ผู้จัดการรายวัน – รักษาการ รมช.คลังปิ้งไอเดียตั้งกองทุนอสังหาฯ เข้าไปรับซื้อหนี้เลห์แมนในไทย ย้ำต้องของถูกจริงเท่านั้นถึงซื้อ ขอหารือรายละเอียดต่าง ๆ กับ "หมอเลี๊ยบ"ก่อน วอนธปท.อย่าขึ้นดอกเบี้ยซ้ำเติมอีก หวั่นจีดีพีทรุด ด้านบลจ.ทหารไทย หนุนแนวคิด แต่ไม่เห็นด้วยหากเพียงต้องการเข้าไปอุ้มบริษัทที่ประสบปัญหาเพียงรายได้ ส่วนกบข.ไม่รีบเก็บหุ้นถูก เกรงช้อนหัก ขอติดตามสถานการณ์จนถึงปลายปีก่อนตัดสินใจ พร้อมเล็งซื้ออสังหาฯ -หุ้นเลห์แมน ยืนยันไม่ปิดโอกาสหายิลด์ดีๆ
นายพิชัย นริพทะพันธุ์ รักษาการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า ตนมีแนวคิดที่จะเสนอภาครัฐและเอกชนร่วมกันจัดตั้งกองทุนอสังหาริม ทรัพย์ (พร็อพเพอร์ตี้ ฟันด์) ขึ้นมา เพื่อเข้าไปซื้อสินทรัพย์จากบริษัทเลห์แมน บราเดอร์ส รวมถึงสถาบันการเงินอื่น ๆ ที่ลงทุนอยู่ในไทย และอาจจำเป็นต้องทยอยขายสินทรัพย์ต่าง ๆ ออกมา โดยเฉพาะอสังหาริมทรัพย์ราคาถูก นับเป็นการพลิกวิกฤติให้เป็นโอกาส และเชื่อว่าจะเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติอย่างมาก หากซื้ออสังหาริมทรัพย์ได้ในราคาถูก ซึ่งตนจะนำเรื่องดังกล่าวนี้ไปหารือกับนายสุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รองนายกรัฐมนตรีและรมว.คลัง เพื่อพิจารณาในรายละเอียดต่อไป
“การตั้งกองทุนดังกล่าว เป็นเพียงแนวความคิดที่เกิดขึ้นหลังจากได้เห็นข่าวกรณีเลย์แมน เนื่องจากในปี 40 ที่ไทยประสบปัญหาวิกฤติเศรษฐกิจนั้น เลย์แมน ก็เคยเข้ามากว๊านซื้อสินทรัพย์ต่าง ๆ ในราคาถูกมาก ๆ เพียง 10-20% จากไทย ซึ่งขณะนั้น มี องค์กรเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน (ปรส.) ดำเนินการขายสินทรัพย์ต่าง ๆ มาขณะนี้เมื่อเลย์แมนฯ มีปัญหาเราก็น่าจะจัดตั้งกองทุนเพื่อเข้าไปซื้อสินทรัพย์ราคาถูกมาบ้าง ซึ่งที่ผ่านมา ไทยก็มีแนวคิดที่จะจัดตั้งกองทุนเพื่อความมั่งคั่งแห่งชาติ อยู่แล้ว ดังนั้น จึงเห็นว่าการดำเนินการดังกล่าวมีความเป็นไปได้สูง”
อย่างไรก็ตาม รายละเอียดของโครงการว่าจะ จัดตั้งอย่างไร ใช้เงินจากไหนนั้น ต้องขอดูในรายละเอียดก่อน เนื่องจากเห็นว่า ขณะนี้สถานการณ์วิกฤติในสหรัฐนั้นยังถือว่าไม่สิ้นสุด ยังไม่ถึงก้นเหว มีโอกาสที่จะลุกลาม ทำให้ภาคการเงินมีปัญหาผุดออกมาอีกเป็นระลอก ๆ และเป็นไปได้ว่าอาจจะถึงจุดก้นเหวในปีหน้า จากนั้นก็จะดูอีกทีว่า สินทรัพย์ที่จะนำมาขายนั้นมีราคาถูกจริง ๆ หรือไม่ หากมีราคาถูกจริง ก็น่าซื้ออย่างมาก แต่ถ้าไม่ถูก ก็ไม่จำเป็นต้องซื้อก็ได้ ขณะเดียวกัน ถือว่าไทยจะได้มีเวลาเตรียมตัวในการจัดตั้งกองทุนดังกล่าวด้วยเช่นกัน เพราะคาดว่าจะมีขนาดกองทุนไม่ต่ำกว่าหมื่นล้านบาท
