อนุสนธิการบุกยึดทำเนียบรัฐบาลในวันที่ 26 สิงหาคม 2551 ที่ผ่านมา สร้างประวัติศาสตร์การเมืองบทใหม่ทันที เพราะเป็นการหยามหน้ารัฐบาล ขณะที่ประชาชนผู้เข้าร่วมกลุ่ม พธม. เห็นคล้อยตามกันว่าเป็นความชอบธรรมในการเพิ่มแรงกดดันรัฐบาลตัวแทนระบอบทักษิณของนายสมัคร สุนทรเวช ที่ไม่ได้แยแสถึงจิตวิญญาณของการชุมนุมต่อต้านรัฐบาลที่เริ่มมา100 วันแล้ว ว่าเป็นการต่อต้านแนวคิดแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับ 2550 เพื่อช่วยเหลือพ.ต.ท.ทักษิณ และนักการเมืองชั่วโกงการเลือกตั้ง โดยมี นปช. ซึ่งเดิมคือ นปก. เป็นพลพรรคหนุนหลัง โดยมีผลงานตั้งแต่ 20 กันยายน 2549 ต่อต้าน คมช. พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ ที่ถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้ให้ท้ายการรัฐประหาร 19 กันยายน 49 ลักษณะก้าวร้าว ป่าเถื่อน ต้องการปะทะกับรัฐ
จนในที่สุด สมาชิกชั้นแนวหน้าเริ่มลามปาม กล่าวกระทบพระบรมเดชานุภาพแห่งพระมหากษัตริย์เป็นอนาธิปไตยคติแขนงต่อต้านระบบกษัตริย์ ที่ถูกขนานนามว่า ซ้ายในซ้ายของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย เช่น นายเหวง โตจิราการ หรือนายวีระ มุสิกพงษ์ ผู้เคยต้องโทษในข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ จำคุกที่บุรีรัมย์ 4 ปีแต่ติดคุกเพียงประมาณ 1 เดือน ก็ได้รับพระราชทานอภัยโทษ จนถึงยุคนายจักรภพ เพ็ญแข และนางสาวดารณี ชาญเชิงศิลปะกุล ซึ่งเป็นพวกต่อต้านระบบกษัตริย์ยุคใหม่ที่กล้าหาญชาญชัยปราศรัยเปิดเผยในที่สาธารณะ และกำลังถูกดำเนินคดีอยู่
ความเคียดแค้นของนายสมัคร สุนทรเวช เห็นได้จากวลีนำของนิตยสารไทม์ เล่มใหม่ที่ว่า “I’m never afraid of these people” และทุกครั้งที่กล่าว เขาก็จะใช้ภาษาที่ดุเดือด ก้าวร้าว และเหยียดหยาม จนขาดจิตสำนึกว่าตัวเองเป็นผู้นำประเทศ ควรจะมีจรรยาบรรณในการพูด เช่นอารยะผู้นำทั้งหลายที่ต้องให้เกียรติคนในชาติ ถึงมีความคิดขัดแย้ง ก็ต้องนับถือเขาเหล่านั้นที่เป็นคนเสียภาษีเป็นเงินเดือนนายกรัฐมนตรี จนบางครั้งมีความอาฆาตมาดร้ายที่เป็นนิสัยเพราะเห็นได้จากคดีหมิ่นประมาทหลายคดี
ความเป็นผู้นำที่ดีนั้น สิ่งแรกที่พึงมีคือ “จาคะ” การเสียสละ เพราะเปรียบเทียบกับผู้นำท่านอื่นๆ ในประวัติศาสตร์การเมืองไทยที่ขอลาออกจากตำแหน่งเมื่อเกิดแรงกดดันจากสังคมส่วนน้อยก็ตาม เช่น พลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ ลาออกกลางสภาใน พ.ศ. 2523 เพียงแค่ต้องตัดสินใจขึ้นราคาน้ำมันตามตลาดโลกแต่เป็นการเพิ่มภาระให้ประชาชน และพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ ที่ลาออกใน พ.ศ. 2540 เพราะวิกฤตเงินบาท เนื่องจากการลดค่าเงินบาททำให้มีผู้ได้รับประโยชน์ บ้างแต่เสียประโยชน์มากมาย และผู้ที่ได้รับประโยชน์ส่วนใหญ่ใกล้ชิดกับรัฐบาล จึงเกิดม็อบสีลมออกมาขับไล่ให้พลเอกชวลิต รับผิดชอบด้วยการลาออก
พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ เป็นนายทหารคนแรกของประวัติศาสตร์การเมืองไทยที่ลาออกจากตำแหน่งในกองทัพเพื่อเล่นการเมือง และต้องลาออกเพราะแรงกดดันของชนชั้นกลางที่เรียกร้องให้ท่านลาออก
ท่านไม่ลาออกก็ได้เพราะมาจากการเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตย คนทำธุรกิจต่างประเทศก็มีเพียงหยิบมือหนึ่ง หากเทียบกับเสียงในภาคอีสานที่พรรคความหวังใหม่ของท่านได้รับเลือกเข้ามา แต่ความชอบธรรมในสำนึกของท่าน บังคับให้ท่านต้องลาออก ความชอบธรรมคือ การกระทำที่ถูกตามหลักธรรม เมื่อธรรมคือคุณงามความดีหรือถูกตามนิตินัย เมื่อนิติคือกฎหมาย กฎปฏิบัติ แบบแผน เยี่ยงอย่าง ขนบธรรมเนียมประเพณี วิธีปกครอง เครื่องแนะนำ และอุบายอันดี
จึงอนุมานได้ว่า พลเอกเกรียงศักดิ์ และพลเอกชวลิต มีธรรมจรรยาคือ การประพฤติถูกธรรมเพราะไม่ต้องการให้เกิดความขัดแย้งขึ้น เพราะความขัดแย้งพัฒนาได้รวดเร็วมากจนถึงขั้นใช้กำลังอาวุธกันและนำสู่การรัฐประหาร ซึ่งสามารถทำได้ทั้งไร้ความรุนแรง และรุนแรงหากฝ่ายหนึ่งไม่ยอมอีกฝ่ายหนึ่งซึ่งส่วนใหญ่ที่เกิดรุนแรงขึ้นถึงเสียเลือดเนื้อเพราะผู้มีอำนาจขาดหลักความชอบธรรม แต่จะอ้างการได้อำนาจรัฐเพราะได้รับการเลือกตั้งเป็นผู้แทนราษฎรเสียงข้างมากแต่ระบอบประชาธิปไตยที่แท้จริงจะต้องเคารพเสียงทุกเสียงด้วย มิฉะนั้นแล้วจะเข้าสู่ภาวะจนตรอก เช่นที่รัฐบาลนายสมัคร สุนทรเวช กำลังเผชิญอยู่และการทำประชามติจะไม่ช่วยอะไรเลยนอกจากซื้อเวลาเพราะรัฐบาลขาดความชอบธรรมในสำนึกของปัญญาชนแล้ว
ดังนั้น วิธีหนึ่งที่เกิดขึ้นจากความสามานย์ คือ การสร้างเงื่อนไขสังคมให้เกิดความกลัวต่างๆ นานา และความรุนแรงเป็นส่วนหนึ่งซึ่งปรากฏขึ้นในคืนวันที่ 2 กันยายน ที่ผ่านมา เมื่อขบวน นปช.เคลื่อนทัพเข้าตีพันธมิตรฯ จนเกิดศึกมัฆวาน 2551 มีคนตาย 1 คน บาดเจ็บนับสิบ และเมื่อวิเคราะห์ถึงเจตนารมณ์ของการเคลื่อนทัพของชายฉกรรจ์หน้าตาบอกระดับปัญญา และจิตสำนึกก็รู้แจ้งว่า 1) “มาทำศึกแน่นอน” เพราะมีอาวุธของอันธพาลครบมือ 2) “ใช้กลยุทธ์ทหารโจมตีเวลากลางคืนแบบจู่โจม” เพื่อต้องการสร้างความโกลาหลให้ พธม. จนถึงขั้นขาดการประสานงาน 3) สร้างความหวาดกลัวให้เกิดขึ้นจนผู้ชุมนุมบริสุทธิ์ไม่กล้าเข้าร่วมชุมนุมอีก 4) สร้างเงื่อนไขให้รัฐบาลได้เปรียบเชิงสังคมจิตวิทยาจากฝั่งผู้สนับสนุนรัฐบาล และใช้อำนาจ พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินโดยมอบอำนาจให้กับ ผบ.ทบ.ดำเนินการขั้นเด็ดขาดตามกฎหมาย แต่พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา เข้าใจในแผนชั่วหลายขั้นของรัฐบาลนายสมัคร สุนทรเวช ซึ่งมี นปช.ชี้นำ จึงประกาศไม่สลายผู้ชุมนุมในทำเนียบรัฐบาล และประกาศก้องว่าเป็นเรื่องการเมือง
