สิงคโปร์นับว่าเป็นศูนย์กลางการรักษาพยาบาลในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยมีความได้เปรียบทั้งในด้านเทคโนโลยี อุปกรณ์ทางการแพทย์ คุณภาพบุคลากร และความเชี่ยวชาญด้านการตลาด
จากการศึกษาของบริษัทที่ปรึกษา Clear State ของสิงคโปร์ เมื่อปี 2550 ธุรกิจท่องเที่ยวเพื่อสุขภาพในทวีปเอเชียมีขนาด 1,300 ล้านเหรียญสหรัฐ และคาดว่าจะเพิ่มขึ้นในอัตราเฉลี่ย 19% ต่อปี เพิ่มขึ้นเป็น 4,400 ล้านเหรียญสหรัฐ ในปี 2555
สำหรับธุรกิจท่องเที่ยวเพื่อสุขภาพของไทยนั้นมีจุดได้เปรียบสำคัญ คือ เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีค่าบริการราคาถูก โดยเน้นบริการทางการแพทย์ทั่วไปสำหรับนักท่องเที่ยว เป็นต้นว่า การผ่าตัดเสริมความงาม ทำฟัน ผ่าตัดตาเลสิก และการตรวจสุขภาพ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการเหมาจ่ายที่รวมอยู่ในโปรแกรมการท่องเที่ยว
อย่างไรก็ตาม ธุรกิจการรักษาพยาบาลของไทยในปัจจุบันได้เผชิญกับการแข่งขันจากสิงคโปร์ในตลาดบน รวมทั้งมาเลเซียและอินเดียในตลาดล่าง สำหรับอินเดีย มีปัญหาด้านสุขอนามัย ดังนั้นชาวต่างชาติจึงไม่ค่อยเชื่อถือมาตรฐานการรักษาพยาบาลเท่าใดนัก ขณะที่มาเลเซียประสบปัญหาการขาดแคลนแพทย์และพยาบาล
สิงคโปร์จึงน่าจะเป็นคู่แข่งสำคัญที่สุดในไทย เนื่องจากมีจุดเด่น คือ สามารถให้บริการทั้งในส่วนบริการตรวจสุขภาพในตลาดล่าง และบริการผ่าตัดที่ต้องใช้ความรู้ความเชี่ยวชาญสูงในตลาดบน โดยมีผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์เป็นจำนวนมาก ขณะเดียวกันก็มีมาตรฐานการรักษาพยาบาลสูงมาก ทั้งนี้จากการจัดอันดับขององค์การอนามัยโลกพบว่าสิงคโปร์มีมาตรฐานการรักษาพยาบาลที่มีคุณภาพสูงที่สุดในทวีปเอเชีย และเป็นอันดับต้นๆ ของโลก โดยเฉลี่ยมีคุณภาพเหนือกว่าของญี่ปุ่นและสหรัฐฯ ยิ่งไปกว่านั้น ค่าบริการระหว่างไทยและสิงคโปร์ยังมีช่องว่างลดลง
ในช่วงที่ผ่านมา มีผู้ป่วยต่างประเทศเข้ามารักษาพยาบาลในสิงคโปร์เพิ่มขึ้นตามลำดับ จากสถิติในปี 2545 มีผู้ป่วยต่างประเทศเข้ามารักษาพยาบาลในสิงคโปร์ 211,000 คน เพิ่มขึ้นเป็น 418,000 คน ในปี 2549 ทั้งนี้ รัฐบาลสิงคโปร์ได้ประกาศเมื่อปี 2549 ตั้งเป้าหมายเพิ่มจำนวนชาวต่างชาติที่มารักษาพยาบาลในสิงคโปร์เพิ่มขึ้นเป็น 1 ล้านคน และค่าบริการ 75,000 ล้านบาท ภายในปี 2555
