ข่าวเชิงวิเคราะห์โดย “ทีมข่าวพิเศษ”
ผู้จัดการรายวัน - กางวาระเร่งด่วนวัดใจ “สมชาย วงศ์สวัสดิ์” กับคำถามหลังการก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งนายกรัฐมนตรี “แฟมิลีชินวัตร” ตัวจริงเสียงจริง ในฐานะสมาชิกในครอบครัวผู้มีศักดิ์เป็น “น้องเขย” พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี จำเลยที่ถูกออกหมายจับเพราะหนีคดีในเวลานี้ คือ นายกรัฐมนตรีคนใหม่ จะใช้อำนาจหน้าที่เข้ามาแทรกแซงกระบวนการยุติธรรมหรือไม่? ไม่ว่าจะเป็นคดีที่อยู่ในกระบวนการพิจารณาของศาล สำนักงานอัยการสูงสุด และคณะกรรมการปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.)
คดีความต่างๆ ไม่เพียงแต่จะทำให้ “ทักษิณ” มีสิทธิ์ติดคุกเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงบรรดาเหล่าบริวารว่านเครือ วงศาคณาญาติ และศรีภรรยาของนายกรัฐมนตรีคนใหม่ นางเยาวภา วงศ์สวัสดิ์ หรือ “เจ๊แดง” เจ้าแม่วังบัวบาน อาจจะเผชิญปัญหาชะตากรรมที่ไม่ด้อยไปกว่ากัน
ที่สำคัญ บางคดีความ ยังเกี่ยวพันไปถึงนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ เองอีกด้วย
ท่าทีของนายกรัฐมนตรีคนใหม่ ต่อประเด็นข้างต้นจึงถูกจับตามองจากสังคมอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะจาก “กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย” ซึ่งชุมนุมปักหลักอยู่ในทำเนียบรัฐบาลขณะนี้ ที่ประกาศชัดเจนว่าไม่เชื่อแม้สักวินาทีเดียวว่า น้องเขยทักษิณ จะยอมปล่อยให้คดีความต่างๆ ของพี่ภรรยาและบริวาร รวมถึงคดีที่ตนเองเข้าไปเกี่ยวข้อง ดำเนินไปตามครรลองของกระบวนการยุติธรรมโดยไม่เข้าไปแทรกแซงใดๆ ทั้งยังจะเร่งรัดให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และอัยการ นำตัวจำเลยจากอังกฤษมาเข้าสู่ระบบศาลของไทย
หากมองย้อนกลับไปดูประวัติการทำงานของน้องเขยทักษิณผู้นี้จะพบว่า มีแต่เขาเท่านั้นที่จะได้รับการสนับสนุนให้ก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ในห้วงเวลาที่คดีความต่างๆ ของพี่ภรรยา บริวาร และตัวเขาเองเริ่มใกล้งวด เพราะค่อนชีวิตการทำงานของสมชายนั้นรับราชการที่กระทรวงยุติธรรมมาโดยตลอด เริ่มต้นจากตำแหน่งผู้ช่วยผู้พิพากษา จนถึงกระทั่งถึงตำแหน่งสูงสุด คือ ปลัดกระทรวง ในยุคที่ทักษิณเรืองอำนาจ
กล่าวคือ เมื่อปี 2517 สมชายเป็นผู้ช่วยผู้พิพากษา กระทรวงยุติธรรม, ปี 2518 ผู้พิพากษาประจำกระทรวง, ปี 2519 ผู้พิพากษาศาลแขวงเชียงใหม่, ปี 2520 ผู้พิพากษาศาลจังหวัดเชียงใหม่, ปี 2526 ผู้พิพากษาศาลจังหวัดเชียงราย, ปี 2529 ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัดพังงา,ปี 2530 ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลคดีเด็กและเยาวชนจังหวัดระยอง, ปี 2531 ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัดชลบุรี, ปี 2532 ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัดนนทบุรี
ปี 2533 ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลอาญาธนบุรี, ปี 2536 ผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 3, ปี 2540 ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลอุทธรณ์ภาค 2, ปี 2541 รองปลัดกระทรวงยุติธรรม ฝ่ายวิชาการ, ปี 2542 รองปลัดกระทรวงยุติธรรม ฝ่ายบริหาร
และช่วงระหว่าง 11 พฤศจิกายน 2542 - มีนาคม 2549 ดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวงยุติธรรม จากนั้นข้ามห้วยไปนั่งเป็นปลัดกระทรวงแรงงาน ระหว่าง 8 มีนาคม - กันยายน 2549 ก่อนจะเข้าสู่ถนนการเมืองเข้ารับตำแหน่งรองหัวหน้าพรรคพลังประชาชนเมื่อปี 2550 และได้รับเลือกตั้งเป็นส.ส.แบบสัดส่วน กลุ่มจังหวัดที่ 1 คราวเลือกตั้งใหญ่เมื่อวันที่ 23 ธ.ค. 2550
