ผู้จัดการรายวัน – ธปท.รับเศรษฐกิจส.ค.ชะลอตัวเป็นเดือนแรกของปีทุกด้าน ทั้งการลงทุน การบริโภค ผลผลิตอุตสาหกรรม การส่งออกและนำเข้า ส่งผลดุลการค้า ดุลบัญชีเดินสะพัดและดุลชำระเงินขาดดุลทั่วหน้า จ่อลดจีดีพี 17 ต.ค.นี้ เผยหนี้ระยะสั้นที่ได้กระทบวิกฤตสหรัฐที่มีโอกาสถูกเรียกคืน 1 หมื่นล้านเหรียญ มั่นใจทุนสำรองของไทยยังเหลือ ชี้ผลจากวิกฤตเริ่มส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นการแข่งขันของผู้ประกอบการในประเทศแล้ว
นายทิตนันทิ์ มัลลิกะมาส ผู้อำนวยการ ฝ่ายเศรษฐกิจในประเทศ สายนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) เปิดเผยว่า ภาวะเศรษฐกิจโดยรวมในเดือนสิงหาคมที่ผ่านมาชะลอลงเป็นเดือนแรกของปีนี้ โดยเครื่องชี้การลงทุน การอุปโภคบริโภค ผลผลิตอุตสาหกรรม การส่งออก นำเข้าชะลอมาก เช่นเดียวกับภาคการท่องเที่ยวที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความไม่สงบทางการเมือง รวมถึงปัจจัยภายนอกที่ประเทศคู่ค้าได้รับผลกระทบจากราคาน้ำมันและเศรษฐกิจโลกที่หดตัว
“หลังจากเกิดวิกฤตของสถาบันการเงินสหรัฐขึ้น เราเข้าใจดีว่าทุกวันนี้สถานการณ์ทุกอย่างมีการเปลี่ยนแปลงได้ทุกวัน ซึ่งแบงก์ชาติเองก็มีการติดตามและอยู่ระหว่างการประเมินผลที่เกิดขึ้น ขณะเดียวกันเครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจไทยหลายตัวปรับตัวลดลง โดยเฉพาะการท่องเที่ยวชะลอตัวลดลงอย่างเห็นได้ชัดทั้งปัจจัยในและนอกประเทศ แต่มีปัจจัยสนับสนุนที่ดีอยู่ เช่น แรงกดดันอัตราเงินเฟ้อเริ่มลดลงทั้งจากมาตรการภาครัฐ ราคาน้ำมันตลาดโลกลด ซึ่งมีผลต่อการขยายตัวเศรษฐกิจแล้วจะมีการทบทวนตัวเลขหรือไม่ขอให้รอดูในวันที่ 17 ต.ค.ที่จะถึงนี้”
สำหรับหนี้ระยะสั้นที่ได้กระทบวิกฤตสหรัฐ ซึ่งมีโอกาสถูกเรียกหนี้คืนประมาณ 1 หมื่นล้านเหรียญเท่านั้น จากจำนวนหนี้ระยะสั้น ณ สิ้นเดือนก.ค.ที่ 2.5 หมื่นล้านเหรียญ เนื่องจากเป็นสินเชื่อการค้า 1.15 หมื่นล้านเหรียญ และสินเชื่อที่ให้ระหว่างบริษัทแม่กับบริษัทลูก 4 พันล้านเหรียญ ดังนั้น หนี้ระยะสั้นที่มีโอกาสเรียกคืนมีสัดส่วนน้อยมากเมื่อเทียบกับทุนสำรองที่มีอยู่กว่า 1 แสนล้านเหรียญ
ทั้งนี้ การลงทุนในเดือนส.ค.