ผู้จัดการรายวัน – ททท.-เอกชนท่องเที่ยว เสียงแตก มองผลกระทบวิกฤตแฮมเบอร์เกอร์ต่างกัน “เจริญ” ฉะ ททท. อย่ามองแต่แง่บวก ควรยอมรับความจริงพร้อมหาทางป้องกัน ก่อนสาย เสนอหารือนอกรอบถกข้อเท็จจริง เตรียมรับมือ ระบุสัญญาณผลกระทบ ส่อแวว ยอดจองล่วงหน้าทั้งตั๋วเครื่องบินและห้องพักไม่กระเตื้อง
วานนี้(6 ต.ค.51) ศูนย์ปฎิบัติการวางแผนการท่องเที่ยวและศูนย์ปฎิบัติการในภาวะวิกฤต(ศวก.) ได้จัดประชุมระหว่างการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย(ททท.)กับภาคเอกชนด้านท่องเที่ยวเพื่อรวบรวมข้อมูลและประเมินผลกระทบจากวิกฤตทางการเงินที่เกิดขึ้นในประเทศสหรัฐอเมริกา โดยนางพรศิริ มโนหาญ ผู้ว่าการททท. กล่าวว่า ในระยะใกล้ ยังไม่กระทบต่องการท่องเที่ยวของประเทศไทย เพราะขณะนี้นักท่องเที่ยวที่จองไว้ยังยืนยันจะเดินทางมาเช่นเดิม
***ปลื้มชาร์เตอร์ไฟล์ทพุ่ง***
โดยหลายตลาดเที่ยวบินเช่าเหมาลำ(ชาร์เตอร์ไฟล์ท)เพิ่มขึ้น เช่น รัสเซีย มีเที่ยวบินเช่าเหมาลำ(ชาร์เตอร์ไฟล์ท) ที่จะเดินทางเข้าประเทศไทยช่วงไฮซีซั่นปีนี้ ยาวไปถึงเดือนเมษายนปีหน้า รวมแล้วมากกว่าปีก่อนเกือบ 100% โดยมีจำนวนที่นั่งรวมแล้วประมาณ 1.9 แสนที่นั่งใน 812 เที่ยวบิน จากปีก่อนประมาณ 1.3 แสนที่นั่ง หรือ 446 เที่ยวบิน ส่วนตลาดสแกนดิเนเวีย ชาร์เตอร์ไฟล์ทลดลงกว่าปีก่อนเล็กน้อยประมาณ 5-6% ปีก่อน 652 ไฟล์ท ปีนี้ 640 ไฟล์ท สวิสเซอร์แลนด์ 62 ไฟล์ท ปีก่อน 24 ไฟล์ท และ กลุ่มบอลติก ปีนี้ 25 ไฟล์ท ปีก่อน 15 ไฟล์ท จึงมั่นใจปีนี้ ททท.จะทำได้ตามเป้าหมายคือนักท่องเที่ยวต่างชาติ 15.48 ล้านคน รายได้ 6 แสนล้านบาท
ขณะที่ผลกระทบระยะยาว หรือปีหน้า เมื่อประเมินจากสถานการณ์ของวิกฤตสหรัฐในขณะนี้ก็ยังไม่น่ากังวลมาก เพราะ แผนงานที่ ททท.ได้ปฎิบัติมาตั้งแต่ปีก่อน เช่น การขยายฐานนักท่องเที่ยว ไปยังกลุ่มไฮเอนด์ และ การเปิดตลาดใหม่ จะช่วยให้ผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับประเทศไทยเบาลง เนื่องจากได้กระจายความเสี่ยงไปแล้ว
ดังนั้น ททท.จะติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการปรับกลยุทธทางการตลาด แต่เบื้องต้น ททท.ได้เตรียมรุกตลาดที่ได้รับผลกระทบน้อยจากวิกฤตแฮมเบอร์เกอร์ของสหรัฐในครั้งนี้ เช่น ตลาดอาเซียน จีน อินเดีย สแกนดิเนเวีย และ ตะวันออกกลาง โดยจะเริ่มกระตุ้นตลาดให้นักท่องเที่ยวได้เดินทางมาประเทศไทยตั้งแต่ปลายปีนี้เป็นต้นไป