เครือข่ายความสัมพันธ์ที่ซึมลึกในกระบวนการยุติธรรมของสมชายนั้นไม่มีใครปฏิเสธได้ และถึงแม้กระบวนการยุติธรรมจะมีภาพความเที่ยงธรรม แทรกแซงได้ยาก แต่ก็เคยมีการวิ่งเต้นศาล การติดสินบนศาล เป็นคดีความครึกโครมปรากฏต่อสังคมมาแล้ว
ประพันธ์ คูณมี หนึ่งในผู้มีบทบาทสำคัญของกลุ่มพันธมิตรฯ กล่าวบนเวทีพันธมิตรฯ ที่ทำเนียบรัฐบาล เมื่อคืนวันที่ 18 ก.ย.51 ว่า จะให้เชื่อได้อย่างไรว่านายสมชายจะไม่วิ่งเต้นแทรกแซงคดีทักษิณ ถูกฟ้องร้องในศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง เพราะที่ผ่านมา นายสมชาย เคยวิ่งเต้นช่วยพี่ภรรยามาแล้วในคดีซุกหุ้นภาค 1 เมื่อปี 2544
เรื่องการวิ่งเต้นคดีซุกหุ้น น.ต.ประสงค์ สุ่นศิริ ได้เขียนบทความพาดพิงถึงตุลาการศาลรัฐธรรมนูญว่ามีการจ่ายเงินหลายร้อยล้านเพื่อแลกกับเสียงตุลาการ กระทั่งเกิดการฟ้องร้องกันปรากฏเป็นคดีความในชั้นศาล ซึ่งในการสืบพยานมีการเปิดเผยข้อเท็จจริงถึงการปรึกษาหารือ การวิ่งเต้นเพื่อช่วยเหลือทักษิณ หลุดพ้นจากความผิดซุกหุ้น
สำหรับคดีความของอดีตนายกรัฐมนตรี ที่อยู่ในกระบวนการพิจารณาของศาลฎีกาฯ ขณะนี้ นอกเหนือจากคดีทุจริตที่ดินรัชดาภิเษก ซึ่งศาลฯออกหมายจับพ.ต.ท.ทักษิณ และคุณหญิงพจมาน ชินวัตร ภริยา จำเลยทั้งสองที่ไม่มาฟังคำพิพากษา และเลื่อนการอ่านคำพิพากษา จากวันที่ 17 ก.ย.2551 เป็นวันที่ 21 ต.ค.2551 แล้ว ยังมีคดีความต่างๆ ของอดีตนายกรัฐมนตรีที่ขึ้นสู่ศาลฎีกาฯ แล้ว คือ
1) คดีเอ็กซิมแบงก์ ปล่อยกู้รัฐบาลพม่าเอื้อประโยชน์ให้บริษัท ชินแซทเทลไลท์ฯ ในเครือชินคอร์ป ซึ่งเป็นคดีที่ศาลฎีกาฯ จำหน่ายคดีออกจากสาระบบชั่วคราวจนกว่าจะนำตัวจำเลยมาขึ้นศาลในการนัดพิจารณาคดีนัดแรก พร้อมกันนั้น ศาลฎีกาฯ กับออกหมายจับจำเลยที่มีเจตนาหลบหนีคดีอีกด้วย
2) คดีหวยบนดิน ศาลฎีกาฯ นัดพิจารณาคดีครั้งแรก ในวันที่ 26 ก.ย. 2551 โดยมี ป.ป.ช.เป็นโจทก์ ฟ้อง พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี พร้อมด้วยข้าราชการการเมืองและข้าราชการประจำสมัย 'รัฐบาลทักษิณ' รวม 47 คน ตกเป็นจำเลย คดีดังกล่าวนี้ หาก พ.ต.ท.ทักษิณ ไม่มาขึ้นศาลในนัดแรก มีความเป็นไปได้ว่าศาลฯ จะออกหมายจับเพื่อนำตัวจำเลยมาขึ้นสู่ศาลฯ เพิ่มอีกหนึ่งคดี
3) คดีทุจริตแก้ไขค่าสัมปทานโทรศัพท์มือถือ-ดาวเทียม เป็นภาษีสรรพสามิต เอื้อประโยชน์ธุรกิจชินคอร์ป คดีนี้ อัยการสูงสุดเป็นโจทก์ยื่นฟ้อง พ.ต.ท.ทักษิณ เป็นจำเลย กรณีทุจริตออกกฎหมายแก้ไขค่าสัมปทานโทรศัพท์มือถือ-ดาวเทียม เป็นภาษีสรรพสามิต เอื้อประโยชน์ธุรกิจบริษัท ชินคอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ทำให้รัฐเสียหาย 6.6 หมื่นล้านบาท คดีนี้ ศาลฎีกาฯ มีคำสั่งประทับรับคำฟ้องไว้พิจารณาพิพากษา และมีกำหนดนัดพิจารณาคดีครั้งแรก ในวันที่ 15 ตุลาคม 2551 เวลา 10.00 น.
4) คดียึดทรัพย์อดีตนายกรัฐมนตรี ซึ่งนายชัยเกษม นิติสิริ อัยการสูงสุด เป็นโจทก์ฟ้องขอให้ศาลมีคำสั่งให้ทรัพย์สินที่ร่ำรวยผิดปกติ และได้มาเนื่องจากการกระทำที่เป็นการขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนบุคคลและประโยชน์ส่วนรวมของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ซึ่งเป็นผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง จำนวน 76,621,603,061.05 บาท พร้อมดอกผล ตกเป็นของแผ่นดิน โดยศาลฎีกาฯ นัดฟังคำสั่งในวันที่ 16 ต.ค.นี้ เวลา 10.00 น.
