วานนี้ ( 12 ก.ย.) คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ร่วมกับ กกต.ประจำท้องถิ่นกทม.ได้จัดโครงการการเลือกตั้งเชิงสมานฉันท์ผู้ว่าฯ กทม. โดยมีนายประพันธ์ นัยโกวิท กกต. เป็นประธาน และมีผู้สมัครผู้ว่าฯ กทม. เข้าร่วมเกือบครบทุกคน โดยเฉพาะผู้สมัครตัวเต็งได้แก่ นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน นายชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์ นายประภัสร์ จงสงวน นายเกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์
นายประพันธ์ ได้ชี้แจงขั้นตอนการเลือกตั้งและปัญหาข้อกฎหมายที่ผู้สมัครทุกคนควรระมัดระวัง โดยเฉพาะการทุจริตการเลือกตั้ง ซึ่งจะมีผลต่อการพิจารณาให้ใบเหลืองใบแดงแก่ผู้สมัคร และอาจทำให้ผู้สมัครต้องชดใช้ค่าใช้จ่ายในการเลือกตั้งใหม่สูงถึง 154 ล้านบาท
การร้องเรียนคัดค้านผลการเลือกตั้ง ส.ส.ที่ผ่านมา ส่วนมากเป็นผลมาจากการหาเสียงของบรรดากองเชียร์ที่อาจรู้เท่าไม่ถึงการณ์ บางคนกระทำไปโดยไม่รู้ว่าจะมีผลทำให้ผู้สมัครที่ตนเองสนับสนุนได้รับใบเหลืองใบแดงได้ จึงขอให้ระมัดระวังเรื่องนี้ โดยเฉพาะการไปขึ้นเวทีในงานมหรสพต่างๆ แม้ว่ากกต.จะไม่ห้ามแต่ควรระวังคำพูดที่อาจเข้าข่ายผิดกฎหมาย เช่น การใส่ร้ายผู้สมัครด้วยกัน หรือการใส่ซองช่วยงานเกินกว่าประเพณี ที่ปกติจะช่วยซองละ 100-200 บาท หากใส่มากอาจจะถูกร้องคัดค้านได้ ”
สำหรับการเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. ครั้งนี้ สถาบันการศึกษาต่าง ๆ สามารถจัดทำผลสำรวจความเห็นได้ตามหลักวิชาการ แต่พึงระมัดระวังว่าจะต้องไม่เป็นการจูงใจให้เกิดความสำคัญผิดในคะแนนนิยม มิเช่นนั้นอาจเข้าข่ายฝ่าฝืนกฎหมายเลือกตั้ง อย่างไรก็ตามกฎหมายกำหนดห้ามมีการเผยผลสำรวจในช่วง 7 วันก่อนวันเลือกตั้งจนถึงปิดหีบ
ทั้งนี้ภายหลังการชี้แจงข้อควรระวังในการหาเสียงแล้ว กกต.ได้จัดให้ผู้สมัครผู้ว่าฯ กทม.ทุกคนร่วมกล่าวคำปฏิญาณต่อหน้าพระบรมศาธิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ว่า จะช่วยกันทำให้การเลือกตั้งเป็นไปด้วยความสุจริต ยุติธรรม ไม่ซื้อสิทธิ์ขายเสียง พร้อมลงนามในคำปฏิญาณดังกล่าว อย่างไรก็ตามในช่วงของการปฏิญาณนั้น นายประภัสร์ไม่ได้อยู่ร่วมแต่อย่างใด
อย่างไรก็ตาม ภายในงานยังได้มีการตั้งคำถามข้อสงสัยของผู้สมัครต่อกกต. ด้วย เช่น เรื่องของการเลือกตั้งล่วงหน้า หรือการเลือกตั้งนอกเขตจังหวัดสำหรับผู้ที่ไม่สามารถมาเลือกตั้งในวันที่ 5 ต.ค. ได้หรือไม่ ซึ่งกกต.ได้ชี้แจงว่าการเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม.จะไม่มีการจัดการเลือกตั้งล่วงหน้า โดยผู้ที่ไม่สามารถไปใช้สิทธิเลือกตั้งในวันที่ 5 ต.ค. สามารถแจ้งเหตุของการไม่ไปใช้สิทธิได้ตั้งแต่ช่วง 7 วันก่อนวันเลือกตั้ง ซึ่งก็จะทำให้ไม่เป็นผู้เสียสิทธิ
ด้านพ.ต.อ.จรุงวิทย์ ภุมมา รองเลขาธิการด้านกิจการสืบสวนสอบสวนและวินิจฉัย กล่าวว่า กกต.กลางได้จัดตั้งศูนย์รับแจ้งเหตุและเบาะแสการกระทำผิดกฎหมายเลือกตั้งเกี่ยวกับการเลือกตั้งผู้ว่าฯกทม. ตั้งแต่วันที่ 8 ก.ย.ที่ผ่านมา โดยประชาชน ที่พบเห็นพฤติการณ์ หรือพบเบาะแสการทุจริตเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. สามารถแจ้งเหตุได้ที่โทรศัพท์หมายเลข 0-2219-2921, 0-2613-7333 ต่อ 2341,2343 และในวันที่ 3-5 ต.ค. ก็จะมีการเปิดทำการรับแจ้งเหตุตลอด 24 ชั่วโมง โดยเมื่อทางศูนย์ฯได้รับแจ้งเหตุแล้วก็จะประสานไปยังเจ้าหน้าที่ตำรวจ เจ้าหน้าที่กกต.กทม.ให้ลงพื้นที่ตรวจสอบ ซึ่งจะเป็นการแก้ปัญหาเบื้องต้นและลดปัญหาการร้องเรียนได้อีกทางหนึ่ง นอกจากนี้หากพบว่ามีการติดป้ายหาเสียงปิดบังเส้นทางจราจรก็สามารถแจ้งไปยังโทรศัพท์สายด่วนของกทม.หมายเลข 1555 ได้ทันทีเช่นกัน
