เอ็กซ์เรย์ครม.น้องเขยแม้ว วิกฤติยิ่งกว่าวิกฤติซับไพรม์ เปรียบทีมเศรษฐกิจเหมือน “ไก่รองบ่อน” สักแต่ว่าจัดคนให้นั่งเต็มจำนวนรัฐมนตรี “โอฬาร ไชยประวัติ” จากโหรเศรษฐกิจสู่ความล้มเหลวยุคต้มยำกุ้ง ก่อนจะร่วมหัวจมท้ายรับใช้ทักษิณติดโรคผลประโยชน์ทับซ้อน ขณะที่ ‘สุชาติ’ขุนคลังส้มหล่นไร้เครดิตความน่าเชื่อถือ ภาคเอกชนมึนครม.ผิดฝาผิดตัว เอา “ประชา”คุมอุตฯ เอาหมอนั่งพลังงาน นักวิชาการนิด้าชี้อ่อนหัด หวั่นไม่เข้าใจปัญหา ส่วนภาคการเมือง-สังคมนักวิชาการระบุสุดขี้ริ้ว ขี้เหร่ ให้เวลาอย่างช้า 6 เดือนต้องเลือกตั้งใหม่ ท้อเอานักล็อบบี้อื้อฉาว “ศรีเมือง”นั่งเสมา1 ขณะที่รัฐมนตรีซุปเปอร์ยี้ ทั้งหลายแค่ตัวแทนรับใช้นาย
ในรายชื่อคณะรัฐมนตรีของรัฐบาลชุดใหม่นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ โดยภาพรวมแล้วจะเห็นว่าเป็นบุคคลที่วนเวียนอยู่ในระบบการเมืองที่สาธารณชนคุ้นหน้าและรับทราบถึงพฤติกรรมในอดีตมาแล้วหลายคนทีมเศรษฐกิจวิกฤติยิ่งกว่าวิกฤติซับไฟรม์
ไล่เรียงตั้งแต่ทีมเศรษฐกิจ จากรายชื่อ นายโอฬาร ไชยประวัติ รองนายกรัฐมนตรี ดูแลด้านเศรษฐกิจ ลูกทีมที่ประกอบจากกระทรวงเศรษฐกิจสำคัญ ได้แก่ นายสุชาติ ธาดาธำรงเวช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง นายไชยา สะสมทรัพย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ นายสันติ พร้อมพัฒน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม นพ.วรรณรัตน์ ชาญนุกูล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงงาน
ท่ามกลางวิกฤติเศรษฐกิจไทยที่กำลังเผชิญปัญหารุมเร้าสารพัด ทั้งจากผลกระทบของปัญหาวิกฤติการณ์การเงินโลก ภาวะน้ำมันที่ผันผวน ประกอบกับการเมืองในระบบเก่าที่แก่งแย่งชิงผลประโยชน์ของนักการเมืองซีกรัฐบาล กลายเป็นประเด็นที่ในทัศนะของนักวิเคราะห์และเอกชนต่างๆลงความเห็นตรงกันว่า ทีมเศรษฐกิจชุดนี้ วิกฤติหนักกว่าวิกฤติปัญหาสินเชื่อคุณภาพต่ำหรือซับไพรม์ (sub-prime)ที่เป็นต้นตอของวิกฤติการเงินขณะนี้เสียอีก บ้างว่าเป็นการสืบทอดอำนาจของกลุ่มตัวแทนผลประโยชน์ทางการเมืองที่ไม่คำนึงถึงประโยชน์ประเทศชาติเหมือนอดีตที่ผ่านมาไม่ต่างจาก “ผีปอบ”เพียงต่างกันคนละยุคสมัยเท่านั้น
นายสุนันท์ ศรีจันทรา สื่อมวลชนอาวุโส คอลัมน์นิสต์ชื่อดัง ซึ่งคว่ำหวอดอยู่ในวงการตลาดทุนมานานกว่า 30 ปีกล่าวบนเวทีพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยทำเนียบรัฐบาลเมื่อวานนี้(24ก.ย.)ว่า รัฐบาลสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ภาพรวมมีอยู่สองส่วนคือ ขี้เหร่ และ ขี้ริ้ว ขณะที่หากมองเฉพาะทีมเศรษฐกิจซึ่ง นายโอฬาร ไชยประวัติ นักวิชาการ นายธนาคาร ที่เคยมีชื่อในอดีตนั้นไม่สามารถไว้วางใจได้เลยว่าจะมีความสามารถแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจที่นำพาประเทศไปได้
“ถ้าภาษานักเลงไก่ชนก็ต้องบอกว่า นี่เป็นแค่ไก่รองบ่อน” นายสุนันท์กล่าว
เขามองว่า คุณภาพของรัฐมนตรีเศรษฐกิจชุดนี้มีคุณภาพต่ำลงเรื่อยๆหากเทียบกับชุดก่อนๆเหมือนไม่มีตัวบุคคลที่จะจัดสรรให้เหมาะสมกับงาน ยิ่งภาวะเศรษฐกิจของประเทศกำลังถูกกลุ้มรุมจากมรสุมทุกทิศทุกทาง เจอปัจจัยหนักๆยิ่งคาดการณ์ได้ล่วงหน้าเลยว่า รัฐบาลชุดนี้ไม่มีปัญญาจะรับมือไหว
สุนันท์ กล่าวอีกว่า ตามประวัติของนายโอฬารสมัยที่เป็นผู้บริหารธนาคารไทยพาณิชย์ และ ปูนซิเมนต์ไทยก็ไม่สามารถช่วยทั้งสององค์กรให้รอดพ้นจากผลกระทบวิกฤติการณ์การเงินเมื่อปี 2540 ได้เลย เพราะประเมินสถานการณ์ผิดพลาดและมีความเชื่อมั่นที่ผิดๆว่า ค่าเงินบาทไทยจะไม่มีปัญหา
“ในวงการการเงินการธนาคารขณะนั้นต่างทราบกันดี ต่อมานายโอฬารก็หายตัวไปจากวงการ โผล่มาอีกทีก็เป็นคนที่อยู่ข้าง พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร รับใช้ระบอบทักษิณแล้ว” นายสุนันท์ กล่าว
โอฬารจากโหรเศรษฐกิจมาโหนทักษิณ
นายโอฬาร เป็นนักเรียนทุนรุ่นที่สองของธนาคารแห่งประเทศไทย เริ่มงานครั้งแรกที่ฝ่ายวิชาการของธนาคารแห่งประเทศไทยเมื่อปี 2513 ใช้ชีวิตอยู่ที่แบงก์ชาติเป็นเวลากว่า 10 ปี จึงได้ลาออกมาในตำแหน่งล่าสุดคือผู้อำนวยการฝ่ายกำกับและตรวจสอบสถาบันการเงิน
หลังจากนั้นก็ได้มาเริ่มงานกับธนาคารไทยพาณิชย์ เมื่อปี 2525 ในตำแหน่งพนักงานบริหารระดับสูง หรือเทียบเท่าตำแหน่งผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ คร่ำหวอดอยู่ในธนาคารไทยพาณิชย์เป็นเวลา 10 ปีพอดี จึงได้เลื่อนตำแหน่งเป็นกรรมการผู้จัดการใหญ่ เมื่อปี 2535 สืบแทนธารินทร์ นิมมานเหมินท์ ที่ลาออกไปเล่นการเมืองกับพรรคประชาธิปัตย์
ก่อนหน้านั้น ชื่อของนายโอฬารเป็นที่รู้จักในสังคม โดยเฉพาะในหมู่นักธุรกิจมานานกว่า 20 ปี เริ่มจากการที่เขาเป็นคนแรกที่กล้าทำนายภาวะเศรษฐกิจไทยหลังจากผ่านยุคตกต่ำต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2522-2526 ว่ามีสัญญาณของการฟื้นตัว โดยในปี 2528 ดุลบัญชีเดินสะพัดจะเป็นบวก
