ที่อาคารัฐสภา 2 วานนี้ (9 ก.ย.) คณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชน สิทธิเสรีภาพ และการคุ้มครองผู้บริโภค วุฒิสภา จัดเสวนาเรื่อง ทางออกและอนาคตสังคมไทย ในวิกฤติความรุนแรง นายทวี สุรฤทธิกุล ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประจำสาขาวิชารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช กล่าวว่า ภาพรวมทางการเมืองในขณะนี้ ในแง่ดีมี 2 ประการ คือ1.สังคมประสานเสียงในการไม่ใช้ความรุนแรง สังคมจำกัดให้ชุมนุมอย่างสันติ ไม่ขยายขอบเขตไปต่างจังหวัด ทำให้ไม่เกิดสงครามกลางเมือง
2.การเมืองภาคประชาชนตื่นตัว และจุดเริ่มต้นของการเมืองเชิงจริยธรรมทั้งตัวบุคคลและระบบ อย่างไรก็ดี จุดนี้แสดงภาพลักษณ์นักการเมืองที่ไม่เคยเปลี่ยนแปลง คือการคำนึงแต่ประโยชน์ส่วนตน นักการเมืองน้ำเน่า ทำให้คนเบื่อ ขอให้จับตาดูคดี ชิมไปบ่นไป ของนายกฯ ว่าผลออกมาอย่างไรแล้วนายกฯจะทำตัวอย่างไร
ส่วนแง่ที่ไม่ดีคือ สังคมคุยกันยากขึ้นเรื่อยๆ ฟื้นฟูระบบรัฐสภายาก แม้ศาลจะเป็นทางออก แต่อาจไม่ทันใจ ฉะนั้น การยุบสภา น่าจะเป็นทางออกในขณะนี้ พันธมิตรฯ ก็อาจเข้ามาสู่กระบวนการนี้ จะช่วยให้การเมืองอีกภาคส่วนเข้มแข็งได้
สำหรับอนาคตการเมืองไทย ถึงอย่างไรก็ตามก็ต้องพึ่งระบบรัฐสภา ฉะนั้นต้องมีรัฐสภาภิวัตน์ ควบคู่กับการเมืองภาคประชาชน หากร่างรัฐธรรมนูญใหม่ ต้องเอาทั้งสองส่วนมาวางเป็นโครงสร้าง ตนไม่ห่วงว่า การเมืองภาคประชาชนจะเป็นอนาธิปไตย เพราะคิดว่า ประชาชนจะพัฒนาได้ ส่วนความขัดแย้งที่ยังมีอยู่ ระยะยาวสามารถประสานกลมกลืนกันได้ เหตุการณ์ครั้งนี้น่าจะชั่วคราว ตนยังมองว่า วิกฤติครั้งนี้เป็นโอกาสดีในการสร้างการพัฒนาการเมือง
นายพิชาย รัตนดิลก ณ ภูเก็ต ผู้อำนวยการโครงการปริญญาโท คณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์(นิด้า) กล่าวว่า ปัจจุบันกลุ่มทุนรุกคืบผ่านระบบเลือกตั้ง ประกอบกับสังคมไทยเป็นระบบอุปถัมภ์ ผลคือ เปิดโอกาสให้กลุ่มเดียวคือกลุ่มทุนเข้าสู่อำนาจ กลุ่มทุนก็แปลงระบบเลือกตั้งเป็นตลาดซื้อเสียง ถือเป็นการประกอบอาชญากรรมกับระบอบประชาธิปไตย ประชาธิปไตยเป็นเพียงการสร้างความชอบธรรมเชิงอำนาจให้กลุ่มทุน ประเทศไทย ไม่เคยมีเลือกตั้งแข่งกัน มีแต่ซื้อเสียงแข่งกัน จึงเป็นการกีดกันทางการเมืองโดยระบบของตัวเอง อีกด้านหนึ่ง เมื่อชนชั้นกลางเติบโตขึ้น และเห็นระบบดังกล่าวกีดกันกลุ่มตนไม่ให้เข้าสู่พื้นที่อำนาจทางการเมือง ก็พยายามช่วงชิง ดูจากการปฏิรูปการเมืองปี 2540 มีข้อดีมหาศาล
