.
สภาประชาชน ต่างจากสภาผู้แทนราษฎรอย่างไร
คำตอบ คือ สภาผู้แทน เป็นสภา “ตัวแทน” ส่วนสภาประชาชน เป็นสภา “ตัวจริง”
นี่เป็นความต่างในรูปแบบ ซ้ำยังต่างกันด้วยชื่อ ราษฎร กับ ประชาชน อีกนั่น
ก่อนไปถึงความต่างในเนื้อหาขอขยายความต่างของชื่อ คือ คำว่า ราษฎร กับ ประชาชน เสียก่อนว่าสองคำนี้มีนัยแสดงพัฒนาการของความเป็น “พลเมือง” ในประเทศไทยตามยุคตามสมัยจากอดีตถึงปัจจุบันอย่างดียิ่ง
พลเมืองในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชนั้น ก็คือ ไพร่ฟ้าข้าแผ่นดิน หรือ พสกนิกร ซึ่งหมายถึงเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดิน ผู้ทรงเป็นพระประมุขแผ่พระบรมโพธิสมภาร ร่มแผ่นดินให้แก่พลเมืองนั่นเอง
เมื่อเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. ๒๔๗๕ เราเริ่มเรียกพลเมือง เป็น “ราษฎร” จึงเริ่มมีสภาผู้แทนราษฎรนั้น
คำว่า ประชาชน เพิ่งใช้กันจริงจังหลังเหตุการณ์ผันผวนทางการเมืองจากการปฏิวัติรัฐประหารยึดอำนาจการปกครองครั้งแล้วครั้งเล่า เมื่อไม่กี่สิบปีมานี่กระมัง
อย่างไรก็ตาม ขอให้สังเกตคำว่า “ประชาธิปไตย” ที่มาจากคำ ประชา กับ อธิปไตย หมายถึง อำนาจของประชาชน นั่นเอง
อำนาจของประชานี้ ถูกใช้โดย “ตัวแทน” ในระบอบสภาผู้แทนราษฎรตลอดมา ซึ่งที่ถูกแล้วสมควรเปลี่ยนจากสภาผู้แทนราษฎรเป็นสภาผู้แทนประชาชนเสียด้วยซ้ำไป
แต่เอาเถิด สภาผู้แทนราษฎรได้กลายเป็นศัพท์เฉพาะอันทรงคุณค่า และความหมายที่สะท้อนยุคสมัยของการได้ถูกสถาปนาอย่างสมควรยิ่งไปแล้ว
สภาผู้แทนราษฎรเป็นสภาสูงสุด ดังเป็นสถาบันหลักทางนิติบัญญัติและบริหาร โดย “ตัวแทน” ของประชาชนคัดเลือกกันเข้ามาตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญนั้น
ครั้นเมื่อสภา “ตัวแทน” ไม่ได้ทำหน้าที่ตัวแทนของประชาชนแท้จริง ทั้งระบบพรรคการเมืองวิธีเลือกตั้ง รวมถึงการฉ้อฉลบิดเบือนหลักเกณฑ์กติกาต่าง ๆ ดังนำมาสู่วิกฤตในปัจจุบัน จึงสมควรต้องทบทวนเรียกร้องให้ปฏิรูปการเมืองเก่าให้เป็นการเมืองใหม่อย่างกว้างขวางในวันนี้
นอกจากต้องปฏิรูปรัฐธรรมนูญถึงขั้นร่างรัฐธรรมนูญใหม่กันเลย ดังเรียกร้องให้มีหลักเกณฑ์ เรื่อง สภาผู้แทนเขตพื้นที่และผู้แทนกลุ่มอาชีพ ซึ่งควรต้องระดมความเห็นให้หลากหลายกว้างขวาง อันยังไม่ลงตัวแล้ว
ข้อเรียกร้องสำคัญอีกหนึ่งเรื่องคือ “สภาประชาชน”
