รอยเตอร์/เอเอฟพี – ตลาดหลักทรัพย์ทั่วโลกพากันตกฮวบเมื่อวานนี้(15) ภายหลัง “วันอาทิตย์ทมิฬ” ในวอลล์สตรีท โดยวาณิชธนกิจ เลห์แมน บราเธอร์ส ตัดสินใจยื่นขอความคุ้มครองตามกฎหมายล้มละลาย ขณะที่คู่แข่งสำคัญอย่าง เมอร์ริลลินช์ ก็ยินยอมถูกเทคโอเวอร์ แถมผู้ยิ่งใหญ่ด้านประกันภัยอย่างเอไอจี ตกเป็นข่าวว่าต้องขอเงินกู้ต่อชีวิตจำนวนมหึมาจากเฟด
ทางด้านธนาคารกลางสหรัฐฯและยุโรป ได้เร่งอัดฉีดเม็ดเงินสดระยะสั้นหลายหมื่นล้านดอลลาร์เข้าไปในตลาดเงิน และผ่อนปรนเงื่อนไขปล่อยกู้ลงไปอีก เพื่อช่วยเหลืออุตสาหกรรมการเงินที่กำลังถูกกระหน่ำโจมตีหนัก ส่วนแบงก์ยักษ์ใหญ่ของโลก 10 รายก็ตกลงช่วยกันลงขันก่อตั้งกองทุนฉุกเฉินมูลค่า 70,000 ล้านดอลลาร์ ซึ่งผู้ร่วมออกเงินรายหนึ่งรายใดสามารถขอนำเอาไปใช้ได้ถึงหนึ่งในสามของกองทุนนี้
“เป็นไปได้ว่าสิ่งที่คุณกำลังได้เห็นภายในเวลาวันเดียวของประวัติศาสตร์การเงินนี้ อาจจะมากมายเสียยิ่งกว่าที่พวกเราได้เคยเห็นกันมาตลอดภายหลังจากเศรษฐกิจตกต่ำครั้งมโหฬารเมื่อปี 1929” มาร์คุส ดร็อกกา กรรมการสมทบของ แมคควอรี ไพรเวต เวลธ์ กล่าวเปรียบเทียบ “... เมื่อมองในแง่ของเหตุการณ์อันเป็นหลักหมายสำคัญแล้ว นี่คือวันแห่งประวัติศาสตร์”
**เลห์แมนล้มละลาย**
เลห์แมนซึ่งเมื่อไม่นานมานี้เองยังมีฐานะเป็นวาณิชธนกิจใหญ่อันดับ 4 ของวอลล์สตรีท ได้ออกคำแถลงในวันอาทิตย์(14)ว่า คณะกรรมการบริหารของทางแบงก์ได้อนุมัติให้ยื่นขอความคุ้มครองตามกฎหมายล้มละลาย โดยเห็นว่าจะเป็นหนทางในการปกป้องสินทรัพย์และเพิ่มมูลค่าของบริษัทเอาไว้ได้มากที่สุด
แบงก์แห่งนี้เพิ่งแถลงยอดขายทุนไปอีกราว 3,900 ล้านดอลลาร์ในไตรมาสสามปีนี้ สืบเนื่องจากการตัดยอดขาดทุนที่เกี่ยวเนื่องมาจากสินเชื่อที่อยู่อาศัย
ความพยายามครั้งสุดท้ายเพื่อความอยู่รอดของเลห์แมน ด้วยการหาผู้เข้ามาซื้อตัวเองทั้งกิจการ มีอันต้องพังทะลายลงในวันอาทิตย์ โดยแหล่งข่าวจากธนาคารบาร์เคลย์สของอังกฤษ ที่มีข่าวสนใจซื้อเลห์แมนบอกว่า ธนาคารตัดสินใจยุติการเจรจา เนื่องจากวิตกว่าอาจจะต้องรับภาระค้ำประกันสัญญาธุรกรรมซื้อขายต่างๆ ของเลห์แมน ภายหลังทางการสหรัฐฯแสดงท่าทีแน่วแน่ว่า ไม่ยินดีที่จะให้การหนุนหลังทางการเงินใดๆ เพื่อช่วยเหลือผู้ซื้อรับมือกับการขาดทุนที่อาจจะเกิดขึ้นตามมา