อย่างไรก็ดี เรายังติดกรอบเรื่อง การต้องมีการเลือกตั้งแบบตัวแทนพื้นที่ จึงมีความพยายามสร้างระบบเลือกตั้งที่ขาวสะอาดมากที่สุด เช่น มี กกต. หรือ ออกแบบระบบเขตเดียวเบอร์เดียว ระบบัญชีรายชื่อ แต่ก็แก้ปัญหาไม่ได้ เพราะตัวแทนเชิงกลุ่มเข้ามาไม่ได้ ฉะนั้นการหลุดพ้น ต้องออกแบบวิธีการเลือกตั้งใหม่ ให้มีตัวแทนเชิงกลุ่มเข้ามาคู่ขนานกับตัวแทนเชิงพื้นที่ เพื่อให้เวทีรัฐสภาเป็นเวทีต่อรอง ของกลุ่มที่หลากหลาย
นายพิชาย กล่าวด้วยว่า สำหรับคดีชิมไปบ่นไปของนาย สมัคร สุนทรเวช นายกฯ ถ้าหลุดจากตำแหน่ง จะเป็นช่องว่าง แต่ละกลุ่มจะช่วงชิงการนำ โดยพรรคพลังประชาชน ส่วนพรรคชาติไทย ก็จะพยายามหาโอกาสผลักดันนายบรรหาร ศิลปอาชา เป็นนายกฯ รวมถึงพรรคประชาธิปัตย์ ก็ต้องช่วงชิงการนำ แต่ไม่ว่าใครจะเป็นนายกฯ คงไม่ทำให้อะไรดีขึ้นมากมาย ตนเสนอว่า ให้ ส.ส. และส.ว. พิจารณางดใช้มาตรา 171 วรรค 2 กรณีนายกฯต้องมาจาก ส.ส. อย่างไรก็ดี เพื่อความประนีประนอมน่าจะเป็นสมาชิกรัฐสภา ซึ่งหมายความว่า นายประสพสุข บุญเดช ประธานวุฒิสภา ก็น่าจะมารักษาการนายกฯชั่วคราว เพราะเป็นคนประนีประนอม เพื่อแก้รัฐธรรมนูญหรือจัดการระบบเลือกตั้งใหม่
แต่ทั้งนี้ ถ้านักการเมืองมีความรับผิดชอบทางการเมือง และมีจริยธรรม คงลาออกไปตั้งแต่กรณีศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยการลงนามไทย-กัมพูชา เรื่องประสาทพระวิหารแล้ว ไม่ต้องให้มีการชุมนุมจนเกิดวิกฤตแบบนี้
นายปริญญา เทวานฤมิตรกุล รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า ทางออกของบ้านเมือง ระยะสั้นต้องช่วยกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์นองเลือด การเจรจาที่ทำกันอยู่โดยประธานวุฒิสภาเป็นคนกลางนั้น ในอดีตการเจรจา ไม่เคยสำเร็จต่อหน้าสื่อมวลชน ตนเป็นห่วงว่า วุฒิสภาทำโดยเปิด จะทำให้การเจรจาเกิดขึ้นไม่ได้ ต้องคุยทีละฝ่ายจนเห็นจุดร่วมที่พอจะไปกันได้ แล้วค่อยให้มาเจอกัน หากทำเหมือนที่เป็นอยู่ในขณะนี้เกรงว่าจะไม่สำเร็จ เรื่องความรุนแรงต้องไม่มีข้าง วุฒิสภาต้องโน้มน้าวทุกฝ่าย
นอกจากนี้ อาจเจรจาว่า หากรัฐบาลถอนข้อหากบฎ พันธมิตรฯ จะเปลี่ยนที่ชุมนุมได้หรือไม่ หรือให้มาคุยกันว่า พอจะยอมแก้รัฐธรรมนูญอะไรบางอย่าง แล้วยุบสภาเลือกตั้ง เพื่อนำไปสู่การปฏิรูปการเมือง มีส.ส.ร. 3 นำไปสู่การแก้ไขระยะยาวที่ต้องทำให้อำนาจอธิปไตย 3 ฝ่าย เป็นอิสระจากกัน ถึงจะถ่วงดุลกันได้ เพราะโจทย์ใหญ่คือฝ่ายนิติบัญญัติไม่เป็นอิสระจากฝ่ายบริหาร และต้องทำให้รัฐธรรมนูญเป็นสัญญาประชาคม เป็นกติกาของนทุกฝ่ายให้ได้