หนทางที่พล.อ.อนุพงษ์เลือกปฏิบัติขณะนี้ เป็นหนทางที่ยุติกระแสความขัดแย้งที่นำสู่สงครามกลางเมืองได้ เพราะปัจจุบันไม่มีใครฟังใครแล้ว เพียงแต่ว่าอยู่ข้างไหนเท่านั้น การตีความ “ความชอบธรรม” เป็นเรื่องโต้เถียงกันไม่มีวันสิ้นสุด และ ณ จุดนี้คือจุดของสงครามกลางเมืองที่เกิดขึ้นมาแล้วในหลายสังคมชาติ เช่น สงครามกลางเมืองในสหรัฐอเมริกา เมื่อประธานาธิบดีอับราฮัม ลินคอล์น ผู้ที่เชื่อว่า “การค้าทาสเป็นเรื่องที่ชั่วร้ายที่สุดของมนุษยชาติ” และได้กล่าวไว้ว่า “หากการค้าทาสไม่ผิดแล้วละก้อ คงไม่มีอะไรอีกแล้วที่เป็นการกระทำผิดเลย” แต่ในมุมตรงข้ามอีก 7 มลรัฐทางใต้กลับมองว่า หากไม่มีทาสแล้ว ระบบเศรษฐกิจของพวกเขาต้องล้มสลาย ณ จุดนี้อะไรคือความชอบธรรม เมื่อพลเมืองใน 7 มลรัฐทางใต้มองว่า “การค้าทาสเป็นเรื่องปกติ” เมื่อรองประธานาธิบดี อเล็กซานเดอร์ เอช สตีเฟน รองประธานาธิบดีฝ่ายใต้ประกาศในเดือนมีนาคม 1861 ว่า “เสาหลักของชาติตั้งอยู่บนสัจธรรมที่ว่า คนนิโกรไม่มีคุณค่าเสมอค่าคนขาว”
นั่นเป็นเรื่องเมื่อ 150 ปีที่แล้ว แต่ในปัจจุบันทาสไม่มีแล้ว มีแต่ทาส “เงิน” จึงเกิดการทุจริตคดโกงในหมู่คนที่มีความโลภนำสู่การแสวงอำนาจรัฐ เพราะอำนาจรัฐบันดาลให้สมประสงค์ความโลภทั้งอำนาจ และเงินตรา จึงเกิดวลีว่า “โกงแค่นี้เอง ไม่ทำให้ชาติล่มจมหรอก” หรือ “ใครๆ เขาก็โกงกัน” หรือ “ถ้าไม่โกงก็ไม่รวย” หรือ “มีใครไม่โกงบ้าง” ดังนั้น เราจึงต้องศึกษาสำนึกความชอบธรรมของแต่ละคนให้มากครับ
จนในที่สุด สมาชิกชั้นแนวหน้าเริ่มลามปาม กล่าวกระทบพระบรมเดชานุภาพแห่งพระมหากษัตริย์เป็นอนาธิปไตยคติแขนงต่อต้านระบบกษัตริย์ ที่ถูกขนานนามว่า ซ้ายในซ้ายของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย เช่น นายเหวง โตจิราการ หรือนายวีระ มุสิกพงษ์ ผู้เคยต้องโทษในข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ จำคุกที่บุรีรัมย์ 4 ปีแต่ติดคุกเพียงประมาณ 1 เดือน ก็ได้รับพระราชทานอภัยโทษ จนถึงยุคนายจักรภพ เพ็ญแข และนางสาวดารณี ชาญเชิงศิลปะกุล ซึ่งเป็นพวกต่อต้านระบบกษัตริย์ยุคใหม่ที่กล้าหาญชาญชัยปราศรัยเปิดเผยในที่สาธารณะ และกำลังถูกดำเนินคดีอยู่
