เอเจนซี - งานวิจัยจากอิสราเอลระบุทัศนคติแง่บวกช่วยลดความเสี่ยงมะเร็งเต้านมลงได้ถึง 25% ในทางตรงข้าม ชีวิตที่หนักหนาสาหัส เช่น ผู้หญิงที่ต้องเผชิญโศกนาฏกรรมตั้งแต่สองครั้งขึ้นไป มีความเสี่ยงเป็นโรคนี้เพิ่มขึ้นถึง 62%
นักวิจัยอิสราเอลพยายามหาความเชื่อมโยงของสองปัจจัยดังกล่าวด้วยการซักประวัติผู้หญิงกว่า 250 คนที่อายุระหว่าง 25-45 ปี และเป็นมะเร็งเต้านม เกี่ยวกับทัศนคติต่อชีวิต
กลุ่มตัวอย่างเหล่านี้ถูกขอให้เล่ารายละเอียดเกี่ยวกับโศกนาฏกรรมหรือความสูญเสียที่เคยเผชิญ เช่น การเสียชีวิตของพ่อแม่หรือสามี การหย่าร้าง หรือการตกงาน จากนั้นจึงนำคำตอบไปเปรียบเทียบกับผู้หญิงสุขภาพดีอายุเท่าๆ กันอีกกลุ่มหนึ่ง
การวิเคราะห์ข้อมูลแสดงให้เห็นความเชื่อมโยงชัดเจนระหว่างทัศนคติกับความเสี่ยงมะเร็งเต้านม กล่าวคือพวกที่มองโลกแง่บวกมีแนวโน้มเป็นมะเร็งน้อยลง 25%
การศึกษาของนักวิจัยจากเบน-กูเรียน ยูนิเวอร์ซิตี้ ออฟ เนเกฟยังพบว่า เหตุการณ์เศร้าสะเทือนใจเพียงครั้งเดียวในชีวิตไม่มีผลต่อพัฒนาการของมะเร็งเต้านม แต่หากเกิดขึ้นสองครั้งขึ้นไปจะเพิ่มความเป็นไปได้ที่จะเป็นโรคดังกล่าวถึงเกือบ 2 ใน 3
อย่างไรก็ตาม นักวิจัยยอมรับว่า ยังไม่เป็นที่ชัดเจนว่าสภาพจิตใจส่งผลต่อระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ฮอร์โมน ระบบประสาท และความเสี่ยงมะเร็งอย่างไร
การศึกษาหลายฉบับก่อนหน้านี้บ่งชี้ว่า ความเครียดทำให้ระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนที่เป็นปัจจัยกระตุ้นมะเร็งเต้านมเพิ่มสูงขึ้น
นอกจากนั้น ผู้หญิงที่เครียดยังมีแนวโน้มที่จะปลอบใจตัวเองด้วยการสูบบุหรี่ กินอาหารขยะ และมีพฤติกรรมที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพอื่นๆ มากกว่าผู้หญิงที่มีความสุขกับชีวิต
งานวิจัยอีกชิ้นยังพบว่า ความเครียดและชีวิตในเมืองที่เร่งรีบกดดัน ตลอดทั้งหน้าที่การงานที่เรียกร้องต้องการการทุ่มเทและใส่ใจสูง อาจเพิ่มความเสี่ยงมะเร็งเต้านมได้
กระนั้น ดร.ซาราห์ แคนต์ จากเบรกทรู บรีสต์ แคนเซอร์ ท้วงว่างานวิจัยเหล่านั้นไม่แสดงหลักฐานชัดเจนที่บ่งชี้ว่าประสบการณ์แง่บวกหรือลบมีผลต่อความเสี่ยงมะเร็งเต้านมอย่างไร และว่ากลุ่มตัวอย่างในงานวิจัยล่าสุดของอิสราเอลถูกสัมภาษณ์หลังจากตรวจพบมะเร็งเต้านมแล้ว ซึ่งอาจส่งผลให้ภาพอดีตสะเทือนใจแจ่มชัดในความคิดมากกว่าปกติ
ที่สำคัญ นักวิจัยยิวยังไม่ได้พิจารณาปัจจัยเสี่ยงอื่น เช่น ประวัติครอบครัว หรือน้ำหนักตัว ประกอบด้วย