นางนฤมล ทับจุมพล อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า ที่มาของความขัดแย้ง เกิดจากวิกฤตของความชอบธรรมของทั้งรัฐบาล และพันธมิตรฯ จึงเกิดความพยายามที่จะสร้างวาทะกรรมเพื่อสร้างความชอบธรรมให้ตัวเอง จึงทำให้ทั้ง 2 ฝ่ายไม่สนใจใครโดยอ้างว่าตัวเองถูกต้อง ทำให้ไม่มีพื้นที่เจรจา จนทำให้ประชาธิปไตยกลายเป็นสีเทา อย่างไรก็ดี ตนอยากให้มีการเจรจาของทั้ง 2 ฝ่ายไม่ว่าจะวิธีใดก็ตาม แต่ต้องไม่สร้างบรรยากาศหลังชนฝา
อยากให้ทุกฝ่ายหาทางออกเหมือน พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ อดีตนายกรัฐมนตรี ที่แสดงความรับผิดชอบในปี 2540 เนื่องจากประเทศเกิดวิกฤติเศรษฐกิจ การตัดสินใจลาออก หรือยุบสภา ของนายกฯน่าจะทำได้เลย ทำไมต้องรอศาลตัดสินว่า ตัวเองผิดแล้วจึงจะลาออก เชื่อว่าหากนายกฯลาออก ก็ให้พรรคการเมืองที่เหลือ วางกรอบกติการใหม่ในการบริหารประเทศได้ ซึ่งยังเชื่อว่าการเมืองในระบบยังสามารถทำหน้าที่ให้เราได้ โดยประชาชนจะเป็นผู้กำหนดอนาคตของประชาธิปไตยไทย นางนฤมล กล่าว และว่า วุฒิสภา อาจตั้งคณะกรรมธิการวิสามัญศึกษาการปฏิรูปการเมือง และคณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชนฯ ดูคดีต่างๆ ที่เกิดจากความขัดแย้งทางการเมืองทั้งหลาย
นายสุริชัย หวันแก้ว รองศาสตราจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย กล่าวว่า ถ้าสังคมมองเห็นอนาคตเมืองไทยเป็นแค่คนสองฝ่าย คงไม่มีทางมองเห็นอนาคต ตนขอให้มองคนที่ยังมีอยู่อีกหลายฝ่าย และมาร่วมกันหารือ และมองให้เห็นถึงรากเหง้าของปัญหา นั่นคือ จริยธรรมของการเมือง เพราะถ้าอำนาจการเมืองมีไว้เพื่อชนะ พวกใครพวกมัน ทีใครทีมัน สังคมจะพากันลงเหว
นอกจากนี้วิกฤติการเมืองที่ตอนนี้เถียงกันเพียงว่า ใครถูกใครผิด ตนมองว่า หน่อมแน้มมาก เพราะมันไม่ใช่ชั้นเดียว แต่มีมิติเรื่องเวลามาเกี่ยวข้อง ฉะนั้นทุกฝ่าย ต้องปรับตัวเข้าหากันเพื่อเป็นการเมืองแห่งการเปลี่ยนผ่านไปสู่การปฏิรูปให้ได้ ไม่ใช่เปลี่ยนแล้วยังอยู่แบบเก่าหรือไปสู่ความรุนแรง
