ผู้ว่าฯ ธปท.ยอมรับห่วงสถานการณ์บ้านเมือง แต่เชื่อความวุ่นวายการเมืองมีผลต่อความเชื่อมั่นและการใช้จ่ายในประเทศระยะสั้น ส่วนดัชนีตลาดหุ้นที่ปรับตัวลดลงกับเงินบาทอ่อนค่า เป็นไปตามทิศทางภูมิภาค "ทนง" ชี้ต่างชาติเข้าใจเมืองไทย เศรษฐกิจไม่กระทบมาก เอกชนเผยทุนสิงค์โปร์ยังมั่นใจเศรษฐกิจไทย ไม่ถอนเงินลงทุนง่ายๆ ด้านนักลงทุนสิงคโปร์ยันเบากว่าปฏิวัติเมื่อ 2 ปีที่แล้ว ส่วนภาคท่องเที่ยวโดนกระทบมากสุด แอตต้าจี้รัฐบาลเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉิน
วานนี้ (3 ก.ย.) ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้จัดงานสัมมนาวิชาการธปท.ประจำปี 2551 ครั้งที่ 9 นับตั้งแต่ปี 2543 ที่ รร.เซ็นทารา แกรนด์ เซ็นทรัลเวิลด์ นางธาริษา วัฒนเกส ผู้ว่าการ ธปท.ให้ความเห็นหลังกล่าวเปิดงานถึงสถานการณ์การเมืองที่วุ่นวายในขณะนี้ว่า มีผลต่อความเชื่อมั่นและการใช้จ่ายในประเทศของผู้บริโภคและนักลงทุนในช่วงสั้นๆ เท่านั้น ซึ่งเป็นเรื่องที่ทุกคนเป็นห่วง เชื่อว่าหากมีการแก้ไขปัญหาได้เร็วจะส่งผลให้เศรษฐกิจไทยเดินหน้าต่อไปได้ ขณะเดียวกันตลาดหุ้นที่มีดัชนีปรับตัวลดลงไม่ได้เกิดจากปัจจัยภายในประเทศอย่างเดียว แต่เป็นไปตามทิศทางเดียวกันทั้งภูมิภาคทั้งกระแสเงินทุนจากต่างประเทศไหลออกและค่าเงินอ่อนค่ามาก ซึ่งเมื่อวันที่ 2 ก.ย.ที่ผ่านมา ค่าเงินของสิงคโปร์อ่อนค่ามากกว่าเงินบาทไทย จึงเป็นปัจจัยภายนอกประเทศเป็นสำคัญด้วย อย่างไรก็ตามขณะนี้เงินทุนไหลออกยังไม่มีอะไรที่ผิดปกติ และธปท.ยังคงดูแลตามความจำเป็นหากเกิดความผันผวนมากเกินไป
ส่วนจะกระทบการท่องเที่ยว การใช้จ่ายหรือการพิจารณาดำเนินนโยบายการเงินผ่านอัตราดอกเบี้ยยากขึ้นหรือไม่เป็นสิ่งที่ธปท.ได้มีการประเมินสถานการณ์อย่างใกล้ชิดอยู่แล้ว โดยที่ผ่านมาเศรษฐกิจไทยมีปัจจัยลบมากมายเข้ามารุ่มเร้า แต่ก็มีการเตรียมพร้อมในการรับมือและสามารถผ่านพ้นมาได้ด้วยดี ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความแข็งแกร่งของไทยที่มีปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจที่ดี พร้อมทั้งมีความมั่นคงเห็นได้จากฐานะการคลัง ฐานะต่างประเทศ และระบบสถาบันการเงินไทยที่แข็งแกร่ง
“แนวทางการดำเนินงานนโยบายการเงินของธปท.ในครึ่งหลังของปีนี้ยังคงดูข้อมูลล่าสุดและปัจจัยทั้งภายนอกและภายในประเทศ ซึ่งปัจจัยภายในต้องมีการชั่งน้ำหนักระหว่างความเสี่ยงของการเติบโตและความเสี่ยงของอัตราเงินเฟ้อ ซึ่งแม้ขณะนี้อัตราเงินเฟ้อลดลงมามากแล้ว แต่ความเสี่ยงยังมีอยู่ที่ เพราะแม้ต้นทุนจะลดลง แต่อัตราเงินเฟ้ออาจยังไม่ลดลงก็ได้ จากปัจจัยการเพิ่มอุปทานของสินค้าโภคภัณฑ์ยังมีข้อจำกัด สินค้าหลายชนิดยังรออนุมัติปรับราคาอยู่ รวมทั้งแรงกดดันจากการใช้กำลังการผลิตในระดับสูง เมื่อเทียบกับศักยภาพการผลิตของเศรษฐกิจ ตลาดแรงงานที่ตึงตัว ซึ่งสิ่งเหล่านี้ปัจจัยเหล่านี้ให้เงินเฟ้อเพิ่มขึ้นได้ แม้ต้นทุนสินค้าบางประเภทจะลดลงแล้ว”
อย่างไรก็ตาม ธปท.เชื่อว่าเศรษฐกิจไทยยังสามารถขยายตัวต่อไปได้ ซึ่งในช่วงครึ่งแรกของปีนี้ก็สามารถเติบโตได้ถึง 5.7% ถือเป็นระดับที่น่าพอใจ และขณะนี้อัตราเงินเฟ้อลดลงมามากพอสมควรทั้งจากราคาน้ำมันในตลาดโลกที่ลดลง เพราะเศรษฐกิจสหรัฐเติบโตดีกว่าที่คาดไว้ และจากมาตรการช่วยเหลือของภาครัฐ แม้จะเป็นเพียงชั่วคราว แต่ก็ช่วยลดการคาดการณ์เงินเฟ้อได้ส่วนหนึ่ง จึงต้องติดตามและประเมินสถานการณ์ต่างๆ อย่างใกล้ชิดต่อไป เพราะโอกาสที่เศรษฐกิจโลกชะลอและกระทบต่อภาคการส่งออกไทย ถือเป็นแรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจที่สำคัญ และส่งผลให้การขยายตัวเศรษฐกิจไทยครึ่งหลังของปีนี้จะชะลอลงได้