“ที่ททท.ยังมั่นใจว่าผลกระทบจะมีเพียงเล็กน้อย เพราะ ตัวเลขนักท่องเที่ยว 7 เดือนแรกปีนี้ นักท่องเที่ยวรวมจากทุกด่าน ยังบวก 12.65 หรือมีจำนวนที่ 9,147,695 คน โดยตลาดที่มีปัญหาอย่างภูมิภาคอเมิรกา 7 เดือนแรก มีจำนวนรวม 580,629คน เพิ่มจากปีก่อน 10.16% ตลาดยุโรป 2,496,177 เพิ่มขึ้น 8.93% “
นอกจากนั้น ยังเตรียมจับมือกับพันธมิตรในต่างประเทศ ทั้งบริษัทนำเที่ยว และบริษัทชั้นนำในประเทศนั้น จัดโครงการส่งเสริมการท่องเที่ยวมายังประเทศไทยแบบตรงถึงกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย เช่น ประเทศสิงคโปร์จับมือกับแมคโดนัล แจกแพกเกจเที่ยวประเทศไทย ,สหรัฐอาหรับเอมิเรตต์ จับมือกับ บริษัทนำมัน Emarat และ เซ็นทรัล รีเทล ประเทศไทย จัดทำคูปอง และ สติกเกอร์แจกให้แก่ลูกค้าที่เติมน้ำมัน ที่ปั๊มของ Emarat ลุ้นรับแพกเกจทัวร์เที่ยวและชอปปิ้งประเทศไทย นอกจากนั้น ยังมีโฆษณาประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อวิทยุ โทรทัศน์ และเว็บไซน์ ในประเทศเป้าหมายต่างๆ ครอบคลุมทุกพื้นที่ ส่วนตลาดจีน บริษัทนำเที่ยวจับมือกับสตูดิโอถ่ายภาพ จัดแพกเกจฮันนีมูล พร้อมถ่ายภาพในประเทศไทย เป็นต้น
***เอกชนจี้ททท.ยอมรับความจริง***
ทางด้านนายเจริญ วังอนานนท์ โฆษกสหพันธ์สมาคมท่องเที่ยวไทย(เฟาต้า) กล่าวว่า ภาคเอกชนมองต่างจาก ททท. ทั้งนี้เพราะมั่นใจว่า ผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจสหรัฐ จะกระทบกับภาคท่องเที่ยวของประเทศไทยแน่นอน โดยขณะนี้เริ่มมีสัญญาณบ่งบอกที่ค่อนข้างแน่ชัด เช่น ยอดจองล่วงหน้าชะลอตัวลงอย่างเห็นได้ชัด จากทุกปีช่วงนี้ จะมียอดจองราว 60-70% ของจำนวนห้องพัก ล่าสุด จากการสอบถาม สมาคมท่องเที่ยว จ.กระบี่ พบว่า สถานการณ์ค่อนข้างย่ำแย่ ยอดจองมีเพียงเล็กน้อย
นอกจากนั้น สิ่งที่ทำให้มั่นใจว่า วิกฤตครั้งนี้จะกระทบประเทศไทยแน่นอนตั้งแต่ปลายปีนี้เป็นต้นไป เช่น ตัวเลขยอดจองตั๋วเครื่องบินล่วงหน้าของการบินไทย ช่วงปลายปีนี้ที่ติดลบจากปีก่อนถึง 15% ส่วนการเช็คยอดการจองล่วงหน้าในระบบการจอง ก็ลดลงจากปีก่อนถึง 18% การเดินทางของคนไทยไปต่างประเทศก็ลดลงเกือบ 50%
“ที่กล่าวมาทั้งหมด สะท้อนให้เห็นว่า กำลังซื้อของคนลดลง อาจเนื่องมาจากความไม่มั่นใจในอนาคต จึงใช้จ่ายอย่างระมัดระวัง เพราะ ความจริงช่วงปลายปีนี้ ยอดจองการเดินทางทั้งเอาต์บาวนด์และอินบาวนด์จะมีจำนวนมาก เพราะใกล้สิ้นปี ที่จะต้องมีเงินได้จากโบนัส หรือ รายได้อื่นๆ แต่ปีนี้ ปัจจัยลบที่เกิดขึ้นมาตลอดทั้งปีทั้งภายในประเทศและ จากนอกประเทศ ทำให้ทุกคนต้องเตรียมตัวรับมือกับสถานการณ์”
