เอเอฟพี/รอยเตอร์ – ตลาดหลักทรัพย์ทั่วโลกยังคงร่วงกันระนาวเป็นวันที่สองเมื่อวานนี้ (16) ท่ามกลางความหวั่นผวาที่ว่า อเมริกัน อินเตอร์เนชั่นแนล กรุ๊ป (เอไอจี) ยักษ์ใหญ่ประกันภัยของสหรัฐฯ อาจจะเป็นเหยื่อรายต่อไปที่ถูกพิษกำเริบของวิกฤตสินเชื่อที่อยู่อาศัยจนถึงขั้นต้องล้มละลาย ภายหลังที่ถูกลดอันดับความน่าเชื่อถือ และกำลังอยู่ในอาการดิ้นรนสุดฤทธิ์เพื่อหาเงินทุนมาต่อชีวิต ทางด้านธนาคารกลางต่างๆ ทั่วโลก ก็พากันเร่งอัดฉีดเงินสดเข้าสู่ระบบการเงิน รวมเป็นจำนวนหลายแสนล้านดอลลาร์แล้ว
เอไอจี ซึ่งมีลูกค้าถือกรมธรรม์ประเภทต่างๆ ทั่วโลก 74 ล้านราย รวมทั้งเป็นบริษัทแม่ของ อเมริกัน อินเตอร์เนชั่นแนล แอสชัวรันซ์ (เอไอเอ) ในประเทศไทยด้วย กำลังตกอยู่ในอันตรายที่จะติดตามวาณิชธนกิจ เลห์แมน บราเธอร์ส เข้าสู่ภาวะล้มละลาย
กระทรวงการคลังสหรัฐฯนั้น กำลังใช้ท่าทีแบบเดียวกับที่ปฏิบัติต่อเลห์แมน นั่นคือปฏิเสธไม่ยอมนำเงินภาษีของประชาชนมาพยุงโอบอุ้มเอไอจี
ขณะที่ตามรายงานของหนังสือพิมพ์วอลล์สตรีทเจอร์นัล ซึ่งอ้างบุคคลที่คุ้นเคยกับสถานการณ์เป็นอันดี ระบุว่าเมื่อวันจันทร์ ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด)ได้ขอให้วาณิชธนกิจ โกลด์แมนแซคส์ กรุ๊ป และ เจพีมอร์แกนเชส ช่วยหาทางจัดเงินกู้จำนวน 70,000–75,000 ล้านดอลลาร์ให้แก่เอไอจี
เท่าที่ผ่านมาจนถึงเวลานี้ มีเพียงมลรัฐนิวยอร์กเท่านั้นที่หยิบยื่นความช่วยเหลือให้แก่เอไอจี โดยแถลงในวันจันทร์ว่า จะให้บริษัทประกันภัยแห่งนี้กู้ยืมเงิน 20,000 ล้านดอลลาร์ แต่จะต้องเอาสินทรัพย์มาค้ำประกัน อันมีค่าไม่ต่างกับให้เอไอจีกู้เงินของบริษัทเอง
ความช่วยเหลือที่ได้มาเหล่านี้ ยังไม่เพียงพอที่จะทำให้พวกบริษัทจัดอันดับความน่าเชื่อถือ กลับมีความไว้วางใจไอเอจีขึ้นมาใหม่ ดังนั้น ในคืนวันจันทร์บริษัทเครดิตเรตติ้งยักษ์ใหญ่ทั้ง 3 ราย ได้แก่ สแตนดาร์ดแอนด์พัวร์ส (เอสแอนด์พี),มูดีส์ อินเวสเตอร์ และฟิตช์ จึงต่างทยอยประกาศลดอันดับความน่าเชื่อถือของเอไอจี
ทั้งนี้ เอสแอนด์พี ได้ลดเรตติ้งระยะยาวของเอไอจีลงมาจาก AA- เหลือ A- และเรตติ้งระยะสั้นจาก A1+ เหลือ A2 , ส่วนมูดีส์ลดอันดับความน่าเชื่อถือของบริษัทประกันภัยแห่งนี้จาก AA3 เหลือ A2 และฟิตซ์ จาก AA เหลือ A