คำถามอาจมีว่า ทำไมต้องมีสภาประชาชนในเมื่อมีสภาผู้แทน ทั้งจากเขตพื้นที่และกลุ่มอาชีพอยู่แล้ว
คำตอบเบื้องต้นดังเกริ่นไว้ว่าสภาผู้แทนเป็นสภา “ตัวแทน” ส่วนสภาประชาชนเป็นสภา “ตัวจริง”
สองสภานี้นอกจากต่างกันโดยรูปแบบแล้ว ยังต่างกันโดยเนื้อหา ทั้งอำนาจหน้าที่และสถานะที่ไม่ซ้ำซ้อน กลับจะเสริมซึ่งกันและกันด้วย เหล่านี้เป็นสาระสำคัญที่ควรมีบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ
ขอยกตัวอย่างสภาประชาชนในรูปแบบหนึ่ง ใครเห็นด้วยไม่เห็นด้วยอย่างไรก็ช่วยกันติเติมเสริมต่อ หรือจะเสนอเป็นอย่างอื่นอย่างไรก็ช่วยแสดงความเห็นได้เลย นี่เป็นเพียงตัวอย่างรูปแบบหนึ่งเท่านั้น
๑. ที่มาของสภาประชาชน มาจากการจัดตั้งจากระดับหมู่บ้าน ตำบล อำเภอ จังหวัด ถึงสภาประชาชน ดังนี้
สภาระดับหมู่บ้านมีตัวแทน ๑ คนต่อ ๑ หลังคาเรือน คัดเลือกและมอบหมายให้เป็นตัวแทนของหมู่บ้านละไม่เกิน ๒ คน ขึ้นไปสู่สภาระดับตำบล คัดเลือกและมอบหมายเป็นตัวแทนตำบลละไม่เกิน ๒ คน ขึ้นไปสู่สภาระดับอำเภอ อำเภอละไม่เกิน ๒ คน คัดเลือกและมอบหมายเป็นตัวแทนอำเภอละไม่เกิน ๒ คน ขึ้นไปสู่สภาระดับจังหวัด แล้วคัดเลือกและมอบหมายเป็นตัวแทนจังหวัดละไม่เกิน ๒ คน ขึ้นไปสู่สภาประชาชน (๗๖ จังหวัด ๆ ละ ๒ คน = ๑๕๒ คน)
๒. การดำเนินงานของสภาประชาชน จัดให้มีเวทีสมัชชาประชาชน ในระดับหมู่บ้านให้ชาวบ้านมารวมตัวชุมนุมกันในลักษณะทำ “ข้าวหม้อแกงหม้อ” มาเลี้ยงดูกัน (ปลอดจากผลประโยชน์ทั้งปวง) โดยมีแกนนำ (อาสาสมัครจากหมู่บ้านและจากที่อื่น) จัดเวทีสมัชชาประชาชนด้วยเนื้อหา เหล่านี้
- รายงานสภาพการณ์เรื่องราวข่าวสารบ้านเมือง
- ผลประโยชน์ชุมชน
- ปัญหาชุมชน
- ข้อเสนอที่เป็นมติชุมชน
- คัดเลือกตัวแทนและมอบหมายให้นำมติของสภาหมู่บ้านนำเสนอต่อสภาประชาชนตำบล
นอกจากนี้ควรมีกิจกรรมอื่นเสริมตามความเหมาะสม เช่น กลุ่มศึกษา -สัมพันธ์เครือข่าย – งานวัฒนธรรม ฯลฯ
เวทีสมัชชาประชาชนระดับหมู่บ้านนี้ จัดให้มีประมาณเดือนละครั้ง หรือกำหนดขึ้นตามความเหมาะสมทั้งเวลาและสถานที่ เช่น ศาลาประชาคม ลานวัด สวนสาธารณะ ฯ
๓. อำนาจหน้าที่ของสภาประชาชน นอกจากมติที่ได้จากเวทีสมัชชาตามลำดับขึ้นไปถึงสภาประชาชน (๑๕๒ คน) แล้ว สภาประชาชนควรมีอำนาจตรวจสอบการดำเนินงานภาครัฐในทุกระดับ มีอำนาจฟ้องร้องต่อศาลในคดีความทางการเมืองที่เกี่ยวกับความทุจริตและความไม่ชอบธรรม รวมทั้งเสนอถอดถอนผู้ใช้อำนาจอย่างไม่เป็นธรรมด้วย