รัฐบาลสิงคโปร์ได้พยายามดำเนินการทุกวิถีทางเพื่อรักษาตำแหน่งการเป็นศูนย์กลางทางการแพทย์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เนื่องจากบริการสุขภาพเป็นธุรกิจที่อยู่บนพื้นฐานของความรู้ มีมูลค่าเพิ่มสูง และมีศักยภาพในการนำรายได้เข้าประเทศ
ประการแรกสร้างแบรนด์ในด้านการรักษาพยาบาลว่ามีความเยี่ยมยอดใน 3 มิติ คือ ความเชื่อถือ (Trust) ความปลอดภัย (Safety) และความเป็นเลิศ (Excellence) โดยเน้นบริการเฉพาะทางซึ่งต้องใช้ความรู้เข้มข้นและมีมูลค่าเพิ่มสูง โดยเฉพาะโรคหัวใจ ตา มะเร็ง และการเปลี่ยนถ่ายอวัยวะ
ตัวอย่างหนึ่ง คือ การผ่าตัดตาแบบ Lasik ได้มีการสำรวจสถิติของศูนย์การแพทย์ 4 แห่ง พบว่าได้ทำการผ่าตัดตามากถึง 10,300 ราย ในปี 2548 โดยมีอัตราความสำเร็จและความปลอดภัยที่ไม่เกิดปัญหาติดเชื้อภายหลังผ่าตัดในระดับสูงตั้งแต่ 98 – 100% โดยเฉพาะ Camden Medical Centre ได้ผ่าตัด 665 ราย มีอัตราความสำเร็จและความปลอดภัยเต็ม 100%
อัตราความสำเร็จและความปลอดภัยในการผ่าตัดตาของโรงพยาบาลสิงคโปร์ข้างต้น นับว่าสูงกว่าโรงพยาบาลระดับนานาชาติของประเทศพัฒนาแล้วบางแห่งด้วยซ้ำ เป็นต้นว่า ได้เคยมีการศึกษาพบว่าโรงพยาบาลในสหรัฐฯ มีอัตราความสำเร็จอยู่ระหว่าง 96 – 100% และอัตราความปลอดภัยระหว่าง 95 – 99.7% นับว่าเป็นอัตราที่ต่ำกว่าของสิงคโปร์
ประการที่สอง สร้างความเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยี โดยนาย Balaji Sadasivan รัฐมนตรีของสิงคโปร์ ได้เคยให้ทัศนะเมื่อกลางปี 2547 ว่าโรงพยาบาลเอกชนของสิงคโปร์จะต้องไม่เน้นการแข่งขันในด้านราคา แต่ต้องเน้นด้านเทคโนโลยี โดยในระยะที่ผ่านมาโรงพยาบาลของสิงคโปร์นับเป็นผู้นำทางเทคโนโลยีในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะการนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยที่สุดมาใช้ในการรักษาพยาบาลเป็นแห่งแรกก่อนโรงพยาบาลของประเทศอื่นๆ ในภูมิภาค
ตัวอย่างหนึ่ง คือ โรงพยาบาล Mount Elizabeth Hospital นับเป็นโรงพยาบาลแห่งแรกในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ได้ติดตั้ง Tomotherapy Hi-Art System ซึ่งเป็นอุปกรณ์ทางการแพทย์สำหรับรักษาโรคมะเร็งในรูปแบบ Image-Guided Intensity Modulated Radiation Therapy (IG/IMRT)
ประการที่สาม กระตุ้นโรงพยาบาลของรัฐให้หันมาสนใจตลาดผู้ป่วยต่างประเทศมากขึ้น โดยเดิมโรงพยาบาลของรัฐบาลสิงคโปร์จะไม่สนใจแสวงหาผู้ป่วยต่างประเทศนัก แต่ปัจจุบันต้องปรับเปลี่ยนนโยบายนับตั้งแต่รัฐบาลสิงคโปร์ได้มีนโยบายหันมาส่งเสริมสิงคโปร์ให้เป็นศูนย์กลางการรักษาพยาบาลในภูมิภาค