นาย ไพโรจน์ พงษ์เพรช ประธานคณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชน กล่าวว่า ความรุนแรงที่เกิดขึ้นเนื่องจากมีการบ่มเพาะความเกลียดชังโดยใช้สื่อเป็นเครื่องมือเพื่อกำจัดคู่ต่อสู้ ซึ่งความรุนแรงเกิดขึ้นตั้งแต่มีการปะทะกันของประชาชนทั้ง 2 ฝ่าย จนมีคนตาย ฉะนั้นอยากให้รัฐบาลรับผิดชอบ เพราะสังคมไทยเชื่อว่า หากเกิดความขัดแย้งจนมีความรุนแรงจะทำให้อีกฝ่ายชนะ ซึ่งปัญหาเหล่านี้มีมานานแล้วแต่ยังไม่มีใครเยียวยาความรุนแรงได้ เพราะผู้นำไม่นำพา คือไม่รู้สึกสำนึกชั่วดี และตนอยากให้นายกฯลาออก หรือยุบสภา
2.การเมืองภาคประชาชนตื่นตัว และจุดเริ่มต้นของการเมืองเชิงจริยธรรมทั้งตัวบุคคลและระบบ อย่างไรก็ดี จุดนี้แสดงภาพลักษณ์นักการเมืองที่ไม่เคยเปลี่ยนแปลง คือการคำนึงแต่ประโยชน์ส่วนตน นักการเมืองน้ำเน่า ทำให้คนเบื่อ ขอให้จับตาดูคดี ชิมไปบ่นไป ของนายกฯ ว่าผลออกมาอย่างไรแล้วนายกฯจะทำตัวอย่างไร
ส่วนแง่ที่ไม่ดีคือ สังคมคุยกันยากขึ้นเรื่อยๆ ฟื้นฟูระบบรัฐสภายาก แม้ศาลจะเป็นทางออก แต่อาจไม่ทันใจ ฉะนั้น การยุบสภา น่าจะเป็นทางออกในขณะนี้ พันธมิตรฯ ก็อาจเข้ามาสู่กระบวนการนี้ จะช่วยให้การเมืองอีกภาคส่วนเข้มแข็งได้
สำหรับอนาคตการเมืองไทย ถึงอย่างไรก็ตามก็ต้องพึ่งระบบรัฐสภา ฉะนั้นต้องมีรัฐสภาภิวัตน์ ควบคู่กับการเมืองภาคประชาชน หากร่างรัฐธรรมนูญใหม่ ต้องเอาทั้งสองส่วนมาวางเป็นโครงสร้าง ตนไม่ห่วงว่า การเมืองภาคประชาชนจะเป็นอนาธิปไตย เพราะคิดว่า ประชาชนจะพัฒนาได้ ส่วนความขัดแย้งที่ยังมีอยู่ ระยะยาวสามารถประสานกลมกลืนกันได้ เหตุการณ์ครั้งนี้น่าจะชั่วคราว ตนยังมองว่า วิกฤติครั้งนี้เป็นโอกาสดีในการสร้างการพัฒนาการเมือง
นายพิชาย รัตนดิลก ณ ภูเก็ต ผู้อำนวยการโครงการปริญญาโท คณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์(นิด้า) กล่าวว่า ปัจจุบันกลุ่มทุนรุกคืบผ่านระบบเลือกตั้ง ประกอบกับสังคมไทยเป็นระบบอุปถัมภ์ ผลคือ เปิดโอกาสให้กลุ่มเดียวคือกลุ่มทุนเข้าสู่อำนาจ กลุ่มทุนก็แปลงระบบเลือกตั้งเป็นตลาดซื้อเสียง ถือเป็นการประกอบอาชญากรรมกับระบอบประชาธิปไตย ประชาธิปไตยเป็นเพียงการสร้างความชอบธรรมเชิงอำนาจให้กลุ่มทุน ประเทศไทย ไม่เคยมีเลือกตั้งแข่งกัน มีแต่ซื้อเสียงแข่งกัน จึงเป็นการกีดกันทางการเมืองโดยระบบของตัวเอง อีกด้านหนึ่ง เมื่อชนชั้นกลางเติบโตขึ้น และเห็นระบบดังกล่าวกีดกันกลุ่มตนไม่ให้เข้าสู่พื้นที่อำนาจทางการเมือง ก็พยายามช่วงชิง ดูจากการปฏิรูปการเมืองปี 2540 มีข้อดีมหาศาล
อย่างไรก็ดี เรายังติดกรอบเรื่อง การต้องมีการเลือกตั้งแบบตัวแทนพื้นที่ จึงมีความพยายามสร้างระบบเลือกตั้งที่ขาวสะอาดมากที่สุด เช่น มี กกต. หรือ ออกแบบระบบเขตเดียวเบอร์เดียว ระบบัญชีรายชื่อ แต่ก็แก้ปัญหาไม่ได้ เพราะตัวแทนเชิงกลุ่มเข้ามาไม่ได้ ฉะนั้นการหลุดพ้น ต้องออกแบบวิธีการเลือกตั้งใหม่ ให้มีตัวแทนเชิงกลุ่มเข้ามาคู่ขนานกับตัวแทนเชิงพื้นที่ เพื่อให้เวทีรัฐสภาเป็นเวทีต่อรอง ของกลุ่มที่หลากหลาย