นี้ก็ยังชะลอตัวเห็นได้จากยอดขายปูนซีเมนต์ในประเทศ และปริมาณจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ที่ลดลงจนถึงขั้นติดลบ สอดคล้องกับดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจในเดือนนี้ปรับลดลงเหลือ 40.7 จากเดือนก่อน 41.5 ซึ่งเป็นการปรับลดลงทุกองค์ประกอบ ยกเว้นต้นทุนการผลิตที่ได้รับอานิสงส์ที่ดีจากราคาน้ำมันตลาดโลกลดลง ส่วนในอีก 3 เดือนข้างหน้าดัชนีปรับตัวดีขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 47.9 จากครั้งก่อน 44.1 ทั้งนี้ จากการสำรวจผู้ประกอบการ พบว่า ปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อความเชื่อมั่นในขณะนี้มีทั้งต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น สินค้าปรับราคาได้ยาก และความไม่แน่นอนด้านเศรษฐกิจ ซึ่งช่วงหลังผู้ประกอบการในประเทศเริ่มมีความกังวลด้านเศรษฐกิจมากขึ้น
การอุปโภคบริโภคภาคเอกชนชะลอตัวลงโดยเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อนขยายตัวเหลือ 7.2% ขณะที่เทียบกับเดือนก่อนลดลงจนติดลบ 0.6% โดยเฉพาะในหมวดยานยนต์ตามปริมาณจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์หดตัว ส่วนดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคโดยรวมปรับตัวลดลงเหลือ 77.7 จากเดือนก่อน 78.9 ซึ่งเป็นการลดลงทุกรายการทั้งในปัจจุบันและอนาคต
ส่วนผลผลิตอุตสาหกรรมขยายตัวจากช่วงเดียวกันปีก่อน 7.9% ชะลอตัวลงจากเดือนก่อนที่ 11% โดยเกิดจากผลผลิตที่ลดลงในหมวดยานยนต์ อาหาร อีกทั้งอุปสงค์จากต่างประเทศลดลง โดยเฉพาะในหมวดเครื่องใช้ไฟฟ้า และสิ่งทอ ส่วนหมวดเครื่องหนังก็ได้รับผลกระทบจากการปิดโรงงานขนาดใหญ่แห่งหนึ่ง ซึ่งได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจสหรัฐ นอกจากนี้หมวดเครื่องเรือนได้รับผลจากประเทศคู่ค้า โดยเฉพาะสหรัฐ และหมวดก่อสร้างและหมวดผลิตภัณฑ์เหล็กจากอุปสงค์ในประเทศที่ชะลอตัว
นายทิตนันทิ์ กล่าวว่า ภาคการส่งออกมีมูลค่า 15,788 ล้านเหรียญ หรือขยายตัว 15.5% ซึ่งการชะลอตัวลงจากด้านปริมาณเป็นหลัก ขณะที่ราคาอยู่ในระดับทรงๆ ตัว อีกทั้งในเดือนก่อนหน้าการส่งออกมีอัตราการเร่งมากเป็นพิเศษ ซึ่งสูงสุดเป็นประวัติการณ์ถึง 43.9% ทำให้การส่งออกในเดือนนี้ลดลงมาก นอกจากนี้สัดส่วนการส่งออกของไทยไปยังประเทศต่างๆ ก็ลดลงด้วย ส่วนการนำเข้ามีมูลค่า 16,463 ล้านเหรียญ หรือขยายตัว 26.9% ซึ่งเป็นการชะลอตัวจากปริมาณการนำเข้าสินค้าในทุกหมวด แต่การนำเข้าทองคำยังมีสัดส่วนที่สูง ทำให้ดุลการค้าในเดือนนี้ขาดดุล 675 ล้านเหรียญ และดุลบริการรายได้และเงินโอนขาดดุล 177 ล้านเหรียญ ทำให้ดุลบัญชีเดินสะพัดขาดดุล 853 ล้านเหรียญ และดุลการชำระเงินขาดดุล 850 ล้านเหรียญ