โดยรัฐบาลได้จัดตั้งศูนย์ประสานงานผู้ป่วยต่างประเทศ (International Patients' Liaison Center - IPLC) ขึ้นภายในโรงพยาบาลของรัฐ เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้ป่วยต่างประเทศ ซึ่งกลยุทธ์นี้จะส่งผลให้สิงคโปร์สามารถแข่งขันในด้านราคาได้มากขึ้น เนื่องจากโรงพยาบาลของรัฐมีต้นทุนในการดำเนินธุรกิจต่ำกว่าโรงพยาบาลเอกชน
อย่างไรก็ตาม สิงคโปร์ประสบปัญหาคล้ายคลึงกับไทย คือ แพทย์ในโรงพยาบาลของรัฐบาลมีแนวโน้มลาออกไปทำงานในโรงพยาบาลเอกชน เนื่องจากได้เงินเดือนดีกว่า ทำให้รัฐบาลต้องพยายามขึ้นเงินเดือนเพื่อรักษาแพทย์ไว้ ทำให้ในระยะหลังโรงพยาบาลรัฐบาลต้องเพิ่มค่ารักษาพยาบาลตามต้นทุนที่เพิ่มขึ้น
ประการที่สี่ ส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีด้านการแพทย์ โดยเดิมรัฐบาลสิงคโปร์ได้ประกาศวิสัยทัศน์เมื่อปี 2542 กำหนดให้ธุรกิจ “ชีววิทยาศาสตร์” เป็นอุตสาหกรรมหลัก 1 ใน 4 สาขาของประเทศ เนื่องจากตระหนักว่าอุตสาหกรรมอื่นๆ เช่น อิเล็กทรอนิกส์ ปิโตรเคมี ฯลฯ มีแนวโน้มว่าจะย้ายฐานการผลิตไปยังประเทศอื่นๆ ที่มีต้นทุนการผลิตต่ำกว่า แต่ต่อมารัฐบาลสิงคโปร์ได้เปลี่ยนชื่อนโยบายจาก “ชีววิทยาศาสตร์” มาเป็น “ชีวเวชศาสตร์” เพื่อเน้นการวิจัยทางแพทย์เป็นการเฉพาะ
รัฐบาลสิงคโปร์ได้จัดตั้งหน่วยงานระดับชาติ Cancer Syndicate ด้วยกองทุน 43 ล้านเหรียญสหรัฐ ภายใต้การผลักดันของ ดร. Sydney Brenner ซึ่งเป็นนักวิทยาศาสตร์รางวัลโนเบลและมีบทบาทในการผลักดันธุรกิจชีวเวชศาสตร์ในสิงคโปร์ เพื่อวิจัยในด้านโรคมะเร็ง
สำหรับบริษัท Bayer Schering Pharma Asia - Pacific ซึ่งเป็นบริษัทลูกของบริษัท Bayer Schering Pharma ของเยอรมนีและบริษัทผลิตยารายใหญ่ของโลก ได้ประกาศลงทุนเป็นเงิน 20 ล้านเหรียญสิงคโปร์ หรือประมาณ 500 ล้านบาท โดยเป็นโครงการร่วมมือกับมหาวิทยาลัย โรงพยาบาล และสถาบันวิจัยในสิงคโปร์ ในช่วง 6 ปี เป็นต้นว่า โครงการร่วมมือกับคณะแพทยศาสตร์ Yong Loo Lin School of Medicine ของมหาวิทยาลัยแห่งชาติของสิงคโปร์ ใช้เงินวิจัย 3.5 ล้านเหรียญสิงคโปร์ หรือประมาณ 90 ล้านบาท เพื่อวิจัยเชิงคลินิกเกี่ยวกับตัวยารักษามะเร็ง 3 ตัว ที่มีผลยับยั้งสารโปรตีน Tyrosine Kinases ซึ่งมีผลในการแพร่กระจายของโรคมะเร็ง