ผลจากการทำนายครั้งนั้น ทำให้สื่อต่างตั้งฉายาให้เขาเป็นโหรเศรษฐกิจ เขามักจะถูกผู้สื่อข่าวถามความเห็นต่อเศรษฐกิจในด้านต่างๆ ทั้งเชิงมหภาค และจุลภาค
นายโอฬารลาออกจากตำแหน่งกรรมการผู้จัดการธนาคารไทยพาณิชย์ในปี 2544 หลังเสร็จภารกิจในเรื่องการเพิ่มทุนจดทะเบียนของธนาคาร ซึ่งได้รับแรงสนับสนุนจากโครงการ 14 สิงหาคม ตามนโยบายของธารินทร์ ที่ได้กลับเข้าไปเป็นรัฐมนตรี
ว่าการกระทรวงการคลังรอบใหม่
จากนั้นชื่อของเขาก็เงียบหายไปพักใหญ่ๆ จนมีชื่อกลับมาอีกครั้ง เมื่อมาช่วยงาน พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ทั้งทางด้านการบริหารกิจการบ้านเมือง และเรื่องธุรกิจ
เริ่มจากตำแหน่งที่ปรึกษารองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ นายกสภามหาวิทยาลัยชินวัตร กรรมการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย รวมถึงกรรมการในบริษัทต่างๆ
แม้จะเป็นคนเหนือและเรียนชั้นมัธยมต้นจากเชียงใหม่มาด้วยกัน แต่สายสัมพันธ์ระหว่างนายโอฬาร กับ พ.ต.ท.ทักษิณ น่าจะเริ่มขึ้นในช่วงหลัง เพราะที่เชียงใหม่ นายโอฬารจบจากโรงเรียนปรินส์ รอยแยลส์ วิทยาลัย ซึ่งมีปรัชญาและแนวคิดแตกต่างจากโรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัยที่ พ.ต.ท.ทักษิณเป็นศิษย์เก่า และสายสัมพันธ์นี้น่าจะมีที่มาจากหลายช่องทางด้วยกัน ช่องทางหนึ่งโดยผ่านทางพารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา อดีตผู้จัดการใหญ่ บริษัทปูนซิเมนต์ไทย
อยู่กับทักษิณติดโรคผลประโยชน์ทับซ้อน
จากข้อมูลของ “ผู้จัดการรายเดือน” ระบุว่า นอกจากล้มเหลวการทำนายค่าเงินบาทในช่วงวิกฤติต้มยำกุ้งแล้ว การที่นายโอฬารมาทำงานให้พ.ต.ท.ทักษิณ หลายอย่างก็นับเป็นอีกวาระที่ทำให้ชื่อเสียงของนายโอฬารเสียความศรัทธาอย่างบอบช้ำ โดยเฉพาะการทำหน้าที่ในระหว่างปี 2547-2549 ขณะที่นั่งทำงานใน ตำแหน่งกรรมการและกรรมการตรวจสอบ บริษัทชิน คอร์ปอเรชั่น, กรรมการและกรรมการตรวจสอบ บริษัท ปตท., กรรมการบริษัทการบินไทย โดยที่สาธารณะไม่เคยลืมก็คือ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการเตรียมการจัดตั้งบริษัท กฟผ.จำกัด (มหาชน) ซึ่งมีปัญหาในการแปรรูปจนศาลปกครองสั่งให้ล้มการแปรรูป
"ตามข้อเท็จจริง ขณะที่นายโอฬาร ไชยประวัติ ได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการเตรียมการจัดตั้งบริษัทนั้น นายโอฬารเป็นกรรมการในบริษัทชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ที่เป็นผู้ถือหุ้นหลักในบริษัทแอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) ซึ่งประกอบกิจการเกี่ยวกับการสื่อสารและโทรคมนาคม จึงเป็นนิติบุคคลที่มีประโยชน์ได้เสียเกี่ยวข้องกับกิจการของ กฟผ. ที่มีระบบรับส่งข้อมูลประกอบด้วยเส้นใยแก้วนำแสง และต่อมาบริษัท กฟผ. จำกัด (มหาชน) ได้จัดตั้งบริษัท กฟผ.โทรคมนาคม จำกัด เพื่อประกอบกิจการโทรคมนาคมและการสื่อสารทุกชนิด บริษัทชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) จึงมีประโยชน์ได้เสียกับกิจการของ กฟผ.และบริษัท กฟผ. จำกัด (มหาชน)
อีกทั้งนายโอฬารยังเป็นกรรมการบริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นนิติบุคคลที่ กฟผ.ซื้อก๊าซธรรมชาติจากบริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) อีกด้วย นายโอฬารจึงเป็นกรรมการในนิติบุคคลที่มีประโยชน์ได้เสียเกี่ยวข้องกับกิจการของ กฟผ. และบริษัท กฟผ.จำกัด (มหาชน) และมีลักษณะต้องห้ามเป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการเตรียมการจัดตั้งบริษัทตามที่ระบุไว้ในมาตรา 17(5) ประกอบมาตรา 5 มาตรา 9 ของ พ.ร.บ.ทุนรัฐวิสาหกิจ และตามหลักฐานประวัติของนายโอฬารที่ใช้ประกอบการพิจารณาออกคำสั่งแต่งตั้งก็ระบุการเป็นกรรมการดังกล่าวไว้ชัดเจน นายโอฬารจึงเป็นผู้มีลักษณะต้องห้ามที่เป็นปฏิปักษ์ต่อการปฏิบัติหน้าที่ในคณะกรรมการเตรียมการจัดตั้งบริษัท อันเป็นการขัดต่อหลักความเป็นกลาง ซึ่งผู้มีอำนาจออกคำสั่งแต่งตั้งได้รู้หรือควรรู้ถึงลักษณะต้องห้ามดังกล่าวแล้ว คำสั่งแต่งตั้งนายโอฬารเป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการเตรียมการจัดตั้งบริษัทจึงขัดต่อกฎหมาย และถือได้ว่าเป็นเหตุอันมีสภาพร้ายแรง จึงมีผลทำให้การกระทำใดๆ ของคณะกรรมการเตรียมการจัดตั้งบริษัทเสียไปทั้งหมด หรือไม่มีผลทางกฎหมาย" นี่คือ เนื้อหาคำตัดสินของศาลปกครองสูงสุด ที่ให้ล้มการแปรรูปกิจการบริษัท กฟผ.เมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2549
เอกชนมึนครม.ใหม่ผิดฝาผิดตัว
ด้านกระทรวงเศรษฐกิจอื่นๆ นายสุนันท์ เห็นว่า คงทำได้แค่เข้ามานั่งทำงานระยะเวลาสั้นๆ โดยจะสิ้นอายุขัยตามกระบวนการยุติธรรมไปเองเพราะคดีต่างๆมีมากมาย ส่วนกระทรวงการคลังก็ได้นักวิชาการที่หมดความน่าเชื่อถือเพราะเลือกข้างมานานแล้วเพียงแต่ไม่เปิดเผยตัวเองว่าเป็นคนในระบอบทักษิณ การมานั่งเก้าอี้ขุนคลังของนายสุชาติก็เป็นแค่การจัดคนมานั่งให้เต็ม
