xs
xsm
sm
md
lg

“หมัก”ยึดอำนาจเคลื่อนทหารออกพ.ร.ก.ฉุกเฉินบี้อนุพงษ์ลุยพันธมิตรฯ

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

ผู้สื่อข่าวรายงานว่ารัฐบาล นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี และ รมว. กลาโหม เริ่มเจ้าเล่ห์อีกหลัง ประกาศพ.ร.ก.บริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน ให้ พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา ผบ.ทบ. เป็นหัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ ฉุกเฉิน เพื่อหวังใช้เป็นเครื่องมือให้ พล.อ.อนุพงษ์ จัดการกับกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยที่ชุมนุมไล่รัฐบาล แต่ พล.อ.อนุพงษ์ กลับไม่ดำเนินการโดยหันไปใช้วิธีนุ่มนวน ล่าสุดจึงเรียกประชุม ครม.เพื่อออกพ.ร.ก.ฉุกเฉินอีก 2 ฉบับบี้ให้ ผบ.ทบ.ดำเนินการกับกลุ่มพันธมิตรฯ พร้อมยึดอำนาจการเคลื่อนย้ายกำลังพลไว้ในมือนายสมัคร หวั่นถูกปฏิวันิ
โดยพล.ต.ท.วิเชียรโชติ สุกโชติรัตน์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงว่าการประชุม ครม.นัดเฉพาะกิจครั้งนี้ เพื่อออก พ.ร.ก.บริหารราชการ ในสถานการณ์ฉุกเฉิน หรือ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน อีก 2 ฉบับ เพื่อให้ ครม.ได้รับทราบและเห็นชอบตามประกาศนี้ภายใน 3 วัน
โดย พ.ร.ก.ฉบับแรก คือ การจัดตั้งกองอำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (กอฉ.) โดยให้อำนาจนายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี ออกคำสั่ง ตั้ง กอฉ. ประกอบด้วย พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา ผบ.ทบ.เป็น ผอ.กอฉ. พล.ต.อ.พัชรวาท วงศ์สุวรรณ ผบ.ตร. และ พล.ท.ประยุทธ์ จันทร์โอชา แม่ทัพภาคที่ 1 เป็น รอง ผอ. กอฉ. มีรองปลัดกระทรวงยุติธรรม รองปลัดกระทรวงมหาดไทย รองปลัดกระทรวงไอซีที และข้าราชการระดับสูงฝ่ายค้านมั่นคง หน่วยงานด้านการข่าว เป็นกรรมการรวม 19 ตำแหน่ง
ทั้งนี้คณะกรรมการดังกล่าวมีอำนาจหน้าที่ ดังนี้ 1.เป็นหน่วยงานหน้าที่ปฏิบัติหน้าที่ตาม พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน 2.จัดให้มีหน่วยงาน หรือศูนย์ปฏิบัติการ เพื่อเป็นองค์ประกอบปฏิบัติการภายใต้ กอฉ. ให้มีอำนาจในการ แก้ไขปราบปรามยับยั้งสถานการณ์ฉุกเฉิน ตามที่ได้รับมอบหมาย 3.ดำเนินการทางด้านการข่าว
4.ดำเนินการประชาสัมพันธ์ เผยแพร่ข่อมูลข่าวสาร ที่ถูกต้อง ตามความเป็นจริง เพื่อทำความเข้าใจอันดีระหว่างรัฐบาลและประชาชนทุกภาคส่วน รวมทั้งปฏิบัติการด้านจิตวิทยาที่เกี่ยวข้อง สำหรับการดำเนินการข่าวกรองนั้น ให้ดำเนินการด้านการข่าวและต่อต้านข่าวกรองที่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์ฉุกเฉินและที่เป็นภัยต่อความมั่นคงของรัฐ หรือการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข
