วานนี้ (7 ต.ค.) ที่ศาลอาญา เวลา 17.00 น. ที่ห้องพิจารณาคดี 701 ศาลออกนั่งบัลลังก์อ่านคำสั่งยกคำร้องขอให้ศาลปล่อยตัวผู้ถูกคุมขังโดยมิชอบด้วยกฎหมาย ที่ พล.ต.จำลอง ศรีเมือง แกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ผู้ต้องหาในข้อหากบฏ กับข้อหาอื่นรวม 4 ข้อหา ยื่นคำร้องขอให้ปล่อยตัว เนื่องจากถูกคุมขังโดยมิชอบด้วยกฎหมายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 90
โดยศาลพิเคราะห์แล้วคดีมีประเด็นต้องวินิจฉัย พล.ต.จำลอง ผู้ร้องถูกคุมขังโดยมิชอบด้วยกฎหมาย หรือไม่ ซึ่งผู้ร้องนำสืบว่า ถูกจับกุมโดยมิชอบเนื่องจากคดีนี้ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งให้รับอุทธรณ์ที่ขอเพิกถอนหมายจับผู้ร้องกับพวกไว้แล้ว และผู้ร้องได้ยื่นคำร้องขอให้ระงับการดำเนินการตามหมายจับไว้ก่อน คดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ หมายจับย่อมถูกระงับใช้ไว้ชั่วคราว การที่ตำรวจนำหมายดังกล่าวไปจับผู้ร้องจึงเป็นการจับโดยมิชอบด้วยกฎหมาย
เห็นว่า แม้ผู้ร้องกับพวกยื่นอุทธรณ์ขอให้เพิกถอนหมายจับ และศาลอุทธรณ์มีคำสั่งรับไว้พิจารณาแล้วก็ตาม แต่เมื่อศาลอุทธรณ์ยังมิได้มีคำสั่งเพิกถอนหมายจับ และกรณีที่ผู้ร้องยื่นคำขอให้ระงับการดำเนินการตามหมายจับไว้ก่อนแต่ศาลอุทธรณ์ก็ยังมิได้มีคำสั่งเปลี่ยนแปลงหรือมีคำสั่งเป็นอย่างอื่น จึงต้องถือว่าหมายจับของศาลอาญามีผลใช้บังคับได้ตามกฎหมาย เจ้าพนักงานตำรวจย่อมมีอำนาจจับกุมผู้ร้องตามหมายจับ
สำหรับที่ผู้ร้องนำสืบต่อไปว่า การนำตัวผู้ร้องไปคุมขังไว้ที่ กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดนภาค 1 (บก.ตชด.ภาค 1) เป็นการคุมขังโดยมิชอบด้วยกฎหมาย ทั้งการสอบสวนก็กระทำโดยไม่มีพนักงานสอบสวน สน.สามเสน ท้องที่จับกุมจึงเป็นการสอบสวนโดยไม่ชอบตาม ป.วิอาญา ม.19 วรรคสอง เห็นว่า ป.วิอาญามาตรา 83 วรรคหนึ่ง บัญญัติเกี่ยวกับวิธีการจับว่า ให้เจ้าพนักงานผู้จับสั่งให้ผู้จับไปยังที่ทำการของพนักงานสอบสวนแห่งท้องที่ที่ถูกจับ เว้นแต่สามารถนำไปที่ทำการของพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบได้ในขณะนั้น ประกอบกับได้ความจากพนักงานสอบสวนในชั้นฝากขังว่า คดีนี้กองบัญชาการตำรวจนครบาล (บช.น.) มีคำสั่งแต่งตั้งพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบไว้แล้ว เมื่อเจ้าพนักงานจับกุมผู้ร้องซึ่งเป็นผู้ต้องหาที่ 1 ตามหมายจับ เจ้าพนักงานผู้จับย่อมนำตัวผู้ถูกจับไปยังที่ทำการของพนักสอบสวนผู้รับผิดชอบได้ โดยไม่จำเป็นต้องนำตัวผู้ร้องไปยัง สน.สามเสน อันเป็นท้องที่ที่จับกุมผู้ต้องหา ข้อนำสืบของผู้ร้องจึงไม่มีน้ำหนักให้รับฟัง เมื่อไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายกำหนดสถานที่คุมขังผู้ถูกจับไว้โดยเฉพาะ กรณีจึงไม่จำเป็นต้องมีพนักงานสออบสวน สน.สามเสน ทำการสอบสวนแต่อย่างใด