“รมว.คลังถือว่าเป็นผู้นำกระทรวงเศรษฐกิจทั้งหมด ผลงานและความสามารถอย่างนายสุชาติ ธาดาธำรงเวช ซึ่งเคยเป็นรัฐมนตรีช่วยทดลองงานมาระยะหนึ่งแต่ไม่มีงานอะไรออกมาเลยย่อมชี้ให้เห็นแล้วว่าเขาเป็นคนอย่างไรนอกจากเก่งแค่พูด นายสุชาติก็เหมือนนายสมชายที่มาไกลถึงปลายฝันแบบส้มหล่น ใครก็ไม่คาดคิดว่า นายสุชาติจะได้เป็นรัฐมนตรีคลังซึ่งที่ทำได้ก็คงรับใช้นายทุน ผลักดันโครงการอะไรที่วาระของพรรคพลังประชาชนมากกว่าจะเข้ามาแก้ปัญหาประเทศ” นายสุนันท์กล่าว
นายสมชัย จิตสุชน ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัย สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) ไม่ค่อยพอใจรายชื่อครม.ชุดใหม่ เพราะส่วนใหญ่มีคุณสมบัติไม่สอดคล้องกับกระทรวงที่ได้รับมอบหมาย ทั้งที่ในความเป็นจริงแต่ละกระทรวงต้องการผู้เชี่ยวชาญแตกต่างกันไป และการจะเรียนรู้งานต้องใช้เวลามาก
นายเกียรติพงษ์ น้อยใจบุญ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท เอกรัฐวิศวกรรม จำกัด (มหาชน) กล่าวถึง คณะรัฐมนตรี(ครม.)ใหม่ว่า ไม่ได้เปลี่ยนแปลงไปจากครม.ชุดเดิมของนายสมัคร สุนทรเวช แต่อย่างใด โดยเห็นว่าเป็นการจัดตั้งรัฐมนตรีตามโควต้าของกลุ่มการเมืองมากกว่าที่จะยึดหลักความเหมาะสมจึงไม่แปลกที่จะเห็นตัวบุคคลที่มาดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจมีลักษณะผิดฝา ผิดตัว เช่น นำตำรวจมาคุมกระทรวงอุตสาหกรรม ได้นายแพทย์มาดูแลด้านพลังงาน และมีพยาบาลมาช่วยด้านการเงิน เป็นต้น
“ มันไม่มีอะไรที่ต่างไปจากเดิมเลยคิดว่าคงเป็นการจัดตั้งรัฐบาลเฉพาะกิจมากกว่าและการนำเอาบุคคลมาดำรงตำแหน่งในกระทรวงเศรษฐกิจนั้นส่วนใหญ่ก็ยังไม่มีผลงานเป็นที่ประจักษ์มากนักและผมไม่เชื่อว่าการจะนำใครมาเป็นรัฐมนตรีโดยไม่มีพื้นฐานความรู้บ้างเลยมาบริหารจะไปได้ไกล ซึ่งในส่วนของกระทรวงการคลังทีได้นายสุชาติ ธาดาธำรงเวช มาเป็นรมว. ที่ผ่านมายอมรับว่าเป็นบุคคลที่กล้าในเรื่องของการวิพากษ์วิจารณ์แต่ยังไม่เคยพิสูจน์ผลงานในทางปฏิบัติจึงคงต้องจับตาดูว่าจะพิสูจน์ฝีมือได้มากน้อยเพียงใด” นายเกียรติพงษ์ กล่าว
นิด้าชี้อ่อนประสบการณ์การเงิน
รศ.ดร.มนตรี โสคติยานุรักษ์ รองคณบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนา คณะรัฐประศาสนศาสตร์ (GSPA) สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยว่า งานสิ่งแรกที่รัฐบาลชุดใหม่จะต้องเร่งสร้างความเชื่อมั่นในหมู่นักลงทุนและภาคเอกชนทั้งในประเทศและต่างประเทศกลับคืนมา โดยนายกฯ จะต้องมีการฟอร์มทีมที่ปรึกษาทางเศรษฐกิจเสริมขึ้นมาอีกหนึ่งทีม เพื่อเข้ามาดูแลให้คำแนะนำ และติดตามนโยบายต่างๆ ที่ต้องเร่งขับเคลื่อนเศรษฐกิจของไทย สร้างความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุนได้เห็นภาพของการให้ความสำคัญกับการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของไทยเป็นอันดับแรก เนื่องจากปัญหาเศรษฐกิจของไทยยังมีความเสี่ยงอีกหลายด้าน โดยเฉพาะปัญหาวิกฤติการเงินสหรัฐที่จะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
ทั้งนี้ หากดูถึงทีมเศรษฐกิจของรัฐบาลชุดนี้ มีนายโอฬาร ไชยประวัติ เท่านั้น ที่มีความเชี่ยวชาญภาคการเงิน ดังนั้น ทีมเศรษฐกิจของรัฐบาลชุดนี้ ควรหาทีมที่ปรึกษาที่มีความเชี่ยวชาญเรื่องภาคการเงินเข้ามา เพื่อรับมือกับปัญหาวิกฤติการเงินของสหรัฐที่มีความซับซ้อนและยากที่จะใช้เพียงเครื่องมือทางภาคการคลังเข้ามาแก้ไขปัญหาเท่านั้น
อ.จุฬาฯชี้สุดอัปลักษณ์-ศึกษาหมดหวัง
ดร.สมพงษ์ จิตระดับ อาจารย์คุรุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า จากที่ได้เห็นโผคณะรัฐมนตรี(ครม.)ของนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ นายกรัฐมนตรีแล้ว ต้องบอกว่าในภาพรวมไม่ดีขึ้นกว่าที่ผ่านมมา ซึ่งผิดกับตอนที่นายสมชายรับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ซึ่งขณะนี้มีคำพูดดีๆ และมีคำมั่นสัญญาที่ดีกับประชาชน แต่เมื่อมาจัดตั้ง ครม. รายชื่อที่ออกมากลับไม่สัมพันธ์ และไม่สอดคล้องกับสิ่งที่รับปากกับประชาชนไว้
“ในรัฐบาลสมัคร เราเรียกว่า ครม.ขี้เหร่ แต่ ครม.สมชายต้อง เรียกขี้ริ้ว ขี้เหร่ ไม่ดีเท่าที่ควร คาดว่าการตั้ง ครม.ชุดนี้ขึ้นมา คงเพื่อมาดูแลเรื่องงบประมาณให้ผ่าน เมื่อผ่านไปสักระยะหนึ่ง ประมาณ 3 เดือน หรืออย่างมากไม่เกิน 6 เดือนก็คงจะต้องเลือกตั้งกันใหม่ ต้องบอกว่าดูสภาพ ครม.แล้ว เสียความรู้สึก ซึ่งสมชายมีโอกาสดี แต่กลับตั้ง ครม.ออกมาแบบนี้”
