ทีพีซี เตรียมควักกระเป๋า 350 ล้านบาท ลงทุนผ่านกองทุนรวม หวังสร้างรายได้เพิ่มอีก 2-3% ต่อลมหายใจ หลังพบสัจธรรมขายบัตรสมาชิกอย่างเดียวอยู่ไม่รอด “สุรพงษ์” เผย ให้ฝ่ายการเงินศึกษา ก่อนเปิดรับขอเสนอจากกองทุนที่สนใจ เน้นต้องเป็นกองทุนขนาดใหญ่และมั่นคง แย้มไต๋ถ้าเป็น MFC หรือ KTAM จะพิจารณาเป็นพิเศษ พร้อมเล็งปรับขึ้นค่าโอนเปลี่ยนชื่อเป็น30%
นายสุรพงษ์ เตรียมชาญชัย ประธานคณะกรรมการบริหาร และรักษาการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไทยแลนด์ พริวิเลจ คาร์ด จำกัด (ทีพีซี) ผู้บริหารโครงการบัตร ไทยแลนด์ อีลิท เปิดเผยว่า บริษัทมีแนวคิดที่จะนำเงินสดที่มีอยู่ ราว 600-700 ล้านบาท ออกไปลงทุนราว 50% หรือประมาณ 300-350 ล้านบาท เพื่อให้บริษัทมีรายได้เพิ่มเติมขึ้นมาอีกทางหนึ่ง ที่นอกเหนือจากดอกเบี้ยเงินฝาก
โดยจะเลือกลงทุนผ่านกองทุนขนาดใหญ่ที่มั่นคง และถ้าเป็นไปได้ก็จะเลือกกองทุนที่เป็นหน่วยงานรัฐบาล หรือรัฐวิสาหกิจ เพราะ มีสถานะเดียวกันกับทีพีซี ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจเช่นกัน เช่น บมจ.หลักทรัพย์จัดการกองทุน เอ็มเอฟซี(MFC) ซึ่งเป็นของธนาคารออมสิน และ บมจ.หลักทรัพย์จัดการกองทุนกรุงไทย หรือ KTAM ของธนาคารกรุงไทย เป็นต้น แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับข้อเสนอของแต่ละราย ซึ่งขณะนี้ได้สั่งการให้ฝ่ายการเงินของบริษัทศึกษารายละเอียด ก่อนจะเปิดให้กองทุนที่สนใจเข้ามานำเสนอ
นายสุรพงษ์ กล่าวว่า อีลิทต้องมีรายได้หลายทาง ไม่ใช่แค่ขายบัตรสมาชิก เพราะ หากคิดเท่านั้นก็เท่ากับเราต้องดำเนินธุรกิจขาดทุนแน่ๆ เพราะ บัตรแต่ละใบเมื่อขายได้ จะรับรู้รายได้ทางบัญชีเพียง 10% ของราคาบัตรเท่านั้น ขณะที่เราต้องให้บริการแก่สมาชิกตลอดชีพ หรืออย่างน้อย 30 ปี เราจึงต้องมีรายได้จากหลายทาง เช่น ค่าฟีจากการประสานงาน และ แม้กระทั่ง การนำเงินสดที่มีอยู่ออกไปลงทุนให้เกิดผลตอบแทน เพราะปัจจุบัน เงินสดของบริษัท กว่า 600 ล้านบาท ฝากอยู่ในธนาคารผลตอบแทนเพียง 2%ต่อปี แต่หากได้ลงทุนผ่านกองทุน ก็หวังว่าจะได้ผลตอบแทนเพิ่มเป็น 4-5% ต่อปี
“การลงทุนของ ทีพีซีจะต้องมีความเสี่ยงน้อยที่สุด เพราะ เราเป็นรัฐวิสาหกิจ ที่ใช้งบประมาณของรัฐบาล และที่สนใจคือการลงทุนในพันธบัตรรัฐบาล หุ้นกู้ หรือตราสารหนี้ แต่จะไม่นำเงินไปลงทุนในตลาดทุน เพราะมีความเสี่ยงสูงเกินไป ส่วนผลตอบแทนขอให้ดีกว่าเงินฝากก็พอใจแล้ว โดยจะกระจายลงทุนในหลายๆแบบ เพื่อลดความเสี่ยงด้วย ธุรกิจที่สนใจ เช่น กลุ่มพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ในย่านเมืองท่องเที่ยวเช่น ภูเก็ต สมุย หัวหิน และ เชียงใหม่” นายสุรพงษ์ กล่าว