สำหรับในหนังสือขอความคุ้มครองตามกฎหมายล้มละลาย ที่ยื่นต่อศาลในนิวยอร์กวานนี้ เลห์แมนได้ยกเว้นไม่ขอให้ครอบคลุมถึงกิจการด้านงานโบรกเกอร์-ดีลเลอร์ ตลอดจนหน่วยงานในเครือ อย่างเช่น นิวเบอเกอร์ เบอร์แมน กิจการด้านบริหารจัดการสินทรัพย์ ทำให้ธุรกิจเหล่านี้ยังจะสามารถดำเนินงานต่อไปได้เป็นปกติ ถึงแม้คาดหมายกันว่าในที่สุดแล้วเลห์แมนก็จะต้องชำระบัญชีขายทิ้งไป โดยเฉพาะอย่างยิ่ง นิวเบอเกอร์ เบอร์แมนนั้น เลห์แมนระบุว่ากำลังอยู่ในการเจรจาขั้นท้ายๆ เพื่อขายกิจการแห่งนี้อยู่แล้ว
ผู้เชี่ยวชาญในวงการระบุว่า เวลาคือปัจจัยสำคัญยิ่งสำหรับการขายสินทรัพย์ของเลห์แมน เนื่องจากลูกค้ามักไม่ค่อยอยากจะซื้อขายผ่านดีลเลอร์ที่บริษัทแม่ของพวกเขาอยู่ในภาวะล้มละลาย ดังนั้น ยิ่งเลห์แมนรั้งรอการขาย อาทิ หน่วยงานโบรกเกอร์-ดีลเลอร์ ให้นานออกไปเท่าใด ราคาก็จะยิ่งตกฮวบลงไปเท่านั้น
**แบงก์ออฟอเมริกาเทคโอเวอร์เมอร์ริลลินช์**
ทางด้านแบงก์ออฟอเมริกา ซึ่งเป็นแบงก์ใหญ่อันดับสองของสหรัฐฯเมื่อวัดจากสินทรัพย์ ได้ออกคำแถลงในวันอาทิตย์เช่นกัน ระบุว่ากำลังเข้าซื้อเมอร์ริลลินช์ทั้งกิจการในแบบแลกหุ้นกัน ซึ่งเท่ากับตีราคาวาณิชธนกิจวอลล์สตรีทแห่งนี้ในราคา 50,000 ล้านดอลลาร์ และเมื่อการควบรวมสำเร็จก็จะทำให้กลายเป็นบริษัทให้บริการทางการเงินที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก
การได้ครอบครองเมอร์ริลคราวนี้ หมายความว่าแบงก์ออฟอเมริกาจะได้กิจการนายหน้าค้าหลักทรัพย์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก ด้วยจำนวนที่ปรึกษาค้าหลักทรัพย์มากกว่า 20,000 คน และสินทรัพย์ของลูกค้ารวมทั้งถึง 2.5 ล้านล้านดอลลาร์
ราคาที่แบงก์ออฟอเมริกาเสนอซื้อคราวนี้ ตีราคาเมอร์ริลไว้ที่หุ้นละ 29 ดอลลาร์ สูงขึ้นมาเกือบ 12 ดอลลาร์จากราคาปิดของเมอร์ริลเมื่อวันศุกร์(12)
จากการที่ชื่อของเลห์แมนและเมอร์ริลจะถูกลบเลือนหายไปจากวงการ เมื่อบวกกับการที่ แบร์สเติร์นส ก็ถูกเทคโอเวอร์ในราคาต่ำสุดๆ จาก เจพีมอร์แกน ในเดือนเมษายนที่ผ่านมา ย่อมหมายความว่า
วาณิชธนกิจใหญ่ของวอลล์สตรีท 5 แห่งได้ตายจากไป 3 แห่งแล้ว