สำหรับการลงทุนใหม่ของทั้งภาครัฐและเอกชน แม้ในช่วงไตรมาสที่ 2 การใช้จ่ายภาครัฐลดลงเล็กน้อยจากเงินเฟ้อที่เร่งตัวสูง ทำให้การก่อสร้างต่างๆ ชะงักไปบ้าง แต่โครงการต่างๆ ได้มีการพิจารณาอนุมัติไปแล้ว ประกอบกับเงินเฟ้อเริ่มลดลง จึงเชื่อว่าโครงการลงทุนต่างๆ ยังคงเดินหน้าต่อไปได้
ทนงชี้ต่างชาติเข้าใจไทย-ไม่กระทบ
นายทนง พิทยะ อดีต รมว.คลัง กล่าวว่า ภาพรวมของเศรษฐกิจไทยในขณะนี้ นักลงทุนจากต่างประเทศมีความเชื่อมั่นและเข้าใจระบบการเมืองของประเทศไทยจึงไม่มีผลกระทบต่อเศรษฐกิจมากนักสังเกตได้จากภาคส่งออกและอุตสาหกรรมยังดีอยู่ แต่กลุ่มที่ชะลอการลงทุนคือนักลงทุนใหม่ที่ยังไม่ได้ลงทุนในประเทศไทย ไม่รู้จักสภาพการเมืองประเทศไทยดีพอ เขาจึงมองว่าเสถียรภาพการเมืองยังไม่ดีนัก จึงส่งผลกระทบต่อเม็ดเงินลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศหรือ FDI บ้าง
"ภาพที่ออกไปทำให้คนที่ดูหรือรับข้อมูลเกิดความวิตก หลายประเทศเริ่มเตือนให้หลีกเลี่ยงการเข้ามาในประเทศไทยทั้งที่เหตุการณ์เกิดขึ้นเพียงจุดเดียวแต่ภาพที่ออกมาทำให้มองว่าความรุนแรงยังมีอยู่ทั่วประเทศ แต่สิ่งที่เกิดขึ้นจริงๆนั้นคนทั่วไปก็ใช้ชีวิตได้ตามปกติ ไม่มีอะไรกังวลมากนัก ส่วนหุ้นที่ต่างชาติเทขายต่อเนื่องน่าจะเกิดจากปัญหาซับไพร์มมากกว่าปัญหาการเมือง"นายทนงกล่าวและว่า การเผชิญหน้าของพันธมิตรและนปก.จะเห็นว่าเป็นสิ่งที่ไม่อยากให้เกิดขึ้น เป็นภาพที่ไม่ดีที่ออกมาของสังคมไทย เชื่อว่าทุกคนไม่อยากให้ความรุนแรงและปะทะกัน และการที่รัฐบาลประกาศพ.ร.ก.ฉุกเฉิน ก็เป็นสิ่งที่ทำได้ เพราะไม่ได้ใช้เกินกว่าขอบเขตที่ควรจะทำ
ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล อดีตผู้ว่าฯ ธปท.และ รมว.คลัง กล่าวว่า ขอเอาใจช่วยสถานการณ์ทางการเมืองให้คลี่คลายโดยเร็ว การประกาศภาวะฉุกเฉินของนายกรัฐมนตรีนั้นจะไม่เกิดผลกระทบโดยรวมต่อเศรษฐกิจมากนัก ขอให้เรื่องทุกอย่างจบโดยเร็ว ให้คนไทยสามัคคีกัน ขณะที่การใช้จ่ายของรัฐบาลได้ช่วยผลักดันให้เร่งรัดเบิกจ่ายมากขึ้น เพราะเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศมีทั้งจุดชะลอและจุดเร่งจึงต้องกระตุ้นการลงทุนและการบริโภคของประเทศให้มากขึ้น ซึ่งเมื่อพิจารณาเศรษฐกิจโดยรวมของทั้งโลกจะเห็นว่าในยุโรปและอเมริกาอยู่ในภาวะซบเซา แต่เศรษฐกิจของไทยยังโตได้ ซึ่งเป็นไปในทิศทางเดียวกับภูมิภาค โดยเฉพาะจีนและอินเดียยังเจริญเติบโตอย่างมาก
"เศรษฐกิจของเรามีการกระจายความเสี่ยงไม่ได้พึ่งพาเพียงเซ็กเตอร์เดียวหรือภาคธุรกิจเดียว ในขณะที่ภาคท่องเที่ยวและบริการซบเซาแต่การส่งออกก็ยังไปได้ดี เรื่องการท่องเที่ยวโดยรวมก็ยังไม่น่าเป็นห่วงนักเพราะในช่วงไตรมาส4 ถือว่าเป็นช่วงไฮซีซั่นนักท่องเที่ยวก็จะกลับมาเอง" ม.ร.ว.ปรีดิยาธร กล่าว
นายอัมมาร สยามวาลา รักษาการประธานสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) กล่าวถึงปัญหาความวุ่นวายควรปล่อยให้เป็นไปตามกรอบของกฎหมายรัฐธรรมนูญผ่านกระบวนการในรัฐสภา ถือเป็นทางออกที่ดีที่สุด อีกทั้งถ้าเกิดอะไรขึ้นหรือหากมีการเปลี่ยนแปลงตัวนายกรัฐมนตรี สภาผู้แทนราษฎรจะเป็นผู้รับผิดชอบ