“การตั้งกองทุนดังกล่าวคงยังไม่เกิดขึ้นเร็ว ๆ นี้ เพียงแต่รัฐบาลต้องคิดล่วงหน้า เตรียมแผนไว้ เพราะถือเป็นโอกาสที่ไทยจะเข้าไปลงทุนซื้อสินทรัพย์ในสหรัฐ เพราะเชื่อว่าปัญหาวิกฤติสถาบันการเงินในสหรัฐขณะนี้ ยังอยู่ในช่วงกลาง ๆ และคาดว่าจะรุนแรงขึ้นอีก ดังนั้น ไทยควรมีแผนตั้งรับกับปัญหา และเป็นโอกาสที่จะเข้าไปซื้อสินทรัพย์ของสหรัฐที่ราคาจะตกต่ำที่สุด”
วอนแบงก์ชาติห้ามขึ้นดบ.ฉุดเศรษฐกิจ
นายพิชัย กล่าวว่า นอกจากนี้ตนมีความเห็นว่า ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ต้องดูแลเรื่องดอกเบี้ยนโยบาย (อาร์พี) ให้ดี โดยหากไม่สามารถลดลงได้ ก็อย่าปรับเพิ่มขึ้นอีก เพื่อไม่ให้ซ้ำเติมภาวะเศรษฐกิจให้ต้องหยุดชะงักลง เนื่องจากเห็นว่าขณะนี้ภาวะเงินเฟ้อเริ่มลดน้อยลงแล้ว จากราคาน้ำมันที่ลดลง ทำให้การขึ้นดอกเบี้ยเพราะห่วงเรื่องเงินเฟ้อน่าจะลดน้อยลงไปได้แล้ว แต่ทั้งนี้ยืนยันว่า รัฐบาลไม่ได้แทรกแซงเรื่องดอกเบี้ยอาร์พี แต่ต้องการให้ช่วยเหลือให้เศรษฐกิจเดินไปได้มากกว่านี้ หลังจากที่ประสบกับปัญหาทั้งปัจจัยจากการเมืองในประเทศ และสถานการณ์ต่างประเทศที่รุมเร้าเข้ามาหลายด้าน ซึ่งอาจส่งผลให้จีดีพีชะลอตัวลงได้.
บลจ.เห็นด้วยรัฐตั้งกองทุนซื้ออสังหาฯ
นางโชติกา สวนานนท์ กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) ทหารไทย จำกัด กล่าวถึงกรณีที่ภาครัฐมีนโยบายจะจัดตั้งกองทุนไปลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ของบริษัทเลย์แมน บราเธอร์ส และของเครือเอไอจี ซึ่งลงทุนในประเทศไทยนั้น ส่วนตัวคิดว่าถ้าการจัดตั้งกองทุนครั้งนี้ และทำให้นักลงทุนชาวไทยสามารถซื้อสินทรัพย์ในราคาถูกก็ถือว่าควรสนับสนุน แต่ถ้าเป็นการเข้าไปช่วยกิจการของบริษัทนั้นก็เป็นเรื่องที่ไม่เหมาะสม เพราะผลที่เกิดขึ้นนั้นเป็นเรื่องของบริษัทเพียงรายเดียว ไม่ใช่เรื่องของภาคอสังหาริมทรัพย์รวมทั้งหมดของประเทศไทย
" เราไม่ควรที่จะเข้าไปอุ้ม เพราะไม่ใช่เรื่องของภาคอสังหาริมทรัพย์หมด แต่เป็นเรื่องของผู้เล่นรายเดียว ซึ่งตามหลักการแล้วบริษัทพวกนี้ควรที่จะต้องขายทรัพย์สินออกมา ซึ่งตามราคาปกติจะอยู่ที่อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรรัฐบาล + 10% ซึ่งภาครัฐควรปล่อยให้เป็นเรื่องของกลไกตลาด นี้เป็นโอกาสดีที่นักลงทุนจะได้ซื้อของในราคาถูก และปัจจุบันต้องยอมรับว่าตลาดออฟฟิตให้เช่าของไทยกำลังขาดซัพพลาย" นางโชติกา กล่าว
