ศูนย์ข่าวเชียงใหม่ - นักวิชาการ 137 คนจากทั่วประเทศร่วมลงชื่อเสนอ 4 หลักการแก้ รธน.ย้ำต้องเปิดกว้างให้ทุกฝ่ายมีส่วนร่วมและมีสภาร่างรัฐธรรมนูญที่อิสระอย่างแท้จริง พร้อมเปิดให้ลงประชามติร่างรัฐธรรมนูญโดยปราศจากการชี้นำ ระบุการผลักดันแก้ไขรัฐธรรมนูญของพรรคพลังประชาชน มุ่งแต่แก้ปัญหาให้ตัวเองและไม่รับฟังความเห็นจากฝ่ายอื่น ส่อนำไปสู่ความขัดแย้งรุนแรง
วานนี้ (27 พ.ค.) ที่ศูนย์สตรีศึกษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ผู้ช่วยศาสตราจารย์สมชาย ปรีชาศิลปกุล คณบดีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้เป็นตัวแทนนักวิชาการ 137 คน จากทั่วประเทศที่ร่วมกันลงชื่อเสนอหลักการในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ อ่านแถลงการณ์ของนักวิชาการทั้ง 137 คน เรื่อง “ร่างรัฐธรรมนูญใหม่ ไปให้พ้นการเมืองแบบ 2 ขั้ว”
แถลงการณ์ดังกล่าวนี้มีเนื้อหาสรุปว่า รัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 ประสบความล้มเหลวในการสร้างกติกาใหม่ทางการเมืองหลังการล้มล้างรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2540 และยังนำมาซึ่งความขัดแย้งระหว่างกลุ่มคนต่างๆ รวมทั้งมีแนวโน้มที่อาจจะนำไปสู่ความรุนแรงหรือการใช้อำนาจนอกระบบเข้ามาเป็นข้ออ้างเพื่อยุติความรุนแรง
ขณะที่ความพยายามของพรรคพลังประชาชน ที่จะผลักดันให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญก็อาจจะเป็นเงื่อนไขที่ทำให้เกิดความขัดแย้งมากขึ้น เพราะข้อเสนอในการแก้ไขมุ่งให้ความสำคัญแต่ปัญหาความยุ่งยากของพรรคตัวเองและไม่รับฟังข้อท้วงติงจากฝ่ายอื่น ดังนั้นการแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งนี้ก็จะขาดการสนับสนุน และการมีส่วนร่วมจากสังคมที่กว้างขวางเพียงพอต่อการสร้างความชอบธรรม
ทั้งนี้ ท่ามกลางสถานการณ์การเผชิญหน้า การแก้ไขรัฐธรรมนูญที่จะนำไปสู่การคลี่คลายความขัดแย้งและเป็นหนทางไปสู่การสร้างกติกาที่ได้รับการยอมรับจะเกิดขึ้นได้ด้วยการทำการแก้ไขรัฐธรรมนูญที่มาจากการมีส่วนร่วมอย่างกว้างขวางของทั้งสังคม ในการแสดงความคิดเห็น ถกเถียง แลกเปลี่ยนกันอย่างเสรี ซึ่งต้องเปิดกว้างให้ทุกกลุ่ม ทุกฝ่าย แม้ว่าจะมีความเห็นแตกต่างกัน สามารถที่จะเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการนี้ เหมือนกระบวนการร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2540
สำหรับข้อเสนอหลักการในการแก้ไขรัฐธรรมนูญของนักวิชาการ 137 คน มี 4 ประการได้แก่ประการที่หนึ่ง การแก้ไขรัฐธรรมนูญต้องเป็นการนำไปสู่การร่างรัฐธรรมนูญใหม่ทั้งฉบับ ไม่ใช่การแก้ไขเพียงมาตราใดมาตราหนึ่งเท่านั้น ประการที่สอง ต้องมีการตั้งคณะทำงานหรือสภาร่างรัฐธรรมนูญอิสระที่ประกอบด้วยตัวแทนจากกลุ่ม องค์กรต่างๆ เข้ามาเป็นองค์ประกอบโดยต้องไม่ใช่เป็นองค์กรของข้าราชการระดับสูง นักธุรกิจ นักการเมือง แต่ต้องประกอบด้วยกลุ่มคนที่หลากหลาย ทั้งในทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม เพศและชาติพันธุ์ที่ดำรงอยู่ในสังคมไทย
ประการที่สาม ในกระบวนการร่างรัฐธรรมนูญต้องเปิดให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น ผลักดัน แลกเปลี่ยน ข้อมูลและความต้องการของแต่ละกลุ่มอย่างเสรีและกว้างขวางที่สุด เพื่อให้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่เกิดขึ้นจากฐานของสังคมอย่างแท้จริง และประการที่สี่ หลังจากร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้เสร็จสิ้นลงต้องเปิดให้มีการลงประชามติโดยไม่มีการแทรกแซงจากทุกฝ่าย