“ทางออกของปัญหาการเมืองขณะนี้คือ สันติสุข การที่คนมานั่งชี้หน้าด่ากันไปด่ากันมา ไม่มีประโยชน์ ถ้าทำอะไรไม่ได้ก็ควรยุบสภาฯ” นายอัมมารกล่าว
ทุนนอกยันไม่ถอนเงินลงทุน
ปัญหาความไม่สงบทางการเมืองจนนำไปสู่การประกาศใช้พระราชกำหนด (พ.ร.ก.) การบริหารบ้านเมืองในสถานการณ์ฉุกเฉิน ทำให้นักธุรกิจหวั่นเกรงว่าต่างชาติจะถอนเม็ดเงินลงทุนออกไปจากประเทศไทยนั้น วานนี้ (3 ก.ย.) นายธงชัย คุณากรปรมัตถ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท กรุงเทพบ้านและที่ดิน จำกัด (มหาชน) หรือเคแลนด์ ซึ่งปัจจุบันบริษัทมีสัดส่วนการถือหุ้นของต่างชาติโดยเฟรเซอร์แอนด์นีฟ จากสิงคโปร์ ประมาณ 40% ของทุนจดทะเบียน 1,780 ล้านบาท เปิดเผยว่า จากเหตุการณ์ความไม่สงบทางการเมืองที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน เป็นธรรมดาที่ผู้ร่วมทุนจากต่างชาติจะแสดงความกังวลบ้าง แต่คงไม่ถึงขนาดกับถอนการลงทุน เพียงแค่รอดูสถานการณ์ และจับตาอย่างใกล้ชิดเท่านั้น
“การลงทุนใหม่คงต้องทบทวนอีกครั้งหรือชะลอไว้ก่อน แต่ไม่ใช่มาจากปัญหาทางการเมืองเพียงอย่างเดียว ยังมีปัญหาด้านเศรษฐกิจที่มาจากราคาน้ำมัน เงินเฟ้อที่มีอยู่เดิม ทำให้ยอดขายอาจไม่ได้เป็นไปตามที่คาดการณ์เอาไว้ เป็นธรรมดาที่นักธุรกิจต้องเหนื่อยเพิ่มขึ้น เมื่อมีปัญหาเพิ่ม”
อย่างไรก็ตาม นักลงทุนจากสิงคโปร์กลุ่มดังกล่าว รวมถึงนักลงทุนกลุ่มอื่นๆ ที่เข้ามาอยู่เมืองไปเป็นเวลานานแล้ว เข้าใจสภาพการเมืองไทยมากพอสมควร โดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองถือเป็นเรื่องปกติ แต่อาจจะดูแปลกตาไปจากประเทศที่มีประชาธิปไตยมาช้านานในแถบยุโรป จึงทำให้ไม่มีความกังวลมากนัก
นอกจากนี้ การลงทุนในธุรกิจประเภทต่างๆ โดยเฉพาะกลุ่มอสังหาฯเป็นการลงทุนระยะยาว ในขณะที่การเมืองเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นระยะสั้น อีกทั้งพื้นฐานทางเศรษฐกิจของไทยยังดีกว่าประเทศเพื่อบ้านในอีกหลายประเทศ ทำให้นักลงทุนจากต่างชาติ ยังคงให้ความสนใจในการลงทุนที่ประเทศไทยต่อ อย่างไรก็ดี การลงทุนเช่นนี้ถือเป็นการลงทุนระยะยาว การถอนเม็ดเงินลงทุนออกไปเลยทำได้ยากและเกิดผลเสียหายมากกว่า
ขณะที่การถอนการลงทุนในตลาดทุนนั้นทำได้ง่ายก็จริง ซึ่งที่ผ่านมามีนักลงทุนถอนเม็ดเงินลงทุนออกไปแล้วประมาณ 1 แสนล้าน แต่เชื่อว่ามีเพียง 30% เท่านั้นที่ถอนการลงทุนไป เพราะปัญหาการเมืองไทย ส่วนอีก 70% มาจากภาวะเศรษฐกิจโลกที่ตกต่ำ รวมไปถึงปัญหาสินเชื่อด้อยคุณภาพสหรัฐ (ซับไพรม์) ที่เป็นปัญหาการเงินของโลกไปแล้ว ทำให้ต้องถอนเม็ดเงินเพื่อไปเสริมในประเทศของตนเอง
นายบุญ ชุน เกียรติ กรรมการบริหาร บริษัท ทรานส อิควอโทเรียล เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด ประเทศสิงคโปร์ ที่เข้ามาลงทุนในเมืองไทยมาเกือบ 8 ปี กล่าวว่า ยังไม่มีความกังวลมากนักกับสถานการณ์ในปัจจุบัน เพราะถือเป็นเรื่องปกติของการเมืองแบบประชาธิปไตยที่ต้องมีความคิดเห็นขัดแย้ง แต่อาจจะมีความรุนแรงอยู่บ้าง ซึ่งต่างชาติที่เข้ามาลงทุนและอาศัยอยู่ในเมืองไทยเป็นเวลานานจะเข้าใจดีว่าเป็นเหตุการณ์ระยะสั้น แต่ก็ไม่ได้นิ่งนอนใจต้องจับตาสถานการณ์ตลอดเช่นกัน
“เมื่อ 2 ปีที่แล้วที่มีการปฏิวัติเรายังไม่หยุดลงทุนในไทย อีกทั้งยังมีการลงทุนอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน ส่วนภาวะขณะนี้ถือว่ายังไม่ร้ายแรง ผู้บริหารระดับสูงของเรายังไม่มีนโยบายหรือคำสั่งอะไรออกมา เพียงแต่บอกว่าขอให้โชคดีเท่านั้น”