กบข.ขานรับพร้อมซื้อของดี
นายวิสิฐ ตันติสุนทร เลขาธิการ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ(กบข.) กล่าวถึงสถานการณ์ด้านวิกฤตสถาบันการเงินของสหรัฐอเมริกาที่กำลังเกิดขึ้นอยู่ขณะนี้ว่า ยังเป็นเรื่องยากที่จะประเมินความเสียหายหรือคาดการณ์ว่าเรื่องดังกล่าวจะสามารถยุติลงได้เมื่อไร โดยเชื่อว่าวิกฤตการณ์ครั้งนี้จะยังไม่จบลงง่าย แม้ธนาคารกลางสหรัฐอเมริกา (เฟด) จะออกมาตรการมาช่วยเหลือบรรดาสถาบันการเงินต่างๆแล้วก็ตาม และเชื่อว่าเรี่องดังกล่าวจะลุกลามไปจนจนถึงต้นปี 2552
ส่วนผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับประเทศไทย มองว่าจะไม่ได้รับผลโดยตรงต่อสถาบันการเงินในประเทศ เพราะมีน้อยรายที่เข้าไปเกี่ยวข้อง และเป็นสัดส่วนที่น้อยมาก แต่ในภาพรวมเมื่อเศรษฐกิจโลกเกิดการชะลอตัวจากภาวะดังกล่าว ย่อมที่จะมีผลต่อการชะลอตัวของเศรษฐกิจประเทศด้วย อย่างไรก็ตาม กบข.ได้มีการปรับกลยุทธ์การลงทุนในปีนี้อย่างต่อเนื่องเพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ โดยเน้นการลงทุนในตราสารหนี้ให้มากขึ้นและไม่เพิ่มการลงทุนในหุ้นเพื่อลดความเสี่ยง
ขณะเดียวกัน กบข.ระบุว่า กองทุนมีความสนใจที่เข้าซื้อหุ้นและอสังหาริมทรัพย์ของเลห์แมน บราเธอร์ส ที่ได้ลงทุนไว้ในประเทศไทย เนื่องจากกองทุนยังมีแนวคิดและสนใจที่จะเข้าลงทุนในอสังหาริมทรัพย์อยู่แล้ว โดยปัจจุบันมีสัดส่วนลงทุนในเรื่องดังกล่าวประมาณ 12,000 – 13,000 ล้านบาท หรือประมาณ4% จากเพดานการลงทุนที่ได้รับการอนุมัติ 7%
" เราพร้อมที่จะเข้าลงทุนในอสังหาริมทรัพย์เหล่านี้ เพราะเราไม่ได้มีการปิดโอกาสการลงทุนดังกล่าว แต่อย่างใด ขณะเดียวกันการเพิ่มสัดส่วนลงทุนในตราสารหนี้มองว่าจะได้รับผลตอบแทนที่กว่าตลาดหุ้น เพราะผลตอบแทนในตลาดเงินยังดีกว่าในช่วงนี้ ส่วนการลงทุนในหุ้นกบข.ยังมองว่าคุ้มค่าเพราะหุ้นแต่ละตัวที่เลือกลงทุนเป็นหุ้นพื้นฐานดี มีการจ่ายปันผลอย่างต่อเนื่อง”นายวิสิฐ กล่าว
จากข้อมูลพบว่า มีมูลค่าสินทรัพย์สุทธิล่าสุดอยู่ที่ 3.18 แสนล้านบาท ขณะที่สัดส่วนการลงทุนสิ้นสุดเดือนมิ.ย.51 แบ่งเป็น ตราสารหนี้ในประเทศ 69.70% ตราสารทุนในประเทศ 10.27% ตราสารหนี้ต่างประเทศ 4.08% ตราสารทุนต่างประเทศ 8.36% อสังหาริมทรัพย์ 3.88% และการลงทุนทางเลือก 3.71%
