ไม่ว่า “การเมืองใหม่” จะเดินไปถึงฝั่งฝันหรือไม่ แต่สังคมกำลังขานรับกันอย่างเต็มที่ ซึ่งอย่างน้อยก็จะทำให้การหาทางออกจากการเมืองน้ำเน่าได้เริ่มต้นขึ้น
แต่น่าเสียดาย การถกเถียงเรื่อง “การเมืองใหม่” จำกัดวงอยู่แค่ คนที่เข้าใจว่า ประชาธิปไตยไม่ใช่เพียงการเดินเข้าไปในคูหากาผิด (X)แล้วต้องจำนนต่อความผิดที่ตนได้เลือกมาเท่านั้น
เพราะนักวิชาการบางคนพยายามอธิบายว่า การต่อสู้ทางการเมือง คือการลงเลือกตั้ง พร้อมกับเสียงเรียกร้องให้พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยตั้งพรรคการเมืองลงมาสู้ในระบบ ซึ่งเป็นการตีความประชาธิปไตยแบบคับแคบกว่าการซื้อสินค้า ซึ่งมีใบรับประกัน 1 ปี หรือ 2 ปี ให้ลูกค้าเปลี่ยนสินค้าใหม่ได้ ถ้าผลิตภัณฑ์ที่เลือกซื้อมานั้นมันห่วย
ในบรรยากาศของการเมืองใหม่ เราน่าจะเรียกนักวิชาการเหล่านั้นว่า นักวิชาการเก่า ซึ่งได้แต่หวังว่า สักวันข้างหน้า นักวิชาการเก่าเหล่านั้นจะออกมาพ้นจากตำราและเข้าใจว่า ประชาธิปไตยมีมากกว่านั้น ไม่ใช่เลือกผิด (X) ไปแล้วก็ต้องทนไปอีก 4 ปี แล้วค่อยมาลงคะแนนเลือกกันใหม่ หรือเข้าใจแค่ว่า การเมืองคือ การตั้งพรรคการเมืองลงแข่งขัน
ข้อเสนอ “การเมืองใหม่” เพื่อหาทางออกให้กับการเมืองน้ำเน่า การเมืองของนายทุน การเมืองของการแสวงผลประโยชน์ ของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ไม่ได้ผูกขาด แต่เป็นการโยนประเด็นให้สังคมช่วยกันขบคิดจากปรากฏการณ์ทางการเมืองที่เป็นจริง ซึ่งเราจะปฏิเสธไม่ได้เลยว่า ประชาธิปไตยไทยไม่ได้พัฒนาไปไหนเลยตั้งแต่ปี 2475 เป็นต้นมา แต่พอมีเสียงเรียกร้องให้ช่วยกันขบคิดหาทางออกก็มีคนมาตะโกนว่า “ถอยหลังเข้าคลอง” ในขณะที่สังคมไทยยืนอยู่บนปากเหว
เช่นเดียวกับ ความเห็นของธงชัย วินิจจะกูล ศาสตราจารย์แห่งมหาวิทยาลัยวิสคอนซิลก่อนหน้านี้ที่ว่า ข้ออ้างว่า ประชาชนไม่ได้รับข่าวสาร ยังขาดการศึกษา ยังโง่อยู่ ล้วนเป็นข้ออ้างที่ฟังไม่ขึ้น ต่อให้เป็นความจริงก็ตาม เพราะประชาธิปไตยคือระบอบการเมืองของคนส่วนใหญ่ (ไม่ว่าจะรู้ข่าวสารดีพอขนาดไหน โง่หรือฉลาดปานใด) ไม่ใช่ระบอบการปกครองที่ให้อภิสิทธิ์แก่คนฉลาด ผู้มีการศึกษา หรือคนเมืองเหนือคนอื่นๆ ที่ด้อยการศึกษาหรือฉลาดน้อยกว่า
ความเห็นของธงชัยเป็นความเห็นที่พูดอีกก็ถูกอีก เหมือนถ้าฝนตกก็ต้องเปียก ทั้งที่จริงๆแล้ว มีทางออกไม่ให้เปียกฝนตั้งหลายทาง แน่นอนว่า เราคงจะไม่สามารถทำให้ประชาชนฉลาดเท่าทันกันทุกคนได้ แต่ประเด็นไม่ได้อยู่ที่ว่า ข้ออ้างว่า ประชาชนไม่ได้รับข่าวสาร ยังขาดการศึกษา ยังโง่อยู่ ล้วนเป็นข้ออ้างที่ฟังไม่ขึ้นหรือไม่ เพราะไม่มีใครคิดรอนสิทธิประชาชนที่ความโง่หรือความฉลาด แต่อยู่ที่ว่า สิ่งนั้นเป็นความจริงหรือไม่ แล้วเราจะหาทางออกอย่างไร