ดร.สมพงษ์ กล่าวอีกว่า ในส่วนของ รมว.ศึกษาธิการ ซึ่งหากเป็นนายศรีเมือง เจริญศิริ ตามที่ปรากฏออกมาจริง ก็ต้องบอกว่าเราคงไม่สามารถไปคาดหวังอะไรกับ รมว.ศึกษาธิการคนนี้ได้ และต้องถามว่า การแต่งตั้ง รมว.ศึกษาธิการครั้งนี้ เป็นการแต่งตั้งตามความรู้ความสามารถหรือแต่งตั้งตามโควตา ว่าเป็นคนของกลุ่มใด ก๊วนของใครกันแน่ เนื่องจากหากจะพิจารณาตามความสามารถแล้ว นายศรีเมืองก็ไม่น่าจะเข้าข่ายนั้น
“ผมทำงานการศึกษามา 30 ปี ซึ่งตลอดเวลาที่ผ่านมา ไม่เคยได้ยินชื่อศรีเมืองออกมาแสดงความเห็นหรือให้ข้อเสนอแนะต่อการศึกษาไทยแม้แต่ประโยคเดียว แล้วจะหวังให้เข้ามาพัฒนาการศึกษา มันคงเป็นไปไม่ได้ นอกจากนี้ภาพของนายศรีเมืองก็ชัดเจนว่าเป็นคนของผู้นำประเทศคนเก่า ตั้งแต่สมัยดำรงตำแหน่งสมาชิกวุฒิสภา ก็ยิ่งชัดว่า ครม.ที่ตั้งขึ้นครั้งนี้ เป็นการแบ่งตามโควต้า และทำให้เราคาดหวังการพัฒนาทางการศึกษาไม่ได้เลย”
นายศรีเมือง เจริญศิริ จบวิศวะ ด้านโทรคมนาคม จากสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าฯ ลาดกระบัง รุ่นที่ 1 M.B.A. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ Certificate : Telecommunication Executive management Institute oF CANADA ลงเล่นการเมือง
โดยได้รับเลือกเป็น สมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) จ.มหาสารคาม ปี 2543 ซึ่งถือเป็นยุคมืดของ ส.ว.เพราะถูกครอบงำโดยรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ในยุคนั้น จนได้ชื่อว่า "สภาทาส" โดยมีการล็อบบี้ช่วยเหลือฝ่ายรัฐบาล และการแต่งตั้งคณะกรรมการองค์กรอิสระ โดยมีนายศรีเมือง เจริญศิริ ซึ่งใกล้ขิดกับ คุณหญิงพจมาน ชินวัตร ภริยา พ.ต.ท.ทักษิณ เป็นหัวหอกในการล็อบบี้ ส.ว.กว่าครึ่งสภา จนฉาวโฉ่ที่สุดครั้งหนึ่ง เท่าที่เคยมี ส.ว.มา
ไล่เรียงตัวล้วนมีแต่ตำหนิ
อย่างไรก็ดี รัฐมนตรีคนอื่นๆ ที่มีประวัติการทำงานและพฤติกรรมอื้อฉาว จากการรวบรวมของ “ผู้จัดการรายวัน” พบว่า
นพ.วรรณรัตน์ ชาญนุกูล รมว.พลังงาน นั้นจบแพทย์ศาสตร์บัณฑิต จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นคู่เขยของ นายสุวัจน์ ลิปตภัลลพ อดีตกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทย หัวหน้ากลุ่มลำตะคอง ตำแหน่งทางการเมืองเป็นอดีตที่ปรึกษา รมว.สาธารณสุข รมว.แรงงาน และที่ปรึกษารองนายกรัฐมนตรี นับเป็นการเข้ามาภายใต้การสืบต่อของกลุ่มผลประโยชน์ทางการเมือง
นายสุขุมพงษ์ โง่นคำ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐ-มนตรี จบการศึกษาคณะนิติศาสตร์ยัณฑิต (เกียรตินิยมดี) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้รับเลือกเป็น ส.ส.กาฬสินธ์ พรรคไทยรักไทย ปี 2544 และครั้งนี้ เป็น ส.ส.สัดส่วน พรรคพลังประชาชน เป็นแกนนำคนสำคัญของพรรคพลังประชาชนในการผลักดันให้แก้ไขรัฐธรรมนูญ
พล.ต.อ.โกวิท วัฒนะ รมว.มหาดไทย จบการศึกษาจากโรงเรียนนายร้อย รุ่น 6 โรงเรียนนายร้อยตำรวจ รุ่น 22 เส้นทางรับราชการมาจากตำรวจตระเวณชายแดนเป็นหลัก จนได้ขึ้นเป็นรอง ผบ.ตร. และเป็น ผบ.ตร. แต่ถูกปลดพ้นตำแหน่งก่อนเกษียณ หลังเกิดการรัฐประหาร วันที่ 19 ก.ย.2549 เข้ามารับตำแหน่งรองนายกฯ และ รมว.มหาดไทย ช่วงท้ายรัฐบาลนายสมัคร สุนทรเวช จากการผลักดันของ นายเนวิน ชิดชอบ อดีตกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทย เพื่อมาดำเนินการกับกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย มีการนำคนใกล้ชิดนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ น้องชายนายเนวิน เข้ามาเป็นที่ปรึกษา มีบทบาทสำคัญในการโยกย้ายข้าราชการ สร้างความปั่นป่วนในหมู่ข้าราชการกระทรวงมหาดไทยอย่างมาก
นายสงคราม กิจเลิศไพโรจน์ รมช.พาณิชย์ จบศิลปศาสตร์ จากสถาบันราชภัฎราชบุรี ปริญญาโท สาขารัฐประศาสตร์
ศาสตร์ จากสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ เจ้าของศูนย์การค้าอิมพีเรียล ลาดพร้าว ที่ตั้งสถานีโทรทัศน์ พีทีวี เป็น ส.ส.สมุทรปราการ เหรัญญิกพรรรคพลังประชาชน และเป็นแกนนำจทดทะเบียนพรรคเพื่อไทย ตำแหน่งทางการเมืองเป็นอดีตทีปรึกษา รมว.มหาดไทย ที่ปรึกษา รมว.กลาโหม และ ที่ปรึกษา รมต.ประสำนักนายกฯ
นายโสภณ ซารัมย์ รมช.คมนาคม จบคุรุศาสตร์บัณฑิต วิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์ เป็นคนใกล้ชิด นายเนวิน ชิดชอบ จึงได้เป็น ส.ส.บุรีรัมย์มาหลายสมัย ล่าสุดได้รับการเซ้งตำแหน่ง รมช.คมนาคม ต่อจากนายทรงศักดิ์ ทองศรี ญาติ นายเนวิน และเป็นแกนนำกลุ่มเพื่อนเนวิน
นายสันติ พร้อมพัฒน์ รมว.คมนาคม จบศิลปศาสตร์บัณฑิต (รัฐศาสตร์) มหาวิทยาลัยรามคำแหง เป็น ส.ส.เพชรบูรณ์หลายสมัย ตั้งแต่ยุค พรรคความหวังใหม่ ที่มี พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ เป็นหัวหน้าพรรค ก่อนจะย้ายมาอยู่กับพรรคไทยรักไทย และพรรคพลังประชาชนในที่สุด โดยเป็น ส.ส.สัดส่วน เนื่องจากเป็นนายทุนตัวจริงของพรรค แทนนายพงษ์ศักดิ์ รักตพงษ์ไพศาล ที่ถูกเว้นวรรทางการเมือง 5 ปี จนได้เป็น รมว.คมนาคม ยุค นายสมัคร สุนทรเวช เป็นนายกรัฐมนตรี โดยไปร่วมก๊วนกับนายเนวิน