นอกเหนือจากเลห์แมนและเมอร์ริล เมื่อวันอาทิตย์ หนังสือพิมพ์นิวยอร์กไทมส์ยังรายงานว่า อเมริกัน อินเตอร์เนชั่นแนล กรุ๊ป (เอไอจี) เครือบริษัทประกันภัยที่เคยครองตำแหน่งอันดับหนึ่งของโลกมานานปี อีกทั้งมีขยายกิจการไปยังต่างประเทศมากมาย รวมทั้งเป็นบริษัทแม่ของ อเมริกัน อินเตอร์เนชั่นแนล แอสชัวรันซ์ (เอไอเอ) ในเมืองไทยด้วย ได้มีการติดต่อกับทางธนาคารกลางสหรัฐฯ(เฟด) เพื่อขอเงินกู้ระยะสั้นจำนวน 40,000 ล้านดอลลาร์ ไว้รับมือในกรณีที่อาจจะถูกพวกบริษัทเครดิตเรตติ้งลดอันดับความน่าเชื่อถือ
**ธนาคารกลางทั่วโลกอัดฉีดเม็ดเงิน**
จากการที่กิจการทางการเงินบิ๊กเบิ้มในสหรัฐฯประสบปัญหาพร้อมๆ กันหลายรายเช่นนี้ ธนาคารกลางของประเทศต่างๆ จึงได้ออกมาตรการที่เป็นการอัดฉีดเม็ดเงินระยะสั้นเข้าสู่ตลาดเงิน เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดภาวะสินเชื่อตึงตัวหนักหน่วง
ธนาคารกลางสหรัฐฯ(เฟด) แจ้งว่าจะขยายหลักทรัพย์ค้ำประกัน ที่สถาบันการเงินซึ่งมาขอกู้ฉุกเฉินสามารถยื่นให้แก่ทางเฟด โดยให้ใช้พวกหลักทรัพย์ที่เป็นตราสารหนี้เพื่อการลงทุนทั้งหลายได้ด้วย จากการที่ก่อนหน้านี้ต้องใช้หลักทรัพย์ที่เป็นตราสารของรัฐบาล หรือตราสารอื่นมีความน่าเชื่อถือในระดับสูง
ส่วนด้านธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) แถลงวานนี้ว่าได้อัดฉีดเม็ดเงินจำนวน 30,000 ล้านยูโร (43,000 ล้านดอลลาร์) เข้าไปในตลาดเงิน อันเป็นตลาดการเงินระยะสั้น ขณะเดียวกัน ธนาคารแห่งประเทศอังกฤษก็แจ้งว่าได้อัดฉีดเม็ดเงินในลักษณะนี้เป็นจำนวน 5,000 ล้านปอนด์ (9,000 ล้านดอลลาร์) สำหรับธนาคารกลางของสวิตเซอร์แลนด์ก็ได้เคลื่อนไหวในลักษณะนี้เช่นกัน
ทางด้านภาคเอกชนเอง แบงก์ทั้งที่เป็นธนาคารพาณิชย์และวาณิชธนกิจระดับท็อปรวม 10 แห่งในสหรัฐฯและยุโรป ได้แก่ แบงก์ออฟอเมริกา, บาร์เคลย์ส, ซิตี้แบงก์, เครดิตสวิส, ดอยช์แบงก์, โกลด์แมนแซคส์, เจพีมอร์แกนเชส, เมอร์ริลลินช์, มอร์แกนสแตนลีย์, และยูบีเอส ได้ออกคำแถลงร่วมฉบับหนึ่งระบุว่า ได้ร่วมกันก่อตั้งกองทุนกู้ยืมมูลค่า 70,000 ล้านดอลลาร์ โดยที่แต่ละแบงก์ออกเงิน 7,000 ล้านดอลลาร์ เพื่อช่วยให้ผู้ที่ต้องการเม็ดเงินสามารถเข้าถึงสินเชื่อได้
อย่างไรก็ดี แม้มีการเตรียมรับมือเช่นนี้ ข่าวร้าย “วันอาทิตย์ทมิฬ” (Black Sunday) ก็ทำให้ตลาดหุ้นทั่วโลกทรุดหนัก โดยในเอเชียนั้น ไต้หวัน –4.09%, ฟิลิปปินส์ –4.2%, สิงคโปร์ –3.27% สำหรับตลาดโตเกียว, ฮ่องกง, เซี่ยงไฮ้, และโซล ปิดทำการเนื่องจากเป็นวันหยุด
