เอเจนซี - พบทารกตัวโตมีโอกาสเป็นมะเร็งเต้านมเมื่อโตขึ้นสูงกว่าคนที่เกิดมาด้วยน้ำหนักและส่วนสูงใกล้เคียงมาตรฐาน โดยทฤษฎีหนึ่งที่อาจใช้อธิบายเรื่องนี้ได้คือ การได้รับฮอร์โมนเอสโตรเจนมากกว่าปกติขณะอยู่ในครรภ์มารดา
ทารกตัวโตยังแตกเนื้อสาวเร็ว ซึ่งเป็นอีกปัจจัยที่เชื่อมโยงกับความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นของมะเร็งเต้านม
นักวิจัยจากลอนดอน สกูล ออฟ ไฮยีน แอนด์ ทรอปิคัล เมดิซิน ได้ตรวจสอบผลศึกษา 32 ฉบับที่ครอบคลุมผู้หญิงกว่า 600,000 คน ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในประเทศกำลังพัฒนา และกว่า 22,000 คนเป็นมะเร็งเต้านม
การวิเคราะห์รายงานเหล่านี้แสดงให้เห็นความเชื่อมโยงชัดเจนระหว่างน้ำหนักตัวแรกคลอดกับความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นในการเป็นมะเร็งเต้านมในช่วงบั้นปลายชีวิต
ทั้งนี้ น้ำหนักที่สูงกว่าเกณฑ์ปกติทุก 1.1 ปอนด์ (0.5 กิโลกรัม) เมื่อแรกเกิด หมายถึงความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้น 7% ขณะที่ทารกที่สูงเกิน 51 เซนติเมตร มีความเสี่ยงเป็นมะเร็งเต้านมเมื่ออายุ 80 ปีเพิ่มขึ้น 11.5% เทียบกับ 10% สำหรับผู้ที่เกิดมาสูงไม่ถึง 49.3 เซนติเมตร
ความเชื่อมโยงนี้เป็นจริงแม้เมื่อพิจารณาปัจจัยอื่นๆ เช่น น้ำหนักตัวในวัยผู้ใหญ่ ประกอบด้วย
ศาสตราจารย์ไอโซเบล ดอส ซานโตส ซิลวา ผู้นำการวิจัย ระบุในวารสารพลอส เมดิซินว่า การศึกษานี้บ่งชี้ว่าขนาดตัวทารกเป็นตัวบ่งชี้ความอ่อนแอต่อมะเร็งเต้านมในวัยผู้ใหญ่ แต่ยอมรับว่ายังไม่รู้แน่ชัดว่าสภาวะแวดล้อมก่อนคลอดส่งผลอย่างไรต่อความเสี่ยงมะเร็งเต้านมในบั้นปลายชีวิต จึงจำเป็นต้องศึกษาเพิ่มเติมต่อไป
ซิลวาสำทับว่า การทำความเข้าใจชีววิทยาที่อยู่เบื้องหลังปรากฏการณ์นี้ อาจนำไปสู่ยาตัวใหม่ในการรักษามะเร็งเต้านม
ดร.ซาราห์ แคนต์ จากเบรกทรู บรีสต์ แคนเซอร์ ขานรับว่ามะเร็งเต้านมเป็นโรคที่ซับซ้อน ซึ่งอาจเกิดจากปัจจัยหลายอย่างในชีวิต และขนาดตัวของทารกเมื่อแรกเกิดเป็นปัจจัยหนึ่งที่น่าสนใจ
“แม้ผู้หญิงไม่สามารถแก้ไขอะไรได้เรื่องขนาดตัวเมื่อแรกเกิด แต่ยังมีอีกหลายอย่างที่ทำได้เพื่อช่วยลดความเสี่ยงโรคนี้ เช่น ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในระดับที่ดีต่อสุขภาพ กินอาหารที่มีสมดุลทางโภชนาการ และจำกัดการดื่มแอลกอฮอล์”
ทารกตัวโตยังแตกเนื้อสาวเร็ว ซึ่งเป็นอีกปัจจัยที่เชื่อมโยงกับความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นของมะเร็งเต้านม
นักวิจัยจากลอนดอน สกูล ออฟ ไฮยีน แอนด์ ทรอปิคัล เมดิซิน ได้ตรวจสอบผลศึกษา 32 ฉบับที่ครอบคลุมผู้หญิงกว่า 600,000 คน ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในประเทศกำลังพัฒนา และกว่า 22,000 คนเป็นมะเร็งเต้านม
การวิเคราะห์รายงานเหล่านี้แสดงให้เห็นความเชื่อมโยงชัดเจนระหว่างน้ำหนักตัวแรกคลอดกับความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นในการเป็นมะเร็งเต้านมในช่วงบั้นปลายชีวิต
ทั้งนี้ น้ำหนักที่สูงกว่าเกณฑ์ปกติทุก 1.1 ปอนด์ (0.5 กิโลกรัม) เมื่อแรกเกิด หมายถึงความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้น 7% ขณะที่ทารกที่สูงเกิน 51 เซนติเมตร มีความเสี่ยงเป็นมะเร็งเต้านมเมื่ออายุ 80 ปีเพิ่มขึ้น 11.5% เทียบกับ 10% สำหรับผู้ที่เกิดมาสูงไม่ถึง 49.3 เซนติเมตร
ความเชื่อมโยงนี้เป็นจริงแม้เมื่อพิจารณาปัจจัยอื่นๆ เช่น น้ำหนักตัวในวัยผู้ใหญ่ ประกอบด้วย
ศาสตราจารย์ไอโซเบล ดอส ซานโตส ซิลวา ผู้นำการวิจัย ระบุในวารสารพลอส เมดิซินว่า การศึกษานี้บ่งชี้ว่าขนาดตัวทารกเป็นตัวบ่งชี้ความอ่อนแอต่อมะเร็งเต้านมในวัยผู้ใหญ่ แต่ยอมรับว่ายังไม่รู้แน่ชัดว่าสภาวะแวดล้อมก่อนคลอดส่งผลอย่างไรต่อความเสี่ยงมะเร็งเต้านมในบั้นปลายชีวิต จึงจำเป็นต้องศึกษาเพิ่มเติมต่อไป
ซิลวาสำทับว่า การทำความเข้าใจชีววิทยาที่อยู่เบื้องหลังปรากฏการณ์นี้ อาจนำไปสู่ยาตัวใหม่ในการรักษามะเร็งเต้านม
ดร.ซาราห์ แคนต์ จากเบรกทรู บรีสต์ แคนเซอร์ ขานรับว่ามะเร็งเต้านมเป็นโรคที่ซับซ้อน ซึ่งอาจเกิดจากปัจจัยหลายอย่างในชีวิต และขนาดตัวของทารกเมื่อแรกเกิดเป็นปัจจัยหนึ่งที่น่าสนใจ
“แม้ผู้หญิงไม่สามารถแก้ไขอะไรได้เรื่องขนาดตัวเมื่อแรกเกิด แต่ยังมีอีกหลายอย่างที่ทำได้เพื่อช่วยลดความเสี่ยงโรคนี้ เช่น ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในระดับที่ดีต่อสุขภาพ กินอาหารที่มีสมดุลทางโภชนาการ และจำกัดการดื่มแอลกอฮอล์”