ดังนั้นจึงต้องการให้หน่วยงานรัฐ และ ททท. มองข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น เพื่อเตรียมปรับกลยุทธ์แก้ไข ก่อนที่ผลกระทบจะเกิดขึ้น ขณะนี้ มองว่ารัฐกับเอกชนยังมองกันคนละมุม โดยภาครัฐยังมองแต่ในแง่บวกอย่างเดียว ซึ่งความจริงการประชุมครั้งนี้ ควรมาวิเคาระห์ว่า มีปัญหาอะไรบ้าง และ ควรจะแก้ไขอย่างไร เพื่อตัดไฟแต่ต้นลม เช่น การทำตลาดเชิงรุก หารือกับคู่ค้าในต่างประเทศโดยตรง ทั้งในยุโรป อเมริกา และ ตลาดอื่นๆ ปรับลดงบประมาณด้านการประชาสัมพันธ์ ไปให้แก่ตลาดที่ยังมีอนาคตดี ส่วนตลาดที่ซบเซา ก็ทำโฆษณาส่งเสริมบ้างแต่ไม่ต้องมากเกินไป เพราะอย่างไรกำลังซื้อก็ยังไม่กลับมา
นายเจริญ กล่าวว่า เฟสต้าจะนำปัญหาที่เกิดขึ้นหารือกับสมาชิกในวันศุกร์นี้ ก่อนยืนหนังสิอขอหารือนอกรอบกับ ททท. และ กระทรวงการท่องเที่ยวฯ เพื่อระดมความคิด รับฟังข้อเท็จจริง แก้ไขปัญหาบนพื้นฐานความเป็นจริง หาก ททท.คิดเพียงว่า ขยายฐานนักท่องเที่ยวสู่กลุ่มไฮเอนด์แล้ว ก็ต้องคิดว่า ปัจจุบันฐานนักท่องเที่ยวส่วนใหญ่ยังเป็นตลาดระดับกลาง ส่วนระดับไฮเอนด์มีไม่ถึง 10% ขณะที่ ประเทศที่ได้รับผลวิกฤตแฮมเบอร์เกอร์ครั้งนี้คือ สหรัฐและยุโรป ซึ่งมีสัดส่วนกับรายได้ของอุตสาหกรรมท่องเที่ยวของประเทศไทยเกือบ 50% ดังนั้นมั่นใจ สิ้นปีนักท่อเที่ยวติดลบหรืออย่างดีก็เท่ากับปีก่อนคือ 14.8 ล้านคนก็ถือว่า ททท.ทำได้เก่งมากแล้ว
วานนี้(6 ต.ค.51) ศูนย์ปฎิบัติการวางแผนการท่องเที่ยวและศูนย์ปฎิบัติการในภาวะวิกฤต(ศวก.) ได้จัดประชุมระหว่างการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย(ททท.)กับภาคเอกชนด้านท่องเที่ยวเพื่อรวบรวมข้อมูลและประเมินผลกระทบจากวิกฤตทางการเงินที่เกิดขึ้นในประเทศสหรัฐอเมริกา โดยนางพรศิริ มโนหาญ ผู้ว่าการททท. กล่าวว่า ในระยะใกล้ ยังไม่กระทบต่องการท่องเที่ยวของประเทศไทย เพราะขณะนี้นักท่องเที่ยวที่จองไว้ยังยืนยันจะเดินทางมาเช่นเดิม
***ปลื้มชาร์เตอร์ไฟล์ทพุ่ง***
โดยหลายตลาดเที่ยวบินเช่าเหมาลำ(ชาร์เตอร์ไฟล์ท)เพิ่มขึ้น เช่น รัสเซีย มีเที่ยวบินเช่าเหมาลำ(ชาร์เตอร์ไฟล์ท) ที่จะเดินทางเข้าประเทศไทยช่วงไฮซีซั่นปีนี้ ยาวไปถึงเดือนเมษายนปีหน้า รวมแล้วมากกว่าปีก่อนเกือบ 100% โดยมีจำนวนที่นั่งรวมแล้วประมาณ 1.9 แสนที่นั่งใน 812 เที่ยวบิน จากปีก่อนประมาณ 1.3 แสนที่นั่ง หรือ 446 เที่ยวบิน ส่วนตลาดสแกนดิเนเวีย ชาร์เตอร์ไฟล์ทลดลงกว่าปีก่อนเล็กน้อยประมาณ 5-6% ปีก่อน 652 ไฟล์ท ปีนี้ 640 ไฟล์ท สวิสเซอร์แลนด์ 62 ไฟล์ท ปีก่อน 24 ไฟล์ท และ กลุ่มบอลติก ปีนี้ 25 ไฟล์ท ปีก่อน 15 ไฟล์ท จึงมั่นใจปีนี้ ททท.จะทำได้ตามเป้าหมายคือนักท่องเที่ยวต่างชาติ 15.48 ล้านคน รายได้ 6 แสนล้านบาท