“ปัญหาสินเชื่อด้อยคุณภาพ(ซับไพรม์) ที่เริ่มมีปัญหาขึ้นตั้งแต่ไตรมาสที่ 2 ที่ผ่านมาก็กระทบการส่งออกไทยไม่มากนัก เนื่องจากมีการกระจายตลาดที่ดี แต่ก็เริ่มมีสัญญาณจากผู้ประกอบการบ้างว่าการแข่งขันในตลาดโลกเริ่มรุนแรงขึ้น และความต้องการสินค้าจากต่างประเทศลดลงจากความกังวลต่างๆ ที่เพิ่มขึ้น จึงต้องติดตามดูต่อไปว่าจะมีผลภาคอื่นๆ ของไทยด้วยหรือไม่”
สำหรับเงินทุนเคลื่อนย้ายในเดือนส.ค.มีการเกินดุล 123 ล้านเหรียญ โดยภาคธุรกิจที่มิใช่ธนาคารขาดดุลสุทธิ 593 ล้านเหรียญ เกิดจากการไหลออกของเงินลงทุนในตลาดหุ้นอย่างต่อเนื่องประมาณ 437 ล้านเหรียญ ขณะที่นักลงทุนไทยที่ไปลงทุนในต่างประเทศมีจำนวน 620 ล้านเหรียญ ภาคธนาคารเกินดุล 886 ล้านเหรียญ จากการปรับลดสินทรัพย์ต่างประเทศ ส่วนรัฐวิสาหกิจเกินดุลสุทธิ 137 ล้านเหรียญ ส่วนใหญ่จากการนำเข้าเงินฝากต่างประเทศของรัฐวิสาหกิจบางแห่ง ภาครัฐบาลขาดดุล 227 ล้นเหรียญ เนื่องจากธนาคารพาณิชย์ไทยซื้อคืนพันธบัตรรัฐบาลไทยที่ออกในญี่ปุ่น นอกจากนี้ในส่วนของธปท.มีการขาดดุลสุทธิ 80 ล้านเหรียญ จากการที่นักลงทุนต่างชาติขายคืนพันธบัตรเงินบาทของธปท.
ด้านเงินฝากของสถาบันการเงินขยายตัว 0.3% แต่เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าเพิ่มขึ้น 105.3 พันล้านบาท และหากนับรวมการออกตั๋วแลกเงิน เงินฝากจะขยายตัวที่ระดับ 3.6% ขณะที่สินเชื่อมีอัตราการขยายตัว11.3% เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าเพิ่มขึ้น 102.1 พันล้านบาท ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นของเงินทุนหมุนเวียนของภาคธุรกิจเป็นสำคัญ ดังนั้น อัตราการเร่งตัวของทั้งสินเชื่อและเงินฝากอยู่ในระดับที่ใกล้เคียงกัน
นายทิตนันทิ์ มัลลิกะมาส ผู้อำนวยการ ฝ่ายเศรษฐกิจในประเทศ สายนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) เปิดเผยว่า ภาวะเศรษฐกิจโดยรวมในเดือนสิงหาคมที่ผ่านมาชะลอลงเป็นเดือนแรกของปีนี้ โดยเครื่องชี้การลงทุน การอุปโภคบริโภค ผลผลิตอุตสาหกรรม การส่งออก นำเข้าชะลอมาก เช่นเดียวกับภาคการท่องเที่ยวที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความไม่สงบทางการเมือง รวมถึงปัจจัยภายนอกที่ประเทศคู่ค้าได้รับผลกระทบจากราคาน้ำมันและเศรษฐกิจโลกที่หดตัว
“หลังจากเกิดวิกฤตของสถาบันการเงินสหรัฐขึ้น เราเข้าใจดีว่าทุกวันนี้สถานการณ์ทุกอย่างมีการเปลี่ยนแปลงได้ทุกวัน ซึ่งแบงก์ชาติเองก็มีการติดตามและอยู่ระหว่างการประเมินผลที่เกิดขึ้น ขณะเดียวกันเครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจไทยหลายตัวปรับตัวลดลง โดยเฉพาะการท่องเที่ยวชะลอตัวลดลงอย่างเห็นได้ชัดทั้งปัจจัยในและนอกประเทศ แต่มีปัจจัยสนับสนุนที่ดีอยู่ เช่น แรงกดดันอัตราเงินเฟ้อเริ่มลดลงทั้งจากมาตรการภาครัฐ ราคาน้ำมันตลาดโลกลด ซึ่งมีผลต่อการขยายตัวเศรษฐกิจแล้วจะมีการทบทวนตัวเลขหรือไม่ขอให้รอดูในวันที่ 17 ต.ค.ที่จะถึงนี้”