การลดเรตติ้งเช่นนี้ มีความหมายเท่ากับว่า พวกเขามองว่าเอไอจีที่เคยครองตำแหน่งบริษัทประกันภัยใหญ่ที่สุดของโลกมานานปี กำลังมีอันตรายที่จะเกิดปัญหาหนักในเรื่องขาดสภาพคล่อง
ผลจากการถูกตัดลดความน่าเชื่อถือ ยังเท่ากับว่าเอไอจีจะต้องระดมหาเงินทุนใหม่ก้อนมหึมาเข้ามาเสริมฐานะ จึงจะสามารถอยู่รอดต่อไปได้ ทั้งๆ ที่กำลังต้องดิ้นรนหาเงินหลายหมื่นล้านดอลลาร์ เพื่อให้สามารถดำเนินกิจการได้ต่อไปอยู่แล้ว
วอลล์สตรีทเจอร์นัลรายงานวานนี้ว่า ผู้คนซึ่งใกล้ชิดกับสถานการณ์กล่าวว่า เอไอจีอาจถูกบังคับให้ต้องยื่นขอความคุ้มครองตามกฎหมายล้มละลาย อันเป็นสภาพเดียวกันกับเลห์แมน ถ้าหากยังไม่สามารถหาเม็ดเงินใหม่เข้ามาได้ภายในวันพุธ (17)
“สถานการณ์น่ากลัวมาก” แหล่งข่าวใกล้ชิดกับเอไอจีรายหนึ่งบอกกับวอลล์สตรีทเจอร์นัล
บริษัทจัดอันดับความน่าเชื่อถือทั้ง 3 ให้เหตุผลในการลดเรตติ้งของเอไอจีลงมา แทบจะตรงกันทีเดียวเมื่อดูกันที่สาระสำคัญ นั่นคือ วิกฤตสินเชื่อที่อยู่อาศัยในสหรัฐฯ ซึ่งทางเอไอจีไปพัวพันเกี่ยวข้องเอาไว้อย่างมหาศาล บวกด้วยการที่ราคาหุ้นของบริษัทแห่งนี้ตกฮวบฮาบ
เฉพาะเมื่อวันจันทร์ หุ้นเอไอจีไหลรูดลงมาถึง 61% จนเหลืออยู่ที่หุ้นละ 4.76 ดอลลาร์ ภายในระยะเวลา 1 ปีหุ้นตัวนี้ลดค่าลงมา 93%
เอไอจีนั้นเป็นผู้เล่นรายบิ๊กในตลาดตราสารทางการเงินอันซับซ้อนที่เรียกกันว่า ตราสารสว็อปค้ำประกันสินเชื่อ (credit default swaps หรือ CDS) ซึ่งเป็นเครื่องมือทางการเงินที่พวกบริษัทในวอลล์สตรีทซื้อหามา เพื่อเป็นเสมือนการประกันภัยลดความเสี่ยงในกรณีที่ตราสารหนี้ที่ตนเองถือครองอยู่เกิดประสบปัญหาไม่สามารถไถ่ถอนได้
เนื่องจากผลิตภัณฑ์นี้มักเชื่อมโยงกับตลาดอสังหาริมทรัพย์ของสหรัฐฯ จึงตกอยู่ท่ามกลางความปั่นป่วนผันผวนของวิกฤตสินเชื่อในปัจจุบัน และนำไปสู่การตัดลดมูลค่าของสินทรัพย์เป็นจำนวนมหาศาลในทั่วโลก
เฉพาะเอไอจีเองได้ตัดลดมูลค่าสินทรัพย์ของตนไปแล้ว 25,000 ล้านดอลลาร์
ในเอกสารที่ยื่นต่อคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์สหรัฐฯ (เอสอีซี) เอไอจีแจ้งว่า ถ้าหากเอสแอนด์พีและมูดีส์ ลดเรตติ้งของตนลงมา 1 ขั้น ตนจะต้องใช้เงิน 13,300 ล้านดอลลาร์ เพื่อแบกรับภาระที่จะเพิ่มขึ้นจากตราสาร CDS ที่ตนได้ออกไป