ขณะที่ผลกระทบระยะยาว หรือปีหน้า เมื่อประเมินจากสถานการณ์ของวิกฤตสหรัฐในขณะนี้ก็ยังไม่น่ากังวลมาก เพราะ แผนงานที่ ททท.ได้ปฎิบัติมาตั้งแต่ปีก่อน เช่น การขยายฐานนักท่องเที่ยว ไปยังกลุ่มไฮเอนด์ และ การเปิดตลาดใหม่ จะช่วยให้ผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับประเทศไทยเบาลง เนื่องจากได้กระจายความเสี่ยงไปแล้ว
ดังนั้น ททท.จะติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการปรับกลยุทธทางการตลาด แต่เบื้องต้น ททท.ได้เตรียมรุกตลาดที่ได้รับผลกระทบน้อยจากวิกฤตแฮมเบอร์เกอร์ของสหรัฐในครั้งนี้ เช่น ตลาดอาเซียน จีน อินเดีย สแกนดิเนเวีย และ ตะวันออกกลาง โดยจะเริ่มกระตุ้นตลาดให้นักท่องเที่ยวได้เดินทางมาประเทศไทยตั้งแต่ปลายปีนี้เป็นต้นไป
“ที่ททท.ยังมั่นใจว่าผลกระทบจะมีเพียงเล็กน้อย เพราะ ตัวเลขนักท่องเที่ยว 7 เดือนแรกปีนี้ นักท่องเที่ยวรวมจากทุกด่าน ยังบวก 12.65 หรือมีจำนวนที่ 9,147,695 คน โดยตลาดที่มีปัญหาอย่างภูมิภาคอเมิรกา 7 เดือนแรก มีจำนวนรวม 580,629คน เพิ่มจากปีก่อน 10.16% ตลาดยุโรป 2,496,177 เพิ่มขึ้น 8.93% “
นอกจากนั้น ยังเตรียมจับมือกับพันธมิตรในต่างประเทศ ทั้งบริษัทนำเที่ยว และบริษัทชั้นนำในประเทศนั้น จัดโครงการส่งเสริมการท่องเที่ยวมายังประเทศไทยแบบตรงถึงกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย เช่น ประเทศสิงคโปร์จับมือกับแมคโดนัล แจกแพกเกจเที่ยวประเทศไทย ,สหรัฐอาหรับเอมิเรตต์ จับมือกับ บริษัทนำมัน Emarat และ เซ็นทรัล รีเทล ประเทศไทย จัดทำคูปอง และ สติกเกอร์แจกให้แก่ลูกค้าที่เติมน้ำมัน ที่ปั๊มของ Emarat ลุ้นรับแพกเกจทัวร์เที่ยวและชอปปิ้งประเทศไทย นอกจากนั้น ยังมีโฆษณาประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อวิทยุ โทรทัศน์ และเว็บไซน์ ในประเทศเป้าหมายต่างๆ ครอบคลุมทุกพื้นที่ ส่วนตลาดจีน บริษัทนำเที่ยวจับมือกับสตูดิโอถ่ายภาพ จัดแพกเกจฮันนีมูล พร้อมถ่ายภาพในประเทศไทย เป็นต้น
***เอกชนจี้ททท.ยอมรับความจริง***
ทางด้านนายเจริญ วังอนานนท์ โฆษกสหพันธ์สมาคมท่องเที่ยวไทย(เฟาต้า) กล่าวว่า ภาคเอกชนมองต่างจาก ททท. ทั้งนี้เพราะมั่นใจว่า ผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจสหรัฐ จะกระทบกับภาคท่องเที่ยวของประเทศไทยแน่นอน โดยขณะนี้เริ่มมีสัญญาณบ่งบอกที่ค่อนข้างแน่ชัด เช่น ยอดจองล่วงหน้าชะลอตัวลงอย่างเห็นได้ชัด จากทุกปีช่วงนี้ จะมียอดจองราว 60-70% ของจำนวนห้องพัก ล่าสุด จากการสอบถาม สมาคมท่องเที่ยว จ.กระบี่ พบว่า สถานการณ์ค่อนข้างย่ำแย่ ยอดจองมีเพียงเล็กน้อย