ท่องเที่ยวรวมตัวจี้รัฐเลิก พรก.หมัก
ในการประชุมสมาคมไทยธุรกิจการท่องเที่ยว (แอตต้า) เพื่อหารือร่วมกับสมาชิกเพื่อกำหนดท่าทีของบริษัทนำเที่ยว อันเนื่องมาจากผลกระทบจากการประกาศใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน วานนี้ นายอภิชาต สังฆอารี นายกสมาคม แอตต้า กล่าวว่า การประกาศใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ทำให้อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวได้รับผลกระทบอย่างหนัก โดยเฉพาะ ประเทศในแถบเอเชีย และเอเชียแปซิฟิก ที่เริ่มทยอยยกเลิกการเดินทาง ขณะที่กลุ่มประเทศแถบยุโรป สแกนดิเนเวีย อยู่ระหว่างรอดูสถานการณ์เพื่อประกอบการตัดสินใจ
ล่าสุดมีรายงานจาก บจม.ท่าอากาศไทยว่า ตั้งแต่มีเหตการณ์ตำรวจบุกสลายการชุมนุมกลุ่มพันธฒิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย(พธม.) เมื่อวันที่ 29 สิงหาคมที่ผ่านมา จนถึงเหตุการณ์ปะทะระหว่าง กลุ่ม พธม. กับกลุ่ม แนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ ( นปช.) จนเป็นเหตุให้มีผู้บาดเจ็บ และ เสียชีวิต ส่งผลให้จำนวนนักท่องเที่ยว ที่เดินทางมาลงที่สนามบินสุวรรณภูมิ ลดลงอย่างต่อเนื่อง ล่าสุด ตั้งแต่วันที่ 1-3 ก.ย.นี้ จำนวนนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาลงที่สนามบิสุวรรณภูมิลดลงเฉลี่ยวันละ 20-30% ทำให้ประเทศไทยสูญเสียรายได้จากนักท่องเที่ยวที่ลดลงไปนี้ถึงวันละ 300-450 ล้านบาท ต่อวัน โดยคำนวณจากวันพักเฉลี่ยที่ 10 วัน มีค่าใช้จ่ายต่อคนต่อวันที่วันละ เกือบ 4,000 บาท
จากข้อมูลดังกล่าว ทำให้ภาคเอกชนด้านการท่องเที่ยวในนามของ สหพันธ์สมาคมท่องเที่ยวไทย หรือ เฟสต้า ซึ่งมีสมาคมท่องเที่ยวรวมอยู่ด้วยกันถึง 5 สมาคมใหญ่ คือ สมาคมโรงแรมไทย สมาคมไทยบริการท่องเที่ยว สมาคมแอตต้า สมาคมธุรกิจท่องเที่ยวภายในประเทศ และ สมาคม ท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์และผจญภัย อยู่ระหว่างการหารือ เพื่อส่งหนังสือถึง นายวีระศักดิ์ โควสุรัตน์ รมว.กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ภายใน 1-2 วันนี้ เพื่อให้พิจารณาและส่งต่อไปถึง ฯพณฯท่านนายกรัฐมนตรี นายสมัคร สุนทรเวช ให้ยกเลิกประกาศใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน โดยเร็วที่สุด พร้อมกับเร่งหาข้อยุติความขัดแย้งทางการเมืองโดยเร็ว ก่อนวันที่ 15 ก.ย.นี้ ก็จะทำให้กระทบอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวระยะสั้น แต่ถ้ายืดยาวไปถึงสิ้นเดือนก.ย.ต่อถึงเดือนต.ค. จะกระทบตลาดนักท่องเที่ยวต่างชาติในไฮซีซั่นปีนี้ทั้งหมดต่อเนื่องไปถึงไตรมาสแรกของปีหน้าด้วย เพราะนักท่องเที่ยวจะเปลี่ยนเดสติเนชั่นเดินทางแน่นอน
นายเอกน ศรีชีวะชาติ นายกสมาคมส่งเสริมการท่องเที่ยวไทยญี่ปุ่น กล่าวว่า ล่าสุด มีการยกเลิกการเดินทางของคณะบริษัทนำเที่ยวจากญี่ปุ่นที่จะสำรวจเส้นทางการเดินทางท่องเที่ยวในช่วงปลายปีให้แก่ตลาดญี่ปุ่นจำนวน 17 คน สาเหตุเพราะไม่มั่นใจในภาวะที่ประเทศไทยประกาศใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ซึ่งจะมีผลให้ ปลายปีนี้อาจไม่มีนักท่องเที่ยวญี่ปุ่นเดินทางเข้ามาไทยเลยก็ได้ เพราะ ญี่ปุ่นเป็นอีกประเทศหนึ่งที่ประกาศเตือนนักท่องเที่ยว(Travel warning )
เพิ่ม Travel warning เป็น 14 ปท.