นอกจากนี้ ในแถลงการณ์ฉบับเดียวกันนี้ยังเรียกร้องให้สังคมไทยร่วมกันกดดันให้เกิดกระบวนการแก้ไขรัฐธรรมนูญตามหลักการทั้ง 4 ประการที่เสนอเพื่อนำไปสู่การร่างรัฐธรรมนูญโดยกระบวนการที่สันติ เพื่อสร้างรัฐธรรมนูญที่เอื้อต่อการจัดความสัมพันธ์เชิงอำนาจในระบอบประชาธิปไตย และทำให้สังคมไทยหลุดพ้นจากสภาวะตีบตันทางการเมืองโดยเร็วที่สุด
วานนี้ (27 พ.ค.) ที่ศูนย์สตรีศึกษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ผู้ช่วยศาสตราจารย์สมชาย ปรีชาศิลปกุล คณบดีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้เป็นตัวแทนนักวิชาการ 137 คน จากทั่วประเทศที่ร่วมกันลงชื่อเสนอหลักการในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ อ่านแถลงการณ์ของนักวิชาการทั้ง 137 คน เรื่อง “ร่างรัฐธรรมนูญใหม่ ไปให้พ้นการเมืองแบบ 2 ขั้ว”
แถลงการณ์ดังกล่าวนี้มีเนื้อหาสรุปว่า รัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 ประสบความล้มเหลวในการสร้างกติกาใหม่ทางการเมืองหลังการล้มล้างรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2540 และยังนำมาซึ่งความขัดแย้งระหว่างกลุ่มคนต่างๆ รวมทั้งมีแนวโน้มที่อาจจะนำไปสู่ความรุนแรงหรือการใช้อำนาจนอกระบบเข้ามาเป็นข้ออ้างเพื่อยุติความรุนแรง
ขณะที่ความพยายามของพรรคพลังประชาชน ที่จะผลักดันให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญก็อาจจะเป็นเงื่อนไขที่ทำให้เกิดความขัดแย้งมากขึ้น เพราะข้อเสนอในการแก้ไขมุ่งให้ความสำคัญแต่ปัญหาความยุ่งยากของพรรคตัวเองและไม่รับฟังข้อท้วงติงจากฝ่ายอื่น ดังนั้นการแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งนี้ก็จะขาดการสนับสนุน และการมีส่วนร่วมจากสังคมที่กว้างขวางเพียงพอต่อการสร้างความชอบธรรม
ทั้งนี้ ท่ามกลางสถานการณ์การเผชิญหน้า การแก้ไขรัฐธรรมนูญที่จะนำไปสู่การคลี่คลายความขัดแย้งและเป็นหนทางไปสู่การสร้างกติกาที่ได้รับการยอมรับจะเกิดขึ้นได้ด้วยการทำการแก้ไขรัฐธรรมนูญที่มาจากการมีส่วนร่วมอย่างกว้างขวางของทั้งสังคม ในการแสดงความคิดเห็น ถกเถียง แลกเปลี่ยนกันอย่างเสรี ซึ่งต้องเปิดกว้างให้ทุกกลุ่ม ทุกฝ่าย แม้ว่าจะมีความเห็นแตกต่างกัน สามารถที่จะเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการนี้ เหมือนกระบวนการร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2540
สำหรับข้อเสนอหลักการในการแก้ไขรัฐธรรมนูญของนักวิชาการ 137 คน มี 4 ประการได้แก่ประการที่หนึ่ง การแก้ไขรัฐธรรมนูญต้องเป็นการนำไปสู่การร่างรัฐธรรมนูญใหม่ทั้งฉบับ ไม่ใช่การแก้ไขเพียงมาตราใดมาตราหนึ่งเท่านั้น ประการที่สอง ต้องมีการตั้งคณะทำงานหรือสภาร่างรัฐธรรมนูญอิสระที่ประกอบด้วยตัวแทนจากกลุ่ม องค์กรต่างๆ เข้ามาเป็นองค์ประกอบโดยต้องไม่ใช่เป็นองค์กรของข้าราชการระดับสูง นักธุรกิจ นักการเมือง แต่ต้องประกอบด้วยกลุ่มคนที่หลากหลาย ทั้งในทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม เพศและชาติพันธุ์ที่ดำรงอยู่ในสังคมไทย
ประการที่สาม ในกระบวนการร่างรัฐธรรมนูญต้องเปิดให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น ผลักดัน แลกเปลี่ยน ข้อมูลและความต้องการของแต่ละกลุ่มอย่างเสรีและกว้างขวางที่สุด เพื่อให้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่เกิดขึ้นจากฐานของสังคมอย่างแท้จริง และประการที่สี่ หลังจากร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้เสร็จสิ้นลงต้องเปิดให้มีการลงประชามติโดยไม่มีการแทรกแซงจากทุกฝ่าย
นอกจากนี้ ในแถลงการณ์ฉบับเดียวกันนี้ยังเรียกร้องให้สังคมไทยร่วมกันกดดันให้เกิดกระบวนการแก้ไขรัฐธรรมนูญตามหลักการทั้ง 4 ประการที่เสนอเพื่อนำไปสู่การร่างรัฐธรรมนูญโดยกระบวนการที่สันติ เพื่อสร้างรัฐธรรมนูญที่เอื้อต่อการจัดความสัมพันธ์เชิงอำนาจในระบอบประชาธิปไตย และทำให้สังคมไทยหลุดพ้นจากสภาวะตีบตันทางการเมืองโดยเร็วที่สุด