นอกจากนี้ โรงพยาบาลของสิงคโปร์ยังได้มีโครงการร่วมมือกับโรงพยาบาลชั้นนำในต่างประเทศเพื่อเสริมสร้างเทคโนโลยี เป็นต้นว่า โรงพยาบาล Raffles ได้มีโครงการร่วมมือกับ Memorial Sloan Kettering Cancer Center ของนครนิวยอร์ก ในสหรัฐฯ
ประการที่หก ส่งเสริมคุณภาพบุคลากรทางการแพทย์ โดยมหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ ได้รับการจัดอันดับโดยนิตยสารไทม์เมื่อปี 2548 ให้เป็นสถาบันการศึกษาที่มีความยอดเยี่ยมในสาขาแพทยศาสตร์อันดับ 25 ของโลก และเป็นอันดับ 1 ของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
รัฐบาลสิงคโปร์ยังได้สนับสนุนให้มหาวิทยาลัยจอห์นฮอปกิ้นของสหรัฐฯ มาเปิดการศึกษาคณะแพทยศาสตร์ขึ้นในสิงคโปร์ โดยเปิดการศึกษานับตั้งแต่ไตรมาสที่ 3 ของปี 2547 โดยนักศึกษาปริญญาเอกของมหาวิทยาลัยจอห์นฮอปกิ้นจะศึกษาในชั้นเรียนในวิทยาเขตบัลติมอร์ จากนั้นสามารถเลือกมาทำวิจัยที่วิทยาเขตในสิงคโปร์ได้
ภายหลังสำเร็จการศึกษา รัฐบาลสิงคโปร์ยังได้เข้มงวดในด้านรักษามาตรฐานบุคลากรทางการแพทย์ โดยออกกฎระเบียบซึ่งจะมีผลใช้บังคับตั้งแต่ปี 2546 เป็นต้นไป กำหนดว่าแพทย์จะต้องรับการศึกษาอย่างต่อเนื่องและเข้าร่วมการสัมมนาในด้านต่างๆ ก่อนที่จะอนุมัติให้ต่ออายุใบประกอบโรคศิลปะ
นอกจากนี้ ยังได้ส่งเสริมให้บุคลากรทางการแพทย์ที่มีคุณภาพจากต่างประเทศเข้ามาทำงานในสิงคโปร์ โดยรัฐบาลสิงคโปร์ได้ประกาศในคำแถลงงบประมาณเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2547 ว่าจะผ่อนผันให้แพทย์ที่สำเร็จการศึกษาจากต่างประเทศสามารถประกอบโรคศิลปะได้ง่ายยิ่งขึ้น พร้อมกับลดกฎระเบียบที่เป็นอุปสรรคในด้านนี้ พร้อมกันนี้ รัฐบาลสิงคโปร์ยังเพิ่มจำนวนมหาวิทยาลัยและสถาบันการศึกษาในด้านการแพทย์ในต่างประเทศที่รัฐบาลให้การรับรองเพิ่มจากเดิม 24 แห่ง เป็น 71 แห่ง
แม้ว่าปัจจุบันธุรกิจโรงพยาบาลของสิงคโปร์กำลังอยู่ระหว่างเผชิญความท้าทายจากโรงพยาบาลเอกชนในไทยและมาเลเซีย แต่เมื่อผู้สื่อข่าวได้สอบถามนาย Anil Thadani ประธานกรรมการของบริษัทปาร์คเวย์โฮลดิ้งของสิงคโปร์ ซึ่งนับว่าเป็นผู้ประกอบธุรกิจโรงพยาบาลเอกชนรายใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพื่อขอรับทราบทัศนะในเรื่องนี้ เขาได้กล่าวว่าโรงพยาบาลของกลุ่มปาร์คเวย์เปรียบเสมือนกับโรงแรมระดับ 5 ดาว เป็นการแข่งขันคนละตลาดกับโรงพยาบาลคู่แข่ง ซึ่งเปรียบเสมือนกับเป็นโรงแรมแบรนด์ฮอลิเดย์อินน์ ซึ่งเป็นระดับ 3 – 4 ดาวเท่านั้น