สำหรับโครงการอินเวสเตอร์คลับ อาจเปิดตัวช้ากว่ากำหนดการเดิมราว 1 เดือน เพราะ ต้องการให้ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย(ตลท.) คัดรายชื่อนักธุรกิจมาให้ ทีพีซี ดูก่อน 200-300 ราย เป็นการคัดกรองเบื้องต้น ก่อนจะเปิดตัวโครงการนี้ พร้อมรับสมัครผู้สนใจเข้าเป็นสมาชิก
“การคัดกรองรายชื่อ เพื่อสร้างความมั่นใจให้แก่สมาชิกผู้ถือบัตรอีลิทได้ว่า เป็นบุคคล ที่น่าเชื่อถือและน่าร่วมลงทุนด้วย นักธุรกิจคนไทยที่เป็นสมาชิกจะ ได้ร่วมงานที่ อีลิทการ์ดจัดขึ้น โดยคนกลุ่มนี้จะเป็นเน็คเวิร์ดด้านการลงทุนให้แก่สมาชิกอีลิท ที่สนใจเข้ามามีเครือข่ายการลงทุนในประเทศไทย ”
อย่างไรก็ตาม ยังมีแนวคิดว่าในอนาคต อาจปรับขึ้นค่าธรรมเนียมการโอนเปลี่ยนชื่อผู้ถือบัตรอีลิทเป็น 30%ของราคาบัตรหรือประมาณ 4.5 แสนบาท โดยโอนได้ไม่จำกัดจำนวนครั้ง จากปัจจุบันเก็บค่าธรรมเนียมการโอนที่ 10% หรือ 1.5 แสนบาท โอนได้ครั้งเดียว ตรงนี้ก็จะช่วยสร้างรายได้เข้าองค์กรได้อีก ซึ่งสถิติที่ผ่านมา สมาชิกอีลิท มีการโอนเปลี่ยนชื่อผู้ถือบัตรไปราว 5% ของยอดสมาชิก ที่มีอยู่ขณะนี้กว่า 2 .5 พันราย
นายสุรพงษ์ เตรียมชาญชัย ประธานคณะกรรมการบริหาร และรักษาการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไทยแลนด์ พริวิเลจ คาร์ด จำกัด (ทีพีซี) ผู้บริหารโครงการบัตร ไทยแลนด์ อีลิท เปิดเผยว่า บริษัทมีแนวคิดที่จะนำเงินสดที่มีอยู่ ราว 600-700 ล้านบาท ออกไปลงทุนราว 50% หรือประมาณ 300-350 ล้านบาท เพื่อให้บริษัทมีรายได้เพิ่มเติมขึ้นมาอีกทางหนึ่ง ที่นอกเหนือจากดอกเบี้ยเงินฝาก
โดยจะเลือกลงทุนผ่านกองทุนขนาดใหญ่ที่มั่นคง และถ้าเป็นไปได้ก็จะเลือกกองทุนที่เป็นหน่วยงานรัฐบาล หรือรัฐวิสาหกิจ เพราะ มีสถานะเดียวกันกับทีพีซี ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจเช่นกัน เช่น บมจ.หลักทรัพย์จัดการกองทุน เอ็มเอฟซี(MFC) ซึ่งเป็นของธนาคารออมสิน และ บมจ.หลักทรัพย์จัดการกองทุนกรุงไทย หรือ KTAM ของธนาคารกรุงไทย เป็นต้น แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับข้อเสนอของแต่ละราย ซึ่งขณะนี้ได้สั่งการให้ฝ่ายการเงินของบริษัทศึกษารายละเอียด ก่อนจะเปิดให้กองทุนที่สนใจเข้ามานำเสนอ