นอกจากนี้สภาประชาชน มีหน้าที่เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารและกิจกรรมเพื่อปลูกจิตสำนึกทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ให้แก่ประชาชนในชุมชนอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ ควรมีสถานีโทรทัศน์ ถ่ายทอดเวทีสมัชชาประชาชนในระดับหมู่บ้านเป็นรายการประจำ นอกเหนือจากสื่ออื่น ๆ เช่น สถานีวิทยุชุมชน สื่อหนังสือพิมพ์ประจำชุมชน ฯลฯ
สภาประชาชนต้องเป็นองค์กรภาคประชาชนที่ไม่ขึ้นต่อองค์กรภาครัฐ เพื่อความบริสุทธิ์โปร่งใส สมาชิกทุกคนของสภานี้ ซึ่งก็คือทุกคนในทุกครอบครัว สลับสับเปลี่ยนขึ้นไปเป็นตัวแทนในทุกระดับ ตัวแทนนี้เป็นเพียงผู้นำมติเสนอตามความเห็นชอบของสภาหมู่บ้านนั่นเอง
ดังนั้น ขอเสนอว่าสมาชิกสภาทุกคนต้องเสียสละไม่มีค่าจ้างเงินเดือน และผลประโยชน์ใด ๆ ทั้งสิ้น และหากจะมีค่าใช้จ่ายจำเป็นทุกคนต้องช่วยบริจาคตามความจำเป็นนั้น ๆ
สภานี้เป็นสภาราษฎร์อยู่นอกสภารัฐ นอกจากไม่ซ้ำซ้อนกับภาครัฐแล้ว สภานี้ยังช่วยให้ภาครัฐเข้มแข็ง สังคมมั่นคง และเป็นประชาธิปไตยแท้จริง ด้วยอำนาจของประชาชนมาจากประชา “ตัวจริง” นี่เอง
สภาประชาชน ต่างจากสภาผู้แทนราษฎรอย่างไร
คำตอบ คือ สภาผู้แทน เป็นสภา “ตัวแทน” ส่วนสภาประชาชน เป็นสภา “ตัวจริง”
นี่เป็นความต่างในรูปแบบ ซ้ำยังต่างกันด้วยชื่อ ราษฎร กับ ประชาชน อีกนั่น
ก่อนไปถึงความต่างในเนื้อหาขอขยายความต่างของชื่อ คือ คำว่า ราษฎร กับ ประชาชน เสียก่อนว่าสองคำนี้มีนัยแสดงพัฒนาการของความเป็น “พลเมือง” ในประเทศไทยตามยุคตามสมัยจากอดีตถึงปัจจุบันอย่างดียิ่ง
พลเมืองในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชนั้น ก็คือ ไพร่ฟ้าข้าแผ่นดิน หรือ พสกนิกร ซึ่งหมายถึงเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดิน ผู้ทรงเป็นพระประมุขแผ่พระบรมโพธิสมภาร ร่มแผ่นดินให้แก่พลเมืองนั่นเอง
เมื่อเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. ๒๔๗๕ เราเริ่มเรียกพลเมือง เป็น “ราษฎร” จึงเริ่มมีสภาผู้แทนราษฎรนั้น
คำว่า ประชาชน เพิ่งใช้กันจริงจังหลังเหตุการณ์ผันผวนทางการเมืองจากการปฏิวัติรัฐประหารยึดอำนาจการปกครองครั้งแล้วครั้งเล่า เมื่อไม่กี่สิบปีมานี่กระมัง
อย่างไรก็ตาม ขอให้สังเกตคำว่า “ประชาธิปไตย” ที่มาจากคำ ประชา กับ อธิปไตย หมายถึง อำนาจของประชาชน นั่นเอง