อย่างไรก็ตาม รายงานข่าวล่าสุดแจ้งว่า ประเทศ นอร์เวย และ เบลเยี่ยม ได้ออกหนังสือเตือนนักท่องเที่ยว(Travel warning ) ที่จะเดินทางเข้ามาประเทศไทยแล้ว เป็นผลให้ขณะนี้ มีทั้งหมด 14 ประเทศ ที่ออกTravel warning เตือนนักท่องเที่ยวแล้ว ได้แก่ สิงคโปร์ จีน ออสเตรเลีย แคนาดา อังกฤษ ฝรั่งเศส เดนมาร์ก นิวซีแลนด์ ญี่ปุ่น สวิสเซอร์แลนด์ เกาหลี ไต้หวัน นอร์เวย และ เบลเยี่ยม ซึ่งการประกาศ Travel warning มีผลให้ บริษัทประกันภัยจะไม่รับคุ้มครองใดๆ ทั้งสิ้นหากนักท่องเที่ยวได้รับอันตราย
วานนี้ (3 ก.ย.) ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้จัดงานสัมมนาวิชาการธปท.ประจำปี 2551 ครั้งที่ 9 นับตั้งแต่ปี 2543 ที่ รร.เซ็นทารา แกรนด์ เซ็นทรัลเวิลด์ นางธาริษา วัฒนเกส ผู้ว่าการ ธปท.ให้ความเห็นหลังกล่าวเปิดงานถึงสถานการณ์การเมืองที่วุ่นวายในขณะนี้ว่า มีผลต่อความเชื่อมั่นและการใช้จ่ายในประเทศของผู้บริโภคและนักลงทุนในช่วงสั้นๆ เท่านั้น ซึ่งเป็นเรื่องที่ทุกคนเป็นห่วง เชื่อว่าหากมีการแก้ไขปัญหาได้เร็วจะส่งผลให้เศรษฐกิจไทยเดินหน้าต่อไปได้ ขณะเดียวกันตลาดหุ้นที่มีดัชนีปรับตัวลดลงไม่ได้เกิดจากปัจจัยภายในประเทศอย่างเดียว แต่เป็นไปตามทิศทางเดียวกันทั้งภูมิภาคทั้งกระแสเงินทุนจากต่างประเทศไหลออกและค่าเงินอ่อนค่ามาก ซึ่งเมื่อวันที่ 2 ก.ย.ที่ผ่านมา ค่าเงินของสิงคโปร์อ่อนค่ามากกว่าเงินบาทไทย จึงเป็นปัจจัยภายนอกประเทศเป็นสำคัญด้วย อย่างไรก็ตามขณะนี้เงินทุนไหลออกยังไม่มีอะไรที่ผิดปกติ และธปท.ยังคงดูแลตามความจำเป็นหากเกิดความผันผวนมากเกินไป
ส่วนจะกระทบการท่องเที่ยว การใช้จ่ายหรือการพิจารณาดำเนินนโยบายการเงินผ่านอัตราดอกเบี้ยยากขึ้นหรือไม่เป็นสิ่งที่ธปท.ได้มีการประเมินสถานการณ์อย่างใกล้ชิดอยู่แล้ว โดยที่ผ่านมาเศรษฐกิจไทยมีปัจจัยลบมากมายเข้ามารุ่มเร้า แต่ก็มีการเตรียมพร้อมในการรับมือและสามารถผ่านพ้นมาได้ด้วยดี ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความแข็งแกร่งของไทยที่มีปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจที่ดี พร้อมทั้งมีความมั่นคงเห็นได้จากฐานะการคลัง ฐานะต่างประเทศ และระบบสถาบันการเงินไทยที่แข็งแกร่ง
“แนวทางการดำเนินงานนโยบายการเงินของธปท.ในครึ่งหลังของปีนี้ยังคงดูข้อมูลล่าสุดและปัจจัยทั้งภายนอกและภายในประเทศ ซึ่งปัจจัยภายในต้องมีการชั่งน้ำหนักระหว่างความเสี่ยงของการเติบโตและความเสี่ยงของอัตราเงินเฟ้อ ซึ่งแม้ขณะนี้อัตราเงินเฟ้อลดลงมามากแล้ว แต่ความเสี่ยงยังมีอยู่ที่ เพราะแม้ต้นทุนจะลดลง แต่อัตราเงินเฟ้ออาจยังไม่ลดลงก็ได้ จากปัจจัยการเพิ่มอุปทานของสินค้าโภคภัณฑ์ยังมีข้อจำกัด สินค้าหลายชนิดยังรออนุมัติปรับราคาอยู่ รวมทั้งแรงกดดันจากการใช้กำลังการผลิตในระดับสูง เมื่อเทียบกับศักยภาพการผลิตของเศรษฐกิจ ตลาดแรงงานที่ตึงตัว ซึ่งสิ่งเหล่านี้ปัจจัยเหล่านี้ให้เงินเฟ้อเพิ่มขึ้นได้ แม้ต้นทุนสินค้าบางประเภทจะลดลงแล้ว”
อย่างไรก็ตาม ธปท.เชื่อว่าเศรษฐกิจไทยยังสามารถขยายตัวต่อไปได้ ซึ่งในช่วงครึ่งแรกของปีนี้ก็สามารถเติบโตได้ถึง 5.7% ถือเป็นระดับที่น่าพอใจ และขณะนี้อัตราเงินเฟ้อลดลงมามากพอสมควรทั้งจากราคาน้ำมันในตลาดโลกที่ลดลง เพราะเศรษฐกิจสหรัฐเติบโตดีกว่าที่คาดไว้ และจากมาตรการช่วยเหลือของภาครัฐ แม้จะเป็นเพียงชั่วคราว แต่ก็ช่วยลดการคาดการณ์เงินเฟ้อได้ส่วนหนึ่ง จึงต้องติดตามและประเมินสถานการณ์ต่างๆ อย่างใกล้ชิดต่อไป เพราะโอกาสที่เศรษฐกิจโลกชะลอและกระทบต่อภาคการส่งออกไทย ถือเป็นแรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจที่สำคัญ และส่งผลให้การขยายตัวเศรษฐกิจไทยครึ่งหลังของปีนี้จะชะลอลงได้