ติดต่อขอข้อมูล ติชม และเสนอแนะความคิดเห็นได้ที่ศูนย์บริการลงทุน สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน 0-2537-8161 หรือที่ head@boi.go.th
จากการศึกษาของบริษัทที่ปรึกษา Clear State ของสิงคโปร์ เมื่อปี 2550 ธุรกิจท่องเที่ยวเพื่อสุขภาพในทวีปเอเชียมีขนาด 1,300 ล้านเหรียญสหรัฐ และคาดว่าจะเพิ่มขึ้นในอัตราเฉลี่ย 19% ต่อปี เพิ่มขึ้นเป็น 4,400 ล้านเหรียญสหรัฐ ในปี 2555
สำหรับธุรกิจท่องเที่ยวเพื่อสุขภาพของไทยนั้นมีจุดได้เปรียบสำคัญ คือ เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีค่าบริการราคาถูก โดยเน้นบริการทางการแพทย์ทั่วไปสำหรับนักท่องเที่ยว เป็นต้นว่า การผ่าตัดเสริมความงาม ทำฟัน ผ่าตัดตาเลสิก และการตรวจสุขภาพ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการเหมาจ่ายที่รวมอยู่ในโปรแกรมการท่องเที่ยว
อย่างไรก็ตาม ธุรกิจการรักษาพยาบาลของไทยในปัจจุบันได้เผชิญกับการแข่งขันจากสิงคโปร์ในตลาดบน รวมทั้งมาเลเซียและอินเดียในตลาดล่าง สำหรับอินเดีย มีปัญหาด้านสุขอนามัย ดังนั้นชาวต่างชาติจึงไม่ค่อยเชื่อถือมาตรฐานการรักษาพยาบาลเท่าใดนัก ขณะที่มาเลเซียประสบปัญหาการขาดแคลนแพทย์และพยาบาล
สิงคโปร์จึงน่าจะเป็นคู่แข่งสำคัญที่สุดในไทย เนื่องจากมีจุดเด่น คือ สามารถให้บริการทั้งในส่วนบริการตรวจสุขภาพในตลาดล่าง และบริการผ่าตัดที่ต้องใช้ความรู้ความเชี่ยวชาญสูงในตลาดบน โดยมีผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์เป็นจำนวนมาก ขณะเดียวกันก็มีมาตรฐานการรักษาพยาบาลสูงมาก ทั้งนี้จากการจัดอันดับขององค์การอนามัยโลกพบว่าสิงคโปร์มีมาตรฐานการรักษาพยาบาลที่มีคุณภาพสูงที่สุดในทวีปเอเชีย และเป็นอันดับต้นๆ ของโลก โดยเฉลี่ยมีคุณภาพเหนือกว่าของญี่ปุ่นและสหรัฐฯ ยิ่งไปกว่านั้น ค่าบริการระหว่างไทยและสิงคโปร์ยังมีช่องว่างลดลง
ในช่วงที่ผ่านมา มีผู้ป่วยต่างประเทศเข้ามารักษาพยาบาลในสิงคโปร์เพิ่มขึ้นตามลำดับ จากสถิติในปี 2545 มีผู้ป่วยต่างประเทศเข้ามารักษาพยาบาลในสิงคโปร์ 211,000 คน เพิ่มขึ้นเป็น 418,000 คน ในปี 2549 ทั้งนี้ รัฐบาลสิงคโปร์ได้ประกาศเมื่อปี 2549 ตั้งเป้าหมายเพิ่มจำนวนชาวต่างชาติที่มารักษาพยาบาลในสิงคโปร์เพิ่มขึ้นเป็น 1 ล้านคน และค่าบริการ 75,000 ล้านบาท ภายในปี 2555
รัฐบาลสิงคโปร์ได้พยายามดำเนินการทุกวิถีทางเพื่อรักษาตำแหน่งการเป็นศูนย์กลางทางการแพทย์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เนื่องจากบริการสุขภาพเป็นธุรกิจที่อยู่บนพื้นฐานของความรู้ มีมูลค่าเพิ่มสูง และมีศักยภาพในการนำรายได้เข้าประเทศ