คดีดังกล่าวข้างต้น ตราบใดที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ยังลอยนวลหนีหมายจับพำนักที่ต่างประเทศอย่างเริงร่า โดยฝ่ายตำรวจและอัยการ ไม่สามารถนำตัวอดีตนายกรัฐมนตรี มาขึ้นศาลในการพิจารณาคดีนัดแรกได้ คดีก็จะถูกจำหน่ายออกจากสาระบบชั่วคราว เหมือนเช่นที่เคยเกิดขึ้นกับคดีที่ดินรัชดาฯ มาก่อนหน้า และคดีเอ็กซิมแบงก์ฯ ในเวลานี้
นั่นเท่ากับว่า พ.ต.ท.ทักษิณ สามารถยื้อเวลาไปได้เรื่อยๆ ตราบใดที่หน่วยงานที่ทำหน้าที่ล่าตัว “ทักษิณ” อาชญากรข้ามชาติกลับมาดำเนินคดีในประเทศไทย คือ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และสำนักงานอัยการ เพิกเฉย หรือดำเนินการอย่างล่าช้าเพราะเวลานี้นายกรัฐมนตรี ผู้กุมอำนาจสูงสุดของประเทศคือ น้องเขยของอาชญากรข้ามชาติ
ไม่เพียงคดีในชั้นศาลฎีกาฯ ได้สะดุดหยุดลงอันเนื่องมาจากวิธีพิจารณาคดีอาญาที่ต้องนำตัวจำเลยมาขึ้นศาลในนัดแรกเท่านั้น แต่ยังมีความเป็นไปได้ที่อาจจะเกิดกรณี “ปรึกษาหารือ” นอกรอบ เหมือนดังเช่นที่เกิดขึ้นในคดีซุกหุ้นภาคหนึ่ง เพื่อพลิกสถานการณ์ให้เป็นคุณแก่อดีตนายกรัฐมนตรี โดยฝีมือและบารมีของน้องเขย
คำพิพากษาในคดีที่ดินรัชดาฯ ที่ศาลฎีกาฯ นัดอ่านคำพิพากษาในวันที่ 21 ต.ค.2551 จึงน่าจับตามองอย่างยิ่งว่าจะออกมาเป็นเช่นใด
นอกจากคดีความในศาลฎีกาฯ แล้ว ยังมีคดีความที่ คณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) ส่งมอบให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ดำเนินการต่อหลัง คตส. หมดวาระการทำงาน โดยคดีที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ตกเป็นผู้ถูกกล่าว คือ กรณีการซื้อสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตี้, กรณีกล่าวหาพ.ต.ท.ทักษิณ แจ้งบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินไม่ครบถ้วน
อีกทั้งยังมีคดีที่บริวารว่านเครือของ พ.ต.ต.ทักษิณ และรัฐมนตรีในรัฐบาลทักษิณ รวมไปถึง สมชาย วงศ์สวัสดิ์ ถูกกล่าวหาทุจริต ซึ่ง คตส. ส่งมอบให้ ป.ป.ช.ดำเนินการต่ออีกหลายคดี คือ
1) คดีจัดซื้อจัดจ้างปรับเปลี่ยนสายพานลำเลียงกระเป๋าสัมภาระผู้โดยสารและเครื่องตรวจสอบวัตถุระเบิดท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (ซีทีเอ็กซ์) โดย คตส.ชี้มูลบุคคลที่ถูกข้อกล่าวหาว่ามีส่วนเกี่ยวข้อง 22 คน และ 4 คนสำคัญในคดีนี้ คือ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร, สุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ อดีต รมว.กระทรวงคมนาคม, นายศรีสุข จันทรางศุ อดีตประธานกรรมการบริษัท ท่าอากาศยานสากลกรุงเทพแห่งใหม่ จำกัด (บทม.) และนายชัยเกษม นิติสิริ อัยการสูงสุด
2) คดีการทุจริตจัดซื้อจัดจ้างรถดับเพลิงและเรือดับเพลิงของกรุงเทพฯ (นายสมัคร สุนทรเวช อดีตนายกรัฐมนตรีและอดีตผู้ว่าการ กทม.ตกเป็นผู้ถูกกล่าวหา)
3) โครงการแอร์พอร์ตลิงก์ 4) การทุจริตจัดซื้อจัดจ้างในโครงการบ้านเอื้ออาทร 5 ) กรณีทุจริตว่าจ้างก่อสร้างและจัดซื้อวัสดุและอุปกรณ์ห้องปฏิบัติการกลางตรวจสอบผลิตภัณฑ์เกษตรและอาหาร หรือเซ็นทรัลแล็บ (นายเนวิน ชิดชอบ อดีตรมช.กระทรวเกษตรฯ ตกเป็นผู้ถูกกล่าวหา)
กรณีการกล่าวหาข้างต้น ป.ป.ช. จะยังสามารถดำเนินการไต่สวน รวบรวมพยานหลักฐานเพื่อส่งให้อัยการสูงสุด สั่งฟ้องคดี โดยไม่ถูกขัดขวาง แทรกแซง ให้เกิดความล่าช้าหรือไม่ ยังเป็นคำถาม
โดยเฉพาะกรณีซีทีเอ็กซ์ ซึ่ง คตส. ได้กล่าวหาว่ามีบุคคลที่กระทำความผิดในเรื่องการทำสัญญาจัดซื้อจัดจ้างและปรับเปลี่ยนระบบสายพานลำเลียงกระเป๋าและสัมภาระผู้โดยสารและเครื่องตรวจสอบวัตถุระเบิด ระหว่างบริษัท ท่าอากาศยานกรุงเทพ จำกัด กับกิจการร่วมค้า ITO โดยพบว่าส่วนใหญ่อดีตบอร์ด บทม. รวม 12 คน
