พัทลุง - ผอ.กองทุนสงเคราะห์ จ.พัทลุง เตือนสติชาวนารุ่นหลังหันปลูกสวนยางทับที่นารับช่วงยางแพงลงทุนเปล่าประโยชน์ เพราะต้นยางเติบโตช้า น้ำยางน้อย ผลตอบแทนต่ำ หนำซ้ำบางแห่งแปลงนาข้าวเป็นสวนยางขวางทางน้ำของชลประทาน ซึ่งไม่ได้มีการส่งเสริมแต่อย่างใด และผลกระทบที่จะตามมาชาวสวนต้องเป็นผู้รับผิดชอบเอง โดยผลสำรวจในปี 2550-2551 มีการปลูกยางในนาข้าวแล้วเกือบ 1.5 แสนไร่ แนะศึกษาข้อมูลก่อนล่วงหน้า
นายประวิทย์ เรืองประดับ ผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง จ.พัทลุงกล่าวว่า จากกรณีราคายางพาราที่เพิ่มสูงขึ้นในช่วง 2 ปี ที่ผ่านมา ส่งผลให้เกษตรกรชาวนาใน จ.พัทลุง เปลี่ยนพื้นที่นาเป็นสวนยางพาราโดยไม่ได้ศึกษาผลกระทบในระยะยาวถึงข้อดีข้อเสียว่าเป็นอย่างไร
ตนอยากฝากเน้นย้ำแก่เกษตรกร โดยเฉพาะเกษตรกรชาวนาที่ทำการปลูกยางพาราในพื้นที่นา เนื่องจากเป็นการเสียโอกาส เสียเวลา และเป็นการลงทุนโดยเปล่าประโยชน์ เพราะหลังจาก 2 ปีไปแล้วยางพาราจะหยุดการเจริญเติบโต ระบบรากใต้ดินหยั่งลึกถึงระดับน้ำพอดี ส่งผลให้ต้นยางเจริญเติบโตช้า และก่อนถึงระยะกรีดต้องใช้เวลาประมาณ 8-10 ปี ซึ่งช้ากว่าการปลูกยางพาราในพื้นที่ราบสูง และเมื่อทำการกรีดไปได้ระยะหนึ่งน้ำยางจะออกน้อย เพราะต้นยางเล็กเกินกว่าขนาดปกติ เมื่อขายต้นยางก็ไม่ได้ราคา ส่งผลให้เกษตรกรเสียโอกาส เสียรายได้ และเสียเวลา
นายประวิทย์ กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า อีกกรณีหนึ่งที่กำลังประสบปัญหาอยู่ในขณะนี้คือ เกษตรกรไปปลูกยางพาราขวางทางน้ำของชลประทาน ซึ่งทางตนขอชี้แจงว่าการปลูกยางพาราในพื้นที่นาไม่มีเจ้าภาพ หากเกิดอะไรขึ้นเกษตรกรต้องรับผิดชอบเองทั้งหมด ซึ่งในปี 2550 จากการสำรวจมีเกษตรกรที่ปลูกยางพาราในนาข้าวไปแล้วจำนวน 40,000 ไร่ และยอดรวมปี 2551 มีเกษตรกรที่ปลูกยางพาราในนาข้าวไปแล้วจำนวนกว่า 100,000 ไร่
นายประวิทย์ เรืองประดับ ผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง จ.พัทลุงกล่าวว่า จากกรณีราคายางพาราที่เพิ่มสูงขึ้นในช่วง 2 ปี ที่ผ่านมา ส่งผลให้เกษตรกรชาวนาใน จ.พัทลุง เปลี่ยนพื้นที่นาเป็นสวนยางพาราโดยไม่ได้ศึกษาผลกระทบในระยะยาวถึงข้อดีข้อเสียว่าเป็นอย่างไร
ตนอยากฝากเน้นย้ำแก่เกษตรกร โดยเฉพาะเกษตรกรชาวนาที่ทำการปลูกยางพาราในพื้นที่นา เนื่องจากเป็นการเสียโอกาส เสียเวลา และเป็นการลงทุนโดยเปล่าประโยชน์ เพราะหลังจาก 2 ปีไปแล้วยางพาราจะหยุดการเจริญเติบโต ระบบรากใต้ดินหยั่งลึกถึงระดับน้ำพอดี ส่งผลให้ต้นยางเจริญเติบโตช้า และก่อนถึงระยะกรีดต้องใช้เวลาประมาณ 8-10 ปี ซึ่งช้ากว่าการปลูกยางพาราในพื้นที่ราบสูง และเมื่อทำการกรีดไปได้ระยะหนึ่งน้ำยางจะออกน้อย เพราะต้นยางเล็กเกินกว่าขนาดปกติ เมื่อขายต้นยางก็ไม่ได้ราคา ส่งผลให้เกษตรกรเสียโอกาส เสียรายได้ และเสียเวลา
นายประวิทย์ กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า อีกกรณีหนึ่งที่กำลังประสบปัญหาอยู่ในขณะนี้คือ เกษตรกรไปปลูกยางพาราขวางทางน้ำของชลประทาน ซึ่งทางตนขอชี้แจงว่าการปลูกยางพาราในพื้นที่นาไม่มีเจ้าภาพ หากเกิดอะไรขึ้นเกษตรกรต้องรับผิดชอบเองทั้งหมด ซึ่งในปี 2550 จากการสำรวจมีเกษตรกรที่ปลูกยางพาราในนาข้าวไปแล้วจำนวน 40,000 ไร่ และยอดรวมปี 2551 มีเกษตรกรที่ปลูกยางพาราในนาข้าวไปแล้วจำนวนกว่า 100,000 ไร่