ประการแรกสร้างแบรนด์ในด้านการรักษาพยาบาลว่ามีความเยี่ยมยอดใน 3 มิติ คือ ความเชื่อถือ (Trust) ความปลอดภัย (Safety) และความเป็นเลิศ (Excellence) โดยเน้นบริการเฉพาะทางซึ่งต้องใช้ความรู้เข้มข้นและมีมูลค่าเพิ่มสูง โดยเฉพาะโรคหัวใจ ตา มะเร็ง และการเปลี่ยนถ่ายอวัยวะ
ตัวอย่างหนึ่ง คือ การผ่าตัดตาแบบ Lasik ได้มีการสำรวจสถิติของศูนย์การแพทย์ 4 แห่ง พบว่าได้ทำการผ่าตัดตามากถึง 10,300 ราย ในปี 2548 โดยมีอัตราความสำเร็จและความปลอดภัยที่ไม่เกิดปัญหาติดเชื้อภายหลังผ่าตัดในระดับสูงตั้งแต่ 98 – 100% โดยเฉพาะ Camden Medical Centre ได้ผ่าตัด 665 ราย มีอัตราความสำเร็จและความปลอดภัยเต็ม 100%
อัตราความสำเร็จและความปลอดภัยในการผ่าตัดตาของโรงพยาบาลสิงคโปร์ข้างต้น นับว่าสูงกว่าโรงพยาบาลระดับนานาชาติของประเทศพัฒนาแล้วบางแห่งด้วยซ้ำ เป็นต้นว่า ได้เคยมีการศึกษาพบว่าโรงพยาบาลในสหรัฐฯ มีอัตราความสำเร็จอยู่ระหว่าง 96 – 100% และอัตราความปลอดภัยระหว่าง 95 – 99.7% นับว่าเป็นอัตราที่ต่ำกว่าของสิงคโปร์
ประการที่สอง สร้างความเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยี โดยนาย Balaji Sadasivan รัฐมนตรีของสิงคโปร์ ได้เคยให้ทัศนะเมื่อกลางปี 2547 ว่าโรงพยาบาลเอกชนของสิงคโปร์จะต้องไม่เน้นการแข่งขันในด้านราคา แต่ต้องเน้นด้านเทคโนโลยี โดยในระยะที่ผ่านมาโรงพยาบาลของสิงคโปร์นับเป็นผู้นำทางเทคโนโลยีในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะการนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยที่สุดมาใช้ในการรักษาพยาบาลเป็นแห่งแรกก่อนโรงพยาบาลของประเทศอื่นๆ ในภูมิภาค
ตัวอย่างหนึ่ง คือ โรงพยาบาล Mount Elizabeth Hospital นับเป็นโรงพยาบาลแห่งแรกในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ได้ติดตั้ง Tomotherapy Hi-Art System ซึ่งเป็นอุปกรณ์ทางการแพทย์สำหรับรักษาโรคมะเร็งในรูปแบบ Image-Guided Intensity Modulated Radiation Therapy (IG/IMRT)
ประการที่สาม กระตุ้นโรงพยาบาลของรัฐให้หันมาสนใจตลาดผู้ป่วยต่างประเทศมากขึ้น โดยเดิมโรงพยาบาลของรัฐบาลสิงคโปร์จะไม่สนใจแสวงหาผู้ป่วยต่างประเทศนัก แต่ปัจจุบันต้องปรับเปลี่ยนนโยบายนับตั้งแต่รัฐบาลสิงคโปร์ได้มีนโยบายหันมาส่งเสริมสิงคโปร์ให้เป็นศูนย์กลางการรักษาพยาบาลในภูมิภาค