อำนาจของประชานี้ ถูกใช้โดย “ตัวแทน” ในระบอบสภาผู้แทนราษฎรตลอดมา ซึ่งที่ถูกแล้วสมควรเปลี่ยนจากสภาผู้แทนราษฎรเป็นสภาผู้แทนประชาชนเสียด้วยซ้ำไป
แต่เอาเถิด สภาผู้แทนราษฎรได้กลายเป็นศัพท์เฉพาะอันทรงคุณค่า และความหมายที่สะท้อนยุคสมัยของการได้ถูกสถาปนาอย่างสมควรยิ่งไปแล้ว
สภาผู้แทนราษฎรเป็นสภาสูงสุด ดังเป็นสถาบันหลักทางนิติบัญญัติและบริหาร โดย “ตัวแทน” ของประชาชนคัดเลือกกันเข้ามาตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญนั้น
ครั้นเมื่อสภา “ตัวแทน” ไม่ได้ทำหน้าที่ตัวแทนของประชาชนแท้จริง ทั้งระบบพรรคการเมืองวิธีเลือกตั้ง รวมถึงการฉ้อฉลบิดเบือนหลักเกณฑ์กติกาต่าง ๆ ดังนำมาสู่วิกฤตในปัจจุบัน จึงสมควรต้องทบทวนเรียกร้องให้ปฏิรูปการเมืองเก่าให้เป็นการเมืองใหม่อย่างกว้างขวางในวันนี้
นอกจากต้องปฏิรูปรัฐธรรมนูญถึงขั้นร่างรัฐธรรมนูญใหม่กันเลย ดังเรียกร้องให้มีหลักเกณฑ์ เรื่อง สภาผู้แทนเขตพื้นที่และผู้แทนกลุ่มอาชีพ ซึ่งควรต้องระดมความเห็นให้หลากหลายกว้างขวาง อันยังไม่ลงตัวแล้ว
ข้อเรียกร้องสำคัญอีกหนึ่งเรื่องคือ “สภาประชาชน”
คำถามอาจมีว่า ทำไมต้องมีสภาประชาชนในเมื่อมีสภาผู้แทน ทั้งจากเขตพื้นที่และกลุ่มอาชีพอยู่แล้ว
คำตอบเบื้องต้นดังเกริ่นไว้ว่าสภาผู้แทนเป็นสภา “ตัวแทน” ส่วนสภาประชาชนเป็นสภา “ตัวจริง”
สองสภานี้นอกจากต่างกันโดยรูปแบบแล้ว ยังต่างกันโดยเนื้อหา ทั้งอำนาจหน้าที่และสถานะที่ไม่ซ้ำซ้อน กลับจะเสริมซึ่งกันและกันด้วย เหล่านี้เป็นสาระสำคัญที่ควรมีบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ
ขอยกตัวอย่างสภาประชาชนในรูปแบบหนึ่ง ใครเห็นด้วยไม่เห็นด้วยอย่างไรก็ช่วยกันติเติมเสริมต่อ หรือจะเสนอเป็นอย่างอื่นอย่างไรก็ช่วยแสดงความเห็นได้เลย นี่เป็นเพียงตัวอย่างรูปแบบหนึ่งเท่านั้น
๑. ที่มาของสภาประชาชน มาจากการจัดตั้งจากระดับหมู่บ้าน ตำบล อำเภอ จังหวัด ถึงสภาประชาชน ดังนี้
สภาระดับหมู่บ้านมีตัวแทน ๑ คนต่อ ๑ หลังคาเรือน คัดเลือกและมอบหมายให้เป็นตัวแทนของหมู่บ้านละไม่เกิน ๒ คน ขึ้นไปสู่สภาระดับตำบล คัดเลือกและมอบหมายเป็นตัวแทนตำบลละไม่เกิน ๒ คน ขึ้นไปสู่สภาระดับอำเภอ อำเภอละไม่เกิน ๒ คน คัดเลือกและมอบหมายเป็นตัวแทนอำเภอละไม่เกิน ๒ คน ขึ้นไปสู่สภาระดับจังหวัด แล้วคัดเลือกและมอบหมายเป็นตัวแทนจังหวัดละไม่เกิน ๒ คน ขึ้นไปสู่สภาประชาชน (๗๖ จังหวัด ๆ ละ ๒ คน = ๑๕๒ คน)