“มะเร็งเต้านมเป็นโรคที่ซับซ้อน และไม่น่าจะเกิดขึ้นเพราะสาเหตุใดเพียงสาเหตุเดียวเท่านั้น”
นักวิจัยอิสราเอลพยายามหาความเชื่อมโยงของสองปัจจัยดังกล่าวด้วยการซักประวัติผู้หญิงกว่า 250 คนที่อายุระหว่าง 25-45 ปี และเป็นมะเร็งเต้านม เกี่ยวกับทัศนคติต่อชีวิต
กลุ่มตัวอย่างเหล่านี้ถูกขอให้เล่ารายละเอียดเกี่ยวกับโศกนาฏกรรมหรือความสูญเสียที่เคยเผชิญ เช่น การเสียชีวิตของพ่อแม่หรือสามี การหย่าร้าง หรือการตกงาน จากนั้นจึงนำคำตอบไปเปรียบเทียบกับผู้หญิงสุขภาพดีอายุเท่าๆ กันอีกกลุ่มหนึ่ง
การวิเคราะห์ข้อมูลแสดงให้เห็นความเชื่อมโยงชัดเจนระหว่างทัศนคติกับความเสี่ยงมะเร็งเต้านม กล่าวคือพวกที่มองโลกแง่บวกมีแนวโน้มเป็นมะเร็งน้อยลง 25%
การศึกษาของนักวิจัยจากเบน-กูเรียน ยูนิเวอร์ซิตี้ ออฟ เนเกฟยังพบว่า เหตุการณ์เศร้าสะเทือนใจเพียงครั้งเดียวในชีวิตไม่มีผลต่อพัฒนาการของมะเร็งเต้านม แต่หากเกิดขึ้นสองครั้งขึ้นไปจะเพิ่มความเป็นไปได้ที่จะเป็นโรคดังกล่าวถึงเกือบ 2 ใน 3
อย่างไรก็ตาม นักวิจัยยอมรับว่า ยังไม่เป็นที่ชัดเจนว่าสภาพจิตใจส่งผลต่อระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ฮอร์โมน ระบบประสาท และความเสี่ยงมะเร็งอย่างไร
การศึกษาหลายฉบับก่อนหน้านี้บ่งชี้ว่า ความเครียดทำให้ระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนที่เป็นปัจจัยกระตุ้นมะเร็งเต้านมเพิ่มสูงขึ้น
นอกจากนั้น ผู้หญิงที่เครียดยังมีแนวโน้มที่จะปลอบใจตัวเองด้วยการสูบบุหรี่ กินอาหารขยะ และมีพฤติกรรมที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพอื่นๆ มากกว่าผู้หญิงที่มีความสุขกับชีวิต
งานวิจัยอีกชิ้นยังพบว่า ความเครียดและชีวิตในเมืองที่เร่งรีบกดดัน ตลอดทั้งหน้าที่การงานที่เรียกร้องต้องการการทุ่มเทและใส่ใจสูง อาจเพิ่มความเสี่ยงมะเร็งเต้านมได้
กระนั้น ดร.ซาราห์ แคนต์ จากเบรกทรู บรีสต์ แคนเซอร์ ท้วงว่างานวิจัยเหล่านั้นไม่แสดงหลักฐานชัดเจนที่บ่งชี้ว่าประสบการณ์แง่บวกหรือลบมีผลต่อความเสี่ยงมะเร็งเต้านมอย่างไร และว่ากลุ่มตัวอย่างในงานวิจัยล่าสุดของอิสราเอลถูกสัมภาษณ์หลังจากตรวจพบมะเร็งเต้านมแล้ว ซึ่งอาจส่งผลให้ภาพอดีตสะเทือนใจแจ่มชัดในความคิดมากกว่าปกติ
ที่สำคัญ นักวิจัยยิวยังไม่ได้พิจารณาปัจจัยเสี่ยงอื่น เช่น ประวัติครอบครัว หรือน้ำหนักตัว ประกอบด้วย
“มะเร็งเต้านมเป็นโรคที่ซับซ้อน และไม่น่าจะเกิดขึ้นเพราะสาเหตุใดเพียงสาเหตุเดียวเท่านั้น”