เราควรจะออกแบบ “การเมืองใหม่” อย่างไรให้สอดคล้องกับความจริงของสังคมที่ประชาชนไม่ได้รับข่าวสาร ยังขาดการศึกษา ยังโง่อยู่ เพื่อให้เขามีสิทธิ มีความเท่าเทียมกับคนฉลาด มีข้อมูลข่าวสาร ในระบอบประชาธิปไตย
76 ปีของสิ่งที่เราเรียกว่า ระบอบประชาธิปไตย การพัฒนาความรู้ของประชาชนต่อระบอบประชาธิปไตยกับการพัฒนาของทุนการเมืองอย่างไหนได้พัฒนาไปสู่อัตราที่ก้าวหน้ากว่ากัน และปัจจุบันเราเชื่อว่า พรรคการเมืองก็คือ บริษัทหรือบรรษัทในการลงทุนทางการเมือง หรือถูกผูกขาดจากกลุ่มทุนใช่หรือไม่
อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย ถ้านโยบาย อุดมการณ์ แนวคิด ของพรรคการเมืองที่ชนะการเลือกตั้งบิดผันไปจากคำสัญญาก่อนลงคะแนนเสียง จนประชาชนหมดศรัทธาต่อพรรคการเมืองนั้น พรรคการเมืองนั้นกระทำผิดกฎหมาย และแสวงหาผลประโยชน์โดยมิชอบ ประชาชนก็ควรมีสิทธิลุกขึ้นมาขับไล่ แม้ว่าคนที่ตื่นขึ้นจะไม่ใช่คนส่วนใหญ่ของสังคมแต่คือคนที่รู้เท่าทันหยิบมือหนึ่งก็ตาม
น่าตลกที่ว่า การออกมาเดินขบวนชุมนุมขับไล่รัฐบาลที่ไม่ชอบธรรมและทำผิดกฎหมาย กลับกลายเป็นความไม่ชอบธรรมในระบอบประชาธิปไตยในสายตาของนักวิชาการเก่าบางคน
ทั้งที่การชุมนุมของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย อย่างต่อเนื่องยาวนานกว่า 4 เดือน ซึ่งได้กลายเป็นพัฒนาการของการชุมนุมในประเทศประชาธิปไตย เป็นการชุมนุมที่มีการถ่ายทอดสดทางโทรทัศน์ตลอด 24 ชั่วโมง และมีผู้ขึ้นเวทีไปวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลอย่างต่อเนื่องทุกวินาที และน่าจะเป็นการชุมนุมการปักหลักพักค้างที่ยาวนานที่สุดในโลกด้วย และสามารถยับยั้งการกระทำที่ไม่ชอบธรรมของรัฐบาลได้กว่า 40 เรื่อง
นพ.ประเวศ วะสี บอกว่า ผลพวงการต่อสู้ของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยนอกจากทำให้การเมืองภาคประชาชน และสังคมเข้มแข็งขึ้นแล้วการรวมตัวของมหาชนอันหลากหลายจำนวนมากนับแสนนับล้าน เป็นพลังทางสังคมที่ทำให้ทักษิณานุภาพแม้ทรงมหิธานุภาพเพียงใด ก็อ่อนกำลังลงและเปิดโอกาสให้กระบวนการยุติธรรมเข้มแข็งขึ้น
การกล่าวเช่นนั้นของนพ.ประเวศ วะสี ไม่ได้เกินเลยข้อเท็จจริงเลย นอกจากนักวิชาการบางคนที่ปิดหูปิดตา มีอคติแอบแฝงต่อพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย หรือพวกเข้าใจว่า การเมืองภาคประชาชนแบบคัดแคบอย่างประภาส ปิ่นตบแต่ง ที่ได้รับการสถาปนาเป็นอาจารย์รัฐศาสตร์ แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
นักวิชาการหลายคนบอกตัวเองว่า เป็นพวกไม่เอาทักษิณ ไม่เอาพันธมิตรฯ แต่ไม่ยอมบอกสังคมว่าตัวเองเอาอะไร นอกจากกลายเป็นพวกคอยจับผิด และไม่รับฟังความเห็นที่แตกต่างจากตัวเอง คล้ายๆ กับสำนวนไทยว่า “มือไม่พาย เอาเท้าราน้ำ” หรือเรียกว่า พวกเอาตัวเองเป็นใหญ่ก็ได้