ความเคียดแค้นของนายสมัคร สุนทรเวช เห็นได้จากวลีนำของนิตยสารไทม์ เล่มใหม่ที่ว่า “I’m never afraid of these people” และทุกครั้งที่กล่าว เขาก็จะใช้ภาษาที่ดุเดือด ก้าวร้าว และเหยียดหยาม จนขาดจิตสำนึกว่าตัวเองเป็นผู้นำประเทศ ควรจะมีจรรยาบรรณในการพูด เช่นอารยะผู้นำทั้งหลายที่ต้องให้เกียรติคนในชาติ ถึงมีความคิดขัดแย้ง ก็ต้องนับถือเขาเหล่านั้นที่เป็นคนเสียภาษีเป็นเงินเดือนนายกรัฐมนตรี จนบางครั้งมีความอาฆาตมาดร้ายที่เป็นนิสัยเพราะเห็นได้จากคดีหมิ่นประมาทหลายคดี
ความเป็นผู้นำที่ดีนั้น สิ่งแรกที่พึงมีคือ “จาคะ” การเสียสละ เพราะเปรียบเทียบกับผู้นำท่านอื่นๆ ในประวัติศาสตร์การเมืองไทยที่ขอลาออกจากตำแหน่งเมื่อเกิดแรงกดดันจากสังคมส่วนน้อยก็ตาม เช่น พลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ ลาออกกลางสภาใน พ.ศ. 2523 เพียงแค่ต้องตัดสินใจขึ้นราคาน้ำมันตามตลาดโลกแต่เป็นการเพิ่มภาระให้ประชาชน และพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ ที่ลาออกใน พ.ศ. 2540 เพราะวิกฤตเงินบาท เนื่องจากการลดค่าเงินบาททำให้มีผู้ได้รับประโยชน์ บ้างแต่เสียประโยชน์มากมาย และผู้ที่ได้รับประโยชน์ส่วนใหญ่ใกล้ชิดกับรัฐบาล จึงเกิดม็อบสีลมออกมาขับไล่ให้พลเอกชวลิต รับผิดชอบด้วยการลาออก
พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ เป็นนายทหารคนแรกของประวัติศาสตร์การเมืองไทยที่ลาออกจากตำแหน่งในกองทัพเพื่อเล่นการเมือง และต้องลาออกเพราะแรงกดดันของชนชั้นกลางที่เรียกร้องให้ท่านลาออก
ท่านไม่ลาออกก็ได้เพราะมาจากการเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตย คนทำธุรกิจต่างประเทศก็มีเพียงหยิบมือหนึ่ง หากเทียบกับเสียงในภาคอีสานที่พรรคความหวังใหม่ของท่านได้รับเลือกเข้ามา แต่ความชอบธรรมในสำนึกของท่าน บังคับให้ท่านต้องลาออก ความชอบธรรมคือ การกระทำที่ถูกตามหลักธรรม เมื่อธรรมคือคุณงามความดีหรือถูกตามนิตินัย เมื่อนิติคือกฎหมาย กฎปฏิบัติ แบบแผน เยี่ยงอย่าง ขนบธรรมเนียมประเพณี วิธีปกครอง เครื่องแนะนำ และอุบายอันดี
จึงอนุมานได้ว่า พลเอกเกรียงศักดิ์ และพลเอกชวลิต มีธรรมจรรยาคือ การประพฤติถูกธรรมเพราะไม่ต้องการให้เกิดความขัดแย้งขึ้น เพราะความขัดแย้งพัฒนาได้รวดเร็วมากจนถึงขั้นใช้กำลังอาวุธกันและนำสู่การรัฐประหาร ซึ่งสามารถทำได้ทั้งไร้ความรุนแรง และรุนแรงหากฝ่ายหนึ่งไม่ยอมอีกฝ่ายหนึ่งซึ่งส่วนใหญ่ที่เกิดรุนแรงขึ้นถึงเสียเลือดเนื้อเพราะผู้มีอำนาจขาดหลักความชอบธรรม แต่จะอ้างการได้อำนาจรัฐเพราะได้รับการเลือกตั้งเป็นผู้แทนราษฎรเสียงข้างมากแต่ระบอบประชาธิปไตยที่แท้จริงจะต้องเคารพเสียงทุกเสียงด้วย มิฉะนั้นแล้วจะเข้าสู่ภาวะจนตรอก เช่นที่รัฐบาลนายสมัคร สุนทรเวช กำลังเผชิญอยู่และการทำประชามติจะไม่ช่วยอะไรเลยนอกจากซื้อเวลาเพราะรัฐบาลขาดความชอบธรรมในสำนึกของปัญญาชนแล้ว