บรรดานักวิเคราะห์มองว่า หากเอไอจีเกิดล้ม จะส่งผลกระทบกระเทือนอย่างหนักหน่วงยิ่ง ดังที่ ลอร์เรน ตัน ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยในเอเชียของ เอสแอนด์พี สิงคโปร์ ชี้ว่า มันจะไม่เพียงมีผลกระทบต่อพวกบริษัทรับประกันต่อ แต่ยังส่งผลถึงบรรดานักลงทุนระดับสถาบันที่กำลังถือครองตราสารและกรมธรรม์ของเอไอจีอยู่ในเวลานี้
“นี่จะส่งผลกระทบอย่างมากมายยิ่งกว่ากรณีที่แบงก์สักแห่งหนึ่งล้มไป ไม่ว่าจะเป็นเลห์แมน หรือแบร์สเติร์นส์ หรือแม้กระทั่งวาโชเวีย หรือวามู (วอชิงตัน มิวชวล) ในสหรัฐฯ นอกจากนั้นเอไอจียังมีธุรกิจอยู่ในขอบเขตทั่วโลกกว้างขวางกว่าแบงก์เหล่านี้มาก ความสามารถที่จะไปถึงฐานลูกค้าทั่วโลกของไอจีเอนั้นใหญ่โตจริงๆ” เธอกล่าวต่อ
ธนาคารกลางทั่วโลกอัดฉีดเงินเข้าระบบ
ทางด้านธนาคารกลางต่างๆ ทั่วโลกยังคงระดมอัดฉีดสภาพคล่องเข้าสู่ตลาดเงินระยะสั้นเป็นวันที่สองเมื่อวานนี้ เพื่อพยายามหยุดยั้งไม่ให้วิกฤตเลห์แมนล้ม-เมอร์ริลลินช์ถูกฮุบ-เอไอจีกำลังซวนเซ แปรเปลี่ยนภาวะสินเชื่อตึงตัวทั่วโลกที่ดำรงอยู่มาแรมปีแล้ว ให้ยิ่งเลวร้ายกลายเป็นภาวะสินเชื่อชะงักงันไปทั้งระบบ
ธนาคารกลางสหรัฐฯ ที่ปล่อยเงินสดเข้าตลาดการเงินไป 70,000 ล้านดอลลาร์แล้วในวันจันทร์ ได้อัดฉีดเพิ่มอีก 50,000 ล้านดอลลาร์วานนี้
ขณะที่ธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) ก็อัดฉีดเพิ่มอีก 70,000 ล้านยูโร (98,090 ล้านดอลลาร์) เพิ่มเติมจากวันก่อนที่ให้ไป 30,000 ล้านยูโร ส่วนธนาคารแห่งประเทศอังกฤษ ได้ปล่อยให้อีก 20,000 ล้านปอนด์ (35,210 ล้านดอลลาร์) ต่อจากที่ให้ไป 5,000 ล้านปอนด์ในวันจันทร์
ทางแถบเอเชีย ธนาคารแห่งประเทศญี่ปุ่นได้อัดฉีดเงินเข้าระบบถึง 2 รอบเมื่อวานนี้ รอบแรก 1.5 ล้านล้านเยน (14,000 ล้านดอลลาร์) และรอบหลังอีก 1.0 ล้านล้านเยน สำหรับแบงก์ชาติของออสเตรเลียและอินเดียก็ได้ปล่อยสภาพคล่องเข้าสู่ตลาดการเงินของตนเช่นกัน
อย่างไรก็ตาม แม้จะใช้ความพยายามกันมากมายเช่นนี้ ตลาดเงินก็ยังคงแสดงอาการขาดสภาพคล่องให้เห็น นั่นคือ อัตราดอกเบี้ยไลบอร์ ของลอนดอน ซึ่งถือเป็นมาตรวัดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ระหว่างธนาคารชั่วเวลาข้ามคืนที่ได้รับความเชื่อถือที่สุด ปรากฏว่าเงินกู้ในสกุลดอลลาร์เมื่อวานนี้ อยู่ในระดับ 6.43750% เพิ่มขึ้นเป็นกว่าสองเท่าตัวจากระดับ 3.10625% ในวันจันทร์ อีกทั้งเป็นอัตราสูงสุดนับแต่เดือนมกราคม 2001