ส่วนที่ผู้ร้องนำสืบการตั้งข้อหากบฏหรือข้อหาอื่นตามหมายจับไม่ชอบ เห็นว่า กรณีดังกล่าวอยู่ในการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ซึ่งศาลอุทธรณ์ยังไม่ได้มีคำสั่งเปลี่ยนแปลงหรือมีคำสั่งเป็นอย่างอื่นดังที่กล่าวมาในข้างต้น ในชั้นนี้จึงไม่จำต้องวินิจฉัยส่วนที่ผู้ร้องนำสืบในประเด็นอื่นเช่น การที่ผู้ร้องเข้าร่วมชุมนุมกับพันธมิตรฯ เป็นการใช้สิทธิตามรัฐธรรมนูญมาตรา 63,69, 70 ชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธ มีความมุ่งหมายรักษาระบอบประชาธิปไตยและคัดค้านการแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 237 และ 309 เพื่อเอื้อประโยชน์ให้แก่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี และเอื้อประโยชน์ให้คดียุบพรรคไทยรักไทย ชาติไทยและมัฌชิมาธิปไตย ถือเป็นข้ออ้างในการพิสูจน์ความบริสุทธิ์ของผู้ร้องในชั้นสืบพยานของศาล
แต่ชั้นนี้ยังอยู่ในขั้นตอนของพนักงานสอบสวน และต้องรอผลสรุปเสนอความเห็นให้อัยการพิจารณาสั่งฟ้องหรือสั่งไม่ฟ้องผู้ร้องกับพวกในความผิดฐานใดหรือไม่ หากเห็นว่าเรื่องใดจะเป็นประโยชน์แก่รูปคดีของตนผู้ร้องย่อมมีสิทธินำเสนอข้อเท็จจริงดังกล่าวเสนอต่อพนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการเพื่อพิสูจน์ความบริสุทธิ์ของตนเองได้ แต่ขั้นตอนดังกล่าวยังมิได้อยู่ในการพิจารณาของศาล ชั้นนี้จึงไม่จำต้องวินิจฉัย คำร้องของผู้ร้องไม่มีมูลที่ศาลจะดำเนินการตาม ป.วิอาญามาตรา 90 ให้ยกคำร้อง
ภายหลังฟังคำสั่ง นายสุวัตร กล่าวว่า ตนจะยื่นอุทธรณ์อุทธรณ์คำสั่งขอปล่อยตัว ทั้งในส่วนของ พล.ต.จำลอง และนายไชยวัฒน์ สินสุวงศ์ แนวร่วมพันธมิตรฯ ต่อศาลอุทธรณ์ต่อไป พร้อมกันนี้จะต้องรอฟังคำสั่งศาลอุทธรณ์เรื่องการถอนหมายจับอีกครั้ง
โดยศาลพิเคราะห์แล้วคดีมีประเด็นต้องวินิจฉัย พล.ต.จำลอง ผู้ร้องถูกคุมขังโดยมิชอบด้วยกฎหมาย หรือไม่ ซึ่งผู้ร้องนำสืบว่า ถูกจับกุมโดยมิชอบเนื่องจากคดีนี้ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งให้รับอุทธรณ์ที่ขอเพิกถอนหมายจับผู้ร้องกับพวกไว้แล้ว และผู้ร้องได้ยื่นคำร้องขอให้ระงับการดำเนินการตามหมายจับไว้ก่อน คดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ หมายจับย่อมถูกระงับใช้ไว้ชั่วคราว การที่ตำรวจนำหมายดังกล่าวไปจับผู้ร้องจึงเป็นการจับโดยมิชอบด้วยกฎหมาย
เห็นว่า แม้ผู้ร้องกับพวกยื่นอุทธรณ์ขอให้เพิกถอนหมายจับ และศาลอุทธรณ์มีคำสั่งรับไว้พิจารณาแล้วก็ตาม แต่เมื่อศาลอุทธรณ์ยังมิได้มีคำสั่งเพิกถอนหมายจับ และกรณีที่ผู้ร้องยื่นคำขอให้ระงับการดำเนินการตามหมายจับไว้ก่อนแต่ศาลอุทธรณ์ก็ยังมิได้มีคำสั่งเปลี่ยนแปลงหรือมีคำสั่งเป็นอย่างอื่น จึงต้องถือว่าหมายจับของศาลอาญามีผลใช้บังคับได้ตามกฎหมาย เจ้าพนักงานตำรวจย่อมมีอำนาจจับกุมผู้ร้องตามหมายจับ