สำหรับหนี้ระยะสั้นที่ได้กระทบวิกฤตสหรัฐ ซึ่งมีโอกาสถูกเรียกหนี้คืนประมาณ 1 หมื่นล้านเหรียญเท่านั้น จากจำนวนหนี้ระยะสั้น ณ สิ้นเดือนก.ค.ที่ 2.5 หมื่นล้านเหรียญ เนื่องจากเป็นสินเชื่อการค้า 1.15 หมื่นล้านเหรียญ และสินเชื่อที่ให้ระหว่างบริษัทแม่กับบริษัทลูก 4 พันล้านเหรียญ ดังนั้น หนี้ระยะสั้นที่มีโอกาสเรียกคืนมีสัดส่วนน้อยมากเมื่อเทียบกับทุนสำรองที่มีอยู่กว่า 1 แสนล้านเหรียญ
ทั้งนี้ การลงทุนในเดือนส.ค.นี้ก็ยังชะลอตัวเห็นได้จากยอดขายปูนซีเมนต์ในประเทศ และปริมาณจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ที่ลดลงจนถึงขั้นติดลบ สอดคล้องกับดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจในเดือนนี้ปรับลดลงเหลือ 40.7 จากเดือนก่อน 41.5 ซึ่งเป็นการปรับลดลงทุกองค์ประกอบ ยกเว้นต้นทุนการผลิตที่ได้รับอานิสงส์ที่ดีจากราคาน้ำมันตลาดโลกลดลง ส่วนในอีก 3 เดือนข้างหน้าดัชนีปรับตัวดีขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 47.9 จากครั้งก่อน 44.1 ทั้งนี้ จากการสำรวจผู้ประกอบการ พบว่า ปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อความเชื่อมั่นในขณะนี้มีทั้งต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น สินค้าปรับราคาได้ยาก และความไม่แน่นอนด้านเศรษฐกิจ ซึ่งช่วงหลังผู้ประกอบการในประเทศเริ่มมีความกังวลด้านเศรษฐกิจมากขึ้น
การอุปโภคบริโภคภาคเอกชนชะลอตัวลงโดยเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อนขยายตัวเหลือ 7.2% ขณะที่เทียบกับเดือนก่อนลดลงจนติดลบ 0.6% โดยเฉพาะในหมวดยานยนต์ตามปริมาณจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์หดตัว ส่วนดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคโดยรวมปรับตัวลดลงเหลือ 77.7 จากเดือนก่อน 78.9 ซึ่งเป็นการลดลงทุกรายการทั้งในปัจจุบันและอนาคต
ส่วนผลผลิตอุตสาหกรรมขยายตัวจากช่วงเดียวกันปีก่อน 7.9% ชะลอตัวลงจากเดือนก่อนที่ 11% โดยเกิดจากผลผลิตที่ลดลงในหมวดยานยนต์ อาหาร อีกทั้งอุปสงค์จากต่างประเทศลดลง โดยเฉพาะในหมวดเครื่องใช้ไฟฟ้า และสิ่งทอ ส่วนหมวดเครื่องหนังก็ได้รับผลกระทบจากการปิดโรงงานขนาดใหญ่แห่งหนึ่ง ซึ่งได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจสหรัฐ นอกจากนี้หมวดเครื่องเรือนได้รับผลจากประเทศคู่ค้า โดยเฉพาะสหรัฐ และหมวดก่อสร้างและหมวดผลิตภัณฑ์เหล็กจากอุปสงค์ในประเทศที่ชะลอตัว