ตลาดหุ้นตกระนาว
ทางด้านตลาดหลักทรัพย์ทั่วโลกยังคงทรุดหนักต่อเนื่องเป็นวันที่ 2 เมื่อวานนี้
ดัชนีหุ้นอุตสาหกรรมดาวโจนส์ร่วงลง 0.54% ในช่วงต้นๆ ของการซื้อขายวานนี้ หลังจากที่ดำดิ่งถึง 504.48 จุด หรือ 4.42% ในวันจันทร์ โดยปัจจัยสำคัญเนื่องจากความหวาดกลัวว่า ไอเอจีจะเป็นเหยื่อรายต่อไปของวิกฤตคราวนี้ ในตอนเปิดตลาดวานนี้ หุ้นเอไอจีดิ่งวูบลงถึง 70%
ทางด้านตลาดหุ้นแถบเอเชียวานนี้ หุ้นโตเกียว –4.95%,ฮ่องกง –5.4%,โซล –6.1%
ส่วนแถบยุโรปในช่วงบ่ายวานนี้ ลอนดอน-4.12%,ปารีส และแฟรงเฟิร์ตก็ตกลงแห่งละกว่า 3%
สำหรับรัสเซีย วานนี้ตลาดหุ้นอาร์ทีเอสที่เป็นตลาดหลัก ต้องหยุดการซื้อขายภายหลังร่วงลงมากว่า 11% โดยที่ก่อนหน้านี้ ไมเชกซ์ ซึ่งเป็นตลาดหุ้นอันดับ 2 ก็ได้ทำอย่างเดียวกันนี้มาแล้ว
หุ้นที่ทรุดหนักที่สุดยังคงหนีไม่พ้นกลุ่มการเงินการธนาคาร ในโตเกียวนั้น หุ้นธนาคารอาโอโซรา ซึ่งถูกเลห์แมนระบุว่าเป็นเจ้าหนี้รายใหญ่ที่สุดของตน ร่วงลงมา 15.76% แบงก์มิซูโฮ ไฟแนนเชียล ก็ติดลบ 10.68%
ที่ลอนดอน หุ้นธนาคาร เอชบีโอเอส ถลาลงมา 26% เมื่อถึงช่วงบ่ายวานนี้ หลังจากดิ่งลง 17.55% ในวันจันทร์
เอไอจี ซึ่งมีลูกค้าถือกรมธรรม์ประเภทต่างๆ ทั่วโลก 74 ล้านราย รวมทั้งเป็นบริษัทแม่ของ อเมริกัน อินเตอร์เนชั่นแนล แอสชัวรันซ์ (เอไอเอ) ในประเทศไทยด้วย กำลังตกอยู่ในอันตรายที่จะติดตามวาณิชธนกิจ เลห์แมน บราเธอร์ส เข้าสู่ภาวะล้มละลาย
กระทรวงการคลังสหรัฐฯนั้น กำลังใช้ท่าทีแบบเดียวกับที่ปฏิบัติต่อเลห์แมน นั่นคือปฏิเสธไม่ยอมนำเงินภาษีของประชาชนมาพยุงโอบอุ้มเอไอจี
ขณะที่ตามรายงานของหนังสือพิมพ์วอลล์สตรีทเจอร์นัล ซึ่งอ้างบุคคลที่คุ้นเคยกับสถานการณ์เป็นอันดี ระบุว่าเมื่อวันจันทร์ ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด)ได้ขอให้วาณิชธนกิจ โกลด์แมนแซคส์ กรุ๊ป และ เจพีมอร์แกนเชส ช่วยหาทางจัดเงินกู้จำนวน 70,000–75,000 ล้านดอลลาร์ให้แก่เอไอจี