นายประพันธ์ ได้ชี้แจงขั้นตอนการเลือกตั้งและปัญหาข้อกฎหมายที่ผู้สมัครทุกคนควรระมัดระวัง โดยเฉพาะการทุจริตการเลือกตั้ง ซึ่งจะมีผลต่อการพิจารณาให้ใบเหลืองใบแดงแก่ผู้สมัคร และอาจทำให้ผู้สมัครต้องชดใช้ค่าใช้จ่ายในการเลือกตั้งใหม่สูงถึง 154 ล้านบาท
การร้องเรียนคัดค้านผลการเลือกตั้ง ส.ส.ที่ผ่านมา ส่วนมากเป็นผลมาจากการหาเสียงของบรรดากองเชียร์ที่อาจรู้เท่าไม่ถึงการณ์ บางคนกระทำไปโดยไม่รู้ว่าจะมีผลทำให้ผู้สมัครที่ตนเองสนับสนุนได้รับใบเหลืองใบแดงได้ จึงขอให้ระมัดระวังเรื่องนี้ โดยเฉพาะการไปขึ้นเวทีในงานมหรสพต่างๆ แม้ว่ากกต.จะไม่ห้ามแต่ควรระวังคำพูดที่อาจเข้าข่ายผิดกฎหมาย เช่น การใส่ร้ายผู้สมัครด้วยกัน หรือการใส่ซองช่วยงานเกินกว่าประเพณี ที่ปกติจะช่วยซองละ 100-200 บาท หากใส่มากอาจจะถูกร้องคัดค้านได้ ”
สำหรับการเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. ครั้งนี้ สถาบันการศึกษาต่าง ๆ สามารถจัดทำผลสำรวจความเห็นได้ตามหลักวิชาการ แต่พึงระมัดระวังว่าจะต้องไม่เป็นการจูงใจให้เกิดความสำคัญผิดในคะแนนนิยม มิเช่นนั้นอาจเข้าข่ายฝ่าฝืนกฎหมายเลือกตั้ง อย่างไรก็ตามกฎหมายกำหนดห้ามมีการเผยผลสำรวจในช่วง 7 วันก่อนวันเลือกตั้งจนถึงปิดหีบ
ทั้งนี้ภายหลังการชี้แจงข้อควรระวังในการหาเสียงแล้ว กกต.ได้จัดให้ผู้สมัครผู้ว่าฯ กทม.ทุกคนร่วมกล่าวคำปฏิญาณต่อหน้าพระบรมศาธิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ว่า จะช่วยกันทำให้การเลือกตั้งเป็นไปด้วยความสุจริต ยุติธรรม ไม่ซื้อสิทธิ์ขายเสียง พร้อมลงนามในคำปฏิญาณดังกล่าว อย่างไรก็ตามในช่วงของการปฏิญาณนั้น นายประภัสร์ไม่ได้อยู่ร่วมแต่อย่างใด
อย่างไรก็ตาม ภายในงานยังได้มีการตั้งคำถามข้อสงสัยของผู้สมัครต่อกกต. ด้วย เช่น เรื่องของการเลือกตั้งล่วงหน้า หรือการเลือกตั้งนอกเขตจังหวัดสำหรับผู้ที่ไม่สามารถมาเลือกตั้งในวันที่ 5 ต.ค. ได้หรือไม่ ซึ่งกกต.ได้ชี้แจงว่าการเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม.จะไม่มีการจัดการเลือกตั้งล่วงหน้า โดยผู้ที่ไม่สามารถไปใช้สิทธิเลือกตั้งในวันที่ 5 ต.ค. สามารถแจ้งเหตุของการไม่ไปใช้สิทธิได้ตั้งแต่ช่วง 7 วันก่อนวันเลือกตั้ง ซึ่งก็จะทำให้ไม่เป็นผู้เสียสิทธิ
ด้านพ.ต.อ.จรุงวิทย์ ภุมมา รองเลขาธิการด้านกิจการสืบสวนสอบสวนและวินิจฉัย กล่าวว่า กกต.กลางได้จัดตั้งศูนย์รับแจ้งเหตุและเบาะแสการกระทำผิดกฎหมายเลือกตั้งเกี่ยวกับการเลือกตั้งผู้ว่าฯกทม. ตั้งแต่วันที่ 8 ก.ย.ที่ผ่านมา โดยประชาชน ที่พบเห็นพฤติการณ์ หรือพบเบาะแสการทุจริตเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. สามารถแจ้งเหตุได้ที่โทรศัพท์หมายเลข 0-2219-2921, 0-2613-7333 ต่อ 2341,2343 และในวันที่ 3-5 ต.ค. ก็จะมีการเปิดทำการรับแจ้งเหตุตลอด 24 ชั่วโมง โดยเมื่อทางศูนย์ฯได้รับแจ้งเหตุแล้วก็จะประสานไปยังเจ้าหน้าที่ตำรวจ เจ้าหน้าที่กกต.กทม.ให้ลงพื้นที่ตรวจสอบ ซึ่งจะเป็นการแก้ปัญหาเบื้องต้นและลดปัญหาการร้องเรียนได้อีกทางหนึ่ง นอกจากนี้หากพบว่ามีการติดป้ายหาเสียงปิดบังเส้นทางจราจรก็สามารถแจ้งไปยังโทรศัพท์สายด่วนของกทม.หมายเลข 1555 ได้ทันทีเช่นกัน