นักวิชาการเก่าหลายคนไม่เห็นด้วยกับการที่พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยเข้ายึดทำเนียบรัฐบาล แต่สำหรับผมแล้วคิดว่า นี่คือพัฒนาการของระบอบประชาธิปไตยที่ประชาชนควรกระทำแก่รัฐบาลที่ฉ้อฉล เพราะอย่างน้อยก็เป็นการส่งสัญญาณในทางสัญลักษณ์ว่า นี่คือรัฐบาลที่ไม่ชอบธรรม
ครั้งหนึ่งจอน อึ๊งภากรณ์ ก็เคยพากลุ่มผู้ชุมนุมบุกเข้าไปในสภาเพื่อขัดขวางการชุมนุมของสมาชิกสภานิติบัญญัติ เพื่อเรียกร้อง สนช.ให้ยุติการเร่งพิจารณาผ่านกฎหมายสำคัญๆ ก่อนที่จะหมดวาระ ซึ่งผมเห็นว่า นี่ก็คือวิถีทางในระบอบประชาธิปไตย
การบุกเข้ายึดทำเนียบรัฐบาลและสภาอาจมีความแตกต่างกันในเงื่อนเวลา และมีเป้าหมายเหมือนกันคือ การขัดขวางไม่ให้หน่วยงานนั้นกระทำในสิ่งที่ไม่ชอบธรรมได้
ไม่ว่าใครจะเห็นด้วยหรือไม่ก็ตาม แต่การแสดงความเห็นของผมคือ การแสดงความเห็นในฐานะปัจเจกชนที่คิดว่า ตัวเองเป็นส่วนหนึ่งของสาธารณะแม้ว่าจะถูกมองว่าเป็นวิวาทะหรือความขัดแย้งก็ตาม
น่าตลกอีกอย่างของสังคมก็คือ เมื่อเราตอบโต้คนที่เห็นต่างกับเรา เราจะถูกกล่าวหาว่า เป็นคนไม่เคารพความเห็นต่าง คล้ายกับว่า นักวิชาการบางคนเป็นผู้มีความรู้ เป็นปัญญาชนของสังคมที่เราจะต้องค้อมหัวยอมรับ แม้ว่าเราไม่อาจจะยอมรับความเห็นนั้นได้ก็ตาม
หรือบางทีเราต้องคาดหวังสังคมใหม่ ค่านิยมใหม่ นักวิชาการใหม่ ในการเมืองใหม่ด้วย
แต่น่าเสียดาย การถกเถียงเรื่อง “การเมืองใหม่” จำกัดวงอยู่แค่ คนที่เข้าใจว่า ประชาธิปไตยไม่ใช่เพียงการเดินเข้าไปในคูหากาผิด (X)แล้วต้องจำนนต่อความผิดที่ตนได้เลือกมาเท่านั้น
เพราะนักวิชาการบางคนพยายามอธิบายว่า การต่อสู้ทางการเมือง คือการลงเลือกตั้ง พร้อมกับเสียงเรียกร้องให้พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยตั้งพรรคการเมืองลงมาสู้ในระบบ ซึ่งเป็นการตีความประชาธิปไตยแบบคับแคบกว่าการซื้อสินค้า ซึ่งมีใบรับประกัน 1 ปี หรือ 2 ปี ให้ลูกค้าเปลี่ยนสินค้าใหม่ได้ ถ้าผลิตภัณฑ์ที่เลือกซื้อมานั้นมันห่วย
ในบรรยากาศของการเมืองใหม่ เราน่าจะเรียกนักวิชาการเหล่านั้นว่า นักวิชาการเก่า ซึ่งได้แต่หวังว่า สักวันข้างหน้า นักวิชาการเก่าเหล่านั้นจะออกมาพ้นจากตำราและเข้าใจว่า ประชาธิปไตยมีมากกว่านั้น ไม่ใช่เลือกผิด (X) ไปแล้วก็ต้องทนไปอีก 4 ปี แล้วค่อยมาลงคะแนนเลือกกันใหม่ หรือเข้าใจแค่ว่า การเมืองคือ การตั้งพรรคการเมืองลงแข่งขัน
ข้อเสนอ “การเมืองใหม่” เพื่อหาทางออกให้กับการเมืองน้ำเน่า การเมืองของนายทุน การเมืองของการแสวงผลประโยชน์ ของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ไม่ได้ผูกขาด แต่เป็นการโยนประเด็นให้สังคมช่วยกันขบคิดจากปรากฏการณ์ทางการเมืองที่เป็นจริง ซึ่งเราจะปฏิเสธไม่ได้เลยว่า ประชาธิปไตยไทยไม่ได้พัฒนาไปไหนเลยตั้งแต่ปี 2475 เป็นต้นมา แต่พอมีเสียงเรียกร้องให้ช่วยกันขบคิดหาทางออกก็มีคนมาตะโกนว่า “ถอยหลังเข้าคลอง” ในขณะที่สังคมไทยยืนอยู่บนปากเหว