เท่าที่ผ่านมาจนถึงเวลานี้ มีเพียงมลรัฐนิวยอร์กเท่านั้นที่หยิบยื่นความช่วยเหลือให้แก่เอไอจี โดยแถลงในวันจันทร์ว่า จะให้บริษัทประกันภัยแห่งนี้กู้ยืมเงิน 20,000 ล้านดอลลาร์ แต่จะต้องเอาสินทรัพย์มาค้ำประกัน อันมีค่าไม่ต่างกับให้เอไอจีกู้เงินของบริษัทเอง
ความช่วยเหลือที่ได้มาเหล่านี้ ยังไม่เพียงพอที่จะทำให้พวกบริษัทจัดอันดับความน่าเชื่อถือ กลับมีความไว้วางใจไอเอจีขึ้นมาใหม่ ดังนั้น ในคืนวันจันทร์บริษัทเครดิตเรตติ้งยักษ์ใหญ่ทั้ง 3 ราย ได้แก่ สแตนดาร์ดแอนด์พัวร์ส (เอสแอนด์พี),มูดีส์ อินเวสเตอร์ และฟิตช์ จึงต่างทยอยประกาศลดอันดับความน่าเชื่อถือของเอไอจี
ทั้งนี้ เอสแอนด์พี ได้ลดเรตติ้งระยะยาวของเอไอจีลงมาจาก AA- เหลือ A- และเรตติ้งระยะสั้นจาก A1+ เหลือ A2 , ส่วนมูดีส์ลดอันดับความน่าเชื่อถือของบริษัทประกันภัยแห่งนี้จาก AA3 เหลือ A2 และฟิตซ์ จาก AA เหลือ A
การลดเรตติ้งเช่นนี้ มีความหมายเท่ากับว่า พวกเขามองว่าเอไอจีที่เคยครองตำแหน่งบริษัทประกันภัยใหญ่ที่สุดของโลกมานานปี กำลังมีอันตรายที่จะเกิดปัญหาหนักในเรื่องขาดสภาพคล่อง
ผลจากการถูกตัดลดความน่าเชื่อถือ ยังเท่ากับว่าเอไอจีจะต้องระดมหาเงินทุนใหม่ก้อนมหึมาเข้ามาเสริมฐานะ จึงจะสามารถอยู่รอดต่อไปได้ ทั้งๆ ที่กำลังต้องดิ้นรนหาเงินหลายหมื่นล้านดอลลาร์ เพื่อให้สามารถดำเนินกิจการได้ต่อไปอยู่แล้ว
วอลล์สตรีทเจอร์นัลรายงานวานนี้ว่า ผู้คนซึ่งใกล้ชิดกับสถานการณ์กล่าวว่า เอไอจีอาจถูกบังคับให้ต้องยื่นขอความคุ้มครองตามกฎหมายล้มละลาย อันเป็นสภาพเดียวกันกับเลห์แมน ถ้าหากยังไม่สามารถหาเม็ดเงินใหม่เข้ามาได้ภายในวันพุธ (17)
“สถานการณ์น่ากลัวมาก” แหล่งข่าวใกล้ชิดกับเอไอจีรายหนึ่งบอกกับวอลล์สตรีทเจอร์นัล
บริษัทจัดอันดับความน่าเชื่อถือทั้ง 3 ให้เหตุผลในการลดเรตติ้งของเอไอจีลงมา แทบจะตรงกันทีเดียวเมื่อดูกันที่สาระสำคัญ นั่นคือ วิกฤตสินเชื่อที่อยู่อาศัยในสหรัฐฯ ซึ่งทางเอไอจีไปพัวพันเกี่ยวข้องเอาไว้อย่างมหาศาล บวกด้วยการที่ราคาหุ้นของบริษัทแห่งนี้ตกฮวบฮาบ
เฉพาะเมื่อวันจันทร์ หุ้นเอไอจีไหลรูดลงมาถึง 61% จนเหลืออยู่ที่หุ้นละ 4.76 ดอลลาร์ ภายในระยะเวลา 1 ปีหุ้นตัวนี้ลดค่าลงมา 93%