ส่วนผู้ที่ถูก คตส.ระบุว่ามีความผิดในเรื่องการทำสัญญาจัดซื้อเครื่องตรวจสอบวัตถุระเบิดซีทีเอ็กซ์ 9000 DSI จากบริษัท จีอี อินวิชั่น โดยตรง ซึ่งผู้ถูกระบุว่ามีความผิดในสัญญาข้อแรกและข้อสอง รวม 4 คน คือ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร, นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ, นายศรีสุข จันทรางศุ อดีตประธานบอร์ด บทม. และนายชัยเกษม นิติสิริ ตามคำแถลงของ คตส.เมื่อวันที่ 25 ธ.ค.2550
ในจำนวนผู้ถูกกล่าวหาในคดีนี้ 22 รายชื่อมีบุคคลที่น่าสนใจ เช่น พล.อ.อ.คงศักดิ์ ซึ่งสมัยอยู่กองบัญชาการทหารอากาศเป็นบอร์ด ทอท. โดย พล.อ.อ.คงศักดิ์ เป็นที่รู้กันว่าเป็นหนึ่งในนายทหารระดับสูงคนสนิทของ พ.ต.ท.ทักษิณ เพราะหลังจากเกษียณอายุราชการได้ไม่กี่วัน ก็ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยทันที,
นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ อดีตปลัดกระทรวงยุติธรรม สามีนางเยาวภา วงศ์สวัสดิ์ น้องสาวของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ในฐานะอดีตบอร์ด ทอท. ผู้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในขณะนี้ และพล.ต.อ.ธวัชชัย ภัยลี้ อดีตรองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
เมื่อนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ อดีตปลัดกระทรวงยุติธรรม สามีนางเยาวภา วงศ์สวัสดิ์ น้องสาวของพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ในฐานะอดีตบอร์ด ทอท ตกเป็นผู้กล่าวหาว่าร่วมกระทำความผิดในคดีนี้ จึงเป็นที่น่ากังขาว่า ป.ป.ช.จะชี้มูลความผิดบุคคลตามที่ คตส. ระบุว่า กระทำความผิด จำนวน 22 ราย ตามที่ คตส. ได้สรุปสำนวนก่อนส่งมอบให้ ป.ป.ช. หรือไม่
ไม่นับว่า นายชัยเกษม นิติสิริ อัยการสูงสุด ซึ่งต้องทำหน้าที่ฟ้องคดีต่อศาลฎีกาฯ เป็นหนึ่งในผู้ถูกกล่าวหาในคดีนี้อีกต่างหาก
มีข้อสังเกตถึงการยื้อคดีโดยประธานคณะทำงานของ ป.ป.ช.ที่รับผิดชอบคดีนี้ซึ่งเป็นอดีตอัยการ ออกมาระบุก่อนหน้านี้ว่าจะต้องหาเอกสารหลักฐานเพิ่มเติมในคดีนี้โดยไม่กำหนดกรอบระยะเวลา เป็นสัญญาณที่บ่งชี้ว่าผลของคดีนี้จะออกมาเป็นเช่นใด ??
นอกจากนั้น ยังมีคดีเอสซี แอสเสท ที่อัยการสั่งเลื่อนนัดการสั่งคดีออกไปจากวันที่ 16 ก.ย. 2551 เป็นวันที่ 29 ต.ค. 2551 เพราะผู้ต้องหา ที่มีนางเพ็ญโสม ดามาพงศ์ กรรมการบริษัท, นางบุษบา ดามาพงศ์ อดีตกรรมการบริษัทฯ, พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี และคุณหญิงพจมาน ชินวัตร ภริยาผู้ต้องหาที่ 1-4 ขอเลื่อนการฟังคำสั่งคดีออกไป และอัยการยังให้เหตุผลว่า ได้หลักฐานข้อมูลเพิ่มเติมจำเป็นต้องใช้เวลาพิจารณา
ด้วยเหตุนี้ คำให้สัมภาษณ์ของน้องเขยทักษิณ หลังได้รับการโหวตให้เป็นนายกรัฐมนตรีจากพรรคร่วมรัฐบาล ที่ว่า “...รัฐบาลของเราไม่ได้เกิดขึ้นเพื่อมาปกป้องคนใดคนหนึ่ง แต่มาปกป้องประชาชน ซึ่งเรื่องนี้ (คดีความของ พ.ต.ท.ทักษิณ) เป็นเรื่องส่วนบุคคล และมีกระบวนการยุติธรรมดำเนินการอยู่ รัฐบาลมีเป้าหมายสนับสนุนกระบวนการยุติธรรมไม่ให้ขาดตกบกพร่อง” จึงไม่มีน้ำหนักพอที่จะรับฟังได้ตั้งแต่ต้น และดูเหมือนว่า วิกฤตความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในสังคมขณะนี้ยังมองไม่เห็นหนทางยุติ
ผู้จัดการรายวัน - กางวาระเร่งด่วนวัดใจ “สมชาย วงศ์สวัสดิ์” กับคำถามหลังการก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งนายกรัฐมนตรี “แฟมิลีชินวัตร” ตัวจริงเสียงจริง ในฐานะสมาชิกในครอบครัวผู้มีศักดิ์เป็น “น้องเขย” พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี จำเลยที่ถูกออกหมายจับเพราะหนีคดีในเวลานี้ คือ นายกรัฐมนตรีคนใหม่ จะใช้อำนาจหน้าที่เข้ามาแทรกแซงกระบวนการยุติธรรมหรือไม่? ไม่ว่าจะเป็นคดีที่อยู่ในกระบวนการพิจารณาของศาล สำนักงานอัยการสูงสุด และคณะกรรมการปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.)