สำหรับการลงทุนใหม่ของทั้งภาครัฐและเอกชน แม้ในช่วงไตรมาสที่ 2 การใช้จ่ายภาครัฐลดลงเล็กน้อยจากเงินเฟ้อที่เร่งตัวสูง ทำให้การก่อสร้างต่างๆ ชะงักไปบ้าง แต่โครงการต่างๆ ได้มีการพิจารณาอนุมัติไปแล้ว ประกอบกับเงินเฟ้อเริ่มลดลง จึงเชื่อว่าโครงการลงทุนต่างๆ ยังคงเดินหน้าต่อไปได้
ทนงชี้ต่างชาติเข้าใจไทย-ไม่กระทบ
นายทนง พิทยะ อดีต รมว.คลัง กล่าวว่า ภาพรวมของเศรษฐกิจไทยในขณะนี้ นักลงทุนจากต่างประเทศมีความเชื่อมั่นและเข้าใจระบบการเมืองของประเทศไทยจึงไม่มีผลกระทบต่อเศรษฐกิจมากนักสังเกตได้จากภาคส่งออกและอุตสาหกรรมยังดีอยู่ แต่กลุ่มที่ชะลอการลงทุนคือนักลงทุนใหม่ที่ยังไม่ได้ลงทุนในประเทศไทย ไม่รู้จักสภาพการเมืองประเทศไทยดีพอ เขาจึงมองว่าเสถียรภาพการเมืองยังไม่ดีนัก จึงส่งผลกระทบต่อเม็ดเงินลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศหรือ FDI บ้าง
"ภาพที่ออกไปทำให้คนที่ดูหรือรับข้อมูลเกิดความวิตก หลายประเทศเริ่มเตือนให้หลีกเลี่ยงการเข้ามาในประเทศไทยทั้งที่เหตุการณ์เกิดขึ้นเพียงจุดเดียวแต่ภาพที่ออกมาทำให้มองว่าความรุนแรงยังมีอยู่ทั่วประเทศ แต่สิ่งที่เกิดขึ้นจริงๆนั้นคนทั่วไปก็ใช้ชีวิตได้ตามปกติ ไม่มีอะไรกังวลมากนัก ส่วนหุ้นที่ต่างชาติเทขายต่อเนื่องน่าจะเกิดจากปัญหาซับไพร์มมากกว่าปัญหาการเมือง"นายทนงกล่าวและว่า การเผชิญหน้าของพันธมิตรและนปก.จะเห็นว่าเป็นสิ่งที่ไม่อยากให้เกิดขึ้น เป็นภาพที่ไม่ดีที่ออกมาของสังคมไทย เชื่อว่าทุกคนไม่อยากให้ความรุนแรงและปะทะกัน และการที่รัฐบาลประกาศพ.ร.ก.ฉุกเฉิน ก็เป็นสิ่งที่ทำได้ เพราะไม่ได้ใช้เกินกว่าขอบเขตที่ควรจะทำ
ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล อดีตผู้ว่าฯ ธปท.และ รมว.คลัง กล่าวว่า ขอเอาใจช่วยสถานการณ์ทางการเมืองให้คลี่คลายโดยเร็ว การประกาศภาวะฉุกเฉินของนายกรัฐมนตรีนั้นจะไม่เกิดผลกระทบโดยรวมต่อเศรษฐกิจมากนัก ขอให้เรื่องทุกอย่างจบโดยเร็ว ให้คนไทยสามัคคีกัน ขณะที่การใช้จ่ายของรัฐบาลได้ช่วยผลักดันให้เร่งรัดเบิกจ่ายมากขึ้น เพราะเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศมีทั้งจุดชะลอและจุดเร่งจึงต้องกระตุ้นการลงทุนและการบริโภคของประเทศให้มากขึ้น ซึ่งเมื่อพิจารณาเศรษฐกิจโดยรวมของทั้งโลกจะเห็นว่าในยุโรปและอเมริกาอยู่ในภาวะซบเซา แต่เศรษฐกิจของไทยยังโตได้ ซึ่งเป็นไปในทิศทางเดียวกับภูมิภาค โดยเฉพาะจีนและอินเดียยังเจริญเติบโตอย่างมาก
"เศรษฐกิจของเรามีการกระจายความเสี่ยงไม่ได้พึ่งพาเพียงเซ็กเตอร์เดียวหรือภาคธุรกิจเดียว ในขณะที่ภาคท่องเที่ยวและบริการซบเซาแต่การส่งออกก็ยังไปได้ดี เรื่องการท่องเที่ยวโดยรวมก็ยังไม่น่าเป็นห่วงนักเพราะในช่วงไตรมาส4 ถือว่าเป็นช่วงไฮซีซั่นนักท่องเที่ยวก็จะกลับมาเอง" ม.ร.ว.ปรีดิยาธร กล่าว
นายอัมมาร สยามวาลา รักษาการประธานสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) กล่าวถึงปัญหาความวุ่นวายควรปล่อยให้เป็นไปตามกรอบของกฎหมายรัฐธรรมนูญผ่านกระบวนการในรัฐสภา ถือเป็นทางออกที่ดีที่สุด อีกทั้งถ้าเกิดอะไรขึ้นหรือหากมีการเปลี่ยนแปลงตัวนายกรัฐมนตรี สภาผู้แทนราษฎรจะเป็นผู้รับผิดชอบ
“ทางออกของปัญหาการเมืองขณะนี้คือ สันติสุข การที่คนมานั่งชี้หน้าด่ากันไปด่ากันมา ไม่มีประโยชน์ ถ้าทำอะไรไม่ได้ก็ควรยุบสภาฯ” นายอัมมารกล่าว
ทุนนอกยันไม่ถอนเงินลงทุน
