รอยเตอร์ – รัฐบาลสหรัฐฯวางแผนเข้าเทคโอเวอร์ แฟนนี เม และ เฟรดดี แมค สองบริษัทสินเชื่อเคหะยักษ์ใหญ่ โดยผู้ถือหุ้นทั้งหมดจะต้องพากันเจ็บระนาว ส.ส.ผู้ทรงอิทธิพลเปิดเผยเมื่อวันเสาร์(6)
ความเคลื่อนไหวเพื่อเข้าควบคุมบริษัททั้งสอง ที่คาดกันว่าจะมีการประกาศเป็นทางการกันในวันอาทิตย์(7) จะกลายเป็นการเข้าช่วยเหลือบริษัททางการเงินให้พ้นภาวะล้มละลายที่มีมูลค่าสูงที่สุดในประวัติศาสตร์อเมริกัน ตลอดจนมุ่งหมายที่จะป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหายมากขึ้นอีกต่อตลาดที่อยู่อาศัยของสหรัฐฯ ซึ่งกำลังอยู่ในภาวะย่ำแย่สุดขีด นับจากช่วงวิกฤตเศรษฐกิจตกต่ำครั้งมโหฬารในช่วงทศวรรษ 1930 เป็นต้นมา
บาร์นีย์ แฟรงค์ ประธานคณะกรรมาธิการบริการการเงินของสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐฯ เผยว่าผู้ถือหุ้นทั้งหมดจะได้รับผลกระทบรุนแรง จากการที่รัฐบาลเข้าควบคุมบริษัททั้งสอง โดยที่จะมีการตั้งทีมบริหารใหม่ ซึ่งหมายความถึงการปลดประธานเจ้าหน้าที่บริหารของแฟนนี เมและเฟรดดี แมค
แหล่งข่าววงในกล่าวว่า กิจการที่มีฐานะเป็นบริษัทมหาชนแต่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐทั้งสองแห่งนี้ได้รับจดหมายจากหน่วยงานกำกับตรวจสอบ ซึ่งก็คือ สำนักงานสินเชื่อเคหะแห่งชาติ (เอฟเอชเอฟเอ)แจกแจงปัญหาของสองบริษัทที่ร่วมกันรับประกันสินเชื่อที่อยู่อาศัยถึงครึ่งหนึ่งของยอดรวมทั่วประเทศ 12 ล้านล้านดอลลาร์ และสาเหตุที่รัฐบาลกลางต้องเข้าควบคุม รวมถึงแนะนำว่าแฟนนี เมและเฟรดดี แมคควรยอมรับมาตรการแทรกแซงนี้ เพื่อหลีกเลี่ยงขั้นตอนที่ยุ่งยากขึ้นไปอีก ถ้าหากตกอยู่ในฐานะล้มละลายและถูกสั่งพิทักษ์ทรัพย์ เพื่อคุ้มครองผลประโยชน์ของพวกเจ้าหนี้ที่ถือครองตราสารหนี้ของบริษัททั้งสอง
แฟรงค์ยังให้สัมภาษณ์หนังสือพิมพ์วอชิงตัน โพสต์ว่า คาดหมายกันว่ารัฐบาลจะเข้าควบคุมสองบริษัทดังกล่าวอย่างน้อยหนึ่งปี พร้อมๆ กับที่รัฐบาลจะพิจารณาว่า ควรให้ทั้งสองบริษัทอยู่ภายใต้การบริหารของรัฐต่อไป หรือควรปรับโครงสร้างกิจการทั้งสองเสียใหม่
มีรายงานว่า รัฐมนตรีคลัง เฮนรี พอลสัน, เบน เบอร์นันกี ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ(เฟด) และเจมส์ ล็อกฮาร์ต ผู้อำนวยการเอฟเอชเอฟเอ ได้หารือรายละเอียดของแผนการนี้กับประธานเจ้าหน้าที่บริหารของสองบริษัทเมื่อวันศุกร์ (5) ขณะที่แหล่งข่าวอื่นๆ แย้มว่าคณะกรรมการบริหารแฟนนี เมและเฟรดดี แมค ได้รับการบรรยายสรุปในการประชุมวันเสาร์ โดยที่ฝ่ายแรกพยายามยืนกรานว่าสถานะเงินทุนของตนแข็งแกร่งกว่าเฟรดดี แมค และสามารถระดมทุนได้ตามเป้า ทว่า ไม่มีสัญญาณว่าข้อโต้แย้งดังกล่าวจะเป็นผล