คดีความต่างๆ ไม่เพียงแต่จะทำให้ “ทักษิณ” มีสิทธิ์ติดคุกเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงบรรดาเหล่าบริวารว่านเครือ วงศาคณาญาติ และศรีภรรยาของนายกรัฐมนตรีคนใหม่ นางเยาวภา วงศ์สวัสดิ์ หรือ “เจ๊แดง” เจ้าแม่วังบัวบาน อาจจะเผชิญปัญหาชะตากรรมที่ไม่ด้อยไปกว่ากัน
ที่สำคัญ บางคดีความ ยังเกี่ยวพันไปถึงนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ เองอีกด้วย
ท่าทีของนายกรัฐมนตรีคนใหม่ ต่อประเด็นข้างต้นจึงถูกจับตามองจากสังคมอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะจาก “กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย” ซึ่งชุมนุมปักหลักอยู่ในทำเนียบรัฐบาลขณะนี้ ที่ประกาศชัดเจนว่าไม่เชื่อแม้สักวินาทีเดียวว่า น้องเขยทักษิณ จะยอมปล่อยให้คดีความต่างๆ ของพี่ภรรยาและบริวาร รวมถึงคดีที่ตนเองเข้าไปเกี่ยวข้อง ดำเนินไปตามครรลองของกระบวนการยุติธรรมโดยไม่เข้าไปแทรกแซงใดๆ ทั้งยังจะเร่งรัดให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และอัยการ นำตัวจำเลยจากอังกฤษมาเข้าสู่ระบบศาลของไทย
หากมองย้อนกลับไปดูประวัติการทำงานของน้องเขยทักษิณผู้นี้จะพบว่า มีแต่เขาเท่านั้นที่จะได้รับการสนับสนุนให้ก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ในห้วงเวลาที่คดีความต่างๆ ของพี่ภรรยา บริวาร และตัวเขาเองเริ่มใกล้งวด เพราะค่อนชีวิตการทำงานของสมชายนั้นรับราชการที่กระทรวงยุติธรรมมาโดยตลอด เริ่มต้นจากตำแหน่งผู้ช่วยผู้พิพากษา จนถึงกระทั่งถึงตำแหน่งสูงสุด คือ ปลัดกระทรวง ในยุคที่ทักษิณเรืองอำนาจ
กล่าวคือ เมื่อปี 2517 สมชายเป็นผู้ช่วยผู้พิพากษา กระทรวงยุติธรรม, ปี 2518 ผู้พิพากษาประจำกระทรวง, ปี 2519 ผู้พิพากษาศาลแขวงเชียงใหม่, ปี 2520 ผู้พิพากษาศาลจังหวัดเชียงใหม่, ปี 2526 ผู้พิพากษาศาลจังหวัดเชียงราย, ปี 2529 ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัดพังงา,ปี 2530 ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลคดีเด็กและเยาวชนจังหวัดระยอง, ปี 2531 ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัดชลบุรี, ปี 2532 ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัดนนทบุรี
ปี 2533 ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลอาญาธนบุรี, ปี 2536 ผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 3, ปี 2540 ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลอุทธรณ์ภาค 2, ปี 2541 รองปลัดกระทรวงยุติธรรม ฝ่ายวิชาการ, ปี 2542 รองปลัดกระทรวงยุติธรรม ฝ่ายบริหาร
และช่วงระหว่าง 11 พฤศจิกายน 2542 - มีนาคม 2549 ดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวงยุติธรรม จากนั้นข้ามห้วยไปนั่งเป็นปลัดกระทรวงแรงงาน ระหว่าง 8 มีนาคม - กันยายน 2549 ก่อนจะเข้าสู่ถนนการเมืองเข้ารับตำแหน่งรองหัวหน้าพรรคพลังประชาชนเมื่อปี 2550 และได้รับเลือกตั้งเป็นส.ส.แบบสัดส่วน กลุ่มจังหวัดที่ 1 คราวเลือกตั้งใหญ่เมื่อวันที่ 23 ธ.ค. 2550
เครือข่ายความสัมพันธ์ที่ซึมลึกในกระบวนการยุติธรรมของสมชายนั้นไม่มีใครปฏิเสธได้ และถึงแม้กระบวนการยุติธรรมจะมีภาพความเที่ยงธรรม แทรกแซงได้ยาก แต่ก็เคยมีการวิ่งเต้นศาล การติดสินบนศาล เป็นคดีความครึกโครมปรากฏต่อสังคมมาแล้ว