อื้อฉาวที่สุดเมื่อเรียนมหาวิทยาลัยรามคำแหง จ้างคนอื่นเข้ามาสอบแทน จนถูกตัดชื่อทิ้ง ซึ่งตามระเบียบมหาวิทยาลัยจะไม่มีโอกาสกลับเข้ามาเรียนต่อได้อีก แต่ไม่ทราบเพราะอะไรนายสันติ กลับเข้ามาเรียนต่อจนจบท่ามกลางความสงสัยของสังคม
ในรายชื่อคณะรัฐมนตรีของรัฐบาลชุดใหม่นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ โดยภาพรวมแล้วจะเห็นว่าเป็นบุคคลที่วนเวียนอยู่ในระบบการเมืองที่สาธารณชนคุ้นหน้าและรับทราบถึงพฤติกรรมในอดีตมาแล้วหลายคนทีมเศรษฐกิจวิกฤติยิ่งกว่าวิกฤติซับไฟรม์
ไล่เรียงตั้งแต่ทีมเศรษฐกิจ จากรายชื่อ นายโอฬาร ไชยประวัติ รองนายกรัฐมนตรี ดูแลด้านเศรษฐกิจ ลูกทีมที่ประกอบจากกระทรวงเศรษฐกิจสำคัญ ได้แก่ นายสุชาติ ธาดาธำรงเวช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง นายไชยา สะสมทรัพย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ นายสันติ พร้อมพัฒน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม นพ.วรรณรัตน์ ชาญนุกูล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงงาน
ท่ามกลางวิกฤติเศรษฐกิจไทยที่กำลังเผชิญปัญหารุมเร้าสารพัด ทั้งจากผลกระทบของปัญหาวิกฤติการณ์การเงินโลก ภาวะน้ำมันที่ผันผวน ประกอบกับการเมืองในระบบเก่าที่แก่งแย่งชิงผลประโยชน์ของนักการเมืองซีกรัฐบาล กลายเป็นประเด็นที่ในทัศนะของนักวิเคราะห์และเอกชนต่างๆลงความเห็นตรงกันว่า ทีมเศรษฐกิจชุดนี้ วิกฤติหนักกว่าวิกฤติปัญหาสินเชื่อคุณภาพต่ำหรือซับไพรม์ (sub-prime)ที่เป็นต้นตอของวิกฤติการเงินขณะนี้เสียอีก บ้างว่าเป็นการสืบทอดอำนาจของกลุ่มตัวแทนผลประโยชน์ทางการเมืองที่ไม่คำนึงถึงประโยชน์ประเทศชาติเหมือนอดีตที่ผ่านมาไม่ต่างจาก “ผีปอบ”เพียงต่างกันคนละยุคสมัยเท่านั้น
นายสุนันท์ ศรีจันทรา สื่อมวลชนอาวุโส คอลัมน์นิสต์ชื่อดัง ซึ่งคว่ำหวอดอยู่ในวงการตลาดทุนมานานกว่า 30 ปีกล่าวบนเวทีพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยทำเนียบรัฐบาลเมื่อวานนี้(24ก.ย.)ว่า รัฐบาลสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ภาพรวมมีอยู่สองส่วนคือ ขี้เหร่ และ ขี้ริ้ว ขณะที่หากมองเฉพาะทีมเศรษฐกิจซึ่ง นายโอฬาร ไชยประวัติ นักวิชาการ นายธนาคาร ที่เคยมีชื่อในอดีตนั้นไม่สามารถไว้วางใจได้เลยว่าจะมีความสามารถแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจที่นำพาประเทศไปได้
“ถ้าภาษานักเลงไก่ชนก็ต้องบอกว่า นี่เป็นแค่ไก่รองบ่อน” นายสุนันท์กล่าว
เขามองว่า คุณภาพของรัฐมนตรีเศรษฐกิจชุดนี้มีคุณภาพต่ำลงเรื่อยๆหากเทียบกับชุดก่อนๆเหมือนไม่มีตัวบุคคลที่จะจัดสรรให้เหมาะสมกับงาน ยิ่งภาวะเศรษฐกิจของประเทศกำลังถูกกลุ้มรุมจากมรสุมทุกทิศทุกทาง เจอปัจจัยหนักๆยิ่งคาดการณ์ได้ล่วงหน้าเลยว่า รัฐบาลชุดนี้ไม่มีปัญญาจะรับมือไหว
สุนันท์ กล่าวอีกว่า ตามประวัติของนายโอฬารสมัยที่เป็นผู้บริหารธนาคารไทยพาณิชย์ และ ปูนซิเมนต์ไทยก็ไม่สามารถช่วยทั้งสององค์กรให้รอดพ้นจากผลกระทบวิกฤติการณ์การเงินเมื่อปี 2540 ได้เลย เพราะประเมินสถานการณ์ผิดพลาดและมีความเชื่อมั่นที่ผิดๆว่า ค่าเงินบาทไทยจะไม่มีปัญหา
“ในวงการการเงินการธนาคารขณะนั้นต่างทราบกันดี ต่อมานายโอฬารก็หายตัวไปจากวงการ โผล่มาอีกทีก็เป็นคนที่อยู่ข้าง พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร รับใช้ระบอบทักษิณแล้ว” นายสุนันท์ กล่าว
โอฬารจากโหรเศรษฐกิจมาโหนทักษิณ
นายโอฬาร เป็นนักเรียนทุนรุ่นที่สองของธนาคารแห่งประเทศไทย เริ่มงานครั้งแรกที่ฝ่ายวิชาการของธนาคารแห่งประเทศไทยเมื่อปี 2513 ใช้ชีวิตอยู่ที่แบงก์ชาติเป็นเวลากว่า 10 ปี จึงได้ลาออกมาในตำแหน่งล่าสุดคือผู้อำนวยการฝ่ายกำกับและตรวจสอบสถาบันการเงิน
หลังจากนั้นก็ได้มาเริ่มงานกับธนาคารไทยพาณิชย์ เมื่อปี 2525 ในตำแหน่งพนักงานบริหารระดับสูง หรือเทียบเท่าตำแหน่งผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ คร่ำหวอดอยู่ในธนาคารไทยพาณิชย์เป็นเวลา 10 ปีพอดี จึงได้เลื่อนตำแหน่งเป็นกรรมการผู้จัดการใหญ่ เมื่อปี 2535 สืบแทนธารินทร์ นิมมานเหมินท์ ที่ลาออกไปเล่นการเมืองกับพรรคประชาธิปัตย์
ก่อนหน้านั้น ชื่อของนายโอฬารเป็นที่รู้จักในสังคม โดยเฉพาะในหมู่นักธุรกิจมานานกว่า 20 ปี เริ่มจากการที่เขาเป็นคนแรกที่กล้าทำนายภาวะเศรษฐกิจไทยหลังจากผ่านยุคตกต่ำต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2522-2526 ว่ามีสัญญาณของการฟื้นตัว โดยในปี 2528 ดุลบัญชีเดินสะพัดจะเป็นบวก
ผลจากการทำนายครั้งนั้น ทำให้สื่อต่างตั้งฉายาให้เขาเป็นโหรเศรษฐกิจ เขามักจะถูกผู้สื่อข่าวถามความเห็นต่อเศรษฐกิจในด้านต่างๆ ทั้งเชิงมหภาค และจุลภาค