ปัญหาความไม่สงบทางการเมืองจนนำไปสู่การประกาศใช้พระราชกำหนด (พ.ร.ก.) การบริหารบ้านเมืองในสถานการณ์ฉุกเฉิน ทำให้นักธุรกิจหวั่นเกรงว่าต่างชาติจะถอนเม็ดเงินลงทุนออกไปจากประเทศไทยนั้น วานนี้ (3 ก.ย.) นายธงชัย คุณากรปรมัตถ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท กรุงเทพบ้านและที่ดิน จำกัด (มหาชน) หรือเคแลนด์ ซึ่งปัจจุบันบริษัทมีสัดส่วนการถือหุ้นของต่างชาติโดยเฟรเซอร์แอนด์นีฟ จากสิงคโปร์ ประมาณ 40% ของทุนจดทะเบียน 1,780 ล้านบาท เปิดเผยว่า จากเหตุการณ์ความไม่สงบทางการเมืองที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน เป็นธรรมดาที่ผู้ร่วมทุนจากต่างชาติจะแสดงความกังวลบ้าง แต่คงไม่ถึงขนาดกับถอนการลงทุน เพียงแค่รอดูสถานการณ์ และจับตาอย่างใกล้ชิดเท่านั้น
“การลงทุนใหม่คงต้องทบทวนอีกครั้งหรือชะลอไว้ก่อน แต่ไม่ใช่มาจากปัญหาทางการเมืองเพียงอย่างเดียว ยังมีปัญหาด้านเศรษฐกิจที่มาจากราคาน้ำมัน เงินเฟ้อที่มีอยู่เดิม ทำให้ยอดขายอาจไม่ได้เป็นไปตามที่คาดการณ์เอาไว้ เป็นธรรมดาที่นักธุรกิจต้องเหนื่อยเพิ่มขึ้น เมื่อมีปัญหาเพิ่ม”
อย่างไรก็ตาม นักลงทุนจากสิงคโปร์กลุ่มดังกล่าว รวมถึงนักลงทุนกลุ่มอื่นๆ ที่เข้ามาอยู่เมืองไปเป็นเวลานานแล้ว เข้าใจสภาพการเมืองไทยมากพอสมควร โดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองถือเป็นเรื่องปกติ แต่อาจจะดูแปลกตาไปจากประเทศที่มีประชาธิปไตยมาช้านานในแถบยุโรป จึงทำให้ไม่มีความกังวลมากนัก
นอกจากนี้ การลงทุนในธุรกิจประเภทต่างๆ โดยเฉพาะกลุ่มอสังหาฯเป็นการลงทุนระยะยาว ในขณะที่การเมืองเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นระยะสั้น อีกทั้งพื้นฐานทางเศรษฐกิจของไทยยังดีกว่าประเทศเพื่อบ้านในอีกหลายประเทศ ทำให้นักลงทุนจากต่างชาติ ยังคงให้ความสนใจในการลงทุนที่ประเทศไทยต่อ อย่างไรก็ดี การลงทุนเช่นนี้ถือเป็นการลงทุนระยะยาว การถอนเม็ดเงินลงทุนออกไปเลยทำได้ยากและเกิดผลเสียหายมากกว่า
ขณะที่การถอนการลงทุนในตลาดทุนนั้นทำได้ง่ายก็จริง ซึ่งที่ผ่านมามีนักลงทุนถอนเม็ดเงินลงทุนออกไปแล้วประมาณ 1 แสนล้าน แต่เชื่อว่ามีเพียง 30% เท่านั้นที่ถอนการลงทุนไป เพราะปัญหาการเมืองไทย ส่วนอีก 70% มาจากภาวะเศรษฐกิจโลกที่ตกต่ำ รวมไปถึงปัญหาสินเชื่อด้อยคุณภาพสหรัฐ (ซับไพรม์) ที่เป็นปัญหาการเงินของโลกไปแล้ว ทำให้ต้องถอนเม็ดเงินเพื่อไปเสริมในประเทศของตนเอง
นายบุญ ชุน เกียรติ กรรมการบริหาร บริษัท ทรานส อิควอโทเรียล เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด ประเทศสิงคโปร์ ที่เข้ามาลงทุนในเมืองไทยมาเกือบ 8 ปี กล่าวว่า ยังไม่มีความกังวลมากนักกับสถานการณ์ในปัจจุบัน เพราะถือเป็นเรื่องปกติของการเมืองแบบประชาธิปไตยที่ต้องมีความคิดเห็นขัดแย้ง แต่อาจจะมีความรุนแรงอยู่บ้าง ซึ่งต่างชาติที่เข้ามาลงทุนและอาศัยอยู่ในเมืองไทยเป็นเวลานานจะเข้าใจดีว่าเป็นเหตุการณ์ระยะสั้น แต่ก็ไม่ได้นิ่งนอนใจต้องจับตาสถานการณ์ตลอดเช่นกัน
“เมื่อ 2 ปีที่แล้วที่มีการปฏิวัติเรายังไม่หยุดลงทุนในไทย อีกทั้งยังมีการลงทุนอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน ส่วนภาวะขณะนี้ถือว่ายังไม่ร้ายแรง ผู้บริหารระดับสูงของเรายังไม่มีนโยบายหรือคำสั่งอะไรออกมา เพียงแต่บอกว่าขอให้โชคดีเท่านั้น”
ท่องเที่ยวรวมตัวจี้รัฐเลิก พรก.หมัก