ประพันธ์ คูณมี หนึ่งในผู้มีบทบาทสำคัญของกลุ่มพันธมิตรฯ กล่าวบนเวทีพันธมิตรฯ ที่ทำเนียบรัฐบาล เมื่อคืนวันที่ 18 ก.ย.51 ว่า จะให้เชื่อได้อย่างไรว่านายสมชายจะไม่วิ่งเต้นแทรกแซงคดีทักษิณ ถูกฟ้องร้องในศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง เพราะที่ผ่านมา นายสมชาย เคยวิ่งเต้นช่วยพี่ภรรยามาแล้วในคดีซุกหุ้นภาค 1 เมื่อปี 2544
เรื่องการวิ่งเต้นคดีซุกหุ้น น.ต.ประสงค์ สุ่นศิริ ได้เขียนบทความพาดพิงถึงตุลาการศาลรัฐธรรมนูญว่ามีการจ่ายเงินหลายร้อยล้านเพื่อแลกกับเสียงตุลาการ กระทั่งเกิดการฟ้องร้องกันปรากฏเป็นคดีความในชั้นศาล ซึ่งในการสืบพยานมีการเปิดเผยข้อเท็จจริงถึงการปรึกษาหารือ การวิ่งเต้นเพื่อช่วยเหลือทักษิณ หลุดพ้นจากความผิดซุกหุ้น
สำหรับคดีความของอดีตนายกรัฐมนตรี ที่อยู่ในกระบวนการพิจารณาของศาลฎีกาฯ ขณะนี้ นอกเหนือจากคดีทุจริตที่ดินรัชดาภิเษก ซึ่งศาลฯออกหมายจับพ.ต.ท.ทักษิณ และคุณหญิงพจมาน ชินวัตร ภริยา จำเลยทั้งสองที่ไม่มาฟังคำพิพากษา และเลื่อนการอ่านคำพิพากษา จากวันที่ 17 ก.ย.2551 เป็นวันที่ 21 ต.ค.2551 แล้ว ยังมีคดีความต่างๆ ของอดีตนายกรัฐมนตรีที่ขึ้นสู่ศาลฎีกาฯ แล้ว คือ
1) คดีเอ็กซิมแบงก์ ปล่อยกู้รัฐบาลพม่าเอื้อประโยชน์ให้บริษัท ชินแซทเทลไลท์ฯ ในเครือชินคอร์ป ซึ่งเป็นคดีที่ศาลฎีกาฯ จำหน่ายคดีออกจากสาระบบชั่วคราวจนกว่าจะนำตัวจำเลยมาขึ้นศาลในการนัดพิจารณาคดีนัดแรก พร้อมกันนั้น ศาลฎีกาฯ กับออกหมายจับจำเลยที่มีเจตนาหลบหนีคดีอีกด้วย
2) คดีหวยบนดิน ศาลฎีกาฯ นัดพิจารณาคดีครั้งแรก ในวันที่ 26 ก.ย. 2551 โดยมี ป.ป.ช.เป็นโจทก์ ฟ้อง พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี พร้อมด้วยข้าราชการการเมืองและข้าราชการประจำสมัย 'รัฐบาลทักษิณ' รวม 47 คน ตกเป็นจำเลย คดีดังกล่าวนี้ หาก พ.ต.ท.ทักษิณ ไม่มาขึ้นศาลในนัดแรก มีความเป็นไปได้ว่าศาลฯ จะออกหมายจับเพื่อนำตัวจำเลยมาขึ้นสู่ศาลฯ เพิ่มอีกหนึ่งคดี
3) คดีทุจริตแก้ไขค่าสัมปทานโทรศัพท์มือถือ-ดาวเทียม เป็นภาษีสรรพสามิต เอื้อประโยชน์ธุรกิจชินคอร์ป คดีนี้ อัยการสูงสุดเป็นโจทก์ยื่นฟ้อง พ.ต.ท.ทักษิณ เป็นจำเลย กรณีทุจริตออกกฎหมายแก้ไขค่าสัมปทานโทรศัพท์มือถือ-ดาวเทียม เป็นภาษีสรรพสามิต เอื้อประโยชน์ธุรกิจบริษัท ชินคอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ทำให้รัฐเสียหาย 6.6 หมื่นล้านบาท คดีนี้ ศาลฎีกาฯ มีคำสั่งประทับรับคำฟ้องไว้พิจารณาพิพากษา และมีกำหนดนัดพิจารณาคดีครั้งแรก ในวันที่ 15 ตุลาคม 2551 เวลา 10.00 น.
4) คดียึดทรัพย์อดีตนายกรัฐมนตรี ซึ่งนายชัยเกษม นิติสิริ อัยการสูงสุด เป็นโจทก์ฟ้องขอให้ศาลมีคำสั่งให้ทรัพย์สินที่ร่ำรวยผิดปกติ และได้มาเนื่องจากการกระทำที่เป็นการขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนบุคคลและประโยชน์ส่วนรวมของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ซึ่งเป็นผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง จำนวน 76,621,603,061.05 บาท พร้อมดอกผล ตกเป็นของแผ่นดิน โดยศาลฎีกาฯ นัดฟังคำสั่งในวันที่ 16 ต.ค.นี้ เวลา 10.00 น.