นายพิชาย กล่าวด้วยว่า สำหรับคดีชิมไปบ่นไปของนาย สมัคร สุนทรเวช นายกฯ ถ้าหลุดจากตำแหน่ง จะเป็นช่องว่าง แต่ละกลุ่มจะช่วงชิงการนำ โดยพรรคพลังประชาชน ส่วนพรรคชาติไทย ก็จะพยายามหาโอกาสผลักดันนายบรรหาร ศิลปอาชา เป็นนายกฯ รวมถึงพรรคประชาธิปัตย์ ก็ต้องช่วงชิงการนำ แต่ไม่ว่าใครจะเป็นนายกฯ คงไม่ทำให้อะไรดีขึ้นมากมาย ตนเสนอว่า ให้ ส.ส. และส.ว. พิจารณางดใช้มาตรา 171 วรรค 2 กรณีนายกฯต้องมาจาก ส.ส. อย่างไรก็ดี เพื่อความประนีประนอมน่าจะเป็นสมาชิกรัฐสภา ซึ่งหมายความว่า นายประสพสุข บุญเดช ประธานวุฒิสภา ก็น่าจะมารักษาการนายกฯชั่วคราว เพราะเป็นคนประนีประนอม เพื่อแก้รัฐธรรมนูญหรือจัดการระบบเลือกตั้งใหม่
แต่ทั้งนี้ ถ้านักการเมืองมีความรับผิดชอบทางการเมือง และมีจริยธรรม คงลาออกไปตั้งแต่กรณีศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยการลงนามไทย-กัมพูชา เรื่องประสาทพระวิหารแล้ว ไม่ต้องให้มีการชุมนุมจนเกิดวิกฤตแบบนี้
นายปริญญา เทวานฤมิตรกุล รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า ทางออกของบ้านเมือง ระยะสั้นต้องช่วยกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์นองเลือด การเจรจาที่ทำกันอยู่โดยประธานวุฒิสภาเป็นคนกลางนั้น ในอดีตการเจรจา ไม่เคยสำเร็จต่อหน้าสื่อมวลชน ตนเป็นห่วงว่า วุฒิสภาทำโดยเปิด จะทำให้การเจรจาเกิดขึ้นไม่ได้ ต้องคุยทีละฝ่ายจนเห็นจุดร่วมที่พอจะไปกันได้ แล้วค่อยให้มาเจอกัน หากทำเหมือนที่เป็นอยู่ในขณะนี้เกรงว่าจะไม่สำเร็จ เรื่องความรุนแรงต้องไม่มีข้าง วุฒิสภาต้องโน้มน้าวทุกฝ่าย
นอกจากนี้ อาจเจรจาว่า หากรัฐบาลถอนข้อหากบฎ พันธมิตรฯ จะเปลี่ยนที่ชุมนุมได้หรือไม่ หรือให้มาคุยกันว่า พอจะยอมแก้รัฐธรรมนูญอะไรบางอย่าง แล้วยุบสภาเลือกตั้ง เพื่อนำไปสู่การปฏิรูปการเมือง มีส.ส.ร. 3 นำไปสู่การแก้ไขระยะยาวที่ต้องทำให้อำนาจอธิปไตย 3 ฝ่าย เป็นอิสระจากกัน ถึงจะถ่วงดุลกันได้ เพราะโจทย์ใหญ่คือฝ่ายนิติบัญญัติไม่เป็นอิสระจากฝ่ายบริหาร และต้องทำให้รัฐธรรมนูญเป็นสัญญาประชาคม เป็นกติกาของนทุกฝ่ายให้ได้