เอไอจีนั้นเป็นผู้เล่นรายบิ๊กในตลาดตราสารทางการเงินอันซับซ้อนที่เรียกกันว่า ตราสารสว็อปค้ำประกันสินเชื่อ (credit default swaps หรือ CDS) ซึ่งเป็นเครื่องมือทางการเงินที่พวกบริษัทในวอลล์สตรีทซื้อหามา เพื่อเป็นเสมือนการประกันภัยลดความเสี่ยงในกรณีที่ตราสารหนี้ที่ตนเองถือครองอยู่เกิดประสบปัญหาไม่สามารถไถ่ถอนได้
เนื่องจากผลิตภัณฑ์นี้มักเชื่อมโยงกับตลาดอสังหาริมทรัพย์ของสหรัฐฯ จึงตกอยู่ท่ามกลางความปั่นป่วนผันผวนของวิกฤตสินเชื่อในปัจจุบัน และนำไปสู่การตัดลดมูลค่าของสินทรัพย์เป็นจำนวนมหาศาลในทั่วโลก
เฉพาะเอไอจีเองได้ตัดลดมูลค่าสินทรัพย์ของตนไปแล้ว 25,000 ล้านดอลลาร์
ในเอกสารที่ยื่นต่อคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์สหรัฐฯ (เอสอีซี) เอไอจีแจ้งว่า ถ้าหากเอสแอนด์พีและมูดีส์ ลดเรตติ้งของตนลงมา 1 ขั้น ตนจะต้องใช้เงิน 13,300 ล้านดอลลาร์ เพื่อแบกรับภาระที่จะเพิ่มขึ้นจากตราสาร CDS ที่ตนได้ออกไป
บรรดานักวิเคราะห์มองว่า หากเอไอจีเกิดล้ม จะส่งผลกระทบกระเทือนอย่างหนักหน่วงยิ่ง ดังที่ ลอร์เรน ตัน ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยในเอเชียของ เอสแอนด์พี สิงคโปร์ ชี้ว่า มันจะไม่เพียงมีผลกระทบต่อพวกบริษัทรับประกันต่อ แต่ยังส่งผลถึงบรรดานักลงทุนระดับสถาบันที่กำลังถือครองตราสารและกรมธรรม์ของเอไอจีอยู่ในเวลานี้
“นี่จะส่งผลกระทบอย่างมากมายยิ่งกว่ากรณีที่แบงก์สักแห่งหนึ่งล้มไป ไม่ว่าจะเป็นเลห์แมน หรือแบร์สเติร์นส์ หรือแม้กระทั่งวาโชเวีย หรือวามู (วอชิงตัน มิวชวล) ในสหรัฐฯ นอกจากนั้นเอไอจียังมีธุรกิจอยู่ในขอบเขตทั่วโลกกว้างขวางกว่าแบงก์เหล่านี้มาก ความสามารถที่จะไปถึงฐานลูกค้าทั่วโลกของไอจีเอนั้นใหญ่โตจริงๆ” เธอกล่าวต่อ
ธนาคารกลางทั่วโลกอัดฉีดเงินเข้าระบบ
ทางด้านธนาคารกลางต่างๆ ทั่วโลกยังคงระดมอัดฉีดสภาพคล่องเข้าสู่ตลาดเงินระยะสั้นเป็นวันที่สองเมื่อวานนี้ เพื่อพยายามหยุดยั้งไม่ให้วิกฤตเลห์แมนล้ม-เมอร์ริลลินช์ถูกฮุบ-เอไอจีกำลังซวนเซ แปรเปลี่ยนภาวะสินเชื่อตึงตัวทั่วโลกที่ดำรงอยู่มาแรมปีแล้ว ให้ยิ่งเลวร้ายกลายเป็นภาวะสินเชื่อชะงักงันไปทั้งระบบ
ธนาคารกลางสหรัฐฯ ที่ปล่อยเงินสดเข้าตลาดการเงินไป 70,000 ล้านดอลลาร์แล้วในวันจันทร์ ได้อัดฉีดเพิ่มอีก 50,000 ล้านดอลลาร์วานนี้