ในการประชุมสมาคมไทยธุรกิจการท่องเที่ยว (แอตต้า) เพื่อหารือร่วมกับสมาชิกเพื่อกำหนดท่าทีของบริษัทนำเที่ยว อันเนื่องมาจากผลกระทบจากการประกาศใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน วานนี้ นายอภิชาต สังฆอารี นายกสมาคม แอตต้า กล่าวว่า การประกาศใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ทำให้อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวได้รับผลกระทบอย่างหนัก โดยเฉพาะ ประเทศในแถบเอเชีย และเอเชียแปซิฟิก ที่เริ่มทยอยยกเลิกการเดินทาง ขณะที่กลุ่มประเทศแถบยุโรป สแกนดิเนเวีย อยู่ระหว่างรอดูสถานการณ์เพื่อประกอบการตัดสินใจ
ล่าสุดมีรายงานจาก บจม.ท่าอากาศไทยว่า ตั้งแต่มีเหตการณ์ตำรวจบุกสลายการชุมนุมกลุ่มพันธฒิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย(พธม.) เมื่อวันที่ 29 สิงหาคมที่ผ่านมา จนถึงเหตุการณ์ปะทะระหว่าง กลุ่ม พธม. กับกลุ่ม แนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ ( นปช.) จนเป็นเหตุให้มีผู้บาดเจ็บ และ เสียชีวิต ส่งผลให้จำนวนนักท่องเที่ยว ที่เดินทางมาลงที่สนามบินสุวรรณภูมิ ลดลงอย่างต่อเนื่อง ล่าสุด ตั้งแต่วันที่ 1-3 ก.ย.นี้ จำนวนนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาลงที่สนามบิสุวรรณภูมิลดลงเฉลี่ยวันละ 20-30% ทำให้ประเทศไทยสูญเสียรายได้จากนักท่องเที่ยวที่ลดลงไปนี้ถึงวันละ 300-450 ล้านบาท ต่อวัน โดยคำนวณจากวันพักเฉลี่ยที่ 10 วัน มีค่าใช้จ่ายต่อคนต่อวันที่วันละ เกือบ 4,000 บาท
จากข้อมูลดังกล่าว ทำให้ภาคเอกชนด้านการท่องเที่ยวในนามของ สหพันธ์สมาคมท่องเที่ยวไทย หรือ เฟสต้า ซึ่งมีสมาคมท่องเที่ยวรวมอยู่ด้วยกันถึง 5 สมาคมใหญ่ คือ สมาคมโรงแรมไทย สมาคมไทยบริการท่องเที่ยว สมาคมแอตต้า สมาคมธุรกิจท่องเที่ยวภายในประเทศ และ สมาคม ท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์และผจญภัย อยู่ระหว่างการหารือ เพื่อส่งหนังสือถึง นายวีระศักดิ์ โควสุรัตน์ รมว.กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ภายใน 1-2 วันนี้ เพื่อให้พิจารณาและส่งต่อไปถึง ฯพณฯท่านนายกรัฐมนตรี นายสมัคร สุนทรเวช ให้ยกเลิกประกาศใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน โดยเร็วที่สุด พร้อมกับเร่งหาข้อยุติความขัดแย้งทางการเมืองโดยเร็ว ก่อนวันที่ 15 ก.ย.นี้ ก็จะทำให้กระทบอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวระยะสั้น แต่ถ้ายืดยาวไปถึงสิ้นเดือนก.ย.ต่อถึงเดือนต.ค. จะกระทบตลาดนักท่องเที่ยวต่างชาติในไฮซีซั่นปีนี้ทั้งหมดต่อเนื่องไปถึงไตรมาสแรกของปีหน้าด้วย เพราะนักท่องเที่ยวจะเปลี่ยนเดสติเนชั่นเดินทางแน่นอน
นายเอกน ศรีชีวะชาติ นายกสมาคมส่งเสริมการท่องเที่ยวไทยญี่ปุ่น กล่าวว่า ล่าสุด มีการยกเลิกการเดินทางของคณะบริษัทนำเที่ยวจากญี่ปุ่นที่จะสำรวจเส้นทางการเดินทางท่องเที่ยวในช่วงปลายปีให้แก่ตลาดญี่ปุ่นจำนวน 17 คน สาเหตุเพราะไม่มั่นใจในภาวะที่ประเทศไทยประกาศใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ซึ่งจะมีผลให้ ปลายปีนี้อาจไม่มีนักท่องเที่ยวญี่ปุ่นเดินทางเข้ามาไทยเลยก็ได้ เพราะ ญี่ปุ่นเป็นอีกประเทศหนึ่งที่ประกาศเตือนนักท่องเที่ยว(Travel warning )
เพิ่ม Travel warning เป็น 14 ปท.
อย่างไรก็ตาม รายงานข่าวล่าสุดแจ้งว่า ประเทศ นอร์เวย และ เบลเยี่ยม ได้ออกหนังสือเตือนนักท่องเที่ยว(Travel warning ) ที่จะเดินทางเข้ามาประเทศไทยแล้ว เป็นผลให้ขณะนี้ มีทั้งหมด 14 ประเทศ ที่ออกTravel warning เตือนนักท่องเที่ยวแล้ว ได้แก่ สิงคโปร์ จีน ออสเตรเลีย แคนาดา อังกฤษ ฝรั่งเศส เดนมาร์ก นิวซีแลนด์ ญี่ปุ่น สวิสเซอร์แลนด์ เกาหลี ไต้หวัน นอร์เวย และ เบลเยี่ยม ซึ่งการประกาศ Travel warning มีผลให้ บริษัทประกันภัยจะไม่รับคุ้มครองใดๆ ทั้งสิ้นหากนักท่องเที่ยวได้รับอันตราย