โดยรัฐบาลได้จัดตั้งศูนย์ประสานงานผู้ป่วยต่างประเทศ (International Patients' Liaison Center - IPLC) ขึ้นภายในโรงพยาบาลของรัฐ เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้ป่วยต่างประเทศ ซึ่งกลยุทธ์นี้จะส่งผลให้สิงคโปร์สามารถแข่งขันในด้านราคาได้มากขึ้น เนื่องจากโรงพยาบาลของรัฐมีต้นทุนในการดำเนินธุรกิจต่ำกว่าโรงพยาบาลเอกชน
อย่างไรก็ตาม สิงคโปร์ประสบปัญหาคล้ายคลึงกับไทย คือ แพทย์ในโรงพยาบาลของรัฐบาลมีแนวโน้มลาออกไปทำงานในโรงพยาบาลเอกชน เนื่องจากได้เงินเดือนดีกว่า ทำให้รัฐบาลต้องพยายามขึ้นเงินเดือนเพื่อรักษาแพทย์ไว้ ทำให้ในระยะหลังโรงพยาบาลรัฐบาลต้องเพิ่มค่ารักษาพยาบาลตามต้นทุนที่เพิ่มขึ้น
ประการที่สี่ ส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีด้านการแพทย์ โดยเดิมรัฐบาลสิงคโปร์ได้ประกาศวิสัยทัศน์เมื่อปี 2542 กำหนดให้ธุรกิจ “ชีววิทยาศาสตร์” เป็นอุตสาหกรรมหลัก 1 ใน 4 สาขาของประเทศ เนื่องจากตระหนักว่าอุตสาหกรรมอื่นๆ เช่น อิเล็กทรอนิกส์ ปิโตรเคมี ฯลฯ มีแนวโน้มว่าจะย้ายฐานการผลิตไปยังประเทศอื่นๆ ที่มีต้นทุนการผลิตต่ำกว่า แต่ต่อมารัฐบาลสิงคโปร์ได้เปลี่ยนชื่อนโยบายจาก “ชีววิทยาศาสตร์” มาเป็น “ชีวเวชศาสตร์” เพื่อเน้นการวิจัยทางแพทย์เป็นการเฉพาะ
รัฐบาลสิงคโปร์ได้จัดตั้งหน่วยงานระดับชาติ Cancer Syndicate ด้วยกองทุน 43 ล้านเหรียญสหรัฐ ภายใต้การผลักดันของ ดร. Sydney Brenner ซึ่งเป็นนักวิทยาศาสตร์รางวัลโนเบลและมีบทบาทในการผลักดันธุรกิจชีวเวชศาสตร์ในสิงคโปร์ เพื่อวิจัยในด้านโรคมะเร็ง
สำหรับบริษัท Bayer Schering Pharma Asia - Pacific ซึ่งเป็นบริษัทลูกของบริษัท Bayer Schering Pharma ของเยอรมนีและบริษัทผลิตยารายใหญ่ของโลก ได้ประกาศลงทุนเป็นเงิน 20 ล้านเหรียญสิงคโปร์ หรือประมาณ 500 ล้านบาท โดยเป็นโครงการร่วมมือกับมหาวิทยาลัย โรงพยาบาล และสถาบันวิจัยในสิงคโปร์ ในช่วง 6 ปี เป็นต้นว่า โครงการร่วมมือกับคณะแพทยศาสตร์ Yong Loo Lin School of Medicine ของมหาวิทยาลัยแห่งชาติของสิงคโปร์ ใช้เงินวิจัย 3.5 ล้านเหรียญสิงคโปร์ หรือประมาณ 90 ล้านบาท เพื่อวิจัยเชิงคลินิกเกี่ยวกับตัวยารักษามะเร็ง 3 ตัว ที่มีผลยับยั้งสารโปรตีน Tyrosine Kinases ซึ่งมีผลในการแพร่กระจายของโรคมะเร็ง
นอกจากนี้ โรงพยาบาลของสิงคโปร์ยังได้มีโครงการร่วมมือกับโรงพยาบาลชั้นนำในต่างประเทศเพื่อเสริมสร้างเทคโนโลยี เป็นต้นว่า โรงพยาบาล Raffles ได้มีโครงการร่วมมือกับ Memorial Sloan Kettering Cancer Center ของนครนิวยอร์ก ในสหรัฐฯ