แผนการแทรกแซงของรัฐบาลคราวนี้ สะท้อนถึงความกังวลในหมู่เจ้าหน้าที่สหรัฐฯ ว่าตลาดการเงินเริ่มสูญเสียความเชื่อมั่นต่อสองบริษัทนี้หลังจากมียอดขาดทุนรวมกันเกือบ 14,000 ล้านดอลลาร์ในช่วงสี่ไตรมาสล่าสุด ขณะที่ราคาหุ้นดิ่งลงกว่า 90% ในรอบปีที่ผ่านมา
เดือนกรกฎาคม รัฐสภาผ่านมาตรการฉุกเฉินให้กระทรวงคลังสามารถที่จะขยายการปล่อยสินเชื่อที่ไม่ระบุวงเงินให้แฟนนี เมและเฟรดดี แมค หรือเข้าถือหุ้นของสองบริษัท หากทั้งสองกิจการยังคงย่ำแย่ลงเรื่อยๆ
มีรายงานด้วยว่า พอลสันยังได้หารือแผนการล่าสุดกับสองผู้สมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดี นั่นคือ บารัค โอบามา จากพรรคเดโมแครต และจอห์น แมคเคน จากพรรครีพับลิกัน โดยฝ่ายหลังให้สัมภาษณ์รายการ ‘เฟซ อะ เนชัน’ ของซีบีเอสที่ออกอากาศวานนี้ว่า นี่เป็นสิ่งที่ต้องทำ โดยควรปรับโครงสร้างทั้งสองบริษัท เพื่อสร้างความเชื่อมั่นว่ารัฐบาลสามารถหยุดยั้งปัญหาได้
ด้านโอบามาให้สัมภาษณ์รายการ ‘ดีส วีก วิธ จอร์จ สเตฟาโนปูลอส’ ทางเอบีซีที่ออกอากาศวันอาทิตย์เช่นเดียวกัน ว่ามาตรการแทรกแซงเป็นสิ่งจำเป็น แต่ยังไม่ขอฟันธงจนกว่าจะทราบรายละเอียดทั้งหมด
“เราต้องปกป้องผู้เสียภาษี ไม่ใช่ผู้ถือหุ้นและผู้บริหาร” โอบามายืนยัน ส่วนแมคเคนสำทับว่า รัฐบาลไม่ควรอุ้มนักเก็งกำไรในวอลล์สตรีทและผู้บริหารที่ไร้ความรับผิดชอบ
วอชิงตัน โพสต์รายงานเมื่อวันเสาร์ว่า ในการเข้าไปควบคุมกิจการของรัฐบาล หุ้นสามัญของสองบริษัทจะถูกลดมูลค่าลงมา ขณะที่หลักทรัพย์อื่นๆ อาทิ หุ้นกู้ และหุ้นบุริมสิทธิ์ จะได้รับการปกป้องจากรัฐ
ขณะที่นิวยอร์ก ไทมส์รายงานว่า จะมีการล้างบางทีมบริหารและบอร์ดของแฟนนี เมและเฟรดดี แมค และมูลค่าหุ้นจะต้องลดลง แต่ทั้งสองบริษัทจะสามารถทำธุรกิจต่อไปโดยที่รัฐบาลเข้าช่วยเหลือเรื่องหนี้
อนึ่ง นับจากกลางเดือนที่ผ่านมา นักวิเคราะห์จากซิตี้กรุ๊ป, เมอร์ริลลินช์ และโกลด์แมนแซคส์ ได้ออกรายงานระบุว่าแฟนนี เมและเฟรดดี แมคมีเงินทุนมากพอดำเนินการในระยะสั้น และทั้งสองบริษัทประสบความสำเร็จในการเจรจาปรับโครงสร้างหนี้
กระนั้น เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม บริษัทจัดอันดับความน่าเชื่อถือรายใหญ่ทั้งหมดพร้อมใจกันลดอันดับหุ้นบุริมสิทธิ์ของสองบริษัท โดยระบุว่าราคาหุ้นที่ดิ่งลงกำลังตัดโอกาสของบริษัททั้งสองในการเข้าถึงเงินทุน และทำให้มีความจำเป็นมากขึ้นในการรับการสนับสนุนทางการเงินแบบฉุกเฉิน
แม้ทั้งสองบริษัทสามารถเข้าไปกู้ยืมในตลาดทุนได้ตลอดมา แต่เห็นชัดว่าผู้ซื้อตราสารหนี้รายใหญ่กำลังเริ่มกังวลมากขึ้น สัปดาห์ที่แล้วธนาคารกลางต่างชาติลดการถือครองตราสารหนี้ของแฟนนี เมและเฟรดดี แมค ส่วนที่อยู่ในความดูแลของเฟดเป็นสัปดาห์ที่ 7 ติดต่อกัน ท่ามกลางความไม่แน่นอนว่าผู้ถือหุ้นของแฟนนี เมและเฟรดดี แมคจะได้รับการปฏิบัติอย่างไร
