คาด “อภิรักษ์” หลุดใบแดงหลัง “ชูวิทย์” ร้อง กกต.เอาผิดมาตรา 57 เหตุเคยมีกรณี ส.ส.-ส.ว.โดนร้องเรียนแบบนี้มาแล้ว แต่แก้ตัวผ่านไม่รู้ไม่เห็นเอาผิดไม่ได้สักคน ด้านปลัด กทม.ยันทำทุกอย่างถูกต้องตามกฎหมาย พร้อมกำชับข้าราชการวางตัวเป็นกลางฝ่าฝืนเจอโทษทั้งวินัย-อาญา ขณะที่ ปธ.กกต.กทม.ประสาน สตช.ส่งตำรวจ 350 ลงพื้นที่หาข่าวกับเจ้าหน้าที่ กกต.กทม.ดมกลิ่นทุจริตเลือกตั้งพ่อเมืองกรุง
นายพงศ์ศักติฐ์ เสมสันต์ ปลัดกรุงเทพมหานคร (กทม) กล่าวถึงกรณีที่นายชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์ ผู้สมัครรับเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม.หมายเลข 8 ได้ยื่นหนังสือร้องเรียนต่อคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) และคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำกรุงเทพมหานคร (กกต.กทม.) เพื่อขอให้พิจารณาและดำเนินการต่อป้ายโฆษณาประชาสัมพันธ์ของ กทม.ที่มีชื่อของนายอภิรักษ์ โกษะโยธิน อดีตผู้ว่าฯ กทม.ผู้สมัครผู้ว่าฯ กทม.หมายเลข 5 ว่า การกระทำที่ปรากฏเป็นการขัดต่อพระรราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) การเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่น หรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ.2545 หรือ ประกาศ กกต.เรื่องวิธีการ หรือลักษณะต้องห้ามในการหาเสียงเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่น หรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ.2551 รวมไปถึงกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง ว่า ก่อนหน้านี้ตนได้กำชับให้ทุกสำนักงานเขตปลดป้ายประชาสัมพันธ์ของ กทม.ที่มีชื่อ นายอภิรักษ์ ออกแล้ว แต่หากประชาชนพบก็ขอให้แจ้งไปที่สำนักงานเขตในพื้นที่ที่พบป้ายเพื่อให้ปลด
ส่วนที่ นายชูวิทย์ ร้องเรียนให้ตนรับผิดชอบนั้น ขึ้นอยู่การพิจารณาของ กกต.ทั้งนี้ ยืนยันว่า ตนทำทุกอย่างถูกต้องตามกฎหมาย พร้อมกันนี้ ตนได้กำชับให้ข้าราชการวางตัวเป็นกลางถ้าฝ่าฝืนจะมีโทษทั้งทางวินัยและอาญาจึงขอให้ประชาชนมั่นใจ
ด้านนายพิงค์ รุ่งสมัย ประธาน กกต.กทม.กล่าวถึงมาตรการป้องกันการทุจริตเลือกตั้ง ผู้ว่าฯกทม.ว่า ได้ประสาน สำนักงานตำรวจแห่งชาติ จัดกำลังชุดป้องปรามและสืบสวนเรื่องนี้โดยเฉพาะ จำนวน 350 นาย ลงพื้นที่ร่วมกับพนักงานสืบสวนสอบสวนของ กกต.กทม.ที่ลงพื้นที่ล่วงหน้าไปแล้ว 60 วัน นอกจากนี้ยังมีองค์กรเอกชน 2 องค์กร เสนอตัวเข้าร่วมตรวจสอบการจัดเลือกตั้งครั้งนี้ด้วย
รายงานข่าวแจ้งว่า ตามมาตรา 57 ของ พ.ร.บ.การเลือกตั้งสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ.2545 ระบุว่า ห้ามผู้สมัคร หรือผู้ใดกระทำการเพื่อจูงใจผู้มีสิทธิเลือกตั้งให้ลงคะแนนเลือกตั้งแก่ตนเอง หรือผู้อื่น หรือให้งดเว้นการลงคะแนนเลือกตั้งให้แก่ผู้สมัครผู้ใดนับแต่มีประกาศให้มีการเลือกตั้ง ซึ่งการร้องเรียนของนายชูวิทย์ในกรณีดังกล่าวนี้ กกต.จะต้องพิจารณาว่าความผิดชัดเจนหรือไม่ หากพบว่าชัดเจนก็สามารถให้ใบแดงนายอภิรักษ์ได้
อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมา เคยเกิดกรณีลักษณะนี้หลายครั้งแล้ว ทั้ง ส.ส. ส.ว.ซึ่งแนวทางในการสอบสวนก็มักจะไม่มีความผิด เพราะผู้สมัครเลือกตั้งมักจะอ้างไม่รู้เรื่อง ไม่ได้เป็นผู้มาติดตั้งป้าย แต่เป็นเรื่องของหน่วยงาน รวมทั้งจะต้องพิจารณาถึงช่วงเวลาในการติดตั้งป้ายหาเสียงด้วย แต่ปัญหาป้ายของ กทม.นี้ หน่วยงานหรือสำนักงานเขตต่างๆ เป็นผู้ไปดำเนินการติดตั้งก่อนที่จะมีการหาเสียงเลือกตั้ง และไม่ดำเนินการเก็บหลังจากที่มีการหาเสียงเลือกตั้งแล้ว ซึ่งต้องดูถึงเจตนาอีกครั้ง