ขณะที่แนวโน้มการลงทุนของกบข.ในช่วงนี้ ยังไม่มีการเพิ่มสัดส่วนการลงทุนทั้งในตลาดลหักทัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) และตลาดหุ้นในต่างประเทศ แม้ราคาหุ้นในตลาดต่างๆปรับตัวลดลงมามากในช่วงนี้ก็ตาม เนื่องจากกบข.ต้องการรอดูสถานการณ์ และปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการลงทุนทุกเรื่องในช่วงปลายปีนี้ ก่อนที่จะตัดสินใจอีกครั้ง แต่จะหันมาเพิ่มสัดส่วนการลงทุนในตราสารหนี้ทั้งและต่างประเทศมากขึ้น
“ตอนนี้เรายังไม่แนวคิดที่จะเข้าไปเพิ่มสัดส่วนการลงทุนในหุ้นไทยหรือหุ้นต่างประเทศ โดยยังคงรักษาสัดส่วนการลงทุนเท่าเดิมจากช่วงที่ผ่านมา อีกทั้งจะต้องจับตาดูสถานการณ์ต่างอย่างใกล้ชิต่อไป เพราะยังไม่มีที่สรุปและยังไม่รู้ว่าราคาหุ้นปรับตัวลดลงอีกหรือไม่”เลขาธิการ กบข.กล่าว
ปัจจุบัน จากการสอบถาม เลขาธิการ กบข.ทำให้ทราบว่า ขณะนี้ทางกองทุนยังมีสัดส่วนการลงทุนในตลาดหุ้นไทยที่ 11% ขณะที่การลงทุนในหุ้นต่างประเทศอยู่ที่ 7.5 –8.0% จากภาพรวมสัดส่วนการลงทุนในต่างประเทศทั้งหมด 16 –17% ของเพดานการลงทุนที่ได้รับอนุมัติทั้งหมด 25% โดยส่วนที่เหลือเป็นการลงทุนในในตราสารหนี้ต่างประเทศ
ที่ผ่านมาที่ปรึกษาการลงทุน บริษัท เลห์แมน บราเธอร์ส ประจำประเทศไทย ระบุว่า มีมูลค่าเงินลงทุนในประเทศไทยรวมกว่า 5 หมื่นล้านบาท แบ่งเป็นการลงทุนในธุรกิจบริหารอสังหาริมทรัพย์ 4 หมื่นล้านบาท เครดิตสวอป 4,300 ล้านบาท และอีก 1 หมื่นล้านบาท เป็นการปล่อยกู้ผ่านหุ้นกู้ รวมถึงเงินให้กู้โครงการอสังหาริมทรัพย์ ที่มีภาระผูกพันที่ต้องให้เงินไปก่อสร้างให้แล้วเสร็จกับบริษัทจดทะเบียนในตลาดหุ้น 2-3 แห่ง
นายพิชัย นริพทะพันธุ์ รักษาการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า ตนมีแนวคิดที่จะเสนอภาครัฐและเอกชนร่วมกันจัดตั้งกองทุนอสังหาริม ทรัพย์ (พร็อพเพอร์ตี้ ฟันด์) ขึ้นมา เพื่อเข้าไปซื้อสินทรัพย์จากบริษัทเลห์แมน บราเดอร์ส รวมถึงสถาบันการเงินอื่น ๆ ที่ลงทุนอยู่ในไทย และอาจจำเป็นต้องทยอยขายสินทรัพย์ต่าง ๆ ออกมา โดยเฉพาะอสังหาริมทรัพย์ราคาถูก นับเป็นการพลิกวิกฤติให้เป็นโอกาส และเชื่อว่าจะเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติอย่างมาก หากซื้ออสังหาริมทรัพย์ได้ในราคาถูก ซึ่งตนจะนำเรื่องดังกล่าวนี้ไปหารือกับนายสุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รองนายกรัฐมนตรีและรมว.คลัง เพื่อพิจารณาในรายละเอียดต่อไป