ความเคลื่อนไหวเพื่อเข้าควบคุมบริษัททั้งสอง ที่คาดกันว่าจะมีการประกาศเป็นทางการกันในวันอาทิตย์(7) จะกลายเป็นการเข้าช่วยเหลือบริษัททางการเงินให้พ้นภาวะล้มละลายที่มีมูลค่าสูงที่สุดในประวัติศาสตร์อเมริกัน ตลอดจนมุ่งหมายที่จะป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหายมากขึ้นอีกต่อตลาดที่อยู่อาศัยของสหรัฐฯ ซึ่งกำลังอยู่ในภาวะย่ำแย่สุดขีด นับจากช่วงวิกฤตเศรษฐกิจตกต่ำครั้งมโหฬารในช่วงทศวรรษ 1930 เป็นต้นมา
บาร์นีย์ แฟรงค์ ประธานคณะกรรมาธิการบริการการเงินของสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐฯ เผยว่าผู้ถือหุ้นทั้งหมดจะได้รับผลกระทบรุนแรง จากการที่รัฐบาลเข้าควบคุมบริษัททั้งสอง โดยที่จะมีการตั้งทีมบริหารใหม่ ซึ่งหมายความถึงการปลดประธานเจ้าหน้าที่บริหารของแฟนนี เมและเฟรดดี แมค
แหล่งข่าววงในกล่าวว่า กิจการที่มีฐานะเป็นบริษัทมหาชนแต่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐทั้งสองแห่งนี้ได้รับจดหมายจากหน่วยงานกำกับตรวจสอบ ซึ่งก็คือ สำนักงานสินเชื่อเคหะแห่งชาติ (เอฟเอชเอฟเอ)แจกแจงปัญหาของสองบริษัทที่ร่วมกันรับประกันสินเชื่อที่อยู่อาศัยถึงครึ่งหนึ่งของยอดรวมทั่วประเทศ 12 ล้านล้านดอลลาร์ และสาเหตุที่รัฐบาลกลางต้องเข้าควบคุม รวมถึงแนะนำว่าแฟนนี เมและเฟรดดี แมคควรยอมรับมาตรการแทรกแซงนี้ เพื่อหลีกเลี่ยงขั้นตอนที่ยุ่งยากขึ้นไปอีก ถ้าหากตกอยู่ในฐานะล้มละลายและถูกสั่งพิทักษ์ทรัพย์ เพื่อคุ้มครองผลประโยชน์ของพวกเจ้าหนี้ที่ถือครองตราสารหนี้ของบริษัททั้งสอง
แฟรงค์ยังให้สัมภาษณ์หนังสือพิมพ์วอชิงตัน โพสต์ว่า คาดหมายกันว่ารัฐบาลจะเข้าควบคุมสองบริษัทดังกล่าวอย่างน้อยหนึ่งปี พร้อมๆ กับที่รัฐบาลจะพิจารณาว่า ควรให้ทั้งสองบริษัทอยู่ภายใต้การบริหารของรัฐต่อไป หรือควรปรับโครงสร้างกิจการทั้งสองเสียใหม่
มีรายงานว่า รัฐมนตรีคลัง เฮนรี พอลสัน, เบน เบอร์นันกี ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ(เฟด) และเจมส์ ล็อกฮาร์ต ผู้อำนวยการเอฟเอชเอฟเอ ได้หารือรายละเอียดของแผนการนี้กับประธานเจ้าหน้าที่บริหารของสองบริษัทเมื่อวันศุกร์ (5) ขณะที่แหล่งข่าวอื่นๆ แย้มว่าคณะกรรมการบริหารแฟนนี เมและเฟรดดี แมค ได้รับการบรรยายสรุปในการประชุมวันเสาร์ โดยที่ฝ่ายแรกพยายามยืนกรานว่าสถานะเงินทุนของตนแข็งแกร่งกว่าเฟรดดี แมค และสามารถระดมทุนได้ตามเป้า ทว่า ไม่มีสัญญาณว่าข้อโต้แย้งดังกล่าวจะเป็นผล
