านักลงทุน’ และแบบที่สอง ‘คลื่นลมสงบรอคอยนักลงทุนอยู่’
จากนั้น อาสาสมัครจะได้อ่านเรื่องราวเกี่ยวกับบริษัทสองแห่งๆ แรกได้รับความคิดเห็นแง่บวก 16 ความคิดเห็น และความคิดเห็นแง่ลบ 8 ความคิดเห็น แห่งที่สองได้รับความคิดเห็นแง่บวก 8 ความคิดเห็น และความคิดเห็นแง่ลบ 4 ความคิดเห็น
แม้บริษัททั้งสองแห่งมีสัดส่วนความคิดเห็นบวก-ลบเท่ากัน แต่เมื่อถูกขอให้เลือกลงทุน อาสาสมัครที่ได้อ่านพาดหัวข่าว ‘ทะเลบ้ารออยู่เบื้องหน้านักลงทุน’ มีแนวโน้มต่ำที่จะลงทุนในบริษัทที่สอง
เมื่อถูกขอให้นึกถึงความคิดเห็นบวก-ลบในสถานการณ์ความผันผวนของตลาด นักลงทุนมีแนวโน้มสูงที่จะประเมินจำนวนความคิดเห็นแง่ลบเกี่ยวกับบริษัทที่สองมากเกินจริง
นักวิจัยอธิบายว่า สาเหตุเป็นเพราะอาสาสมัครที่รู้สึกว่าความสามารถในการควบคุมสถานการณ์ของตนถูกบั่นทอน จะสร้าง ‘ความสัมพันธ์ที่ไม่มีอยู่จริง’ ที่เชื่อมโยงความรู้สึกแง่ลบกับบริษัทที่ได้รับความคิดเห็นน้อยที่สุด และนำมาเป็นเหตุผลในการตัดสินใจลงทุน
ศาสตราจารย์อดัม กัลลิงสกี หนึ่งในผู้จัดทำรายงาน กล่าวว่าดีลเลอร์มืออาชีพในตลาดเกือบจะไม่มีภูมิคุ้มกันจากผลกระทบนี้ ซึ่งอาจส่งผลต่อการตัดสินใจลงทุน และทฤษฎีสมรู้ร่วมคิดที่เกิดขึ้นระหว่างที่มีการเจรจาแผนอุ้มสถาบันการเงินมูลค่า 700,000 ล้านดอลลาร์ในวอชิงตัน ก็อาจเกิดจากชุดความคิดนี้
“ผมจินตนาการว่า ณ ช่วงเวลานั้นน่าจะมีดีลเลอร์มากมายสวม ‘เสื้อนำโชค’ หรือถือเคล็ดเรื่องการเลือกก้าวเท้าข้างใดข้างหนึ่งออกจากบ้าน เพราะหวังว่าพฤติกรรมเหล่านี้จะนำมาซึ่งโชคลาภ”
นักวิจัยรายงานต่อไปว่า เมื่อมีการนำเทคนิคการบำบัดทางจิตมาใช้เพื่อสร้างความรู้สึกปลอดภัยมั่นคง ผลกระทบดังกล่าวกลับหายไป
ศาสตราจารย์แกรี คูเปอร์ นักวิจัยที่เชี่ยวชาญเกี่ยวกับความเครียดในที่ทำงานจากมหาวิทยาลัยแลงคาสเตอร์ อังกฤษ ขานรับว่ามีแนวโน้มว่าการตัดสินใจโดยอิงกับเหตุผลไม่สามารถเกิดขึ้นได้ในสถานการณ์ตึงเครียด
“ดีลเลอร์เหล่านี้ควรมีเหตุผลในการตัดสินใจ แต่ส่วนใหญ่กลับไม่เป็นอย่างนั้น เพราะเมื่อรู้สึกว่าไม่สามารถควบคุมสถานการณ์ได้ พวกเขาจะมองและตีความข้อมูลที่เข้ามาผิดพลาด”