เดลิเมล์ - นอกจากโอกาสไต่เต้าอันตีบตัน รายได้ และภาระในการเลี้ยงดูลูกแล้ว ปัญหาใหญ่เรื่องใหม่ที่ผู้หญิงยุคนี้ต้องเผชิญยังรวมถึงการมีเจ้านายเพศเดียวกัน
นักวิจัยแคนาดาระบุว่า ผู้หญิงที่ต้องขึ้นตรงต่อหัวหน้าที่เป็นหญิงเหมือนกันจะรู้สึกกดดัน ซึมเศร้า นอนไม่หลับ ปวดศรีษะ มากกว่าการมีหัวหน้าเป็นผู้ชาย
จากการศึกษาพนักงาน 1,800 คนในสหรัฐฯ นักวิจัยแคนาดาอธิบายว่าปรากฏการณ์นี้อาจเกิดจาก ‘กลุ่มอาการราชินีผึ้ง’ ซึ่งหมายถึงพฤติกรรมที่ผู้หญิงที่ประสบความสำเร็จมักไม่ชอบให้ตัวเองถูกรายล้อมด้วยคู่แข่งเพศเดียวกัน
นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยโทรอนโทยังชี้ว่า ผู้หญิงมากมายไม่ชอบมีเจ้านายเพศเดียวกัน เนื่องจากติดกับความคิดเดิมๆ ที่ว่าการเป็นผู้นำเป็นบทบาทของเพศชาย และนี่อาจเป็นเหตุผลที่ฮิลลารี ฮิลตัน อกหักจากการลงสมัครเป็นตัวแทนพรรคเดโมแครตลงชิงชัยตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐฯ รวมถึงการที่เซโกลีน รอยาล พ่ายแพ้การเลือกตั้งประธานาธิบดีฝรั่งเศสเมื่อปีที่แล้ว
ในการทดลอง นักวิจัยเปรียบเทียบระดับความเครียดและสุขภาพร่างกายของพนักงานในสามสถานการณ์ ได้แก่ การทำงานกับเจ้านายผู้ชาย การทำงานกับเจ้านายผู้หญิง และการทำงานกับเจ้านายทั้งผู้ชายและผู้หญิง
ผลศึกษาพบว่า ผู้หญิงที่มีหัวหน้าเป็นผู้หญิงมีปัญหามากกว่าผู้หญิงที่ทำงานกับหัวหน้างานผู้ชาย โดยมีอาการตึงเครียดทางจิตใจ (เช่น นอนหลับยาก ไม่มีสมาธิในการทำงาน ซึมเศร้า และกังวล) และอาการทางร่างกาย (เช่น ปวดศรีษะ ปวดหรือจุกเสียดท้อง ปวดหลังและคอ และอ่อนเพลีย)
สำหรับผู้ชาย นักวิจัยพบว่ามีระดับความเครียดไม่แตกต่างกันไม่ว่าจะมีหัวหน้าเป็นผู้ชายหรือผู้หญิง
อย่างไรก็ตาม ผู้ชายที่ทำงานกับเจ้านายทั้งผู้ชายและผู้หญิงมีปัญหาทางร่างกายและจิตใจน้อยกว่าผู้ชายที่ทำงานกับเจ้านายผู้ชายหรือผู้หญิงเพียงคนเดียว
ดร.สก็อตต์ ชายแมน ผู้จัดทำผลการศึกษานี้ อธิบายว่าความแตกต่างเหล่านี้อาจเกิดจากความคิดที่ว่า เป็นเรื่อง ‘ปกติ’ มากกว่าที่ผู้ชายจะเป็นผู้นำและแสดงความเป็นผู้นำออกมา