นางนฤมล ทับจุมพล อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า ที่มาของความขัดแย้ง เกิดจากวิกฤตของความชอบธรรมของทั้งรัฐบาล และพันธมิตรฯ จึงเกิดความพยายามที่จะสร้างวาทะกรรมเพื่อสร้างความชอบธรรมให้ตัวเอง จึงทำให้ทั้ง 2 ฝ่ายไม่สนใจใครโดยอ้างว่าตัวเองถูกต้อง ทำให้ไม่มีพื้นที่เจรจา จนทำให้ประชาธิปไตยกลายเป็นสีเทา อย่างไรก็ดี ตนอยากให้มีการเจรจาของทั้ง 2 ฝ่ายไม่ว่าจะวิธีใดก็ตาม แต่ต้องไม่สร้างบรรยากาศหลังชนฝา
อยากให้ทุกฝ่ายหาทางออกเหมือน พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ อดีตนายกรัฐมนตรี ที่แสดงความรับผิดชอบในปี 2540 เนื่องจากประเทศเกิดวิกฤติเศรษฐกิจ การตัดสินใจลาออก หรือยุบสภา ของนายกฯน่าจะทำได้เลย ทำไมต้องรอศาลตัดสินว่า ตัวเองผิดแล้วจึงจะลาออก เชื่อว่าหากนายกฯลาออก ก็ให้พรรคการเมืองที่เหลือ วางกรอบกติการใหม่ในการบริหารประเทศได้ ซึ่งยังเชื่อว่าการเมืองในระบบยังสามารถทำหน้าที่ให้เราได้ โดยประชาชนจะเป็นผู้กำหนดอนาคตของประชาธิปไตยไทย นางนฤมล กล่าว และว่า วุฒิสภา อาจตั้งคณะกรรมธิการวิสามัญศึกษาการปฏิรูปการเมือง และคณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชนฯ ดูคดีต่างๆ ที่เกิดจากความขัดแย้งทางการเมืองทั้งหลาย
นายสุริชัย หวันแก้ว รองศาสตราจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย กล่าวว่า ถ้าสังคมมองเห็นอนาคตเมืองไทยเป็นแค่คนสองฝ่าย คงไม่มีทางมองเห็นอนาคต ตนขอให้มองคนที่ยังมีอยู่อีกหลายฝ่าย และมาร่วมกันหารือ และมองให้เห็นถึงรากเหง้าของปัญหา นั่นคือ จริยธรรมของการเมือง เพราะถ้าอำนาจการเมืองมีไว้เพื่อชนะ พวกใครพวกมัน ทีใครทีมัน สังคมจะพากันลงเหว
นอกจากนี้วิกฤติการเมืองที่ตอนนี้เถียงกันเพียงว่า ใครถูกใครผิด ตนมองว่า หน่อมแน้มมาก เพราะมันไม่ใช่ชั้นเดียว แต่มีมิติเรื่องเวลามาเกี่ยวข้อง ฉะนั้นทุกฝ่าย ต้องปรับตัวเข้าหากันเพื่อเป็นการเมืองแห่งการเปลี่ยนผ่านไปสู่การปฏิรูปให้ได้ ไม่ใช่เปลี่ยนแล้วยังอยู่แบบเก่าหรือไปสู่ความรุนแรง
นาย ไพโรจน์ พงษ์เพรช ประธานคณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชน กล่าวว่า ความรุนแรงที่เกิดขึ้นเนื่องจากมีการบ่มเพาะความเกลียดชังโดยใช้สื่อเป็นเครื่องมือเพื่อกำจัดคู่ต่อสู้ ซึ่งความรุนแรงเกิดขึ้นตั้งแต่มีการปะทะกันของประชาชนทั้ง 2 ฝ่าย จนมีคนตาย ฉะนั้นอยากให้รัฐบาลรับผิดชอบ เพราะสังคมไทยเชื่อว่า หากเกิดความขัดแย้งจนมีความรุนแรงจะทำให้อีกฝ่ายชนะ ซึ่งปัญหาเหล่านี้มีมานานแล้วแต่ยังไม่มีใครเยียวยาความรุนแรงได้ เพราะผู้นำไม่นำพา คือไม่รู้สึกสำนึกชั่วดี และตนอยากให้นายกฯลาออก หรือยุบสภา