นายโอฬารลาออกจากตำแหน่งกรรมการผู้จัดการธนาคารไทยพาณิชย์ในปี 2544 หลังเสร็จภารกิจในเรื่องการเพิ่มทุนจดทะเบียนของธนาคาร ซึ่งได้รับแรงสนับสนุนจากโครงการ 14 สิงหาคม ตามนโยบายของธารินทร์ ที่ได้กลับเข้าไปเป็นรัฐมนตรี
ว่าการกระทรวงการคลังรอบใหม่
จากนั้นชื่อของเขาก็เงียบหายไปพักใหญ่ๆ จนมีชื่อกลับมาอีกครั้ง เมื่อมาช่วยงาน พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ทั้งทางด้านการบริหารกิจการบ้านเมือง และเรื่องธุรกิจ
เริ่มจากตำแหน่งที่ปรึกษารองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ นายกสภามหาวิทยาลัยชินวัตร กรรมการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย รวมถึงกรรมการในบริษัทต่างๆ
แม้จะเป็นคนเหนือและเรียนชั้นมัธยมต้นจากเชียงใหม่มาด้วยกัน แต่สายสัมพันธ์ระหว่างนายโอฬาร กับ พ.ต.ท.ทักษิณ น่าจะเริ่มขึ้นในช่วงหลัง เพราะที่เชียงใหม่ นายโอฬารจบจากโรงเรียนปรินส์ รอยแยลส์ วิทยาลัย ซึ่งมีปรัชญาและแนวคิดแตกต่างจากโรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัยที่ พ.ต.ท.ทักษิณเป็นศิษย์เก่า และสายสัมพันธ์นี้น่าจะมีที่มาจากหลายช่องทางด้วยกัน ช่องทางหนึ่งโดยผ่านทางพารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา อดีตผู้จัดการใหญ่ บริษัทปูนซิเมนต์ไทย
อยู่กับทักษิณติดโรคผลประโยชน์ทับซ้อน
จากข้อมูลของ “ผู้จัดการรายเดือน” ระบุว่า นอกจากล้มเหลวการทำนายค่าเงินบาทในช่วงวิกฤติต้มยำกุ้งแล้ว การที่นายโอฬารมาทำงานให้พ.ต.ท.ทักษิณ หลายอย่างก็นับเป็นอีกวาระที่ทำให้ชื่อเสียงของนายโอฬารเสียความศรัทธาอย่างบอบช้ำ โดยเฉพาะการทำหน้าที่ในระหว่างปี 2547-2549 ขณะที่นั่งทำงานใน ตำแหน่งกรรมการและกรรมการตรวจสอบ บริษัทชิน คอร์ปอเรชั่น, กรรมการและกรรมการตรวจสอบ บริษัท ปตท., กรรมการบริษัทการบินไทย โดยที่สาธารณะไม่เคยลืมก็คือ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการเตรียมการจัดตั้งบริษัท กฟผ.จำกัด (มหาชน) ซึ่งมีปัญหาในการแปรรูปจนศาลปกครองสั่งให้ล้มการแปรรูป
"ตามข้อเท็จจริง ขณะที่นายโอฬาร ไชยประวัติ ได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการเตรียมการจัดตั้งบริษัทนั้น นายโอฬารเป็นกรรมการในบริษัทชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ที่เป็นผู้ถือหุ้นหลักในบริษัทแอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) ซึ่งประกอบกิจการเกี่ยวกับการสื่อสารและโทรคมนาคม จึงเป็นนิติบุคคลที่มีประโยชน์ได้เสียเกี่ยวข้องกับกิจการของ กฟผ. ที่มีระบบรับส่งข้อมูลประกอบด้วยเส้นใยแก้วนำแสง และต่อมาบริษัท กฟผ. จำกัด (มหาชน) ได้จัดตั้งบริษัท กฟผ.โทรคมนาคม จำกัด เพื่อประกอบกิจการโทรคมนาคมและการสื่อสารทุกชนิด บริษัทชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) จึงมีประโยชน์ได้เสียกับกิจการของ กฟผ.และบริษัท กฟผ. จำกัด (มหาชน)
อีกทั้งนายโอฬารยังเป็นกรรมการบริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นนิติบุคคลที่ กฟผ.ซื้อก๊าซธรรมชาติจากบริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) อีกด้วย นายโอฬารจึงเป็นกรรมการในนิติบุคคลที่มีประโยชน์ได้เสียเกี่ยวข้องกับกิจการของ กฟผ. และบริษัท กฟผ.จำกัด (มหาชน) และมีลักษณะต้องห้ามเป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการเตรียมการจัดตั้งบริษัทตามที่ระบุไว้ในมาตรา 17(5) ประกอบมาตรา 5 มาตรา 9 ของ พ.ร.บ.ทุนรัฐวิสาหกิจ และตามหลักฐานประวัติของนายโอฬารที่ใช้ประกอบการพิจารณาออกคำสั่งแต่งตั้งก็ระบุการเป็นกรรมการดังกล่าวไว้ชัดเจน นายโอฬารจึงเป็นผู้มีลักษณะต้องห้ามที่เป็นปฏิปักษ์ต่อการปฏิบัติหน้าที่ในคณะกรรมการเตรียมการจัดตั้งบริษัท อันเป็นการขัดต่อหลักความเป็นกลาง ซึ่งผู้มีอำนาจออกคำสั่งแต่งตั้งได้รู้หรือควรรู้ถึงลักษณะต้องห้ามดังกล่าวแล้ว คำสั่งแต่งตั้งนายโอฬารเป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการเตรียมการจัดตั้งบริษัทจึงขัดต่อกฎหมาย และถือได้ว่าเป็นเหตุอันมีสภาพร้ายแรง จึงมีผลทำให้การกระทำใดๆ ของคณะกรรมการเตรียมการจัดตั้งบริษัทเสียไปทั้งหมด หรือไม่มีผลทางกฎหมาย" นี่คือ เนื้อหาคำตัดสินของศาลปกครองสูงสุด ที่ให้ล้มการแปรรูปกิจการบริษัท กฟผ.เมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2549
เอกชนมึนครม.ใหม่ผิดฝาผิดตัว
ด้านกระทรวงเศรษฐกิจอื่นๆ นายสุนันท์ เห็นว่า คงทำได้แค่เข้ามานั่งทำงานระยะเวลาสั้นๆ โดยจะสิ้นอายุขัยตามกระบวนการยุติธรรมไปเองเพราะคดีต่างๆมีมากมาย ส่วนกระทรวงการคลังก็ได้นักวิชาการที่หมดความน่าเชื่อถือเพราะเลือกข้างมานานแล้วเพียงแต่ไม่เปิดเผยตัวเองว่าเป็นคนในระบอบทักษิณ การมานั่งเก้าอี้ขุนคลังของนายสุชาติก็เป็นแค่การจัดคนมานั่งให้เต็ม