ดังนั้น ผู้หญิงจึงอาจคาดไว้แล้วว่าเจ้านายผู้ชายจะต้องมีความก้าวร้าวและชอบสั่งการ และขณะเดียวกันกลับไม่คิดว่าพฤติกรรมแบบนี้จะออกมาจากเจ้านายผู้หญิง ซึ่งควรให้กำลังใจมากกว่า ผู้หญิงจึงผิดหวังเมื่อไม่ได้รับกำลังใจหรือการสนับสนุนจากหัวหน้างานเพศเดียวกัน แต่พลอยคิดไปว่าผู้หญิงที่ ‘มีการจัดการแบบผู้ชาย’ สร้างปัญหาและมีแนวโน้มที่จะขัดแย้งแข่งขันมากกว่า
อีกหนึ่งความเป็นไปได้คือ ผู้หญิงมีแนวโน้มทำงานที่หลากหลาย ซึ่งอาจทำให้ผลการศึกษาบิดเบือน
“ธรรมชาติของงานอาจมีอิทธิพลต่อความแตกต่างด้านสุขภาพร่างกายและจิตใจ ตัวอย่างเช่น ผู้หญิงที่ทำงานกับนายผู้หญิงมักอยู่ในสายงานการดูแลสุขภาพ หรืองานที่มีทรัพยากร ทุนและคุณค่าต่ำ เช่น งานสังคมสงเคราะห์นั้น ทำให้เกิดความเครียดทั้งต่อตัวพนักงานและหัวหน้า ซึ่งอาจทำให้หัวหน้าพาลมาลงกับลูกน้องได้
“อย่างไรก็ตาม คำอธิบายเหล่านี้ยังเป็นเพียงสมมติฐานที่จำเป็นต้องศึกษาขยายผลต่อไป”
นอกจากนี้ ยังมีงานวิจัยอีกชิ้นจากเยอรมนีที่ระบุว่า กลุ่มอาการราชินีผึ้งเป็นสาเหตุของการทะเลาะเบาะแว้งของผู้หญิงในที่ทำงาน
การวิจัยดังกล่าวพบว่า ผู้หญิงที่มีตำแหน่งสูงๆ มีแนวโน้มมองลูกน้องเพศเดียวกันว่าทุ่มเทและเอาใจใส่กับงานน้อยกว่าพนักงานชาย เนื่องจากต้องการปกป้องผลประโยชน์ของตนเอง
นักวิจัยแคนาดาระบุว่า ผู้หญิงที่ต้องขึ้นตรงต่อหัวหน้าที่เป็นหญิงเหมือนกันจะรู้สึกกดดัน ซึมเศร้า นอนไม่หลับ ปวดศรีษะ มากกว่าการมีหัวหน้าเป็นผู้ชาย
จากการศึกษาพนักงาน 1,800 คนในสหรัฐฯ นักวิจัยแคนาดาอธิบายว่าปรากฏการณ์นี้อาจเกิดจาก ‘กลุ่มอาการราชินีผึ้ง’ ซึ่งหมายถึงพฤติกรรมที่ผู้หญิงที่ประสบความสำเร็จมักไม่ชอบให้ตัวเองถูกรายล้อมด้วยคู่แข่งเพศเดียวกัน
นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยโทรอนโทยังชี้ว่า ผู้หญิงมากมายไม่ชอบมีเจ้านายเพศเดียวกัน เนื่องจากติดกับความคิดเดิมๆ ที่ว่าการเป็นผู้นำเป็นบทบาทของเพศชาย และนี่อาจเป็นเหตุผลที่ฮิลลารี ฮิลตัน อกหักจากการลงสมัครเป็นตัวแทนพรรคเดโมแครตลงชิงชัยตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐฯ รวมถึงการที่เซโกลีน รอยาล พ่ายแพ้การเลือกตั้งประธานาธิบดีฝรั่งเศสเมื่อปีที่แล้ว
ในการทดลอง นักวิจัยเปรียบเทียบระดับความเครียดและสุขภาพร่างกายของพนักงานในสามสถานการณ์ ได้แก่ การทำงานกับเจ้านายผู้ชาย การทำงานกับเจ้านายผู้หญิง และการทำงานกับเจ้านายทั้งผู้ชายและผู้หญิง