“การตั้งกองทุนดังกล่าว เป็นเพียงแนวความคิดที่เกิดขึ้นหลังจากได้เห็นข่าวกรณีเลย์แมน เนื่องจากในปี 40 ที่ไทยประสบปัญหาวิกฤติเศรษฐกิจนั้น เลย์แมน ก็เคยเข้ามากว๊านซื้อสินทรัพย์ต่าง ๆ ในราคาถูกมาก ๆ เพียง 10-20% จากไทย ซึ่งขณะนั้น มี องค์กรเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน (ปรส.) ดำเนินการขายสินทรัพย์ต่าง ๆ มาขณะนี้เมื่อเลย์แมนฯ มีปัญหาเราก็น่าจะจัดตั้งกองทุนเพื่อเข้าไปซื้อสินทรัพย์ราคาถูกมาบ้าง ซึ่งที่ผ่านมา ไทยก็มีแนวคิดที่จะจัดตั้งกองทุนเพื่อความมั่งคั่งแห่งชาติ อยู่แล้ว ดังนั้น จึงเห็นว่าการดำเนินการดังกล่าวมีความเป็นไปได้สูง”
อย่างไรก็ตาม รายละเอียดของโครงการว่าจะ จัดตั้งอย่างไร ใช้เงินจากไหนนั้น ต้องขอดูในรายละเอียดก่อน เนื่องจากเห็นว่า ขณะนี้สถานการณ์วิกฤติในสหรัฐนั้นยังถือว่าไม่สิ้นสุด ยังไม่ถึงก้นเหว มีโอกาสที่จะลุกลาม ทำให้ภาคการเงินมีปัญหาผุดออกมาอีกเป็นระลอก ๆ และเป็นไปได้ว่าอาจจะถึงจุดก้นเหวในปีหน้า จากนั้นก็จะดูอีกทีว่า สินทรัพย์ที่จะนำมาขายนั้นมีราคาถูกจริง ๆ หรือไม่ หากมีราคาถูกจริง ก็น่าซื้ออย่างมาก แต่ถ้าไม่ถูก ก็ไม่จำเป็นต้องซื้อก็ได้ ขณะเดียวกัน ถือว่าไทยจะได้มีเวลาเตรียมตัวในการจัดตั้งกองทุนดังกล่าวด้วยเช่นกัน เพราะคาดว่าจะมีขนาดกองทุนไม่ต่ำกว่าหมื่นล้านบาท
“การตั้งกองทุนดังกล่าวคงยังไม่เกิดขึ้นเร็ว ๆ นี้ เพียงแต่รัฐบาลต้องคิดล่วงหน้า เตรียมแผนไว้ เพราะถือเป็นโอกาสที่ไทยจะเข้าไปลงทุนซื้อสินทรัพย์ในสหรัฐ เพราะเชื่อว่าปัญหาวิกฤติสถาบันการเงินในสหรัฐขณะนี้ ยังอยู่ในช่วงกลาง ๆ และคาดว่าจะรุนแรงขึ้นอีก ดังนั้น ไทยควรมีแผนตั้งรับกับปัญหา และเป็นโอกาสที่จะเข้าไปซื้อสินทรัพย์ของสหรัฐที่ราคาจะตกต่ำที่สุด”
วอนแบงก์ชาติห้ามขึ้นดบ.ฉุดเศรษฐกิจ
นายพิชัย กล่าวว่า นอกจากนี้ตนมีความเห็นว่า ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ต้องดูแลเรื่องดอกเบี้ยนโยบาย (อาร์พี) ให้ดี โดยหากไม่สามารถลดลงได้ ก็อย่าปรับเพิ่มขึ้นอีก เพื่อไม่ให้ซ้ำเติมภาวะเศรษฐกิจให้ต้องหยุดชะงักลง เนื่องจากเห็นว่าขณะนี้ภาวะเงินเฟ้อเริ่มลดน้อยลงแล้ว จากราคาน้ำมันที่ลดลง ทำให้การขึ้นดอกเบี้ยเพราะห่วงเรื่องเงินเฟ้อน่าจะลดน้อยลงไปได้แล้ว แต่ทั้งนี้ยืนยันว่า รัฐบาลไม่ได้แทรกแซงเรื่องดอกเบี้ยอาร์พี แต่ต้องการให้ช่วยเหลือให้เศรษฐกิจเดินไปได้มากกว่านี้ หลังจากที่ประสบกับปัญหาทั้งปัจจัยจากการเมืองในประเทศ และสถานการณ์ต่างประเทศที่รุมเร้าเข้ามาหลายด้าน ซึ่งอาจส่งผลให้จีดีพีชะลอตัวลงได้.