สำหรับที่ผู้ร้องนำสืบต่อไปว่า การนำตัวผู้ร้องไปคุมขังไว้ที่ กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดนภาค 1 (บก.ตชด.ภาค 1) เป็นการคุมขังโดยมิชอบด้วยกฎหมาย ทั้งการสอบสวนก็กระทำโดยไม่มีพนักงานสอบสวน สน.สามเสน ท้องที่จับกุมจึงเป็นการสอบสวนโดยไม่ชอบตาม ป.วิอาญา ม.19 วรรคสอง เห็นว่า ป.วิอาญามาตรา 83 วรรคหนึ่ง บัญญัติเกี่ยวกับวิธีการจับว่า ให้เจ้าพนักงานผู้จับสั่งให้ผู้จับไปยังที่ทำการของพนักงานสอบสวนแห่งท้องที่ที่ถูกจับ เว้นแต่สามารถนำไปที่ทำการของพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบได้ในขณะนั้น ประกอบกับได้ความจากพนักงานสอบสวนในชั้นฝากขังว่า คดีนี้กองบัญชาการตำรวจนครบาล (บช.น.) มีคำสั่งแต่งตั้งพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบไว้แล้ว เมื่อเจ้าพนักงานจับกุมผู้ร้องซึ่งเป็นผู้ต้องหาที่ 1 ตามหมายจับ เจ้าพนักงานผู้จับย่อมนำตัวผู้ถูกจับไปยังที่ทำการของพนักสอบสวนผู้รับผิดชอบได้ โดยไม่จำเป็นต้องนำตัวผู้ร้องไปยัง สน.สามเสน อันเป็นท้องที่ที่จับกุมผู้ต้องหา ข้อนำสืบของผู้ร้องจึงไม่มีน้ำหนักให้รับฟัง เมื่อไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายกำหนดสถานที่คุมขังผู้ถูกจับไว้โดยเฉพาะ กรณีจึงไม่จำเป็นต้องมีพนักงานสออบสวน สน.สามเสน ทำการสอบสวนแต่อย่างใด
ส่วนที่ผู้ร้องนำสืบการตั้งข้อหากบฏหรือข้อหาอื่นตามหมายจับไม่ชอบ เห็นว่า กรณีดังกล่าวอยู่ในการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ซึ่งศาลอุทธรณ์ยังไม่ได้มีคำสั่งเปลี่ยนแปลงหรือมีคำสั่งเป็นอย่างอื่นดังที่กล่าวมาในข้างต้น ในชั้นนี้จึงไม่จำต้องวินิจฉัยส่วนที่ผู้ร้องนำสืบในประเด็นอื่นเช่น การที่ผู้ร้องเข้าร่วมชุมนุมกับพันธมิตรฯ เป็นการใช้สิทธิตามรัฐธรรมนูญมาตรา 63,69, 70 ชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธ มีความมุ่งหมายรักษาระบอบประชาธิปไตยและคัดค้านการแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 237 และ 309 เพื่อเอื้อประโยชน์ให้แก่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี และเอื้อประโยชน์ให้คดียุบพรรคไทยรักไทย ชาติไทยและมัฌชิมาธิปไตย ถือเป็นข้ออ้างในการพิสูจน์ความบริสุทธิ์ของผู้ร้องในชั้นสืบพยานของศาล
แต่ชั้นนี้ยังอยู่ในขั้นตอนของพนักงานสอบสวน และต้องรอผลสรุปเสนอความเห็นให้อัยการพิจารณาสั่งฟ้องหรือสั่งไม่ฟ้องผู้ร้องกับพวกในความผิดฐานใดหรือไม่ หากเห็นว่าเรื่องใดจะเป็นประโยชน์แก่รูปคดีของตนผู้ร้องย่อมมีสิทธินำเสนอข้อเท็จจริงดังกล่าวเสนอต่อพนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการเพื่อพิสูจน์ความบริสุทธิ์ของตนเองได้ แต่ขั้นตอนดังกล่าวยังมิได้อยู่ในการพิจารณาของศาล ชั้นนี้จึงไม่จำต้องวินิจฉัย คำร้องของผู้ร้องไม่มีมูลที่ศาลจะดำเนินการตาม ป.วิอาญามาตรา 90 ให้ยกคำร้อง
ภายหลังฟังคำสั่ง นายสุวัตร กล่าวว่า ตนจะยื่นอุทธรณ์อุทธรณ์คำสั่งขอปล่อยตัว ทั้งในส่วนของ พล.ต.จำลอง และนายไชยวัฒน์ สินสุวงศ์ แนวร่วมพันธมิตรฯ ต่อศาลอุทธรณ์ต่อไป พร้อมกันนี้จะต้องรอฟังคำสั่งศาลอุทธรณ์เรื่องการถอนหมายจับอีกครั้ง