ประการที่หก ส่งเสริมคุณภาพบุคลากรทางการแพทย์ โดยมหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ ได้รับการจัดอันดับโดยนิตยสารไทม์เมื่อปี 2548 ให้เป็นสถาบันการศึกษาที่มีความยอดเยี่ยมในสาขาแพทยศาสตร์อันดับ 25 ของโลก และเป็นอันดับ 1 ของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
รัฐบาลสิงคโปร์ยังได้สนับสนุนให้มหาวิทยาลัยจอห์นฮอปกิ้นของสหรัฐฯ มาเปิดการศึกษาคณะแพทยศาสตร์ขึ้นในสิงคโปร์ โดยเปิดการศึกษานับตั้งแต่ไตรมาสที่ 3 ของปี 2547 โดยนักศึกษาปริญญาเอกของมหาวิทยาลัยจอห์นฮอปกิ้นจะศึกษาในชั้นเรียนในวิทยาเขตบัลติมอร์ จากนั้นสามารถเลือกมาทำวิจัยที่วิทยาเขตในสิงคโปร์ได้
ภายหลังสำเร็จการศึกษา รัฐบาลสิงคโปร์ยังได้เข้มงวดในด้านรักษามาตรฐานบุคลากรทางการแพทย์ โดยออกกฎระเบียบซึ่งจะมีผลใช้บังคับตั้งแต่ปี 2546 เป็นต้นไป กำหนดว่าแพทย์จะต้องรับการศึกษาอย่างต่อเนื่องและเข้าร่วมการสัมมนาในด้านต่างๆ ก่อนที่จะอนุมัติให้ต่ออายุใบประกอบโรคศิลปะ
นอกจากนี้ ยังได้ส่งเสริมให้บุคลากรทางการแพทย์ที่มีคุณภาพจากต่างประเทศเข้ามาทำงานในสิงคโปร์ โดยรัฐบาลสิงคโปร์ได้ประกาศในคำแถลงงบประมาณเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2547 ว่าจะผ่อนผันให้แพทย์ที่สำเร็จการศึกษาจากต่างประเทศสามารถประกอบโรคศิลปะได้ง่ายยิ่งขึ้น พร้อมกับลดกฎระเบียบที่เป็นอุปสรรคในด้านนี้ พร้อมกันนี้ รัฐบาลสิงคโปร์ยังเพิ่มจำนวนมหาวิทยาลัยและสถาบันการศึกษาในด้านการแพทย์ในต่างประเทศที่รัฐบาลให้การรับรองเพิ่มจากเดิม 24 แห่ง เป็น 71 แห่ง
แม้ว่าปัจจุบันธุรกิจโรงพยาบาลของสิงคโปร์กำลังอยู่ระหว่างเผชิญความท้าทายจากโรงพยาบาลเอกชนในไทยและมาเลเซีย แต่เมื่อผู้สื่อข่าวได้สอบถามนาย Anil Thadani ประธานกรรมการของบริษัทปาร์คเวย์โฮลดิ้งของสิงคโปร์ ซึ่งนับว่าเป็นผู้ประกอบธุรกิจโรงพยาบาลเอกชนรายใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพื่อขอรับทราบทัศนะในเรื่องนี้ เขาได้กล่าวว่าโรงพยาบาลของกลุ่มปาร์คเวย์เปรียบเสมือนกับโรงแรมระดับ 5 ดาว เป็นการแข่งขันคนละตลาดกับโรงพยาบาลคู่แข่ง ซึ่งเปรียบเสมือนกับเป็นโรงแรมแบรนด์ฮอลิเดย์อินน์ ซึ่งเป็นระดับ 3 – 4 ดาวเท่านั้น
ติดต่อขอข้อมูล ติชม และเสนอแนะความคิดเห็นได้ที่ศูนย์บริการลงทุน สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน 0-2537-8161 หรือที่ head@boi.go.th