เช่นเดียวกับ ความเห็นของธงชัย วินิจจะกูล ศาสตราจารย์แห่งมหาวิทยาลัยวิสคอนซิลก่อนหน้านี้ที่ว่า ข้ออ้างว่า ประชาชนไม่ได้รับข่าวสาร ยังขาดการศึกษา ยังโง่อยู่ ล้วนเป็นข้ออ้างที่ฟังไม่ขึ้น ต่อให้เป็นความจริงก็ตาม เพราะประชาธิปไตยคือระบอบการเมืองของคนส่วนใหญ่ (ไม่ว่าจะรู้ข่าวสารดีพอขนาดไหน โง่หรือฉลาดปานใด) ไม่ใช่ระบอบการปกครองที่ให้อภิสิทธิ์แก่คนฉลาด ผู้มีการศึกษา หรือคนเมืองเหนือคนอื่นๆ ที่ด้อยการศึกษาหรือฉลาดน้อยกว่า
ความเห็นของธงชัยเป็นความเห็นที่พูดอีกก็ถูกอีก เหมือนถ้าฝนตกก็ต้องเปียก ทั้งที่จริงๆแล้ว มีทางออกไม่ให้เปียกฝนตั้งหลายทาง แน่นอนว่า เราคงจะไม่สามารถทำให้ประชาชนฉลาดเท่าทันกันทุกคนได้ แต่ประเด็นไม่ได้อยู่ที่ว่า ข้ออ้างว่า ประชาชนไม่ได้รับข่าวสาร ยังขาดการศึกษา ยังโง่อยู่ ล้วนเป็นข้ออ้างที่ฟังไม่ขึ้นหรือไม่ เพราะไม่มีใครคิดรอนสิทธิประชาชนที่ความโง่หรือความฉลาด แต่อยู่ที่ว่า สิ่งนั้นเป็นความจริงหรือไม่ แล้วเราจะหาทางออกอย่างไร
เราควรจะออกแบบ “การเมืองใหม่” อย่างไรให้สอดคล้องกับความจริงของสังคมที่ประชาชนไม่ได้รับข่าวสาร ยังขาดการศึกษา ยังโง่อยู่ เพื่อให้เขามีสิทธิ มีความเท่าเทียมกับคนฉลาด มีข้อมูลข่าวสาร ในระบอบประชาธิปไตย
76 ปีของสิ่งที่เราเรียกว่า ระบอบประชาธิปไตย การพัฒนาความรู้ของประชาชนต่อระบอบประชาธิปไตยกับการพัฒนาของทุนการเมืองอย่างไหนได้พัฒนาไปสู่อัตราที่ก้าวหน้ากว่ากัน และปัจจุบันเราเชื่อว่า พรรคการเมืองก็คือ บริษัทหรือบรรษัทในการลงทุนทางการเมือง หรือถูกผูกขาดจากกลุ่มทุนใช่หรือไม่
อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย ถ้านโยบาย อุดมการณ์ แนวคิด ของพรรคการเมืองที่ชนะการเลือกตั้งบิดผันไปจากคำสัญญาก่อนลงคะแนนเสียง จนประชาชนหมดศรัทธาต่อพรรคการเมืองนั้น พรรคการเมืองนั้นกระทำผิดกฎหมาย และแสวงหาผลประโยชน์โดยมิชอบ ประชาชนก็ควรมีสิทธิลุกขึ้นมาขับไล่ แม้ว่าคนที่ตื่นขึ้นจะไม่ใช่คนส่วนใหญ่ของสังคมแต่คือคนที่รู้เท่าทันหยิบมือหนึ่งก็ตาม
น่าตลกที่ว่า การออกมาเดินขบวนชุมนุมขับไล่รัฐบาลที่ไม่ชอบธรรมและทำผิดกฎหมาย กลับกลายเป็นความไม่ชอบธรรมในระบอบประชาธิปไตยในสายตาของนักวิชาการเก่าบางคน