ขณะที่ธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) ก็อัดฉีดเพิ่มอีก 70,000 ล้านยูโร (98,090 ล้านดอลลาร์) เพิ่มเติมจากวันก่อนที่ให้ไป 30,000 ล้านยูโร ส่วนธนาคารแห่งประเทศอังกฤษ ได้ปล่อยให้อีก 20,000 ล้านปอนด์ (35,210 ล้านดอลลาร์) ต่อจากที่ให้ไป 5,000 ล้านปอนด์ในวันจันทร์
ทางแถบเอเชีย ธนาคารแห่งประเทศญี่ปุ่นได้อัดฉีดเงินเข้าระบบถึง 2 รอบเมื่อวานนี้ รอบแรก 1.5 ล้านล้านเยน (14,000 ล้านดอลลาร์) และรอบหลังอีก 1.0 ล้านล้านเยน สำหรับแบงก์ชาติของออสเตรเลียและอินเดียก็ได้ปล่อยสภาพคล่องเข้าสู่ตลาดการเงินของตนเช่นกัน
อย่างไรก็ตาม แม้จะใช้ความพยายามกันมากมายเช่นนี้ ตลาดเงินก็ยังคงแสดงอาการขาดสภาพคล่องให้เห็น นั่นคือ อัตราดอกเบี้ยไลบอร์ ของลอนดอน ซึ่งถือเป็นมาตรวัดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ระหว่างธนาคารชั่วเวลาข้ามคืนที่ได้รับความเชื่อถือที่สุด ปรากฏว่าเงินกู้ในสกุลดอลลาร์เมื่อวานนี้ อยู่ในระดับ 6.43750% เพิ่มขึ้นเป็นกว่าสองเท่าตัวจากระดับ 3.10625% ในวันจันทร์ อีกทั้งเป็นอัตราสูงสุดนับแต่เดือนมกราคม 2001
ตลาดหุ้นตกระนาว
ทางด้านตลาดหลักทรัพย์ทั่วโลกยังคงทรุดหนักต่อเนื่องเป็นวันที่ 2 เมื่อวานนี้
ดัชนีหุ้นอุตสาหกรรมดาวโจนส์ร่วงลง 0.54% ในช่วงต้นๆ ของการซื้อขายวานนี้ หลังจากที่ดำดิ่งถึง 504.48 จุด หรือ 4.42% ในวันจันทร์ โดยปัจจัยสำคัญเนื่องจากความหวาดกลัวว่า ไอเอจีจะเป็นเหยื่อรายต่อไปของวิกฤตคราวนี้ ในตอนเปิดตลาดวานนี้ หุ้นเอไอจีดิ่งวูบลงถึง 70%
ทางด้านตลาดหุ้นแถบเอเชียวานนี้ หุ้นโตเกียว –4.95%,ฮ่องกง –5.4%,โซล –6.1%
ส่วนแถบยุโรปในช่วงบ่ายวานนี้ ลอนดอน-4.12%,ปารีส และแฟรงเฟิร์ตก็ตกลงแห่งละกว่า 3%
สำหรับรัสเซีย วานนี้ตลาดหุ้นอาร์ทีเอสที่เป็นตลาดหลัก ต้องหยุดการซื้อขายภายหลังร่วงลงมากว่า 11% โดยที่ก่อนหน้านี้ ไมเชกซ์ ซึ่งเป็นตลาดหุ้นอันดับ 2 ก็ได้ทำอย่างเดียวกันนี้มาแล้ว
หุ้นที่ทรุดหนักที่สุดยังคงหนีไม่พ้นกลุ่มการเงินการธนาคาร ในโตเกียวนั้น หุ้นธนาคารอาโอโซรา ซึ่งถูกเลห์แมนระบุว่าเป็นเจ้าหนี้รายใหญ่ที่สุดของตน ร่วงลงมา 15.76% แบงก์มิซูโฮ ไฟแนนเชียล ก็ติดลบ 10.68%
ที่ลอนดอน หุ้นธนาคาร เอชบีโอเอส ถลาลงมา 26% เมื่อถึงช่วงบ่ายวานนี้ หลังจากดิ่งลง 17.55% ในวันจันทร์