นายพงศ์ศักติฐ์ เสมสันต์ ปลัดกรุงเทพมหานคร (กทม) กล่าวถึงกรณีที่นายชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์ ผู้สมัครรับเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม.หมายเลข 8 ได้ยื่นหนังสือร้องเรียนต่อคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) และคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำกรุงเทพมหานคร (กกต.กทม.) เพื่อขอให้พิจารณาและดำเนินการต่อป้ายโฆษณาประชาสัมพันธ์ของ กทม.ที่มีชื่อของนายอภิรักษ์ โกษะโยธิน อดีตผู้ว่าฯ กทม.ผู้สมัครผู้ว่าฯ กทม.หมายเลข 5 ว่า การกระทำที่ปรากฏเป็นการขัดต่อพระรราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) การเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่น หรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ.2545 หรือ ประกาศ กกต.เรื่องวิธีการ หรือลักษณะต้องห้ามในการหาเสียงเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่น หรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ.2551 รวมไปถึงกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง ว่า ก่อนหน้านี้ตนได้กำชับให้ทุกสำนักงานเขตปลดป้ายประชาสัมพันธ์ของ กทม.ที่มีชื่อ นายอภิรักษ์ ออกแล้ว แต่หากประชาชนพบก็ขอให้แจ้งไปที่สำนักงานเขตในพื้นที่ที่พบป้ายเพื่อให้ปลด
ส่วนที่ นายชูวิทย์ ร้องเรียนให้ตนรับผิดชอบนั้น ขึ้นอยู่การพิจารณาของ กกต.ทั้งนี้ ยืนยันว่า ตนทำทุกอย่างถูกต้องตามกฎหมาย พร้อมกันนี้ ตนได้กำชับให้ข้าราชการวางตัวเป็นกลางถ้าฝ่าฝืนจะมีโทษทั้งทางวินัยและอาญาจึงขอให้ประชาชนมั่นใจ
ด้านนายพิงค์ รุ่งสมัย ประธาน กกต.กทม.กล่าวถึงมาตรการป้องกันการทุจริตเลือกตั้ง ผู้ว่าฯกทม.ว่า ได้ประสาน สำนักงานตำรวจแห่งชาติ จัดกำลังชุดป้องปรามและสืบสวนเรื่องนี้โดยเฉพาะ จำนวน 350 นาย ลงพื้นที่ร่วมกับพนักงานสืบสวนสอบสวนของ กกต.กทม.ที่ลงพื้นที่ล่วงหน้าไปแล้ว 60 วัน นอกจากนี้ยังมีองค์กรเอกชน 2 องค์กร เสนอตัวเข้าร่วมตรวจสอบการจัดเลือกตั้งครั้งนี้ด้วย
รายงานข่าวแจ้งว่า ตามมาตรา 57 ของ พ.ร.บ.การเลือกตั้งสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ.2545 ระบุว่า ห้ามผู้สมัคร หรือผู้ใดกระทำการเพื่อจูงใจผู้มีสิทธิเลือกตั้งให้ลงคะแนนเลือกตั้งแก่ตนเอง หรือผู้อื่น หรือให้งดเว้นการลงคะแนนเลือกตั้งให้แก่ผู้สมัครผู้ใดนับแต่มีประกาศให้มีการเลือกตั้ง ซึ่งการร้องเรียนของนายชูวิทย์ในกรณีดังกล่าวนี้ กกต.จะต้องพิจารณาว่าความผิดชัดเจนหรือไม่ หากพบว่าชัดเจนก็สามารถให้ใบแดงนายอภิรักษ์ได้
อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมา เคยเกิดกรณีลักษณะนี้หลายครั้งแล้ว ทั้ง ส.ส. ส.ว.ซึ่งแนวทางในการสอบสวนก็มักจะไม่มีความผิด เพราะผู้สมัครเลือกตั้งมักจะอ้างไม่รู้เรื่อง ไม่ได้เป็นผู้มาติดตั้งป้าย แต่เป็นเรื่องของหน่วยงาน รวมทั้งจะต้องพิจารณาถึงช่วงเวลาในการติดตั้งป้ายหาเสียงด้วย แต่ปัญหาป้ายของ กทม.นี้ หน่วยงานหรือสำนักงานเขตต่างๆ เป็นผู้ไปดำเนินการติดตั้งก่อนที่จะมีการหาเสียงเลือกตั้ง และไม่ดำเนินการเก็บหลังจากที่มีการหาเสียงเลือกตั้งแล้ว ซึ่งต้องดูถึงเจตนาอีกครั้ง