ทั้งที่การชุมนุมของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย อย่างต่อเนื่องยาวนานกว่า 4 เดือน ซึ่งได้กลายเป็นพัฒนาการของการชุมนุมในประเทศประชาธิปไตย เป็นการชุมนุมที่มีการถ่ายทอดสดทางโทรทัศน์ตลอด 24 ชั่วโมง และมีผู้ขึ้นเวทีไปวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลอย่างต่อเนื่องทุกวินาที และน่าจะเป็นการชุมนุมการปักหลักพักค้างที่ยาวนานที่สุดในโลกด้วย และสามารถยับยั้งการกระทำที่ไม่ชอบธรรมของรัฐบาลได้กว่า 40 เรื่อง
นพ.ประเวศ วะสี บอกว่า ผลพวงการต่อสู้ของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยนอกจากทำให้การเมืองภาคประชาชน และสังคมเข้มแข็งขึ้นแล้วการรวมตัวของมหาชนอันหลากหลายจำนวนมากนับแสนนับล้าน เป็นพลังทางสังคมที่ทำให้ทักษิณานุภาพแม้ทรงมหิธานุภาพเพียงใด ก็อ่อนกำลังลงและเปิดโอกาสให้กระบวนการยุติธรรมเข้มแข็งขึ้น
การกล่าวเช่นนั้นของนพ.ประเวศ วะสี ไม่ได้เกินเลยข้อเท็จจริงเลย นอกจากนักวิชาการบางคนที่ปิดหูปิดตา มีอคติแอบแฝงต่อพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย หรือพวกเข้าใจว่า การเมืองภาคประชาชนแบบคัดแคบอย่างประภาส ปิ่นตบแต่ง ที่ได้รับการสถาปนาเป็นอาจารย์รัฐศาสตร์ แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
นักวิชาการหลายคนบอกตัวเองว่า เป็นพวกไม่เอาทักษิณ ไม่เอาพันธมิตรฯ แต่ไม่ยอมบอกสังคมว่าตัวเองเอาอะไร นอกจากกลายเป็นพวกคอยจับผิด และไม่รับฟังความเห็นที่แตกต่างจากตัวเอง คล้ายๆ กับสำนวนไทยว่า “มือไม่พาย เอาเท้าราน้ำ” หรือเรียกว่า พวกเอาตัวเองเป็นใหญ่ก็ได้
นักวิชาการเก่าหลายคนไม่เห็นด้วยกับการที่พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยเข้ายึดทำเนียบรัฐบาล แต่สำหรับผมแล้วคิดว่า นี่คือพัฒนาการของระบอบประชาธิปไตยที่ประชาชนควรกระทำแก่รัฐบาลที่ฉ้อฉล เพราะอย่างน้อยก็เป็นการส่งสัญญาณในทางสัญลักษณ์ว่า นี่คือรัฐบาลที่ไม่ชอบธรรม
ครั้งหนึ่งจอน อึ๊งภากรณ์ ก็เคยพากลุ่มผู้ชุมนุมบุกเข้าไปในสภาเพื่อขัดขวางการชุมนุมของสมาชิกสภานิติบัญญัติ เพื่อเรียกร้อง สนช.ให้ยุติการเร่งพิจารณาผ่านกฎหมายสำคัญๆ ก่อนที่จะหมดวาระ ซึ่งผมเห็นว่า นี่ก็คือวิถีทางในระบอบประชาธิปไตย
การบุกเข้ายึดทำเนียบรัฐบาลและสภาอาจมีความแตกต่างกันในเงื่อนเวลา และมีเป้าหมายเหมือนกันคือ การขัดขวางไม่ให้หน่วยงานนั้นกระทำในสิ่งที่ไม่ชอบธรรมได้
ไม่ว่าใครจะเห็นด้วยหรือไม่ก็ตาม แต่การแสดงความเห็นของผมคือ การแสดงความเห็นในฐานะปัจเจกชนที่คิดว่า ตัวเองเป็นส่วนหนึ่งของสาธารณะแม้ว่าจะถูกมองว่าเป็นวิวาทะหรือความขัดแย้งก็ตาม
น่าตลกอีกอย่างของสังคมก็คือ เมื่อเราตอบโต้คนที่เห็นต่างกับเรา เราจะถูกกล่าวหาว่า เป็นคนไม่เคารพความเห็นต่าง คล้ายกับว่า นักวิชาการบางคนเป็นผู้มีความรู้ เป็นปัญญาชนของสังคมที่เราจะต้องค้อมหัวยอมรับ แม้ว่าเราไม่อาจจะยอมรับความเห็นนั้นได้ก็ตาม
หรือบางทีเราต้องคาดหวังสังคมใหม่ ค่านิยมใหม่ นักวิชาการใหม่ ในการเมืองใหม่ด้วย