เมื่อถึงช่วงซื้อขายของฟากยุโรป หุ้นก็ยังตกฮวบต่อ โดยในตอนบ่าย ปารีส –5.60%, ลอนดอน-5.25%, แฟรงเฟิร์ต –4.60%
ทางด้านธนาคารกลางสหรัฐฯและยุโรป ได้เร่งอัดฉีดเม็ดเงินสดระยะสั้นหลายหมื่นล้านดอลลาร์เข้าไปในตลาดเงิน และผ่อนปรนเงื่อนไขปล่อยกู้ลงไปอีก เพื่อช่วยเหลืออุตสาหกรรมการเงินที่กำลังถูกกระหน่ำโจมตีหนัก ส่วนแบงก์ยักษ์ใหญ่ของโลก 10 รายก็ตกลงช่วยกันลงขันก่อตั้งกองทุนฉุกเฉินมูลค่า 70,000 ล้านดอลลาร์ ซึ่งผู้ร่วมออกเงินรายหนึ่งรายใดสามารถขอนำเอาไปใช้ได้ถึงหนึ่งในสามของกองทุนนี้
“เป็นไปได้ว่าสิ่งที่คุณกำลังได้เห็นภายในเวลาวันเดียวของประวัติศาสตร์การเงินนี้ อาจจะมากมายเสียยิ่งกว่าที่พวกเราได้เคยเห็นกันมาตลอดภายหลังจากเศรษฐกิจตกต่ำครั้งมโหฬารเมื่อปี 1929” มาร์คุส ดร็อกกา กรรมการสมทบของ แมคควอรี ไพรเวต เวลธ์ กล่าวเปรียบเทียบ “... เมื่อมองในแง่ของเหตุการณ์อันเป็นหลักหมายสำคัญแล้ว นี่คือวันแห่งประวัติศาสตร์”
**เลห์แมนล้มละลาย**
เลห์แมนซึ่งเมื่อไม่นานมานี้เองยังมีฐานะเป็นวาณิชธนกิจใหญ่อันดับ 4 ของวอลล์สตรีท ได้ออกคำแถลงในวันอาทิตย์(14)ว่า คณะกรรมการบริหารของทางแบงก์ได้อนุมัติให้ยื่นขอความคุ้มครองตามกฎหมายล้มละลาย โดยเห็นว่าจะเป็นหนทางในการปกป้องสินทรัพย์และเพิ่มมูลค่าของบริษัทเอาไว้ได้มากที่สุด
แบงก์แห่งนี้เพิ่งแถลงยอดขายทุนไปอีกราว 3,900 ล้านดอลลาร์ในไตรมาสสามปีนี้ สืบเนื่องจากการตัดยอดขาดทุนที่เกี่ยวเนื่องมาจากสินเชื่อที่อยู่อาศัย
ความพยายามครั้งสุดท้ายเพื่อความอยู่รอดของเลห์แมน ด้วยการหาผู้เข้ามาซื้อตัวเองทั้งกิจการ มีอันต้องพังทะลายลงในวันอาทิตย์ โดยแหล่งข่าวจากธนาคารบาร์เคลย์สของอังกฤษ ที่มีข่าวสนใจซื้อเลห์แมนบอกว่า ธนาคารตัดสินใจยุติการเจรจา เนื่องจากวิตกว่าอาจจะต้องรับภาระค้ำประกันสัญญาธุรกรรมซื้อขายต่างๆ ของเลห์แมน ภายหลังทางการสหรัฐฯแสดงท่าทีแน่วแน่ว่า ไม่ยินดีที่จะให้การหนุนหลังทางการเงินใดๆ เพื่อช่วยเหลือผู้ซื้อรับมือกับการขาดทุนที่อาจจะเกิดขึ้นตามมา