นายสุรพงษ์ กล่าวว่า อีลิทต้องมีรายได้หลายทาง ไม่ใช่แค่ขายบัตรสมาชิก เพราะ หากคิดเท่านั้นก็เท่ากับเราต้องดำเนินธุรกิจขาดทุนแน่ๆ เพราะ บัตรแต่ละใบเมื่อขายได้ จะรับรู้รายได้ทางบัญชีเพียง 10% ของราคาบัตรเท่านั้น ขณะที่เราต้องให้บริการแก่สมาชิกตลอดชีพ หรืออย่างน้อย 30 ปี เราจึงต้องมีรายได้จากหลายทาง เช่น ค่าฟีจากการประสานงาน และ แม้กระทั่ง การนำเงินสดที่มีอยู่ออกไปลงทุนให้เกิดผลตอบแทน เพราะปัจจุบัน เงินสดของบริษัท กว่า 600 ล้านบาท ฝากอยู่ในธนาคารผลตอบแทนเพียง 2%ต่อปี แต่หากได้ลงทุนผ่านกองทุน ก็หวังว่าจะได้ผลตอบแทนเพิ่มเป็น 4-5% ต่อปี
“การลงทุนของ ทีพีซีจะต้องมีความเสี่ยงน้อยที่สุด เพราะ เราเป็นรัฐวิสาหกิจ ที่ใช้งบประมาณของรัฐบาล และที่สนใจคือการลงทุนในพันธบัตรรัฐบาล หุ้นกู้ หรือตราสารหนี้ แต่จะไม่นำเงินไปลงทุนในตลาดทุน เพราะมีความเสี่ยงสูงเกินไป ส่วนผลตอบแทนขอให้ดีกว่าเงินฝากก็พอใจแล้ว โดยจะกระจายลงทุนในหลายๆแบบ เพื่อลดความเสี่ยงด้วย ธุรกิจที่สนใจ เช่น กลุ่มพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ในย่านเมืองท่องเที่ยวเช่น ภูเก็ต สมุย หัวหิน และ เชียงใหม่” นายสุรพงษ์ กล่าว
สำหรับโครงการอินเวสเตอร์คลับ อาจเปิดตัวช้ากว่ากำหนดการเดิมราว 1 เดือน เพราะ ต้องการให้ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย(ตลท.) คัดรายชื่อนักธุรกิจมาให้ ทีพีซี ดูก่อน 200-300 ราย เป็นการคัดกรองเบื้องต้น ก่อนจะเปิดตัวโครงการนี้ พร้อมรับสมัครผู้สนใจเข้าเป็นสมาชิก
“การคัดกรองรายชื่อ เพื่อสร้างความมั่นใจให้แก่สมาชิกผู้ถือบัตรอีลิทได้ว่า เป็นบุคคล ที่น่าเชื่อถือและน่าร่วมลงทุนด้วย นักธุรกิจคนไทยที่เป็นสมาชิกจะ ได้ร่วมงานที่ อีลิทการ์ดจัดขึ้น โดยคนกลุ่มนี้จะเป็นเน็คเวิร์ดด้านการลงทุนให้แก่สมาชิกอีลิท ที่สนใจเข้ามามีเครือข่ายการลงทุนในประเทศไทย ”
อย่างไรก็ตาม ยังมีแนวคิดว่าในอนาคต อาจปรับขึ้นค่าธรรมเนียมการโอนเปลี่ยนชื่อผู้ถือบัตรอีลิทเป็น 30%ของราคาบัตรหรือประมาณ 4.5 แสนบาท โดยโอนได้ไม่จำกัดจำนวนครั้ง จากปัจจุบันเก็บค่าธรรมเนียมการโอนที่ 10% หรือ 1.5 แสนบาท โอนได้ครั้งเดียว ตรงนี้ก็จะช่วยสร้างรายได้เข้าองค์กรได้อีก ซึ่งสถิติที่ผ่านมา สมาชิกอีลิท มีการโอนเปลี่ยนชื่อผู้ถือบัตรไปราว 5% ของยอดสมาชิก ที่มีอยู่ขณะนี้กว่า 2 .5 พันราย