ดังนั้น วิธีหนึ่งที่เกิดขึ้นจากความสามานย์ คือ การสร้างเงื่อนไขสังคมให้เกิดความกลัวต่างๆ นานา และความรุนแรงเป็นส่วนหนึ่งซึ่งปรากฏขึ้นในคืนวันที่ 2 กันยายน ที่ผ่านมา เมื่อขบวน นปช.เคลื่อนทัพเข้าตีพันธมิตรฯ จนเกิดศึกมัฆวาน 2551 มีคนตาย 1 คน บาดเจ็บนับสิบ และเมื่อวิเคราะห์ถึงเจตนารมณ์ของการเคลื่อนทัพของชายฉกรรจ์หน้าตาบอกระดับปัญญา และจิตสำนึกก็รู้แจ้งว่า 1) “มาทำศึกแน่นอน” เพราะมีอาวุธของอันธพาลครบมือ 2) “ใช้กลยุทธ์ทหารโจมตีเวลากลางคืนแบบจู่โจม” เพื่อต้องการสร้างความโกลาหลให้ พธม. จนถึงขั้นขาดการประสานงาน 3) สร้างความหวาดกลัวให้เกิดขึ้นจนผู้ชุมนุมบริสุทธิ์ไม่กล้าเข้าร่วมชุมนุมอีก 4) สร้างเงื่อนไขให้รัฐบาลได้เปรียบเชิงสังคมจิตวิทยาจากฝั่งผู้สนับสนุนรัฐบาล และใช้อำนาจ พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินโดยมอบอำนาจให้กับ ผบ.ทบ.ดำเนินการขั้นเด็ดขาดตามกฎหมาย แต่พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา เข้าใจในแผนชั่วหลายขั้นของรัฐบาลนายสมัคร สุนทรเวช ซึ่งมี นปช.ชี้นำ จึงประกาศไม่สลายผู้ชุมนุมในทำเนียบรัฐบาล และประกาศก้องว่าเป็นเรื่องการเมือง
หนทางที่พล.อ.อนุพงษ์เลือกปฏิบัติขณะนี้ เป็นหนทางที่ยุติกระแสความขัดแย้งที่นำสู่สงครามกลางเมืองได้ เพราะปัจจุบันไม่มีใครฟังใครแล้ว เพียงแต่ว่าอยู่ข้างไหนเท่านั้น การตีความ “ความชอบธรรม” เป็นเรื่องโต้เถียงกันไม่มีวันสิ้นสุด และ ณ จุดนี้คือจุดของสงครามกลางเมืองที่เกิดขึ้นมาแล้วในหลายสังคมชาติ เช่น สงครามกลางเมืองในสหรัฐอเมริกา เมื่อประธานาธิบดีอับราฮัม ลินคอล์น ผู้ที่เชื่อว่า “การค้าทาสเป็นเรื่องที่ชั่วร้ายที่สุดของมนุษยชาติ” และได้กล่าวไว้ว่า “หากการค้าทาสไม่ผิดแล้วละก้อ คงไม่มีอะไรอีกแล้วที่เป็นการกระทำผิดเลย” แต่ในมุมตรงข้ามอีก 7 มลรัฐทางใต้กลับมองว่า หากไม่มีทาสแล้ว ระบบเศรษฐกิจของพวกเขาต้องล้มสลาย ณ จุดนี้อะไรคือความชอบธรรม เมื่อพลเมืองใน 7 มลรัฐทางใต้มองว่า “การค้าทาสเป็นเรื่องปกติ” เมื่อรองประธานาธิบดี อเล็กซานเดอร์ เอช สตีเฟน รองประธานาธิบดีฝ่ายใต้ประกาศในเดือนมีนาคม 1861 ว่า “เสาหลักของชาติตั้งอยู่บนสัจธรรมที่ว่า คนนิโกรไม่มีคุณค่าเสมอค่าคนขาว”
นั่นเป็นเรื่องเมื่อ 150 ปีที่แล้ว แต่ในปัจจุบันทาสไม่มีแล้ว มีแต่ทาส “เงิน” จึงเกิดการทุจริตคดโกงในหมู่คนที่มีความโลภนำสู่การแสวงอำนาจรัฐ เพราะอำนาจรัฐบันดาลให้สมประสงค์ความโลภทั้งอำนาจ และเงินตรา จึงเกิดวลีว่า “โกงแค่นี้เอง ไม่ทำให้ชาติล่มจมหรอก” หรือ “ใครๆ เขาก็โกงกัน” หรือ “ถ้าไม่โกงก็ไม่รวย” หรือ “มีใครไม่โกงบ้าง” ดังนั้น เราจึงต้องศึกษาสำนึกความชอบธรรมของแต่ละคนให้มากครับ