นอกจากนั้น สิ่งที่ทำให้มั่นใจว่า วิกฤตครั้งนี้จะกระทบประเทศไทยแน่นอนตั้งแต่ปลายปีนี้เป็นต้นไป เช่น ตัวเลขยอดจองตั๋วเครื่องบินล่วงหน้าของการบินไทย ช่วงปลายปีนี้ที่ติดลบจากปีก่อนถึง 15% ส่วนการเช็คยอดการจองล่วงหน้าในระบบการจอง ก็ลดลงจากปีก่อนถึง 18% การเดินทางของคนไทยไปต่างประเทศก็ลดลงเกือบ 50%
“ที่กล่าวมาทั้งหมด สะท้อนให้เห็นว่า กำลังซื้อของคนลดลง อาจเนื่องมาจากความไม่มั่นใจในอนาคต จึงใช้จ่ายอย่างระมัดระวัง เพราะ ความจริงช่วงปลายปีนี้ ยอดจองการเดินทางทั้งเอาต์บาวนด์และอินบาวนด์จะมีจำนวนมาก เพราะใกล้สิ้นปี ที่จะต้องมีเงินได้จากโบนัส หรือ รายได้อื่นๆ แต่ปีนี้ ปัจจัยลบที่เกิดขึ้นมาตลอดทั้งปีทั้งภายในประเทศและ จากนอกประเทศ ทำให้ทุกคนต้องเตรียมตัวรับมือกับสถานการณ์”
ดังนั้นจึงต้องการให้หน่วยงานรัฐ และ ททท. มองข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น เพื่อเตรียมปรับกลยุทธ์แก้ไข ก่อนที่ผลกระทบจะเกิดขึ้น ขณะนี้ มองว่ารัฐกับเอกชนยังมองกันคนละมุม โดยภาครัฐยังมองแต่ในแง่บวกอย่างเดียว ซึ่งความจริงการประชุมครั้งนี้ ควรมาวิเคาระห์ว่า มีปัญหาอะไรบ้าง และ ควรจะแก้ไขอย่างไร เพื่อตัดไฟแต่ต้นลม เช่น การทำตลาดเชิงรุก หารือกับคู่ค้าในต่างประเทศโดยตรง ทั้งในยุโรป อเมริกา และ ตลาดอื่นๆ ปรับลดงบประมาณด้านการประชาสัมพันธ์ ไปให้แก่ตลาดที่ยังมีอนาคตดี ส่วนตลาดที่ซบเซา ก็ทำโฆษณาส่งเสริมบ้างแต่ไม่ต้องมากเกินไป เพราะอย่างไรกำลังซื้อก็ยังไม่กลับมา
นายเจริญ กล่าวว่า เฟสต้าจะนำปัญหาที่เกิดขึ้นหารือกับสมาชิกในวันศุกร์นี้ ก่อนยืนหนังสิอขอหารือนอกรอบกับ ททท. และ กระทรวงการท่องเที่ยวฯ เพื่อระดมความคิด รับฟังข้อเท็จจริง แก้ไขปัญหาบนพื้นฐานความเป็นจริง หาก ททท.คิดเพียงว่า ขยายฐานนักท่องเที่ยวสู่กลุ่มไฮเอนด์แล้ว ก็ต้องคิดว่า ปัจจุบันฐานนักท่องเที่ยวส่วนใหญ่ยังเป็นตลาดระดับกลาง ส่วนระดับไฮเอนด์มีไม่ถึง 10% ขณะที่ ประเทศที่ได้รับผลวิกฤตแฮมเบอร์เกอร์ครั้งนี้คือ สหรัฐและยุโรป ซึ่งมีสัดส่วนกับรายได้ของอุตสาหกรรมท่องเที่ยวของประเทศไทยเกือบ 50% ดังนั้นมั่นใจ สิ้นปีนักท่อเที่ยวติดลบหรืออย่างดีก็เท่ากับปีก่อนคือ 14.8 ล้านคนก็ถือว่า ททท.ทำได้เก่งมากแล้ว