5.จัดกำลังตำรวจและทหารดำเนินงานตามแผนรักษาความปลอดภัยบุคคลสำคัญและสถานที่สำคัญต่างๆ รวมทั้งประสานส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ ซึ่งเป็นเจ้าของสถานที่ดำเนินการป้องกันตัวเอง ตามความสามารถ 6.หมอบหมายให้ส่วนราชการหรือหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องสนับสนุนกำลังพล งบประมาณ วัสดุ ครุภัณฑ์ ยานพาหนะ และเครื่องมือต่างๆ เพื่อดำเนินการแก้ไข สถานการณ์ฉุกเฉิน 7.เรียกให้ส่วนราชการ หรือหน่วยงานของรัฐ ข้าราชการ เจ้าหน้าที่รัฐเข้าประชุมชี้แจง ให้ข้อมูลข่าวสารตามที่เห็นสมควร 8.แต่งตั้งคณะที่ปรึกษา หรือเจ้าหน้าที่ เพื่อดำเนินการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินตามความจำเป็น 9.ดำเนินการ อื่นๆ ตามที่นายกฯ หรือครม.มอบหมาย สั่ง ณ วันที่ 4 กันยายน พ.ศ.2551 นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี
นอกจากนี้ พ.ร.ก.อีกฉบับ1 เป็นการกำหนดอำนาจหน้าที่ของ ครม. ตามกฎหมาย เป็นอำนาจหน้าที่ของนายกรัฐมนตรี ภายหลังมีการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในเขต กทม.ตามกฎหมายฉบับนี้ ให้รัฐนตรี และ ครม. มอบอำนาจรัฐมนตรีว่าการกระทรวง โอนมาเป็นอำนาจหน้าที่ของนายกรัฐมนตรี ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการอนุญาตอนุมัติสั่งการ ตามบังคับบัญชาหรือแก้ไขป้องกัน ปราบปราม ระงับยับยั้ง สถานการณ์ฉุกเฉิน หรือช่วยเหลือประชาชนที่อยู่ในท้องที่ ที่ประกาศภาวะฉุกเฉิน โดยจะมีกฎหมาย 20 ฉบับ 1. พ.ร.บ.จัดระเบียบข้าการกระทรวงกลาโหม พ.ศ. 2551 2. พ.ร.บ.การทะเบียนคนต่างด้าน พ.ศ. 2493 3.พ.ร.บ.การสอบสวนคดีพิเศษ พ.ศ. 2547 4. พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 5. พ.ร.บ. ควบคุมโภคภัณฑ์ พ.ศ. 2495 6. พ.ร.บ.ควบคุมยุทธภัณฑ์ พ.ศ. 2520
7. พ.ร.บ.ป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน พ.ศ. 2522 8. พ.ร.บ.ควบคุมอาหาร พ.ศ. 2522 9.พ.ร.บ.ควบคุมการโฆษณา โดยใช้เครื่องขยายเสียง พ.ศ. 2493 10.พ.ร.บ.รักษาความสะอาดและรักษาความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง พ.ศ. 2535 11.พ.ร.บ.การจราจรทางบก พ.ศ. 2522 12. พ.ร.บ.การสุรา พ.ศ. 2493 13.พ.ร.บ.รถยนต์ พ.ศ. 2522 14. พ.ร.บ.วัตถุอันตราย พ.ศ. 2535
15. พ.ร.บ.วัฒนธรรมแห่งชาติ พ.ศ.2485 16.พ.ร.บ.อาวุธปืน เครื่องกระสุน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิงและสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ.2490 17. พ.ร.บ.การเนรเทศ พ.ศ. 2499 18. ประมวลกฎหมายแพ่งและพานิชย์ เฉพาะบทบัญญัติที่เกี่ยวกับมูลนิธิและสมาคม 19.ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา เฉพาะบทบัญญัติที่เกี่ยวกับการใช้อำนาจสืบสวนและสอบสวน และการใช้อำนาจของพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ 20.ข้อบังคับกระทรวงกลาโหม ว่าด้วยการใช้กำลังทหาร การเคลื่อนกำลังทหารและการเตรียมพร้อม พ.ศ.2545 โดยนายสมัคร ลงนามในประกาศวันที่ 4 กันยายน 2551
นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล ส.ส.เชียงใหม่ พรรคพลังประชาชน ให้สัมภาษณ์ว่า การที่ พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา ผบ.ทบ.ในฐานะเป็น หัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน ที่มีท่าทีอ่อนต่อการบังคับใช้ พ.ร.ก.การบริหารราชการ ในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 ซึ่งอาจเป็นการละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ทางราชการ ผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157 ตรงนี้ต้องถูกนำมาคุยกันในสภา
กำลังโหลดความคิดเห็น