“รมว.คลังถือว่าเป็นผู้นำกระทรวงเศรษฐกิจทั้งหมด ผลงานและความสามารถอย่างนายสุชาติ ธาดาธำรงเวช ซึ่งเคยเป็นรัฐมนตรีช่วยทดลองงานมาระยะหนึ่งแต่ไม่มีงานอะไรออกมาเลยย่อมชี้ให้เห็นแล้วว่าเขาเป็นคนอย่างไรนอกจากเก่งแค่พูด นายสุชาติก็เหมือนนายสมชายที่มาไกลถึงปลายฝันแบบส้มหล่น ใครก็ไม่คาดคิดว่า นายสุชาติจะได้เป็นรัฐมนตรีคลังซึ่งที่ทำได้ก็คงรับใช้นายทุน ผลักดันโครงการอะไรที่วาระของพรรคพลังประชาชนมากกว่าจะเข้ามาแก้ปัญหาประเทศ” นายสุนันท์กล่าว
นายสมชัย จิตสุชน ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัย สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) ไม่ค่อยพอใจรายชื่อครม.ชุดใหม่ เพราะส่วนใหญ่มีคุณสมบัติไม่สอดคล้องกับกระทรวงที่ได้รับมอบหมาย ทั้งที่ในความเป็นจริงแต่ละกระทรวงต้องการผู้เชี่ยวชาญแตกต่างกันไป และการจะเรียนรู้งานต้องใช้เวลามาก
นายเกียรติพงษ์ น้อยใจบุญ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท เอกรัฐวิศวกรรม จำกัด (มหาชน) กล่าวถึง คณะรัฐมนตรี(ครม.)ใหม่ว่า ไม่ได้เปลี่ยนแปลงไปจากครม.ชุดเดิมของนายสมัคร สุนทรเวช แต่อย่างใด โดยเห็นว่าเป็นการจัดตั้งรัฐมนตรีตามโควต้าของกลุ่มการเมืองมากกว่าที่จะยึดหลักความเหมาะสมจึงไม่แปลกที่จะเห็นตัวบุคคลที่มาดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจมีลักษณะผิดฝา ผิดตัว เช่น นำตำรวจมาคุมกระทรวงอุตสาหกรรม ได้นายแพทย์มาดูแลด้านพลังงาน และมีพยาบาลมาช่วยด้านการเงิน เป็นต้น
“ มันไม่มีอะไรที่ต่างไปจากเดิมเลยคิดว่าคงเป็นการจัดตั้งรัฐบาลเฉพาะกิจมากกว่าและการนำเอาบุคคลมาดำรงตำแหน่งในกระทรวงเศรษฐกิจนั้นส่วนใหญ่ก็ยังไม่มีผลงานเป็นที่ประจักษ์มากนักและผมไม่เชื่อว่าการจะนำใครมาเป็นรัฐมนตรีโดยไม่มีพื้นฐานความรู้บ้างเลยมาบริหารจะไปได้ไกล ซึ่งในส่วนของกระทรวงการคลังทีได้นายสุชาติ ธาดาธำรงเวช มาเป็นรมว. ที่ผ่านมายอมรับว่าเป็นบุคคลที่กล้าในเรื่องของการวิพากษ์วิจารณ์แต่ยังไม่เคยพิสูจน์ผลงานในทางปฏิบัติจึงคงต้องจับตาดูว่าจะพิสูจน์ฝีมือได้มากน้อยเพียงใด” นายเกียรติพงษ์ กล่าว
นิด้าชี้อ่อนประสบการณ์การเงิน
รศ.ดร.มนตรี โสคติยานุรักษ์ รองคณบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนา คณะรัฐประศาสนศาสตร์ (GSPA) สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยว่า งานสิ่งแรกที่รัฐบาลชุดใหม่จะต้องเร่งสร้างความเชื่อมั่นในหมู่นักลงทุนและภาคเอกชนทั้งในประเทศและต่างประเทศกลับคืนมา โดยนายกฯ จะต้องมีการฟอร์มทีมที่ปรึกษาทางเศรษฐกิจเสริมขึ้นมาอีกหนึ่งทีม เพื่อเข้ามาดูแลให้คำแนะนำ และติดตามนโยบายต่างๆ ที่ต้องเร่งขับเคลื่อนเศรษฐกิจของไทย สร้างความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุนได้เห็นภาพของการให้ความสำคัญกับการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของไทยเป็นอันดับแรก เนื่องจากปัญหาเศรษฐกิจของไทยยังมีความเสี่ยงอีกหลายด้าน โดยเฉพาะปัญหาวิกฤติการเงินสหรัฐที่จะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
ทั้งนี้ หากดูถึงทีมเศรษฐกิจของรัฐบาลชุดนี้ มีนายโอฬาร ไชยประวัติ เท่านั้น ที่มีความเชี่ยวชาญภาคการเงิน ดังนั้น ทีมเศรษฐกิจของรัฐบาลชุดนี้ ควรหาทีมที่ปรึกษาที่มีความเชี่ยวชาญเรื่องภาคการเงินเข้ามา เพื่อรับมือกับปัญหาวิกฤติการเงินของสหรัฐที่มีความซับซ้อนและยากที่จะใช้เพียงเครื่องมือทางภาคการคลังเข้ามาแก้ไขปัญหาเท่านั้น
อ.จุฬาฯชี้สุดอัปลักษณ์-ศึกษาหมดหวัง
ดร.สมพงษ์ จิตระดับ อาจารย์คุรุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า จากที่ได้เห็นโผคณะรัฐมนตรี(ครม.)ของนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ นายกรัฐมนตรีแล้ว ต้องบอกว่าในภาพรวมไม่ดีขึ้นกว่าที่ผ่านมมา ซึ่งผิดกับตอนที่นายสมชายรับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ซึ่งขณะนี้มีคำพูดดีๆ และมีคำมั่นสัญญาที่ดีกับประชาชน แต่เมื่อมาจัดตั้ง ครม. รายชื่อที่ออกมากลับไม่สัมพันธ์ และไม่สอดคล้องกับสิ่งที่รับปากกับประชาชนไว้
“ในรัฐบาลสมัคร เราเรียกว่า ครม.ขี้เหร่ แต่ ครม.สมชายต้อง เรียกขี้ริ้ว ขี้เหร่ ไม่ดีเท่าที่ควร คาดว่าการตั้ง ครม.ชุดนี้ขึ้นมา คงเพื่อมาดูแลเรื่องงบประมาณให้ผ่าน เมื่อผ่านไปสักระยะหนึ่ง ประมาณ 3 เดือน หรืออย่างมากไม่เกิน 6 เดือนก็คงจะต้องเลือกตั้งกันใหม่ ต้องบอกว่าดูสภาพ ครม.แล้ว เสียความรู้สึก ซึ่งสมชายมีโอกาสดี แต่กลับตั้ง ครม.ออกมาแบบนี้”
ดร.สมพงษ์ กล่าวอีกว่า ในส่วนของ รมว.ศึกษาธิการ ซึ่งหากเป็นนายศรีเมือง เจริญศิริ ตามที่ปรากฏออกมาจริง ก็ต้องบอกว่าเราคงไม่สามารถไปคาดหวังอะไรกับ รมว.ศึกษาธิการคนนี้ได้ และต้องถามว่า การแต่งตั้ง รมว.ศึกษาธิการครั้งนี้ เป็นการแต่งตั้งตามความรู้ความสามารถหรือแต่งตั้งตามโควตา ว่าเป็นคนของกลุ่มใด ก๊วนของใครกันแน่ เนื่องจากหากจะพิจารณาตามความสามารถแล้ว นายศรีเมืองก็ไม่น่าจะเข้าข่ายนั้น