บลจ.เห็นด้วยรัฐตั้งกองทุนซื้ออสังหาฯ
นางโชติกา สวนานนท์ กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) ทหารไทย จำกัด กล่าวถึงกรณีที่ภาครัฐมีนโยบายจะจัดตั้งกองทุนไปลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ของบริษัทเลย์แมน บราเธอร์ส และของเครือเอไอจี ซึ่งลงทุนในประเทศไทยนั้น ส่วนตัวคิดว่าถ้าการจัดตั้งกองทุนครั้งนี้ และทำให้นักลงทุนชาวไทยสามารถซื้อสินทรัพย์ในราคาถูกก็ถือว่าควรสนับสนุน แต่ถ้าเป็นการเข้าไปช่วยกิจการของบริษัทนั้นก็เป็นเรื่องที่ไม่เหมาะสม เพราะผลที่เกิดขึ้นนั้นเป็นเรื่องของบริษัทเพียงรายเดียว ไม่ใช่เรื่องของภาคอสังหาริมทรัพย์รวมทั้งหมดของประเทศไทย
" เราไม่ควรที่จะเข้าไปอุ้ม เพราะไม่ใช่เรื่องของภาคอสังหาริมทรัพย์หมด แต่เป็นเรื่องของผู้เล่นรายเดียว ซึ่งตามหลักการแล้วบริษัทพวกนี้ควรที่จะต้องขายทรัพย์สินออกมา ซึ่งตามราคาปกติจะอยู่ที่อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรรัฐบาล + 10% ซึ่งภาครัฐควรปล่อยให้เป็นเรื่องของกลไกตลาด นี้เป็นโอกาสดีที่นักลงทุนจะได้ซื้อของในราคาถูก และปัจจุบันต้องยอมรับว่าตลาดออฟฟิตให้เช่าของไทยกำลังขาดซัพพลาย" นางโชติกา กล่าว
กบข.ขานรับพร้อมซื้อของดี
นายวิสิฐ ตันติสุนทร เลขาธิการ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ(กบข.) กล่าวถึงสถานการณ์ด้านวิกฤตสถาบันการเงินของสหรัฐอเมริกาที่กำลังเกิดขึ้นอยู่ขณะนี้ว่า ยังเป็นเรื่องยากที่จะประเมินความเสียหายหรือคาดการณ์ว่าเรื่องดังกล่าวจะสามารถยุติลงได้เมื่อไร โดยเชื่อว่าวิกฤตการณ์ครั้งนี้จะยังไม่จบลงง่าย แม้ธนาคารกลางสหรัฐอเมริกา (เฟด) จะออกมาตรการมาช่วยเหลือบรรดาสถาบันการเงินต่างๆแล้วก็ตาม และเชื่อว่าเรี่องดังกล่าวจะลุกลามไปจนจนถึงต้นปี 2552
ส่วนผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับประเทศไทย มองว่าจะไม่ได้รับผลโดยตรงต่อสถาบันการเงินในประเทศ เพราะมีน้อยรายที่เข้าไปเกี่ยวข้อง และเป็นสัดส่วนที่น้อยมาก แต่ในภาพรวมเมื่อเศรษฐกิจโลกเกิดการชะลอตัวจากภาวะดังกล่าว ย่อมที่จะมีผลต่อการชะลอตัวของเศรษฐกิจประเทศด้วย อย่างไรก็ตาม กบข.ได้มีการปรับกลยุทธ์การลงทุนในปีนี้อย่างต่อเนื่องเพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ โดยเน้นการลงทุนในตราสารหนี้ให้มากขึ้นและไม่เพิ่มการลงทุนในหุ้นเพื่อลดความเสี่ยง
ขณะเดียวกัน กบข.ระบุว่า กองทุนมีความสนใจที่เข้าซื้อหุ้นและอสังหาริมทรัพย์ของเลห์แมน บราเธอร์ส ที่ได้ลงทุนไว้ในประเทศไทย เนื่องจากกองทุนยังมีแนวคิดและสนใจที่จะเข้าลงทุนในอสังหาริมทรัพย์อยู่แล้ว โดยปัจจุบันมีสัดส่วนลงทุนในเรื่องดังกล่าวประมาณ 12,000 – 13,000 ล้านบาท หรือประมาณ4% จากเพดานการลงทุนที่ได้รับการอนุมัติ 7%