นายทิตนันทิ์ กล่าวว่า ภาคการส่งออกมีมูลค่า 15,788 ล้านเหรียญ หรือขยายตัว 15.5% ซึ่งการชะลอตัวลงจากด้านปริมาณเป็นหลัก ขณะที่ราคาอยู่ในระดับทรงๆ ตัว อีกทั้งในเดือนก่อนหน้าการส่งออกมีอัตราการเร่งมากเป็นพิเศษ ซึ่งสูงสุดเป็นประวัติการณ์ถึง 43.9% ทำให้การส่งออกในเดือนนี้ลดลงมาก นอกจากนี้สัดส่วนการส่งออกของไทยไปยังประเทศต่างๆ ก็ลดลงด้วย ส่วนการนำเข้ามีมูลค่า 16,463 ล้านเหรียญ หรือขยายตัว 26.9% ซึ่งเป็นการชะลอตัวจากปริมาณการนำเข้าสินค้าในทุกหมวด แต่การนำเข้าทองคำยังมีสัดส่วนที่สูง ทำให้ดุลการค้าในเดือนนี้ขาดดุล 675 ล้านเหรียญ และดุลบริการรายได้และเงินโอนขาดดุล 177 ล้านเหรียญ ทำให้ดุลบัญชีเดินสะพัดขาดดุล 853 ล้านเหรียญ และดุลการชำระเงินขาดดุล 850 ล้านเหรียญ
“ปัญหาสินเชื่อด้อยคุณภาพ(ซับไพรม์) ที่เริ่มมีปัญหาขึ้นตั้งแต่ไตรมาสที่ 2 ที่ผ่านมาก็กระทบการส่งออกไทยไม่มากนัก เนื่องจากมีการกระจายตลาดที่ดี แต่ก็เริ่มมีสัญญาณจากผู้ประกอบการบ้างว่าการแข่งขันในตลาดโลกเริ่มรุนแรงขึ้น และความต้องการสินค้าจากต่างประเทศลดลงจากความกังวลต่างๆ ที่เพิ่มขึ้น จึงต้องติดตามดูต่อไปว่าจะมีผลภาคอื่นๆ ของไทยด้วยหรือไม่”
สำหรับเงินทุนเคลื่อนย้ายในเดือนส.ค.มีการเกินดุล 123 ล้านเหรียญ โดยภาคธุรกิจที่มิใช่ธนาคารขาดดุลสุทธิ 593 ล้านเหรียญ เกิดจากการไหลออกของเงินลงทุนในตลาดหุ้นอย่างต่อเนื่องประมาณ 437 ล้านเหรียญ ขณะที่นักลงทุนไทยที่ไปลงทุนในต่างประเทศมีจำนวน 620 ล้านเหรียญ ภาคธนาคารเกินดุล 886 ล้านเหรียญ จากการปรับลดสินทรัพย์ต่างประเทศ ส่วนรัฐวิสาหกิจเกินดุลสุทธิ 137 ล้านเหรียญ ส่วนใหญ่จากการนำเข้าเงินฝากต่างประเทศของรัฐวิสาหกิจบางแห่ง ภาครัฐบาลขาดดุล 227 ล้นเหรียญ เนื่องจากธนาคารพาณิชย์ไทยซื้อคืนพันธบัตรรัฐบาลไทยที่ออกในญี่ปุ่น นอกจากนี้ในส่วนของธปท.มีการขาดดุลสุทธิ 80 ล้านเหรียญ จากการที่นักลงทุนต่างชาติขายคืนพันธบัตรเงินบาทของธปท.
ด้านเงินฝากของสถาบันการเงินขยายตัว 0.3% แต่เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าเพิ่มขึ้น 105.3 พันล้านบาท และหากนับรวมการออกตั๋วแลกเงิน เงินฝากจะขยายตัวที่ระดับ 3.6% ขณะที่สินเชื่อมีอัตราการขยายตัว11.3% เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าเพิ่มขึ้น 102.1 พันล้านบาท ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นของเงินทุนหมุนเวียนของภาคธุรกิจเป็นสำคัญ ดังนั้น อัตราการเร่งตัวของทั้งสินเชื่อและเงินฝากอยู่ในระดับที่ใกล้เคียงกัน