๒. การดำเนินงานของสภาประชาชน จัดให้มีเวทีสมัชชาประชาชน ในระดับหมู่บ้านให้ชาวบ้านมารวมตัวชุมนุมกันในลักษณะทำ “ข้าวหม้อแกงหม้อ” มาเลี้ยงดูกัน (ปลอดจากผลประโยชน์ทั้งปวง) โดยมีแกนนำ (อาสาสมัครจากหมู่บ้านและจากที่อื่น) จัดเวทีสมัชชาประชาชนด้วยเนื้อหา เหล่านี้
- รายงานสภาพการณ์เรื่องราวข่าวสารบ้านเมือง
- ผลประโยชน์ชุมชน
- ปัญหาชุมชน
- ข้อเสนอที่เป็นมติชุมชน
- คัดเลือกตัวแทนและมอบหมายให้นำมติของสภาหมู่บ้านนำเสนอต่อสภาประชาชนตำบล
นอกจากนี้ควรมีกิจกรรมอื่นเสริมตามความเหมาะสม เช่น กลุ่มศึกษา -สัมพันธ์เครือข่าย – งานวัฒนธรรม ฯลฯ
เวทีสมัชชาประชาชนระดับหมู่บ้านนี้ จัดให้มีประมาณเดือนละครั้ง หรือกำหนดขึ้นตามความเหมาะสมทั้งเวลาและสถานที่ เช่น ศาลาประชาคม ลานวัด สวนสาธารณะ ฯ
๓. อำนาจหน้าที่ของสภาประชาชน นอกจากมติที่ได้จากเวทีสมัชชาตามลำดับขึ้นไปถึงสภาประชาชน (๑๕๒ คน) แล้ว สภาประชาชนควรมีอำนาจตรวจสอบการดำเนินงานภาครัฐในทุกระดับ มีอำนาจฟ้องร้องต่อศาลในคดีความทางการเมืองที่เกี่ยวกับความทุจริตและความไม่ชอบธรรม รวมทั้งเสนอถอดถอนผู้ใช้อำนาจอย่างไม่เป็นธรรมด้วย
นอกจากนี้สภาประชาชน มีหน้าที่เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารและกิจกรรมเพื่อปลูกจิตสำนึกทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ให้แก่ประชาชนในชุมชนอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ ควรมีสถานีโทรทัศน์ ถ่ายทอดเวทีสมัชชาประชาชนในระดับหมู่บ้านเป็นรายการประจำ นอกเหนือจากสื่ออื่น ๆ เช่น สถานีวิทยุชุมชน สื่อหนังสือพิมพ์ประจำชุมชน ฯลฯ
สภาประชาชนต้องเป็นองค์กรภาคประชาชนที่ไม่ขึ้นต่อองค์กรภาครัฐ เพื่อความบริสุทธิ์โปร่งใส สมาชิกทุกคนของสภานี้ ซึ่งก็คือทุกคนในทุกครอบครัว สลับสับเปลี่ยนขึ้นไปเป็นตัวแทนในทุกระดับ ตัวแทนนี้เป็นเพียงผู้นำมติเสนอตามความเห็นชอบของสภาหมู่บ้านนั่นเอง
ดังนั้น ขอเสนอว่าสมาชิกสภาทุกคนต้องเสียสละไม่มีค่าจ้างเงินเดือน และผลประโยชน์ใด ๆ ทั้งสิ้น และหากจะมีค่าใช้จ่ายจำเป็นทุกคนต้องช่วยบริจาคตามความจำเป็นนั้น ๆ
สภานี้เป็นสภาราษฎร์อยู่นอกสภารัฐ นอกจากไม่ซ้ำซ้อนกับภาครัฐแล้ว สภานี้ยังช่วยให้ภาครัฐเข้มแข็ง สังคมมั่นคง และเป็นประชาธิปไตยแท้จริง ด้วยอำนาจของประชาชนมาจากประชา “ตัวจริง” นี่เอง