คดีดังกล่าวข้างต้น ตราบใดที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ยังลอยนวลหนีหมายจับพำนักที่ต่างประเทศอย่างเริงร่า โดยฝ่ายตำรวจและอัยการ ไม่สามารถนำตัวอดีตนายกรัฐมนตรี มาขึ้นศาลในการพิจารณาคดีนัดแรกได้ คดีก็จะถูกจำหน่ายออกจากสาระบบชั่วคราว เหมือนเช่นที่เคยเกิดขึ้นกับคดีที่ดินรัชดาฯ มาก่อนหน้า และคดีเอ็กซิมแบงก์ฯ ในเวลานี้
นั่นเท่ากับว่า พ.ต.ท.ทักษิณ สามารถยื้อเวลาไปได้เรื่อยๆ ตราบใดที่หน่วยงานที่ทำหน้าที่ล่าตัว “ทักษิณ” อาชญากรข้ามชาติกลับมาดำเนินคดีในประเทศไทย คือ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และสำนักงานอัยการ เพิกเฉย หรือดำเนินการอย่างล่าช้าเพราะเวลานี้นายกรัฐมนตรี ผู้กุมอำนาจสูงสุดของประเทศคือ น้องเขยของอาชญากรข้ามชาติ
ไม่เพียงคดีในชั้นศาลฎีกาฯ ได้สะดุดหยุดลงอันเนื่องมาจากวิธีพิจารณาคดีอาญาที่ต้องนำตัวจำเลยมาขึ้นศาลในนัดแรกเท่านั้น แต่ยังมีความเป็นไปได้ที่อาจจะเกิดกรณี “ปรึกษาหารือ” นอกรอบ เหมือนดังเช่นที่เกิดขึ้นในคดีซุกหุ้นภาคหนึ่ง เพื่อพลิกสถานการณ์ให้เป็นคุณแก่อดีตนายกรัฐมนตรี โดยฝีมือและบารมีของน้องเขย
คำพิพากษาในคดีที่ดินรัชดาฯ ที่ศาลฎีกาฯ นัดอ่านคำพิพากษาในวันที่ 21 ต.ค.2551 จึงน่าจับตามองอย่างยิ่งว่าจะออกมาเป็นเช่นใด
นอกจากคดีความในศาลฎีกาฯ แล้ว ยังมีคดีความที่ คณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) ส่งมอบให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ดำเนินการต่อหลัง คตส. หมดวาระการทำงาน โดยคดีที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ตกเป็นผู้ถูกกล่าว คือ กรณีการซื้อสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตี้, กรณีกล่าวหาพ.ต.ท.ทักษิณ แจ้งบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินไม่ครบถ้วน
อีกทั้งยังมีคดีที่บริวารว่านเครือของ พ.ต.ต.ทักษิณ และรัฐมนตรีในรัฐบาลทักษิณ รวมไปถึง สมชาย วงศ์สวัสดิ์ ถูกกล่าวหาทุจริต ซึ่ง คตส. ส่งมอบให้ ป.ป.ช.ดำเนินการต่ออีกหลายคดี คือ
1) คดีจัดซื้อจัดจ้างปรับเปลี่ยนสายพานลำเลียงกระเป๋าสัมภาระผู้โดยสารและเครื่องตรวจสอบวัตถุระเบิดท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (ซีทีเอ็กซ์) โดย คตส.ชี้มูลบุคคลที่ถูกข้อกล่าวหาว่ามีส่วนเกี่ยวข้อง 22 คน และ 4 คนสำคัญในคดีนี้ คือ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร, สุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ อดีต รมว.กระทรวงคมนาคม, นายศรีสุข จันทรางศุ อดีตประธานกรรมการบริษัท ท่าอากาศยานสากลกรุงเทพแห่งใหม่ จำกัด (บทม.) และนายชัยเกษม นิติสิริ อัยการสูงสุด
2) คดีการทุจริตจัดซื้อจัดจ้างรถดับเพลิงและเรือดับเพลิงของกรุงเทพฯ (นายสมัคร สุนทรเวช อดีตนายกรัฐมนตรีและอดีตผู้ว่าการ กทม.ตกเป็นผู้ถูกกล่าวหา)
3) โครงการแอร์พอร์ตลิงก์ 4) การทุจริตจัดซื้อจัดจ้างในโครงการบ้านเอื้ออาทร 5 ) กรณีทุจริตว่าจ้างก่อสร้างและจัดซื้อวัสดุและอุปกรณ์ห้องปฏิบัติการกลางตรวจสอบผลิตภัณฑ์เกษตรและอาหาร หรือเซ็นทรัลแล็บ (นายเนวิน ชิดชอบ อดีตรมช.กระทรวเกษตรฯ ตกเป็นผู้ถูกกล่าวหา)
กรณีการกล่าวหาข้างต้น ป.ป.ช. จะยังสามารถดำเนินการไต่สวน รวบรวมพยานหลักฐานเพื่อส่งให้อัยการสูงสุด สั่งฟ้องคดี โดยไม่ถูกขัดขวาง แทรกแซง ให้เกิดความล่าช้าหรือไม่ ยังเป็นคำถาม