สำหรับในหนังสือขอความคุ้มครองตามกฎหมายล้มละลาย ที่ยื่นต่อศาลในนิวยอร์กวานนี้ เลห์แมนได้ยกเว้นไม่ขอให้ครอบคลุมถึงกิจการด้านงานโบรกเกอร์-ดีลเลอร์ ตลอดจนหน่วยงานในเครือ อย่างเช่น นิวเบอเกอร์ เบอร์แมน กิจการด้านบริหารจัดการสินทรัพย์ ทำให้ธุรกิจเหล่านี้ยังจะสามารถดำเนินงานต่อไปได้เป็นปกติ ถึงแม้คาดหมายกันว่าในที่สุดแล้วเลห์แมนก็จะต้องชำระบัญชีขายทิ้งไป โดยเฉพาะอย่างยิ่ง นิวเบอเกอร์ เบอร์แมนนั้น เลห์แมนระบุว่ากำลังอยู่ในการเจรจาขั้นท้ายๆ เพื่อขายกิจการแห่งนี้อยู่แล้ว
ผู้เชี่ยวชาญในวงการระบุว่า เวลาคือปัจจัยสำคัญยิ่งสำหรับการขายสินทรัพย์ของเลห์แมน เนื่องจากลูกค้ามักไม่ค่อยอยากจะซื้อขายผ่านดีลเลอร์ที่บริษัทแม่ของพวกเขาอยู่ในภาวะล้มละลาย ดังนั้น ยิ่งเลห์แมนรั้งรอการขาย อาทิ หน่วยงานโบรกเกอร์-ดีลเลอร์ ให้นานออกไปเท่าใด ราคาก็จะยิ่งตกฮวบลงไปเท่านั้น
**แบงก์ออฟอเมริกาเทคโอเวอร์เมอร์ริลลินช์**
ทางด้านแบงก์ออฟอเมริกา ซึ่งเป็นแบงก์ใหญ่อันดับสองของสหรัฐฯเมื่อวัดจากสินทรัพย์ ได้ออกคำแถลงในวันอาทิตย์เช่นกัน ระบุว่ากำลังเข้าซื้อเมอร์ริลลินช์ทั้งกิจการในแบบแลกหุ้นกัน ซึ่งเท่ากับตีราคาวาณิชธนกิจวอลล์สตรีทแห่งนี้ในราคา 50,000 ล้านดอลลาร์ และเมื่อการควบรวมสำเร็จก็จะทำให้กลายเป็นบริษัทให้บริการทางการเงินที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก
การได้ครอบครองเมอร์ริลคราวนี้ หมายความว่าแบงก์ออฟอเมริกาจะได้กิจการนายหน้าค้าหลักทรัพย์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก ด้วยจำนวนที่ปรึกษาค้าหลักทรัพย์มากกว่า 20,000 คน และสินทรัพย์ของลูกค้ารวมทั้งถึง 2.5 ล้านล้านดอลลาร์
ราคาที่แบงก์ออฟอเมริกาเสนอซื้อคราวนี้ ตีราคาเมอร์ริลไว้ที่หุ้นละ 29 ดอลลาร์ สูงขึ้นมาเกือบ 12 ดอลลาร์จากราคาปิดของเมอร์ริลเมื่อวันศุกร์(12)
จากการที่ชื่อของเลห์แมนและเมอร์ริลจะถูกลบเลือนหายไปจากวงการ เมื่อบวกกับการที่ แบร์สเติร์นส ก็ถูกเทคโอเวอร์ในราคาต่ำสุดๆ จาก เจพีมอร์แกน ในเดือนเมษายนที่ผ่านมา ย่อมหมายความว่า
วาณิชธนกิจใหญ่ของวอลล์สตรีท 5 แห่งได้ตายจากไป 3 แห่งแล้ว
นอกเหนือจากเลห์แมนและเมอร์ริล เมื่อวันอาทิตย์ หนังสือพิมพ์นิวยอร์กไทมส์ยังรายงานว่า อเมริกัน อินเตอร์เนชั่นแนล กรุ๊ป (เอไอจี) เครือบริษัทประกันภัยที่เคยครองตำแหน่งอันดับหนึ่งของโลกมานานปี อีกทั้งมีขยายกิจการไปยังต่างประเทศมากมาย รวมทั้งเป็นบริษัทแม่ของ อเมริกัน อินเตอร์เนชั่นแนล แอสชัวรันซ์ (เอไอเอ) ในเมืองไทยด้วย ได้มีการติดต่อกับทางธนาคารกลางสหรัฐฯ(เฟด) เพื่อขอเงินกู้ระยะสั้นจำนวน 40,000 ล้านดอลลาร์ ไว้รับมือในกรณีที่อาจจะถูกพวกบริษัทเครดิตเรตติ้งลดอันดับความน่าเชื่อถือ