" เราพร้อมที่จะเข้าลงทุนในอสังหาริมทรัพย์เหล่านี้ เพราะเราไม่ได้มีการปิดโอกาสการลงทุนดังกล่าว แต่อย่างใด ขณะเดียวกันการเพิ่มสัดส่วนลงทุนในตราสารหนี้มองว่าจะได้รับผลตอบแทนที่กว่าตลาดหุ้น เพราะผลตอบแทนในตลาดเงินยังดีกว่าในช่วงนี้ ส่วนการลงทุนในหุ้นกบข.ยังมองว่าคุ้มค่าเพราะหุ้นแต่ละตัวที่เลือกลงทุนเป็นหุ้นพื้นฐานดี มีการจ่ายปันผลอย่างต่อเนื่อง”นายวิสิฐ กล่าว
จากข้อมูลพบว่า มีมูลค่าสินทรัพย์สุทธิล่าสุดอยู่ที่ 3.18 แสนล้านบาท ขณะที่สัดส่วนการลงทุนสิ้นสุดเดือนมิ.ย.51 แบ่งเป็น ตราสารหนี้ในประเทศ 69.70% ตราสารทุนในประเทศ 10.27% ตราสารหนี้ต่างประเทศ 4.08% ตราสารทุนต่างประเทศ 8.36% อสังหาริมทรัพย์ 3.88% และการลงทุนทางเลือก 3.71%
ขณะที่แนวโน้มการลงทุนของกบข.ในช่วงนี้ ยังไม่มีการเพิ่มสัดส่วนการลงทุนทั้งในตลาดลหักทัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) และตลาดหุ้นในต่างประเทศ แม้ราคาหุ้นในตลาดต่างๆปรับตัวลดลงมามากในช่วงนี้ก็ตาม เนื่องจากกบข.ต้องการรอดูสถานการณ์ และปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการลงทุนทุกเรื่องในช่วงปลายปีนี้ ก่อนที่จะตัดสินใจอีกครั้ง แต่จะหันมาเพิ่มสัดส่วนการลงทุนในตราสารหนี้ทั้งและต่างประเทศมากขึ้น
“ตอนนี้เรายังไม่แนวคิดที่จะเข้าไปเพิ่มสัดส่วนการลงทุนในหุ้นไทยหรือหุ้นต่างประเทศ โดยยังคงรักษาสัดส่วนการลงทุนเท่าเดิมจากช่วงที่ผ่านมา อีกทั้งจะต้องจับตาดูสถานการณ์ต่างอย่างใกล้ชิต่อไป เพราะยังไม่มีที่สรุปและยังไม่รู้ว่าราคาหุ้นปรับตัวลดลงอีกหรือไม่”เลขาธิการ กบข.กล่าว
ปัจจุบัน จากการสอบถาม เลขาธิการ กบข.ทำให้ทราบว่า ขณะนี้ทางกองทุนยังมีสัดส่วนการลงทุนในตลาดหุ้นไทยที่ 11% ขณะที่การลงทุนในหุ้นต่างประเทศอยู่ที่ 7.5 –8.0% จากภาพรวมสัดส่วนการลงทุนในต่างประเทศทั้งหมด 16 –17% ของเพดานการลงทุนที่ได้รับอนุมัติทั้งหมด 25% โดยส่วนที่เหลือเป็นการลงทุนในในตราสารหนี้ต่างประเทศ
ที่ผ่านมาที่ปรึกษาการลงทุน บริษัท เลห์แมน บราเธอร์ส ประจำประเทศไทย ระบุว่า มีมูลค่าเงินลงทุนในประเทศไทยรวมกว่า 5 หมื่นล้านบาท แบ่งเป็นการลงทุนในธุรกิจบริหารอสังหาริมทรัพย์ 4 หมื่นล้านบาท เครดิตสวอป 4,300 ล้านบาท และอีก 1 หมื่นล้านบาท เป็นการปล่อยกู้ผ่านหุ้นกู้ รวมถึงเงินให้กู้โครงการอสังหาริมทรัพย์ ที่มีภาระผูกพันที่ต้องให้เงินไปก่อสร้างให้แล้วเสร็จกับบริษัทจดทะเบียนในตลาดหุ้น 2-3 แห่ง