ผลศึกษาพบว่า ผู้หญิงที่มีหัวหน้าเป็นผู้หญิงมีปัญหามากกว่าผู้หญิงที่ทำงานกับหัวหน้างานผู้ชาย โดยมีอาการตึงเครียดทางจิตใจ (เช่น นอนหลับยาก ไม่มีสมาธิในการทำงาน ซึมเศร้า และกังวล) และอาการทางร่างกาย (เช่น ปวดศรีษะ ปวดหรือจุกเสียดท้อง ปวดหลังและคอ และอ่อนเพลีย)
สำหรับผู้ชาย นักวิจัยพบว่ามีระดับความเครียดไม่แตกต่างกันไม่ว่าจะมีหัวหน้าเป็นผู้ชายหรือผู้หญิง
อย่างไรก็ตาม ผู้ชายที่ทำงานกับเจ้านายทั้งผู้ชายและผู้หญิงมีปัญหาทางร่างกายและจิตใจน้อยกว่าผู้ชายที่ทำงานกับเจ้านายผู้ชายหรือผู้หญิงเพียงคนเดียว
ดร.สก็อตต์ ชายแมน ผู้จัดทำผลการศึกษานี้ อธิบายว่าความแตกต่างเหล่านี้อาจเกิดจากความคิดที่ว่า เป็นเรื่อง ‘ปกติ’ มากกว่าที่ผู้ชายจะเป็นผู้นำและแสดงความเป็นผู้นำออกมา
ดังนั้น ผู้หญิงจึงอาจคาดไว้แล้วว่าเจ้านายผู้ชายจะต้องมีความก้าวร้าวและชอบสั่งการ และขณะเดียวกันกลับไม่คิดว่าพฤติกรรมแบบนี้จะออกมาจากเจ้านายผู้หญิง ซึ่งควรให้กำลังใจมากกว่า ผู้หญิงจึงผิดหวังเมื่อไม่ได้รับกำลังใจหรือการสนับสนุนจากหัวหน้างานเพศเดียวกัน แต่พลอยคิดไปว่าผู้หญิงที่ ‘มีการจัดการแบบผู้ชาย’ สร้างปัญหาและมีแนวโน้มที่จะขัดแย้งแข่งขันมากกว่า
อีกหนึ่งความเป็นไปได้คือ ผู้หญิงมีแนวโน้มทำงานที่หลากหลาย ซึ่งอาจทำให้ผลการศึกษาบิดเบือน
“ธรรมชาติของงานอาจมีอิทธิพลต่อความแตกต่างด้านสุขภาพร่างกายและจิตใจ ตัวอย่างเช่น ผู้หญิงที่ทำงานกับนายผู้หญิงมักอยู่ในสายงานการดูแลสุขภาพ หรืองานที่มีทรัพยากร ทุนและคุณค่าต่ำ เช่น งานสังคมสงเคราะห์นั้น ทำให้เกิดความเครียดทั้งต่อตัวพนักงานและหัวหน้า ซึ่งอาจทำให้หัวหน้าพาลมาลงกับลูกน้องได้
“อย่างไรก็ตาม คำอธิบายเหล่านี้ยังเป็นเพียงสมมติฐานที่จำเป็นต้องศึกษาขยายผลต่อไป”
นอกจากนี้ ยังมีงานวิจัยอีกชิ้นจากเยอรมนีที่ระบุว่า กลุ่มอาการราชินีผึ้งเป็นสาเหตุของการทะเลาะเบาะแว้งของผู้หญิงในที่ทำงาน
การวิจัยดังกล่าวพบว่า ผู้หญิงที่มีตำแหน่งสูงๆ มีแนวโน้มมองลูกน้องเพศเดียวกันว่าทุ่มเทและเอาใจใส่กับงานน้อยกว่าพนักงานชาย เนื่องจากต้องการปกป้องผลประโยชน์ของตนเอง