โดยเฉพาะกรณีซีทีเอ็กซ์ ซึ่ง คตส. ได้กล่าวหาว่ามีบุคคลที่กระทำความผิดในเรื่องการทำสัญญาจัดซื้อจัดจ้างและปรับเปลี่ยนระบบสายพานลำเลียงกระเป๋าและสัมภาระผู้โดยสารและเครื่องตรวจสอบวัตถุระเบิด ระหว่างบริษัท ท่าอากาศยานกรุงเทพ จำกัด กับกิจการร่วมค้า ITO โดยพบว่าส่วนใหญ่อดีตบอร์ด บทม. รวม 12 คน
ส่วนผู้ที่ถูก คตส.ระบุว่ามีความผิดในเรื่องการทำสัญญาจัดซื้อเครื่องตรวจสอบวัตถุระเบิดซีทีเอ็กซ์ 9000 DSI จากบริษัท จีอี อินวิชั่น โดยตรง ซึ่งผู้ถูกระบุว่ามีความผิดในสัญญาข้อแรกและข้อสอง รวม 4 คน คือ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร, นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ, นายศรีสุข จันทรางศุ อดีตประธานบอร์ด บทม. และนายชัยเกษม นิติสิริ ตามคำแถลงของ คตส.เมื่อวันที่ 25 ธ.ค.2550
ในจำนวนผู้ถูกกล่าวหาในคดีนี้ 22 รายชื่อมีบุคคลที่น่าสนใจ เช่น พล.อ.อ.คงศักดิ์ ซึ่งสมัยอยู่กองบัญชาการทหารอากาศเป็นบอร์ด ทอท. โดย พล.อ.อ.คงศักดิ์ เป็นที่รู้กันว่าเป็นหนึ่งในนายทหารระดับสูงคนสนิทของ พ.ต.ท.ทักษิณ เพราะหลังจากเกษียณอายุราชการได้ไม่กี่วัน ก็ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยทันที,
นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ อดีตปลัดกระทรวงยุติธรรม สามีนางเยาวภา วงศ์สวัสดิ์ น้องสาวของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ในฐานะอดีตบอร์ด ทอท. ผู้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในขณะนี้ และพล.ต.อ.ธวัชชัย ภัยลี้ อดีตรองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
เมื่อนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ อดีตปลัดกระทรวงยุติธรรม สามีนางเยาวภา วงศ์สวัสดิ์ น้องสาวของพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ในฐานะอดีตบอร์ด ทอท ตกเป็นผู้กล่าวหาว่าร่วมกระทำความผิดในคดีนี้ จึงเป็นที่น่ากังขาว่า ป.ป.ช.จะชี้มูลความผิดบุคคลตามที่ คตส. ระบุว่า กระทำความผิด จำนวน 22 ราย ตามที่ คตส. ได้สรุปสำนวนก่อนส่งมอบให้ ป.ป.ช. หรือไม่
ไม่นับว่า นายชัยเกษม นิติสิริ อัยการสูงสุด ซึ่งต้องทำหน้าที่ฟ้องคดีต่อศาลฎีกาฯ เป็นหนึ่งในผู้ถูกกล่าวหาในคดีนี้อีกต่างหาก
มีข้อสังเกตถึงการยื้อคดีโดยประธานคณะทำงานของ ป.ป.ช.ที่รับผิดชอบคดีนี้ซึ่งเป็นอดีตอัยการ ออกมาระบุก่อนหน้านี้ว่าจะต้องหาเอกสารหลักฐานเพิ่มเติมในคดีนี้โดยไม่กำหนดกรอบระยะเวลา เป็นสัญญาณที่บ่งชี้ว่าผลของคดีนี้จะออกมาเป็นเช่นใด ??
นอกจากนั้น ยังมีคดีเอสซี แอสเสท ที่อัยการสั่งเลื่อนนัดการสั่งคดีออกไปจากวันที่ 16 ก.ย. 2551 เป็นวันที่ 29 ต.ค. 2551 เพราะผู้ต้องหา ที่มีนางเพ็ญโสม ดามาพงศ์ กรรมการบริษัท, นางบุษบา ดามาพงศ์ อดีตกรรมการบริษัทฯ, พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี และคุณหญิงพจมาน ชินวัตร ภริยาผู้ต้องหาที่ 1-4 ขอเลื่อนการฟังคำสั่งคดีออกไป และอัยการยังให้เหตุผลว่า ได้หลักฐานข้อมูลเพิ่มเติมจำเป็นต้องใช้เวลาพิจารณา
ด้วยเหตุนี้ คำให้สัมภาษณ์ของน้องเขยทักษิณ หลังได้รับการโหวตให้เป็นนายกรัฐมนตรีจากพรรคร่วมรัฐบาล ที่ว่า “...รัฐบาลของเราไม่ได้เกิดขึ้นเพื่อมาปกป้องคนใดคนหนึ่ง แต่มาปกป้องประชาชน ซึ่งเรื่องนี้ (คดีความของ พ.ต.ท.ทักษิณ) เป็นเรื่องส่วนบุคคล และมีกระบวนการยุติธรรมดำเนินการอยู่ รัฐบาลมีเป้าหมายสนับสนุนกระบวนการยุติธรรมไม่ให้ขาดตกบกพร่อง” จึงไม่มีน้ำหนักพอที่จะรับฟังได้ตั้งแต่ต้น และดูเหมือนว่า วิกฤตความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในสังคมขณะนี้ยังมองไม่เห็นหนทางยุติ