“ผมทำงานการศึกษามา 30 ปี ซึ่งตลอดเวลาที่ผ่านมา ไม่เคยได้ยินชื่อศรีเมืองออกมาแสดงความเห็นหรือให้ข้อเสนอแนะต่อการศึกษาไทยแม้แต่ประโยคเดียว แล้วจะหวังให้เข้ามาพัฒนาการศึกษา มันคงเป็นไปไม่ได้ นอกจากนี้ภาพของนายศรีเมืองก็ชัดเจนว่าเป็นคนของผู้นำประเทศคนเก่า ตั้งแต่สมัยดำรงตำแหน่งสมาชิกวุฒิสภา ก็ยิ่งชัดว่า ครม.ที่ตั้งขึ้นครั้งนี้ เป็นการแบ่งตามโควต้า และทำให้เราคาดหวังการพัฒนาทางการศึกษาไม่ได้เลย”
นายศรีเมือง เจริญศิริ จบวิศวะ ด้านโทรคมนาคม จากสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าฯ ลาดกระบัง รุ่นที่ 1 M.B.A. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ Certificate : Telecommunication Executive management Institute oF CANADA ลงเล่นการเมือง
โดยได้รับเลือกเป็น สมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) จ.มหาสารคาม ปี 2543 ซึ่งถือเป็นยุคมืดของ ส.ว.เพราะถูกครอบงำโดยรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ในยุคนั้น จนได้ชื่อว่า "สภาทาส" โดยมีการล็อบบี้ช่วยเหลือฝ่ายรัฐบาล และการแต่งตั้งคณะกรรมการองค์กรอิสระ โดยมีนายศรีเมือง เจริญศิริ ซึ่งใกล้ขิดกับ คุณหญิงพจมาน ชินวัตร ภริยา พ.ต.ท.ทักษิณ เป็นหัวหอกในการล็อบบี้ ส.ว.กว่าครึ่งสภา จนฉาวโฉ่ที่สุดครั้งหนึ่ง เท่าที่เคยมี ส.ว.มา
ไล่เรียงตัวล้วนมีแต่ตำหนิ
อย่างไรก็ดี รัฐมนตรีคนอื่นๆ ที่มีประวัติการทำงานและพฤติกรรมอื้อฉาว จากการรวบรวมของ “ผู้จัดการรายวัน” พบว่า
นพ.วรรณรัตน์ ชาญนุกูล รมว.พลังงาน นั้นจบแพทย์ศาสตร์บัณฑิต จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นคู่เขยของ นายสุวัจน์ ลิปตภัลลพ อดีตกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทย หัวหน้ากลุ่มลำตะคอง ตำแหน่งทางการเมืองเป็นอดีตที่ปรึกษา รมว.สาธารณสุข รมว.แรงงาน และที่ปรึกษารองนายกรัฐมนตรี นับเป็นการเข้ามาภายใต้การสืบต่อของกลุ่มผลประโยชน์ทางการเมือง
นายสุขุมพงษ์ โง่นคำ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐ-มนตรี จบการศึกษาคณะนิติศาสตร์ยัณฑิต (เกียรตินิยมดี) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้รับเลือกเป็น ส.ส.กาฬสินธ์ พรรคไทยรักไทย ปี 2544 และครั้งนี้ เป็น ส.ส.สัดส่วน พรรคพลังประชาชน เป็นแกนนำคนสำคัญของพรรคพลังประชาชนในการผลักดันให้แก้ไขรัฐธรรมนูญ
พล.ต.อ.โกวิท วัฒนะ รมว.มหาดไทย จบการศึกษาจากโรงเรียนนายร้อย รุ่น 6 โรงเรียนนายร้อยตำรวจ รุ่น 22 เส้นทางรับราชการมาจากตำรวจตระเวณชายแดนเป็นหลัก จนได้ขึ้นเป็นรอง ผบ.ตร. และเป็น ผบ.ตร. แต่ถูกปลดพ้นตำแหน่งก่อนเกษียณ หลังเกิดการรัฐประหาร วันที่ 19 ก.ย.2549 เข้ามารับตำแหน่งรองนายกฯ และ รมว.มหาดไทย ช่วงท้ายรัฐบาลนายสมัคร สุนทรเวช จากการผลักดันของ นายเนวิน ชิดชอบ อดีตกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทย เพื่อมาดำเนินการกับกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย มีการนำคนใกล้ชิดนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ น้องชายนายเนวิน เข้ามาเป็นที่ปรึกษา มีบทบาทสำคัญในการโยกย้ายข้าราชการ สร้างความปั่นป่วนในหมู่ข้าราชการกระทรวงมหาดไทยอย่างมาก
นายสงคราม กิจเลิศไพโรจน์ รมช.พาณิชย์ จบศิลปศาสตร์ จากสถาบันราชภัฎราชบุรี ปริญญาโท สาขารัฐประศาสตร์
ศาสตร์ จากสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ เจ้าของศูนย์การค้าอิมพีเรียล ลาดพร้าว ที่ตั้งสถานีโทรทัศน์ พีทีวี เป็น ส.ส.สมุทรปราการ เหรัญญิกพรรรคพลังประชาชน และเป็นแกนนำจทดทะเบียนพรรคเพื่อไทย ตำแหน่งทางการเมืองเป็นอดีตทีปรึกษา รมว.มหาดไทย ที่ปรึกษา รมว.กลาโหม และ ที่ปรึกษา รมต.ประสำนักนายกฯ
นายโสภณ ซารัมย์ รมช.คมนาคม จบคุรุศาสตร์บัณฑิต วิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์ เป็นคนใกล้ชิด นายเนวิน ชิดชอบ จึงได้เป็น ส.ส.บุรีรัมย์มาหลายสมัย ล่าสุดได้รับการเซ้งตำแหน่ง รมช.คมนาคม ต่อจากนายทรงศักดิ์ ทองศรี ญาติ นายเนวิน และเป็นแกนนำกลุ่มเพื่อนเนวิน
นายสันติ พร้อมพัฒน์ รมว.คมนาคม จบศิลปศาสตร์บัณฑิต (รัฐศาสตร์) มหาวิทยาลัยรามคำแหง เป็น ส.ส.เพชรบูรณ์หลายสมัย ตั้งแต่ยุค พรรคความหวังใหม่ ที่มี พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ เป็นหัวหน้าพรรค ก่อนจะย้ายมาอยู่กับพรรคไทยรักไทย และพรรคพลังประชาชนในที่สุด โดยเป็น ส.ส.สัดส่วน เนื่องจากเป็นนายทุนตัวจริงของพรรค แทนนายพงษ์ศักดิ์ รักตพงษ์ไพศาล ที่ถูกเว้นวรรทางการเมือง 5 ปี จนได้เป็น รมว.คมนาคม ยุค นายสมัคร สุนทรเวช เป็นนายกรัฐมนตรี โดยไปร่วมก๊วนกับนายเนวิน
อื้อฉาวที่สุดเมื่อเรียนมหาวิทยาลัยรามคำแหง จ้างคนอื่นเข้ามาสอบแทน จนถูกตัดชื่อทิ้ง ซึ่งตามระเบียบมหาวิทยาลัยจะไม่มีโอกาสกลับเข้ามาเรียนต่อได้อีก แต่ไม่ทราบเพราะอะไรนายสันติ กลับเข้ามาเรียนต่อจนจบท่ามกลางความสงสัยของสังคม