แผนการแทรกแซงของรัฐบาลคราวนี้ สะท้อนถึงความกังวลในหมู่เจ้าหน้าที่สหรัฐฯ ว่าตลาดการเงินเริ่มสูญเสียความเชื่อมั่นต่อสองบริษัทนี้หลังจากมียอดขาดทุนรวมกันเกือบ 14,000 ล้านดอลลาร์ในช่วงสี่ไตรมาสล่าสุด ขณะที่ราคาหุ้นดิ่งลงกว่า 90% ในรอบปีที่ผ่านมา
เดือนกรกฎาคม รัฐสภาผ่านมาตรการฉุกเฉินให้กระทรวงคลังสามารถที่จะขยายการปล่อยสินเชื่อที่ไม่ระบุวงเงินให้แฟนนี เมและเฟรดดี แมค หรือเข้าถือหุ้นของสองบริษัท หากทั้งสองกิจการยังคงย่ำแย่ลงเรื่อยๆ
มีรายงานด้วยว่า พอลสันยังได้หารือแผนการล่าสุดกับสองผู้สมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดี นั่นคือ บารัค โอบามา จากพรรคเดโมแครต และจอห์น แมคเคน จากพรรครีพับลิกัน โดยฝ่ายหลังให้สัมภาษณ์รายการ ‘เฟซ อะ เนชัน’ ของซีบีเอสที่ออกอากาศวานนี้ว่า นี่เป็นสิ่งที่ต้องทำ โดยควรปรับโครงสร้างทั้งสองบริษัท เพื่อสร้างความเชื่อมั่นว่ารัฐบาลสามารถหยุดยั้งปัญหาได้
ด้านโอบามาให้สัมภาษณ์รายการ ‘ดีส วีก วิธ จอร์จ สเตฟาโนปูลอส’ ทางเอบีซีที่ออกอากาศวันอาทิตย์เช่นเดียวกัน ว่ามาตรการแทรกแซงเป็นสิ่งจำเป็น แต่ยังไม่ขอฟันธงจนกว่าจะทราบรายละเอียดทั้งหมด
“เราต้องปกป้องผู้เสียภาษี ไม่ใช่ผู้ถือหุ้นและผู้บริหาร” โอบามายืนยัน ส่วนแมคเคนสำทับว่า รัฐบาลไม่ควรอุ้มนักเก็งกำไรในวอลล์สตรีทและผู้บริหารที่ไร้ความรับผิดชอบ
วอชิงตัน โพสต์รายงานเมื่อวันเสาร์ว่า ในการเข้าไปควบคุมกิจการของรัฐบาล หุ้นสามัญของสองบริษัทจะถูกลดมูลค่าลงมา ขณะที่หลักทรัพย์อื่นๆ อาทิ หุ้นกู้ และหุ้นบุริมสิทธิ์ จะได้รับการปกป้องจากรัฐ
ขณะที่นิวยอร์ก ไทมส์รายงานว่า จะมีการล้างบางทีมบริหารและบอร์ดของแฟนนี เมและเฟรดดี แมค และมูลค่าหุ้นจะต้องลดลง แต่ทั้งสองบริษัทจะสามารถทำธุรกิจต่อไปโดยที่รัฐบาลเข้าช่วยเหลือเรื่องหนี้
อนึ่ง นับจากกลางเดือนที่ผ่านมา นักวิเคราะห์จากซิตี้กรุ๊ป, เมอร์ริลลินช์ และโกลด์แมนแซคส์ ได้ออกรายงานระบุว่าแฟนนี เมและเฟรดดี แมคมีเงินทุนมากพอดำเนินการในระยะสั้น และทั้งสองบริษัทประสบความสำเร็จในการเจรจาปรับโครงสร้างหนี้
กระนั้น เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม บริษัทจัดอันดับความน่าเชื่อถือรายใหญ่ทั้งหมดพร้อมใจกันลดอันดับหุ้นบุริมสิทธิ์ของสองบริษัท โดยระบุว่าราคาหุ้นที่ดิ่งลงกำลังตัดโอกาสของบริษัททั้งสองในการเข้าถึงเงินทุน และทำให้มีความจำเป็นมากขึ้นในการรับการสนับสนุนทางการเงินแบบฉุกเฉิน
แม้ทั้งสองบริษัทสามารถเข้าไปกู้ยืมในตลาดทุนได้ตลอดมา แต่เห็นชัดว่าผู้ซื้อตราสารหนี้รายใหญ่กำลังเริ่มกังวลมากขึ้น สัปดาห์ที่แล้วธนาคารกลางต่างชาติลดการถือครองตราสารหนี้ของแฟนนี เมและเฟรดดี แมค ส่วนที่อยู่ในความดูแลของเฟดเป็นสัปดาห์ที่ 7 ติดต่อกัน ท่ามกลางความไม่แน่นอนว่าผู้ถือหุ้นของแฟนนี เมและเฟรดดี แมคจะได้รับการปฏิบัติอย่างไร