**ธนาคารกลางทั่วโลกอัดฉีดเม็ดเงิน**
จากการที่กิจการทางการเงินบิ๊กเบิ้มในสหรัฐฯประสบปัญหาพร้อมๆ กันหลายรายเช่นนี้ ธนาคารกลางของประเทศต่างๆ จึงได้ออกมาตรการที่เป็นการอัดฉีดเม็ดเงินระยะสั้นเข้าสู่ตลาดเงิน เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดภาวะสินเชื่อตึงตัวหนักหน่วง
ธนาคารกลางสหรัฐฯ(เฟด) แจ้งว่าจะขยายหลักทรัพย์ค้ำประกัน ที่สถาบันการเงินซึ่งมาขอกู้ฉุกเฉินสามารถยื่นให้แก่ทางเฟด โดยให้ใช้พวกหลักทรัพย์ที่เป็นตราสารหนี้เพื่อการลงทุนทั้งหลายได้ด้วย จากการที่ก่อนหน้านี้ต้องใช้หลักทรัพย์ที่เป็นตราสารของรัฐบาล หรือตราสารอื่นมีความน่าเชื่อถือในระดับสูง
ส่วนด้านธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) แถลงวานนี้ว่าได้อัดฉีดเม็ดเงินจำนวน 30,000 ล้านยูโร (43,000 ล้านดอลลาร์) เข้าไปในตลาดเงิน อันเป็นตลาดการเงินระยะสั้น ขณะเดียวกัน ธนาคารแห่งประเทศอังกฤษก็แจ้งว่าได้อัดฉีดเม็ดเงินในลักษณะนี้เป็นจำนวน 5,000 ล้านปอนด์ (9,000 ล้านดอลลาร์) สำหรับธนาคารกลางของสวิตเซอร์แลนด์ก็ได้เคลื่อนไหวในลักษณะนี้เช่นกัน
ทางด้านภาคเอกชนเอง แบงก์ทั้งที่เป็นธนาคารพาณิชย์และวาณิชธนกิจระดับท็อปรวม 10 แห่งในสหรัฐฯและยุโรป ได้แก่ แบงก์ออฟอเมริกา, บาร์เคลย์ส, ซิตี้แบงก์, เครดิตสวิส, ดอยช์แบงก์, โกลด์แมนแซคส์, เจพีมอร์แกนเชส, เมอร์ริลลินช์, มอร์แกนสแตนลีย์, และยูบีเอส ได้ออกคำแถลงร่วมฉบับหนึ่งระบุว่า ได้ร่วมกันก่อตั้งกองทุนกู้ยืมมูลค่า 70,000 ล้านดอลลาร์ โดยที่แต่ละแบงก์ออกเงิน 7,000 ล้านดอลลาร์ เพื่อช่วยให้ผู้ที่ต้องการเม็ดเงินสามารถเข้าถึงสินเชื่อได้
อย่างไรก็ดี แม้มีการเตรียมรับมือเช่นนี้ ข่าวร้าย “วันอาทิตย์ทมิฬ” (Black Sunday) ก็ทำให้ตลาดหุ้นทั่วโลกทรุดหนัก โดยในเอเชียนั้น ไต้หวัน –4.09%, ฟิลิปปินส์ –4.2%, สิงคโปร์ –3.27% สำหรับตลาดโตเกียว, ฮ่องกง, เซี่ยงไฮ้, และโซล ปิดทำการเนื่องจากเป็นวันหยุด
เมื่อถึงช่วงซื้อขายของฟากยุโรป หุ้นก็ยังตกฮวบต่อ โดยในตอนบ่าย ปารีส –5.60%, ลอนดอน-5.25%, แฟรงเฟิร์ต –4.60%